มี สติรู้พร้อม อยู่กับความคิด ในขณะปัจจุบันนั้น นี่คือ จิต เดิน วิปัสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 5 ธันวาคม 2019.

  1. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    เรานอนแล้วเด้อ..

    ทำความเคารพ..
    ราตรีสวัสดิ์..คุณครู
     
  2. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    ขอบคุณ...ทุกท่านที่คอยอยู่เคียงข้างเราเสมอมา

    ขอบคุณ..ท่านที่คอยมาเฝ้าดูแลเราไม่ห่าง ตาเนื้อเรามองไม่เห็นท่านหรอก จิตเรารับรู้..เพียงไม่รู้ว่าเป็นใคร

    ขอบคุณ...ท่านเล่าปังสำหรับทรัพย์สินเงินทองที่ส่งผ่านมาทางตัวเลขหวยงวดที่จะถึงนี้ (มีคนบอกว่าท่านกับเราเป็นเพื่อนกันไม่รู้จริงมั๊ย)
     
  3. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    เราจะแก้ไขข้อผิดพลาดทั้งหมดให้เสร็จสิ้น..

    ถ้าเราขึ้นไปวัดบนภูเขา เพื่อขออาศัยพื้นที่วัดเร่งความเพียรช่วยเปิดทางให้เราด้วย พระบนเขามีตาที่สามเราจะอนุญาตให้พระท่านส่องดูเรา หรือท่านใดจะเจรจากับพระท่านก็แล้วแต่พวกท่านเห็นสมควร

    ความคิดเราพวกท่านทุกคนรู้อยู่ตลอดเวลา..การกระทำของเราพวกท่านรู้ทุกเรื่อง คงไม่ต้องพิมพ์มากหรอกนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2019
  4. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    ขออนุโมทนากับท่าน "สิ้นสงสัย"..สหธรรมมิก ผู้มีปัญญาเป็นเลิศ


    เราขอโทษทุกท่านที่เราดื้อมาตลอด...เพียงเพราะเราทนเห็นความทุกข์คนอื่นไม่ไหว ซึ่งจริงๆเราควรวางเรื่องนี้ได้นานแล้ว

    เราขอโทษทุกท่าน..ที่เราเป็นต้นเหตุให้ต้องยุ่งยาก แล้วต้องมาแก้ไขให้เราตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา

    เราเริ่มต้นการแก้ไขข้อผิดพลาดทั้งหมดแล้ว..

    ขอบคุณทุกท่านมาก..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2019
  5. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    ช่วงนี้ทุกท่านอย่าเพิ่งปลุกเราตื่นดึกมากนะขอเป็นตีสี่กำลังดี..
     
  6. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    เราจะขึ้นไปวัดบนภูเขาวันที่ 20 ธันวาคม นี้
     
  7. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    ราตรีสวัสดิ์...ทุกท่าน
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ฝาก "น้าปราบ" ไว้อีกนิด (ไม่คิดดอกเบี้ยนะ)
    https://palungjit.org/threads/701499/page-2#post-11132082
    +++ ตรงนี้ "น้าปราบ" ลองไปทวนตรงที่ "พระอนุรุทธ" ได้กล่าวไว้
    +++ ว่า "พระพุทธเจ้า ทรง ดับ/วาง ขันธ์" อย่างไร
    +++ จากฌาน 1-9 แล้ว 9-1 จากนั้น 1-4 แต่ตรง "4" นั่นแล
    +++ ไม่ใช่ "ฌาน 4" นะ แต่เป็น "อุเบกขาสัมโพชฌงค์"

    +++ และคำที่ "แปล/เขียนว่า ฌาน" นั้น มันไม่ใช่ "ฌาน" ที่พูดกันจนเฝือไปหมด
    +++ มันเป็น "โภชฌงค์ทั้ง 7" ที่เดินผ่าน "ฌานทั้ง 8" โดยเฉพาะ ตรงฌาน 8
    +++ ตรงนั้นจะเจออาการ "เกิด/ดับ" ก่อนที่จะเป็น "มโนจิตตะสังขารขันธ์"
    +++ อันมีบ่อเกิดมาจาก "สัญญา" แต่ยังไม่ทันเป็น "สัญญา" ก็ ดับ ไปเสียก่อน
    +++ เมื่อ "ตัด/ดับ" การ เกิด/ดับ ของ "มโน" ได้ จึงถึงการ "ดับรอบ ดับสนิท (นิโรธ)"
    +++ ตรงนี้ มีได้ใน "ศาสนาพุทธ" และต้องเป็นการฝึกใน "โภชฌงค์" เท่านั้น

    +++ เมื่อ "สติครองฌาน" ได้มาถึงที่สุดของสภาวะ ก็ "ดับ/วาง" สภาวะลง ตรงนั้นแล...

     
  9. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
  10. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    แสดงความเห็น
    ยกมาเปรียบเทียบระหว่างโพชฌงค์กับวิปัสสนูปกิเลส
    จะได้ระวังกิเลสตัวเองพาให้หลงทางไป


    โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

    สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
    ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
    วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
    ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
    ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
    สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
    อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

    วิปัสสนูปกิเลส
    สภาพน่าชื่นชม แต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ
    ๑. โอภาส แสงสว่าง
    ๒. ปีติ ความอิ่มใจ
    ๓. ญาณ ความรู้
    ๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต
    ๕. สุข ความสบายกาย สบายจิต
    ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
    ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
    ๘. อุปัฏฐาน สติชัด
    ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
    ๑๐. นิกันติ ความพอใจ

    ......................................................................................................
    บทความจากเว็บtreplookpanya

    ในการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนั้น ในบางครั้งก็มีอุปสรรคขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเกิดการหลงผิดบ้างก็มี ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า เมื่อได้ทำสมาธิจนสมาธิเกิดขึ้น และได้รับความสุขอันเกิดแต่ความสงบพอสมควรแล้ว จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่สมาธิส่วนลึก นักปฏิบัติบางคน จะพบอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส เกิดแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันต้องมีสมาธิหรือฌานเป็นบาทฐานนั่นเอง
    ** ข้อสำคัญ วิปัสสนูปกิเลสนี้เป็นกับดักขัดขวาง เกิดขึ้นตลอดสายของการปฏิบัติ ! **
    ตลอดเส้นทางวิปัสสนา ถึงแม้ว่าปฎิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง วิปัสสนูปกิเลสนี้ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ แต่เบาบางและเป็นไปในลักษณะลดน้อยถอยลงไปทุกขณะตามภูมิรู้ภูมิญาณที่เกิดขึ้น แต่เมื่อใดที่การปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างผิดๆหรือเป็นมิจฉาสมาธิ เมื่อนั้นวิปัสสนูปกิเลสจะรุนแรงและเฟื่องฟูขึ้นตลอดเวลาในลักษณะเพิ่มพูนสะสมจนเป็นอันตรายต่อตนเองอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัว เพราะการถูกครอบงำของจิต ดังคำหลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า
    "สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ (วิปัสสนูปกิเลส) ว่าถึงประโยชน์ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน
    คือจะได้เป็นบรรทัดฐานเป็นเครื่องนำสติ มิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก
    เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบการปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคง ในแนวทางตรงต่อไป”
    *************************
    รู้จักวิปัสสนูปกิเลส
    วิปัสสนูปกิเลส แปลว่า อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, เครื่องทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติกรรมฐานและได้เสวยผลแห่งวิปัสสนาอ่อน ๆ ก็เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้บรรลุมรรคผล จึงหลงเพลิดเพลินอยู่แล้วหยุดบำเพ็ญเพียรเสีย ทำให้ไม่ได้รับความก้าวหน้าในวิปัสสนาญาณต่อไป จัดเป็นสิ่งขัดขวางไม่ให้บรรลุธรรมชั้นสูง

    วิปัสสนูปกิเลสเป็นอารมณ์ของสมถะไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนา มักเกิดจากการหลงเน้นปฏิบัติแต่ฝ่ายสมถะหรือสมาธิจนเสียการ โดยขาดการนำไตรลักษณ์มากำกับสภาวะที่เกิดขึ้นเท่าที่ควรเสียนั่นเอง ซึ่งเกิดได้ตลอดสายของการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเข้าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือญาณที่ 4 ใหม่ ๆ อันเมื่อช่วงผู้ปฏิบัติวิปัสสนาสามารถยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวด ๆ ตามแนวไตรลักษณ์ที่ละอย่าง ๆ จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลายอันเป็นญาณเกี่ยวกับการเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ 5 หรือสังขารในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรม ในขณะที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆนี้ เรียกย่อยลงไปว่า ดรุณวิปัสสนา (วิปัสสนาญาณอ่อน ๆ ) ถ้ารู้เท่าทันผ่านพ้นไปได้ ไม่ไปติดไปยึดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
    ฉะนั้นเมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นก็ให้พิจารณาให้ดีและให้มีสติ อย่าหลงอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้การปฏิบัติหยุดชะงักไม่ก้าวหน้าถึงญาณเบื้องสูง



    วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นกับผู้ใด ? และไม่เกิดกับผู้ใดบ้าง ?
    วิปัสสนูปกิเลส มิใช่สิ่งเลวร้ายแต่จะเกิดขึ้นตลอดทางเมื่อเริ่มเข้าสู่เส้นทางวิปัสสนา และจะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติโดยชอบ ประกอบความเพียร ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนาแล้วเท่านั้น จึงเป็นสัญญาณให้ผู้ปฎิบัติได้ทราบว่า ได้เข้าสู่หนทางสายวิปัสสนาซึ่งจะเริ่มเห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    จึงถือว่าเป็นอุปสรรคเพื่อให้ติดความเผลอเพลิน ทำให้ไม่ได้รับความก้าวหน้าในวิปัสสนาญาณต่อไป จัดเป็นสิ่งขัดขวางไม่ให้บรรลุธรรมชั้นสูง
    แต่วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดขึ้นแก่
    1.พระอริยสาวก ผู้บรรลุปฏิเวธแล้ว
    2 ผู้ปฏิบัติผิด (เริ่มต้นมาแต่ศีลวิบัติ)
    3. ผู้ละทิ้งกรรมฐาน
    4. บุคคลเกียจคร้าน (แม้ปฏิบัติถูกมาแต่เริ่มต้น) แม้จะปฏิบัติถูกต้องมาตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อวิริยะความเพียรน้อยก็ทำให้มีกำลังสมาธิอ่อน เพราะว่าอารมณ์ในวิปัสสนูปกิเลสนั้นเกิดขึ้นจากกำลังสมาธิ

    *************************
    วิปัสสนูปกิเลส 10 ได้แก่
    1. โอภาส - แสงหรือภาพ เห็นแสงสว่างสุกใสหรือนิมิต เห็นแสงต่าง ๆ ภาพต่าง ๆ เห็นแสงสว่างรอบ ๆ สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น พระพุทธรูปที่เป็นกสิณ หรือเห็นเจิดจ้าสว่างไสวไปทั่ว หรือแสงออกจากร่างกายตน รูปนิมิตต่างๆ แล้วไปน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์อย่างเป็นจริงเป็นจัง ว่าเป็นจริงอย่างนั้นจริงแท้แน่นอน
    ซึ่งความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นอันเป็นปกติตามธรรมชาติของจิตเมื่อเป็นฌานสมาธิโดยเฉพาะในระยะแรกๆ แต่เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดไปน้อมเชื่อในความตื่นตา ตื่นใจ จึงน้อมคิดปรุงแต่งไปต่าง ๆ นานา ว่าเป็น บุญ อิทธิปาฏิหาริย์ อันตื่นตา ตื่นใจ ไปยึดมั่นหมายมั่นพึงพอใจหรือน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง ว่าโอภาสหรือนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นด้วยอวิชชา จึงทําให้ติดเพลิน(นันทิ-อันคือตัณหา)
    เมื่อเกิดนันทิอันคือตัณหา ย่อมเกิดอุปาทาน ภพ(รูปภพ) ชาติ คือการเกิดขึ้นของกองทุกข์ตามมาโดยไม่รู้ตัว และเกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆไปทางฤทธิ์ ทางเดช ทางบุญ ทางกุศลโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันทั่วๆไปว่า ติดนิมิต

    2. ปีติ - ความอิ่มใจ ความอิ่มเอิบ ซาบซ่าน อันเกิดขึ้นทั้งต่อกายและใจอันได้จากการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ ปีติมีอยู่ 5 แบบซึ่งก่อให้เกิดความอัศจรรย์ ความสุข ความสบาย ความพิศวง พึงพอใจ หรือลุ่มหลง แปลกใจ ทําให้หลงใหลอยู่ในเวทนาของสังขารขันธ์ชนิดนี้ว่าเป็นของดีของวิเศษ โดยลืมตัวเพราะอวิชชาความไม่รู้
    ความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติธรรมดา ๆ อันพึงเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกต้องทั่ว ๆ ไปเป็นธรรมดา เป็นเพียงแค่ทางผ่านของฌานสมาธิ แต่เพราะอวิชชาความไม่รู้ จึงเกิดการติดเพลิน ไปยึดไปอยากด้วยอธิโมกข์
    ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดปีติ กล่าวคือ มีอาการจิตส่งไปภายในตน ไปคอยจ้องเสพความอิ่มเอิบต่างๆ อยู่เนือง ๆ ทั้งโดยรู้ตัวและที่สำคัญยิ่งก็คือโดยไม่รู้ตัว

    3.ญาณ - ความรู้หรือปัญญา แต่ญาณในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึงเป็นมิจฉาญาณนั่นเอง คือเป็นความรู้หรือความเข้าใจแบบผิด ๆ เป็นเพียงความรู้สึกว่าตนเองมีภูมิรู้ภูมิธรรมหรือความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆหรือธรรมต่างๆแจ่มแจ้งดีแล้ว ถูกต้องถ่องแท้แล้ว หรือเกิดแต่นามนิมิต (ความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ มิได้เกิดแต่ปัญญาหรือเป็นไปตามหลักเหตุผล) เสียงนิมิต(เสียงที่ผุดขึ้นได้ยินแต่นักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ) แต่เกิดแต่ความเข้าไม่ถูกต้องหรือมิจฉาญาณ แล้วน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์
    ดังนั้นเมื่อคิดว่ามีความรู้ความเข้าใจจากมิจฉาญาณดังกล่าว จึงทำให้เข้าใจผิด หรือหยุดการพิจารณาด้วยปัญญาเสียกลางคัน ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายด้วยคิดว่าเข้าใจดีถูกต้องแล้ว หรือคิดว่าได้มรรคผลใดแล้ว
    จึงทําให้เกิดทิฏฐิ ไม่รับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้หรือผู้อื่นที่แนะนําข้อผิดพลาดได้ เพราะหลงคิดและเข้าใจไปว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้วอย่างแรงกล้าด้วยอธิโมกข์ จึงเกิดการออกนอกลู่นอกทางเป็นโทษโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ทำให้เกิดอาการติดผู้รู้ หรือมิจฉาญาณ คือยึดมั่นเชื่อถือในความเชื่อหรือปัญญาที่เกิดขึ้นอย่างผิดๆขาดปัญญา และเป็นอย่างงมงายถอนตัวไม่ขึ้น
    4. ปัสสัทธิ - ความสงบกายและจิต จึงเกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดสงบ มีความรู้สึกสงบกาย สงบใจ อันเนื่องจากจิตเป็นสมาธิหรือฌาน จิตย่อมไม่ส่งส่ายออกไปปรุงแต่งให้เกิดการผัสสะกับสิ่งต่าง ๆ นา นา ให้เกิดเวทนาต่าง ๆ ขึ้น จึงย่อมเกิดการผ่อนคลายทั้งกายและใจ จึงไม่ทุกข์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย อันเป็นไปตามหลักเหตุและผล หรือเหตุปัจจัยอันย่อมต้องเกิดขึ้นเช่นนี้เป็นธรรมดา แต่ไปติดอยู่ในความสงบสบายเหล่านั้นด้วยเข้าใจผิดว่าสมบูรณ์ดีแล้ว ทําให้หยุดการปฏิบัติด้วยคิดว่า สงบกาย สงบใจดีแล้ว พอใจแล้ว พอพ้นทุกข์แล้ว หรือมีปัญญาแค่นี้ จึงจมแช่อยู่เยี่ยงนั้น ทําให้ตัดทอนโอกาสอันดีงามในการก้าวต่อไปข้างหน้า เกิดการหยุดชงักงัน ไม่ภาวนาให้เจริญต่อไป
    กลายเป็นการติดเพลินจมแช่อยู่ในความสงบ ซึ่งในบางครั้งเกิดจากการจดจ้อง จดจ่อ คือหมกมุ่นหรือแช่นิ่งอยู่กับความสงบที่เกิดขึ้นในกายหรือในจิตตน หรือก็คืออาการจิตส่งในอย่างหนึ่งนั่นเอง จนไม่สังเกตุรู้สภาวะรอบข้างใดๆอย่างมีสติเท่าที่ควร และทำให้ธาตุขันธ์แปรปรวน เป็นผลของฌานสมาธิอันไม่เที่ยง ซึ่งมีการแปรปรวนเป็นธรรมดา เกิดการครอบงําโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ที่คิดว่าดีแล้ว ถูกแล้วจนขาดการพิจารณา
    อาการนี้มักเป็นมากในผู้ที่ปฏิบัติไปในทางมิจฉาสมาธิต่างๆ เช่น นั่งเอาแต่ในความสงบ หรือสวดมนต์หรือบริกรรมซ้ำซ้อนยาวนานแต่อย่างเดียว แต่ขาดการเจริญปัญญา เมื่อถูกกระทบจนความสงบหวั่นไหว ก็มักมีโทสะ หรืออ่อนเปลี้ยทันทีที่จิตหวั่นไหวเลื่อนไหลหลุดออกจากความสงบ แม้ความสบาย
    5. สุข - ความสบายกายสบายจิต ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดสุข เพราะมีความรู้สึกเป็นสุข ความสบาย ทั้งทางใจและทางกาย สบายกาย สบายใจล้วนแต่เป็นผลจากสมถะอันยังให้เกิดสารคัดหลั่ง จึงทำเกิดการติดเพลิน(นันทิ-ตัณหา)ไปยึดในความพึงพอใจในผลของสุข อันเกิดแต่ฌานและสมาธินี้ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเพราะความไม่รู้
    จึงทําให้ก่อเกิดโทษต่างๆตามมา อันเป็นผลเสียทั้งต่อกายและต่อจิตอย่างรุนแรง ทําให้การปฏิบัติธรรมต้องหยุดชงักงัน เพราะหลงติดด้วยจิตส่งในไปเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ (ติดปิติ,สุข,อุเบกขา ในฌาน) และย่อมเกิดอาการของจิตส่งในไปคอยเสพความสุขความสบายที่เกิดขึ้นจากอำนาจของฌานสมาธิเช่นเดียวกับปัสสัทธิ
    6. อธิโมกข์ - ความน้อมใจเชื่อ เป็นศรัทธาจึงน้อมใจไปเชื่อแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือขาดเหตุผลหรืองมงาย ไม่มีที่มาที่ไป หรือไม่มีเหตุมีผลนั่นเอง เนื่องจากประสบผลสําเร็จบางส่วนในการปฏิบัติ ทำให้เกิดผลบางสิ่งขึ้น หรือเกิดความเชื่อตามที่ได้ยินเขาร่ำลือกันต่อๆมา ฯลฯ. จึงทําให้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ซาบซึ้ง เลื่อมใส จิตสว่างเจิดจ้าที่หมายถึงหมดความเศร้าหมอง จึงเกิดการหมายยึดเป็นที่พึ่งทางใจโดยไม่รู้ตัว แต่เป็นไปแบบขาดปัญญา หรืออย่างงมงายอย่างขาดเหตุผล
    เกิดแต่ความเชื่อ มิได้เกิดแต่ความเข้าใจขั้นปัญญา เช่น อยากสร้างโบสถ์วิหารใหญ่เกินตัวเพื่อทดแทนพระคุณพระศาสนา อยากสอนธรรมะผู้อื่นตามแนวทางตน, อยากให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติบ้างเหมือนตน อยากทําบุญทําทานต่างๆเกินฐานะ ทําบุญสะเดาะเคราะห์กรรมต่างๆ น้อมเชื่อในนนิมิตที่เห็นอย่างแน่นแฟ้น น้อมเชื่อปฏิบัติตามคำสอนแต่อย่างงมงาย ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในลักษณะของทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทาน คือ อุปาทานชนิดยึดมั่นในกิเลสเพื่อความพึงพอใจในความคิดความเชื่อของตน

    ศรัทธาที่ถูกนั้นเป็นสิ่งจําเป็นในการปฏิบัติ แต่ต้องไม่เป็นไปอย่างงมงาย ประกอบด้วยเหตุผล จึงดําเนินไปด้วยปัญญา(สัมมาปัญญา)จึงจักถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยอธิโมกข์
    7. ปัคคาหะ - ความเพียรที่พอดี แต่ในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึง เพียรมากจนเกินพอดี เกินเหตุชนิดมุทะลุ จึงย่อมตึงเครียดต่อการปฏิบัติมักเนื่องจากปฏิบัติผิดวิธี หรือติดตรึงใจในผลความสุขความสงบความสบาย หรือมีความเข้าใจแล้วต้องการให้บรรลุหรือสมประสงค์โดยไวด้วยความเพียร แต่ลืมทางสายกลาง ทําให้เกินพอดี
    ทําให้เกิดอาการเครียดต่างๆทั้งต่อจิต และกาย และมักเกิดจากผลที่ดีที่บังเกิดขึ้นในระยะแรกๆจากการปฏิบัติสมถสมาธิอันเกิดแต่อำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ จึงเป็นแรงขับดันให้เพียรปฏิบัติอย่างมุทะลุลืมตัว โดยไม่รู้ตัว
    8. อุปัฏฐานะ - สติชัด แต่ที่นี้หมายถึง สติแก่กล้าเกินพอดี สติมากเกินพอดีไปในการปฏิบัติ เช่น จดจ้อง จดจ่อ อย่างต่อเนื่อง อย่างแรงกล้าแต่เฉพาะในสิ่งที่ยึดเป็นอารมณ์ หรือเฉพาะการปฏิบัติที่ปฏิบัติอยู่แต่เท่านั้น
    นั่นคื่อ ขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร เป็นมิจฉาสติ คือ ตั้งจิตอยู่กับสติตลอดเวลาในอารมณ์เดียวอย่างจดจ้องจดจ่อ (ยึดอารมณ์ หรือวิตก) แต่อย่างเดียว จนในที่สุดเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทที่ประกอบด้วยอวิชชา แต่กลับขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร ทําให้สติล้าตึงเครียด จนเกิดอาการต่างๆเพราะความตึงเครียดจากการปฏิบัติผิดมากเกินไป
    เรียกว่า สติชัดเกินไป จนขาดสัมปชัญญะ ทั้งที่ สตินั้นก็เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงควรรู้เท่าทันถึงความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีการเกิดดับๆๆเป็นธรรมดา รู้แต่สิ่งที่สติหรือจิตไปกำหนด(ยึดอารมณ์ หรือวิตก)แต่อย่างเดียวจนเป็นไปในลักษณะสมาธิควบไปด้วย จนไม่รับรู้ในสิ่งอันควรอื่นๆด้วยนั่นเอง จนในที่สุดสติอยู่แต่กับสิ่งนั้นๆที่เป็นอารมณ์จนถอนไม่ขึ้น


    9. อุเบกขา - ความวางจิตเป็นกลาง ยังให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดอุเบกขา ติดแช่นิ่ง เพราะติดแช่นิ่งอยู่ภายในเป็นกลางวางเฉยอย่างขาดปัญญา, เป็นกลางวางเฉยแต่อย่างงมงายผิดๆ, วางเฉยเสียสิ้นโดยขาดปัญญา แต่ย่อมรู้สึกสงบ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงไปเข้าใจผิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว แต่เป็นไปในลักษณะแช่นิ่งอยู่ภายในจิต อย่างติดเพลิน เฉื่อยชา ใจลอย ไม่ยินดียินร้าย ไม่นิ่มนวลควรแก่การใช้งาน ขาดความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    เวลาจิตหวั่นไหวหลุดจากองค์ฌานก็จะโกรธได้ง่ายๆ, แล้วไปเข้าใจผิดว่าเป็นอุเบกขาในโพชฌงค์ (ที่หมายถึงการวางเฉยหรือใจเป็นกลางอันดีงาม คือรู้เห็นตามความเป็นจริงทั้งในคุณในโทษของสภาวะธรรมนั้นๆ แล้ววางใจเป็นกลางอุเบกขา คือวางทีเฉยดูโดยการไม่เอนเอียงไม่แทรกแซงไปปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย,ดีหรือชั่วเช่น เราดี หรือเขาชั่ว เราถูก หรือเขาผิด)
    แต่กลับกลายเป็นอุเบกขาที่เกิดจากการปล่อยแช่นิ่งอยู่ในความสงบของมิจฉาสมาธิหรือฌานแบบผิดๆทั้งในสภาพที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว หรือเกิดจากการปฏิบัติชนิดกดข่มไว้ มิได้เกิดแต่ปัญญาที่เข้าใจ ล้วนแต่เป็นผลของการปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนาผิดวิธีอย่างแน่นอน
    10. นิกันติ - ความพอใจ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติต่างๆของตนที่ผ่านมา พอใจในผลขององค์ฌานหรือสมาธิ เช่น ปีติ สุข อุเบกขา อันยังให้เกิดความสุข ความเบาสบาย, หรือโอภาส-ความสว่าง แสงสีต่างๆ หรือนิมิต, หรือมิจฉาญาณที่เข้าใจผิดไปว่าได้บุญได้กุศล ตลอดจนพอใจในนิมิตหรือปาฏิหาริย์ต่างๆที่เกิดขึ้น หรือคิดขึ้นภายใต้อํานาจของสมถะที่ปฏิบัติและสารคัดหลั่งบางตัวที่มากเกินขนาดจากการปฏิบัติไปติดจมแช่อยู่เป็นระยะเวลานานๆ จะโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี จึงทําให้เกิดผลร้ายต่อการปฏิบัติอย่างรุนแรง ทั้งต่อกายอันจะเกิดการเจ็บป่วยได้และต่อจิต, จึงก่อให้เกิดความพยายามปฏิบัติในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้คงอยู่ ทำให้เป็นขึ้น อยู่ตลอดเวลา

    .....
     
  11. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    15344097330401622524.jpg
    o ดอกทานตาวานถึงกับแสตนดับ!

    O ด้วยเหตุคำว่าวิปัสสนูปากิเลส
    ปรากฏเลศในตำราวิสุกะทิมัด
    น้องตาวันทาจึงขอลามงับ
    เสนอความสัจจจากร้อยห้าสิบ เชิญทัศนา


    [๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ

    เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์
    เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
    เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
    โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
    โดยความเป็นทุกข์
    โดยความเป็นอนัตตา ....

    โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์
    ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
    ย่อมเกิดขึ้น

    ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจ
    เป็นธรรม เพราะนึกถึงความ พอใจนั้น
    จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ

    ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่
    ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและ
    มรณะ อันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
    โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
    เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูก
    อุทธัจจะกั้นไว้

    สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบ อยู่ภายใน เป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่มรรคย่อมเกิด
    แก่ภิกษุนั้น

    มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
    เกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป อย่างนี้

    ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูก
    อุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ จิตย่อมกวัด
    แกว่งหวั่นไหวเพราะ....

    โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์
    ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก
    ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ
    ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้
    ด้วยปัญญาแล้ว....

    ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอภาส
    เป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อม
    ไม่ถึงความหลงใหล

    จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อน
    จากจิตภาวนา

    จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อม
    เสื่อมไป

    จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อม
    ไม่เสื่อม

    จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่
    เคลื่อนจากจิตภาวนา
    .......ด้วยฐานะ ๔ ประการนี้

    ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด
    แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้
    ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ ฉะนี้แล ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2019
  12. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    อัดตา กถา

    จะเห็นว่า ตำรา วิสุกกะทิมัด อธิบายไปคนละเรื่อง !!!
    ( มีแนวโน้มอันตราย เพราะ กล่าวไปทางว่า อาการ10
    อย่างนี้ต้อง ค่อยๆ หายไป .... แต่ใน กถาพระสารีบุตร
    จะกล่าวไปในเชิง ยิ่งมนสิการ ยิ่งมี ยิ่งมี ยิ่งน้อมไป
    ในญารทัศ อิทธิวิธี ได้ไม่จำกัด)


    ในขณะที่ พระสารีบุตร กล่าวถึง
    ความเป็นธรรมดา ที่จะต้องเกิด ....

    ที่ต้องเกิด ก็เพื่อ อาศัยระลึกถึง ความ
    ปรากฏนั้น ว่าเดินมาถูกต้อง ( จะเกิด
    เมื่อ "มนสิการ...." ) ไม่มี ไม่เกิด

    พอเกิดแล้ว ก็เพียงแต่รู้ว่า มันเกิดด้วย
    "ฉันทธรรม" ให้กำหนดรู้ ฉันทะ นั้น
    เกิดดับ ก็จะเป็น มรรค!!!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2019
  13. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    ยกตัวอย่าง สำหรับ คนที่เดิน วิปัสสนา
    แล้วไม่ได้ มุ่ง มุดแสง เล่นแสง ออกรู้
    ออกเห็น

    เมื่อ มนสิการลงไตรลักษณ์ โดยมีการ
    พ้นเจตนา

    จิตจะเกิด แสงขาววั๊บขึ้น ...แล้ว ถอย
    ออกมานิ่งอยู่ ( จะไม่เหมือน ยังเมา
    สมถะ พอเกิดแสงจิตจะรำพึงไปตาม
    อธิษฐาน แล้วหลังจากนั้นจะเริ่ม
    หืดจับ เว้นแต่ชำนาญ จะปล่อยมัน รีรัน
    ไปจนกว่า จะถอน )

    สำหรับ ผู้ยกวิปัสสนาแล้ว แสงขาวเกิด
    จิตถอยหลังจากนั้น จะเกิดอาการ
    "ไปต่อไม่เป็น"

    ไอ้อาการไปต่อไม่เป็น นั่นแหละ อุธธัจจะ
    มารอขย้ำ ขณะนั้น จิตจะเริ่มๆ เหมือน
    จะถาม

    "เอ้ย แล้วไงต่อ"

    แทนที่จะ กำหนดรู้ ความพอใจในธรรม
    การนึกถึงความพอใจในแสงที่พึ่งดับ
    มันเกิด( แต่ไม่ดับความเออะตะกี้แสง )
    สักพัก ความฝุ้งซ่านจะลากไปกิน เช่น
    กลับไปบริกรรมต่อ หรือ ม้วนเสื่อ โอ้ละพ่อ
    วนเวียนอยู่ใน สมแถะ วิแปะสะแน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2019
  14. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    อนึ่ง พึงทราบว่า ในกรณีที่เป็น
    มรขาแจว บางทีจะไม่ ละสังโยชน์
    ตามปริเฉทที่ยกมา

    เมื่อถอยจากแสง เมื่อกำหนดความ
    พอใจ อาจมีทางแยกตรงที่ ไป
    "เชื่อท่านนะ ท่านบอก บริกรรม
    สำคัญที่สุดเข้า" จิตจะผลิกไปเห็น
    สมถะ ทำกิจเป็นอัญญามัญญะกับ
    วิปัสสนา .....

    หากไม่เข้าใจ ก็จะเห็นว่าเป็น มรรค
    จริงๆเป็นแค่การกำหนดรู้ "ความเป็น
    อัญญามัญญะ" ต่อแทนที่จะตัดสังโยชน์
    ไม่ประมาท รีบๆข้ามกำแพงไปซะ

    แต่ถ้าจะเป็น มรรค พระสารีบุตร
    ระบุให้ดู ฉันทะธรรม

    แต่หากไปตรวจ 150cc จะทรงแนะให้ดู
    "เหตุของกุปธรรม"( ลพราชรีเด่น 77 76 /
    ลพสุราษฏร์ไก่โต้ง เด่น 16 อินทรี
    สังรณ์ / ลพโค้งดารา เผลอแล้วนะ
    จิตไหวๆ ) ซึ่งจะชี้ทุกขสัจจ เข้าเป้ากว่า
    เพราะส่วนใหญ่ กิเลส อาสวะ มักจะรอ
    ผู้ประมาทซึ่งมีอินทรียต่างจาก พระ
    สารีบุตรที่ละ"อัสมิมานะมานานนนนแล้ว"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2019
  15. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    ในข้อนี้เราได้ประสบมาแล้วเมื่อคืนนี้ เป็นอาการของอวิชชาปิดบังไว้ คือ จิตมันจะเดินวิปัสนาต่อไปไม่ได้ มันหลอกจิตให้ขึ้นไปกสินบ้าง ไปดูลมหายใจบ้าง จะออกจากลมหายใจมันก็ใช้ขันธมารดึงจิตไว้ที่ลมหายใจ อาการทางร่างกายตรงจมูกจะชา รู้สึกรูจมูกโล่ง โปร่ง ทำให้เกิดรู้สึกว่ามีความสงบ สบาย ไม่อยากทิ้งลมหายใจไปไหน

    วิธีแก้ตามที่เราแก้เมื่อคืน คือ

    "ดำรงสติมั่นรู้ธรรมเฉพาะหน้า"

    ดำรงสติมั่นรู้....ธรรมเฉพาะหน้า

    ดำรงสติมั่นรู้ธรรม....เฉพาะหน้า

    หมายถึง ทำความรู้สึกตัวบนใบหน้า รู้เฉย รู้ไปตรงๆ...สติรู้ตัวทั่วพร้อมก็ยังอยู่ หากแต่เป็นสติจดจ่อเข้าไปดูให้เห็นชัดว่าลมหายใจก็ไม่เที่ยง(เปรียบเหมือนกองทัพนักรบที่ล้อมกรอบพิชิตศรัตรู)เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ใน ลมหายใจ

    เราขออนุญาตอธิบายเพียงเท่านี้...

    ปล. แก้ไขเพิ่มเติมให้แล้ว ในส่วนคำว่าดำรงสติมั่นรู้ธรรมเฉพาะหน้า ที่เราแยกออกไว้ทั้งสองบรรทัด ขอท่านทั้งหลายพิจารณาตรงจุดนี้ให้แยบคาย ผิดพลาดประการใด เราต้องขออภัยไว้ ณ. ที่นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2019
  16. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,364
    ฮ่วยว่าจะไม่คอมเม้นท์แล้วนะ "รู้ธรรม....เฉพาะหน้า"(ต้องมีความรู้สึกตรงใบหน้าไม่ใช่ที่อื่น) ผมอ่านละขำก้ากเลยคิดได้ไงฮับมุขนี้

    งั้นธรรมะเป็นอกาลิโก(ไม่มีเวลา) งั้นเวลาจะปฏิบัติธรรมต้องรอเวลาที่โลกหยุดหมุนอะป่าวฮับ

    กินพาราไม่ก็รับยาช่องแปดนะฮับโงบะขอบอก
     
  17. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
    ตอนนี้เราก็ไม่ต่างจากงูลอกคราบใหม่ๆ..ขอเวลาให้เราสักพัก
     
  18. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    ใคร เร่ง

    มีแต่ พวก สับเสสมอร subsessmora
    เท่านั้นที่ จะเร่ง

    นี่คราวนี้ ระบุวัน ด้วยน้า

    วันนี้ เริ่ม เหลืออีก 8 ชม. ก้จะ
    ฮาคลี่แตก แล้ว

    วันที่ 15 จะจุด.....

    วันที่ 20 จะจุด ....

    เฮีย!! เหมือนเดิม
     
  19. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    ส่วน รู้เฉพาะหน้าลาดพร้าว 101
    เนื้อชาม เลือดชาน ซ่านสบัดช่อ
    นี่ บักโงบะ ต้องฟัง ปรี่ยัด เอ้ย
    ปริยัติบ้าง

    พระศาสดาตรัสว่า ".. ให้แผ่ สภาวะ
    ธรรม จากหัวลงไปที่ตัว ไปที่เท้า
    แผ่จากที่เท้า กลับมาที่หัว...ฯ "

    ทำกลับไปกลับมา แล้วค่อย อึ้ง
    กิมกี่ว่า จริงๆ มันมีอยู่แล้วทั่วตัว
    ไม่มีส่วนไหน ไม่ปรากฏ ดังนั้น
    ที่ แผ่จากหัวไปเท้า เท้าไปหัว
    คือ อุปาทานกิน

    พอเหนชัด ปิติ มีอยู่ก่อนแล้ว
    ทุกขณะจิต ก้ทำ การรู้ให้ชำนาญ
    ไม่ต้อง ตั้งท่า นับหนึ่ง สูดลมปึ๊ดปาด

    เหนกองลมทั้งปวง คือ กาย
    ก้ทุกส่วนที่ มี ปิติ เกิดของมัน
    อยู่แล้ว ไหลเข้า ไหลออก
    ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้น หัว
    ไหล่ ตูด กระจัดกระจายไป
    หมดแล้วถ้าไม่มี เจตสิก
    สาธารณะพวกนี้

    ทีนี้ หากไม่เหน เกิด ดับ
    เปนธรรมดา ก้ จะไม่เหน
    พวก โสภณเจตสิก

    ถ้าไม่เหน โสภนเจตสิก
    ก้จะไม่ชื่อ เหนตามความเปนจริง
    มรรคไม่เกิด


    ปล.ลิง : จริงๆ จะ อะ จริงๆ อันที่
    จริง ลหุสัญญา สิ วะ สี สำเนียก
    สำเนียก ....ผีเอย ลอยสามภพ
    มา ไม่ได้นุ่งผ้า สะดือแหลมเปียบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2019
  20. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    พูดถึง สับเสสมอ นี่....

    พวกเขา ส่งให้ บักโงบะ ปรับทาก ยัง

    หากยังไม่ปรับ หลังวันที่ 15
    ก้จะแหลกเปน คลี่ผง เลยน้า

    ไปไม่ถึงวันที่ 20 หลอก

    ( ฮา )
     

แชร์หน้านี้

Loading...