ห้องแมวยิ้ม สัพเพ เหระ อะไรก็เอามาลงกระทู้นี้ได้ครับ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย zalievan, 9 ธันวาคม 2018.

  1. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ทำตาอย่างนั้นแหละท่าน...วิธีฝึกตาที่3..แต่ให้หลับตานะ...ตั้งสติให้มั่น
     
  2. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,268
    ค่าพลัง:
    +5,219
    ผมทำไม่ได้หรอก ผมทำฌานแบบสงบไม่เป็น
     
  3. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    งั้นก็รอสวรรค์เมตตา..มาเปิดให้ละกัน..
     
  4. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เอ้า แล้วกัน...

    จิตไม่ถึงฐาน รู้ไม่ถึงฐานนะ (เสียงหลวงพ่อชล..สำเนา)

    จขกท

    อย่าไปภาวนา เอา อาการเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ

    ให้ยก เชื่อ เปนสภาวะธรรม เปน กรรมชนิดหนึ่ง
    ที่มีปลต่อ ภาษา เผ่าพันธ์ ....

    พอไปพอใจใน การเชื่อ ก้เกิด วัฏสงสาร
    เวรกรรม หมุนวน แล่นไปใน อุปทานขันธ์
    หาทางออกให้ตัวเองไม่ได้ ประสาอะไรจะ
    ไปชี้ ยกสภสวะธรรม ให้ผู้อื่นเหน กำหนดรู้ตาม
    จน พบทางออกจากวัฏสงสาร

    นะ

    เชื่อ กิดขึ้นเพราะมีเหตุ

    เขื่อดับ ไม่ใช่เพราะว่า ตรงกับครู ตรงกับ
    พระพุทธเจ้า

    เชื่อดับ เพราะ เหตุมันดับ

    เชื่อดับ เพราะ ละอุปทานขันธ์ ละโลภะ โทษะ โมหะ

    ไม่เกี่ยวกับ ใครกล่าว ตรง หรือ ไม่ตรง อะไร
    กับใคร ยังไง ท่าไหน

    ลองดูนะฮับ

    ธรรมะของพระพุทธองค์ เปน สุญญตา

    ไม่ต้อง คอยเทียบ แม้นใน ธรรม ที่พระพุทธองค์
    พึ่งแสดงจบลงในแต่ละ วรรค บรรทัด ตอน



    จิตรู้ถึง ฐาน บ่อยๆ จะค่อยๆ เหน หนทาง
    ที่จะทำให้ มรรคเจริญ เริ่มต้น นับหนึ่ง

    .

    ภาวนาอีกแสนกัป นับหนึ่งได้ทุกชาติ
    ค่อยว่ากันต่อ เรื่อง บรรลุธรรม ไม่ต้อง
    กลัวว่า จิตรู้ถึงฐานแล้ว จะสำเร็จอะไร

    ยังอีกยาวไกล

    เว้นแต่ ฉลาดในสัปปายะ ก้ 7วัน ถึงฝั่ง
     
  6. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    แค่เธอรัก ปักใจมั่น เธอกับฉัน
    แค่มีกัน ร่วมทางเดิน สู่จุดหมาย
    แค่ซื่อตรง สัจจะมั่น รักมิคลาย
    อันตราย มากแค่ไหน ก็ไม่กลัว

     
  7. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    มหาปัฏฐาน คัมภีร์ที่ 7

    ปัจจัย 24

    1. เหตุปัจจะโย = ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย
    2. อารัมมะณะปัจจะโย = ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย
    3. อธิปะติปัจจะโย = ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย
    4. อนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้
    5. สะมะนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน
    6. สะหะชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัย
    7. อัญญะมัญญะปัจจะโย = ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย
    8. นิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย
    9. อุปะนิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า
    10. ปุเรชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย
    11. ปัจฉาชาตะปัจจะโย = ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย
    12. อาเสวะนะปัจจะโย = ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย
    13. กัมมะปัจจะโย = ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย
    14. วิปากาปัจจะโย = ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย
    15. อาหาระปัจจะโย = ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย
    16. อินทริยะปัจจะโย = ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย
    17. ฌานะปัจจะโย = ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย
    18. มัคคะปัจจะโย = ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย
    19. สัมปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย
    20. วิปปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย
    21. อัตถิปัจจะโย = ธรรมที่มีเป็นปัจจัย
    22. นัตถิปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย
    23. วิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
    24. อะวิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
    ปัจจัยมีประการต่างๆมากมาย ในการแสดงปัจจัย 24 นั้น พระพุทธองค์ทรงจำแนกปัจจัยหนึ่งๆ มีธรรมเป็น 3 หมวด คือ ปัจจัยธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นเหตุ (ปัจจัย มีวจนัตถะว่า ผลธรรมย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนี้ ธรรมที่เป็นเหตุนี้จึงชื่อว่า "ปัจจัย")

    ปัจจยุปบันธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นผล (ปัจจยุปบันธรรม มีวจนัตถะว่า ผลธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัย ชื่อว่า "ปัจจยุปบัน")

    ปัจจนิกธรรม หมายความว่า ธรรมที่มิใช่ผล (คือธรรมที่นอกจากผล) (ปัจจนิก มีวจนัตถะว่า หมวดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปัจจยุปบันธรรม ชื่อว่า "ปัจจนิก")






     
  8. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    [๑] เหตุปจฺจโยติ:

    เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฺฐานานฺจ รูปานํ เหตุปจฺจเยน ปจฺจโยติ.

    ********************
    เหตุ มี ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ ๓ อย่างนี้เป็น อกุศลมูล
    และ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ(หรือปัญญา) ๓ อย่างนี้เป็น กุศลมูล

    ที่ชื่อว่า มูล เพราะเป็นรากที่หยั่งลึกลงในดิน ทำให้ลำต้นตั้งมั่นได้มั่นคง
    พืชที่ไม่มีรากเช่นสาหร่ายย่อมไม่มีความมั่นคง
    หากเปรียบ กรรม เป็นเช่นผืนดิน จิตเป็น ต้นไม้ แล้วกุศลมูล และ อกุศลมูล คือรากที่ยึดลงไปในดิน
    ทำให้ต้นไม้นั้นให้มั่นคงหนักแน่น การส่งผลของกรรมก็หนักแน่น ทั้งฝ่ายดี และ ฝ่ายชั่ว

    - จิตในเวลาใกล้ตาย -
    บุคคลที่มี โลภะ ย่อมไปเกิดใน เปรตภูมิ
    บุคคลที่มี โทสะ ย่อมไปเกิดใน นรกภูมิ
    บุคคลที่มี โมหะ ย่อมไปเกิดใน เดรัจฉาน
    บุคคลที่มี อโลภะ อโทสะ ย่อมท่องเที่ยวใน สุคติภูมิ เป็น มนุษย์และเทวดา
    บุคคลที่มี ปัญญา สามารถทำ ฌาน ย่อมไปเกิดใน พรหมภูมิ
    บุคคลที่มี ปัญญา สามารถทำ มัคค ย่อมไปเกิดใน สุทธาวาสภูมิ และ เข้าถึง นิพพานในที่สุด

    - ว่าด้วยการนำเกิด -
    เมื่อจิตดวงสุดท้ายที่ชื่อว่า จุติจิตดับลงแล้ว จิตดวงใหม่ก็เกิดต่อทันทีในภพชาติใหม่ เรียกว่า ปฎิสนธิจิต
    ปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น หากไม่มีกำลังของ กุศลเหตุ(อโลภ อโทส อโมห) ย่อมเกิดในสภาพที่ไม่ดี ๓ แบบคือ
    ๑.เกิดใน อบายภูมิ มี นรก เปรต เดรัจฉาน เป็นต้น
    ๒.เกิดเป็น เทวดาชั้นต่ำ มี ภุมมเทวดา ไม่มีวิมานอยู่ เป็นต้น
    ๓.เกิดเป็น มนุษย์พิการ ไม่สมประกอบ มี บ้า ใบ้ บอด หนวก เป็นต้น

    หากปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น ได้กำลังของ กุศลเหตุ ย่อมได้เกิดเป็น มนุษย์ที่สมประกอบ หรือ เทวดาที่มีวิมานอยู่
    หากปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น ได้กำลังของฌาน ย่อมได้เกิดเป็น พรหม
    หากปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น ได้กำลังของโสดาหรือสกทาคามัคค ย่อมพ้นอบายแน่นอน ได้เกิดในสุคติอย่างเดียว
    หากปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น ได้กำลังของอนาคามีมัคคฌาน ย่อมได้เกิดในสุทธาวาสภูมิ

    จะเห็นได้ว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์สมบูรณ์ต้องมีกุศลเหตุติดตัวมาเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรเสียโอกาสในการสร้างกุศลเหตุให้ยิ่งๆขึ้นไป โดยเฉพาะสร้างปัญญาจนได้ มัคคญาณ สามารถเข้าถึงพระนิพพานในที่สุด
     
  9. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    119824197.jpeg
     
  10. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    ปจฺจยุทฺเทส
    เหตุปจฺจโย... อารมฺมณปจฺจโย... อธิปติปจฺจโย... อนนฺตรปจฺจโย
    สมนนฺตรปจฺจโย... สหชาตปจฺจโย... อญฺญมญฺญปจฺจโย... นิสฺสยปจฺจโย
    อุปนิสฺสยปจฺจโย... ปุเรชาตปจฺจโย... ปจฺฉาชาตปจฺจโย... อาเสวนปจฺจโย
    กมฺมปจฺจโย... วิปากปจฺจโย... อาหารปจฺจโย... อินฺทฺริยปจฺจโย
    ฌานปจฺจโย... มคฺคปจฺจโย... สมฺปยุตฺตปจฺจโย... วิปฺปยุตฺตปจฺจโย
    อตฺถิปจฺจโย... นตฺถิปจฺจโย... วิคตปจฺจโย... อวิคตปจฺจโย ติ.
    ปจฺจยุทฺเทโส นิฏฐิโยติ
     
  11. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    ๒. อารัมมณปัจจัย

    อุปมาเหมือน บุคคลที่ชราหรือทุพพลภาพ ย่อมต้องอาศัยไม้เท้า
    หรือเชือกเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวพอให้ทรงตัวลุกขึ้น หรือเดินไป
    ฉันใดจิตเจตสิกทั้งหลาย ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องอาศัย
    ยึดเพื่อเกิดขึ้นฉันนั้น อีกประการหนึ่ง


    อุปมาเหมือน สถานที่อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดี เช่น สวนดอกไม้ เป็นต้น
    คนทั้งหลายย่อมเข้าไปเที่ยว สนุกสนานรื่นเริงกัน ณ ที่นั้นฉันใด
    อารมณ์ทั้งหลายก็เปรียบเหมือนสถานที่รื่นรมย์ต่างๆ จิตและเจตสิก
    เปรียบเหมือนบุคคลที่เข้าไปสนุกสนานที่นั้นๆ ฉันใด

    อุปมาเหมือนโรงมหรสพต่างๆ เมื่อเวลาจะมีการแสดงนั้น
    เขาย่อมมีการประกาศโฆษณาชักจูกให้คนเข้าไปดู หรือเมื่อก่อนจะลงมือแสดง
    เขาย่อมตีกลองโหมโรงชักชวนให้คนเข้าไป เมื่อคนทั้งหลายที่เดินผ่านไป
    ที่โรงมหรสพนั้นได้ประกาศโฆษณา หรือได้ยินกลองโหมโรงก็พากันเข้าไปดู

    ข้อนี้ฉันใด อารมณ์ทั้งหลายอันเปรียบได้กับโรงมหรสพนั้น
    ก็มีอำนาจที่จะเหนี่ยวจิตและเจตสิกอันเปรียบเหมือนคนเข้าไปดูมหรสพนั้น
    เข้าไปจับยึดอยู่ในอารมณ์ต่างๆได้ฉันนั้น

    อารัมมณปัจจัย
    ธรรมที่เป็นอารมณ์ของจิตใจ


    ปัจจยธรรม ได้แก่ ธรรมที่เป็นฝ่ายอารมณ์(สิ่งที่ถูกรับรู้โดยจิตใจ) นั่นก็คืออารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส(โผฎฐัพพะ) และธรรมารมณ์

    ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ธรรมที่เป็นฝ่ายอารัมมณิกะ(จิตใจตัวที่รับรู้อารมณ์) นั่นก็คือ จิตที่เห็น, จิตที่ได้ยิน, จิตที่รู้กลิ่น, จิตที่รู้รส, จิตที่สัมผัส และจิตที่รู้ธัมมารมณ์

    พระพุทธองค์ทรงแสดงความเป็นอารัมมณปัจจัยไว้ดังนี้ว่า "เพราะการปรากฎเกิดขึ้นแห่งอารมณ์ มีรูปารมณ์ เป็นต้น จึงทำให้เกิดจิตวิญญาณตัวรับรู้ เช่น เพราะการปรากฎแห่งรูป จึงทำให้เกิดการเห็น เพราะมีเสียงจึงทำให้ได้ยิน ดังนี้ เป็นต้น

    ทุกครั้งที่เกิดการบรรจบหรือกระทบกับอารมณ์ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ก็ให้เราฝึกฝนใช้สติพิจารณา(มองดู)อารมณ์นั้นด้วยหลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักของการมองโลกในแง่ดี หากเรามองโลก(อารมณ์ที่มากระทบ)ในแง่ดีจิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบุญ เป็นกุศล หรือเป็นจิตที่งดงาม แต่ตรงข้าม หากเรามองโลกด้วยอโยสิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักการมองโลกในแง่ร้าย จิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบาป เป็นอกุศล เป็นจิตมาร หรือกลายเป็นจิตเน่า

    ยกตัวอย่าง ในเวลาที่เห็นพระพุทธปฎิมาหรือพระพุทธรูปซึ่งงดงามเหลืองอร่ามไปด้วยสีแห่งทองคำ นำมาซึ่งความน่าเสื่อมใสยิ่ง บางคนอาจเกิดจิตศรัทธาเลื่อมใส แต่บางคนอาจเกิดจิตทรามอยากจะไปลักขโมยขูดเอาทองคำไปขายก็ได้

    บางคนอาจชื่นชมผู้ที่บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ แต่บางคนอาจมองในแง่ร้ายไม่พึงพอใจต่อบุคคลนั้น ก็ได้

    ท่านทั้งหลายลองคิดดูซิว่า ความจริงแล้ว อารมณ์ก็อยู่ตามธรรมชาติของเขา ไม่สามารถมีอิทธิพลต่อความงามและความต่ำทรามให้กับจิตใจของเราได้ แต่เราเองไปปรุงแต่งจนเกิดเป็นจิตงามหรือไม่ก็จิตทราม ด้วยเหตุนี้การภาวะจิตไวม่ว่าจะดีหรือชั่ว จึงขึ้นอยู่กับมุมมองของเราทั้งหลายเป็นสำคัญ (คือ หากเรามองอารมณ์นั้นในแง่ดี จิตเราก็จะดี หากมองในแง่ร้าย จิตใจก็จะร้าย)

    ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะไปโทษอารมณ์ภายนอกใดๆ เพราะแม้จะมีรูปารมณ์อยู่ แต่หากเราไม่ดู เราก็ไม่เห็น แม้จะมีเสียง หากเราไม่เอาใจใส่ เราก็จะไม่ได้ยิน ดังนี้ เป็นต้น

    สรุปว่า หากเราไม่เอาใจใส่ต่ออารมณ์ใดๆ แล้วไซร้ อารมณ์นั้นๆ ก็จะไม่มีบทบาทสำคัญหรือมีอิทธิพลเหนือจิตใจของเราได้ จึงควรที่จะโทษตัวเองเสียดีกว่าในฐานะที่ไม่สำรวมระวังด้วยสติสัมปชัญญะในการรับอารมณ์นั้นๆ

    ด้วยเหตุนี้ เราท่านทั้งหลาย จงตระหนักให้ดีว่า อารมณ์มิได้เป็นผู้เนรมิตให้จิตเราดีหรือไม่ดี แต่โยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการต่างหากที่มันปรุงแต่งจิตใจของเรา เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราท่านทั้งหลาย จึงควรเลือกโยนิโสมนสิการมาใช้ในทุกครั้งทุกขณะที่จิตรับรู้อารมณ์ (ทั้งนี้ยกเว้นเวลานอน)
    เพื่อให้จิตมีสภาวะปกติไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์ที่มากระทบนั่นเอง
     
  12. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    ขออนุญาติ COPY & PASTE ถือว่า เผยแพร่ธรรมะ ตัวเพิ้ลจะได้อ่านด้วย
    ดีกว่าเก็บไว้ในเนต แล้วไม่ได้อ่าน ละกันนะอ้ายเนาะ

    ปล. ไม่เป็นนางแก้ว เป็นนางพลอย เพราะ พลอย สวย เซ็กซี่ ตึง..โป้ะ +++

    Screen Shot 2018-12-05 at 11.08.01 PM.png
     
  13. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    ๓. อธิปติปัจจัย

    อุปมาเหมือน ประเทศหนึ่งๆ ต้องมีพระราชาเป็นผู้ปกครองประเทศ
    เพียงพระองค์เดียว บุคคลที่เหลือเหล่านั้น ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพระราชาทั้งสิ้น
    ข้อนี้ฉันใด องค์ธรรมที่เป็นอธิบดี ก็ฉันนั้น


    อธิปติปัจจัย
    ธรรมที่เป็นอธิบดีเกื้อหนุน



    ปัจจยธรรม ได้แก่ อธิบดีธรรม ซึ่งประกอบด้วย อารมณ์ทั้งดีและไม่ดี ฉันทะที่รุนแรง และวิริยะอันยิ่งยวด จิตใจที่มุ่งมั่นและปัญญาที่เฉียบคม

    ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ สิ่งที่เป็นผลอันเนื่องมาจากอธิบดีธรรมนั้น เช่น การวางจิตไว้อย่างลุ่มลึกและความสำเร็จประการต่างๆ

    อารมณ์ประเภทดีและประเภทที่ไม่ดีนั้น ท่านเรียกว่า "อารัมมณาธิปติ" อธิบดีอารมณ์(อารมณ์ผู้เป็นใหญ่) พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า "การเกิดจิตดีหรือจิตเลวนั้น อาศัยอธิบดีอารมณ์เกิดขึ้น"

    ในอธิบติปัจจัยนี้ ก็พึงทราบว่า มีลักษณะคล้ายกันกับในอารัมมณปัจจัยนั่นก็คือ เมื่อประสบกับอารมณ์ชนิดใดๆ ก็ตาม การที่เราเกิดอกุศลจิตนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ขึ้นอยู่กับกายและจิตของตนเท่านั้น ดังนั้น หากเราทั้งหลายได้ทำการสำรวมด้วยความระมัดระวัง (สติ+สัมปชัญญะ) แล้วไซร้่ ไม่ว่าจะประสบพบกับอารมณ์ชนิดใดก็ตาม ก็จะไม่มีจิตผูกโกรธ มีแต่จิตงามเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    การได้หรือการประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากมีฉันทะแรงกล้า มีวิริยะอย่างยิ่งยวด มีจิตใจมุ่งมั่นเต็มร้อย มีปัญญาแหลมคมนั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "สหชาตาธิบดี" [ธรรมที่เกิดร่วมกับธรรมอื่นและทำหน้าที่เป็นหัวหน้านำทางธรรมอื่นๆ]

    สำหรับผู้ที่มีฉันทะ วีระยะ จิต และปัญญา(หรือวีมังสา) ที่ย่อหย่อนนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ก็ไม่อาจประสบผลสำเร็จได้ ด้วยเหตุนี้ หากท่านทั้งหลายต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต จำเป็นต้องปลูกฝังคุณธรรม ๔ ประการดังกล่าว ให้เจริญงอกงามในขันธสันดานของตนให้มากๆ

    ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อเราได้เห็นพระพุทธรูปที่ถึงพร้อมด้วยมหาปุริสลักษณะ และได้มีโอกาสสวดสาธยายพระพุทธคุณแล้ว น้อมจิตเจริญรอยบำเพ็ญบารมีตามพระบรมศาสดาผู้ทรงเป็นพระจอมไตรในภพทั้ง ๓ ผู้ทรงผ่านการบำเพ็ญพระบารมีมาแล้วอย่างโชกโชน แต่ก็ไม่เคยทรงย่อท้อ ตรงข้ามกลับทรงมีพระฉันทะ พระวิริยะ อันแรงกล้า ทรงมีพระหทัยมุ่งมั่นเกินร้อย ทรงมีพระปรีชาญาณอันแหลมคม

    นี่คือตัวอย่างการใช้อธิบติปัจจัยธรรมสร้างความสำเร็จแก่ตนเอง โดยยึคพระพุทธองค์เป็นต้นแบบ ในส่วนของศาสนิกชนอื่นๆ ก็พึงสร้างอธิบดีธรรมอันนำความซึ่งความสำเร็จโดยยึคการบำเพ็ญประโยชน์ การเสียสละของศาสดาของตนๆ เป็นแบบอย่างได้เช่นกัน

    สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้สามารถในการเอาชนะอารมณ์ร้ายทั้งปวง สามารถแปลงให้เป็นอารมณ์อันงดงามเท่านั้นเถิด

    ขอให้ท่านทั้งหลายจงหมั่นเพาะปลูกดูแลประคบประหงมต้นไม้น้อย ๔ ต้น คือ ต้นฉันทะ ต้นวิริยะ ต้นจิต และต้นวีมังสา ให้เจริญเติบโตงอกงามไพบูลย์ มั่นคงสถาพรอยู่ในขันธสันดานของตนๆ เถิด
     
  14. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    ๔. อนันตรปัจจัย

    อุปมาเหมือน พระเจ้าจักรพรรดิที่สวรรคตไปแล้ว
    พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
    ต้องสืบราชสมบัติพระราชบิดาต่อไปอย่างแน่นอน
    บุคคลอื่นไม่สามารถที่จะเข้ามาคั่นตำแหน่งนี้ได้เลย


    อนันตรปัจจัย

    อนนฺตรปจฺจโย
    ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น

    อนัตตระ แปลว่า ไม่ช่องว่างในระหว่าง ไม่มีอะไรมาคั่น

    อนันตรปัจจัย หมายความว่า จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นก่อน เป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกที่เกิดหลังๆ เกิดขึ้น
    สืบต่อกับจิตดวงก่อนโดยไม่มีอะไรมาคั่น และจิตเจตสิกที่เกิดหลังนี้ ก็กลับเป็นปัจจัยให้เกิด
    จิตเจตสิกดวงใหม่โดยไม่มีอะไรมาคั่น

    เมื่อจิตดวงที่ ๑ ดับไป จิตดวงที่ ๒ ก็เกิดขึ้น
    เมื่อจิตดวงที่ ๒ ดับไป จิตดวงที่ ๓ ก็เกิดขึ้น

    ดับ - เกิด - ดับ - เกิด ......ติดต่อกันไปไม่ขาดสายในสังสารวัฏอันยาวนานหาประมาณไม่ได้
    เมื่อจุติจิตดับลง ปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นทันที ยกเว้นจุติจิตของพระอรหันต์ ไม่มีปฏิสนธิจิตต่อ
    เพราะพระอรหันต์ไม่เกิดอีก สังสารวัฏของท่านสิ้นสุดแล้ว


    การดับ - เกิดติดต่อกันไปของจิตโดยไม่มีระหว่างคั่นนี้ เป็นไปตามจิตตนิยาม คือ เป็นไปในลำดับ
    ของตนๆ ไม่สับสนกัน เช่น ในจักขุทวารวิถี
    เมื่อ อตีตภวังค์.................ดับลง ภวังคจลนะ.................ก็เกิดขึ้น
    เมื่อ ภวังคจลนะ................ดับลง ภวังคุปัจเฉทะ..............ก็เกิดขึ้น
    เมื่อ ภวังคุปัจเฉทะ..............ดับลง ปัญจทวาราวัชชนะ.........ก็เกิดขึ้น
    เมื่อ ปัญจทวาราวัชชนะ.........ดับลง จักขุวิญญาณ...............ก็เกิดขึ้น
    เมื่อ จักขุวิญญาณ...............ดับลง สัมปฏิจฉนะ................ก็เกิดขึ้น
    ฯลฯ


    จิตจะดับ - เกิดตามลำดับของตนๆ โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่นมาเปลี่ยนลำดับได้เลย


     
  15. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    ๕. สมนันตรปัจจัย

    อุปมาเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ
    ที่ทรงสละราชสมบัติออกผนวช เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ
    ไม่ได้อยู่ครองราชย์สมบัติแล้ว โอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
    ก็ครองราชย์สมบัติแทนทันที และการสืบต่อราชสมบัตินี้ ก็ต้องได้แก่
    โอรสองค์ที่ ๑ ก่อน จะข้ามไปให้แก่โอรสองค์ที่ ๒ หรือองค์ที่ ๓
    นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้
    ต่อเมื่อโอรสองค์ที่ ๑ ไม่ได้ครองแล้ว
    องค์ที่ ๒ จึงจะรับสืบต่อได้ตามลำดับกันไป ดังนี้

    ๔-๕
    อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
    ธรรมที่เพิ่งดับไปก็มีพลังส่งให้ธรรมกลุ่มเดียวกันเกิดขึ้นได้

    ปัจจยธรรม ได้แก่ จิตทั้งหลายที่เกิดก่อนแล้วเพิ่งดับไปโดยไม่มีกลุ่มจิตประเภทอื่นเกิดมาคั่นในระหว่าง

    ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ จิตทั้งหลายที่เกิดขึ้นภายหลังจากปัจจยธรรมนั้น โดยที่ยังไม่มีกลุ่มจิตประเภทอื่นมาคั่นในระหว่าง

    พระพุทธองค์ทรงแสดงกฏแห่งธรรมข้อนี้ไว้ว่า "เมื่อจิตดวงก่อนๆ ดับย่อมเห็นปัจจัยให้จิตดวงหลังๆ ที่เป็นประเภทเดียวกันเกิดขึ้นต่อๆ กันไป อย่างชนิดที่ไม่มีจิตประเภทอื่นใดมาคั่น ทำให้มองเห็นราวกะว่า กลุ่มจิตเหล่านั้นเป็นดวงเดียวกันฉันนั้น นี้แล คือ กฏแห่งอนันตรปัจจัย"

    ธรรมดาว่าจิตใจของมนุษย์ ย่อมหลุกหลิก ไม่นิ่ง ไม่สงบ เหมือนกับลิงจากต้นโน้นไปสู่ต้นนี้ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จากอารมณ์นี้ไปหาอารมณ์โน้น จากอารมณ์โน้นมาหาอารมณ์นี้ วอกแวกอยู่ตลอดเวลา

    เดี๋ยวเป็นบุญ เดี๋ยวก็เป็นบาป เดี๋ยวคิดดี ประเดี๋ยวคิดชั่ว แม้แต่ในเวลาบริจาคทาน ก็อาจแวบเกิดความตระหนี่ขึ้นเอาดื้อๆ นี้แลคือธรรมชาติของจิตนั่นก็คือ "ลหุปริวตฺติตํ เปลี่ยนแปลงง่าย" เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย

    บางท่าน พยายามหักดิบบาปแล้วปลูกสร้างจิตสำนึกที่ดีเป็นบุญเป็นกุศลให้เจริญงอกงามไพบูลย์ในขันธสันดานของตน

    แม้ในการทำบุญกุศล ก็อาจทำให้เราทั้งหลายเกิดความท้อใจได้ เช่น เราพยายามทำดี แต่ไม่ได้ดี ข้อนี้อาจทำให้เราท้อได้เช่นกัน เมื่อดีไม่ดีก็อาจทำให้เกิดแนวคิดที่ผิดขึ้นมา เช่น อาจคิดว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" ดังนี้เป็นต้น ในที่สุด จิตที่คิดจะทำดี ก็อาจมลายสูญสิ้นไปจากขันธสันดานของบุคคลนั้นเลยก็ได้

    ด้วย เหตุนี้ ท่านทั้งหลายจึงควรมีโยนิโสมนสิการ มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมโลก ตั้งจิตอุทิศและหมั่นบำเพ็ญสาธารณกุศลให้มั่นคงอย่าได้ไหวหวั่นต่อลมปากคำ พูดถากถางของคนอื่น มุ่งมั่นทำความดีตามที่ตนเห็นว่าดีและมีประโยชน์ เพราะนี่คือการทำดีที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างแท้จริง


    เมื่อเห็นประโยชน์เช่นนี้แล้ว ก็จงกล้าที่จะเผชิญกับความทุกข์ยากและอุปสรรคนานัปการ สมดังที่พระพุทธองค์ท่านทรงแสดงไว้ว่า"อตฺถวสิเกน ภิกฺขเว อลํ อุปคนฺตํุ ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเห็นว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้มีประโยชน์จริง ก็จงอย่าท้อ จงกล้าที่จะเผชิญและกล้าที่จะยอมรับกับความทุกข์ยากอันอาจเกิดขึ้นได้เพราะ การบำเพ็ญประโยชน์นั้นเถิด"

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้สามารถขจัดปัดเป่าทั้งจิตเก่าจิตใหม่ที่ไม่ดี ให้กลับกลายสภาพเป็นจิตดีมีพลังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ดุจกระแสสายธารแห่งคงคาที่ไหลบ่าอยู่อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีวันหยุดเถิด
     
  16. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    อ่ะ

    ก็ว่ากันไป

    เอิ้กๆ
     
  17. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    ๖.สหชาตปัจจัย

    อุปมาเหมือน ดวงไฟกับแสงไฟ ซึ่งเมื่อมีดวงไฟเกิดขึ้นแล้ว
    แสงไฟก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย จะว่าดวงไฟเกิดก่อน แสงไฟเกิดทีหลังก็ไม่ใช่
    เพราะดวงไฟกับแสงไฟนั้นย่อมเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ในที่นี้ดวงไฟเป็นปัจจัย
    ช่วยอุดหนุนแก่แสงไฟซึ่งเกิดพร้อมกับดวงไฟนั้น

    อุปมาเหมือน พ่อ แม่ และลูกที่กำลังเล็กอยู่ เดินไปด้วยกัน
    ในที่นี้ พ่อและแม่จะช่วยอุดหนุนซึ่งกันและกันได้ และต่างก็อุดหนุนลูกได้ด้วย
    ส่วนลูกนั้นจะไปด้วยกันก็จริง แต่ว่าไม่สามารถจะช่วยอุดหนุนพ่อและแม่ได้
    ฉะนั้น พ่อและแม่จึงเป็นได้ทั้งปัจจัยและปัจจยุปบัน
    ส่วนลูกนั้นเป็นปัจจัยไม่ได้ เป็นได้แต่ปัจจยุปบันอย่างเดียว


    สหชาตปัจจัย
    ธรรมที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ธรรมที่เกิดร่วม

    ปัจจยธรรม ได้แก่ ธรรมที่ให้การอุปการะแก่ผลซึ่งเกิดพร้อมกับตน

    ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ ธรรมที่รับการอุปการะจากสหชาตของตน

    พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า "ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จนั้น การทำหน้าที่ของตนๆ ตามทีู่ถูกมอบหมายด้วยความรับผิดชอบอยู่นั่นแหละ ได้ชื่อว่าเป็นการเกื้อกูลด้วยสหชาตปัจจัย

    พูดตรงๆ ตามหลักอภิธรรม ก็คือ ในการทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น การเข้าร่วมทำงานกับธรรมทั้งหลาย เช่น เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ดี การขับเคลื่อนของรูปขันธ์ไปตามกิจนั้นๆ ก็ดี ได้ชื่อว่าเป็นลักษณะของการเกื้อกูลด้วยสหชาตปัจจัย แม้ในการทำบาป ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้แล

    ในร่างกายหรือรูปขันธ์ ซึ่งเกิดจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นพึงทราบว่า การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงกันของธาตุทั้ง ๔ จนทำให้ร่างกายนั้น มีพละกำลังแข็งแรงมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข ก็เป็นผลของการเกื้อกูลกัน

    ในฐานะผู้เกิดร่วมกันที่มีการร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งหากธาตุทั้งสี่ ไม่สม่ำเสมอกัน อาจทำให้ร่างกายเจ็บป่วยอาพาธได้ ซึ่งนั่นก็เป็นผลที่มาจากสหชาตปัจจัย เช่นกัน

    ดังนั้น ท่านทั้งหลายจึงควรใช้ชีวิตเป็นอยู่โดยพยายามปรับสภาพธาตุทั้งสี่ให้มีความสมดุลย์เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

    ความเป็นสหชาตปัจจัยนั้น สามารถอุปมาเหมือนกับการก่อตั้งองค์กรหรือสมาคม ซึ่งโครงสร้างที่ประกอบด้วยคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ต่างๆ ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกันเป็นทีม ก็การร่วมด้วยช่วยกันแบบทำงานเป็นทีมนั้นแลชื่อว่า เป็นลักษณะของการทำงานตามระบบของสหชาตปัจจัย

    ท่านทั้งหลายจึงควรทำความเข้าใจถึงระบบการทำงานของสหชาตปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการทำกองกุศลให้บังเกิดขึ้น ก็ดี การใช้ชีวิตให้ธาตุทั้ง ๔ เป็นไปอย่างสมดุลย์ ก็ดี หรือการร่วมด้วยช่วยกันทำคุณประโยชน์อย่างพร้อมเพรียงกัน ก็ดี ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

    จงทำีดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย จงร่วมกายร่วมใจช่วยกันขยันทำความดี หลบลี้หนีความชั่ว และมีจิตมั่นคง ตั้งมั่นในกุศลทั้งปวงเถิด
     
  18. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    หมื่นสัจจะ ร้อยคำรัก ทักทายน้อง
    ตัวพี่ปอง รักน้องนี้ จึงมาหา
    ตัวน้องนั้น ศึกษาธรรม หนุนบุญญา
    ชวนพี่มา ถกธรรมถ้อย ร้อยเรียงความ
     
  19. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,996
    ๗. อัญญมัญญปัจจัย

    อุปมาเหมือน หนึ่งโต๊ะ ๓ ขา หรือขาหยั่งซึ่งอาศัยไม้ ๓ อัน
    ค้ำจุนอยู่ ซึ่งโต๊ะ ๓ ขาก็ดี หรือไม้ขาหยั่งก็ดี
    ถ้าขาดไปขาใดขาหนึ่งแล้วโต๊ะและขาหย่างนั้นไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้
    การที่โต๊ะและไม้ขาหยั่งนั้นตั้งอยู่ได้ ก็ต้องพร้อมเพรียงด้วยขาทั้ง ๓
    ค้ำจุนซึ่งกันและกันอยู่

    อัญญมัญญปัจจัย
    ธรรมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    ปัจจยธรรม+ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ กลุ่มธรรมที่เป็นทั้งเหตุและผล สลับกันไปมา ให้กับกันและกัน

    การเกิดโดยความเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกัน ระหว่างเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณทั้งหลาย ซึ่งได้แสดงไปแล้วในสหชาตปัจจัยนั้น พระพุทธองค์ท่านทรงเรียกว่า "การเกื้อกูลในรูปแบบของอัญญมัญญปัจจัย"

    เมื่อเกิดสัมผัส ก็เกิดเวทนาความรู้สึก สัญญาทำหน้าที่บันทึกข้อมูลนั้นไว้ ยิ่งเจ็บ ยิ่งจำ ยิ่งจำ ก็ยิ่งเจ็บ นี้แหละคือตัวอย่างของความเป็นอัญญมัญญปัจจัยระหว่าเวทนากับสัญญา

    ในการทำงานของคนเรา ก็เช่นเดียวกัน คือ ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี ความมีเหตุผล จนสามารถแยกแยะว่า อะไรควรทำ ไม่ควรทำ ความสามารถในการตัดสินวินิจฉัย การมีเจตนามุ่งมั่นในการทำงานให้มีประสิทธิภาพจนก่อให้เกิดประสิทธิผล กล่าวคือ ความสำเร็จในการงานต่างๆ นั้น ก็พึงทราบว่าเป็นลักษณะความถึงพร้อมแห่งอัญญมัญญปัจจัยนั่นเอง

    คนเราเกิดมาต้องพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นี่ก็เป็นลักษณะของอัญญมัญญปัจจัย ซึ่งหากเป็นไปในทางที่ดีเป็นบุญเป็นกุศล ก็กล่าวได้ว่าเป็นอัญญมัญญปัจจัยในทางที่ดี (กุศลอัญญมัญญปัจจัย) แต่ถ้าหากเป็นไปในทางที่ไม่ดี ร่วมกันทำความชั่ว ก็จะเป็นลักษณะของอกุศลอัญญมัญญปัจจัย

    สรุปว่า ในสังคมโลกปัจจุบันนั้น การร่วมด้วยช่วยกัน การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นในหน้าที่การงาน หรือความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในการช่วยเหลือสังคม ช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความมุ่งมั่น โดยไม่เห็นแ่ก่ความเหน็ดเหนื่อยใดๆ กิจกรรมเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของความเป็นอัญญมัญญปัจจัยทั้งสิ้น

    อย่างน้อยๆ การช่วยเหลือกันระหว่างบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อช่วยแม่ แม่ช่วยพ่อทำงาน ลูกช่วยพ่อแม่ พ่อแม่ช่วยเหลือลูก สามีช่วยภรรยา ภรรยาช่วยสามี ทำหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบโดยไม่ขาดตกบกพร่อง เหล่านี้ก็ล้วนเป็นลักษณะของอัญญมัญญปัจจัยทั้งสิ้น

    จึงขอให้ท่านทั้งหลาย จงเข้าใจและซาบซึ้งในการเกื้อกูลซึ่งกันและกันด้วยว่า บนโลกใบนี้ไม่มีใครเก่งกว่าใคร อย่าลืมว่าธรรมชาติสร้างพวกเรามาก็เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนเราจึงมีความถนัดและเก่งกล้าสามารถไม่เหมือนกัน

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำพาโลกให้อยู่อย่างสงบร่มเย็นเถิด
     
  20. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    กระทู้ท่านแมวเริ่มเปล่งแสงธรรมแล้ว..

    นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...