พยากรณ์กรรม โดยยึดหลักธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'บริการรับดูดวง' ตั้งกระทู้โดย รัตนชาติ, 7 มีนาคม 2011.

  1. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    พระคาถาขอพรพระแม่กวนอิม

    พระคาถาขอพรพระแม่กวนอิม


    [​IMG]
    ก่อนสวดบทสวดพระคือ หรือทุกครั้ง ต้องตั้งนะโม 3 จบ แต่ถ้าสวดเรียงกันไป ตั้งนะโม 3 จบเพียงครั้งเดียว

    พระคาถาไต๋ซือ ไต๋ปุย (พระคาถาขอพรพระแม่กวนอิม)

    ...นำโม ไต๋ซือ ไต๋ปุย กิวโคว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก๊ำ กวงสีอิมผู่สัก (กราบ)
    ...นำโม ไต๋ซือ ไต๋ปุย กิวโคว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก๊ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    ...นำโม ไต๋ซือ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก๊ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)

    นำโมฮุ๊ก นำโมฮวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก
    ทั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต
    ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ซำผ่อออก เทียงล้อซิ้ง
    ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง
    นำโม ม่อออ ปวกเยี่ยะ ปอล่อบิ๊ก
    (กราบ)
    ภาวนาวันละหลายจบยิ่งมีอานิสงค์มาก

    คำแปลพระคาถา ไต๋ซือ ไต๋ปุย
    ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ พระผู้เปี่ยมล้นด้วยพระมหาเมตตา พระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ไพศาล ขอได้โปรดบำบัดทุกข์โศก โรคภัยอันตรายทั้งปวง ข้าพเจ้าขอน้อมถึง พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์
    ขอได้โปรดขจัดปัดเป่าทุกข์โศก โรคภัยทั้งปวงให้หมดสิ้นไป ขอความสุข สมปรารถนาทุกประการ จงมีแด่ข้าพเจ้า ขอเทพเจ้าเบื้องบนและเทพเจ้าเบื้องล่างทั้งหมด ได้โปรดปัดเป่าให้เวรกรรมและสรรพเคราะห์ทั้งมวล จงหมดสิ้นไป
     
  2. 339

    339 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +12
    อนุโมธนาบุญ กับพี่ปัตจะตังด้วยนะค่ะ
    ที่นำความรู้ บทสวด และเรื่องราวดีดีมาแบ่งปัน
     
  3. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    โอม มา นี แปะ หมี่ ฮง

    [​IMG]โอม มา นี แปะ หมี่ ฮง

    คาถา " โอม มา นี แปะ หมี่ ฮง " นี้ใช้สวดได้ในทุกอิริยาบถ ทุกเวลา ถ้ายิ่งสวดได้มากยิ่งเป็นการดี การสวดครั้งหนึ่งผู้ปฎิบัติควรท่องสวดด้วยจิตน้อมถึงพระแม่กวนอิมมหา โพธิสัตว์ ( อวโลกิเตศวร ) จึงเป็นบุญเป็นผลอย่างอเนกอนันต์ เวลาสวดอย่ารีบร้อน โดยใช้วิธีนับประคำ 108 เม็ด สวด 1 จบ นับ 1 เม็ด สวดครบ 108 จบ ให้ขีดฆ่า 1 วงกลม เมื่อสวดจนครบหมดทุกวงกลมแล้ว ให้พิมพ์หนังสือธรรมะและบทสวดมนต์ในเวบนี้แจกเป็นธรรมทาน จำนวนมากกว่าอายุของผู้สวด หรือ 108 เล่ม หรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี เพื่อเป็นการเสริมบารมีดวงชะตาราศีให้ผู้สวดอายุยืนยาว เป็นมงคลแก่ชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

    คาถา " โอม มา นี แปะ หมี่ ฮง " ในภาษาจีน หรือ " โอม มา นี ปัท เม หุม " ในภาษาสันสกฤต เป็นคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธมหายานทั้งหลายไม่ว่าจะในประเทศอินเดีย ธิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน เป็นต้น ต่างทราบกันดีว่าเป็นคาถาหัวใจของพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ( อวโลกิเตศวร )

    มูลเหตุแห่งพระคาถาบทนี้มีว่า ในครั้งอดีตอันยาวนาน ขณะที่พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร กำลังเข้าสมาธิบำเพ็ญบารมีอยู่นั้น หมู่มารได้มาราวีรังควาน แต่ด้วยพระมหาเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ไพศาลของพระองค์ จึงมิได้ตอบโต้แต่ประการใด หมู่มารเห็นเช่นนั้น ก็ได้ใจยิ่งราวีหนักขึ้น จนในที่สุด พระองค์ได้ทรงเปล่งพระวาจาออกมาสั้นๆเพียง 6 คำ แต่เปี่ยมล้นด้วยบุญญาภิหาร อันยิ่งใหญ่ไพศาลมิอาจเปรียบประมาณได้ ซึ่งก่อกำเนิดมาจากก้นบึ้งแห่งดวงจิตที่ได้บำเพ็ญสั่งสมบุญบารมีมานานนับภพ นับชาติไม่ถ้วนยิ่งกว่าเม็ดทรายในมหานทีคงคา ว่า " โอม มา นี แปะ หมี่ ฮง " ซึ่งด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ของพระคาถาบทนี้เอง ทำให้หมู่มารทั้งหลายต่างขวัญหนีแตกกระเจิงไปสิ้น อีกทั้งเหล่าทวยเทพยดาบนชั้นฟ้าต่างต้องสะดุ้งลุกขึ้นมาโมทนาโดยทั่วถ้วน

    " โอม มา นี แปะ หมี่ ฮง " นี้คือ มนีแห่งดอกบัวหรือหัวใจที่เบิกบาน ใจที่สะอาด สว่าง หลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการ คือ กิเลสที่ร้อยรัดให้เศร้าหมอง มนีนี้คือใจของเรา ดอกบัวคืออาสนะอันบริสุทธิ์ ดังนั้น ผู้ที่ภาวนาพระคาถานี้อยู่เนืองๆ ย่อมเป็นผู้ที่มีแก้วสารพัดนึกที่จะเป็นอาสนะอันวิเศษ ซึ่งจะนำพาให้ไปถึงนิพพานโลกธาตุได้ในที่สุด

    คาถาหัวใจพระแม่กวนอิมฯ นี้ คนจีนเรียกว่า " หลัก ยี่ ไต่ เหม่ง อ้วง จิ่ว " ทุกอักษรในคาถาเป็นทางแห่งปัญญาอันสว่างไสว มีความศักดิ์สิทธิ์ ทรงพลานุภาพมหาศาล เพียงพอที่จะหยุดยั้งวงแห่งกรรม ได้ปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัย ดังนั้น สาธุชนผู้ใดพร่ำภาวนาอยู่เสมอย่อมอยู่อย่างเป็นสุข หมู่มารมิอาจกล้ำกราย บุญบารมีอันยิ่งใหญ่ของพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ( อวโลกิเตศวร ) ย่อมคุ้มครองและเสริมบารมีให้ผู้สวดประสบความสุข ความเจริญยิ่งๆขึ้นไป ประกอบกิจการงาน การค้าใด ก็ย่อมเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ เสมือนดังเพชรมณีอันล้ำค่าย่อมประทานความมั่งคั่งสมบูรณ์ ความสุขสมหวังสมปรารถนาแก่ผู้ภาวนาในทุกสิ่งที่ตั้งจิตอธิษฐาน แม้ภาวนาเพียง 1 จบก็มีอานิสงส์มากมาย
     
  4. yondaumae1429

    yondaumae1429 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +13
    ขอบคุณมากครับ

    ขอบคุณมากครับ จะพยามทำตามที่แนะนำนะครับ
     
  5. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    มหามนต์พระคาถา "เจ้าแม่กวนอิม" มหากรุณาธารณี

    มหามนต์พระคาถา "เจ้าแม่กวนอิม" มหากรุณาธารณี


    [​IMG]
    พระคาถา "เจ้าแม่กวนอิม" มหากรุณาธารณี (ฉบับภาษาไทย)
    นะโม 3 จบ
    นะ โมรัตนตรายาย นะโมอารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ โพธิสัตตะวายะ มหาสัตตวายะ มหาการุณิกายะ โอม สะวะละวะติ ศุททะนะตัสยะ นะมัสกฤตวานมางอาระยะ อวโลกิเตศะวระลันตะภา นะโมนิลากันถะ ศรีมหาปะฏะศะมิ สระวาทะวะตะศุภัม อะสิยูม สะระวะสัตตะวะ นะโมปะวะสัตตะวะ นะโมภะคะมะภะเตตุ ตัทยะถา โอมอะวะโลกา โลกาเต กาละติ อีศีลี มหาโพธิสัตตะวะ สาโพสาโพ มะรามะรา มะศิมะศิ ฤะธะยุ คุรคุรุฆามัม ธูรูธูรู ภาษียะติ มะหาภาษียะติ ธาระธาระ ถิรินี ศะวะรายะ ชะละชะละ มามะภามะละ มุธิระ เอหิ เอหิ ศินะ ศินะ อะละลินภะละศรี ภาษา ภาษิน การะศะยะ หูลุหูลุมะระ หุลุหุลุศรี สะระสะระ สีรีสีรี สุรุสุรุ พุทธายะ พุทธายะ โพธายะ โพธายะ ไมตรีเย นิละกันสะตะ ตริสะระณะ ภะยะมะนะ สะวาหา สีตายะ สะวาหา มะหาสีตายะ สะวาหา สีตายะเย ศะวะรายะ สะวาหา นีลากันถิ สะวาหา มะละนะละ สะวาหา ศรีสิงหะมุขายะ สะวาหา สะระวะมหาอัสตายะ สะวาหา จักระอัสตายะ สะวาหา ปัททะมะเกสายะ สะวาหา นีละกันเต ปันตะลายะ สะวาหา โมโผลิศังกะรายะ สะวาหา นะโมรัตนะตะรายายะ นะโมอาระยะ อะวะโลกิเตสะวะรายะ สะวาหา โอมสิทธะยันตุ มันตะรา ปะทายะ สะวาหา

    อานิสงค์ที่ได้จากการสวดมหามนต์<wbr>พระคาถา "เจ้าแม่กวนอิม" มหากรุณาธารณี
    มี ความสุขสบาย ปราศจากโรคภัย หลุดพ้นความหวั่นกลัวเมื่อถึ<wbr>งแก่กรรม ถ้ามีภูตผีปีศาจ จะถูกจองจำด้วยการสวดเพียง 1 จบเท่านั้น พระคาถามหากรุณาธารณี มีด้วยกัน 84 ประโยค เป็นการกล่าวพระนามของ เจ้าแม่กวนอิม ทั้ง 84 ปาง เป็นพระคาถาที่มีความศักดิ์สิ<wbr>ทธิ์ และมีพลานุภาพเป็นอย่างยิ่ง

    พระคาถา "เจ้าแม่กวนอิม" มหากรุณาธารณี (ฉบับภาษาจีน)
    นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
    นำ มอ ออ ลี เย
    ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
    ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
    หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย
    หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย
    งัน
    สัต พัน ลา ฮัว อี
    ซู ตัน นอ ตัน เซ
    นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
    ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ
    นำ มอ นอ ลา กิน ซี
    ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม
    สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง
    ออ ซี เย็น
    สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค
    มอ ฮัว เตอ เตา
    ตัน จิต ทอ
    งัน ออ พอ ลู ซี
    ลู เกีย ตี
    เกีย ลอ ตี
    อี ซี ลี
    หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
    สัต พอ สัต พอ
    มอ ลา มอ ลา
    มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน
    กี ลู กี ลู กิด มง
    ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
    หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี
    ทอ ลา ทอ ลา
    ตี ลี นี
    สิด ฮู ลา เย
    เจ ลา เจ ลา
    มอ มอ ฮัว มอ ลา
    หมก ตี ลี
    อี ซี อี ซี
    สิด นอ สิด นอ
    ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
    ฮัว ซอ ฮัว ซัน
    ฮู ลา เซ เย
    ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
    ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
    ซอ ลา ซอ ลา
    สิด ลี สิด ลี
    ซู ลู ซู ลู
    ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
    ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
    มี ตี ลี เย
    นอ ลา กิน ซี
    ตี ลี สิด นี นอ
    ผ่อ เย มอ นอ
    ซอ ผ่อ ฮอ
    สิด ถ่อ เย
    หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
    สิด ทอ ยี อี
    สิด พัน ลา เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
    นอ ลา กิน ซี
    ซอ ผ่อ ฮอ
    มอ ลา นอ ลา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
    เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
    นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
    มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
    นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย
    นำ มอ ออ ลี เย
    ผ่อ ลู กิต ตี
    ชอ พัน ลา เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
    งัน สิด ติน ตู
    มัน ตอ ลา
    ปัด ถ่อ เย
    ซอ ผ่อ ฮอ
     
  6. เดือนยี่

    เดือนยี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    783
    ค่าพลัง:
    +1,378
    ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำทำนายและคำแนะนำ สาธุ กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  7. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    พระปริตร

    อานุภาพแห่งพระพุทธมนต์

    โดยทั่วไปพุทธศาสนิกชน มักทำบุญโดยนิมนต์พระสงฆ์<wbr>มาสวดสาธยาย บทพระพุทธมนต์ในพิธีมงคล
    หรือพิธีที่จัดขึ้นเพื่อความสุ<wbr>ขความเจริญ เป็นสิริมงคลแก่การดำเนินชีวิ<wbr>ตในวาระต่างๆ
    ซึ่งมักจะเรียกรวมกันว่าว่า พิธีเจริญพระพุทธมนต์

    คำว่า “พระพุทธมนต์” หมายถึง พระพุทธพจน์ อันเป็นพระธรรมคำสั่งสอน
    ของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏในพระไตรปิฏกบ้าง เป็นคำที่แต่งขึ้นมาภายหลังบ้าง
    โดยถือกันว่าพระพุทธมนต์เป็<wbr>นคำศักดิ์สิทธิ์ สามารถปัดป้องอันตรายต่างๆได้ จึงเรียกอีกอย่างว่า
    “พระปริตร” คำว่า ”ปริตร” มีความหมายว่า คุ้มครองรักษา หรือเครื่องคุ้มครองป้องกัน
    ซึ่งบทพระพุทธมนต์ที่นิยมว่าศั<wbr>กดิ์สิทธิ์เท่าที่<wbr>ปรากฏรวบรวมไว้มี 7 บท จึงเรียกว่า เจ็ดตำนาน (ตามปกติ
    คำว่า ตำนาน จะหมายถึงเรื่องราวนมนานที่เล่<wbr>ากันสืบๆ มา แต่ในที่นี้เป็นการเรียกพระปริ<wbr>ตรบทๆ หนึ่งว่า
    ตำนาน ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าน่<wbr>าจะแผลงมาจากคำว่า ตาณ ในภาษาบาลีที่แปลว่า
    ต้านทานหรือป้องกันเช่นเดียวกั<wbr>บคำว่า ปริตร
    หรืออาจจะหมายถึงตำนานอันเป็นที<wbr>่มาของแต่ละพระสูตรก็เป็นได้)

    การสวดพระปริตรหรือเจ็ดตำนานนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศลังกา ราว พ.ศ. 500
    ด้วยว่าชาวลังกาที่นับถือพุ<wbr>ทธศาสนาในขณะนั้น ประสงค์ให้พระสงฆ์ช่วยเหลื<wbr>อตนให้เกิดสิริมงคล
    และป้องกันภยันตรายต่างๆ ด้วยการสวดมนต์และคาถาตามแบบอย่<wbr>างพราหมณ์
    ซึ่งมีความเชื่อว่าผู้<wbr>ทรงเวทจะทำให้เกิดสิริมงคล และป้องกันภยันตรายแก่มหาชนได้ ด้วยเหตุนี้
    พระสงฆ์ลังกาจึงได้คิดวิธี<wbr>สวดพระปริตรขึ้น โดยเลือกเอาพระสูตร หรือคาถาที่สรรเสริญคุณพระรั<wbr>ตนตรัย
    อันเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์<wbr>ต่างๆ มาสวดเป็นมนต์ โดยการสวดครั้งแรกๆ ก็ขึ้นกับเหตุการณ์ที่ไปสวด เช่น
    ไปสวดพิธีมงคลก็ใช้มงคลสูตรสวด สวดให้คนเจ็บป่วยก็ใช้โพชฌงคสู<wbr>ตร ครั้นคนนิยมมากขึ้นก็คิดค้<wbr>นพระสูตรต่างๆ
    มาสวดเป็นพระปริตรมากขึ้นเป็<wbr>นลำดับ ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินประเทศลังกา
    ก็ได้รับสั่งให้คณะสงฆ์ปรับปรุ<wbr>งพระสูตร และคาถาที่ใช้สวดพระปริตรขึ้<wbr>นใหม่ให้เหมาะกับเหตุการณ์
    เพื่อใช้ในพระราชพิธีหลวง โดยได้เพิ่มพระสูตรและคาถาให้<wbr>มากขึ้น และเรียกว่า “ราชปริตร” แปลว่า
    มนต์คุ้มครองพระเจ้าแผ่นดิน ต่อมาประชาชนต่างก็นิยม ให้มีการสวดพระปริตรในพิธี<wbr>ของตนบ้าง
    จึงเกิดเป็นประเพณีสืบต่อกั<wbr>นมาจนปัจจุบัน

    เจ็ดตำนานหรือพระปริตร ซึ่งหมายถึง มนต์อันเป็นเครื่องป้องกันภยั<wbr>นตรายต่างๆมีอยู่ด้วยกัน
    7 พระสูตรคือ
    1. มงคลสูตร ว่าด้วยเหตุที่จะทำให้เกิดสิริ<wbr>มงคล
    2. รัตนสูตร ว่าด้วยรัตนทั้ง 3 คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
    สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้<wbr>หมดไป
    3. กรณียเมตตสูตร ว่าด้วยการเจริญเมตตา ไปไหนมาไหนให้คน เทวดารักใคร่เมตตา
    4. ขันธปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์สำหรับป้องกั<wbr>นสัตว์ร้ายพวกอสรพิษ
    5. ธชัคคสูตร ว่าด้วยการเคารพธงและการรำลึกถึ<wbr>งคุณพระรัตนตรัยทำให้หายหวาดกลั<wbr>ว
    6. อาฏานาฏิยปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้<wbr>องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง
    7. อังคุลิมาลปริตร ว่าด้วยมนต์ขององคุลีมาล ใช้ในงานมงคลหรือทำให้คลอดลูกง่<wbr>าย
     
  8. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    บทสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานมีชื่อเดิมว่า “พระปริตร”

    บทสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานมีชื่อเดิมว่า “พระปริตร” แปลว่า “เครื่องคุ้มครอง” เป็นที่นิยมสาธยายในหมู่ชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลจวบจนถึงปัจจุบัน เพื่อความมีสิริมงคล และเพิ่มพูนภาวนาบารมี

    พระปริตรมีปรากฏในพระไตรปิฏกคือ

    ๑. เมตตปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
    ๒. ขันธปริตร มีในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต วินัยปิฏก จุฬวรรค และชาดก ทุกนิบาต
    ๓. โมรปริตร มีในชาดก ทุกนิบาต
    ๔. อาฏานาฏิยปริตร มีในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    ๕. โพชฌังคปริตร มีในสังยุตตนิกาย มหาวรรค
    ๖. รัตนปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
    ๗. วัฏฏกปริตร มีในชาดก เอกนิบาต และจริยาปิฏก
    ๘. มังคลปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
    ๙. ธชัคคปริตร มีในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    ๑๐. อังคุลิมาลปริตร มีในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์


    คุ้มครองผู้สวด

    ใน คัมภีร์อรรถกถามีเรื่องอานุภาพพระปริตรสามารถคุ้มครองผู้สวดได้ เช่น เรื่องพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง พระองค์ได้หมั่นสาธยายโมรปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า ทำให้แคล้วคลาดจากบ่วงที่นายพรานดักไว้ และเรื่องในสมัยพุทธกาล มีภิกษุห้าร้อยรูปไปเจริญภาวนาในป่าได้ถูกเทวดารบกวน จนกระทั่งปฏิบัติธรรมไม่ได้ ต้องเดินทางกลับ เมืองสาวัตถี ในขณะนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเมตตปริตรที่กล่าวถึงการเจริญเมตตา ครั้นภิกษุเหล่านั้นจึงปฏิบัติธรรมได้โดยสะดวก


    โบราณจารย์ได้รวบรวมอานิสงส์ของพระปริตรไว้ถึง ๑๒ ประการคือ
    ๑. เมตตปริตร ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
    ๒. ขันธปริตร ป้องกันภัยจากอสรพิษ และสัตว์ร้ายอื่นๆ
    ๓. โมรปริตร ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย
    ๔. อาฏานาฏิยปริตร ป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี และมีความสุข
    ๕. โพชฌังคปริตร ทำให้มีสุขภาพดี มีอายุยืน และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง
    ๖. ชัยปริตร ทำให้ประสบชัยชนะ และมีความสุขสวัสดี
    ๗. รัตนปริตร ทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตราย
    ๘. วัฏฏกปริตร ทำให้พ้นจากอัคคีภัย
    ๙. มังคลปริตร ทำให้เกิดสิริมงคล และปราศจากอันตราย
    ๑๐. ธชัคคปริตร ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย การตกจากที่สูง
    ๑๑. อังคุลิมาลปริตร ทำให้คลอดบุตรง่าย และป้องกันอุปสรรคอันตราย
    ๑๒. อภยปริตร ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ และไม่ฝันร้าย


    คุ้มครองผู้ฟัง
    อานุภาพของพระปริตรยังสามารถคุ้มครองผู้ฟังได้อีกด้วย คัมภีร์อรรถกถากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อเมืองเวสาลีประสบภัย ๓ อย่างคือ ความอดอยากแร้นแค้น การเบียดเบียนจากอมนุษย์ และการแพร่ของโรคระบาด พระพุทธเจ้าได้รับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตน ตรัย ภัยดังกล่าวในเมืองนั้นจึงสงบลง
    ในคัมภีร์ยังกล่าวไว้ว่า เด็กคนหนึ่งจะถูกยักษ์จับกินภายใน ๗ วัน พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ภิกษุสวดพระปริตรตลอดเจ็ดคืน และพระองค์ได้เสร็จไปสวดด้วยพระองค์เอง พอคืนที่แปด เด็กนั้นก็สามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติของอมนุษย์นั้นได้ มีอายุถึง ๑๒๐ ปีมารดาจึงตั้งชื่อว่า อายุวัฑฒนกุมาร แปลว่า เด็กผู้มีอายุยืน เพราะรอดพ้นจากอันตรายดังกล่าว


     
  9. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตำนานโมรปริตร

    โมรปริตร
    (สวดเพื่อป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย)

    อุเทตะยัง จักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะถะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะถะวิปปะภาสัง
    ตะยาชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

    พระ อาทิตย์ผู้เป็นดวงตาของโลก ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ เสด็จอุทัยขึ้นทรงพระรัศมีสีทองสาดส่องปฐพี ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระอาทิตย์ผู้ทรงรัศมีสีทองสาดส่องปฐพีพระองค์นั้น พระองค์ได้คุ้มครองข้าพระองค์ในวันนี้แล้ว ขอให้ข้าพระองค์มีชีวิตยั่งยืนอยู่ตลอดวัน

    เย พฺราหฺมะณา เวทะคู สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตฺวา โมโร จะระติ เอสะนา

    พระ พุทธเจ้าเหล่าใด ทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระพุทธจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรม เมื่อนกยูงนั้นสาธยายพระปริตรอย่างนี้แล้ว จึงออกเสวงหาอาหาร

    อะเปตะยัง จักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะถะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะถะวิปปะภาสัง
    ตะยาชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

    พระ อาทิตย์ผู้เป็นดวงตาของโลก ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ เสด็จอัสดงคตทรงพระรัศมีสีทองสาดส่องปฐพี ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระอาทิตย์ผู้ทรงรัศมีสีทองสาดส่องปฐพีพระองค์นั้น พระองค์ได้คุ้มครองข้าพระองค์ในวันนี้แล้ว ขอให้ข้าพระองค์มีชีวิตยั่งยืนอยู่ตลอดราตรี

    เย พฺราหฺมะณา เวทะคู สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตฺวา โมโร วาสะมะกัปปะยิ

    พระ พุทธเจ้าเหล่าใด ทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระพุทธจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรม เมื่อนกยูงนั้นสาธยายพระปริตรอย่างนี้แล้ว จึงนอน
    ตำนานโมรปริตร

    ในโมราชาดก ทุกนิบาต เล่าไว้ว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกยูงทองงามน่าชมยิ่งนัก
    นกนั้นรู้จักระวังรักษาตัวดีเป็นที่สุด ที่ก็หาที่ลี้ลับและไกลตาไกลมือมนุษย์ คือขึ้นไปอยู่บนเขาสูงชื่อ
    ทัณฑกหิรัญบรรพต ยิ่งกว่านั้นยังมีพรหมมนต์สำหรับร่ายป้องกันตัวให้ปลอดภัยวันละ ๒ คาบ
    คือเมื่อพระอาทิตย์อุทัยคาบ ๑ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคาบ ๑ เป็นกิจวัตร
    พิธีร่ายนั้นต้องไปจับที่ตรงยอดสูงแห่งภูเขาลูกนั้น ตาเพ่งดูพระอาทิตย์ ซึ่งกำลังโผล่ขึ้นหรือลับลงไป
    พลางก็ร่ายพรหมมนต์ ตอนพระอาทิตย์อุทัยใช้มนต์บทที่หนึ่งคือ อุเทตยญฺจกฺขุมา ฯลฯ
    เพื่อเป็นเครื่องคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัยในถิ่นที่ไปหาเหยื่อ ตอนพระอาทิตย์อัสดงใช้มนต์บทที่สองคือ
    อเปตยญฺจกฺขุมา ฯลฯ เพื่อเป็นเครื่องคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัยในถิ่นที่อยู่อาศัย
    ทำเช่นนี้เป็นนิจมิได้ขาด ก็แคล้วคลาดปราศจากภัยอยู่จำเนียรมา

    แต่ถึงแม้ยูงทองจะระมัดระวังอย่างไร ก็ไม่พ้นสายตามนุษย์ได้
    ด้วยว่าวันหนึ่งพรานป่าคนหนึ่งเที่ยวด้อมไปถึงถิ่นนั้น ก็ได้เห็นยูงทองบนยอดเขาทัณฑกหิรัญบรรพตนั้น
    ไม่ได้ทำอะไรเป็นแต่กลับมาบอกให้ลูกชายของตนทราบไว้ ต่อมาพระราชเทวีของเจ้าพาราณสีพระนามว่า เขมา
    ทรงพระสุบินว่า ได้เห็นนกยูงทองกำลังแสดงธรรมอยู่ ครั้งตื่นบรรทมแล้วจึงทูลแด่พระราชสวามีว่า
    พระนางมีพระประสงค์จะฟังธรรมของนกยูงทอง พระราชาจึงตรัสถามอำมาตย์ว่า นกยูงทองมีหรือ อำมาตย์ทูลว่า
    พวกพราหมณ์คงจะทราบ พวกพราหมณ์รับรองว่านกยูงสีทองมีอยู่จริง แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน
    ทูลว่าพวกพรานคงจะรู้ พระองค์จึงมีรับสั่งให้เรียกบรรดาพรานป่าเข้ามาประชุมพร้อมกัน
    แล้วตรัสถามถึงเรื่องนกยูงทอง บุตรของตาพรานป่าคนนั้นก็กราบทูลให้ทรงทราบว่า
    มีนกยูงทองตัวหนึ่งอาศัยอยู่ที่ทัณฑกหิรัญบรรพต พระองค์จึงรับสั่งให้ไปจับมาถวาย
    พรานนั้นเสาะทราบถิ่นที่นกยูงทองไปลงหาเหยื่อแล้วจึงไปวางบ่วงในที่นั้น พยายามดักอยู่ถึง ๗ ปี
    ไม่สามารถจับนกยูงทองได้เพราะนกยูงทองแคล้วคลาดบ้าง บ่วงไม่แล่นบ้าง
    ในที่สุดตนเองก็ถึงแก่ความตายอยู่ในป่านั้น

    ฝ่ายพระนางเขมาราชเทวี เมื่อไม่สมพระประสงค์ก็เสียพระทัยสิ้นพระชนม์ไป พระเจ้าพาราณสีทรงพระพิโรธว่า
    พระราชเทวีของพระองค์ต้องสิ้นพระชนม์เพราะนกยูงทองตัวนั้นเป็นเหตุ
    จึงมีรับสั่งให้จารึกอักษรลงในแผ่นทองมีใจความว่า
    "มีนกยูงทองตัวหนึ่งอาศัยอยู่บนยอดเขาทัณฑกหิรัญบรรพต หากผู้ใดได้กินเนื้อของมัน
    ผู้นั้นจะมีอายุยืน ไม่แก่ ไม่ตาย" ดังนี้แล้วให้บรรจุใส่หีบทองเก็บไว้
    เมื่อพระราชาองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว พระราชาองค์อื่นขึ้นครองราชย์แทน ได้ทราบความในแผ่นทองนั้น
    มีพระประสงค์ที่จะมีพระชนมายุยืน จึงรับสั่งให้พรานคนหนึ่งไปจับนกยูงทองตัวนั้น
    ฝ่ายพรานคนนั้นแม้จะได้พยายามสักเท่าใด ก็ไม่สามารถที่จะจับนกยูงทองตัวนั้นได้
    จนกระทั่งตนเองต้องตายในป่าเช่นเดียวกับพรานคนก่อน และโดยทำนองเดียวกันนี้ พระราชาเปลี่ยนไปถึง ๖
    พระองค์

    ครั้นตกมาถึงสมัยพระราชาองค์ที่ ๗ แห่งพรหมทัตวงศ์
    พระราชาองค์นี้ก็มีรับสั่งให้พรานป่าไปจับนกยูงทองตัวนั้น
    โดยมีพระประสงค์เช่นเดียวกับพระราชาในรัชกาลก่อนๆ นายพรานคนนี้มีปัญญาหลักแหลม
    ไปสังเกตการณ์อยู่หลายวันจึงรู้เค้าว่า นกยูงตัวนี้ไม่ติดบ่วงเพราะมีมนต์ขลัง
    ก่อนออกหากินทำพิธีร่ายมนต์ป้องกันตัวแล้วจึงไป จึงไม่มีใครสามารถจับได้
    เขาก็คิดตกว่าต้องจับก่อนร่ายมนต์จึงจะจับได้ เมื่อตรองเห็นอุบายแล้วก็กลับลงไปชายป่า
    จับนางนกยูงได้ตัวหนึ่งนำมาเลี้ยงไว้จนเชื่อง หัดให้รำและร้องจนชำนาญดีแล้ว
    ครั้นได้โอกาสเหมาะก็อุ้มนางนกยูงไปแต่เช้าตรู่ ก่อนเวลาที่นกยูงทองจะร่ายมนต์
    จัดการวางบ่วงเรียบร้อยแล้วปล่อยนางนกยูงลงใกล้ๆ บ่วงนั้น
    และทำสัญญาณให้นางนกยูงรำแพนส่งเสียงร้องอยู่ก้องป่า

    เมื่อความวิบัติจะมาถึง พอนกยูงทองได้ยินเสียงของนางนกยูง
    ก็เกิดความกระสันให้กระสับกระส่ายเร่าร้อนใจด้วยอำนาจกิเลส
    ไม่สามารถที่จะสาธยายมนต์ตามที่เคยปฏิบัติมา เผลอตัวบินไปหานางนกยูงโดยเร็ว เลยติดบ่วงที่พรานดักไว้
    พรานจับได้นำไปถวายพระเจ้าพาราณสี
    พระเจ้าพาราณสีทอดพระเนตรเห็นรูปสมบัติของนกยูงทองนั้นแล้ว
    ทรงพอพระทัยและทรงพระกรุณาโปรดปรานมาก ทรงลืมการที่จะเสวยเนื้อนกยูงนั้นเสียสิ้น

    ตรงนี้พระอรรถกถาจารย์แต่งคำสนทนาโต้ตอบ ระหว่างพระราชากับนกยูงทองโพธิสัตว์ไว้น่าฟัง ดังนี้

    นก. - "ข้าแต่มหาราช พระองค์รับสั่งให้จับข้าพระองค์ เพราะเหตุไร"
    ราชา. - "ได้ทราบว่า ผู้ใดได้กินเนื้อของเจ้า ผู้นั้นไม่แก่ ไม่ตาย เพราะเหตุนั้น
    ข้าปรารถนาจะได้กินเนื้อของเจ้า แล้วเป็นคนไม่แก่ ไม่ตาย ข้าจึงให้จับเจ้ามา"
    นก. - "ข้าแต่มหาราช ท่านผู้ใดได้กินเนื้อข้าพระองค์
    ท่านผู้นั้นเป็นคนไม่แก่ไม่ตายสบายไป แต่ตัวข้าพระองค์สิต้องตาย"
    ราชา. - "ถูกละ เจ้าต้องตาย"
    นก. - "เมื่อข้าพระองค์ยังต้องตาย ก็แล้วท่านคิดเห็นกันอย่างไร
    จึงว่าได้กินเนื้อของข้าพระองค์แล้วจักไม่ตาย"
    ราชา. - "เขาว่า เพราะเจ้ามีขนเป็นสีทอง หายากนัก เพราะฉะนั้น
    ผู้ใดกินเนื้อของเจ้าแล้วจักไม่แก่ไม่ตาย"
    นก. - "ข้าแต่มหาราช ที่ข้าพระองค์เกิดมามีขนเป็นสีทองนี้
    จะเป็นขึ้นเองโดยไม่มีเหตุหามิได้ ข้าพระองค์จะกราบทูลเหตุให้ทรงทราบ
    แต่ปางก่อนข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในพระนครนี้แหละ ข้าพระองค์รักษาเบญจศีลเป็นนิจ
    และชวนชาวประชากรในพระราชอาณาเขตให้รักษาด้วย ข้าพระองค์ตายไปเกิดในภพดาวดึงส์อยู่จนสิ้นอายุในภพนั้น
    แล้วจึงมาเกิดในกำเนิดนกยูงนี้เพราะผลแห่งอกุศลกรรมอย่างหนึ่งตามมาให้ผล
    ที่ขนของข้าพระองค์เป็นสีทองก็ด้วยอานุภาพแห่งเบญจศีลที่ได้รักษาแต่ปางบรรพ์นั่นเอง"
    ราชา. - "เจ้ากล่าวว่า เจ้าเคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในพระนครนี้ ฯลฯ
    คำที่เจ้ากล่าวมานี้พวกเราจะเชื่อได้อย่างไร มีอะไรเป็นสักขีพยานบ้างหรือไม่"
    นก. - "มี พระเจ้าข้า"
    ราชา. - "อะไรเล่า"
    นก. - "ในเวลาที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น ข้าพระองค์นั่งรถประดับด้วยแก้ว ๗
    ประการแล้วเหาะไปได้ รถคันนั้นข้าพระองค์ให้ฝังจมไว้ใต้พื้นสระมงคลโบกขรณี
    ขอพระองค์จงรับสั่งให้กู้รถคันนั้นขึ้นมาเถิด รถนั้นจักเป็นสักขีของข้าพระองค์"

    พระราชารับสั่งให้ไขน้ำออกจากสระ แล้วให้จัดการกู้รถขึ้นมาได้จึงทรงเชื่อคำพระโพธิสัตว์

    ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้โอกาสก็แสดงธรรมแก่พระราชา ขอให้พระราชาทรงตั้งอยู่ในเบญจศีล
    พระราชาทรงเลื่อมใสมาก ทรงบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ (คือยกราชสมบัติให้ครอบครอง)
    พระโพธิสัตว์รับแล้วก็ถวายคืนแด่พระราชา อยู่อีก ๒-๓ วัน ถวายโอวาทพระราชาให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    แล้วก็บินกลับสู่ภูเขาทัณฑกหิรัญบรรพตอันเป็นนิวาสสถานนั้นแล
     
  10. harryp05

    harryp05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +123
    ^^ วันเดือนปีเกิดส่งผ่าน PM นะคะ
    1) สอบโท มีโอกาสติดไหมคะ
    2) เนื้อคู่มีไหมคะ (ที่ผ่านมามีแต่ปัญหาเลยอยู่แบบโสดๆ แทนไปแล้ว)
     
  11. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    มงคลสูตรอรรถแปล ๓๘ ประการ

    มงคลสูตรอรรถแปล ๓๘ ประการ

    บทขัดมังคะละสุตตัง

    เย สันตา สันตะจิตตา ติสะระณะสะระณา เอตถะ โลกันตะเร วา
    เทพเจ้า เหล่าใด เป็นภุมเทวดา และมิใช่ภุมเทวดาก็ดี ผู้มีจิตอันรำงับ มีพระไตรรัตน์เป็นที่พึ่งเป็นที<wbr>่ระลึก ซึ่งอยู่ในโลกนี้หรือในระหว่<wbr>างโลก
    ภุมมาภุมมา จะ เทวา คุระคะณะคะหะณัพยาวะฏา สัพพะกาลัง
    ผู้ขวนขวายในการถือเอาซึ่งหมู่<wbr>แห่งคุณสิ้นกาลทั้งปวง
    เอเต อายันตุ เทวา วะระกะนะกะมะเย เมรุราเช วะสันโต สันโต
    ขอเทพเจ้าเหล่านั้นจงมา อนึ่ง ขอเทพเจ้า ผู้สถิตอยู่ ณ เขาเมรุราชแล้วด้วยทอง อันประเสริฐจงมาด้วย
    สันโต สะเหตุง มุนิวะระวะจะนัง โสตุมัคคัง สะมัคคัง ฯ
    ขอเทพเจ้าเหล่าสัตบุรุษ จงมาสู่ที่สมาคม เพื่อฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริ<wbr>ฐเป็นธรรมอันเลิศ เป็นเหตุแห่งความยินดี

    สัพเพสุ จักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พรัหมุโน
    ยักษ์ทั้งหลาย เทพเจ้าทั้งหลาย และพรหมทั้งหลายในจักรวาลทั้<wbr>งหมด จงมาด้วย
    ยัง อัมเหหิ กะตัง ปุญญัง สัพพะสัมปัตติสาธะกัง
    บุญอันใด ให้สำเร็จสมบัติทั้งปวงอันเราทั<wbr>้งหลายกระทำแล้ว
    สัพเพ ตัง อะนุโมทิตวา สะมัคคา สาสะเน ระตา
    ขอเหล่าเทพเจ้าทั้งสิ้น จงอนุโมทนา ซึ่งบุญอันนั้นแล้วพร้อมเพรี<wbr>ยงกันยินดีในพระศาสนา
    ปะมาทะระหิตา โหนตุ อารักขาสุ วิเสสะโต
    เป็นผู้ปราศจากความประมาทในอั<wbr>นที่จะรักษาพระศาสนาและโลกเป็<wbr>นพิเศษ
    สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒี ภะวะตุ สัพพะทา
    ขอความเจริญจงมีทุกเมื่อ
    สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา
    ขอเทพเจ้าทั้งหลาย จงอภิบาล แม้ซึ่งพระศาสนาและโลกในกาลทุ<wbr>กเมื่อ
    สัทธิง โหนตุ สุขี สัพเพ ปะริวาเรหิ อัตตะโน
    ขอสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายของตน
    อะนีฆา สุมะนา โหนตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
    จงเป็นผู้มีสุขสำราญ จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์สบายใจ พร้อมด้วยญาติทั้งหมด ฯ

    ยัญจะ ทวาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา
    มนุษย์ทั้งหลาย พร้อมด้วยเทวดามาดำริหามงคลอั<wbr>นใดสิ้น ๑๒ ปี
    จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง
    มนุษย์และเทวดาเหล่านั้น ในหมื่นจักรวาล แม้เมื่อคิดหาสิ้นกาลนาน
    จักกะวาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง
    ก็มิได้รู้ซึ่งมงคลอันนั้น ด้วยกาลมีประมาณเท่าใด
    กาลัง โกลาหะลัง ชาตัง นาวะ พรัหมะนิเวสะนา
    โกลาหลเกิดแล้ว ตราบเท่าที่อยู่แห่งพรหม สิ้นกาลมีประมาณเท่านั้น
    ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ สัพพะปาปะวินาสะนัง
    สมเด็จพระโลกนาถ ได้เทศนามงคลอันใด เครื่องยังลามกทั้งสิ้น ให้ฉิบหายไป
    ยัง สุตวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตาสังขิยา นะรา
    นรชนทั้งหลายนับไม่ถ้วน ได้ฟังมงคลอันใดแล้วพ้นจากทุกข์<wbr>ทั้งปวงได้
    เอวะมาทิคุณูเปตัง มังคะลันตัมภะณามะ เห ฯ
    เราทั้งหลาย จงกล่าวมงคลอันนั้น อันประกอบด้วยคุณ มีอย่างนี้เป็นต้นเทอญ ฯ

    บทมังคะละสุตตัง

    เอ วัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตวะนัง โอภาเสตตะวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตตะวา เอกะมันตัง อัฎฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ

    ข้าพเจ้า ( คือ พระอานนทเถระ ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิ<wbr>หารอารามของอนาถบิณฑกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เทพดาองค์ใดองหนึ่ง ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้<wbr>ว มีรัศมีอันงามยิ่งนัก ยังพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่โดยที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้<wbr>า แล้วได้ยืนอยู่ที่สมควรส่วนข้<wbr>างหนึ่ง ครั้นเทพยดานั้นยืนอยู่ในที่ี<wbr>สมควร ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้<wbr>วยคาถาว่า


    พะหุ เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะตัง ฯ

    หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงทรงเทศนามงคลอันสู<wbr>งสุด.

    อะเสวะนา พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
    ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


    ความไม่คบคลพาลทั้งหลาย ๑ ความคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑
    ความบูชาชนที่ควรปูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.


    ปะฎิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
    อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตมัง ฯ


    ความอยู่ในประเทศอันสมควร ๑
    ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้<wbr>วในกาลก่อน ๑
    ความตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลสูงสุด.


    พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
    สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


    ความได้ฟังแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑
    วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑
    วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.


    มาตาปิตุอุปัฎฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
    อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


    ความบำรุงมารดาและบิดา ๑ ความสงเคราะห์ลูกและเมีย ๑
    การงานทั้งหลายอันไม่อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.


    ทานัญญะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
    อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


    ความให้ ๑ ความประพฤติธรรม ๑
    ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑
    กรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.


    อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
    อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


    ความงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
    ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.


    คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฎฐี จะ กะตัญญุตา
    กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


    ความเคารพ ๑ ความไม่จองหอง ๑ ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑
    ความเป็นผู้รู้อุปการะอันท่<wbr>านทำแล้วแก่ตน ๑
    ความฟังธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.


    ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสนัง
    กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


    ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑
    ความเห็นสมณะทั้งหลาย ๑
    ความเจรจาธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.


    ตะโป จะ พรหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
    นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


    ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑
    ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ ความทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑
    ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด....


    ผุฎฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
    อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


    จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้<wbr>งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
    ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.


    เอตาทิสานิ กัตตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
    สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ

    เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำมงคลทั้งหลาย เช่นนี้แล้ว
    เป็นผู้ไม่พ้ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง
    ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่<wbr>านั้นแล.


    มังคะละสุตตัง นิฎฐิตัง ฯ
    จบมงคลสูตร.

    มง ค ล สู ต ร บ า ลี - ไ ท ย

    หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะณามะเส

    มงคลชีวิต ๓๘ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง
    ในสมัยหนึ่ง พระอานนท์เถระเจ้าได้สดับมาว่า
    ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ
    เชตะวะเน อนาถะปิณฑิกะ อาราเม
    พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่
    ในพระวิหารชื่อ เชตะวนาราม
    ของ อนาถปิณฑิกเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี
    อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา
    ครั้งนั้นแล เทพยดา องค์หนึ่ง
    อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา
    มีรัศมีงามยิ่ง เมื่อปฐมยาม ราตรีผ่านไปแล้ว
    เกวะละปัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา
    ยังพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่ว
    เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
    (เทพยดา) ได้เข้าไปพระผู้มีพระภาคเจ้า จนถึงที่ประทับ
    อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
    ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้<wbr>า
    แล้วยืนอยู่ ณ ที่อันควร ส่วนหนึ่ง
    เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
    แล้วได้กราบทูลถามพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้าด้วยคาถา ว่า
    พะหู เทวา มะนุสสา จะ
    เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก
    มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง
    ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดถึ<wbr>งมงคล คือเหตุให้ถึงความเจริญทั้งหลาย
    ขอพระองค์ทรงตรัสบอก มงคลอันสูงสุด ด้วยเถิด ....

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบอกว่า

    ( มงคลข้อที่ ๑ )
    อะเสวะนา จะ พาลานัง
    การไม่คบคนพาลทั้งหลาย
    ( มงคลข้อที่ ๒ )
    ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
    การคบแต่บัณฑิตทั้งหลาย
    ( มงคลข้อที่ ๓ )
    ปูชา จะ ปูชะนียานัง
    การบูชา คนที่ควรบูชา
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สามข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๔ )
    ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ
    การอยู่ในประเทศอันควร
    ( มงคลข้อที่ ๕ )
    ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา
    ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำไว้แล้<wbr>วในกาลก่อน
    ( มงคลข้อที่ ๖ )
    อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ
    การตั้งตนไว้แล้ว โดยชอบ
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สามข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๗ และข้อที่ ๘ )
    พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ
    ความเป็นผู้เรียนรู้มาก การมีศิลปะวิทยา
    ( มงคลข้อที่ ๙ )
    วินะโย จะ สุสิกขิโต
    ความเป็นผู้มีระเบียบวินัยดี
    ( มงคลข้อที่ ๑๐ )
    สุภาสิตา จะ ยา วาจา
    การพูดแต่วาจาที่ดี
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๑๑ )
    มาตาปิตุอุปัฏฐานัง
    การบำรุงบิดามารดา
    ( มงคลข้อที่ ๑๒ และ ๑๓ )
    ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
    การสงเคราะห์บุตร การสงเคราะห์ภรรยา
    ( มงคลข้อที่ ๑๔ )
    อะนากุลา จะ กัมมันตา
    การเป็นผู้ทำการงาน ไม่คั่งค้าง
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๑๕ และ ๑๖ )
    ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ
    การให้ทาน การประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบทสิบ
    ( มงคลข้อที่ ๑๗ )
    ญาตะกานัญจะ สังคะโห
    การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย
    ( มงคลข้อที่ ๑๘ )
    อะนะวัชชานิ กัมมานิ
    การทำงานที่ปราศจากโทษ
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๑๙ )
    อาระตี วิระตี ปาปา
    การงดเ้ว้นจากความชั่ว
    ( มงคลข้อที่ ๒๐ )
    มัชชะปานา จะ สัญญะโม
    การละเว้นจากการดื่มน้ำเมา
    ( มงคลข้อที่ ๒๑ )
    อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ
    การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สามข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๒๒ และ ๒๓ )
    คาระโว จะ นิวาโต จะ
    การมีสัมมาคารวะ การอ่อนน้อมถ่อมตน
    ( มงคลข้อที ๒๔ และ ๒๕ )
    สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
    มีความสันโดด มีความกตัญญู
    ( มงคลข้อที่ ๒๖ )
    กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง
    การฟังธรรมตามกาลเวลา
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๒๗ และ ๒๘ )
    ขันตี จะ โสวะจัสสะตา
    มีความอดทน ความเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย
    ( มงคลข้อที่ ๒๙ )
    สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
    การได้พบเห็นสมณะ คือผู้สงบระงับ
    ( มงคลข้อที่ ๓๐ )
    กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา
    การสนทนาธรรม ตามกาลเวลา
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๓๑ และ ๓๒ )
    ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ
    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส การประพฤติพรหมจรรย์
    ( มงคลข้อที่ ๓๓ )
    อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
    การเห็นอริยะสัจ ทั้งหลาย
    ( มงคลข้อที่ ๓๔ )
    นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ
    การกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๓๕ )
    ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
    จิตไม่หวั่นไหว ในโลกธรรมทั้งแปด
    ( มงคลข้อที่ ๓๖ – ๓๗ และ ๓๘ )
    อะโสกัง วิระชัง เขมัง
    จิตไม่เศร้าโศก จิตหมดธุลีคือกิเลส
    จิตถึงความเกษม คือปลอดจากโยคะกิเลสทั้งปวง
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ห้าข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
    สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันปฏิบัติมงคลธรรม
    เครื่องให้ถึงความเจริญ เช่นนี้แล้ว
    ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทุ<wbr>กหมู่เหล่า
    ย่อมถึงสุขสวัสดี ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ
    ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ
    ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุ<wbr>ดของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่<wbr>านั้น
    ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ


    หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะณามะเส

    มงคลชีวิต ๓๘ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง
    ในสมัยหนึ่ง พระอานนท์เถระเจ้าได้สดับมาว่า
    ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ
    เชตะวะเน อนาถะปิณฑิกะ อาราเม
    พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่
    ในพระวิหารชื่อ เชตะวนาราม
    ของ อนาถปิณฑิกเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี
    อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา
    ครั้งนั้นแล เทพยดา องค์หนึ่ง
    อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา
    มีรัศมีงามยิ่ง เมื่อปฐมยาม ราตรีผ่านไปแล้ว
    เกวะละปัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา
    ยังพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่ว
    เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
    (เทพยดา) ได้เข้าไปพระผู้มีพระภาคเจ้า จนถึงที่ประทับ
    อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
    ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้<wbr>า
    แล้วยืนอยู่ ณ ที่อันควร ส่วนหนึ่ง
    เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
    แล้วได้กราบทูลถามพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้าด้วยคาถา ว่า
    พะหู เทวา มะนุสสา จะ
    เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก
    มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง
    ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดถึ<wbr>งมงคล คือเหตุให้ถึงความเจริญทั้งหลาย
    ขอพระองค์ทรงตรัสบอก มงคลอันสูงสุด ด้วยเถิด ....

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบอกว่า

    ( มงคลข้อที่ ๑ )
    อะเสวะนา จะ พาลานัง
    การไม่คบคนพาลทั้งหลาย
    ( มงคลข้อที่ ๒ )
    ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
    การคบแต่บัณฑิตทั้งหลาย
    ( มงคลข้อที่ ๓ )
    ปูชา จะ ปูชะนียานัง
    การบูชา คนที่ควรบูชา
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สามข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๔ )
    ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ
    การอยู่ในประเทศอันควร
    ( มงคลข้อที่ ๕ )
    ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา
    ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำไว้แล้<wbr>วในกาลก่อน
    ( มงคลข้อที่ ๖ )
    อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ
    การตั้งตนไว้แล้ว โดยชอบ
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สามข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๗ และข้อที่ ๘ )
    พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ
    ความเป็นผู้เรียนรู้มาก การมีศิลปะวิทยา
    ( มงคลข้อที่ ๙ )
    วินะโย จะ สุสิกขิโต
    ความเป็นผู้มีระเบียบวินัยดี
    ( มงคลข้อที่ ๑๐ )
    สุภาสิตา จะ ยา วาจา
    การพูดแต่วาจาที่ดี
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๑๑ )
    มาตาปิตุอุปัฏฐานัง
    การบำรุงบิดามารดา
    ( มงคลข้อที่ ๑๒ และ ๑๓ )
    ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
    การสงเคราะห์บุตร การสงเคราะห์ภรรยา
    ( มงคลข้อที่ ๑๔ )
    อะนากุลา จะ กัมมันตา
    การเป็นผู้ทำการงาน ไม่คั่งค้าง
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๑๕ และ ๑๖ )
    ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ
    การให้ทาน การประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบทสิบ
    ( มงคลข้อที่ ๑๗ )
    ญาตะกานัญจะ สังคะโห
    การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย
    ( มงคลข้อที่ ๑๘ )
    อะนะวัชชานิ กัมมานิ
    การทำงานที่ปราศจากโทษ
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๑๙ )
    อาระตี วิระตี ปาปา
    การงดเ้ว้นจากความชั่ว
    ( มงคลข้อที่ ๒๐ )
    มัชชะปานา จะ สัญญะโม
    การละเว้นจากการดื่มน้ำเมา
    ( มงคลข้อที่ ๒๑ )
    อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ
    การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สามข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๒๒ และ ๒๓ )
    คาระโว จะ นิวาโต จะ
    การมีสัมมาคารวะ การอ่อนน้อมถ่อมตน
    ( มงคลข้อที ๒๔ และ ๒๕ )
    สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
    มีความสันโดด มีความกตัญญู
    ( มงคลข้อที่ ๒๖ )
    กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง
    การฟังธรรมตามกาลเวลา
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๒๗ และ ๒๘ )
    ขันตี จะ โสวะจัสสะตา
    มีความอดทน ความเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย
    ( มงคลข้อที่ ๒๙ )
    สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
    การได้พบเห็นสมณะ คือผู้สงบระงับ
    ( มงคลข้อที่ ๓๐ )
    กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา
    การสนทนาธรรม ตามกาลเวลา
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๓๑ และ ๓๒ )
    ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ
    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส การประพฤติพรหมจรรย์
    ( มงคลข้อที่ ๓๓ )
    อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
    การเห็นอริยะสัจ ทั้งหลาย
    ( มงคลข้อที่ ๓๔ )
    นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ
    การกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    สี่ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
    ( มงคลข้อที่ ๓๕ )
    ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
    จิตไม่หวั่นไหว ในโลกธรรมทั้งแปด
    ( มงคลข้อที่ ๓๖ – ๓๗ และ ๓๘ )
    อะโสกัง วิระชัง เขมัง
    จิตไม่เศร้าโศก จิตหมดธุลีคือกิเลส
    จิตถึงความเกษม คือปลอดจากโยคะกิเลสทั้งปวง
    เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ห้าข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด
    เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
    สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันปฏิบัติมงคลธรรม
    เครื่องให้ถึงความเจริญ เช่นนี้แล้ว
    ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทุ<wbr>กหมู่เหล่า
    ย่อมถึงสุขสวัสดี ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ
    ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ
    ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุ<wbr>ดของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่<wbr>านั้น
    ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ
     
  12. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    บทสวด รัตนสูตร บทสวดป้องกันภัยและความทุกข์

    <center>บทสวด รัตนสูตร บทสวดป้องกันภัยและความทุกข์

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1">
    รัตนสูตร

    (ว่าด้วยรัตนทั้ง 3 คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
    สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้<wbr>หมดไป)

    <dd>สมัย พุทธกาล เมื่อครั้งเกิดอหิวาตกโรค ระบาดที่เมืองเวสาลี ในช่วงเวลานั้นเกิดภัยแล้ง ข้าวกล้าในไร่นาเกิดความเสี<wbr>ยหายหนัก ผู้คนอดอยาก และล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองเวสาลีนำซากศพเหล่านั้<wbr>นไปทิ้งไว้นอกเมือง ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า

    </dd><dd>“เพราะกลิ่นซากศพของคนที่ตายทั้<wbr>ง หลาย พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เข้าเมือง ต่อแต่นั้นคนก็ตายมากต่อมาก เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์<wbr>ทั้งหลาย”

    </dd><dd>ชาว เมืองเวสาลีช่วยกันค้นหาสาเหตุ<wbr>ของทุพภิกขภัยครั้งนี้ ได้กราบทูลพระราชาว่า คงเป็นเพราะพระองค์ไม่ตั้งอยู่<wbr>ในธรรมกระมัง จึงเกิดทุกข์เข็ญเช่นนี้ พระราชารับสั่งให้ช่วยตรวจสอบว่<wbr>า พระองค์ไม่ตั้งอยู่ในธรรมข้อใด ประชาชนก็ช่วยกันพิ<wbr>จารณาตรวจสอบแต่ไม่พบข้อบกพร่<wbr>องแต่อย่างใด ต่อมามีบางพวกเสนอว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้บั<wbr>งเกิดขึ้นแล้ว พระองค์เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ขอได้โปรดกราบบังคมทูลเชิญเสด็<wbr>จพระพุทธองค์มาโปรดชาวเมื<wbr>องเวสาลีด้วยเถิด

    </dd><dd>ใน ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที<wbr>่เมืองราชคฤห์ และพระเจ้าพิมพิสารทรงอุปั<wbr>ฏฐากพระพุทธองค์อยู่ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่<wbr>าชาวเมืองเวสาลีได้ทู<wbr>ลอาราธนาพระองค์เสด็จดับ ทุกข์ให้ จึงทรงรับด้วยทรงทราบชัดว่า

    </dd><dd>"เมื่อเราแสดงรัตนสูตรในเมื<wbr>องเวสาลีแล้ว อารักขาจะแผ่ไปตลอดแสนโกฏิจั<wbr>กรวาล ในเวลาจบพระสูตร ธรรมาภิสมัยจักมีแก่สัตว์แปดหมื<wbr>่นสี่พัน"

    </dd><dd>เมื่อ พระพุทธองค์เสด็จไปถึงเมื<wbr>องเวสาลี เกิดฝนตกหนัก เรียกว่า "ฝนโบกขรพรรษ" เป็นฝนพิเศษ เพราะผู้ใดต้องการจะเปียกฝน ก็เปียก ผู้ใดไม่ต้องการเปียก ก็จะไม่เปียก ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมถึงเข่า ถึงเอว ถึงคอ แล้วน้ำพัดพาเอาซากศพเหล่านั้<wbr>นลงไปในแม่น้ำคงคาจนหมดสิ้น แผ่นดินก็สะอาดบริสุทธิ์ขึ้น

    </dd><dd>ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนอยู่ที่ประตูพระนคร ตรัสเรียกพระอานนท์มาแล้วตรั<wbr>สสอน "รัตนสูตร" แก่พระอานนท์ แล้วโปรดให้ทำน้ำพระพุทธมนต์<wbr>ประพรมไปทั่วเมือง ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า

    </dd><dd>"เพื่อกำจัด อุปัทวะเหล่านั้น ที่ประตูพระนครเวสาลี สวดอยู่เพื่อป้องกัน ใช้บาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตั<wbr>กน้ำ เที่ยวประพรมอยู่ทั่วพระนคร ก็เมื่อพระเถระกล่าวคำว่า "ยังกิญจิ" เท่านั้น พวกอมนุษย์ทั้งหลายที่อาศั<wbr>ยกองหยากเยื่อ และประเทศแห่งฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในกาลก่อน ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔ ....เมื่อพวกอมนุษย์ไปกันแล้ว โรคของมนุษย์ทั้งหลายก็สงบ" ดังนี้</dd>
    รัตนสูตร ( สวดแล้ว ทำให้สุขภาพแข็งแรง โรคภัยไม่เบียดเบียน)

    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1">
    [​IMG]
    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.

    ( เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี )


    สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ


    ( ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด )


    อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง


    ( และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย อันข้าพเจ้ากล่าวโดยเคารพเถิด )


    ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ


    ( ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงฟังข้าพเจ้า )


    เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ


    ( ขอท่านทั้งหลาย จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด )


    ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง


    ( ซึ่งเขาทั้งหลาย ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืน )


    ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา


    ( เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้<wbr>นด้วยเถิด )


    ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา


    ( ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี<wbr>้ หรือในโลกอื่น )


    สักเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง


    ( หรือรัตนะใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์ )


    นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ


    ( ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า มิได้มีเลย )


    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง


    ( ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า )


    เอเตนะ สัจเจนะสุวัตติ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด )


    ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต


    ( พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใด


    เป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง )


    นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ


    ( สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี )


    อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง


    ( ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม )


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )


    ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง


    ( พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด )


    สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ


    ( บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงสมาธิใด ว่าให้ผลไม่มีสิ่งใดคั่นได้ )


    สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ


    ( สมาธิอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี )


    อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง


    ( ข้อนี้ ก็จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่<wbr>งในพระธรรม )


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด )


    เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา


    ( บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘ )


    จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ


    ( นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้<wbr>ว )


    เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา


    ( บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )


    เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ


    ( ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก )


    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง


    ( ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง )


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )




    เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ


    ( บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ประกอบความเพียรอย่างดี ดำเนินไปในศาสนา ของพระโคดมเจ้า ด้วยใจอันมั่นคง )


    เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ


    ( บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ได้บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือ พระอรหัตตผลแล้ว )


    ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา


    ( จึงได้เสวยอมตะรส คือ ความสงบเย็น จากความเร่าร้อนทั้งปวง )


    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง แม้ข้อนี้


    ( ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่<wbr>งในพระสงฆ์ )


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )


    ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย


    ( เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน อย่างมั่นคงแล้ว ลมทั้งสี่ทิศ ไม่พึงทำให้หวั่นไหวได้ ฉันใด )


    ตะถูปะมัง สัปปุริง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ


    ( เราตถาคตกล่าวว่า สัตบุรุษผู้หยั่งเห็นอริยสั<wbr>จธรรม ก็มีอุปมาฉันนั้น นั่นแล )


    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง


    ( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ )


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )


    เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ


    ( บุคคลเหล่าใด กระทำอริยสัจธรรมทั้งหลาย ที่พระบรมศาสดา


    ผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง ทรงแสดงดีแล้ว ให้แจ่มแจ้งแก่ตนได้ )


    กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา


    ( บุคคลเหล่านั้น ถึงจะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก )


    นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ


    ( แต่ท่านก็ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งภพที่ ๘ )


    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง


    ( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ )


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )




    สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ,


    สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ


    สังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส


    ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์<wbr>ไว้ในภพ อันพระโสดาบันละได้แล้ว


    เพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสนะ


    จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต


    อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้ว จากอบายภูมิทั้ง ๔


    ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง


    ทั้งไม่อาจที่จะทำอภิฐาน คือ ฐานะอันหนัก ๖ ประการ (คือ อนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีต)


    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง


    แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่<wbr>งในพระสงฆ์


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด


    กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา


    พระโสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ อยู่บ้างก็จริง


    อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ


    ( แต่เมื่อทำแล้ว ท่านเปิดเผย ไม่ปกปิดความผิดนั้นไว้ )


    อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา


    ( ความที่บุคคลเข้าถึงกระแสพระนิ<wbr>พพานแล้วเป็นผู้ไม่ปกปิดความผิ<wbr>ดไว้นี้ อันเราตถาคตกล่าวแล้ว )


    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง


    ( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่<wbr>งในพระสงฆ์ )


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )




    วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะ มาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห


    ( พุ่มไม้ในป่า แตกยอดในเดือนคิมหันต์แห่งคิมหั<wbr>นตฤดูฉันใด )


    ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ


    ( พระตถาคตเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ )


    นิพพานะคามิง ปะระมังหิตายะ


    ( ซึ่งเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์<wbr>ทั้งหลาย ก็มีอุปมาฉันนั้น )


    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง


    แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )


    วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร


    พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐ ทรงเป็นผู้รู้สิ่งอันประเสริฐ


    ( ทรงเป็นผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งสิ่งอั<wbr>นประเสริฐ )


    อนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ


    ( ทรงเป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระธรรมอั<wbr>นประเสริฐ )


    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง


    ( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า )


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )


    ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง


    ( กรรมเก่า ของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี )


    วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง


    ( พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้ว ในภพต่อไป )


    เต ขีณะพีชา อะวิรุฬ หิฉันทา


    ( พระอรหันต์เหล่านั้น มีพืชคือวิญญาณสิ้นไปแล้ว ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป )


    นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป


    ( เป็นผู้มีปัญญา ย่อมนิพพาน เหมือนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั<wbr>้น )


    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง


    ( แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ )


    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ


    ( ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด )


    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.


    ( เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี )


    ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ


    ( เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้<wbr>าผู้มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด )


    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.


    ( เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี )


    ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ


    ( เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอั<wbr>นมาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด )


    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.


    ( เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี )


    ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ


    ( เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้<wbr>มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด )
     
  13. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    กะระณียะเมตตะสูตร

    กะระณียะเมตตะสูตร

    กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
    กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอั<wbr>นกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้<wbr>ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี
    สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
    เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย
    อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
    เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา
    อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
    เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้<wbr>วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่<wbr>าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
    ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
    ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น
    เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
    เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่<wbr>ไกล
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ภูตา วา สัมภะเวสี วา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี
    สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
    ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื<wbr>่น
    นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
    อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคั<wbr>บแค้นใจ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    มารดาถนอลูกคนเดียว ผู้เกดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้<wbr>ฉันใด
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ุพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ<wbr>้น
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง
    อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
    เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี
    สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
    นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพี<wbr>ยงใด
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น
    พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
    ับัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล
    ทัสสะเนนะ สัมปันโน
    ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
    นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
    ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว
    [/FONT]
    กะระณียะเมตตะสูตร + คำแปล บทเทวดารัก

    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <ins style="display: inline-table; border: medium none; min-height: 280px; margin: 0pt; padding: 0pt; width: 336px;"><ins style="display: block; border: medium none; min-height: 280px; margin: 0pt; padding: 0pt; width: 336px;"></ins></ins>
    ประวัติบทสวดกรณียเมตตสูตร
    เรื่อง มีว่า สมัยหนึ่งจวนเข้าพรรษา ภิกษุจำนวนหนึ่งกราบทูลลาพระพุ<wbr>ทธเจ้า เพื่อไปอยู่จำพรรษาในป่าลึกแห่<wbr>งหนึ่ง เหล่ารุกขเทวดาคิดว่าพระคุณเจ้<wbr>าคงพักชั่วคราว ไม่กี่วันก็จะไป จึงพากันลงมาอยู่บนพื้นดินเพื่<wbr>อถวายความเคารพแก่พระสงฆ์แต่เมื<wbr>่อรู้ว่าพระ คุณเจ้าจะอยู่ที่ป่านี้<wbr>ตลอดพรรษา จึงปรึกษากันว่าพวกเราเห็นจะต้<wbr>อง"ไล่" พระท่านไป ไม่เช่นนั้นจะลำบากมากที่จะต้<wbr>องมาอยู่บนพื้นดินอย่างนี้จึ<wbr>งพร้อมใจกันหลอก หลอนภิกษุที่ไปนั่งกรรมฐานอยู่<wbr>ใต้ต้นไม้บ้าง ในถ้ำบ้าง จนท่านอยู่ไม่เป็นสุข พระก็กลัวผี ว่าอย่างนั้นเถอะ จึงตกลงกันกลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้<wbr>า กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ
    พระพุทธองค์ตรัสว่า "พวกเธอมิได้เอาอาวุธติดตัวไปด้<wbr>วย จึงถูกผีหลอกหลอน" เมื่อกราบทูลถามว่า อาวุธชนิดไหน พระองค์ก็ตรัสว่า อาวุธคือความเมตตา ว่าแล้วก็ทรงสวดกรณียเมตตสูตร ให้ฟัง แล้ว มีพุทธบัญชาให้กลับไปยังป่านั้<wbr>นอีก และให้สวดทันทีที่เดินเข้าป่า และสวดทุกวันภิกษุเหล่านั้นก็<wbr>ทำตามพุทธโอวาท บรรดาผีสางคางแดงทั้งหลายได้ยิ<wbr>นบทสวด ก็มีจิตใจอ่อนโยน รักใคร่ในพระสงฆ์ ไม่หลอกหลอน ทำให้ท่านสามารถอยู่ในป่าได้อย่<wbr>างผาสุก พระภิกษุได้สัปปายะ เจิรญธรรมสำเร็จอรหันตผลถ้วนทั่<wbr>วกัน
    เพราะเหตุว่าเนื้อหาของบทสวดเป็<wbr>นการแผ่เมตตาความรัก ปรารถนาดีแก่เหล่าเทวดาในป่<wbr>าและแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายซึ่งท่<wbr>านก็จะมีไมตรี จิตตอบและถวายการอารักขาให้ผาสุ<wbr>กกัน จึงกลายเป็นธรรมเนียมว่าเมื่อผ่<wbr>านศาลเจ้าเทพารักษ์หรือไม้วนปติ ที่มีชนนับถือพึงให้ภิกษุเจริ<wbr>ญสามีจิกรรมเจริญเมตากรียสูตร…<wbr>บ้างเรียกมนต์ ขับผี ปัจจุบันนำไปสวดรวมกับเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เรารับฟังเนืองๆแต่ไม่เข้<wbr>าใจความหมาย บทนี้ใช้ได้ดีทีเดี<wbr>ยวเวลาไปนอนป่าหรือที่ไม่คุ้นชิ<wbr>นทำให้นอนหลับง่ายและทำ ให้จิตสงบได้




    [​IMG]
     
  14. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ขันธปริตร

    ขันธปริตร
    (สวดเพื่อปกป้องตนเองจาก งูพิษ และสัตว์ร้ายทั้งหลาย)

    วิรูปักเขหิ เม เมตตัง

    ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลวิรูปักข์ด้วย

    เมตตัง เอราปะเถหิ เม

    ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลเอราบทด้วย

    ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง

    ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย

    เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ

    ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลายสกุลกั<wbr>ณหาโคตมกะด้วย

    อะปาทะเกหิ เม เมตตัง

    ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มีเท้าด้วย

    เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม

    ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสองเท้าด้วย

    จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง

    ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสี่เท้าด้วย

    เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม

    ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีหลายเท้าด้วย

    มา มัง อะปาทะโก หิงสิ

    สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบี<wbr>ยนเรา

    มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก

    สัตว์สองเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

    มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ

    สัตว์สี่เท้าอย่าเบียดเบียนเรา

    มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท

    สัตว์หลายเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

    สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา

    ขอสรรพสัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย

    สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา

    ที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย

    สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ

    จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้<wbr>งปวงเถิด

    มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

    โทษลามกใดๆ อย่าได้มาถึงแล้ว แก่สัตว์เหล่านั้น

    อัปปะมาโณ พุทโธ

    พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

    อัปปะมาโณ ธัมโม

    พระธรรม ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

    อัปปะมาโณ สังโฆ

    พระสงฆ์ ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

    ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา

    สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะเข็บ ตะขา แมงมุม ตุ๊กแก หนูเหล่านี้ ล้วนมีประมาณ (ไม่มากเหมือนพระรัตนตรัย)

    กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา

    ความรักษา อันเรากระทำแล้ว การป้องกัน อันเรากระทำแล้ว

    ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ

    หมู่สัตว์ทั้งหลายจงหลีกไปเสีย

    โสหัง นะโม ภะคะวะโต

    เรานั้น กระทำนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่

    นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ

    กระทำนอบน้อม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ็ดพระองค์อยู่ ฯ
    ตำนานขันธปริตร

    ขันธปริตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อหิสูตร หรือ อหิราชปริตร (บทสวดป้องกันพญางู) ที่ตั้งชื่อว่า "ขันธปริตร" แปลให้เข้าความได้ยาก อาจหมายถึง "มนต์ป้องกันขันธ์" ขันธ์ ในที่นี้ต้องแปลว่า ตัวหรือกาย ตัวขันธปริตร จึงหมายถึง "ป้องกันตัว"
    ..............................<wbr>..............................<wbr>..

    ภิกษุ รูปหนึ่งถูกงูกัดตายในเมืองสาวั<wbr>ตถี (นัยว่าภิกษุรูปนี้กำลังผ่าฟื<wbr>นใกล้ประตูเรือนไฟในบริ<wbr>เวณพระเชตวันวิหาร งูเลื้อยออกมาจากระหว่างต้นไม้<wbr>ผุ กัดภิกษุนั้นที่นิ้วเท้า พิษแล่นเข้าสู่หัวใจสิ้นชีวิตทั<wbr>นที ภิกษุทั้งหลายพูดถึงภิกษุถูกงู<wbr>พิษกัดตายกันแพร่หลาย) ภิกษุทั้งหลายนำความไปกราบทู<wbr>ลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะภิกษุมิได้<wbr>แผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูทั้<wbr>ง ๔ หากแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้<wbr>ง ๔ แล้วก็จะไม่ถูกงูกัดตาย ตระกูลพญางูทั้ง ๔ คือ ตระกูลพญางูชื่อ วิรูปักษ์ ๑ ตระกูลพญางูชื่อ เอราบถ ๑ ตระกูลพญางูชื่อ ฉัพยาบุตร ๑ ตระกูลพญางูชื่อ กัณหาโคตมกะ ๑ ต่อแต่นี้ไป เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายแผ่<wbr>เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มครองป้องกันตน
    ทรง เล่าเรื่องอดีตให้ฟังว่า เมื่อครั้งพระองค์เสวยชาติเป็<wbr>นดาบส เป็นหัวหน้าฤาษีทั้งหลาย ตั้งอาศรมอยู่คุ้งน้ำใกล้ป่าหิ<wbr>มพานต์ ก็ได้สอนให้ศิษย์แผ่เมตตาจิ<wbr>ตไปยังตระกูลพญางูเหมือนกัน ในครั้งนั้นเหล่าทีฆชาติทั้<wbr>งหลายก็พากันหลีกหนีหมด ไม่มีใครถูกสัตว์เลื้อยคลายกั<wbr>ดเลย
    ที่ ทรงนำอดีตชาติมาเล่านี้ก็คงต้<wbr>องการให้พระภิกษุทั้งหลาย มั่นใจว่าการแผ่เมตตาจิตไปยั<wbr>งพญางูทั้ง ๔ ตระกูลนั้นได้ผลจริง ดังเคยใช้ได้ผลชะงัดมาแล้วในอดี<wbr>ต
    บทพระบาลีที่มีนามว่า ขันธปริตร เป็นบทสำหรับสาธยายแผ่เมตตาจิต ไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔
    เฉพาะ พญางูวิรูปักษ์นั้น มักพบว่า เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งท้าววิรูปักษ์เป็นผู้ครองทิ<wbr>ศตะวันตก เป็นหัวหน้าบรรดานาคทั้งหลาย คงจะเป็นตน (หรือตัว) เดียวกัน
    อรรถกถา กล่าวว่า สัตว์มีพิษทั้งหมดอยู่ใต้<wbr>อำนาจของพญางู ๔ ตระกูลนี้ เมื่อแผ่เมตตาจิตไปยังหัวหน้<wbr>าใหญ่ทั้ง ๔ แล้ว ลูกน้องตัวเล็กตัวน้อยย่อมจะไม่<wbr>ทำอันตรายใดๆ แก่ผู้สวดแผ่เมตตา (ว่าอย่างนั้น)
    พระ ธุดงค์ท่านหนึ่งเล่าว่า ขณะทำความสะอาดผนังถ้ำที่อยู่ งูเห่าตัวมหึมาแผ่แม่เบี้ยกำลั<wbr>งจะฉกท่าน ท่านนึกถึง ขันธปริตร ขึ้นมา จึงยืนสงบสวดมนต์ ปรากฏว่า สักพักเดียวงูเห่าตัวนั้นก็เลื้<wbr>อยหนีไป ท่านว่านี้ก็เพราะอานุภาพพระปริ<wbr>ตรเป็นแน่แท้
     
  15. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตำนานพุทธมนต์ ขันธปริตร

    ตำนานพุทธมนต์ ขันธปริตร

    ขันธปริตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อหิสูตร หรือ อหิราชปริตร (บทสวดป้องกันพญางู) ที่ตั้งชื่อว่า "ขันธปริตร" แปลให้เข้าความได้ยาก อาจหมายถึง "มนต์ป้องกันขันธ์" ขันธ์ ในที่นี้ต้องแปลว่า ตัวหรือกาย ตัวขันธปริตร จึงหมายถึง "ป้องกันตัว"

    ได้ยินว่า เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังผ่าฟื<wbr>นอยู่ที่หน้าประตูโรงไฟ มีงูตัวหนึ่งเลื้อยออกจากกองไม้<wbr>กัดภิกษุแล้วกัดภิกษุนั้นที่เท้<wbr>าทำให้ ท่านมรณภาพในทันที ข่าวภิกษุถูกงูกัดมรณภาพได้แพร่<wbr>สะพัดไปทั่วทั้งวัด ภิกษุทั้งหลายได้มาประชุ<wbr>มสนทนาเรื่องนี้กัน ในระหว่างที่กำลังสนทนากันอยู่<wbr>นั้น พระพุทธองค์ได้เสด็จมาถึงแล้<wbr>วตรัสถามว่า พวกเธอสนทนาอะไรกันอยู่ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้<wbr>ทรงทราบแล้ว พระองค์จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุนั้นจักได้เจริ<wbr>ญเมตตาแผ่ไปถึงตระกูลพระยางูทั้<wbr>งสี่ แล้วไซร้ งูก็จักไม่กัดภิกษุนั้น แม้ดาบสทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิ<wbr>ตในสมัยโบราณก็ได้เจริ<wbr>ญเมตตาในตระกูลงูทั้งสี่ จึงปราศจากภัยอันเกิดจากงูเหล่<wbr>านั้น “ แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดงว่า

    ใน อดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตต์ครองราชย์<wbr>อยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ ได้เสวยพระชาติเป็นพรหมณ์ในแคว้<wbr>นกาสี เมื่อมีอายุมากแล้วก็ได้สละสมบั<wbr>ติออกบวชเป็นฤาษี ทำญานสมาบัติให้เกิดขึ้น และได้สร้างอาศรมอยู่ที่คุ้งแม่<wbr>น้ำคงคาใกล้ป่าหิมพานต์ เป็นอาจารย์ของฤาษีหมู่ใหญ่

    ครั้งนั้น ที่ฝั่งแม่น้ำคงคามีงูนานาชนิ<wbr>ดคอยทำอันตรายแก่พวกฤาษี ทำให้ดาบสเสียชีวิตลงเป็<wbr>นจำนวนมาก ดาบสเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนี้<wbr>แก่ฤาษีพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ได้เรียกประชุ<wbr>มพวกดาบสทั้งหลายแล้วกล่าวว่า หากพวกเธอทั้งหลายเจริ<wbr>ญเมตตาในตระกูลงูทั้งสี่แล้ว พวกงูจะไม่ทำร้ายพวกเธอ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปพวกเธอพึ<wbr>งเจริญเมตตาในตระกูลงูทั้งสี่ว่<wbr>า

    ขอ ไมตรีจิตของเราจงมีแก่ตระกู<wbr>ลพระยางูชื่อว่า “วิรูปักษ์” ขอไมตรีจิตของเราจงมีแก่ตระกู<wbr>ลงูชื่อ “เอราบถ” ขอไมตรีจิตของเราจงมีแก่ตระกู<wbr>ลงูชื่อ “ฉัพยาบุตร” ขอไมตรีจิตของเราจงมีแก่ตระกู<wbr>ลงูชื่อ “กัณหาโคตมกะ”

    ขอไมตรีจิตของ เรา จงมีแก่สัตว์ไม่มีเท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีแก่สัตว์<wbr>สองเท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีแก่สัตว์สี<wbr>่เท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีแก่สัตว์มี<wbr>เท้ามาก

    ขอสัตว์ไม่มีท้า สัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้า สัตว์มีเท้ามาก อย่าได้มาเบียดเบียนซึ่งกั<wbr>นและกันเลย

    ขอสัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ผู้มีลมปราณ สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหมด จงประสบแต่ความเจริญโดยทั่วกัน ความทุกข์อย่าได้มีแก่ผู้ใดผู้<wbr>หนึ่งเลย

    พระ พุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีคุณหาประมาณมิได้ บรรดาสัตว์เลื้อยคลานคืองู แมลงป่อง ตะขาบ แมงมุม ตุ๊กแก และหนู เป็นสัตว์ที่มีคุณประมาณมิได้

    เรา ได้ทำการรักษาตัวป้องกันตัวแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงพากันหลีกไป ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั<wbr>้ง ๗ พระองค์

    พระโพธิสัตว์ได้ผูกปริตรนี้ไว้<wbr>ให้แก่ฤาษี พวกฤาษีตั้งอยู่<wbr>ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ เจริญเมตตารำลึกถึง พระพุทธคุณ เมื่อระลึกอยู่อย่างนั้น บรรดางูทั้งหลายต่างพากันหลีกไป ไม่เคยทำอันตรายแก่พกท่านอีกเลย พระโพธิสัตว์เองก็เจริญพรหมวิ<wbr>หาร และได้ไปเกิดในพรหมโลก
     
  16. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    บทสวด โพชฌังคปริตร หายจากโรคภัย

    บทสวด โพชฌังคปริตร
    โพชฌังคปริตร

    โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
    ( โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ )
    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
    ( วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ )
    สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
    ( สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ )
    สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
    ( 7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้<wbr>ชอบแล้ว )
    ภาวิตา พะหุลีกะตา
    ( อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้<wbr>มากแล้ว )
    สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
    ( ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน )
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ )
    เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
    ( ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ
    และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก )
    โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
    ( จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง )
    เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
    ( ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม )
    โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
    ( โรคก็หายได้ในบัดดล )
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ )
    เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
    ( ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก )
    จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
    ( รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่<wbr>นแลถวายโดยเคารพ )
    สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
    ( ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน )
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ )
    ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
    ( ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก )
    มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
    ( ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็<wbr>นธรรมดา )
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )
    โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ. )



    พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรคได้ ซึ่งในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับ

    ปัญญา เป็นธรรมชั้นสูง ซึ่งเป็นความจริงในเรื่<wbr>องการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี<wbr>่ยวข้องกับ

    ร่างกาย เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่<wbr>อาศัยกันและกัน จึงทำให้หายจากโรคได้



    โพชฌังคปริตรมีความเป็นมาอย่<wbr>างไร

    โพชฌงค์เป็นหลักธรรมหมวดหนึ่งที<wbr>่อยู่ในบทสวดมนโพชฌังคปริตร ถือเป็นพุทธมนต์ที่ช่วยให้คนป่<wbr>วยที่ได้สดับตรับฟังธรรมบทนี้<wbr>แล้วสามารถหาย จากโรคภัยไข้เจ็บได้ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะมีเรื่<wbr>องในพระไตรปิฎกเล่าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจา้ได้เสด็<wbr>จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธ พระองค์ทรงแสดงสัมโพชฌงค์แก่<wbr>พระมหากัสสปะ พบว่าพระมหากั<wbr>สสปะสามารถหายจากโรคได้ อีกครั้งหนึ่งพระองค์ได้<wbr>ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่พระโมคคั<wbr>ลลานะซึ่งอาพาธ หลังจากนั้น พบว่า พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้


    ในที่สุด เมื่อพระพุทธองค์เองทรงอาพาธ จึงตรัสให้พระจุ<wbr>นทะเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็<wbr>หายประชวร

    พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรค ซึ่งในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญา เป็นธรรมชั้นสูง ซึ่งเป็นความจริงในเรื่<wbr>องการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี<wbr>่ยวข้องกับร่างกาย เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่<wbr>อาศัยกันและกัน

    หลักของโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติ<wbr>ทั่วไปซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่<wbr>วยเท่านั้น เพราะโพชฌงค์แปลว่าองค์แห่งโพธิ<wbr>หรือองค์แห่งโพธิญาณเป็นองค์แห่<wbr>งการตรัสรู้ ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา
     
  17. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    พระราหู (อาฏานาฏิยปริตร)

    พระราหู (อาฏานาฏิยปริตร)
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค และสุมังคลวิลาสินี <wbr> อรรถกถาทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    อาฏานาฏิยปริตร เป็นปริตรที่ท้าวจาตุมหาราชผู<wbr>กขึ้นที่อาฏานาฏานคร อันเป็นหนึ่งในจำนวนเทพนคร ๑๑ แห่งที่ถูกนิรมิตขึ้<wbr>นในอากาศของเหล่าเทวดาในสวรรค์<wbr>ชั้นจาตุมหาราชิกา พระปริตรนี้จึงถูกเรียกว่า อาฏานาฏิยปริตรตามชื่อเทพนครที่<wbr>ผูกขึ้นนั้น
    ท้าวจาตุมหาราชผูกปริตรนี้ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกัน <wbr> เหล่าอมนุษย์บางพวกที่ไม่หวังดี<wbr>ต่อพระสงฆ์สาวกของ พระพุทธองค์ ที่ไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ตามป่<wbr>าเขาลำเนาไพร เมื่อไม่มีอะไรป้องกัน เหล่าอมนุษย์ที่ไม่เลื่อมใสก็<wbr>จะรบกวนเบียดเบียนทำให้เกิดความ ลำบาก ท้าวมหาราชจึงได้แสดงเครื่องป้<wbr>องกันรักษาชื่อ อาฏานาฏิยรักษ์นี้ไว้
    อาฏานาฏิยรักษ์นี้มีอานุภาพ ๒ ประการ คือ (๑) มีอานุภาพในการทำให้อมนุษย์ที่<wbr>ไม่เลื่อมใส ให้เกิดความเลื่อมใสในพระพุ<wbr>ทธศาสนา (๒) มีอานุภาพในการคุ้มครองป้องกั<wbr>นไม่ให้อมนุษย์ที่ไม่เลื่อมใส จับต้อง สิงสู่ เบียดเบียน ประทุษร้าย ทำให้ได้รับความลำบากเดือดร้อน
    สำหรับอาฏานาฏิยปริตรที่พระสงฆ์<wbr>ใช้สวดในปัจจุบัน เป็นบทย่อที่บุรพาจารย์ได้<wbr>นำเอาคาถานมัสการพระพุทธเจ้<wbr>าในอดีตที่ท้าวเวสวัณ แสดงไว้เฉพาะพระพักตร์พระพุ<wbr>ทธองค์ มาเป็นสัจกิริยาให้เกิดเป็นอานุ<wbr>ภาพในการคุ้มครองป้องกันรั<wbr>กษาตามคำของท้าว จตุโลกบาล ถ้า อมนุษย์ตนใดเบียดเบียนผู้ที่<wbr>เจริญอาฏานาฏิยปริตรให้ได้รั<wbr>บความลำบาก อมนุษย์ตนนั้นก็จะได้รั<wbr>บการลงโทษจากเหล่าเทพทั้งหลาย
    อาฏานาฏิยปริตร
    วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
    สิขิสสะปิ นะมัตถุ <wbr> สัพพะภูตานุกัมปิโน
    เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
    นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
    โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมณัสสะ วุสีมะโต
    กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
    อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
    โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ <wbr> สัพพะทุกขาปะนู<wbr>ทะนัง
    เย จาปิ นิพพุตา โลเก <wbr> ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
    เต ชะนา อะปิสุณา <wbr> มะหันตา วีตะสาระทา
    หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ(1)
    นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
    ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
    สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
    โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
    สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
    โสภีโต คุณะสัมปันโน <wbr> อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
    ปะทุโม โลกะปัชโชโต <wbr> นาระโท วะระสาระถี
    ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร <wbr> สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
    สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
    อัตถะทัสสี การุณิโก <wbr> ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
    สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
    ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
    สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
    กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
    กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโวฯ
    เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อเนกะสะตะโกฏะโย
    สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
    สัพเพ ทะสะพะลูเปตา <wbr> เวสารัชเชหุ<wbr>ปาคะตา
    สัพเพ เต ปะฏิชานันติ <wbr> อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
    สีหะนาทัง นะทันเต เต <wbr> ปะริสาสุ วิสาระทา
    พรัหมะจักกัง ปะวันเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
    อุเปตา พุทธะธัมเมหิ <wbr> อัฏฐาระสะหิ นายะกา
    ทวัตติงสะลักขะณูเปตา - สีตะยานุพยัญชะนาธะรา
    พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
    พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
    มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา
    มะหาการุณิกา ธีรา <wbr> สัพเพสานัง สุขาวะหา
    ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ <wbr> ตาณา เลณา จะ ปาณินัง
    คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
    สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา
    เตสาหัง สิระสา ปาเท <wbr> วันทามิ ปุริสุตตะเม
    วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
    สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
    สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง
    เตหิ ตะวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
    สัพพะโรคะวินิมุตโต <wbr> สัพพะสันตาปะวัชชิโต
    สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ ฯ
    เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ <wbr>ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
    เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ ฯ
    ปุรัตถิมัสะมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
    เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ <wbr> อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
    ทักขิณัสะมิง ทิสาภาเค <wbr> สันติ เทวา มะหิทธิกา
    เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ <wbr> อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
    ปัจฉิมัสะมิง ทิสาภาเค <wbr> สันติ นาคา มะหิทธิกา
    เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
    อุตตะรัสะมิง ทิสาภาเค <wbr> สันติ ยักขา มะหิทธิกา
    เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
    ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
    ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข <wbr> กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
    จัตตาโร เต มะหาราชา <wbr> โลกะปาลา ยะสัสสิโน
    เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ <wbr> อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
    อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
    เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ <wbr> โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ <wbr> โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิ<wbr>ชชะติ วิวิธัง ปุถุ
    ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสะมา โสตถี ภะวันตุ เต
    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก <wbr> วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
    ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสะมา โสตถี ภะวันตุ เต
    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก <wbr> วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
    ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสะมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    สักกัตะวา พุทธะระตะนัง <wbr> โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
    หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา
    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
    สักกัตะวา ธัมมะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
    ปะริฬาหูปะสะมะนัง <wbr> ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
    สักกัตะวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
    อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง <wbr> สังฆะเตเชนะ โสตถินา
    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
    มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
    อะภิวาทะนะสีลิสสะ <wbr> นิจจั<wbr>ง วุฑฒาปะจายิโน
    จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ
    คำแปล
    (คาถาประพันธ์ที่ท้าวกุ<wbr>เวรกราบทูลพระพุทธเจ้า)
    ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้<wbr>าพระนามว่า วิปัสสี ผู้มีพระปัญญาจักษุ ผู้ทรงพระสิริ
    ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้<wbr>าพระนามว่า สิขี ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้<wbr>งปวง
    ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้<wbr>าพระนามว่า เวสสภู ผู้ทรงชำระล้างกิเลสแล้ว ทรงมีความเพียรเป็นเครื่<wbr>องแผดเผากิเลส
    ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้<wbr>าพระนามว่า กกุสันธะ ผู้ทรงย่ำยีพญามารและเหล่<wbr>าเสนามารได้แล้ว
    ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้<wbr>าพระนามว่า โกนาคมนะ ผู้ทรงละบาปได้แล้ว ทรงสิ้นสุดการประพฤติพรหมจรรย์<wbr>แล้ว
    ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้<wbr>าพระนามว่า กัสสปะ ผู้ทรงพ้นจากกิเลสทั้งปวง
    ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้<wbr>าพระนามว่า อังคีรส โอรสแห่งสากยราช ผู้ทรงพระสิริ ทรงแสดงธรรมเพื่อบรรเทาทุกข์ทั้<wbr>งปวงนี้
    อนึ่ง พระขีณาสพทั้งหลายในโลก ผู้เห็นแจ้งธรรมตามความเป็นจริ<wbr>ง ดับกิเลสได้แล้ว ท่านเหล่านั้นหามีวาจาส่อเสี<wbr>ยดไม่ เป็นผู้มีคุณอันยิ่งใหญ่<wbr>ปราศจากความครั่นคร้าม
    ขอนอบน้อมแด่พระขีณาสพทั้<wbr>งหลายเหล่านั้น ผู้ต่างก็ถวายความนอบน้อมแด่<wbr>พระโคตมะพุทธเจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุ<wbr>ษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงปราศจากความครั่นคร้าม
    (ต่อจากนี้ไปเป็นคาถาประพันธ์<wbr>ของบุรพาจารย์)
    ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทุ<wbr>กพระองค์ ผู้ทรงแสวงหาพระธรรม อันยิ่งใหญ่ ซึ่งทรงอุบัติมาแล้ว(ทั้ง ๒๘ พระองค์ ) คือ (๑) พระตัณหัง กรพุทธเจ้า ทรงเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ (๒) พระเมธังกรพุทธเจ้า ผู้มีพระยศใหญ่ (๓) พระสรณังกรพุทธเจ้า ผู้เกื้อกูลแก่สัตว์โลก (๔) พระทีปังกรพุทธเจ้า ผู้ทรงพระปัญญารุ่งโรจน์ (๕) พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระประมุขของหมู่ชน (๖) พระมังคลพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ (๗) พระสุมนะพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นปราชญ์ มีพระหทัยงดงาม (๘) พระเรวตะพุทธเจ้า ผู้เพิ่มพูนความยินดี (๙) พระโสภิตะพุทธเจ้า ผู้ทรงเพียบพร้อม ด้วยพระคุณ (๑๐) พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในหมู่ชน (๑๑) พระปทุม พุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นแสงสว่างของชาวโลก (๑๒) พระนารทะพุทธเจ้า ผู้ทรงชี้นำทางที่ประเสริฐ (๑๓) พระปทุมุตตระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นหลักในการดำเนินชีวิ<wbr>ตของชาวโลก (๑๔) พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบ (๑๕) พระสุชาตะพุทธเจ้า ผู้เลิศในโลก (๑๖) พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้เป็นชนประเสริฐ (๑๗) พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยความกรุณา (๑๘) พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงขจัดความมืด (๑๙) พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้ไม่มีบุคคลเสมอในโลก (๒๐) พระติสสะพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้<wbr>งหลาย (๒๑) พระปุสสะพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานพระธรรมอันประเสริ<wbr>ฐ (๒๒) พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้ (๒๓) พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นบรมศาสดาผู้เกื้อกู<wbr>ลแก่มวลสรรพสัตว์ (๒๔) พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานความสุข (๒๕) พระกกุสันธะ พุทธเจ้า ผู้นำของหมู่สัตว์ (๒๖) พระโกนาคมนะ ผู้ละความชั่วอันเป็นข้าศึก (๒๗) กัสสปะพุทธเจ้า ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยสิริ (๒๘) พระโคตมะพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐในวงศ์ศากยะ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่<wbr>ระบุนามมานี้ ตลอดจน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้<wbr>งหลายเหล่าอื่นก็ดี ซึ่งมีจำนวนมากกว่าร้อยโกฏิ พระพุทธเจ้าทุกองค์เสมอกัน ไม่มีใครเสมอเหมือน พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ล้วนมี<wbr>ฤทธิ์มาก ทรงประกอบด้วยทศพลญาณ ด้วยเวสารัชชญาณ ทรงตรัสรู้ฐานะอันยิ่งใหญ่<wbr>ยอดเยี่ยม ปราศจากความครั่นคร้าม ทรงบันลือสีหนาทท่ามกลางประชุ<wbr>มชนทุกหมู่เหล่า ทรงประกาศพรหมจักร คือ กงล้อแห่งธรรมอันประเสริฐ ซึ่งยังไม่มีใครประกาศในโลก ทรงเป็นผู้นำที่ประกอบด้วยพุ<wbr>ทธธรรม ๑๘ ประการ ประกอบด้วยพระลักษณะ ๓๒ ประการ ทรงไว้ซึ่งพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ มีพระรัศมีงดงามแผ่<wbr>ออกจากพระวรกายโดยรอบข้างละ ๑ วา พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์<wbr>ล้วนเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้สิ้นอาสวกิเลสแล้ว เป็นผู้ชนะมาร ทรงมีพระรัศมีมาก มีเดชมาก เรืองปัญญา มีพละกำลังมาก มีพระมหากรุณาธิคุณ เป็นปราชญ์ ทรงนำความสุขมาให้แก่ปวงสัตว์ ทรงเป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่พำนัก เป็นที่ต้านทานภัย และเป็นที่หลบภัยของสัตว์ทั้<wbr>งหลาย เป็นทางดำเนินไป เป็นพวกพ้อง เป็นที่อบอุ่นใจมาก เป็นสรณะของสัตว์ทั้งหลาย และเป็นผู้แสวงหาประโยชน์เกื้<wbr>อกูลแก่สัตว์โลก พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์<wbr> ทรงเป็นผู้นำทางของสัตว์<wbr>โลกและเทวดา ข้าพเจ้าขอน้อมเศียรนมั<wbr>สการพระบาทของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมนมัสการพระพุทธเจ้าทั้<wbr>งหลายผู้ยอดเยี่ยม ผู้เป็นตถาคต ด้วยวาจาใจ ไม่ว่าในที่นั่งที่นอน ที่ยืนและในที่เดินทุกเมื่อ ขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงสร้างความสงบ จงคุ้มครองรักษาท่านให้มีความสุ<wbr>ขทุกเมื่อเถิด ท่านผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้<wbr>งหลายคุ้มครองรักษาแล้วจงเป็นผู<wbr>้สงบ และรอดพ้นจากภัยทั้งปวง
    ขอท่านจงผ่านพ้นจากโรคทั้งปวง ปราศจากความเดือดร้อน ทุกประการ ล่วงพ้นจากเวรทั้งปวง และดับทุกข์ได้เสียเถิด
    ด้วยคำสัตย์ ด้วยศีล และด้วยพลังแห่งขันติ<wbr>และเมตตาของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอพระพุทธเจ้าทั้งหลายจงคุ้<wbr>มครองรักษาท่านให้เป็นผู้มี<wbr>ความสุข มีอายุยืน
    ภูตทั้งหลายมีฤทธิ์มาก สถิตอยู่ในทิศตะวันออก ขอภูตทั้งหลายเหล่านั้นจงคุ้<wbr>มครองรักษาท่านทั้งหลายให้อยู่<wbr>ด้วยความไม่มีโรค และจงมีแต่ความสุข
    นาคทั้งหลายมีฤทธิ์มาก สถิตอยู่ในทิศตะวันตก ขอนาค ทั้งหลายเหล่านั้นจงคุ้มครองรั<wbr>กษาท่านทั้งหลาย ให้อยู่ด้วยความไม่มีโรคและจงมี<wbr>แต่ความสุข
    ยักษ์ทั้งหลายมีฤทธิ์มาก สถิตอยู่ในทิศเหนือ ขอยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้นจงคุ้<wbr>มครองรักษาท่านทั้งหลาย ให้อยู่ด้วยความไม่มีโรคและจงมี<wbr>แต่ความสุข
    ท้าวธตรัฐสถิตอยู่ด้านทิศตะวั<wbr>นออก ท้าววิรุฬหกสถิตอยู่ด้าน ทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์สถิตอยู่ด้านทิ<wbr>ศตะวันตก ท้าวกุเวรสถิตอยู่ด้านทิศเหนือ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้นเป็นผู้ดูแลโลก เป็นผู้มียศ แม้มหาราชทั้ง ๔ จง คุ้มครองรักษาท่านทั้งหลาย ให้อยู่ด้วยความไม่มีโรคและจงมี<wbr>แต่ความสุข
    เทวดาทั้งหลาย ซึ่งสิงสถิตอยู่ในอากาศก็ดี ภูมมเทวดาก็ดี นาคทั้งหลายก็ดี เป็นผู้มีฤทธิ์มาก แม้เทวดาและนาคทั้งหลายเหล่านั้<wbr>น จงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลาย ให้อยู่ด้วยความไม่มีโรคและจงมี<wbr>แต่ความสุขเถิด
    ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่งอั<wbr>นประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
    ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริ<wbr>ฐของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
    ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริ<wbr>ฐของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
    รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่<wbr>งมากมายบรรดามีในโลก รัตนะนั้นเสมอด้วยพระพุทธเจ้<wbr>าหามีไม่ เพราะเหตุนั้น ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดี<wbr>ทั้งหลาย
    รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่<wbr>งมากมายบรรดามีในโลก รัตนะนั้นเสมอด้วยพระธรรมหามี<wbr>ไม่ เพราะเหตุนั้น ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดี<wbr>ทั้งหลาย
    รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่<wbr>งมากมายบรรดามีในโลก รัตนะนั้นเสมอด้วยพระสงฆ์หามี<wbr>ไม่ เพราะเหตุนั้น ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดี<wbr>ทั้งหลาย
    เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ ซึ่งเป็นประหนึ่งโอสถอันประเสริ<wbr>ฐเยี่ยมยอด เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้<wbr>งหลาย ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า ขอให้อันตรายทั้งหลายทั้<wbr>งปวงจงพินาศไปสิ้น ขอให้ทุกข์ทั้งหลายของท่<wbr>านจงสงบไปโดยดี
    เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ ซึ่งเป็นประหนึ่งโอสถอันประเสริ<wbr>ฐเยี่ยมยอด เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้<wbr>งหลาย ด้วยเดชแห่งพระธรรม ขอให้อันตรายทั้งหลายทั้<wbr>งปวงจงพินาศไปสิ้น ขอให้ทุกข์ ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยดี
    เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ ซึ่งเป็นประหนึ่งโอสถอันประเสริ<wbr>ฐเยี่ยมยอด เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้<wbr>งหลาย ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์ ขอให้อันตรายทั้งหลายทั้<wbr>งปวงจงพินาศไปสิ้น ขอให้ทุกข์ ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยดี
    ขอเสนียดจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป โรคทั้งปวงจงพินาศไป อันตรายอย่าได้มีแก่ท่าน ขอท่านจงมีแต่ความสุข มีอายุยืน นรชนผู้มีนิสัยกราบไหว้ อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่เป็นนิ<wbr>ตย์ ย่อมเจริญด้วยธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข พละ ฯ


    <hr> (1) การเจริญพระพุทธมนต์<wbr>ในงานทำบุญต่างๆ สวดถึงตรงนี้ และนิยมจบด้วยบทว่า "วิชชา จะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตมันติฯ"
     
  18. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    อาฏานาฏิยปริตร

    อาฏานาฏิยปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้<wbr>องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง บางแห่งกล่าวไว้ว่า สามารถป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดีและมีความสุข

    เกิดเมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่ คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวเวสสุวัณ ตั้งใจ จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่เกรงว่าหากพวกอสูรรู้ว่<wbr>าบนดาวดึงส์ไม่มีใครอยู่ ก็อาจจะถือโอกาสมารบกวน ซึ่งพวกตนอาจจะกลับมาไม่ทัน จึงได้จัดตั้งกองทหารไว้ ๔ กอง ประกอบด้วยคนธรรพ์ ยักษ์ นาค รักษาแต่ละทิศไว้ แล้วก็พากันไปประชุมที่อาฏานาฏิ<wbr>ยนคร พร้อมทั้งผูกมนต์เป็นอาฏานาฏิ<wbr>ยปริตรขึ้นมา จากนั้นก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้<wbr>าพร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก แต่ปรากฏว่าบริวารของท้<wbr>าวมหาราชเหล่านั้น ต่างก็มีปฏิกิริยาต่อพระพุ<wbr>ทธองค์ต่าง ๆ กัน เพราะบ้างก็นับถือ บ้างก็ไม่นับถือ จนเป็นเหตุให้บรรดาสาวกของพระพุ<wbr>ทธเจ้าที่ไปบำเพ็ญธรรมตามที่ต่<wbr>าง ๆ ต้องถูกผี ปีศาจ ยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสเหล่านั้<wbr>นรบกวนทำให้เจ็บไข้ หรือได้รับอันตรายต่าง ๆ นานา ท้าวเวสสุวัณจึงได้กราบทูลขอให้<wbr>พระพุทธองค์รับอาฏานาฏิยปริ<wbr>ตรไว้ประทานแก่ สาวกของพระองค์ เพื่อป้องกันมิให้ยักษ์และภูตผี<wbr>ปีศาจรบกวน ซึ่งเนื้อความเป็นการสรรเสริ<wbr>ญพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั<wbr>้นด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นเวลานอน เดิน ยืน หรือนั่ง ขอให้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นคุ้<wbr>มครองรักษาให้พ้นภัย พ้นโรคและความเดือดร้อนต่าง ๆ มีความเชื่อว่าใครได้<wbr>ภาวนาพระปริตรบทนี้เป็นประจำ ยักษ์ ผี ปีศาจ จะช่วยคุ้มครองให้มีแต่ความสุ<wbr>ขความเจริญ

    บทสวดมีดังนี้ คือ


    วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
    ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงพระจักษุ ทรงพระสิริ
    ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง


    เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
    ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลสได้แล้ว มีตบะ
    ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงเอาชนะมารและกองทัพได้


    โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
    ขอนอบน้อมพระโกณาคมนพุทธเจ้า ผู้ลอยบาปอยู่แล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
    ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง


    อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
    ขอนอบน้อมพระศากยบุตรพุทธเจ้า ผู้ทรงพระฉัพพรรณรังสี
    ผู้ทรงสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมขจัดทุกข์ทั้งปวง


    เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
    อนึ่ง พระอรหันต์เหล่าใดในโลก ดับกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งตามความเป็นจริง
    พระอรหันต์เหล่านั้<wbr>นปราศจากวาจามุ่งร้าย เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สะทกสะท้าน


    หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ

    ท่านเหล่านั้นย่อมนมั<wbr>สการพระโคตรมะ ผู้ทรงเกื้อกูลเทวดาและมนุษย์ทั<wbr>้งหลาย
    ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้<wbr>และความประพฤติ ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ไม่สะทกสะท้าน


    (บางตำราจะจบลงแค่นี้ ในขณะที่บางตำรามีเพิ่มเติมบทต่<wbr>อไปนี้ด้วย)



    เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
    พระสัมพุทธเจ้าเจ็ดพระองค์เหล่<wbr>านั้น และพระสัมพุทธเจ้าหลายร้อยโกฏิ<wbr>เหล่าอื่น
    ทุกพระองค์เสมอด้วยพระพุทธเจ้<wbr>าผู้ไม่มีใครเปรียบ ทุกพระองค์ล้วนทรงฤทธิ์ยิ่งใหญ่


    สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระทศพลญาณและพระเวสารัชชญาณ
    ทรงยืนยันความตรัสรู้อันประเสริ<wbr>ฐแกล้วกล้าของพระองค์


    สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา พรหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
    พระพุทธเจ้าเหล่านี้ ทรงปราศจากความครั่นคร้าม บันลือสีหนาทในท่ามกลางพุทธบริ<wbr>ษัท
    ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐในโลก ไม่มีผู้ใดจะคัดค้านได้


    อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา
    พระองค์ทรงเป็นผู้นำ ทรงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ๑๘ ประการ
    ทรงประกอบด้วยพระพุทธลักษณะ ๓๒ ประการ และพระอนุลักษณะ ๘๐


    พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระฉัพพรรณรังสีโดยรอบหนึ่<wbr>งว่า ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ
    รู้แจ้งธรรมทั้งปวง สิ้นอาสวะ และเป็นผู้ชนะ


    มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา
    ทรงมีพระรัศมีสว่างไสว ทรงมีเดชมาก มีปัญญามาก มีกำลังมาก
    มีความกรุณาใหญ่หลวง มั่นคง ประทานความสุขแก่ชนทั้งปวง


    ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง, คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
    พระองค์ทรงเป็นที่พัก ที่พึ่ง ที่พำนัก คุ้มครองหลบภัยของเหล่าสัตว์ ทรงเป็นที่ไป
    เป็นญาติ เป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นผู้ขจัดทุกข์ และกระทำประโยชน์


    สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม
    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงเป็นที่พึ่<wbr>งของชาวโลกและเทวดา ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระบาทยุคล
    ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศี<wbr>ยรเกล้า ขอน้อมไหว้พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุ<wbr>รุษประเสริฐ


    วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
    ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้<wbr>พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นในเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยวาจา ด้วยใจเสมอ

    สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
    ขอพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้<wbr>ประทานพระนิพพาน จงคุ้มครองท่านให้มีความสุขเสมอ
    เมื่อพระองค์คุ้มครองท่านแล้ว ขอให้ท่านปลอดจากภัยทั้งปวงเถิด


    สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ
    ขอท่านจงปลอดจากโรคทั้งปวง ปราศจากความเดือดร้อนทุกอย่าง ไม่มีใคร ๆ ปองร้าย เป็นผู้สงบ

    เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
    ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้<wbr>ปราศจากโรค มีความสุข
    ด้วยพลานุภาพแห่งความสัตย์ ศีล ขันติ และเมตตาธรรม


    ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
    เหล่าคนธรรพ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิ<wbr>ศบูรพา จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้<wbr>ไม่มีโรค มีความสุข

    ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
    เหล่ากุมภัณฑ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิ<wbr>ศทักษิณ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้<wbr>ไม่มีโรค มีความสุข

    ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
    เหล่านาคผู้มีฤทธิ์มากในทิ<wbr>ศประจิม จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้<wbr>ไม่มีโรค มีความสุข

    อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขามะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
    เหล่ายักษ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศอุ<wbr>ดร จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้<wbr>ไม่มีโรค มีความสุข

    ปุรัตถิเมนะ ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
    ท้าวธตรฐเป็นผู้รักษาโลกทิศบู<wbr>รพา ท้าววิรุฬหกรักษาโลกทิศทักษิณ
    ท้าววิรูปักษ์รักษาโลกทิศประจิม ท้าวกุเวรรักษาโลกทิศอุดร


    จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
    ขอมหาราชผู้รักษาโลกทั้งสี่<wbr>พระองค์ ผู้มีบริวารมากดังกล่าว จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้<wbr>ไม่มีโรค มีความสุข

    อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
    ขอเหล่าเทวดาและนาคผู้มีฤทธิ์<wbr>มาก สถิตอยู่ในอากาศและบนพื้นดิน จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้<wbr>ไม่มีโรค มีความสุข


    (เมื่อสวดถึงตอนนี้แล้ว บางตำราต่อด้วยคำสวดต่อไปนี้
    ซึ่งเรามักจะได้ยินจากพระสงฆ์<wbr>สวดเป็นการให้พรในเวลาที่<wbr>เราถวายสิ่งของใด ๆ เสร็จแล้ว)



    อิทธิมันโต จะ เย เทวา วะสันตา อิธะ สาสะเน เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะโรเคนะ สุเขนะ จะ
    ขอเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก อาศัยอยู่ในพระศาสนานี้ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้<wbr>ไม่มีโรค มีความสุข

    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
    ขอสิ่งร้ายทั้งปวงจงบำราศไป ขอโรคทั้งปวงจงพินาศไป ขอท่านอย่ามีอันตราย เป็นผู้มีความสุข

    อะภิวาทะนะสีลิสนะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
    ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้นบไหว้ และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์


    (บางตำราสวดต่อด้วยบทต่อไปนี้<wbr>แทนบทข้างต้น)



    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
    ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเป็นที่พึ่งอันประเสริ<wbr>ฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
    ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริ<wbr>ฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
    ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริ<wbr>ฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
    รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระพุทธรั<wbr>ตนะย่อมไม่มี
    เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่<wbr>าน


    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
    รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระธรรมรั<wbr>ตนะย่อมไม่มี
    เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่<wbr>าน


    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระสงฆ์รั<wbr>ตนะย่อมไม่มี
    เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่<wbr>าน
     
  19. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    บทสักกัต๎วา : น้อมคุณพระรัตนตรัยเป็นโอสถ

    บทสักกัต๎วา : น้อมคุณพระรัตนตรัยเป็นโอสถ

    บทสักกัต๎วานี้เป็นบทสวดท่อนท้<wbr>าย ๆ ของอาฎานาฎิยปริตร เหมือนบทนัตถิ เมฯ บทยังกิญจิ

    เนื้อความของบทสักกัต๎วานี้เป็<wbr>นบทที่น้อมเอาคุณพระรัตนตรั<wbr>ยมาเป็นโอสถ หรือยาเพื่อรักษาให้ทุกข์หมดไป ภัยอันตรายและโรคหมดไป

    ใครที่อยากหายจากโรคภัยไข้เจ็<wbr>บและให้อายุยืนอาจสวด ๓ บทต่อเนื่องกันก็ได้ คือ ๑. โพชฌังคปริตร ต่อด้วย ๒. บทสักกัต๎วาและตามด้วย ๓. บทอุณหิสวิชัยคาถา พูดง่าย ๆ ก็คือ ๒ บทแรกเป็นเหตุและบทที่ ๓ (อายุยืน) เป็นผล ข้อสำคัญคือถ้าสวดให้ตัวเองให้<wbr>เปลี่ยนคำว่า “เต” ที่แปลว่าท่าน เป็นคำว่า “เม” ที่แปลว่าข้าพเจ้า

    บทสักกัต๎วา

    สักกัต๎วา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง

    หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา


    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต (เม)


    สักกัต๎วา ธัมมะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง


    ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา


    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต (เม)


    สักกัต๎วา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง

    อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา


    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต (เมฯ)


    คำแปล


    เพราะทำความเคารพพระพุทธรัตนะ ซึ่งเป็นประหนึ่งโอสถอันประเสริ<wbr>ฐเยี่ยมยอด เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้<wbr>งหลาย ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า ขอให้อันตรายทั้งหลาย ทั้งปวง จงพินาศไปสิ้น ขอให้ทุกข์ทั้งหลายของท่าน (ข้าพเจ้า) จงสงบไปโดยดี

    เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ ซึ่งเป็นประหนึ่งโอสถอันประเสริ<wbr>ฐเยี่ยมยอด เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ ด้วยเดชแห่งพระธรรม ขอให้อันตรายทั้งหลาย ทั้งปวง จงพินาศไปสิ้น ขอให้ภัยทั้งหลายของท่าน (ข้าพเจ้า) จงสงบไป โดยดี

    เพราะทำความเคารพพระสังฆรัตนะ ซึ่งเป็นประหนึ่งโอสถอันประเสริ<wbr>ฐเยี่ยมยอด เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์ ขอให้อันตรายทั้งหลาย ทั้งปวง จงพินาศไปสิ้น ขอให้โรคทั้งหลายของท่าน (ข้าพเจ้า) จงสงบไป โดยดีฯ

    (๑๘) บทอุณหิสวิชยคาถา : คาถาสืบชตาให้อายุยืน

    คาถาบทนี้ ผมเคยเขียนลงมาแล้วตอนแรก ๆ วันนี้ก็ขอเอามาลงไว้สำหรับท่<wbr>านที่สนใจจะสวดให้อายุยืน เหมือนเทวดาที่ท้าวสักกะพาไปเฝ้<wbr>าพระพุทธองค์เพราะกำลังจะสิ้นบุ<wbr>ญ พระพุทธองค์ตรัสสอนคาถาบทนี้<wbr>ทำให้เทวดาที่กำลังจะหมดบุ<wbr>ญนำไปสวด ทำให้อายุของเทวดาองค์นั้นยื<wbr>นยาวต่อไป คาถานี้พระสงฆ์เมืองเหนื<wbr>อนำไปใช้สวดในพิธีสืบชตา เพราะเชื่อว่าใครสวดก็จะทำให้<wbr>อายุยืน ถ้าต้องการสวดให้ตัวเราเองเปลี่<wbr>ยนวรรคนั้น ๆ มาใช้คำในวงเล็บแทน

    อุณหิสวิชยคาถา


    อัตถิ อุณหิสสะวิชะโย ธัมโม โลเก อะนุตตะโร

    สัพพะสัตตะหิตัตถายะ ตัง ตวัง คัณหาหิ เทวะเต


    ปะริวัชเช ราชะทัณเฑ อะมะนุสเสหิ ปาวะเก


    พะยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต อะกาละมะระเณนะ วา


    สัพพัสมา มะระณา มุตโต ฐะเปตวา กาละมาริตัง


    ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา


    (โหมิ อะหัง สุขี สะทา สวดให้ตัวเอง)

    สุทธะสีลัง สะมาทายะ ธัมมัง สุจะริตัง จะเร


    ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา


    (โหมิ อะหัง สุขี สะทา สวดให้ตัวเอง)

    ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง ธาระณัง วาจะนัง คะรุง


    ปะเรสัง เทสะนัง สุตวา ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะตีติ


    (มัยหัง อายุ ปะวัทฒะตุ สวดให้ตัวเอง)

    คำแปล


    ธรรมะที่เป็นชัยชนะของเทพอุณหีส (บางแห่งออกเสียงเป็นอุณหิสสะ) ซึ่งยอดเยี่ยมในโลกมีอยู่

    เทวดา ขอท่านจงรับเอาธรรมนั้นเถิด เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสั<wbr>ตว์ของท่านจงห่างไกลราชทัณฑ์ (การลงโทษเพราะทำผิดจากพระราชา)

    จงห่างไกลไฟ (ความเร่าร้อน) จากอมนุษย์ จงห่างไกลเสือ งูใหญ่ (และ) สัตว์ที่มีพิษ ขอท่านจงพ้นจากความตายที่ยังไม่<wbr>สมควรแก่เวลา หรือจากความตายทั้งปวง เว้นเสียแต่ความตายที่สมควรแก่<wbr>เวลา (สิ้นอายุขัย) ด้วยอานุภาพแห่งธรรมนั้น ขอเทวะ (ข้าพเจ้า, ท่าน) จงมีความสุขทุกเมื่อเถิด

    ขอท่านจงสมาทานศีลให้บริสุทธิ์<wbr>ประพฤติธรรมให้สุจริต ด้วยอานุภาพแห่งธรรมนั้น ขอเทวะ (ข้าพเจ้า, ท่าน) จงมีความสุขทุกเมื่อเถิด

    การจาร (เขียน) การคิด การบูชา การทรงจำ การสอน (ธรรมนั้น) เป็นเรื่องสำคัญ เพราะได้ฟังการแสดงธรรมจากคนอื่<wbr>น อายุของเทวะ (ข้าพเจ้า, ท่าน) นั้นก็เจริญยิ่งขึ้น (ยืนยาว).
     
  20. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    สัมพุทเธ

    บทนมัสการพระพุทธเจ้าทั้<wbr>งหลายในอดีต

    สัมพุทเธ

    สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา
    อะหัง เตสา ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หัน์วา สัพเพ
    อุปัททะเว อะเนกา อันตารายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

    สัมพุทเธ ปัญจะปัญญาสัญจะจะตุวีระสะติ สะหัส สะเก ทะสะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา
    อะหัง เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันต์วา สัพเพ
    อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วันัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

    สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต อัฏฐะจัตตาฬีสะ สะหัสสะเก วีสะติสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา
    อะหัง เตสัง สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันต์วา สัพเพ
    อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

    คำแปล

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุ<wbr>ทธเจ้า ห้าแสนหนึ่งหมื่น สองพัน ยี่สิบแปดองค์
    ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมด้วย พระสงฆ์ด้วย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้<wbr>น
    โดยเคารพ ด้วยอานุภาพแห่<wbr>งการกระทำความนอบน้อม จงขจัดเสียซึ่งอุปัทวะภัยทั้<wbr>งปวง
    แม้อันตรายทั้งหลาย เป็นอเนก จงพินาศไป โดยไม่เหลือ


    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุ<wbr>ทธเจ้าทั้งหลาย หนึ่งล้าน สองหมื่น สี่พันห้าสิบห้าพระองค์
    ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมด้วย พระสงฆ์ด้วย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้<wbr>น
    โดยเคารพ ด้วยอานุภาพแห่<wbr>งการกระทำความนอบน้อม จงขจัดเสียซึ่งอุปัทวะภัยทั้<wbr>งปวง
    แม้อันตรายทั้งหลาย เป็นอเนก จงพินาศไป โดยไม่เหลือ


    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุ<wbr>ทธเจ้าทั้งหลาย สองล้าน สี่หมื่น แปดพัน หนึ่งร้อยเก้า
    พระองค์ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมด้วย พระสงฆ์ด้วย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้<wbr>น
    โดยเคารพ ด้วยอานุภาพแห่<wbr>งการกระทำความนอบน้อม จงขจัดเสียซึ่งอุปัทวะภัยทั้<wbr>งปวง
    แม้อันตรายทั้งหลาย เป็นอเนก จงพินาศไป โดยไม่เหลือ
     

แชร์หน้านี้

Loading...