สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สั่งสมเอาเถิด เรามีหน้าที่ไม่สามารถตระหนี่ธรรม๕ ผู้ที่ได้ประโยชน์ก็ท่าน สามัญผลก็ท่าน




    อรรถกถา วิภังคปกรณ์ปฏิสัมภิทาวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์



    อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์
    วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป.
    คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน.
    คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน.
    อธิบายว่า ก็เพราะข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นต้น แปลว่า ญาณ (ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลย นอกจากเป็นการแตกฉานของญาณ (ปัญญา) เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงเคราะห์เนื้อความนี้ว่า การแตกฉานของญาณ ๔ นี้ลงในบทว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ดังนี้.
    ปฏิสัมภิทาในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา. อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา) อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ เพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ (แยกแยะ) อรรถชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.
    จริงอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรม เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ธรรมชาติต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในการกล่าวซึ่งนิรุตติธรรม เพื่อสามารถกระทำวิเคราะห์นิรุตติ (คือภาษาชนิดต่างๆ) ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในปฏิภาณ (คือไหวพริบในการโต้ตอบได้ฉับพลันทันที) เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ปฏิภาณชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปฏิสัมภิทาทั้งหลายตามที่ทรงตั้งไว้ จึงตรัสคำว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ (แปลว่า ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา).
    อธิบายคำว่าอัตถะ บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถ เมื่อว่าโดยสังเขป ได้แก่ ผลของเหตุ (ผลอันเกิดแต่เหตุ).
    จริงอยู่ ผลของเหตุนั้น พึงเป็นของสงบ (คือปราศจากกิเลส) พึงถึงพึงบรรลุได้ด้วยสามารถแห่งเหตุฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อัตถะ.
    เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้คือ
    ๑. สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
    ๒. พระนิพพาน
    ๓. อรรถแห่งภาษิต
    ๔. วิบาก
    ๕. กิริยา.
    เมื่อพิจารณาอรรถนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในอรรถนั้นๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา.
    อธิบายคำว่าธัมมะ คำว่า ธมฺม เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว ได้แก่ ปัจจัย.
    จริงอยู่ เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัดแจง ย่อมให้ธรรมนั้นๆ เป็นไปด้วย ให้ถึงด้วย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมะ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว
    บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
    ๑. เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันยังผลให้เกิดขึ้น
    ๒. อริยมรรค
    ๓. ภาษิต (วาจาที่กล่าวแล้ว)
    ๔. กุศล
    ๕. อกุศล.
    เมื่อพิจารณาธรรมนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรมนั้น ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา.
    อธิบายคำว่าธัมมนิรุตติ (ภาษาของสภาวะ) พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า ญาณในการกล่าวซึ่งธัมมนิรุตติ ดังนี้.
    สภาวนิรุตติ (ภาษาอันเป็นสภาวะ) อันใด ย่อมเป็นไปในอรรถด้วย ในธรรมด้วย เมื่อพิจารณากระทำศัพท์ (เสียง) อันเป็นสภาวนิรุตตินั้นในเพราะการกล่าวอันนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
    นิรุตติปฏิสัมภิทานี้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่ามีเสียงเป็นอารมณ์ หาชื่อว่ามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?
    ตอบว่า เพราะฟังเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่.
    จริงอยู่ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เมื่อมีผู้กล่าวว่า ผสฺโส ดังนี้ ย่อมทราบว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ หรือว่าเมื่อผู้อื่นกล่าวว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ดังนี้ ก็ย่อมรู้ว่า นี้ไม่ใช่สภาวนิรุตติ ดังนี้.
    แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ.
    ถามว่า ก็ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมรู้ หรือย่อมไม่รู้ซึ่งเสียงแห่งพยัญชนะที่เป็นนาม อาขยาตและอุปสรรคอื่นๆ
    ตอบว่า ในกาลใดฟังเสียงเฉพาะหน้า ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่ ในกาลนั้นจักรู้ได้แม้ซึ่งคำนั้นแต่ต้น ดังนี้. แต่ว่า ข้อนี้มีผู้คัดค้านว่า นี้ไม่ใช่กิจของปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้วได้ยกเอาเรื่องพระเถระมากล่าวว่า
    ได้ยินว่า พระเถระชื่อว่าติสสทัตตะ ถือเอาสลากอันเป็นวิการแห่งทองที่โพธิมณฑลแล้วปวารณา (คือหมายความว่าเปิดโอกาส หรืออนุญาตให้ภิกษุขอฟังภาษาต่างๆ ตามที่ต้องการ) แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า ในบรรดาภาษา ๑๘ อย่าง ข้าพเจ้าจักกล่าวด้วยภาษาไหน ดังนี้ ก็คำปวารณานั้น พระเถระท่านตั้งอยู่ในการศึกษาจึงได้ปวารณา มิใช่ตั้งอยู่ในปฏิสัมภิทาแล้วกล่าวปวารณา.
    ด้วยว่า พระเถระนั้น ท่านให้บุคคลบอกแล้วๆ ท่านก็เรียนเอาภาษานั้นๆ เพราะความที่ท่านมีปัญญามาก ถัดจากนั้นมาท่านจึงปวารณาอย่างนี้ เพราะตั้งอยู่แล้วในการศึกษาเล่าเรียน.
    ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตวโลก ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนภาษา ดังนี้. จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อยนอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้นๆ เด็กทั้งหลายย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไปๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็นชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจักพูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว (พูด) ภาษาของชนชาวมคธ. ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่นชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตามธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
    ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง คือ
    ๑. ในนิรยะ (นรก)
    ๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
    ๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
    ๔. ในมนุษยโลก
    ๕. ในเทวโลก
    ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่างนอกจากภาษาของชนชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือเป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะตามความเป็นจริง ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?
    ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.
    จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิสดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้วนั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย. ก็การที่บุคคลท่องแล้วๆ เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการบรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชน เพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้นแม้มาก ย่อมไม่มี. พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.
    คำว่า ญาเณสุ ญาณํ (แปลว่า ความรู้ในญาณทั้งหลาย) ได้แก่ เมื่อเธอพิจารณากระทำญาณในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้ว ญาณอันถึงความรู้แตกฉาน ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา ดังนี้.
    อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ (ภูมิ) ๒ อย่าง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ อย่าง.
    ถามว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ ๒ เป็นไฉน?
    ตอบว่า ในฐานะ ๒ คือ เสกขภูมิและอเสกขภูมิ.
    ในฐานะ ๒ นั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง ๘๐ รูปถึงประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของพระสารีบุตรเถระ ของพระมหาโมคคัลลานเถระ ของพระมหากัสสปเถระ ของพระมหากัจจายนเถระ ของพระมหาโกฏฐิตเถระเป็นต้น. ปฏิสัมภิทาของผู้ถึงเสกขภูมิ คือของพระอานันทเถระ ของจิตตคหบดี ของธัมมิกอุบาสก ของอุบาลีคหบดี ของนางขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมถึงการแยกออกในภูมิทั้งสองเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
    ถามว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ เป็นไฉน?
    ตอบว่า ด้วยอธิคมะ ด้วยปริยัติ ด้วยสวนะ ด้วยปริปุจฉา ด้วยปุพพโยคะ.
    ในเหตุ ๕ เหล่านั้น พระอรหัต ชื่อว่าอธิคมะ.
    จริงอยู่ เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    พระพุทธพจน์ ชื่อว่าปริยัติ.
    จริงอยู่ เมื่อเรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์อยู่ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    การฟังพระธรรม ชื่อว่าสวนะ.
    จริงอยู่ เมื่อฟังธรรมอยู่โดยเคารพ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    อรรถกถา ชื่อว่าปริปุจฉา.
    จริงอยู่ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอรรถแห่งพระบาลีอันตนเรียนมาแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    ความเป็นพระโยคาวจรในกาลก่อนคือ ความที่กรรมฐานอันตนบริหารแล้วโดยนัยแห่งการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา (หรณปัจจาหรณวัตร) ในอดีตภพ ชื่อว่าปุพพโยคะ.
    จริงอยู่ เมื่อหยั่งลงสู่ความเพียรมาแล้วในกาลก่อน ปฏิสัมภิทาทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น พึงทราบปฏิสัมภิทาทั้งหลายของพระติสสเถระผู้เป็นบุตรแห่งกุฎุมภี ชื่อปุนัพพสุได้เป็นธรรมบริสุทธิ์แล้วด้วยการบรรลุพระอรหัต ดังนี้.
    ได้ยินว่า พระติสสเถระนั้นเรียนพระพุทธพจน์ในตัมพปัณณิทวีป (คือในเกาะของชนผู้มีฝ่ามือแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลังกาทวีป) แล้วไปสู่ฝั่งอื่นเรียนเอาพระพุทธพจน์ในสำนักของพระธัมมรักขิตเถระ ชาวโยนก เสร็จจากการเรียนก็เดินทางมาถึงท่าเป็นที่ขึ้นเรือ เกิดความสงสัยในพระพุทธพจน์บทหนึ่ง จึงเดินทางกลับมาสู่ทางเดิมอีกประมาณ ๑๐๐ โยชน์ เมื่อไปสู่สำนักของอาจารย์ในระหว่างทางได้แก้ปัญหาแก่กุฎุมภีคนหนึ่ง กุฎุมภีผู้นั้นมีความเลื่อมใสได้ถวายผ้ากัมพลมีค่าแสนหนึ่ง พระติสสเถระนั้นนำผ้ามาถวายอาจารย์ อาจารย์ของพระเถระนั้นทำลายผ้าซึ่งมีราคาถึงแสนหนึ่งนั้นด้วยมีด แล้วให้ทำเป็นของใช้ในที่เป็นที่สำหรับนั่ง.
    ถามว่า การที่อาจารย์ทำอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร?
    ตอบว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนผู้เกิดมาในภายหลัง.
    ได้ยินว่า อาจารย์นั้นมีปริวิตกว่า ในอนาคตกาล เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจักสำคัญถึงการปฏิบัติอันตนให้บริบูรณ์แล้ว โดยการพิจารณาถึงมรรคอันพวกเราบรรลุแล้ว (หาใช่มีความกังวลอย่างอื่นไม่). แม้พระติสสเถระก็ตัดความสงสัยได้ในสำนักของอาจารย์ แล้วจึงไป ท่านก้าวลงที่ท่าแห่งเมืองชื่อ ชัมพุโกล ถึงวิหารชื่อว่าวาลิกะในเวลาเป็นที่ปัดกวาดลานพระเจดีย์ ท่านก็ปัดกวาดลานพระเจดีย์. พระเถระทั้งหลายเห็นที่เป็นที่อันพระติสสเถระนั้นปัดกวาดแล้ว จึงคิดว่า ที่นี้เป็นที่ปัดกวาดอันภิกษุผู้มีราคะไปปราศแล้วทำการปัดกวาด แต่เพื่อต้องการทดลอง จึงถามปัญหาต่างๆ พระติสสเถระนั้นก็กล่าวแก้ปัญหาอันภิกษุเหล่านั้นถามแล้วทุกข้อ เพราะความที่ตนเป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลายดังนี้.
    ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระและของพระนาคเสนเถระ ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยปริยัติ. ปฏิสัมภิทาของสามเณร ชื่อสุธรรม ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยการฟังธรรมโดยเคารพ.
    ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระธัมมทินนเถระผู้อยู่ในตฬังครวาสี ในขณะที่ปลงผมเสร็จก็บรรลุพระอรหัต เมื่อท่านกำลังนั่งฟังธรรมในโรงวินิจฉัยธรรมของพระเถระผู้เป็นลุงนั่นแหละ ได้เป็นผู้ชำนาญพระไตรปิฎกแล้ว.
    ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระผู้กล่าวอรรถ (ปริปุจฉา) ด้วยพระบาลีอันตนเรียนมา ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว. อนึ่ง พระโยคาวจรในปางก่อนบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร (วัตรคือการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา) แล้วขวนขวายกรรมฐานอันเหมาะสม มีปฏิสัมภิทาอันถึงความบริสุทธิ์แล้ว มิได้สิ้นสุด (มีมากมาย).
    ก็บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ สวนะ ปริปุจฉา เป็นเหตุ (เครื่องกระทำ) ที่มีกำลัง แก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน. ปุพพโยคะ เป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง) แก่อธิคม (การบรรลุพระอรหัต).
    ถามว่า ปุพพโยคะเป็นปัจจัยที่มีกำลังแก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน หรือไม่?
    ตอบว่า เป็น แต่มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะปริยัติคือพระพุทธพจน์ สวนะคือการฟังธรรม ปริปุจฉาคือการสอบถามอรรถธรรมในกาลก่อน จะมีหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อว่าโดยปุพพโยคะแล้ว เว้นจากการพิจารณาสังขารทั้งหลายในกาลก่อนด้วย ในกาลปัจจุบันด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ชื่อว่าหามีได้ไม่.
    อนึ่ง ปุพพโยคะในกาลก่อน และในกาลปัจจุบันนี้ เมื่อรวมกันเข้ามาสนับสนุนแล้ว ย่อมทำปฏิสัมภิทาให้บริสุทธิ์. วรรณนาสังคหวาระ จบ.๑- ____________________________
    ๑- สังคหวาระ หมายถึงวาระที่กล่าวรวมกัน.

    บัดนี้ เพื่อจำแนกปฏิสัมภิทาทั้งหลายโดยนัยแห่งการแสดงประเภทแห่งการสงเคราะห์ อรรถและธรรมทั้ง ๕ วาระเหล่าใดเหล่าหนึ่งในสังคหวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มปเภทวาระ (คือวาระที่มีชนิดต่างกัน) โดยนัยเป็นต้นว่า จตสฺโส (แปลว่า ปฏิสัมภิทา ๔) ดังนี้อีก. วาระนั้นมี ๕ อย่างด้วยสามารถแห่งสัจจวาระ เหตุวาระ ธัมมวาระ ปัจจยาการวาระ ปริยัตติวาระ.
    ในวาระเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจจวาระไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่พระนิพพานเป็นธรรมที่บรรลุได้ด้วยปัจจัยแห่งทุกข์ซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น ว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่อริยมรรคอันนำมาซึ่งพระนิพพานอันเป็นเหตุ อันยังผลให้เกิดขึ้นว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา).
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเหตุวาระ๒- ไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่เหตุทั้งหลายอันยังผลให้เกิดอันใดอันหนึ่งว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่ผลของเหตุว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา). ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงก่อน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบอันว่าด้วยลำดับแห่งเหตุและผลที่ทรงตั้งไว้.
    ____________________________
    ๒- เหตุวาระ ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อัตถ ...ธัมม ... นิรุตติ ... ปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระผู้มีพระภาคเจ้าอธิบายธัมมะ (เหตุ) ก่อนอัตถะ.

    อนึ่ง ธรรมเหล่าใดอันต่างด้วยรูปและอรูปธรรม (ขันธ์ ๕) อันเกิดขึ้นแล้วมีแล้วจากเหตุนั้นๆ เพื่อแสดงซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงซึ่งความที่เหตุอันเกิดขึ้นแห่งรูปและอรูปธรรมนั้นๆ ว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสธัมมวาระไว้.
    ก็เพื่อแสดงซึ่งธรรมมีชราและมรณะเป็นต้นว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และซึ่งความที่ธรรม คือชาติ (การเกิด) กล่าวคือเหตุเกิดขึ้นแห่งชราและมรณะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปัจจยาการวาระ.
    ลำดับนั้น เพื่อแสดงซึ่งภาษิตนั้นๆ กล่าวคือพระปริยัติ และซึ่งความที่อรรถแห่งภาษิตที่พึงบรรลุได้ด้วยปัจจัยกล่าวคือภาษิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปริยัตติวาระ ในข้อนี้ อรรถแห่งภาษิตนั้นที่จะรู้ได้ ย่อมรู้ได้ด้วยภาษิต ฉะนั้น พระองค์จึงทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงแสดงก่อนอัตถปฏิสัมภิทา โดยมิได้แสดงไปตามลำดับแห่งเนื้อความภาษิตที่พระองค์ตรัสไว้.
    อนึ่ง เพื่อแสดงประเภทแห่งพระปริยัติธรรมว่า ในปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นไฉน. จึงตรัสปฏิสัมภิทา (คือวาระที่วกกลับมาชี้แจง) เป็นคำถามเป็นประธาน. ในวาระที่วกกลับมาชี้แจงนั้น ทรงถือเอาแบบแผนทั้งหมดโดยไม่เหลือ ด้วยองค์ ๙#- ซึ่งมีคำว่าสุตตะเป็นต้นว่า เป็นธัมมปฏิสัมภิทา ทรงถือเอาแบบแผนทั้งหมดสิ้นเชิง โดยการแสดงมิให้เหลือ ด้วยสามารถแห่งภาษิตในที่แม้นี้ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ ดังนี้ ว่าเป็นอัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้แล.
    ____________________________
    #- องค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ.
    สุตตันตภาชนีย์ จบ.
    ----------------------------------------------
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กรรมตกเป็นของปฎิสัมภิทาระดับ ๑ แล้ว ปฎิสัมภิทา ๑๕ ระดับที่สูงส่งกว่านี้ ระดับครอบจักรวาล ก็คิดเอาเองล่ะกัน ว่าจะเข้าใจได้มากน้อยขนาดไหน?

    3333 145.jpg
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บันทึกงานของในหลวง ตอน พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ



    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานรางวัลเกษตรกรดีเด่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ



    ในปี พ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมการข้าว (เดิม) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำพันธุ์ข้าวต่างๆ มาปลูกทดลองในบริเวณสวนจิตรลดา และให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล นำควายเหล็กหรือรถไถแบบ 4 ล้อ ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 8.5 แรงม้า ไปใช้เตรียมดินสำหรับปลูกข้าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำในการปรับปรุง "ควายเหล็ก" ที่ผลิตในประเทศไทย ให้ได้รูปแบบที่ดีเหมาะสมกับการใช้งานด้วย ซึ่งในเวลานั้น พระองค์ท่านทรงขับรถไถนาควายเหล็ก เพื่อเตรียมแปลงปลูกข้าว ตลอดจนทรงหว่านข้าวและเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง และในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีทำขวัญหรือขวัญแม่โพสพขึ้น ณ แปลงนาทดลอง ในระยะที่ต้นข้าวกำลังตั้งท้องรอวันออกรวง ตามประเพณีโบราณด้วย

    ต่อมา ในวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาแรกนา ไปทำพิธีหว่านข้าวที่แปลงนาทดลองในสวนจิตรลดา ต่อจากพระราชพิธีที่ท้องสนามหลวงด้วย และพระองค์ท่านก็เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน ในพระราชประเพณีนี้สืบมา

    ปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำให้ทดลองปลูกข้าวไร่ ภายในสวนจิตรลดา เพื่อหาวิธีการและหาเมล็ดพันธุ์ที่ดี สำหรับเผยแพร่ให้เกษตรกร เนื่องจากมีเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กราบถวายบังคมทูลเกี่ยวกับข้าวไร่ที่ได้ผลผลิตต่ำมาก
    ปัจจุบันนาข้าวทดลองสวนจิตรลดา ได้ทำการปลูกข้าวนาสวน และข้าวไร่ในฤดูฝน หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ในช่วงฤดูแล้ง จะปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียนในนาข้าวด้วย

    เมล็ดพันธุ์ข้าวต่างๆ ที่เก็บเกี่ยวได้ จะนำไปใช้ในพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในปีต่อไป และพระราชทาน ให้นำไปบรรจุใส่ซองเล็กๆ สำหรับแจกจ่ายให้พสกนิกร และเกษตรกรทั่วประเทศ เป็นพันธุ์ข้าวพระราชทาน เพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคล ในการประกอบอาชีพการเกษตรของตน ตามประเพณีนิยม



    เนื่องในวันพืชมงคล

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า

    “การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมนิยมมีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงลงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ ก็มีอยู่เสมอเป็นนิจไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่างเหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตนตามปกติก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไปด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นอันตรายไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลัง จึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและหาทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้า จะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจโดยอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทาง ไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด”

    พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ..โบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงให้ความสำคัญ

    http://welovethaiking.com/blog/%E0%B...8%84%E0%B8%A5/

    สรุป ก็หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นเคย แล้วเคสนี้หนักด้วย คงคิดออกนะ อย่างที่คึกฤทธิ์ว่า ตราบใดที่ยังมีพิธีกรรม แรกนาขวัญ เป็นต้น ผู้ที่ส่งเสริมพิธีกรรมนี้ อย่าฝันแม้แต่จะเป็นพระโสดาบัน

    -----------------------------------------------------------------------
    พุทธวจน - พิธีการต่างๆที่ปฎิบัติสืบทอดกันอยู่ ถูกต้องหรือไม่ตามหลักพุทธวจน
    เคสนี้
    ดูหมิ่นพระราชพิธีพราหมณ์ อ้างไม่ใช่คำสอนพระพุทธเจ้า ที่พระบรมวงศานุวงค์ทรงกัลยาณวัตร หาว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ดูหมิ่นหน่อพุทธางกูล หมายว่า ประเทศไทยยังไม่เลิกปฎิบัติพิธีพราหมณ์ทุกอย่าง ไม่มีทางได้เป็นพระโสดาบันไล่ขึ้นไปเลย


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2018
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    วันพืชมงคล หมายถึง วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่าแก่มาแต่โบราณ ที่เสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ พระราชพิธีพืชมงคลได้เริ่มมีขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชพิธี 2 พิธี รวมกันคือ พระราชพิธีมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์อย่างหนึ่ง กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์ โดยพิธีสงฆ์จะจัดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสมนามหลวง การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปแบบครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2479 แล้วว่างเว้นไป ต่อมาในปี พ.ศ.2503 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้น

    โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีกระแสรับสั่งให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย ในการประกอบพระราชพิธีพืชมงคล พระมหากษัตริย์ จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทำขวัญพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก เป็นต้น ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกหน้าขวัญ เป็นพระราชพิธีเริ่มการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร โดยจะโปรดเกล้าแต่งตั้งนางเทพีหาบพันธุ์พืช เช่น พันธุ์ข้าว ตามหลังพระยาแรกนา โดยมีพระโคเทียมแอกและไถพร้อมอยู่ ณ บริเวณนาจำลองที่ท้องสนามหลวง พระยาแรกนาจะไถหว่านพันธุ์พืช โดยใช้พันธุ์พืชที่นางเทพีหาบตามหลัง หว่านลงบนนาจำลองเสมือนเป็นการประกาศแก่เกษตรกรว่า ฤดูกาลทำนาเริ่มแล้ว โดยสมมุติว่าพระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณาเริ่มการหว่านไถเป็นแบบอย่างและเป็นมงคล เพื่อให้เกษตรกรดำเนินตาม

    พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐาน เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร แห่งราชอาณาจักรไทย ข้าวนั้นถือเป็นอาหารหลักของประชาชนในภาษาบาลีเรียกว่า ปุพพัณณะ หรือ บุพพัณณะ หรือ บุพพัณณชาติ ส่วนพืชอื่น ๆ ที่เป็นอาหารเรียกว่า อปรัณณ หรือ อปรัณชาติ หมายถึง พืชจำพวกถั่ว งา เป็นต้น ถ้าเรียกควบทั้งสองอย่างก็เรียกว่า บุพพัณณปรัณณชาติ ที่หมายถึงพืชที่เป็นอาหารทุกชนิด บุพพัณณปรัณณชาติ ที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้น เป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่าง ๆ รวม 40 อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว กับเผือกมันต่าง ๆ พันธุ์พืชเหล่านี้เป็นของปลูกงอกได้ทั้งสิ้น เมล็ดพืชที่หว่านแล้วนั้น เกษตรและราษฎร จะนำไปผสมกับพันธุ์พืชของตน หรือเก็บในถุงเงินเพื่อเป็นสิริมงคล ให้การประกอบเกษตรกรรมของตนได้ผลดี
    สำหรับการพยากรณ์ในการเสี่ยงทาย ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจะเป็น
    - ผ้านุ่งแต่งกาย ผ้านุ่ง ซึ่งพระยาแรกนาขวัญ ตั้งสัตยาอธิฐานหยิบนั้นเป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตก มีผ้าคลุมให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น คือ
    - ถ้าหยิบได้ผ้า 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่
    - ถ้าหยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่าน้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในในนาจะได้ผลบริบูรณ์และผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
    - ถ้าหยิบได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้างไม่ได้ผลเต็มที่
    ของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้นมีข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา หล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น คือ
    - ถ้าพระโคกินข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหารจะบริบูรณ์ดี
    - ถ้าพระโคกินถั่วหรืองา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
    - ถ้าพระโคกินน้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
    - ถ้าพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
    ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (ร.9) ทรงเพาะพันธุ์ข้าวชั้นดีในเขตพระราชฐาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่จัดพันธุ์ข้าวบรรจุซองเพื่อแจกแก่เกษตรกรด้วย ส่วนตำแหน่งพระยาแรกนาในสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงต้นรัชกาลที่ 4 ได้แก่ เจ้าพระยาพลเทพ ส่วนพระยาแรกนาในรัชกาลปัจจุบัน (ร.9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นพระยาแรกนา พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี เนื่องจากระยะนี้เป็นระยะที่เหมาะสม ที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของคนไทย แต่มิได้กำหนดวันที่แน่นอน เพียงแต่พิจารณาว่า วันใดในเดือนหก หรือเดือนพฤษภาคม ที่มีฤกษ์ยามเหมาะสมก็ให้จัดในวันนั้น





     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พิธีราชรถต่างๆตามคติความเชื่อพราหมณ์

     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ตามประวัติศาสตร์แล้วพราหมณ์และศาสนาพราหมณ์นั้นเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมานับตั้งแต่ยุคสมัยอาณาจักรขอมยังเรืองอำนาจ จะเห็นได้ว่าเทวาลัย ปราสาทหินต่างๆที่ยังคงหลงเหลืออยู่นั้นต่างก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพิธีกรรมและคตินิยมตามจารีตประเพณีของพราหมณ์ก็ได้ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้และแทรกซึมผสมผสานรวมเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวไทย พราหมณ์ในชมพูทวีปคือวรรณะหนึ่ง หรือเรียกง่ายๆก็คือชนชั้นหนึ่งที่ได้มีการสืบเชื้อสายตกทอดมาซึ่งเป็นแนวคิดในวิถีชีวิตเฉพาะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในสังคมของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในดินแดนชมพูทวีปนั้น พราหมณ์ถือเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมฮินดูที่ถือว่าเป็นวรรณะที่มีอิทธิพลสูงสุดวรรณะหนึ่งเพราะเป็นผู้รู้ เป็นปราชญ์ เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ พระเวท พิธีกรรมต่างๆ จารีต ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม ต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป บางองค์ความรู้ก็ดำรงคงไว้ให้ผู้สืบเชื้อสายในตระกูลได้สืบทอด พราหมณ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถ้าเปรียบเปรยแล้วก็มีสถานะเทียบได้กับพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ เพียงแต่จริยวัตรของพราหมณ์นั้นจะแตกต่างจากพระสงฆ์ในหลายๆเรื่องเช่น พราหมณ์โดยปกติจะถือศีล นุ่งผ้าตามแบบลักษณะของนิกายตนเอง ไว้มวยผมบ้าง ปอยผมบ้าง หรือบางนิกายก็ตัดผมสั้น และทานมังสะวิรัต งดเว้นเนื้อสัตว์ แต่สำหรับพราหมณ์ไทยทานเนื้อสัตว์ได้แต่งดเว้นเนื้อสัตว์บางประเภทเท่านั้น เช่น เนื้อวัว เนื้อปลาไหล เนื้อนก เป็นต้น พราหมณ์ต้องถือศีลตามข้อวัตรปฏิบัติของนิกายที่ตนเองนับถืออยู่ พราหมณ์สามารถมีครอบครัวเพื่อสืบสกุล โดยจะพำนักอยู่บ้านพักอาศัยของตนเอง หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธินิกายแห่งตน สำหรับพราหมณ์หลวงจะเข้าไปพำนักรอบๆเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ดังจะเห็นได้จากจะมีชุมชนพราหมณ์อยู่ในบริเวณนั้น

    สำหรับพราหมณ์ในสังคมไทย ผู้เขียนขอแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆกล่าวคือ พราหมณ์ที่เกิดในคติของพราหมณ์ไทย กับพราหมณ์ที่เกิดขึ้นในคติของพราหมณ์ฮินดู ถามว่าเพราะเหตุใด ผู้เขียนถึงแยกพราหมณ์ออกเป็นสองกลุ่มในลักษณะนี้เสียก่อน ก็ด้วยเหตุที่ว่า พราหมณ์ตามคติของไทยเรานั้น มีจริยวัตรแตกต่างและพิธีกรรม จารีต ประเพณีก็แปลกแตกต่างจากพราหมณ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูของชาวชมพูทวีปอยู่มากจนทำให้พิธีกรรมและอัตลักษณ์ของพราหมณ์ไทยนั้นแยกตัวออกมาและแตกต่างไม่เหมือนกันกับพราหมณ์ของประเทศในแถบชมพูทวีป เช่นประเทศอินเดีย ทั้งๆที่พราหมณ์ไทยมีต้นเค้าหรือรากเหง้ามาจากพราหมณ์อินเดียทางตอนใต้ของประเทศอินเดียในส่วนที่เรียกว่า ทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน ซึ่งก็คงมีลักษณะที่คล้ายๆกันกับพราหมณ์ของชาวเกาะบาหลี ที่ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในรูปแบบของชาวบาหลีเอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแบ่งแบบนี้เพื่อให้ทำความเข้าใจกันก่อน ส่วนความเป็นพราหมณ์ไทยที่เกิดด้วยวิธีการแบบไทยนั้นผู้เขียนขอแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ตามความเข้าใจของผู้เขียนเองคือ เอาแบบที่อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายก็คือ พราหมณ์หลวง และ พราหมณ์ราษฎร์

    สำหรับผู้เขียนนั้นพราหมณ์หลวงคือผู้ที่ได้รับการบวชพราหมณ์จากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบของพราหมณ์หลวง โดยผู้ขอรับการบวชจะนำของมาถวายต่อพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์ที่เรียกว่า สายยัชโญปวีตเพื่อเป็นการแสดงว่าตนได้เกิดใหม่หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ในแบบพิธีไทยไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระในพระพุทธศาสนา กล่าวโดยรวมคือพราหมณ์ในแบบไทยเรานั้นจะถือศีลขั้นพื้นฐานแบบเดียวกับศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ โดยสามารถแต่งกายสุภาพทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ นี่เป็นเพียงขั้นตอนการบวชพราหมณ์แบบคร่าวๆของพราหมณ์ไทย แต่สำหรับการเป็นนักบวชในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูของชาวอินเดียนั้นมีกฏเกณฑ์วัตรปฏิบัติที่มากกว่าเช่น ทานมังสะวิรัตตลอดชีวิต ถือศีลอดในเทศกาลบูชาที่สำคัญ ท่องจำพระเวทเพื่อประกอบพิธีบูชาและออกจาริกแสวงบุญในเวลาอันสมควร ซึ่งจะมีความแตกต่างจากพราหมณ์ในรูปแบบของไทย ซึ่งก็มีคนไทยที่ปฏิบัติตนเองและได้รับการบวชมาแล้วเช่นกันแต่มีจำนวนน้อยมาก พราหมณ์กับการไว้ทรงผม สำหรับพราหมณ์ไทยมีคติเกี่ยวกับเส้นผมคือห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าศีรษะและเส้นผมเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับพราหมณ์อินเดียหรือเนปาลจะไว้ผมบ้างหรือตัดผมบ้างแล้วแต่นิกายครับ

    ในปัจจุบันพราหมณ์หลวงนั้นมีบทบาทและหน้าที่ถวายงานรับใช้พระราชวงศ์ทำหน้าที่เกี่ยวกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีพยานในการพระราชพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ และบ้านเมือง ยกตัวอย่างเช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีพืชมงคล พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย เป็นต้น และงานตามวาระโอกาสสำคัญ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นต้น

    https://www.gotoknow.org/posts/391602
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    ๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)

    --------------------------------------------------------------------------------------
    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
    ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
    รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
    [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่าทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
    ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
    สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
    ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
    โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
    มารดาไม่มีบิดาไม่มี
    สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี

    สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
    นี้
    มิจฉาทิฐิ

    [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
    เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
    [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว มีผล
    ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
    สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
    ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
    โลกนี้มี โลกหน้ามี
    มารดามี บิดามี
    สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี

    สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ
    ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗


    ใครเลว ใครเป็นภัยต่อประเทศราชนี้ กี่อย่างแล้ว
    10014707_916186751735788_1093291634055080065_n.jpg
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฝากด้วยนะครับ สำหรับสำนักวัดนาป่าพง ที่บิดเบือนทำลายพระไตรปิฏกและปลุกปั่นสร้างความแตกแยกความสามัคคีของคนในชาติ เพื่อหวังทำลายงานพระราชประเพณีทางพราหณ์ทุกประการ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2018
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่ต้องเสร่อมาลบหลักฐานอีกล่ะ เขาก๊อปมาเป็นหลักฐานไว้หมดแล้ว







     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฝากตรวจสอบและเอาผิดด้วยครับ#สำนักพระราชวัง #สำนักงานตำรวจแห่งชาติ #กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม #กองบัญชาการตำรวจสอบสวนการ #กองบังคับการปราบปราม #กองบังคับการปราบปรามกระทำความผิด #สู้ๆนะครับ #เรื่องนี้ต้องถึงที่สุดครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทย เคสนี้ดูหมิ่นพระราชพิธี ที่พระบรมวงศานุวงค์ทรงกัลยาณวัตร หาว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ดูหมิ่นหนอพุทธางกูล ที่บิดเบือนทำลายพระไตรปิฏกและปลุกปั่นสร้างความแตกแยกความสามัคคีของคนในชาติ เพื่อหวังทำลายงานพระราชประเพณีทางพราหณ์ทุกประการ

    กล่าวแบบนี้ ก็เท่ากับหาว่าพระบรมวงค์ศานุวงศ์ และพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวไทย และคนไทยที่นับถือศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ไม่มีทางบรรลุมรรคผล ไม่มีทางได้บุญกุศลใดๆจากการประกอบพิธี และไม่มีทางเป็นพระอริยะบุคคลได้

    ชั่วไหม?ครับ
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จะหนีไปสวีเดนเพื่อไปรับกิจนิมนต์แล้วนะครับ 517- รีบตรวจสอบประชุมสงฆ์ทั้งประเทศลงโทษทางวินัย เอาผิดทั้งทางโลกทางธรรมเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง อายัดตัวไว้ก็จะดีนะครับ

    http://www.onab.go.th/wp-content/up...bSGp3tV4MejYXFzoINrKgAtmnliswMJzc_qj0WX83oQao
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระไตรปิฎกคืออะไร ?

    ในความเข้าใจในความหมายทั่วไป


    ศาสนาทุกศาสนา มีคัมภีร์หรือตำราทางศาสนาเป็นหลักในการสั่งสอน แม้เดิมจะมิได้ขีดเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เมื่อมนุษย์รู้จักใช้ตัวหนังสือ ก็ได้มีการเขียน การจารึกคำสอนในศาสนานั้น ๆ ไว้ เมื่อโลกเจริญขึ้นถึงกับมีการพิมพ์หนังสือเป็นเล่ม ๆ ได้ คัมภีร์ศาสนาเหล่านั้นก็มีผู้พิมพ์เป็นเล่มขึ้นโดยลำดับ

    พระไตรปิฎก หรือที่เรียกในภาษาบาลีว่า ติปิฎกหรือเตปิฎกนั้น เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับไตรเวท เป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ใบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ อัล กุรอานของศาสนาอิสลาม

    กล่าวโดยรูปศัพท์ คำว่า "พระไตรปิฎก" แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำ ๆ ว่า พระ+ไตร+ปิฎก คำว่า พระ เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า ไตร แปลว่า ๓ คำว่า ปิฎก แปลได้ ๒ อย่าง คือแปลว่า คัมภีร์หรือตำราอย่างหนึ่ง แปลว่า กระจาดหรือตะกร้าอย่างหนึ่ง ที่แปลว่ากระจาดหรือตะกร้า หมายความว่า เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหวดหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของฉะนั้น

    พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง ?

    เมื่อทราบแล้วว่า คำว่า พระไตรปิฎก แปลว่า ๓ คัมภีร์ หรือ ๓ ปิฎก จึงควรทราบต่อไปว่า ๓ ปิฎก นั้นมีอะไรบ้าง และแต่ละปิฎกนั้น มีความหมายหรือใจความอย่างไร ปิฎก ๓ นั้นแบ่งออกดังนี้

    ๑. วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี

    ๒. สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่ว ๆ ไป

    ๓. อภิธัมมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ๆ หรือธรรมะที่สำคัญ

    ลักษณะการจัดหมวดหมู่ของแต่ละปิฎก ได้กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกนั้น แบ่งออกเป็นวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎก โดยลำดับ พระโบราณาจารย์ฝ่ายไทยได้ใช้วิธีย่อหัวข้อสำคัญในแต่ละปิฎก เพื่อจำง่ายเป็นอักษรย่อ ในการใช้อักษรย่อนั้น วินัยปิฎกมี ๕ คำ สุตตันตปิฎก ๕ คำ อภิธัมมปิฎก ๗ ดังต่อไปนี้....

    วินัยปิฎก

    อักษรย่อในปิฎกอื่น ๆ ไม่มีปัญหา คงมีปัญหาเฉพาะวินัยปิฎก คือ อา, ปา, ม, จุ, ป อา = อาทิกัมม์ ( การกระทำที่เป็นต้นบัญญัติ ) หมายเฉพาะรายการพระวินัย ตั้งแต่อาบัติปาราชิกลงมาถึงสังฆาทิเสส, ปา = ปาจิตตีย์ เป็นชื่อของอาบัติในปาฏิโมกข์ เฉพาะตั้งแต่ถัดสังฆาทิเสสลงมา ทั้งสองหัวข้อนี้เป็นการย่ออย่างจับความมากกว่าย่อตามชื่อหมวดหมู่ จึงไม่ตรงกับชื่อที่ใช้เป็นทางการในวินัยปิฎก ส่วนอีก ๓ ข้อท้ายตรงตามชื่อหมวดหมู่ ฉะนั้น ถ้าจะจัดตามชื่อ จึงควรเป็นดังนี้

    ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยศีลของภิกษุที่มาในปาฏิโมกข์ ( คำว่า ปาฏิโมกข์ คือศีลที่เป็นใหญ่เป็นสำคัญอันจะต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน)

    ๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยศีลของภิกษุณี

    ๓. ม = มหาวัคค์ แปลว่า วรรคใหญ่ แบ่งออกเป็นขันธกะ คือหมวดต่าง ๆ ๑๐ หมวด

    ๔. จุ = จุลลวัคค์ แปล วรรคเล็ก แบ่งออกเป็นขันธกะ คือหมวดต่าง ๆ ๑๒ หมวด

    ๕. ป = ปริวาร หมายถึงหัวข้อเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญญาใน ๔ เรื่องข้างต้น
    แต่ความเข้าใจของชาวอังกฤษที่ตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ขึ้นพิมพ์พระไตรปิฎก ในประเทศอังกฤษเขาแบ่งวินัยปิฎกออกเป็น ๓ ส่วน คือ

    ๑ . สุตตวิภังค์ หมายรวมทั้งศีลของภิกษุและภิกษุณี

    ๒. ขันธกะ หมายรวมทั้งมหาวัคค์และจุลลวัคค์

    ๓. ปริวาร คือหัวข้อเบ็ดเตล็ด

    ปัญหาเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้เกิดการผิดพลาดหรือบกพร่องในวินัยปิฎกแต่ละประการใด ต้นฉบับก็ตรงกัน เป็นแต่การเรียกชื่อหัวข้อ หรือวิธีแบ่งหัวข้อต่างกันออกไปเท่านั้น

    ในหนังสืออรรถกถาวินัย ( สมันตัปปาสาทิกาภาค ๑ หน้า ๑๗ ) พระอรรถกถาจารย์จัดหัวข้อย่อวินัยปิฎกไว้ว่า ชื่อวินัยปิฎก คือ “ ปาฏิโมกข์ ๒ ( ภิกขุปาฏิโมกข์ ภิกขุนีปาฏิโมกข์ ) วิภังค์ ๒ ( มหาวิภังค์หรือภิกขุวิภังค์กับภิกขุนีวิภังค์) ขันธกะ ๒๒ ( รวมทั้งในมหาวัคค์และจุลลวัคค์ ) และบริวาร ๑๖ ” เรื่องเหล่านี้คงเป็นปัญหาในการเรียกชื่อหมวดหมู่ตามเคย ถ้ารู้ความหมายแล้วจะท่องจำหัวข้อย่อ ๆ แบบไทยว่า อา, ปา, ม, จุ, ป ก็คงได้ประโยชน์เท่ากัน อนึ่ง ท่านผู้อ่านจะเข้าใจยิ่งขึ้นเมื่ออ่านถึงภาค ๓ อันว่าด้วยความย่อแห่งพระไตรปิฎก เพราะจะได้เห็นหัวข้อที่แบ่งออกไปเป็นหมวดหมู่รอง ๆ ลงไปหมวดใหญ่อย่างชัดเจน

    สุตตันตปิฎก หัวข้อย่อแห่งสุตตันตปิฎกมี คือ ที , ม, สัง, อัง, ขุ ดังต่อไปนี้

    ๑ . ที = ทีฆนิกาย แปลว่า หมวดยาว หมายถึงหมวดที่รวบรวมพระสูตรขนาดยาว ไว้ส่วนหนึ่งไม่ปนกับพระสูตรประเภทอื่น ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๓๔ สูตร

    ๒. ม = มัชฌิมนิกาย แปลว่า หมวดปานกลาง หมายถึงหมวดที่รวบรวมพระสูตรขนาดกลางไม่สั้นเกินไป ไม่ยาวเกินไปไว้ส่วนหนึ่ง ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๑๕๒ สูตร

    ๓. สัง= สังยุตตนิกาย แปลว่า หมวดประมวล คือประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น เรื่องพระมหากัสสป เรียกกัสสปสังยุต เรื่องอินทรีย์ ( ธรรมะที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน) เรียกอินทริยสังยุต เรื่องมรรค ( ข้อปฏิบัติ ) เรียกมัคคสังยุต ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๗,๗๖๒ สูตร (การนับจำนวนสูตรนี้กล่าวตามหลักฐานของอรรถกถา เพราะในสังยุตตนิกายและอังคุตตรนิกาย บางแห่งก็บอกชื่อสูตร บางแห่งก็บอกชื่อ ส่วนใหญ่ไม่บอกชื่อสูตร )

    ๔. อัง = อังคุตตรนิกาย แปลว่า หมวดยิ่งด้วยองค์ คือจัดลำดับธรรมะไว้เป็นหมวด ๆ ตามลำดับตัวเลข เช่น หมวดธรรมะข้อเดียว เรียกเอกนิบาต หมวดธรรมะ ๒ ข้อ เรียกทุกนิบาต หมวดธรรมะ ๓ ข้อ เรียกติกนิบาต ดังนี้เป็นต้น จนถึงหมวดธรรมะ ๑๐ ข้อ เรียกทสกนิบาต หมวดธรรมะเกิน ๑๐ ข้อ เรียกอติเรกทสกนิบาต ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๙,๕๕๗ สูตร

    ๕. ขุ = ขุททกนิกาย แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน ๔ หมวดข้างต้นมารวมไว้ในหมวดนี้ทั้งหมด เมื่อจะแบ่งโดยหัวใหญ่ก็มี ๑๕ เรื่อง คือ

    ๑. ขุททกปาฐะ แปลว่า บทสวดเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยมากเป็นบทสวดสั้น ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

    ๒. ธรรมบท แปลว่า บทแห่งธรรม คือธรรมภาษิตสั้น ๆ ประมาณ ๓๐๐ หัวข้อ ( ส่วนเรื่องพิสดารมีท้องเรื่องประกอบปรากฏในอรรถกถา)

    ๓. อุทาน แปลว่า คำที่เปล่งออกมา หมายถึงคำอุทานที่เป็นธรรมภาศิต มีท้องเรื่องประกอบเป็นเหตุปรารภในการเปล่งอุทานของพระพุทธเจ้า

    ๔. อิติวุตตกะ แปลว่า “ ข้อความที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้” เป็นการอ้างอิงว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความไว้อย่างนี้ ไม่มีเรื่องประกอบ มีแต่ที่ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสไว้อย่างนี้

    ๕. สุตตนิบาต แปลว่า รวมพระสูตร คือรวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน มีชื่อสูตรบอกกำกับไว้

    ๖. วิมานวัตถุ แปลว่า เรื่องของผู้ได้วิมาน แสดงเหตุดีที่ให้ได้ผลดีตามคำบอกเล่าของผู้ได้ผลดีนั้น ๆ

    ๗. เปตวัตถุ แปลว่า เรื่องของเปรตหรือผู้ล่วงลับไป ที่ทำกรรมชั่วไว้

    ๘. เถรคาถา ภาษิตต่าง ๆ ของพระเถระผู้เป็นอรหันตสาวก

    ๙. เถรีคาถา ภาษิตต่าง ๆ ของพระเถรีผู้เป็นอรหันตสาวิกา

    ๑๐. ชาดก แสดงภาษิตต่าง ๆ เกี่ยวโยงกับคำสอนประเภทเล่านิทาน ( ท้องเรื่องพิสดารมีในอรรถกถา เช่นเดียวกับธรรมบท)

    ๑๑. นิทเทส แบ่งออกเป็นมหานิทเทสกับจูฬนิทเทส คือมหานิทเทสเป็นคำอธิบายพระพุทธภาษิตในสุตตนิบาต ( หมายเลข ๕ ) รวม ๑๖ สูตร ส่วนจูฬนิทเทส เป็นคำอธิบายพระพุทธภาษิตในสุตตนิบาต ( หมายเลข ๕ ) ว่าด้วยปัญหาของมาณพ ๑๖ คน กับ ขัคควิสาณสูตร กล่าวกันว่าเป็นภาษิตของพระสารีบุตรเถรเจ้า

    ๑๒. ปฏิสัมภิทามัคค์ แปลว่า ทางแห่งปัญญาอันแตกฉาน เป็นคำอธิบายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งกล่าวกันว่าพระสารีบุตรเถรเจ้าได้กล่าวไว้

    ๑๓. อปทาน แปลว่า คำอ้างอิง เป็นประวัติส่วนตัวที่แต่ละท่านเล่าไว้ ซึ่งอาจแบ่งได้ คือเป็นอดีตประวัติของพระพุทธเจ้า ของพระเถระอรหันตสาวก ของพระเถรีอรหันตสาวิกา ส่วนที่เป็นประวัติการทำความดีของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มีคำอธิบายว่า เป็นพุทธภาษิตตรัสเล่าให้พระอานนท์ฟัง

    ๑๔. พุทธวังส แปลว่า วงศ์ของพระพุทธเจ้า หลักการใหญ่เป็นการแสดงประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ องค์ รวมทั้งของพระโคตมพุทธเจ้าด้วยจึงเป็น ๒๕ องค์ นอกจากนั้นมีเรื่องเบ็ดเตล็ดแทรกเล็กน้อย

    ๑๕. จริยาปิฎก แปลว่า คัมภีร์แสดงจริยา คือการบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแบ่งหลักใหญ่ออกเป็นทาน ( การให้) ศีล ( การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย) และเนกขัมมะ ( การออกบวช )

    ข้อสังเกตท้ายสุตตันตปิฎก พระสุตตันตปิฎกซึ่งเเบ่งออกเป็น ๕ นิกายดังกล่าวมาแล้ว คือทีฆนิกายจนถึงขุททกนิกายนั้น บางครั้งพระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ๕ นิกายนี้แหละ จะเรียกว่าประมวลได้ครบทั้งสามปิฎกก็ได้ คือถือว่านอกจากพระพุทธวจนะที่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้นแล้ว พระพุทธวจนะที่เหลือจัดเข้าในขุททกนิกาย คือหมวดเบ็ดเตล็ดทั้งหมด คือทั้งวินัยปิฎกและอภิธัมมปิฎก จัดเข้าในขุททกนิกายทั้งสิ้นคำว่า นิกายนี้ ในที่บางแห่งใช้คำว่า อาคม แทนพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทที่ปรากฏแปลในฉบับจีน ชาวจีนใช้คำว่า อาคม หมายรวมแทนพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท

    อภิธัมมปิฎก หัวข้อย่อแห่งอภิธัมมปิฎกมี ๗ คือ สัง, วิ, ธา, ปุ, ก, ย, ป, ดังต่อไปนี้

    ๑. สัง = สังคณี ว่าด้วยการรวมหมู่ธรรมะ คือธรรมะแม้จะมีมากเท่าไร ก็อาจรวมหรือจัดเป็นประเภท ๆ ได้เพียงไม่เกิน ๓ อย่าง

    ๒. วิ = วิภังค์ ว่าด้วยการแยกธรรมะออกเป็นข้อ ๆ เช่น เป็นขันธ์ ๕ เป็น เป็นต้น ทั้งสังคณีและวิภังค์นี้ เทียบด้วยคำว่าสังเคราะห์ ( Synthesis ) และวิเคราะห์ ( Analysis ) ในวิทยาศาสตร์ เป็นแต่เนื้อหาในทางศาสนากับทางวิทยาศาสตร์ มุ่งไปคนละทาง คงลงกันได้ไนหลักการว่า ควรเรียนรู้ทั้งในทางรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม เช่น รถคันหนึ่งควรรู้ทั้งการประกอบเข้าเป็นคันรถ และแยกส่วนต่าง ๆ ออกฉะนั้น

    ๓. ธา = ธาตุถกา ว่าด้วยธาตุ คือธรรมะทุกอย่าง อาจจัดเป็นประเภทได้โดย ธาตุ อย่างไร

    ๔. ปุ = ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการ เช่น บัญญัติขันธ์ บัญญัติอายตนะ จนถึงบัญญัติเรื่องบุคคล พร้อมทั้งแจกรายละเอียดเรื่องบัญญัติบุคคลต่าง ๆ ออกไป

    ๕. ก = กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถาม คำตอบ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (เพราะอรรถกถาจารย์กล่าวว่า เป็นคำถาม ๕๐๐ คำตอบ ๕๐๐ แต่ตัวเลข ๕๐๐ นี้ อาจหมายเพียงว่าหลายร้อย เพราะเท่าที่นับกันดูแล้ว ได้คำถาม คำตอบ อย่างละ ๒๑๙ ช้อ)

    ๖. ย = ยมก ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ ๆ บางทีจัดคู่ก็มีลักษณะเป็นตรรกวิทยา ซึ่งจะได้กล่าวถึงใน ๓ ภาค ย่อความแห่งพระไตรปิฎก

    ๗. ป = ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสนับสนุน ๒๔ ประการ

    เป็นอันว่า หัวใจย่อแห่งพระไตรปิฎก คือ อา ปา ม จุ ป ที ม สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ ก ย ป มีรายละเอียดดังกล่าวมานี้

    ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา แม้ว่าพระไตรปิฎกจะนับว่าเป็นคัมภีร์สำคัญ และเป็นหลักฐานทางพระพุทธศาสนา แต่ก็มีคัมภีร์อื่นอีกที่เกี่ยวข้องด้วย จึงควรทราบลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ดังต่อไปนี้

    ๑. พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานขั้น ๑ เรียกว่าบาลี

    ๒. คำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานขั้น ๒ เรียกว่าอรรถกถา หรือวัณณนา

    ๓. คำอธิบายอรรกถา เป็นหลักชั้น ๓ เรียกว่าฎีกา

    ๔. คำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔ เรียกว่าอนุฎีกา

    นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ที่แต่งขึ้น ว่าด้วยไวยกรณ์ภาษาบาลีฉบับต่าง ๆ และอธิบายศัพย์ต่าง ๆ เรียกรวมกันว่า สัททาวิเสส เป็นสำนวนที่เรียกกันในวงการนักศึกษาฝ่ายไทย ปรากฏในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า เมื่อทำการสังคยานา ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๓๑ เพื่อชำระพระไตรปิฎกนั้น ได้มีการชำระคัมภีร์สัททวิเสสต่าง ๆ ด้วย โดยมีพระพุฒาจารย์เป็นแม่กอง

    การจัดชั้นของบาลีอรรถกถา ก็เนื่องด้วยกาลเวลานั้นเอง พระไตรปิฎกเป็นของมีมาก่อน ก็จัดเป็นหลักฐานชั้น ๑ คำอธิบายพระไตรปิฎกแต่งขึ้นประมาณ ๙๕๖ ปีภายหลังพุทธปรินิพพาน จึงจัดเป็นชั้น ๒ ส่วนฎีกานั้น แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗ จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๓ อนึ่ง คัมภีร์อนุฎีกานั้น แต่งขึ้นภายหลังฎีกาในยุคต่อ ๆ มา เป็นคำอธิบายฎีกาอีกต่อหนึ่ง จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๔

    อย่างไรก็ตาม แม้พระไตรปิฎกจะเป็นหลักฐานชั้น ๑ เมื่อพิจารณาตามหลักพระพุทธภาษิตในกาลามสูตร ท่านก็ไม่ให้ติดจนเกินไป ดังคำว่า มา ปิฎกสมฺปทาเนน อย่าถือโดยอ้างตำรา เพราะอาจมีผิดพลาดตกหล่นหรือบางตอนอาจเพิ่มเติมขึ้น แสดงว่าพระพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาพิจราณาเหตุผล สอบสวนดูให้ประจักษ์แก่ใจตนเอง เป็นการสอนอย่างมีน้ำใจกว้างขวางและให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่

    นอกจากนั้นยังเป็นการยืนยันให้นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อได้ประจักษ์ผลนั้น ๆ ด้วยตนเอง แม้จะมีพระพุทธภาษิตเตือนไว้มิให้ติดตำราจนเกินไป แต่ก็จำเป็นต้องรักษาตำราไว้ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา เพราะถ้าไม่มีตำราเลยจะยิ่งซ้ำร้าย เพราะจะไม่มีแนวทางให้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย ฉะนั้น การศึกษาให้รู้และเข้าใจในพระไตรปิฎก จึงเป็นลำดับแรก เรียกว่า ปริยัติ การลงมือกระทำตามโดยควรแก่จริตอัธยาศัยเรียกว่า ปริยัติ การได้รับผลแห่งการปฏิบัตินั้น ๆ เรียกว่า ปฎิเวธ

    http://www.polyboon.com/dhumma/word...c-RIiTwVIzp5wbBFwmhZFd1J6up-nIriEzhcuKjRTFeKA
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระไตรปิฎกคืออะไร ?

    ในความเข้าใจในความหมายทั่วไป ของนักเขียน


    บทความนี้ เสนอแนวคิดสำหรับการศึกษาและค้นคว้าพระไตรปิฎกเพียงสั้น ๆ พอปฏิบัติได้สำหรับชาวพุทธไทย มิได้ประสงค์ให้เป็นบทความทางวิชาการแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องมีฟุตโน้ต เชิงอรรถ และหนังสืออ้างอิงใด ๆ จะพูดเป็นประเด็นตามลำดับดังนี้

    ๑. พระไตรปิฎกคืออะไร
    [​IMG]พระไตรปิฎกคือคัมภีร์บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า (คำสอนของคนอื่นที่พระพุทธองค์ทรงรับรองก็นับรวมในที่นี้ด้วย) แบ่งเป็น ๓ ปิฎกคือ (๑) พระวินัยปิฎก (๒) พระสุตตันตปิฎก และ (๓) พระอภิธรรมปิฎก
    [​IMG]พระวินัยปิฎก ว่าด้วยสิกขาบทของพระภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ รวมถึงความเป็นมา ความเป็นอยู่ของสงฆ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติอันเรียกว่าสังฆกรรม การก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของภิกษุณีสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีพุทธประวัติช่วงหลังตรัสรู้จนถึงการวางรากฐานพระพุทธศาสนา และประวัติสังคายนาครั้งที่ ๑ และที่ ๒ ด้วย แบ่งโดยย่อ ๆ เป็น ๓ หมวด คือ วิภังค์ ขันธกะ และปริวาร
    [​IMG]พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยเทศนาของพระพุทธเจ้าและพระสาวกสำคัญบางรูป ตลอดถึงภาษิตของเทวดาที่ทรงรับรองว่าเป็นสุภาษิต แบ่งเป็น ๕ นิกาย หรือหมวด คือ (๑) ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหายาวมาก (๒) มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหายาวปานกลาง (๓) สังยุตตนิกาย ว่าด้วยการประมวลพระสูตรที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันไว้ในหมวดเดียวกัน (๔) อังคุตตรนิกาย ว่าด้วยประมวลหมวดธรรมตามจำนวนหัวข้อธรรมจากน้อยไปหามาก และ (๕) ขุททกนิกาย ว่าด้วยหมวดเบ็ดเตล็ด ที่ตกหล่นจากการจัดหมวดข้างต้น
    [​IMG]เนื้อหาในพระสุตตันตปิฎกทั้ง ๕ นิกายนี้ นักปราชญ์ทั้งหลายถือว่า ๔ นิกายแรกนั้นเก่าแก่ โดยเฉพาะทีฆนิกายน่าจะเก่าแก่กว่าทุกนิกาย ส่วนขุททกนิกาย ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นนิกายปลีกย่อยหรือปกิณกะเพิ่มเติมมาภายหลัง เนื้อหาบางส่วนส่อเค้าว่าเพิ่มเติมมาในศรีลังกาเสียด้วยซ้ำ เช่น ขุททกปาฐะ จริยาปิฎก ยกเว้นสุตตนิบาต และธรรมบทที่ถือกันว่าเก่าแก่มาก
    [​IMG]พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยการอธิบายธรรมในพระสูตรนั้นแลให้ละเอียดพิสดาร ในแง่วิชาการที่เป็นระบบ มี ๗ หมวดคือ (๑) ธรรมสังคณี ประมวลหัวข้อหมวดธรรมเข้าด้วยกัน (๒) วิภังค์ อธิบายหมวดธรรมในข้อ(๑) นั้นโดยพิสดาร (๓) ธาตุกถา อธิบายวิธีจัดข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ ธาตุ อายตนะ (๔) ปุคคลบัญญัติ บัญญัติเรียกบุคคลต่าง ๆ ตามคุณธรรมที่มี (๕) กถาวัตถุ วินิจฉัยทัศนะของนิกายพุทธต่าง ๆ เน้นความถูกต้องของนิกายเถรวาท (๖) ยมก ยกข้อธรรมขึ้นถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ และ (๗) ปัฏฐาน อธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ๒๔ แบบ
    [​IMG]พระอภิธรรมปิฎก เชื่อกันว่าวิวัฒนาการมาในยุคหลัง ภาษาที่ใช้ก็เป็นภาษาหนังสือ ที่เรียบเรียงเป็นขั้นเป็นตอน ในแง่ประวัติความเป็นมา ก็บ่งบอกว่าได้แตกแขนงออกจากธรรม-วินัย ซึ่งมีมาแต่ดั้งเดิม โดยเป็นแขนงหนึ่งของ "ธรรม" นั้นเอง จึงเชื่อว่ามีมาภายหลังแน่นอน เพราะกถาวัตถุ ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๗ คัมภีร์ ก็มีหลักฐานว่าแต่งในสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ แม้ว่า พระอรรถกถาจารย์จะพยายามโยงพระอภิธรรมให้พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาหลังตรัสรู้ และให้พระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปแสดงแก่อดีตพุทธมารดา ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก็ตาม

    ๒. พระไตรปิฎกมีความเป็นมาอย่างไร
    [​IMG] (๑) สมัยพุทธกาลไม่มีพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงแสดง ธรรม-วินัย หรือ พรหมจรรย์ เท่านั้น ดังเวลาจะทรงส่งพระอรหันต์สาวก ๖๐ รูป ไปประกาศพระพุทธศาสนา ตรัสสั่งให้ไป "ประกาศพรหมจรรย์" อันงามในเบื้องต้น (งามด้วย อธิศีลสิกขา) งามในท่ามกลาง (งามด้วยอธิจิตสิกขา) และงามในที่สุด (งามด้วยอธิปัญญาสิกขา) และเมื่อจวนจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ก็ตรัสว่า "หลังจากเราตถาคตล่วงลับไป ธรรม และวินัย ที่เราได้แสดงและบัญญัติแก่พวกเธอ จะเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเรา"
    [​IMG] (๒) ต่อมาเมื่อพระมหากัสสปะ รวบรวมพระอรหันต์ทรงอภิญญา ๕๐๐ รูป กระทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ก็ยังคงสังคายนา "พระธรรม-วินัย" อยู่ แม้เมื่อกาลล่วงไปประมาณ ๑๐๐ ปี พวกภิกษุวัชชีบุตรได้เสนอขอแก้ไขพระวินัยบัญญัติบางข้อ อ้างว่าพระพุทธองค์ทรงประทานนโยบายไว้ให้แล้ว พระสงฆ์ทั้งหลายได้ประชุมสังคายนาวินิจฉัยข้อเสนอ (วัตถุ ๑๐ ประการ) ของพวกภิกษุวัชชีบุตรแล้วไม่ยอมรับ การทำสังคายนาครั้งนั้นก็ยังเรียกว่า "ธัมมวินยวิสัชชนา" (การวิสัชนาพระธรรม-วินัย) หรือ "ธัมมวินยสังคีติ" (การสังคายนาพระธรรม-วินัย)
    [​IMG] (๓) ในช่วงระหว่างหลังสังคายนาครั้งที่ ๒ จนถึงครั้งที่ ๓ นี้เอง มีผู้สันนิษฐานว่า ธรรม-วินัย ได้แตกแขนงออกเป็น ๓ หมวด (เรียกว่า เตปิฎก = ไตรปิฎก) คือ ธรรม ได้แตกออกเป็น พระสุตตันตปิฎก กับพระอภิธรรมปิฎก วินัย เป็นพระวินัยปิฎก
    [​IMG]มีหลักฐานในจารึกสาญจิ กล่าวถึงคุณสมบัติของพระเถระ และเถรีบางรูป ว่าเชี่ยวชาญในปิฎกต่าง ๆ หรือบางส่วนของพระสุตตันตปิฎก เช่น เปฏกิน = พระเถระผู้เชี่ยวชาญในปิฎกทั้งหลาย สุตตันตินี = พระเถรีผู้ทรงพระสุตตันตะ (พระสูตร) ทีฆภาณิกา = พระเถระผู้สวดทีฆนิกายได้ ปัญจเนกายิกา = พระเถระผู้ทรงจำนิกายทั้ง ๕ ได้
    [​IMG]มีหลักฐานอีกแห่งหนึ่ง พระโมคคัลลีบุตร ได้แต่งกถาวัตถุ ในคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๓ และกถาวัตถุถูกผนวกเข้าเป็นหนึ่งในอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แสดงว่าพระไตรปิฎกเพิ่งจะมาครบสมบูรณ์ในพุทธศตวรรษที่ ๓ นี้เอง
    [​IMG] (๔) พระไตรปิฎก ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยระบบท่องจำ จนกระทั่งไปถึงศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ ได้รับการจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๕ จารึกด้วยอักษรสิงหล จากนั้นก็ถ่ายทอดเป็นอักษรของชาติต่าง ๆ ที่สืบทอดพระไตรปิฎก แม้ประเทศไทยก็ได้พระไตรปิฎกมาจากประเทศศรีลังกา
    [​IMG] (๕) พระไตรปิฎกบันทึกด้วยภาษามาคธี (แขนงหนึ่งของภาษาตระกูลปรากฤต) ต่อมาได้เปลี่ยนมาเรียกเป็นภาษาบาลี หรือ ตันติภาษา เมื่อจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เนื่องจากภาษาบาลี เป็นภาษาถิ่น (ภาษาตลาด) ไม่มีอักขระเป็นของตน ผู้ประสงค์จะเรียนพระไตรปิฎก จึงต้อง "ถอด" (transliterate) เป็นอักขระของตน เช่น เรียนที่ประเทศตะวันตก ก็ถอดเป็นอักษรโรมัน เรียนที่ประเทศไทยก็ถอดเป็นอักษรไทย
    [​IMG] (๖) พระไตรปิฎกที่ใช้อ้างอิงแพร่หลายในปัจจุบันคือ (๑) ฉบับโรมัน (ของสมาคมปาลีปกรณ์) (๒) ฉบับสิงหล ของประเทศศรีลังกา (๓) ฉบับพม่า ของประเทศพม่า (๔) ฉบับไทย ที่ถือกันว่าถูกต้องสมบูรณ์ก็คือฉบับสยามรัฐ
    [​IMG]ปัจจุบันมีพระไตรปิฎกที่บันทึกลงในแผ่น CD-ROM ของมหาวิทยาลัยมหิดล และ Chatta Sangayana CD-ROM ของสถาบันค้นคว้าวิปัสสนา ธรรมคิรี อิคัทปุรี อินเดีย บรรจุพระไตรปิฎกทุก Version มีแผ่นบาง ๆ แผ่นเดียวก็สามารถสืบค้นพระไตรปิฎกอักษรต่าง ๆ ได้สบาย ไม่จำต้องใช้หนังสือดังแต่ก่อน

    ๓. พระไตรปิฎกสำคัญอย่างไรจึงต้องศึกษา
    [​IMG]หลายท่านสงสัยว่า จำเป็นด้วยไหมที่จะต้องอ่านพระไตรปิฎก เพราะได้รับบอกเล่าว่า อ่านยาก เข้าใจยาก แม้จะเป็นฉบับแปลเป็นไทยก็ตามที เราจะอ่านเพียงหนังสืออธิบายธรรมะ ที่ท่านผู้รู้เขียนไว้ จะเพียงพอหรือไม่
    [​IMG]เนื่องจากพระไตรปิฎกเป็นประมวลคำสอน ของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เราจำเป็นต้องอ่านพระไตรปิฎกโดยตรง เพื่อจะได้รู้ว่าเรื่องนั้น ๆ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าอย่างไร เมื่อไม่กระจ่างตอนไหน ประเด็นใดค่อยอ่านหนังสืออรรถกถา หรือหนังสือที่ผู้รู้ทั้งหลายแต่งขึ้นเพื่อประกอบ ในการศึกษานั้น ท่านวางระดับความสำคัญของคัมภีร์ที่พึงเชื่อถือ ลดหลั่นลงไปดังนี้
    [​IMG] (๑) พระไตรปิฎก
    [​IMG] (๒) สุตตานุโลม (หมายถึงอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตลอดถึงปกรณ์พิเศษทั้งหลาย)
    [​IMG] (๓) เกจิอาจารย์ (ผู้รู้ที่เป็นพหูสูตที่เชื่อถือได้)
    [​IMG] (๔) อัตโนมัติ (ความคิดเห็นส่วนตัว)
    [​IMG]พระธรรมปิฎก ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการศึกษาพระไตรปิฎกไว้ ๖ ประการ ขอคัดลอกมาลงไว้ต่อไปนี้
    [​IMG]๑. เป็นที่รวมไว้ซึ่งพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสไว้เอง เท่าที่ตกทอดมาถึงเรา มีมาในพระไตรปิฎก เรารู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎก
    [​IMG]๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ เราจะเฝ้าหรือรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากพระดำรัสของพระองค์ที่ท่านรักษาไว้ในพระไตรปิฎก
    [​IMG]๓. เป็นแหล่งต้นเดิมของคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอน คำอธิบาย คัมภีร์ หนังสือ ตำรา ที่อาจารย์และนักปราชญ์ทั้งหลายพูด กล่าวหรือเรียบเรียงไว้ ที่จัดว่าเป็นของในพระพุทธศาสนา จะต้องสืบขยายออกมาและเป็นไปตามคำสอนที่เป็นต้นเค้า หรือฐานเดิมในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นตำราแม่บท
    [​IMG]๔. เป็นหลักฐานอ้างอิงการแสดงหรือยืนยันหลักการที่กล่าวว่าเป็นพระพุทธศาสนา การอธิบายหรือกล่าวอ้างเกี่ยวกับหลักการของพระพุทธศาสนา จะเป็นที่น่าเชื่อถือหรือยอมรับได้ด้วยดี เมื่ออ้างอิงขั้นสุดท้ายสูงสุด
    [​IMG]๕. เป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอนหรือคำกล่าวใด ๆ ที่จะถือว่าเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัย ซึ่งมีมาในพระไตรปิฎก (แม้แต่คำหรือข้อความในพระไตรปิฎกเอง ถ้าส่วนใดถูกสงสัยว่าจะแปลกปลอมก็ตรวจสอบด้วยคำสอนทั่วไปในพระไตรปิฎก)
    [​IMG]๖. เป็นมาตรฐานตรวจสอบความเชื่อถือ และข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ความเชื่อถือหรือข้อปฏิบัติตลอดจนพฤติกรรมใด ๆ จะวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือผิดพลาด เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน

    ๔. จะศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกอย่างไร
    [​IMG]พระไตรปิฎก เป็นประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า อยากรู้ว่าพระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่องนั้น ๆ ไว้อย่างไร จำต้องอ่านพระไตรปิฎก เพื่อจะได้ทราบหลักการของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
    [​IMG]ขอเสนอวิธีศึกษาดังต่อไปนี้
    [​IMG]๑. ให้อ่านเพื่อหาความเข้าใจธรรมะ
    [​IMG]อาจเริ่มจากเรื่องที่ยอมรับกันว่าเป็น "แก่น" ของพระพุทธศาสนา ที่ทุกคนต้องรู้ เช่น อริยสัจ ๔ ท่านที่รู้ภาษาบาลีดีควรอ่านจากต้นฉบับภาษาบาลี ท่านที่อ่านบาลีไม่ได้ ก็ให้อ่านจากฉบับแปลเป็นไทย หรืออังกฤษ อ่านไป พยายามทำความเข้าใจไปด้วย ว่าพระพุทธองค์ทรงหมายความอย่างไร
    [​IMG]อริยสัจ ๔ พระพุทธองค์ตรัสไว้หลายแห่ง ให้ตามอ่านให้หมด เพื่อสำรวจว่า แต่ละแห่งทรงแสดงพิสดารต่างกันอย่างไรหรือไม่ เทคนิคการนำเสนอ ตลอดถึงวิธีอธิบายเหมือนกันหรือต่างกัน จะได้มีความรู้เพิ่มขึ้น
    [​IMG]อ่านคำอธิบายเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ ของพระเถระสำคัญ คือพระสารีบุตร ในส่วนที่เรียกว่าจูลนิทเทส และมหานิทเทส (ในพระไตรปิฎกนี้แล) ว่าท่านขยายอริยสัจ ๔ เป็น อริยสัจ ๘ โดยขยายออกเป็น
    [​IMG]๑-๒ ทุกข์ ได้แก่ นาม - รูป
    [​IMG]๓-๔ สมุทัย ได้แก่ อวิชชา - ภวตัณหา
    [​IMG]๕-๖ นิโรธ ได้แก่ วิชชา - วิมุตติ
    [​IMG]๗-๘ มรรค ได้แก่ สมถะ - วิปัสสนา
    [​IMG]ให้สังเกตวิธีอธิบายของท่าน แล้วสำรวจตัวเองว่า ได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นหรือไม่ มีมุมมองกว้างขวางขึ้นหรือไม่
    [​IMG]๒. อ่านเพื่อหาความหมายระหว่างบรรทัด
    [​IMG]บางเรื่องไม่มีพูดไว้ตรง ๆ ในพระไตรปิฎก ก็เป็นเรื่องของผู้ศึกษาจะพึงหาความรู้และคำตอบเอาเองโดยพิจารณาจากบริบท หรือความแวดล้อม หรือจะเรียกว่า หาความหมายระหว่างบรรทัดก็ได้ ขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
    [​IMG] (๑) พระไตรปิฎกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาเสวยวิมุตติสุข ใต้ต้นโพธิ์ และต้นไม้ใกล้เคียง ๔ สัปดาห์ (๒๘ วัน) เท่านั้น แต่อรรถกถาเพิ่มเข้ามาอีก ๓ สัปดาห์ เป็น ๗ สัปดาห์ (๔๙ วัน) ถามว่าท่านมีเหตุผลหรือความประสงค์อะไร ท่านมิได้บอกไว้ เป็นหน้าที่ของผู้ศึกษาจะพึงหาคำตอบเอาเอง ถ้าได้คำตอบที่ "ฟังได้" ก็เป็นเรื่องที่น่าจะรับฟัง เช่น อาจได้คำตอบดังนี้
    [​IMG]- ระยะเวลาจากวันตรัสรู้ ไปถึงวันแสดงปฐมเทศนา ๒ เดือนเต็ม (๖๐ วันพอดี)
    [​IMG]- ระยะทางจากพุทธคยาไปสารนาถ ประมาณ ๒๐๐ กว่ากิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าอย่างมากก็ไม่เกิน ๑๐-๑๒ วัน
    [​IMG]- ถ้าให้พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์และต้นไม้ในปริมณฑลเพียง ๔ สัปดาห์ (๒๘ วัน) ก็จะเหลือเวลาอีกถึง ๓๒ วัน มากเกินไปสำหรับการเดินทางจากพุทธคยาไปสารนาถ แล้วจะให้พระพุทธองค์ไปอยู่ที่ไหน
    [​IMG]- แต่ถ้าให้พระพุทธองค์อยู่ที่พุทธคยา ๗ สัปดาห์ (๔๙ วัน) ก็เหลือเวลาเพียง ๑๑ วัน ซึ่งพอเหมาะพอดี สำหรับเดินทางจากพุทธคยาไปสารนาถ
    [​IMG] (๒) ในจำนวน ๗ สัปดาห์นั้น พระอรรถกถาจารย์เกณฑ์ให้พระพุทธองค์ทรงพิจารณาพระอภิธรรมด้วยมีความประสงค์และเหตุผลอย่างไร
    [​IMG]อ่านความหมายระหว่างบรรทัดแล้ว คำตอบน่าจะเป็นดังนี้
    [​IMG]- พระพุทธโฆษาจารย์ต้องการแสดงความเก่าแก่ของพระอภิธรรม ว่ามีมาตั้งแต่ตรัสรู้แล้ว
    [​IMG]- ถามว่าทำไมจึงต้องแสดงว่าพระอภิธรรมนั้นเก่าแก่ และเก่าแก่กว่าพระสูตรและพระวินัยด้วยซ้ำ คำตอบน่าจะเป็นด้วยว่า ในยุคสมัยของพระพุทธโฆษาจารย์ กระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าอภิธรรมเป็นพัฒนาการยุคหลัง เลยเถิดไปถึงว่า พระอภิธรรมมิใช่พุทธพจน์รุนแรงมาก พระพุทธโฆษาจารย์ในฐานะเป็นพระสำนักพระอภิธรรม จึงต้องแสดงให้เห็นว่าพระอภิธรรมนั้นเป็นพุทธวจนะแน่นอน และมีมาก่อนพระสูตรและพระวินัยด้วยซ้ำ
    [​IMG]- และเนื้อหาพระอภิธรรมเป็น ปรมัตถธรรม (ธรรมลึกซึ้ง) พระพุทธเจ้าทรงเลือกสอนเทวดา ดังสอนพระอินทร์และอดีตพุทธมารดา และเมื่อถ่ายทอดให้มนุษย์ฟัง ก็ทรงถ่ายทอดแก่บุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม เช่น พระสารีบุตร
    [​IMG]- แต่ก็น่าสังเกตเหมือนกันว่า นิกายสรวาสติวาทะ นับถือพระอภิธรรมมาก มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "นิกายอภิธรรม" นิกายนี้กลับถือว่าพระอภิธรรม เป็น "เถรภาษิต" (ถือพระสารีบุตร และพระมหากัจจายนะเป็นปรมาจารย์)
    [​IMG] (๓) อุปกาชีวกเชื่อพระพุทธเจ้าหรือไม่ ถ้าเชื่อ ทำไมไม่ทรงแสดงธรรมโปรด ในประเด็นนี้ คำตอบน่าจะเป็นดังต่อไปนี้
    [​IMG]- ถ้าพิจารณาจากวัฒนธรรมของชาวชมพูทวีป อุปกาชีวกเชื่อพระพุทธเจ้าแน่นอน การที่เขาสั่นศีรษะนั้นแล แสดงว่าเชื่อถือพระพุทธองค์ (ชาวอินเดียสั่นศีรษะ หมายถึงยอมรับ)
    [​IMG]- คำโต้ตอบที่อุปกาชีวกพูดว่า หุเวยฺยาวุโส = ดูก่อนท่านผู้มีอายุ คำที่ท่านพูดนั้น พึงเป็นไปได้ ก็ยืนยันเหตุผลนี้
    [​IMG]- ถามว่า ถ้าเชื่อแล้ว เพราะเหตุไรพระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงธรรมให้ฟัง และถ้าทรงแสดงธรรมให้ฟังอุปกาชีวกคงได้บรรลุธรรม ถ้าเช่นนั้นประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจะพลิกโฉมหน้าไปจากที่รับทราบกันหรือไม่ คำตอบก็น่าจะเป็นว่า เหตุที่ไม่ทรงแสดงธรรมโปรดอุปกาชีวก ก็คงเพราะต้องการโปรดปัญจวัคคีย์ก่อนใครอื่น
    [​IMG]- ปัญจวัคคีย์เป็นศิษย์เก่า ปฏิเสธพระพุทธองค์ว่าการที่ทรงเลิกทุกรกิริยาไม่มีทางตรัสรู้แน่นอน เมื่อตรัสรู้แล้ว จึงทรงต้องการแก้ความเข้าใจผิดของปัญจวัคคีย์ จึงไม่สนพระทัยแสดงธรรมให้คนอื่น แม้ว่าถ้าทรงแสดง เขาอาจบรรลุธรรมได้ แต่ไม่ทรงประสงค์
    [​IMG]- การที่ปัญจวัคคีย์ได้ตรัสรู้ตามพระพุทธองค์ จะช่วยให้การเผยแผ่พระพุทธ-ศาสนาเป็นไปด้วยความราบรื่น และรวดเร็ว เพราะถ้าไม่โปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วไปแสดงธรรมแก่คนอื่น คนที่เขารู้ความเป็นมาก็จะตำหนิได้ว่า พระสมณะโคดมนั้น แม้ศิษย์ยังตีตัวออกห่าง ธรรมที่อ้างว่าได้ตรัสรู้นั้นจะน่าเชื่อถือได้อย่างไร
    [​IMG]- หรือไม่ปัญจวัคคีย์นั้นเอง ถ้ารู้ว่าพระพุทธองค์ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะ "ดิสเครดิต" พระองค์ได้ว่า อย่าไปเชื่อท่านผู้นี้ พวกเราอยู่ใกล้ชิดมาก่อน ย่อมรู้จักดี เขามิได้ตรัสรู้แต่ประการใด อย่างนี้เป็นต้น
    [​IMG]ทั้งหมดนี้คือเหตุผล ที่ผู้อ่านอาจจะได้จากการพินิจพิจารณาจากบริบท ในพระไตรปิฎกตอนนี้ (แน่นอน คำตอบที่ได้ อาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับมุมมอง และวิธีคิดของผู้อ่านแต่ละคน แต่ไม่ว่าคำตอบจะเป็นเช่นไรก็ตาม ถ้ามีเหตุมีผลพอฟังได้ ก็สมควรรับฟัง)
    [​IMG] (๔) อีกเรื่องหนึ่งคือ การที่พระพุทธเจ้าทันทีที่ทอดพระเนตรเห็น อุปติสสะมาณพ กับ โกลิตะมาณพ เดินเข้าพระเวฬุวันมา พระพุทธองค์ทรงชี้พระดรรชนีไปแล้วตรัสบอกภิกษุสงฆ์ ที่เฝ้าอยู่ว่า "ภิกษุทั้งหลาย สองคนนั้นจะเป็นคู่แห่งอัครสาวกของเรา"
    [​IMG]ถามว่าเพราะเหตุไร สองคนนั้นยังไม่ได้บวชเลย พระองค์จึงจะทรงแต่งตั้งเป็นอัครสาวก ครั้นท่านทั้งสองบวชได้เพียง ๒ สัปดาห์ก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นอัครสาวกเลย ทรงละเลยพระเถระผู้ใหญ่อื่น ๆ เช่น พระมหากัสสปะ พระอัญญาโกณฑัญญะไปหมด มิเป็นการเห็นแก่หน้าหรือ
    [​IMG]คำตอบก็น่าจะหาได้จากความหมายระหว่างบรรทัดนั้นเอง เช่น
    [​IMG]- ระยะนี้เป็นเวลาที่เริ่มประกาศพระพุทธศาสนา จะต้องเสนอแนวคิดใหม่ที่แตกต่างไปจากความเชื่อถือดั้งเดิม การจะทำงานประสบความสำเร็จ พระองค์จะต้องมี "มือ" สำคัญในการเผยแพร่คำสอน
    [​IMG]- บุคคลที่จะเป็น "มือ" ทำงานได้สำเร็จ จะต้องเป็นผู้ที่รู้คำสอนดั้งเดิมของพวแกพราหมณ์ดี และมีวาทศิลป์ในการโต้แย้ง หักล้างพวกพราหมณ์ได้ หาไม่จะไม่มีทางกลับใจพวกพราหมณ์ให้มานับถือพระพุทธศาสนาได้
    [​IMG]พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะนั้นเป็นพราหมณ์ผู้เรียนจบไตรเพทมาก่อน ทั้งยังได้จบการศึกษาทางปรัชญาลัทธิ "อมราวิกเขปิกา" จากสำนักของสัญชัย เวลัฏฐบุตรด้วย ย่อมมีความรู้ความสามารถที่จะโต้เถียงหักล้างพวกพราหมณ์ได้เป็นอย่างดี เหมาะสมกว่าพระเถระผู้เฒ่าเช่นพระมหากัสสปะ และพระอัญญาโกณฑัญญะ (ผู้ซึ่งชอบชีวิตสงบ ถือธุดงควัตรมาก
    กว่า) การที่ทรงแต่งตั้งพระหนุ่ม พรรษาน้อย เพื่อผลทางการทำงานการเผยแผ่พระศาสนา มากกว่าอย่างอื่น หาใช่ทรงเห็นแก่หน้าบุคคลไม่
    [​IMG]๓. อ่านเพื่อประมวลคำตอบหลากหลายในประเด็นเดียวกัน
    [​IMG]ในที่นี้หมายถึงว่า บางเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หรือหลักธรรม มีคำอธิบายหรือให้คำตอบหลายนัย เช่น มาร หมายถึงอย่างนี้ก็ได้ อย่างนั้นก็ได้ เราในฐานะผู้ศึกษาพระไตรปิฎกพึงประมวลคำตอบทุกนัยไว้ เพื่ออธิบายแก่ผู้ชักถามแล้วแต่กรณี
    [​IMG]คำอธิบายนั้นอาจจะมาจาก (๑) พระไตรปิฎกอันเป็นพุทธวจนะโดยตรง หรือคำอธิบายของพระเถระสำคัญอื่น ๆ (๒) จากคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา (๓) จากมติของเกจิอาจารย์ หรือบุรพาจารย์อื่น ๆ ขอยกตัวอย่าง เหตุการณ์ตอนเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
    [​IMG]ทันทีที่ประสูติ มีเทวดามารับ นำน้ำเย็นน้ำร้อนมาชำระพระวรกาย
    [​IMG]พระกุมารทรงยืน ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ชูพระดรรชนีขึ้นฟ้า ประกาศอาสภิวาจาว่า "เราเป็นผู้เลิศในโลก เป็นผู้ประเสริฐในโลก เป็นใหญ่ในโลก นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ไม่มีการเกิดใหม่อีกต่อไป"
    [​IMG]เสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว (อรรถกถาเติมว่า ขณะเสด็จดำเนินมีดอกบัวผุดขึ้นรองรับพระบาทด้วย)
    [​IMG]ปรากฏเหตุการณ์มหัศจรรย์ต่าง ๆ อีกมาก
    [​IMG]หน้าที่ของผู้ศึกษาก็คือ
    [​IMG](๑) สำรวจว่าเหตุการณ์นี้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหรือไม่ ถ้ามี มีทุกเรื่องหรือไม่ หรือบางเรื่องเติมภายหลัง ถ้าอ่านพระไตรปิฎกก็ทราบว่า มีบันทึกในพระไตรปิฎก ในรูปแห่งพุทธดำรัสที่ตรัสเล่าด้วย มิใช่อรรถกถาแต่งขึ้น เพียงแต่บางอย่างเติมเข้ามา เช่น ดอกบัวผุดรองรับพระบาทไม่มีในพระดำรัสตรัสเล่า
    [​IMG] (๒) เมื่อทราบดังนี้แล้ว ก็ดูต่อไปว่า ท่านอธิบายอย่างไร คือแปลความหมายไปกี่อย่าง ก็ทราบดังต่อไปนี้
    [​IMG]- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายว่า ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นจริง หากเป็น "สัญลักษณ์" หรือ "บุพนิมิต" ดังทรงอธิบายว่า การที่เทวดามารับ แสดงว่า พระกุมารจะได้รับการยอมรับจากเจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียง เช่น อาฬารดาบส และอุทกดาบส
    [​IMG]- การที่เสด็จดำเนินไปทางทิศเหนือ แสดงว่า จะทรงอยู่เหนือ หรือเอาชนะความเห็นผิดต่าง ๆ ที่มีในยุคนั้น
    [​IMG]- การที่ทรงชี้พระดรรชนีแล้วเปล่งอาสภิวาจา แสดงว่าจะได้ประกาศสัจธรรมที่ตรัสรู้แก่โลก
    [​IMG]- การที่เสด็จดำเนินได้ ๗ ก้าว แสดงว่า จะทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายในแว่นแคว้นทั้ง ๗ (ซึ่งนับจริง ๆ เกิน ๗ พระองค์จึงจับคู่ นับสองแว่นแคว้นเป็นหนึ่ง เป็นต้น)
    [​IMG]- เมื่อตรวจอรรถกถา และพระไตรปิฎก มีคำอธิบายคล้ายกัน คือ ท่านกล่าวว่า เหตุการณ์มหัศจรรย์ต่าง ๆ เหล่านั้น เกิดขึ้นเป็น "ธรรมดาของพระโพธิสัตว์" มิใช่เรื่องประหลาดมหัศจรรย์ หรือ อิทธิปาฏิหาริย์แต่อย่างใด พระโพธิสัตว์มี ๒ ชนิดคือ (๑) อนิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่บารมียังไม่สมบูรณ์ยังไม่แน่นอนว่าจะตรัสรู้เมื่อใด และ (๒) นิยตโพธิสัตว์
    พระโพธิสัตว์ที่บารมีเต็มเปี่ยมแล้ว พร้อมจะตรัสรู้ในไม่ช้า เจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระโพธิสัตว์ประเภทที่ ๒ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของพระโพธิสัตว์ เป็นปรากฏการณ์โดยธรรมชาติ มิใช่เรื่องแปลกประหลาดอันใด
    [​IMG]พูดอีกนัยหนึ่ง การพูดได้ เดินได้ ทันทีหลังจากประสูติ เป็นของธรรมดาสำหรับพระโพธิสัตว์ เป็นเรื่องเกิดขึ้นได้จริง ไม่ผิดปกติและไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์แต่อย่างใด ดุจดังการที่นกบินได้ หรือการที่ปลาอยู่ในน้ำได้ทั้งวันโดยไม่โผล่ขึ้นมาหายใจและไม่ขาดใจตาย เป็น "ธรรมดา" ของนกและปลา มิใช่เรื่องประหลาดแต่อย่างใด
    [​IMG]ยังมีอีกหลายเรื่อง หลายประเด็น ถ้าเราอ่านพระไตรปิฎกแล้ว พยายามหาความหมายระหว่างบรรทัดจะได้รับความรู้และได้คำตอบที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย
    [​IMG]๔. อ่านและตีความจากภูมิหลังของตน
    [​IMG]หมายถึงเอาภูมิหลังของตนเองมาเป็นสื่อ หรือเครื่องมือ ทำความเข้าใจพระไตรปิฎก เข้าใจสาขาวิชาการของตนเพิ่มขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ เช่น
    [​IMG]พระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจ พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย พระพุทธศาสนากับจิตวิเคราะห์ เสรีภาพในทรรศนะพระพุทธศาสนา พุทธศึกษากับปรัชญา ครูในอุดมคติตามแนวพระพุทธศาสนา อุดมรัฐตามแนวพุทธศาสนา ฯลฯ เราผู้อ่านมีภูมิหลังในด้านใด อาจนำเอาแนวคิด เอาทฤษฎีในด้านนั้นมาจับพระไตรปิฎก แล้วเสนอออกมาเป็นทรรศนะพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ จะทำให้
    [​IMG](๑) ได้ความรู้ใหม่ อีกมิติหนึ่ง เกี่ยวกับสาขาวิชาการที่ท่านเล่าเรียนมา
    [​IMG](๒) ช่วยเสนอแนวทางอธิบายพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากที่พระเณรเคยเรียนเคยสอนกันมา ตลอดถึงวิธีการปรับ ประยุกต์ใช้ให้สมสมัยอีกด้วย และ
    [​IMG](๓) จะพบความสนุกสนานในการอ่านพระไตรปิฎก ไม่เบื่อ ไม่เซ็ง

    http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/...UtuAsoht2r2qWqHwRicbMXes9sBCV6rVa9MPY0I6p8IwQ
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    และสุดท้ายสาย ปฎิสัมภิทา อย่างเรา ผู้เข้าถึงพระสัทธรรมราชา ด้วยทิพยจักษุ เมื่อสมัยออกบวช โดยบรรลุปฎิสัมภิทาญาน ยังเห็นอีกหลายร้อยพันหมื่นพระสูตรที่แสดงแก่เรา แต่เวลา

    จาก วัดพะโค๊ะ https://www.google.co.th/maps/place/วัดพะโคะ+(หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด)/@7.5999394,100.3886909,16.25z/data=!4m5!3m4!1s0x304d59a6eb34abe9:0x5361bdd5aca20e1!8m2!3d7.6004348!4d100.3924996



    ถึงวัดก้างปลา
    https://www.google.co.th/maps/search/หาดใหญ่+วัดก้างปลา/@8.0748193,99.6535118,14.5z

    ก็คำนวนเอาดูเถิด ว่าห่างกี่กิโลเมตร ใช้เวลาเท่าไหร่? เวลาในสูญญตาธรรม เท่าไหร่? เวลาที่ผ่านไปบนโลกเท่าไหร่? ท่านคงจะพอคำนวนได้


    แต่เชื่อไหมว่า สวดมนต์บทนี้



    สวดตามจบเดียวเพียงเท่านี้ ด้วยระยะเวลา และระยะทาง ได้เพียงแค่บทเดียว ด้วยกายทิพย์ บทชั้นเมฆนั้น ขณะที่อีก ๑ ร่างกำลังเคลื่อนที่ บนเบาะรถบัสขนส่งที่มีพระสงฆ์กว่า ๗๐ รูป และพระรูปที่เป็นพยาน ที่ช่วยจำทำนองธรรม ก่อนที่จะขึ้นไปบนชั้นเมฆนั้น ด้วยดวงสูญญตาธรรมล้อมรอบกายอันเป็นทิพย์ ดุจถูกอัญเชิญให้ไปสถิตน่ะชั้นฟ้าชั้นแรกนั้น ในท่านั่งห้อยพระบาท

    เราตรัสรู้ธรรมใด? ละกิเลสอันใดได้? ที่ไหน? เวลาเท่าไหร่ ? อยูในสภาพอิริยาบทเช่นไร? เสวยวิมุตติ แทงตลอดด้วยธรรมอันใด?



    ผู้เชี่ยวชาญวสี๕ โดยเพ่งวิมุตติ หรือผู้บรรลุปฎิสัมภิทาใหญ่ จะมาเป็นผู้ตรวจสอบเรา เมื่อเราออกบวชอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์นั้นแล้ว ก็จะไปอ่านบทธรรมที่เหลือตามบุญบารมีธรรม โดยถึงที่สุดแห่งสรภัญญะแห่งสังคีตอันเป็นทิพย์นั้น




    เราบอกแล้วว่าเรามีหน้าที่ติดตามรักษา
    อภยปริตร และ
    พระไตรปิฏก ในรอบกึ่งพุทธกาล ๒๕๐๑ นี้(คำนวนตัด๖๐ ปี) นับเป็นเวลา ๗ ปีแล้ว ตั้งแต่ เข้าพรรษาปี ๕๔ จนมาถึง ปี ๒๕๖๑ นี้หลังจากนี้จะเกิดอะไร?ต่อ ก็รอดูกันต่อไป







     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    วันคืนเหล่านี้ที่ล่วงไปจนถึงอนาคตกาล ที่สรรพสัตว์เหล่านั้นถูกฆ่าเพื่อมาทำเป็นอาหารกี่ชีวิต ขออธิษฐานขอให้สรรพสัตว์เหล่านั้น จงถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ เมื่อพ้นจากอัตภาพเหล่านั้นแล้ว สรรพสัตว์ใดที่มีบุญบารมีอันสั่งสมมาดีแล้ว ขอจงมาจุติเป็นมนุษย์หรือเหล่าเทพมารพรหม จะเป็นโอปาติกะเหล่าใดก็ตาม จงมาช่วยทะนุบำรุงรักษาพระพุทธศาสนาด้วยกันเถิด

    ผู้ที่พิจารณาแล้วฉัน กินเนื้อนั้นแล้วไม่บาป


    ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ เนวะทวายะ นะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ ยะวะเทวะ อิมัสสะกายัสสะ ฐิติยายาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา พรัหมะจริยานุคคะหายะ ดิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามินะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะผาสุวิหาโรจาติ
    คำแปล


    ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ
    เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต
    เนวะ ทวายะ
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
    นะ มะทายะ
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย
    นะมัณฑะนายะ
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
    นะวิภูสะนายะ
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
    ยาวะเทวะ อิมัสสะกายัสสะ ฐิติยา
    แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้
    ยาปะนายะ
    เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ
    วิหิงสุปะระติยา
    เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
    พรัหมะจะริยานุคคะหายะ
    เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์
    อิติ ปุราณัญจะ เวทะนังปะฏิหังขามิ
    ด้วยการทำอย่างนี้เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่าคือความหิว
    นาวัญจะ เวทะนัง นะอุปปาเทสสามิ
    และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น
    ยาตราจะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติฯ

    อนึ่งความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วยความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วยและความเป็นอยู่โดยผาสุขด้วยจักมีแก่เราดังนี้

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2018
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    โปรดพิจารณา

    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทราบแน่ชัดว่า พระสมณโคดมผู้ยอดเยี่ยมได้ทรงผนวชจากศากยตระกูล ดังนี้

    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็พวกศากยตระกูลยังต้องเป็นผู้โดยเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่ทุกๆ ขณะและพวกเจ้าศากยะต้องทำการนอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับอัญชลีกรรม สามีจิกรรมในพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่

    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล พวกเจ้าศากยะยังต้องกระทำการนอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมอันใดอยู่ในพระเจ้าปเสนทิโกศล แต่ถึงกระนั้น กิริยาที่นอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรมอันนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยังทรงกระทำอยู่ในตถาคตด้วยทรงถือว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีพระชาติสูง เรามีชาติต่ำกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีพระกำลัง เรามีกำลังน้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีคุณน่าเลื่อมใส เรามีคุณน่าเลื่อมใสน้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สูงศักดิ์ เราเป็นผู้ต่ำศักดิ์กว่าดังนี้ แต่ที่แท้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมพระธรรมนั้นเทียว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกระทำการนอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในตถาคตอยู่ด้วยอาการอย่างนี้

    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยปริยายนี้แล เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ


    " มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลแห่งพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน"

    ครั้นทรงทำนายผลแห่งสุบินใหญ่ๆ ๑๖ ข้อ อย่างนี้แล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

    ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่มหาบพิตรได้เห็นสุบินเหล่านี้ แม้พระราชาทั้งหลายแต่ก่อนๆ ก็ได้ทรงเห็นแล้วเหมือนกัน แม้พวกพราหมณ์ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธีอย่างนี้เหมือนกัน ภายหลังอาศัยคำแนะนำที่พวกเป็นบัณฑิตพากันกราบทูล จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้ท่านโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อทำนายสุบินเหล่านี้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็พากันทำนายทำนองนี้แหละ"

    อภยปริตร

    ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิต ถึงอาเพศ ๑๖ อย่าง แล้วให้เกิดความหวาดหวั่น ต่อมรณภัยที่มองไม่เห็น จึงทรงเล่าพระสุบินนั้น ให้พราหมณ์ปุโรหิตรับฟัง พราหมณ์ปุโรหิตพยากรณ์ว่าจะบังเกิดเหตุการณ์ให้พระองค์มีอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด รวมทั้งราชสมบัติด้วย

    ปุโรหิตนั้น ได้ทูลแนะวิธีป้องกันอันตราย ด้วยบัญญัติวิธี คือ เอาสัตว์อย่างละ ๔ ๆ มาฆ่าบูชายัญ

    พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงมีรับสั่งให้จัดเตรียม ประจำพิธีและสิ่งของ ตามถ้อยคำของปุโรหิตบอก

    ครานั้น พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทูลขึ้นว่า เสด็จพี่อย่าพึ่งทำยัญพิธีกรรมใด ๆ เลย ขอได้โปรดเสด็จไปทูลถาม ถึงพระสุบินนิมิตนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู มิมีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไม่รู้

    ราชาโกศล จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น

    พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ภัยอันตรายใด ๆจะพึงบัง เกิดมีแก่พระองค์ จากเหตุแห่งพระสุบินนิมิตนั้น หามีไม่ สุบินนิมิตของพระองค์ เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หวังจากเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และในที่สุดพระผู้มีพระภาค จึงทรงขอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ล้มเลิกยัญพิธีทั้งปวงเสีย

    บัดนี้ถึงกาลอันควรแล้ว ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย อะภะยะปริตร เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ให้พินาศไป ด้วยเทอญ


    อรรถกถา มหาสุบินชาดก
    ว่าด้วย มหาสุบิน

    http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka500.php?s=77


    ความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศลและคำทำนายของพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๖ ประการ ประกอบด้วย

    ๑.ทรงฝันว่า มีโคตัวผู้สีเหมือนดอกอัญชัญ ๔ ตัว ต่างคิดจะชนกัน ก็พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจาก ๔ ทิศ ฝูงชนต่างรอดู โคทั้งสี่ก็ส่งเสียงคำรามลั่น แต่แล้วต่างก็ถอยออกไป ไม่ชนกัน

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงทำนายว่า ในอนาคตในชั่วศาสนาของพระองค์ เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดที่เสื่อมลง มนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ฝนฟ้าจักแล้ง ทุพภิกขภัยจักเกิดขึ้น คล้ายเมฆตั้งเค้าจะมีฝน มีเสียงคำรามกระหึ่ม แต่แล้วก็ไม่ตก กลับเลยหายไป เหมือนโคตั้งท่าจะชนกัน แต่ไม่ชนกันฉะนั้น

    ๒.ทรงฝันว่า ต้นไม้เล็กๆและกอไผ่ที่โตเพียงคืบบ้าง ศอกบ้าง ก็ออกดอกออกผลแล้ว

    พระพุทธองค์ทรงทำนายว่า ต่อไปเมื่อโลกเสื่อม มนุษย์แม้จะมีอายุเยาว์ มีวัยยังไม่สมบูรณ์ก็จะมีราคะกล้า และสมสู่กันตั้งแต่อายุยังน้อย และจะมีลูกแต่เด็กๆเหมือนต้นไม้เล็กๆ แต่ก็มีผลแล้ว

    ๓.ทรงฝันว่า ทรงเห็นแม่โคใหญ่ๆพากันดื่มนมของฝูงลูกโคที่เพิ่งเกิด

    ทรงทำนายว่า ต่อไปในอนาคตการเคารพนบนอบผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์จะเสื่อมถอย คนเฒ่าคนแก่พ่อแม่เมื่อหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนไม่ได้ ก็ต้องง้อ ต้องประจบเด็กๆดังที่แม่โคที่ต้องกินนมลูกโคฉะนั้น

    ๔.ทรงฝันว่าผู้คนไม่ใช้วัวตัวใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรงเทียมแอกลากเกวียน กลับไปใช้โครุ่นๆที่ยังปราศจากกำลังมาลาก เมื่อมันลากเกวียนให้แล่นไม่ด้ มันก็สลัดแอกนั้นเสีย

    ทรงทำนายว่า ในภายหน้าเมื่อผู้มีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม แทนที่จะยกย่องและมอบหมายหน้าที่ให้กับผู้มีสติปัญญา ความรู้ กลับไปมอบยศศักดิ์ให้กับคนหนุ่มที่อ่อนหัด ด้อยประสบการณ์ ทำให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ดี กิจการต่างๆก็ไม่สำเร็จ ก็เหมือนใช้โครุ่นมาเทียมแอก เกวียนก็แล่นไม่ได้ฉันใด ก็ฉันนั้น

    ๕.ทรงฝันว่าเห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองข้าง ฝูงชนก็เอาหญ้าไปป้อนที่ปากทั้งสองข้าง มันก็กินทั้งสองข้าง

    ทรงทำนายว่า ในอนาคตเมื่อผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจไม่ดำรงอยู่ในธรรม ตั้งคนพาล หรือ คนไม่มีศีลธรรมไว้ในตำแหน่งอันมีผลต่อผู้อื่น คนเหล่านั้นก็จะไม่นึกถึงบาปบุญคุณโทษ แต่จะตัดสินคดีต่างๆตามแต่ใจชอบ โดยเอาสินบนจากทั้งสองฝ่ายเป็นประมาณ ดังม้าที่กินหญ้าทั้งสองปาก

    ๖.ทรงฝันว่าฝูงชนเอาถาดทองราคาแพง ไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง พร้อมเชื้อเชิญให้หมาจิ้งจอกตัวนั้นถ่ายปัสสาวะใส่ถาดทองนั้น

    ทรงทำนายว่า ต่อไปคนดีมีสกุลทั้งหลายจะสิ้นอำนาจวาสนา คนตระกูลต่ำหรือคนพาลจะได้เป็นใหญ่เป็นโต และคนมีตระกูลก็จะต้องยกลูกสาวให้แก่ผู้ไร้ตระกูลเหล่านั้น เหมือนเอาถาดทองไปให้หมาปัสสาวะรด

    ๗.ทรงฝันว่า มีชายคนหนึ่งนั่งฟั่นเชือก แล้วหย่อนไปในที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่งนอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั้นนั่งอยู่ แล้วก็กัดกินเชือกนั้น โดยที่เขาไม่รู้ตัว

    ทรงทำนายว่า ในกาลข้างหน้า ผู้หญิงจะเหลาะแหละ โลเล ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว เที่ยวเตร่ ประพฤติทุศีล แล้วก็จะเอาทรัพย์ที่สามีหาได้ด้วยความลำบากไปใช้ หรือให้ชายชู้ เหมือนนางหมาโซที่นอนใต้ตั่งคอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่นและหย่อนลงไว้ใกล้เท้า

    ๘.ทรงฝันว่ามีตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมตุ่มหนึ่งวางอยู่ตรงประตูวัง แวดล้อมด้วยตุ่มว่างๆเป็นอันมาก แต่คนก็ยังไปตักน้ำใส่ตุ่มที่เต็มอยู่ จนล้นแล้วล้นอีก โดยไม่เหลียวแลจะตักใส่ตุ่มที่ว่างๆนั้นเลย

    ทรงทำนายว่า ในอนาคต เมื่อศาสนาเสื่อม คนเป็นใหญ่หรือมีอำนาจจะเบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้ด้อยกว่า คนที่รวยอยู่แล้วก็จะมีคนจนหารายได้ ไปส่งเสริมให้รวยยิ่งขึ้น ดังฝูงชนที่ต้องตักน้ำใส่ตุ่มใหญ่ที่เต็มอยู่แล้วจนล้น ส่วนตุ่มที่ว่างอยู่กลับไม่ไปใส่น้ำ

    ๙.ทรงฝันเห็นสระแห่งหนึ่งมีบัวนานาชนิดขึ้นอยู่เต็ม และมีท่าขึ้นลงโดยรอบ สัตว์ต่างๆก็พากันดื่มน้ำในสระ แต่แทนที่น้ำบริเวณที่สัตว์เหยียบย่ำจะขุ่น กลับใสสะอาด ส่วนน้ำที่อยู่ลึกกลางสระที่สัตว์ไม่ไปดื่มหรือ เหยียบย่ำแทนที่จะใส กลับขุ่นข้น

    ทรงทำนายว่า ต่อไป เมื่อคนมีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม ขาดเมตตา คอยใช้อำนาจ รีดนาทาเร้นหรือกินสินบน ชาวบ้านชาวเมืองก็จะหนีไปอยู่ตามชายแดนหรือที่อื่นๆ ทำให้ที่นั้นๆที่คนพากันไปอยู่มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น เหมือนน้ำรอบๆสระที่ใส ส่วนเมืองหลวงกลับว่างเปล่า เหมือนกลางสระที่ขุ่น

    ๑๐.ทรงฝันว่า เห็นข้าวที่คนหุงในหม้อใบเดียวกัน สุกไม่เท่ากัน โดยแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนคือ ข้าวแฉะ ข้าวดิบ และข้าวสุกดี

    ทรงทำนายว่า ในอนาคต เมื่อคนทั้งหลายไม่อยู่ในศีลในธรรมกันมากขึ้น ก็จะทำให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือตกไม่ทั่วถึง ทำให้การเพาะปลูกบางแห่งได้ผล บางแห่งก็ไม่ได้ผล เช่นเดียวกับข้าวที่มีสุกบ้าง ดิบบ้าง และแฉะบ้าง

    ๑๑.ทรงฝันว่าคนนำแก่นจันทน์ที่มีราคาแพง ไปแลกกับเปรียงเน่า (อ่านว่า เปฺรียง มี ๓ ความหมาย คือ ๑. นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน ๒.น้ำมันจากไขข้อวัว และ ๓.เถาวัลย์เปรียง แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงเถาวัลย์เปรียง เทียบกับแก่นจันทน์ที่เป็นไม้เหมือนกันมากกว่า ๒ ความหมายแรก)

    ทรงทำนายว่า กาลภายหน้า พระภิกษุอลัชชีเห็นแก่ได้ทั้งหลาย แทนที่จะนำธรรมะที่พระพุทธองค์สอนไปสอนสั่งให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ และละความโลภ กลับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหากิน หาปัจจัยบริจาคเข้าตัวเอง เหมือนเอาแก่นจันทน์ (ธรรมะคำสอนที่ดี) ไปแลกเอาเถาวัลย์เน่า (ลาภอามิสที่ได้รับมา ซึ่งไม่จีรังและไม่ช่วยให้พ้นทุกข์จริงๆได้)

    ๑๒.ทรงฝันเห็นกระโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้

    ทรงทำนายว่า ต่อไปคำพูดของคนที่ไม่ควรจะได้รับความเชื่อถือ กลับจะได้รับความเชื่อถือ โดยเปรียบถ้อยคำของคนที่ไม่น่าเชื่อว่ามีน้ำหนักเบาเหมือนกับผลน้ำเต้า ซึ่งปกติจะลอยน้ำ แต่เมื่อคนเชื่อว่าคำพูดเหล่านั้นมีน้ำหนัก หรือหนักแน่น จึงเปรียบคำพูดนั้นว่ามีน้ำหน้กราวกับน้ำเต้าที่จมน้ำได้

    ๑๓.ทรงฝันว่าศิลาแท่งทึบขนาดเรือน ลอยน้ำได้เหมือนเรือ

    ทรงทำนายว่า ถ้อยคำของคนที่ควรได้รับการเชื่อถือ ซึ่งหนักแน่น มีน้ำหนักเปรียบประดุจแท่งศิลา กลับไม่ได้รับความเชื่อถือ หรือกลายเป็นถ้อยคำที่ไม่มีน้ำหนักเหมือนเรือที่ลอยได้ ข้อนี้ตรงกันข้ามกับข้อที่แล้ว คือ คนหันไปเชื่อคำพูดคนที่ไม่ควรเชื่อ เหมือนสิ่งที่ควรลอยกลับจม สิ่งที่ควรจมกลับลอย

    ๑๔.ทรงฝันว่า ทรงเห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ และกัดเนื้องูเห่าขาดเหมือนกัดก้านบัว แล้วกลืนกินเข้าไป

    ทรงทำนายว่า เมื่อมนุษย์ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ราคะ สามีจะตกอยู่ในอำนาจของเมียเด็ก และจะถูกดุด่าว่ากล่าวเช่นเดียวกับคนรับใช้ เหมือนเขียดตัวเล็กๆแต่กลับกินงูได้

    ๑๕.ทรงฝันว่า ฝูงพญาหงส์ทอง ที่มีขนเป็นทอง ถูกแวดล้อมด้วยกา

    ทรงทำนายว่า ในอนาคตผู้มีตระกูลต้องไปเที่ยวประจบ และสวามิภักดิ์ต่อผู้ไม่มีตระกูลเหมือนหงส์ทองแวดล้อมด้วยกา

    ๑๖.ทรงฝันว่า ฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง และกัดกิน ทำให้เสืออื่นๆสะดุ้งกลัว จนต้องหนีไปแอบซ่อนตัวจากฝูงแกะ

    ทรงทำนายว่าต่อไปภายหน้า คนชั่ว หรือคนที่ไม่ดีจะเรืองอำนาจ และใช้อำนาจเป็นธรรม ทำให้คนดีถูกทำร้าย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ต้องหลบหนี ซ่อนตัวจากภัยร้ายเหล่านี้เหมือนเสือซ่อนตัวจากแกะ

    เมื่อพิจารณาความฝัน จะเห็นว่าหลายข้อในความฝันเป็นสิ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ เช่น แม่โคกินนมลูกโค ม้าสองปาก เขียดกินงู และแกะกินเสือ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีนัยอันไปสู่พุทธทำนายทั้งสิ้น หลายคนอาจจะสงสัยว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ในสมัยพุทธกาล ทำไมฝันได้ไกลไปถึงอนาคต อันไม่เกี่ยวข้องกับพระองค์ได้ถึงเพียงนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าคงเป็นเพราะเทวดาดลใจให้พระองค์ฝันแปลกประหลาด เพื่อพระบรมศาสดาจะได้ฝาก “ พุทธทำนาย ” เป็นคำพยากรณ์อันอมตะไว้เป็นเครื่องเตือนสติให้มนุษย์โลกได้ตระหนักและระมัดระวังภัยพิบัตินานัปการที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า หลังจากที่พระพุทธองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพราะคงเล็งเห็นด้วยญาณวิเศษแล้วว่า นับวันคนเราก็จะห่างไกลจากหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ จนเป็นเหตุให้มนุษย์มุ่งทำลาย เอารัดเอาเปรียบทั้งเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง และสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อกอบโกยไปบำรุงบำเรอกิเลสแห่งตน โดยขาดความรัก ความเมตตาต่อกัน จึงทำให้คนเห็นแก่ตัว และมีผลให้สภาพแวดล้อม ธรรมชาติแปรปรวนไปหมด

    ในปัจจุบัน เหตุการณ์หลายๆอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง อันทำให้เพาะปลูกได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ปัญหาเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม เช่น เด็กและเยาวชนแก่แดดขึ้น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยเพิ่มขึ้น ลูกขาดความกตัญญูและความเคารพยำเกรงต่อพ่อแม่ อลัชชีหรือพระทุศีลมีมากขึ้น ชายแก่ตกอยู่ในอำนาจเมียเด็ก หรือ ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เช่น คนขาดความรู้ประสบการณ์ได้รับแต่งตั้งให้ปกครองบ้านเมืองเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้มีอำนาจรับสินบนก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป คนรวยยิ่งรวยเพราะมีช่องทางและโอกาสเอาเปรียบคนจน เหมือนตุ่มใหญ่ที่คนตักน้ำไปใส่จนเต็มแล้วเต็มอีก แล้วปล่อยตุ่มเล็กให้ว่างเปล่า ตัวอย่างเหล่านี้ ล้วนไม่พ้นคำพยากรณ์ที่ทรงทำนายบอกแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตของสมัยโน้น ก็คือ สมัยนี้หรือปัจจุบันนั่นเอง

    เมตตาธรรม การไม่เบียดเบียนชีวิตสรรพสัตว์ มีอานิสงส์มาก
    [ame]

    *********************************************
    หน้าที่ทำให้คนแปลก ถ้าเขาไม่ทำลาย อภยปริตร เราคงไม่ได้ปรากฎขึ้น

    เป็นไปตามพุทธประสงค์ของ
    พระสัทธรรมและพระธรรมราชา

    พระสัทธรรม[o]พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม[o] หรือ {O} ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม {O} อันจุติธรรมด้วย [ปฏิสัมภิทาญาน]

    ได้ถูกถอดโดยคึกฤทธิ์ แห่ง สำนักวัดนาป่าพง และถูกบัญญัติใหม่ให้เป็นเดรัจฉานวิชา

    บทสวดยอดนิยม อภยปริตรเป็นคำแต่งใหม่ เป็นเดรัจฉานวิชา

    อ้าวโดนลบไปเสียแล้ว อยู่มาตั้งนานเดือนนานปี มาลบเอาวันนี้ ที่เรานำมาแสดงงั้นหรือ? ใครหนอดลใจ 31/8/2559 ก่อน 00.00 โดยประมาณ สำนักวัดนาป่าพงลบคลิปรวมบทสวดเดรัจฉานวิชาเพื่อหนีภัย

    [ame]

    ------------------------------------------------------------

    แต่เรา คือผู้รักษาพระปริตรนี้



    https://palungjit.org/threads/พุทธท...ัติและสงครามใหญ่-ปีพ-ศ-2560-เป็นต้นไป.569027/
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่ายังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น. เมื่อกาลล่วงไปๆ พระราชาและพระยุพราชในกุลียุคไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพระราชาและยุพราชเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม ราชอมาตย์เป็นต้นก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แต่นั้นชาวแคว้นและชาวชนบทก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม. ข้าวกล้าย่อมไม่บริบูรณ์ เมื่อข้าวกล้าเหล่านั้นไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัยก็ไม่สามารถจะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยปัจจัยก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกอันเตวาสิก.
    เมื่อเวลาล่วงไปๆ ปริยัติย่อมเสื่อม ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำอรรถไว้ได้ ทรงจำไว้ได้แต่พระบาลีเท่านั้น. แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไปก็ไม่สามารถจะทรงบาลีไว้ได้ทั้งสิ้น. อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน เมื่อเสื่อมก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา.
    จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว เมื่อปัฏฐานมหาปกรณ์เสื่อม ยมก กถาวัตถุ บุคคลบัญญัติ ธาตุกถา ธัมมสังคณีก็เสื่อม เมื่ออภิธรรมปิฎกเสื่อมไปอย่างนี้ สุตตันตปิฎกก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา อังคุตตรนิกายเสื่อมก่อน. เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อม เอกาทสกนิบาตเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้นทสกนิบาต ฯลฯ ต่อนั้นเอกนิบาต. เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ สังยุตตนิกายก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา.
    จริงอยู่ มหาวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นสฬายตนวรรค ขันธกวรรค นิทานวรรค สคาถวรรค เมื่อสังยุตตนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ มัชฌิมนิกายย่อมเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา.
    จริงอยู่ อุปริปัณณาสก์เสื่อมก่อน ต่อนั้นมัชฌิมปัณณาสก์ ต่อนั้นมูลปัณณาสก์.
    เมื่อมัชฌิมนิกายเสื่อมอย่างนี้ ทีฆนิกายเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา.
    จริงอยู่ ปาฏิยวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นมหาวรรค แต่นั้นสีลขันธวรรค เมื่อทีฆนิกายเสื่อมอย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกชื่อว่าย่อมเสื่อม. ทรงไว้เฉพาะชาดกกับวินัยปิฎกเท่านั้น. ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้นทรงพระวินัยปิฎก. ส่วนภิกษุผู้หวังในลาภ คิดว่า แม้เมื่อกล่าวแต่พระสูตรก็ไม่มีผู้จะกำหนดได้ จึงทรงไว้เฉพาะชาดกเท่านั้น. เมื่อเวลาล่วงไปๆ แม้แต่ชาดกก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้.
    ครั้งนั้น บรรดาชาดกเหล่านั้นเวสสันดรชาดกเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้นปุณณกชาดก มหานารทชาดกเสื่อมไปโดยย้อนลำดับ ในที่สุดอปัณณกชาดกก็เสื่อม. เมื่อชาดกเสื่อมไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมทรงไว้เฉพาะพระวินัยปิฎกเท่านั้น.
    เมื่อกาลล่วงไปๆ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้แม้แต่พระวินัยปิฎก แต่นั้นก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. คัมภีร์บริวารเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้นขันธกะ ภิกษุณีวิภังค์ก็เสื่อม แต่นั้น ก็ทรงไว้เพียงอุโปสถขันธกเท่านั้นตามลำดับ.
    แม้ในกาลนั้น ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่เสื่อม ก็คาถา ๔ บาทยังหมุนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธานเพียงนั้น.
    ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์หนึ่งแสนลงในผอบทองตั้งบนคอช้าง แล้วให้ตีกลองร้องประกาศไปในพระนครว่า ชนผู้รู้คาถา ๔ บทที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือเอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยวตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป. ราชบุรุษทั้งหลายจึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม.
    ในกาลนั้น ปริยัตติ ชื่อว่าย่อมเสื่อมไป ดังว่านี้ ชื่อว่าการอันตรธานแห่งพระปริยัตติ.



     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทั้งพระไตรปิฏก ทั้งการทำลาย อภยปริตร ทั้งพระอภิธรรมปิฏก ทั้งพระเวสสันดรชาดก

    ได้ถูกทำลายลงตามขั้นตอน อย่างตรงในพระไตรปิฏกอย่างแม่นยำจนน่าใจหาย




    ท่านไม่เห็นแต่เราเห็น ไม่มีใครเตือนแต่เราเตือน


    เมื่อไหร่ถึงจะเชื่อเรา ท่านเอย
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คำทำนายอื่นอีกที่เรายังไม่เคยเห็นผ่านตาและยังไม่ได้นำมาแสดงมีอย่างนี้ด้วยหรือ?

    เหมือนที่เราแสดงไว้ขนาดนี้เชียวหรือ หรือว่า อ่านของเราแล้วไปแต่งเติมเอาใหม่ และอีกอย่างนั้น
    ขอแก้ให้ไว้ตรงนี้ ปาฎิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้สามารถทำให้เหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลายฯสามารถบรรลุธรรมได้ แต่ที่ทรงรังเกียจระอาใจในปาฎิหาริย์ ๒ อย่างแรกนั้นฯมีอยู่ แต่ไม่ใช่อย่างที่ใครทั้งหลายฯเข้าใจกัน


    เพราะอะไรอย่างนั้นหรือ จงพิจารณา

    ในเวลาที่สาธุการของมหาชนนั้นเป็นไป พระศาสดาทรงตรวจดูจิตของบริษัทซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น ได้ทรงทราบวาระจิตของคนหนึ่งๆ ด้วยอำนาจอาการ ๑๖ อย่าง. จิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้, บุคคลใดๆ เลื่อมใสในธรรมใด และในปาฏิหาริย์ใด พระศาสดาทรงแสดงธรรม และได้ทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้นๆ.

    เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม และทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอาการอย่างนี้ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่มหาชนแล้ว.

    มันเหนื่อยนะ ที่ต้องคอยเที่ยวแสดงฤทธิ์ตามอัธยาศัยแห่งสัตว์ ทังๆที่ควรจะได้ฟังธรรมแล้วปฎิบัติพิจารณาตามธรรมไป แล้วบรรลุนั้นย่อมดีกว่าประเสริฐกว่า

    ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๒๐ โกฏิในสมาคมนั้น เพราะเห็นปาฏิหาริย์ของพระศาสดาผู้ทรงทำอยู่อย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมกถา.

    "จงใจทิ้งหมากปริศนาเอาไว้ให้ศิษย์คอยตามแก้ให้ตลอด สนุกสนานจริงๆนะขอรับท่าน"

    "ในท่ามกลางอายุพระพุทธศาสนา จะมีภิกษุอลัชชีใจบาปนำลัทธิลามกเข้ามาแทรกปะปน ด้วยเห็นแก่ลาภสักการะ และยศศักดิ์เอากิเลสมาเป็นบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา จะลุกลามไปตามอารามต่างๆทำให้พระภิกษุที่ดีต้องเดือดร้อนระส่ำระสาย พลอยแปดเปื้อนมลทินไปด้วย เหล่าภิกษุอลัชชีจักกล่าวร้ายป้ายสีพระภิกษุดีๆด้วยประการต่างๆนานา เพื่อทำลายศรัทธาของสาธุชน แต่ด้วยบาปอกุศลบันดาลเขาจักทำการอันน่าบัดสียิ่งขึ้น จนประชาชนรู้ทันกลมารยาของเขาจักนั้นเขาจะพินาศไปตามๆกัน"

    ยังมีอีก

    ในความหมายของหลวงปู่มั่น ว่าช้างเผือกหนุ่มมีอภินิหารนั้น หมายถึงอภินิหาร ๓ อย่าง



      • อิทธิปาฏิหารย์ แสดงฤทธิ์ได้นานาประการ
      • อาเทสนาปาฏิหารย์ มีญาณรู้วาระจิตคนอื่น แล้วพูดดักใจคนอื่นได้
      • อนุสาสนีปาฏิหารย์ มีความสามารถแสดงธรรมได้อย่างมีเหตุผล ทำให้คนที่ฟังเข้าใจในความหมายได้อธิบายธรรมหมวดที่คนเข้าใจได้ยาก มาอธิบายให้คนเข้าใจง่าย อธิบายธรรมหมวดยาว สามารถย่นย่อธรรมที่ยาว มาอธิบายโดยย่อให้คนเข้าใจได้

    ช้างเผือกตนใดหนอ?

    เรื่องบังเอิญไม่มีในโลก ถ้าเป็นการจงใจ ก็ซวยแล้วเรา ที่ต้องมารู้เห็นเรื่องแบบนี้ หวังว่าเขาจะปรากฎตนอีกไม่นาน ขอท่านจงบรรลุธรรมเร็วๆนั้นเถิด


    http://palungjit.org/threads/การมาของบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่จะช่วยค้ำพระพุทธศาสนา.624050/
     

แชร์หน้านี้

Loading...