นั่งสมาธิแล้วหายใจไม่ออก

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย tum98, 23 มีนาคม 2013.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไม่มีอะไรบ่งว่าผิดทางนะ : )

    เพราะเมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ชีวิตนี้เป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ นั่นแหละๆสภาวะของไตรลักษณ์ล่ะ คือ มัน (รูปนาม) เปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ ไม่คงทน ทุกลมหายใจเข้าออก เป็นบุญนักหนาแล้วที่ได้เห็นธรรมชาติของชีวิตนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติพึงติดตามดูรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของมันเรื่อยไป อย่าให้คลาด อย่ากลัวเลยไม่ตายหรอก ...ถ้าความคิดกลัวตายผุดขึ้น ก็พึงกำหนดรู้จิตที่กลัวตายนั่นด้วย
     
  2. วรรณนิศา

    วรรณนิศา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2014
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณมากเลยค่ะ
     
  3. remixsong

    remixsong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +177
    นั่งสมาธิแล้วหายใจไม่ออก เกิดจากที่ ลมหยาบในร่างกายมีเยอะ วิธีแก้คือ ก่อนนั่งสมาธิให้ สูดลมหายใจเข้ายาวๆลึกๆจนสุดๆ แล้วปล่อยลมหายใจออกแรงๆ จนลมหมดท้อง ทำตามนี้สัก 3 ครั้งแล้วค่อยนั่งสมาธิ เป็นการขับลมหยาบในร่างกาย เพื่อให้เหลือแต่ลมละเอียด จากนั้นเวลา ทำสมาธิก็ ค่อยๆหายใจแบบ ช้าๆ ผ่อนคลาย สบายๆ อย่าเกรง อย่าไปกัลวล กับลมหายใจ อย่าหายใจแบบ สั้นบาง ยาว บ้าง ให้ หายใจ ในจังหวะที่พอดี ตอนนั่งสมาธิิ ถ้าเอาปลายลิ้นแตะที่ เพดานปากด้านบน ก็จะช่วย ระบายลมหยาบได้อีกวิธีหนึ่ง ลมหายใจหยาบ เกิดขึ้นได้เพราะ ร่างกาย+จิต ที่ไม่ได้ เจริญอานาปานสติอยู่ตลอดเวลา ร่างกายจะรับเอาลมหยาบอันเนื่องมาจาก กิเลส ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เข้ามาในจิต กิเลสเหล่านี้จะเกาะกุม ร่างกาย+จิต ทำให้กลายเป็นกิเลสหยาบที่มักหมมอยู่ในใจของเราเป็นเวลายาวนาน จนทำให้ไม่สามารถ เข้าสู่ทางหลุดพ้นได้ ลมหายใจที่เกิดมาจาก กิเลสหยาบ เหล่านี้ ก็เป็นตัวขัดขวางการเจริญกรรมฐานของเราด้วย ท่านที่ไม่สามารถกำจัดลมหยาบได้ ก็จะไม่มีทางที่จะเข้าสู่ฌานที่สูงขึ้นไปได้เช่นกัน ที่สำคัญอย่ากลัวความตาย ถ้าเราเจริญกรรมฐานถูกวิธี ไม่มีทางตายหรอก ค่อยๆเจริญกรรมฐาน กำหนดลมหายใจแบบ ผ่อยคลาย อย่าเกรง แล้วท่านจะเข้าสู่ลมหายใจละเอียดได้ง่ายขึ้น เมื่อลมหายใจละอียด การหายใจก็จะไม่ติดขัด อาการที่รู้สึกว่า หายใจไม่ออกจะไม่มี จะมีเพียงแต่ว่า เมื่อจิตเข้าถึง ฌานที่ 4 ลมหายใจจะละเอียดจนรู้สึกเหมือนไม่มีลมหายใจ หรือไม่หายใจนั่นเอง คือเมื่อจิตละเอียด ลมหายใจก็จะละเอียดไปด้วยเช่นกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  4. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    อาการของฌานที่4ครับ ในฌานนี้เขาละรูป กายก็เป็นรูป คำภาวนาก็เป็นรูป(รูปเสียง)
    ตามหลักสติปัฏฐาน กาย เวทนา จิต ธรรม ลำดับเหมือนขั้นบันได
    ดั้งนั้นถ้าจะต่อก็ละกายไปที่เวทนา หาจุดใดจุดหนึ่งที่เกิดทุกขเวทนาชัด แล้วน้อมมาไว้กลางใบหน้า และทำสติรู้อยู่อย่างนั้น หากไม่มีก็เพ่งดูท่ามกลางใบหน้านั้นละเดี๋ยวก็มี
    หากผ่านไปได้ก็จะเป็นอรูปฌาน เป็นอาการวูบๆวาวๆแล้วเปลี่ยน เป็นอะไร ไปดูเอาเอง สำคัญต้องนิ่งอยู่ที่จุดเวทนากลางใบหน้าให้มากที่สุด
    ผ่านได้แล้วก็บอกกันบ้างนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  5. Piyapond

    Piyapond สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    พอนั่งได้สักพักมีความรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออกแล้วก็จดจ่ออยู่กับลมหายใจยิ่งทรมาน จนได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้ เลยปล่อยไปไม่สนใจอาการอึดอัดไม่สนใจการหายใจทำให้รู้สึกในตอนนั้นคือเหมือนไม่ได้หายใจ รู้สึกสบาย โล่งไม่ทรมานเหมือนตอนแรก และนั่งได้นานมาก ขอบคุณกระทู้นี้ค่ะ
     
  6. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015
    ผู้ใดที่อึดอัดอยู่กับ ลมหายใจ
    แสดงเอาจิตไปจับ ลมหายใจ
    ไว้ตลอดไม่ยอมปล่อย
    แต่ความเป็นจริงแล้ว
    เมื่อเข้าญานลึกขึ้นไปเรื่อยๆ
    จะต้องไม่คิดถึงลมหายใจอีกเลย
    จะต้องคิดถึง อารมณ์สุข เป็น
    อารมณ์สุดท้ายใน รูปญาน
    หากไม่เข้าถึงอารมณ์สุข
    ก็แสดงว่า ยังทำญานได้ไม่ถึง
    ยังทำจิตได้ไม่ละเอียดพอ
     
  7. เส้นทางยาวไกล

    เส้นทางยาวไกล Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +206
    ญาน กับ ฌาน คนละอย่างกันน๊ะครับ
    รู้ให้จริง เข้าใจให้ถูกก่อนค่อยแนะนำ
    ดีกว่าไหมครับ อย่าร้อนวิชามากนักเลย
     
  8. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015

    อันที่หนึ่ง ลมหายใจค่อยๆ หายไป ก็แสดงว่า
    จิตในขณะนั้น จะเลิกจับที่ลมหายใจ
    แล้วจะไปจับอยู่ที่ญานที่ลึกกว่านี้

    สอง มีอาการเหมือนจะขาดใจตาย แสดงว่า
    ร่างกายปรับเปลี่ยนลมหายใจไม่ทัน
    จากที่เคยหายใจหยาบ มาเป็น หายใจละเอียดขึ้น
    เมื่อเข้าญานที่ลึกขึ้นเรื่อยๆ

    สาม คำภาวนาหายไป ลมหายใจเบาขึ้นเรื่อยๆ
    จิตเริ่มนิ่งเข้าสู่ ญานที่สี่ ความเป็นทิพย์ต่างๆ
    จะออกมาตอนนี้ ใครที่มีอภิญญาของเก่าๆ
    ก็จะออกมาแสดงตัว ให้เจ้าของรู้ตัว

    สี่ กลับมาสู่คำภาวนาเหมือนเดิม
    ก็แสดงว่า ออกจากญานที่สี่ กลับมา ญานที่สอง อีก
    เพราะการเข้าญาน จะไม่มีใครทรงอารมณ์
    อยู่ในญานไหนๆ ได้นานๆ จะเข้า สลับญานไปๆมาๆ
    ขึ้นๆลงๆ อยู่ตลอดเวลา
    แต่ถ้าหากว่า ใครทรงอยู่ในญานไหนๆ ได้นานๆ
    ก็สามารถจะเข้าญานนั้น แล้วก็ปลงไตรลักษณะสามอย่างไปด้วย
    ก็อาจจะสามารถที่จะบรรลุธรรมได้เหมือนกัน
    ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นญานที่สูงๆ
    เป็นแค่ ญานต่ำๆ ก็สามารถทำได้
    สามารถฝึกในญานนั้น แล้วบรรลุธรรมได้เลย


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2021
  9. 789auddy

    789auddy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2021
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +2
    กราบขอบพระคุณค่ะมาแอบอ่านแล้วตรงกับเหตุการณ์ที่พบขอบพระคุณจริงๆค่ะ
     
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015
    คำว่า ญาน หรือ ยาน เป็น ภาษาบาลี
    ส่วนคำว่า ฌาน หรือ ชาน เป็น คำแปลภาษาไทย
    เมื่อมีคำแรกปรากฏ ก็จะต้องมีคำหลังตามมาคู่กันอยู่เสมอ
    แต่ พระในสมัยก่อน จะเน้นแปลคำว่า ญาน ในรูปของ สมถะกรรมฐาน
    ส่วนคำว่า ฌาน จะแปลในรูปของ วิปัสสนากรรมฐาน
    เพราะคนในสมัยก่อน ไม่ค่อยจะรู้หนังสือสักเท่าไหร่
    จะต้องเน้นไปที่ การฟังธรรมะจากพระอริยะเจ้า เป็นหลัก
    เพราะตัวเองอ่านไม่ออกนั่นเอง จึงทำให้การบรรลุธรรมทำได้น้อยมากๆ
    การแปลแล้วสอนก็เลย สอนไม่ค่อยจะตรงหลักสักเท่าไหร่
    เพราะต่างคนต่างสอน ไม่เชื่อมโยงกัน เหมือนสมัยนี้
    ที่มี พระอริยะเจ้า คอยตรวจสอบว่าใครสอนผิด ใครสอนถูก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2021
  11. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ หรือ สังขารปริเฉท ญาณหรือความรู้ความเข้าใจในรูปและนาม คือแยกออกด้วยความเข้าใจว่าสิ่งใดเป็นรูปธรรม อันสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง๕ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย สิ่งใดเป็นนามธรรม อันเพียงสัมผัสได้ด้วยใจอย่างถูกต้อง เหล่านี้เป็นความเข้าใจขั้นพื้นฐานในการพิจารณาธรรมให้เข้าใจยิ่งๆขึ้นไป (เป็นการเห็นด้วยปัญญาว่า สักแต่ว่า นาม กับ รูป ไม่มีตัวตนแท้จริง) - เรียกง่ายๆว่าเห็น นาม รูป

    ๒. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ ญาณที่เข้าใจในเหตุปัจจัย คือรู้เข้าใจว่านามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย พระอรรถกถาจารย์ในภายหลังๆเรียกว่าเป็น "จูฬโสดาบัน" คือพระโสดาบันน้อย ที่ถือว่าเป็นผู้มีคติหรือความก้าวหน้าอย่างแน่นอนในพระศาสนา (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัย) - เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น

    ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณา พิจารณาเห็นการเกิด การตั้งอยู่อย่างแปรปรวน การดับไป คือเห็นด้วยปัญญา(ปัญญาจักขุ)ใน ความไม่เที่ยง,แปรปรวนและดับไปทั้งหลายตามแนวทางพระไตรลักษณ์นั่นเอง (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่า ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่เป็นแก่นแกนแท้จริง) - เห็นพระไตรลักษณ์

    ๔. อุทยัพพยญาณ (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเห็นการเกิดดับของขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์ หรือการเห็นการเกิดดับของรูปและนามนั่นเอง คือพิจารณาจนเห็นตามความเป็นจริงในการการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ ๕ จนเห็นได้ด้วยปัญญา(ปัญญาจักขุ)ในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรมคือในขณะที่เกิดและค่อยๆดับสลายลงไป (เห็นและเข้าใจสภาวะธรรมดังกล่าวในแง่ปรมัตถ์ เช่นเห็นสังขารขันธ์ความคิดที่ผุดว่าเพราะสังขารนี้จึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่รายละเอียดปลีกย่อยของความคิดนั้นๆ และไม่ปรุงแต่งต่อในสิ่งที่เห็นนั้นๆด้วยถ้อยคิดใดๆ ดังการปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น) - เห็นการเกิดดับของรูปและนาม หรือกระบวนธรรมของขันธ์๕ ทางปัญญา

    ๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (ภังคานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเห็นการแตกดับ เมื่อเห็นการเกิดดับบ่อยๆ ถี่ขึ้น ชัดเจนขึ้น ก็จักเริ่มคำนึงเด่นชัดขึ้นด้วยปัญญา ในความดับไป มองเห็นเด่นชัดขึ้นที่จิตที่หมายถึงปัญญานั่นเอง ถึงการต้องดับสลายไปของนาม รูป หรือของขันธ์ต่างๆ การดับไปจะเห็นได้ชัด ถ้าอุเบกขา ที่หมายถึง การเป็นกลางวางทีเฉย รู้สึกอย่างไรไม่เป็นไร แต่ไม่เอนเอียงแทรกแซงด้วยถ้อยคิดปรุงแต่งใดๆ ก็จะเห็นการดับไปด้วยตนเองชัดแจ้งเป็นลำดับ โดยปัจจัตตัง - เห็นการดับ

    ๖. ภยญาณ (ภยตูปัฏฐานญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันมองเห็นสังขารหรือนามรูปว่า เป็นของที่มีภัย เพราะความที่ไปเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารหรือนามรูปต่างล้วนไม่เที่ยง ต้องแปรปรวน แตกสลาย ดับไป ไม่มีแก่นแกนตัวตนอย่างแท้จริง ถ้าไปยึดไปอยากย่อมก่อทุกข์โทษภัย เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด - เห็นสังขารเป็นของมีภัย ต้องแตกดับเป็นธรรมดา จึงคลายความอยากความยึดในสังขารต่างๆ

    ๗. อาทีนวญาณ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณคำนึงเห็นโทษ เมื่อเห็นสิ่งต่างล้วนต้องดับแตกสลายไปล้วนสิ้น จึงคำนึงเห็นโทษ ที่จักเกิดขึ้น ว่าจักเกิดทุกข์โทษภัยขึ้น จากการแตกสลายดับไปของสังขารหรือนามรูปต่างๆถ้าไปอยากหรือยึดไว้ เกิดสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติอันเป็นทุกข์อันเป็นโทษ - เห็นโทษ

    ๘. นิพพิทาญาณ (นิพพิทานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันคำนึงถึงด้วยความหน่าย จากการไปรู้ตามความเป็นจริงของสังขารหรือขันธ์๕ ว่าล้วนไม่เที่ยง แปรปรวน และแตกดับไปเป็นที่สุด ไม่สามารถควบคุมบังคับได้ตามปรารถนาเป็นที่สุด จึงเกิดความหน่ายต่อสังขารต่างๆเพราะปัญญาที่ไปรู้ตามความเป็นจริงอย่างที่สุดนี่เอง - ความหน่ายคลายความยึดความอยากหรือเหล่าตัณหาทั้งปวงจากการไปรู้ความจริง

    ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ (มุจจิตุกัมยตาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณหยั่งรู้ มีความหยั่งรู้ว่าต้องการพ้นไปเสียจากสังขารชนิดก่อทุกข์ คือ ปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารหรือขันธ์๕ที่ก่อให้เกิดทุกข์ (หมายถึงอุปาทานขันธ์๕) - ปรารถนาพ้นไปจากทุกข์

    ๑๐. ปฏิสังขาญาณ (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทางหลุดพ้นไปเสียจากภัยเหล่านั้น ดังเช่น โยนิโสมนสิการหรือปัญญาหยิบยกสังขารหรือขันธ์๕(นามรูป)ขึ้นมาพิจารณาโดยพระไตรลักษณ์ เพื่อหาอุบายที่จะปลดเปลื้องหรือปล่อยวางในสังขารหรือขันธ์๕เหล่านี้ เพื่อให้หลุดพ้นจากภัยเหล่านั้น - ทบทวนพิจารณา

    ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (สังขารุเปกขาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขาร เมื่อรู้เข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงด้วยปัญญา เช่น สังขารอย่างปรมัตถ์แล้ว ก็วางใจเป็นกลางต่อสังขาร และกายสังขารได้ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ติดใจในสังขารทั้งหลาย จึงโน้มน้อมที่จะมุ่งสู่ความหลุดพ้นหรือพระนิพพาน - วางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งปวง


    ๑๒. อนุโลมญาณ (สัจจานุโลมิกญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเป็นไปโดยการหยั่งรู้อริยสัจ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายแล้ว ญาณอันคล้อยตามอริยสัจย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

    ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร หรือญาณอันเกิดแต่ปัญญาที่เป็นหัวต่อระหว่างภาวะปุถุชนและภาวะอริยบุคคล

    ๑๔. มรรคญาณ ญาณอันสำเร็จให้เป็นอริยบุคคลต่อไป

    ๑๕. ผลญาณ เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นแล้ว ผลญาณก็เกิดขึ้นเป็นลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆในชั่วมรรคจิต ตามลำดับแต่ละขั้นของอริยบุคคล

    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่เกิดขึ้นเพื่อพิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) เป็นอันจบกระบวนการบรรลุมรรคผลในขั้นหนึ่งๆคืออริยบุคคลขั้นหนึ่งๆ หรือถึงพระนิพพาน


    ที่มา http://www.nkgen.com/715.htm

    ญาณ16นี้เป็นวิปัสสนาครับท่านนิล
    ส่วนฌาน ก็รูป4 อรูป4 นิโรธ1
     
  12. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015
    มีอะไรแหม่งๆ แปลกๆ ไหม
    ดูเหมือน มันไม่ได้เรียงต่อกันเหมือนที่ใครๆ สอน
    มันแยกแต่ละข้อออกจากกันชัดเจน
    แต่เวลาสอน ทำไมถึงสอนว่า เรียงไปจาก
    ญานที่หนึ่ง ไปจนถึง ญานที่สิบหก
    ควรที่จะสอนให้แยกกันทีละข้อๆ
    จึงจะถูกต้องที่สุด
     
  13. kachathai

    kachathai ขาย รอกโซ่ ชั้นวางของเหล็ก เครนยกของ ปั๊มลม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2021
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ไม่ทราบว่ามีโรคประจำตัวอะไรไหมเอ่ย
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,228
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,228
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
     

แชร์หน้านี้

Loading...