ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ความเสียหายจากพายุลูกเห็บวันนี้ใน La Russell, MO
    ภาพถ่ายโดย Gina Langston

    Hail storm damage today in LaRussell, MO

    Photos by Gina Langston

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (May 4) ค้าปลีกรายแรกที่ล่มสลายในยุคโควิด J. Crew แบรนด์เสื้อผ้าอเมริกันยื่นขอล้มละลายแล้ว : ก่อนโควิดมา ก็อาการหนักอยู่แล้ว J. Crew ค้าปลีกแบรนด์เสื้อผ้าจากนิวยอร์ก ยื่นขอล้มละลายเพื่อจัดการปัญหาหนี้กว่า 1.65 พันล้านดอลลาร์ (5.3 หมื่นล้านบาท) โดยหลังจากปลดหนี้สำเร็จ เหล่าบรรดาเจ้าหนี้จะกลายมาเป็นเจ้าของ J. Crew แทนเจ้าของเดิม

    โฉมหน้าเจ้าหนี้รายใหญ่ ผู้จะมาเป็นเจ้าของร่วมรายใหม่ของแบรนด์ J. Crew ได้แก่ Anchorage Capital Group, Blackstone Group Inc’s (BX.N), GSO Capital Partners และ Davidson Kempner Capital Management

    แม้ว่าโควิดจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมค้าปลีก จนทำให้ J. Crew ต้องปิดโรงงานและหน้าร้านกว่า 500 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา แต่อันที่จริงแล้ว J.Crew ส่อแววแย่และมีอาการที่หนักหนาสาหัสมาก่อนหน้านี้ที่วิกฤตโควิดจะมาเสียอีก

    ถ้าย้อนกลับไปก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่ปี J.Crew มีปัญหาในการดำเนินกิจการและธุรกิจ เช่น ได้รับผลกระทบจากการ disrupt ของช่องทางการขายเสื้อผ้าออนไลน์ และรวมถึงปัญหาในการดำเนินกิจการที่ส่งผลให้ตัวเลขผลประกอบการขาดทุนสะสม ตัวอย่างเช่น ในปี 2017 เคยจะยื่นล้มละลายแล้วรอบหนึ่ง แต่รอบนั้นเจ้าหนี้ยังช่วยอุ้มไว้จึงอยู่รอดมาได้ หรืออย่างในปี 2018 ที่ได้สั่งปิดหน้าร้านไปกว่า 50 แห่ง เพื่อลดต้นทุนบริษัท

    อย่างไรก็ตาม J. Crew คือค้าปลีกรายแรกที่ล่มสลายในยุคโควิดอย่างเป็นทางการ

    โดย Thongchai Cholsiripong

    Source: Brandinside.asia
    https://brandinside.asia/j-crew-files-for-bankruptcy/

    เพิ่มเติม
    - J. Crew files for bankruptcy as preppy retailer succumbs to COVID-19 fallout :
    https://www.reuters.com/article/us-...tent&utm_medium=trueAnthem&utm_source=twitter

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คิวบา ประเทศที่มี แพทย์ต่อประชากร มากสุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
    ชาวคิวบามีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 79 ปี
    ใกล้เคียงกับชาวอเมริกัน
    และมากกว่าชาวไทยที่มีอายุขัยเฉลี่ย 77 ปี

    ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตของเด็กทารก มีเพียง 3.7 คน ต่อ 1,000 คน
    น้อยกว่าไทยถึง 2 เท่า

    คิวบามีระบบสาธารณสุขที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน
    และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบสาธารณสุขดีที่สุดในโลก
    เทียบเท่ากับประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปตะวันตก

    ทั้งๆ ที่คิวบายังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
    และประสบปัญหาทางเศรษฐกิจมานานเนื่องจากถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา

    อะไรทำให้ประเทศเกาะกลางทะเลแคริบเบียน ที่มีประชากรเพียง 11 ล้านคนแห่งนี้
    ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านการแพทย์ของภูมิภาคลาตินอเมริกา?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
    เจาะลึกแบบ deep content
    ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
    Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    “ฟิเดล กัสโตร”
    เป็นผู้นำการปฏิวัติของคิวบาในปี ค.ศ. 1959
    และเป็นผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองของคิวบาให้กลายเป็นระบอบคอมมิวนิสต์

    ทำให้คิวบาเกิดความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกา ประเทศมหาอำนาจใกล้เคียง
    จนถูกสหรัฐอเมริกาคว่ำบาตรทางการค้านับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960

    ในปัจจุบัน คิวบาเป็นเพียง 1 ใน 5 ประเทศบนโลก
    ที่ยังคงปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์

    หนึ่งในอุดมการณ์ที่สำคัญของรัฐบาล ฟิเดล กัสโตร คือการสร้างความเท่าเทียมให้กับประชาชน
    ให้ทุกคนได้เข้าถึงบริการของรัฐที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการศึกษา และสาธารณสุข

    โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข มีการจัดให้สถานพยาบาลทุกแห่งเป็นของรัฐ
    วางรากฐานนโยบายหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ให้การรักษาพยาบาลไม่มีค่าใช้จ่าย
    และค่ายาส่วนใหญ่ จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

    รัฐบาลทุ่มเทการลงทุนในการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ
    โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาลเพื่อให้รองรับกับนโยบายนี้
    ส่งผลให้จำนวนแพทย์และพยาบาลของคิวบาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    รู้หรือไม่ว่า คิวบา เป็นประเทศที่มีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรมากที่สุดในโลก

    ในประชากร 1,000 คน จะมีแพทย์อยู่ถึง 8.2 คน
    หรือแพทย์ 1 คน ดูแลประชากรเพียง 122 คน

    หากลองดูข้อมูลสัดส่วนของประเทศอื่นๆ
    เยอรมนี แพทย์ 1 คน ดูแลประชากร 238 คน
    สหรัฐอเมริกา แพทย์ 1 คน ดูแลประชากร 385 คน
    ไทย แพทย์ 1 คน ดูแลประชากร 1,250 คน

    เช่นเดียวกับสัดส่วนพยาบาล 1 คน ที่ดูแลประชากรคิวบาเพียง 128 คน
    ซึ่งน้อยกว่าประเทศไทยเกือบ 3 เท่า

    นอกจากจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีมากแล้ว
    สัดส่วนเตียงโรงพยาบาลต่อประชากรก็สูงมากเช่นกัน

    ประชากรคิวบา 1,000 คน จะมีเตียงโรงพยาบาลรองรับถึง 5.2 เตียง
    ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ดีกว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน และในยุโรปตะวันตกอีกหลายประเทศ

    การทุ่มงบประมาณดูแลด้านสาธารณสุขอย่างมหาศาล
    ส่งผลให้สุขอนามัยของชาวคิวบาจัดอยู่ในระดับเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว
    และทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

    การมีแพทย์อยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้มีการส่งทีมแพทย์บางส่วนไปให้ความช่วยเหลือในต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบลาตินอเมริกาซึ่งใช้ภาษาสเปนเช่นเดียวกัน

    เวเนซุเอลา นับเป็นประเทศหนึ่ง ที่คิวบาได้ให้การช่วยเหลือด้วยการส่งแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์
    เพื่อไปพัฒนาระบบสาธารณสุขของเวเนซุเอลา
    แลกกับการนำเข้าน้ำมันดิบในราคาไม่แพง

    แต่เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
    ทำให้คิวบาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าจากสหรัฐฯ
    โดยเฉพาะ “ยารักษาโรค”

    ความขาดแคลนทำให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์อย่างหนัก
    โดยเฉพาะเวชภัณฑ์และยารักษาโรค เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในประเทศ

    ทำให้นอกจากด้านการแพทย์แล้ว
    คิวบายังเป็นผู้นำในด้านชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical) ของภูมิภาคลาตินอเมริกาอีกด้วย

    ชีวเภสัชภัณฑ์ คือ ยาหรือเวชภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิต ด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ
    เช่น วัคซีน, ฮอร์โมน และโปรตีนสำหรับรักษามะเร็ง

    การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของคิวบา
    เริ่มต้นจากการที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่
    และส่งนักวิจัยไปฝึกอบรมยังศูนย์วิจัยประเทศต่างๆ

    รัฐบาลยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและบริษัทยาหลายแห่ง
    ทั้งสถาบัน CIGB (Center for Genetic Engineering and Biotechnology)
    บริษัท BioCubaFarma
    บริษัท CIMAB S.A.
    เพื่อเน้นด้านการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอย่างเข้มข้นทั้งภายในประเทศ
    และทำการร่วมทุนเพื่อวิจัยร่วมกันกับประเทศอื่นๆ
    เช่น CIGB ร่วมทุนกับสถาบันในประเทศจีน, CIMAB S.A. ร่วมทุนกับบริษัทในประเทศไทย

    การมีแพทย์เป็นจำนวนมากของคิวบา ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนแพทย์กับสถาบันวิจัยต่างๆ
    จนคิวบาสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ด้วยตัวเอง เช่น วัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

    รัฐบาลคิวบาเชื่อว่าเทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในท้ายที่สุด

    ปัจจุบันยารักษาโรคเริ่มก้าวขึ้นมาเป็นสินค้าส่งออกหลักอันดับ 9 ของคิวบาในปี 2018
    ด้วยมูลค่า 1,200 ล้านบาท
    นับว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อย สำหรับประเทศเล็กๆ ที่ถูกมหาอำนาจกีดกันทางการค้า

    แม้แต่ในยามเกิดวิกฤติโควิด-19 ที่ลุกลามมาถึงภูมิภาคลาตินอเมริกา
    คิวบามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงหลักพันคน
    และไม่สามารถนำเข้ายาจากสหรัฐอเมริกาได้ เนื่องจากถูกกีดกันทางการค้า

    แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา..

    สถาบัน CIGB ซึ่งมีการร่วมทุนกับบริษัทยาในประเทศจีน
    ได้มีการเตรียมผลิตยาในกลุ่ม Interferon ซึ่งเป็นหนึ่งในยาชีวภาพที่ใช้ในการรักษาโควิด-19

    ในขณะที่ BioCubaFarma ก็ได้เตรียมการผลิตยากลุ่มอื่นๆ ที่ใช้รักษาโควิด-19
    เช่น ยาต้านไวรัส HIV ให้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ

    ผลจากการที่มีระบบสาธารณสุขที่ดี มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และการมีสถาบันวิจัยที่แข็งแกร่ง
    ทำให้คิวบาสามารถควบคุมการระบาดได้ดีในระดับหนึ่ง

    อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ในคิวบาอยู่ที่ประมาณ 4%
    น้อยกว่าหลายประเทศในยุโรป
    ทั้งๆ ที่สัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ของคิวบามีอยู่ถึง 16% ของประชากร ซึ่งใกล้เคียงกับของยุโรป

    คิวบาจึงเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
    เพราะ 1 ในปัจจัย 4 ของมนุษย์ คือ “ยารักษาโรค”

    การทุ่มเทพัฒนาด้านการแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพมาอย่างยาวนาน
    จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเล็กๆ แห่งนี้เติบโตขึ้น

    จากเดิมที่สินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียงของคิวบา คือ “ซิการ์”
    ในอนาคตอันใกล้
    จาก ซิการ์ อาจเป็นเปลี่ยน ยารักษาโรค ก็เป็นได้..
    ╔═══════════╗
    Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
    เจาะลึกแบบ deep content
    ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
    Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - ลงทุนแมน
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    References
    -https://data.worldbank.org/indicator/SP.DYN.LE00.IN?locations=CU
    -https://www.statista.com/statistics/806771/infant-mortality-in-cuba/
    -https://data.worldbank.org/indicator/SH.MED.PHYS.ZS?locations=CU
    -http://www.mfa.go.th/aspa/th/information/9392/109579-คิวบา.html
    -http://www.mfa.go.th/aspa/th/relation/7076/77739-ไทย---คิวบา.html
    -http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/tn230a_p38-42.pdf
    -http://www.worldstopexports.com/cubas-top-10-exports/
    -https://peoplesworld.org/article/despite-u-s-blockade-cuban-pharma-industry-producing-needed-covid-19-medicines/
    -https://www.populationpyramid.net/cuba/2020/

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มานซา มูซา กษัตริย์ใจบุญ ผู้สร้างความเดือดร้อนในแอฟริกา /โดย ลงทุนแมน
    ถ้าพูดถึงคนที่รวยที่สุดในโลก คนคงนึกถึง บิลล์ เกตส์, เจฟฟ์ เบโซส หรือวอร์เรน บัฟเฟตต์
    แต่ความจริงแล้วยังไม่มีใครที่ร่ำรวยไปกว่ากษัตริย์ผู้เคยปกครองอาณาจักรมาลีที่มีนามว่า มานซา มูซา
    กษัตริย์ผู้ใจบุญนี้เคยทำให้เศรษฐกิจของหลายเมืองในอดีตเสียหายนานถึง 10 ปี

    พระองค์ทำอะไรลงไป ถึงได้ทำให้เกิดวิกฤติเช่นนั้น
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
    เจาะลึกแบบ deep content
    ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
    Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอาณาจักรมาลีกันก่อน

    อาณาจักรมาลีนั้นอยู่ในทวีปแอฟริกา ในยุคนั้นมีอาณาเขตจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงไนเจอร์ในปัจจุบัน รวมถึงพื้นที่บางส่วนของเซเนกัล, มอริเตเนีย, มาลี, บูร์กินาฟาโซ, ไนเจอร์, แกมเบีย, กินี-บิสเซา, กินี และไอวอรีโคสต์

    ในศตวรรษที่ 14 มีกษัตริย์ที่มีนามว่า มานซา มูซา ปกครองอยู่
    พระองค์ประทับอยู่ที่ทิมบักตู เมืองที่เคยถูกเรียกว่านครแห่งทองคำ
    ความร่ำรวยของพระองค์นั้นเกินกว่าที่ใครจะพรรณนาได้

    ด้วยอำนาจกษัตริย์ที่มี มานซา มูซาสามารถเข้าถึงแหล่งทองคำได้อย่างไม่จำกัด

    ปัญหาเศรษฐกิจของแอฟริกาในเวลานั้นเกิดขึ้นเมื่อพระองค์จะเสด็จไปแสวงบุญที่นครมักกะฮ์
    เป็นระยะทางกว่า 6,400 กิโลเมตรจากทิมบักตูถึงมักกะฮ์

    ขบวนเสด็จของพระองค์ประกอบไปด้วย
    กองคาราวานกว่า 60,000 คน
    อูฐและม้ากว่า 100 ตัว
    ทาส 12,000 คน
    ทองคำหนัก 71,000 ปอนด์
    ทุกคนใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าไหมอย่างดี

    “เป็นคาราวานที่ยาวจนสุดลูกหูลูกตา”

    ระหว่างทางกษัตริย์น้ำใจงามองค์นี้ได้เมตตาผู้คนทั้งหลาย
    โดยกษัตริย์มูซาได้โปรยทานด้วยทองคำมาตลอดทาง
    นอกจากนี้พระองค์ยังใช้จ่ายอย่างมหาศาล รวมถึงสร้างมัสยิดตลอดเส้นทางเสด็จ

    แจกทองคำที่เมือง ไคโร มักกะฮ์ และเมดินา แห่งละประมาณ 20,000 ออนซ์
    และกรุงไคโรเป็นจุดที่พระองค์พำนักอยู่นานถึง 3 เดือน

    การใช้จ่ายและแจกทองเช่นนั้นสร้างความเสียหายและทำลายเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นเป็นเวลากว่า 10 ปี

    เพราะมันส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อขั้นรุนแรงในกรุงไคโร มักกะฮ์ และเมดินา..

    รวมถึงราคาทองคำที่ตกลงอย่างหนักหลังการแจกทองของพระองค์นานถึง 10 ปี

    มันเสียหายแค่ไหนหรือ?
    มีการประเมินว่าเกิดความเสียหายประมาณ 48,192 ล้านบาทเมื่อเทียบมูลค่าเป็นปัจจุบัน

    และเมื่อพระองค์เสด็จกลับไปยังทิมบักตู
    กิตติศัพท์เรื่องความร่ำรวยของพระองค์ก็ไปถึงแถบเมดิเตอร์เรเนียนและแถบยุโรป
    จนทำให้แผนที่ในสมัยนั้นมีการวาดรูปพระองค์ถือก้อนทองคำ

    และเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรมาลีในสมัยนั้นไปโดยปริยาย

    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมาลีกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก
    แม้ว่าจะเคยเป็นประเทศที่มีกษัตริย์ที่เป็นคนรวยมากที่สุดในโลกมาก่อน
    โดยประเทศมาลีนั้น มี GDP ต่อหัวเพียง 27,442 บาทเท่านั้น

    เรื่องนี้อาจทำให้คิดได้ว่าความยิ่งใหญ่ในอดีต อาจไม่มีผลอะไรกับประเทศนั้นในอนาคต

    และก็น่าคิดว่าการแจกทองคำในสมัยนั้น แตกต่างจากการอัดฉีดเงินโดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในขณะนี้อย่างไรบ้าง?
    ╔═══════════╗
    อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต

    ..
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - ลงทุนแมน
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    References
    -https://www.bbc.com/news/world-africa-47379458
    -https://smartasset.com/insights/four-people-who-singlehandedly-caused-economic-crises
    -https://www.statista.com/topics/3035/mali/

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Update 20:00 > ในที่สุด!! ยอดผู้รักษาหายทะลุ 80%"

    วันที่ 04.05.2020 เป็นอีกวันที่น่าจะเป็นอีกความทรงจำที่ดีเพราะยอดผู้รักษาหายนั้นพุ่งขึ้นทะลุ 80% แล้วที่ 80.06% ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวดีและลุ้นให้เพิ่มในอัตราที่อย่างต่อเนื่องในทุกๆ วันสรุปยอดวันนี้คือ

    ยอดติดเชื้อสะสม 165,745 ราย (เพิ่ม 562)
    เสียชีวิต 6,866 ราย (เพิ่ม 54)
    รักษาหาย 132,700 ราย (เพิ่ม 2,100)
    ยอดติดเชื้อสุทธิ 26,179 ราย (ลด 1,592)

    ยอดที่ไทย
    ยอดติดเชื้อสะสม 2,987 ราย
    เสียชีวิต 54 ราย
    รักษาหาย 2,740 ราย
    ยอดติดเชื้อสุทธิ 193 ราย

    - เยอรมัน ยังปิดพรมแดนระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านต่อจนถึงวันที่ 15.05.2020

    - เยอรมัน จากการสำรวจพบว่าผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสกว่าหนึ่งในห้า ไม่แสดงอาการใดๆ

    - เยอรมันรอติดตามผลการประชุมระหว่าง Angela Merkel กับผู้นำรัฐทั้ง 16 ว่าจะมีการผ่อนปรน/เพิ่ม มาตรการอย่างไร ซึ่งร่วมไปถึงอาจจะมีประเด็นในเรื่องของการสนับสนุนเพิ่มเติม ในวันพุธนี้

    - ภาพรวมของรัฐ Sachsen-Anhalt ที่อนุญาตให้คนรวมกลุ่มกันสูงสุดได้ 5 คน ถือว่าเป็นไปอย่างที่น่าพอใจ

    - ภาพรวมของการผ่อนปรนมาตรการทั่วประเทศพบว่า ร้านค้าแต่ละร้านสามารถปรับเปลี่ยนและปฏิบัติตามมาตรการได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงลูกค้าที่ต่างก็ใส่หน้ากากกันเป็นอย่างดี

    - เยอรมัน โรงพยาบาล SLK ประจำเมืองประกาศให้คนที่จะเข้าไปติดต่อโรงพยาบาลจะต้องทำการวัดไข้ด้วย

    - เยอรมัน ไป Ikea กัน!! คนยังแห่ไปกันจนเข้าแถวยาวนับหลายร้อยเมตรในการเข้าห้าง ซึ่งส่งผลให้คุณอาจจะต้องรอนานนับชั่วโมง

    - คนแห่แชร์ภาพร้านตัดผมในเยอรมนี ว่าแต่ละร้านต่างก็ขุดหน้ากาก Face shield พร้อมถึงการเว้นระยะอย่างเต็มที่

    - หลายประเทศในยุโรป เริ่มทยอย ผ่อนปรนมาตรการ แต่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เป็นสิ่งที่ยากที่จะกลับมา "เหมือนเดิม"

    - นอร์เวย์ ทุ่ม!!! เงินกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์เพื่อสนับสนุนการกระจายวัคซีนที่ใช้ต่อต้านโควิดที่จะผลิตเสร็จสิ้นในอนาคต

    - เกาหลีใต้ อนุญาตให้นักเรียนกลับไปเรียนตั้งแต่วันที่ 13.05.2020 เป็นต้นไป

    - ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ เตรียมเปิดพรมแดนระหว่างกัน และเปิดให้ท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศได้ตามปกติ หลังจากทั้งสองประเทศประสบความสำเร็จจากการต่อสู้กับไวรัส

    - รัสเซีย พบผู้ติดเชื้อภายในสองวันเกือบ 20,000 คน ส่วนผู้ติดเชื้อเกือบแตะ 150,000 แล้ว

    - ยูเครน ขยายมาตรการ Lockdown ไปจนถึงวันที่ 22.05.2020

    - กรีซ มั่นใจ!! เตรียมกลับมาเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งในเดือนกรกฏาคม เพื่อพยุงเศรษฐกิจและผลรับจากการใช้มาตรการเข้มได้ผลลัพธ์ที่ดี

    - สเปน มีแนวโน้มที่ดี! หลังพบผู้เสียชีวิตน้อยที่สุดในรอบหลายสัปดาห์ และเตรียมทยอยๆ ผ่อนปรนมาตรการเพื่อทยอยๆ ให้ประชาชนกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ

    - USA นิวยอร์ค เตรียมแจกหน้ากากผ้านับล้านชิ้นแก่ประชาชน

    - USA ชาวนิวยอร์ค "ไม่กลัว" แห่กันออกมาเดินเล่น นอนตากแดดในสวนสาธารณะกันเต็มสวน (พ่อบ้านแนะให้ใช้วิธีของสวีเดนนะครับ "โรยขี้ไก่" รับรองชะงัก)

    - USA นักลงทุนระดับโลกและเป็นไอดอลของคนหลายๆ คนอย่าง Warren buffett เทขายหุ้นสายการบินทั้งหมด และเผยว่าช่วงวิกฤตไวรัสที่ผ่านมาเค้าสูญเสียเงินกว่า "1.6 ล้านล้านบาท"

    - UK ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงจนใกล้จะแซงอิตาลี ทั้งนี้ต้องเตรียมจับตาอย่างใกล้ชิด ส่วนเรื่องของการผ่อนปรนมาตรการนั้นยังไม่มีวี่แวว

    - ญี่ปุ่น ต่ออายุมาตรการเข้มจนถึงวันที่ 31.05.2020

    - สรุปรวม ณ ปัจจุบัน มี 33 ดินแดนบนโลกนี้ที่ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด19 โดยส่วนใหญ่นั้นเป็นประเทศหมู่เกาะ และหนึ่งในนั้นมีเกาหลีเหนือ

    - ไทย ลืมตัว!! หาดปากเมง จังหวัดตรัง พบนักท่องเที่ยวและกลุ่มวัยรุ่นเต็มหาด แต่ไม่ใส่หน้ากากและรักษาระยะห่างเท่าที่ควรจะเป็น

    - ไทย แจ้งย้ายจุดร้องเรียนโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" จากกระทรวงการคลังไปที่กรมประชาสัมพันธ์

    - ราศี ที่มีโอกาสจะเคล็ดขัดยอก ซึ่งอาจจะเกิดจากการทำงานหรือทำสวน ขอให้เบาๆ อย่าหักโหมคือราศี "ตุลย์"

    - ราศีที่จะได้พบเพื่อนใหม่ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรที่ดีของคุณในอนาคตคือราศี "พฤษภ"

    "เห็นหน้าเจ้าตัวเล็กแล้วใช่มั้ยครับ? แสบน่าดูเลย ใครยังไม่เห็นไปดูที่โพสก่อนหน้านะครับ"

    "เพจพ่อบ้านเราจะโตขึ้นไปอีกขั้นนึง รวมไปถึงจะปรับรูปแบบ Website ใหม่ทั้งหมด"

    "ใครมีข้อเสนอแนะบอกเราได้เลยนะครับ ว่าอยากให้มีอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง"

    ขอบคุณทุกคนที่ติดตามเรา

    **อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสาร
    แชร์ได้เลยและบอกข้อมูลต่อๆ กันด้วยนะครับ**

    #พ่อบ้านเยอรมัน #เยอรมัน #เยอรมนี #Germany #Covid19

    ที่มาของข่าวการเตรียมประชุมในวันพุธของเยอรมัน
    https://edition.cnn.com/world/live-...04-20-intl/h_a2bcc16a721c14570263d4cd736b9790

    ที่มาข่าวหนึ่งในห้าของผู้ติดเชื้อของเยอรมันไม่แสดงอาการ
    https://www.thelocal.de/20200504/one-in-five-coronavirus-infected-asymptomatic-german-study

    ที่มาข่าวเปิดพรมแดนระหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
    https://edition.cnn.com/travel/article/new-zealand-australia-travel-bubble-intl-hnk/index.html

    ที่มาข่าวนอร์เวย์สนับสนุนเงินสู้โควิด
    https://www.cnbc.com/2020/05/04/nor...vaccines-against-covid-19-other-diseases.html

    ที่มาข่าวยุโรปยากที่จะกลับมาเหมือนเดิม
    https://edition.cnn.com/travel/article/new-zealand-australia-travel-bubble-intl-hnk/index.html

    ที่มาของข่าวอื่นๆ:
    Tagesschau เวลา 20:00 น
    Aljazeera : https://www.aljazeera.com/
    CNN Asia : https://www.cnn.com/asia
    CNBC : https://www.cnbc.com
    BBC : www.bbc.com
    CNN : www.cnn.com
    The Local : https://www.thelocal.de/
    Siamtownus : https://www.merkur.de/welt/
    Kapook.com : www.kapook.com
    Sanook.com : www.sanook.com
    Welt.de : https://www.welt.de/
    Merkur.de : https://www.merkur.de/welt/

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เปิดรับสมัครโครงการจ้างงาน สำหรับผู้ตกงาน จ่ายเดือนละ 9,000 บาท ทั้งหมด 5 เดือน แต่ต้องไม่ใช่ผู้รับสิทธิ์เยียวยาจากรัฐ เริ่มรับสมัครพฤษภาคมนี้

    โครงการสำหรับผู้ตกงาน อว.สร้างงาน 10,000 คน

    คุณสมบัติ
    สำหรับประชาชนที่ว่างงานเนื่องมาจากสถานการณ์โรคโควิด-19 จำนวน 10,000 คน ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา อายุ สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน

    รายได้และระยะเวลางาน
    เป็นระยะเวลา 5 เดือน ค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท

    แต่ขอให้เป็นคนในพื้นที่ เพื่อลดการเดินทาง และเป็นประชาชนที่ไม่ได้รับสิทธิ์การเยียวยาจากภาครัฐ 5,000 บาท หรือกลุ่มเกษตรกร

    สำหรับหน่วยงานที่จะจ้าง ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา 42 หน่วยงาน อาทิ

    -มหาวิทยาลัยรัฐ 39 แห่ง รับ 8,460 คน เป็นงานที่เน้นการพัฒนาชุมชน กว่า 1,500 ชุมชน เช่น การเฝ้าระวังโรคติดต่อชุมชน การสำรวจจัดทำฐานข้อมูลด้านสาธารณสุข เกษตร การบริหารจัดการน้ำชุมชน
    -มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับ 1,325 คน
    -สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า รับ 205 คน
    -มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ รับ 290 คน
    -มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน รับ 225 คน
    -มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับ 400 คน
    -สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รับ 540 คน
    -มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รับ 200 คน
    -มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ รับ 585 คน
    -มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รับ 730 คน

    นอกจากนี้ยังมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า จัดทำโครงการคืนผืนป่าให้ประชาชน จ้างงาน 1,200 คน กระจาย 16 จังหวัด ได้แก่ พะเยา แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก สระบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง สกลนคร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ พังงา ยะลา สุราษฎร์ธานี

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานกิจการเลขาธิการ สป.อว.
    โทร.02-6105330-31

    Cr.dealigo

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    16.00-17.00 น. ที่ด้านหน้าตึกทรู ทาวเวอร์ รัชดา (บริเวณรัชดา ซอย 4 ) จะแจกอาหารมื้อเย็น วันละ 300 กล่อง ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พ.ค.63

    เป็นอีกหนึ่งเรื่องดีๆ ที่ทางผู้บริหารซีพีและทรูมอบอาหารมื้อเย็นให้ประชาชน เพื่อช่วยลดภาระความเดือดร้อน

    Cr.JS100 Radio

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #ถามอีกกับอิก | 3 คำถามฉุกเฉิน ที่นักลงทุนอยากรู้จากคุณพิชัย จาวลา
    .
    ถามอีก กับคุณพิชัย จาวลา นักลงทุนเจ้าของทฤษฎีระบบผลประโยชน์
    .
    นาทีที่ 03:53 คำถามที่ 1: ทำไมคุณพิชัยถึงมองว่า SET 1,650 จุด ถึงมีโอกาสถึงแน่ ๆ?
    .
    นาที่ที่ 12:09 ทำไมถึงเป็น 1,650 จุด?
    .
    นาที่ที่ 12:56 คำถามที่ 2: คุณพิชัยมองว่าว่า “Dow jones 19,000 จุดโอเคแล้ว” ซึ่งเป็นจุดต่ำสุด คุณพิชัยใช้หลักการในการมองอย่างไง?
    .
    นาที่ที่ 21:02 คำถามที่ 3 ทำไมคุณพิชัยถึงมองว่า SET 969 จุด เป็นจุดกลับตัว?
    ----------------------------
    .
    อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย
    .
    Line official: https://lin.ee/hFHEWGA

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    # อิสตันบูล # ตุรกี
    วันที่2 พฤษภาคม 2563
    # Beylikdüzü # อิสตันบูล เมฆกันชน(Shelf Cloud)

    #İstanbul #City #Turkey
    02.05.2020
    #Beylikdüzü #İstanbul Shelf Cloud

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมฆกันชน ปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส คืออะไร
    โพสต์เมื่อ : 12 มิถุนายน 2557 เวลา 08:06:13
    10366258_679417365439090_156843097576783765_n.jpg

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Udonthani Update

    เมฆกันชน หรือ เมฆอาร์คัส shelf cloud ปรากฏการณ์เมฆกันชน คืออะไร มีอันตรายหรือไม่ ไปหาคำตอบกันเลย

    หลัง จากที่เกิดปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส หรือ เมฆกันชน ที่สนามบินอุดรธานี และต่อมาในเวลาไม่นานก็เกิดปรากฏการณ์นี้เหนือท้องฟ้าบริเวณสนามบินเก่า เขตเทศบาลเมืองเชียงรายอีกครั้ง จนสร้างความฮือฮาให้แก่ประชาชนอย่างมากนั้น ก็ทำให้หลาย ๆ คนอดสงสัยไม่ได้ว่าปรากฏการณ์นี้คืออะไร มีที่มาอย่างไร และมีความรุนแรงหรือไม่ วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของปรากฏการณ์นี้มาฝากกันค่ะ

    โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. และชมรมคนรักมวลเมฆ ให้ข้อมูลว่า เมฆฝนฟ้าคะนอง นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus, Cb) เป็นเมฆฝนที่มีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง เกิดลูกเห็บ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า เกิดจากแนวอากาศร้อนที่ความชื้น พัดมาปะทะกับอากาศเย็น อากาศเย็นจะยกอากาศร้อนขึ้น จนมีลักษณะเป็นดอกเห็ด ภายในจะมีทั้งลมกดและลมยก

    ส่วน เมฆอาร์คัส (Arcus) หรือเรียกว่า เมฆกันชน หรือ shelf cloud อยู่บริเวณฐานเมฆ และมีลักษณะโค้งเหมือนกันชนหน้ารถ จะเป็นปฏิกิริยาของเมฆฝนที่จะมีลักษณะโค้งลงมาใกล้พื้นดิน โดยเมฆอาร์คัสจะมี 2 แบบ คือ Roll รูปร่างม้วนแบบหลอด และ Shelf คือรูปร่างเป็นชั้น
    สำหรับเมฆอาร์คัส (Arcus) ไม่มีอันตรายโดยตรง แต่เนื่องจากอาร์คัสเป็นส่วนหนึ่งของเมฆฝนฟ้าคะนอง จึงมีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก (positive lighting) ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม บริเวณฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่ค่อยเกิดขึ้นในช่วงฤดูนี้ และโดยเฉพาะปรากฏการณ์อาร์คัสก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย ๆ

    ทั้ง นี้ สำหรับปรากฏการณ์เมฆอาร์คัสไม่ได้เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้วที่ย่านบางขุนเทียน และคลองสาน เมื่อวันที่ 24 กันยายน ปี 2554

    10351013_620265868068519_6123320784457510644_n.jpg

    http://forgetmetmenotnaja.blogspot.com/?m=1
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    4 พฤษภาคม ประชาชนมากกว่า 80,000 ยังคงไม่มีไฟฟ้าใช้ หลังจากพายุทำให้หนึ่งในการหยุดงานที่ใหญ่ที่สุดของแนชวิลล์บันทึก พายุในวันอาทิตย์ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อยหนึ่งคนทำให้เกิดลมพัดเป็นเส้นตรงสูงถึง 60-80 ไมล์ต่อชั่วโมง และทำให้ต้นไม้หลายต้น สายไฟ และเสาไฟฟ้าล้มลง ...

    May 4. More than 80,000 remain without power after storm causes one of Nashville's largest outages on record. Sunday's storms, which killed at least one person, brought straight line winds as high as 60-80 miles per hour and knocked down trees, power lines and power poles, according to the utility. Power was interrupted to 130,000 of the utility's 400,000 customers

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ดินถล่มในวอเตอร์ฟอร์ด, N.Y. ถัดจากบ้านหลังหนึ่งบนขอบหน้าผาแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2020

    สำนักงานบริการฉุกเฉินเขตซาราโตกา ผ่าน Facebook
    4 พฤษภาคม 2020, 9:50 น. EDT

    ดินถล่มในซาราโตกาเคาน์ตี้ นิวยอร์ก ทำให้ชาวบ้านหลายคนพลัดถิ่นในบ่ายวันอาทิตย์ ภาพถ่ายของภาพนิ่งในเมืองวอเตอร์ฟอร์ด ซึ่งอยู่ห่างออกไป 12 ไมล์ทางเหนือของอัลบานี แสดงปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่กลืนกินต้นไม้และบ้านเรือนทางซ้ายที่แขวนอยู่บนขอบอย่างล่อแหลม
    https://www.nbcnews.com/news/us-new...es-dangling-precariously-edge-crater-n1199336

    A landslide in Waterford, N.Y., left a house teetering on the edge of a cliff on May 3, 2020.

    Saratoga County Office of Emergency Services via Facebook
    May 4, 2020, 9:50 AM EDT

    A landslide in Saratoga County, New York, left several residents displaced Sunday afternoon. Photos of the slide in the town of Waterford, 12 miles north of Albany, show a massive crater that swallowed trees and left houses hanging precariously on the edge.
    https://www.nbcnews.com/news/us-new...es-dangling-precariously-edge-crater-n1199336

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เครียดไม่ได้เงิน
    เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญูในชุดป้องกัน แบกศพ น.ส.นิธิวดี แซ่เตี้ย พนักงานเก็บล้างร้านอาหารญี่ปุ่นฟูจิ ในห้างสรรพสินค้าย่านสีลม ที่ผูกคอเสียชีวิตภายในตึกแถว 2 ชั้น ซอยวัด คลองเตยใน
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    2 วันลุกลามปอด พ่อวัย 60 รอดปาฏิหาริย์ ติดเชื้อที่เดียวกับแมทธิว ลูกสาวแจงข้อดีโควิด
    ผู้ป่วยโควิด-19 วัย 60 หัวใจแกร่ง ติดเชื้อจากสนามมวยเดียวกับแมทธิว ดีน ทนทรมานนานเกือบเดือนจนรอดปาฏิหาริย์ ลูกสาวเผยข้อดีโควิด-19 หลังพ่อหายป่วย เรื่องเล่าจากหมอปอด เตือนคนไทยอย่าประมาท
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หน้าต่างโลก : กองทัพชุดขาวแห่งคิวบา
    “คิวบา” มีระบบการแพทย์ดีที่สุดชาติหนึ่งในโลก และได้ส่งทีมแพทย์กว่า 1,200 คนไปช่วยชาติต่างๆ แล้วกว่า 20 ชาติ ต่อสู้เชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งส่งทีมแพทย์ชุดใหญ่ถึง 216 คนไปช่วย “แอฟริกาใต้”
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อุปปาตะสันติ

    พระคาถาอุปปาตะสันติ เป็นร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์ภาษาบาลีขนาดยาวจำนวน 271 คาถา เป็นบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ โดยระบุนามของพระพุทธเจ้าทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงพระอรหันต์ทั้งหลาย พระคาถานี้แพร่หลายในอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ และได้แพร่หลายในพม่ามาช้านาน กระทั่งได้รับการเผยแพร่สู่แผ่นดินไทย และเป็นนิยมสวดกันอย่างแพร่หลาย นอกจากชื่อพระคาถาอุปปาตะสันติแล้ว ทางล้านนายังเรียกว่า มหาสันติงหลวง อีกด้วย

    ที่มา
    อุปปาตะสันติ แปลว่า มนต์ระงับเหตุร้าย หรือบทสวดระงับเภทภัย โดย อุปฺปาต แปลว่า เหตุร้าย,อันตราย, ภัยพิบัติ ส่วน สนฺติ แปลว่า ระงับ, ทำให้สงบ ทางเมืองเหนือเรียกว่า มหาสันติงหลวง เป็นบทสวดมนต์โบราณที่มีประโยชน์เพื่อระงับเหตุร้ายและสร้างศานติสุขให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน ประกอบด้วยคาถาล้วนจำนวน 271 บท โดยพระคาถานี้ จัดเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในหมวด ‘‘เชียงใหม่คันถะ’’ คือ คัมภีร์ที่แต่งขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ ในยุคที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองอย่างมากในอาณาจักรล้านนา[1]

    พระคันธสาราภิวงศ์ แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง หนึ่งในผู้แปลพระคาถานี้ ระบุว่า ผู้รจนาคัมภีร์นี้ คือ พระสีลวังสเถระ วัดโชติการาม เมืองเชียงใหม่ ได้แต่งขึ้นตามคำอาราธนาของพระเจ้าสามฝั่งแกนใน พ.ศ. 1949 (จุลศักราช 767) ตามตำนานนั้น ระบุว่าเหตุที่พระมหากษัตริย์ทรงอาราธนาว่า เนื่องด้วยพวกจีนฮ่อยกพลมารุกรานเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าแผ่นดินจึงอาราธนาให้แต่งขึ้นแล้วนิมนต์พระสงฆ์สาธยายร่วมกับชาวเมือง ส่งผลให้ทัพจีนฮ่อระส่ำระสายด้วยภัยพิบัติบางอย่างแล้วถอยทัพไปในที่สุด[2]

    พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปัญโญ ป.ธ.9) แห่งอดีตเจ้าอาวาสวัดมหาโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ ผู้ชำระคัมภีร์พระคาถานี้เป็นภาษาบาลีอักษรไทย ระบุไว้ใน‘‘คำชี้แจงเรื่องคัมภีร์อุปปาตสันติ’’ ว่า ผู้รจนาคือ พระสีลวังสมหาเถระ แต่งที่เชียงใหม่สมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2010 ส่วนในประวัติคัมภีร์อุปปาตสันติ ฉบับวัดโพธารามและฉบับของสุรีย์ มีผลกิจ กล่าวว่า คัมภีร์นี้แต่งโดยพระมหามังคละสีลวังสะพระเถระนักปราชญ์ของชาวเชียงใหม่รูปหนึ่ง ในสมัยของพระเจ้าสิริธรรมจักกวัตติลกราชาธิราช (พระเจ้าติโลกราช) รัชกาลที่ 11 แห่งราชวงศ์มังราย ระหว่าง พ.ศ. 1985-2030[3]

    อย่างไรก็ตาม พระคันธสาราภิวงศ์ ระบุว่า ในคำนำภาษาพม่าของโรงพิมพ์ภอนวาจากล่าวว่า พระคาถาแต่งขึ้นตามคำอาราธนาของพระเจ้าสามฝั่งแกนใน พ.ศ. 1949 ซึ่งเมื่อตรวจสอบประวัติศาสตร์ของล้านนาพบว่า พระเจ้าสามฝั่งแกนครองราชย์เป็นเวลา 38 ปี ระหว่าง พ.ศ. 1945-1984 ครั้งหนึ่ง พวกจีนฮ่อยกทัพมาล้อมเมืองเชียงแสนไว้ เพราะล้านนาไม่ส่งส่วยให้นับตั้งแต่สมัยของพระเจ้ากือนา พระองค์จึงรบกับจีนฮ่อเป็นเวลา 2 ปี ใน พ.ศ. 1947-48[4]

    นอกจากนั้น ในรัชสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกนพระองค์มีพระสงฆ์ล้านนากลุ่มหนึ่งจำนวน 25 รูป นำโดยพระมหาธัมมคัมภีร์ พระมหาเมธังกร พระมหาญาณมงคลพระมหาสีลวงศ์ พระมหาสารีบุตร พระมหารัตนากร และพระพุทธสาคร เป็นต้น ได้เดินทางไปสู่สำนักพระมหาสวามีวนรัตน์ที่ลังกาเพื่อเรียนอักขระบาลี การอ่านออกเสียง การสวดตามอักขระบาลีในลังกา และขออุปสมบทใหม่ในเรือขนานที่ท่าเรือยาปาในแม่น้ำกัลยาณี พ.ศ. 1968 ซึ่งจะเห็นได้ว่าชื่อพระมหาสีลวงศ์ก็ปรากฏอยู่ในพระสงฆ์ล้านนาที่เดินทางสืบพระศาสนาในลังกา ดังนั้นจึงน่ามีข้อสรุปว่าคัมภีร์นี้แต่งโดยพระสีลวังสเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน [5]

    อย่างไรก็ตาม ตามทัศนะของผู้ศึกษาวรรณกรรมทางพุทธศาสนามีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับผู้รจนาพระคาถานี้ โดย รศ. สมหมาย เปรมจิตต์ ระบุว่า พระคาถาอุปปาตะสันติ รจนาโดยพระเถรไม่ทราบนามรูปหนึ่ง ระหว่างปีพ.ศ. 2020 - 2070[6]

    ก่อนหน้านี้ Bode ยังแสดงความเห็นว่า พระคาถาอุปปาตะสันติ รจนาขึ้นโดยพระเถระไม่ทราบนามเช่นกัน ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนอง ทรงได้เมืองเชียงใหม่มาไว้ในขอบขันฑสีมา และได้ทรงส่งพระโอรสไปปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ ในการนี้ได้มีการอาราธนาพระสัทธัมมะจักกะสามีมายังล้านนา เพื่อชำระพระศาสนา ใน The Pali literature of Burma ระบุว่า ในช่วงเวลานี้ ล้านนาปรากฏพระเถระผู้รจนาปกรณ์ต่างๆ เพียงไม่กี่ท่าน แสดงให้เห็นว่า ยุครุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในดินแดนนี้เริ่มเสื่อมถอยลงแล้ว กระทั่งพระคาถาอุปปาตะสันติก็ยังไม่ทราบนามผู้แต่ง[7]

    ตามการกล่าวอ้างของ Bode นั้น คาดว่าอิงกับหลักฐานทางพม่าเป็นหลัก ซึ่งหากพระคาถาอุปปาตะสันติรจนาขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนองจริง คาดว่าน่าจะมีช่วงเวลารจนาอยู่ที่ระหว่าง พ.ศ. 2094 - พ.ศ. 2124 ซึ่งเป็นช่วงที่พระเจ้าบุเรงนองทรงครองราชย์ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้เช่นกันว่าวันเวลาที่การกล่าวอ้างในงานของ Bode อาจมิได้หมายถึงการรจนา แต่เป็นช่วงที่พระคาถาแพร่หลายเข้าสู่พม่า

    ทั้งนี้ คัมภีร์ศาสนวงศ์ ซึ่งรจนาโดยพระปัญญาสามี พระเถระชาวพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2404 กล่าวถึงพระคาถาอุปปาตะสันติ ไว้ว่า ‘‘อุปฺปาตสนฺตึอญฺญตโร เถโร. ตํ กิร อุปฺปาตสนฺตึ สชฺฌายิตฺวา จีนรญฺโญ เสนํ อชินีติ’’ (พระเถระไม่ปรากฏชื่อองค์หนึ่งทำปกรณ์ชื่ออุปปาตสันติ นัยว่าสวดอุปปาตสันตินั้นแล้ว ชนะพวกทหารจีน)[8] แสดงให้เห็นว่า แม้แต่ในพม่าซึ่งพระคาถานี้เป็นที่นิยมสวดสาธยาย ก็ยังไม่ทราบนามผู้แต่ง แต่อย่างน้อยยังระบุชัดว่า พระคาถานี้รจนาขึ้นในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งล้านนา เพื่อป้องกันภัยรุกรานจากพวกจีนฮ่อ ซึ่งเป็นข้อมูบลที่ปรากฏในในคำนำพระคาถาในภาษาพม่าฉบับของโรงพิมพ์ภอนวาจา


    เนื้อหา
    คัมภีร์นี้เป็นบทสวดสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต อีกทั้งสรรเสริญพระคุณของผู้ทรงคุณทรงฤทธิ์และทรงอำนาจต่างๆ ทำให้เกิดอานุภาพที่เชื่อกันว่าสามารถขจัดปัดเป่าเภทภัยด้านร้ายทั้งปวงให้กลายเป็นดีได้ด้วยอานุภาพของมนต์บทนี้ ที่อ้างคุณของพระไตรรัตน์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย บ้านเมืองและสังคมจะมีแต่ความสงบสุข ปราศจากโรคภัยเหตุร้ายทั้งปวง ให้คุณทั้งผู้สวดและผู้ฟังโดยถ้วนทั่ว ทั้งนี้ บุคคลและสภาวะที่อ้างถึงในคัมภีร์อุปปาตะสันติมี 13 ประเภทคือ
    1. พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตถึงปัจจุบัน(เน้นที่ 28 พระองค์)
    2. พระปัจเจกพุทธเจ้า
    3. พระพุทธเจ้าในอนาคต 1 พระองค์คือพระเมตไตรย
    4. โลกุตตรธรรม 9 และพระปริยัติธรรม 1
    5. พระสังฆรัตนะ
    6. พระเถระชั้นผู้ใหญ่ 108 รูป
    7. พระเถรีชั้นผู้ใหญ่ 13 รูป
    8. พญานาค
    9. เปรตบางพวก
    10. อสูร
    11. เทวดา
    12. พรหม
    13. บุคคลประเภทรวม เช่น เทวดา ยักษ์ ปีศาจ คือผีที่ทำสิ่งใด ๆ อย่างโลดโผน และวิชชาธรหรือพิทยาธร (สันสกฤตเรียกวิทยาธร) ภาษาอังกฤษเรียกว่าพวกเซอเร่อหรือพ่อมด แม่มด หรือผู้วิเศษ พวกวิชชาธร เป็นพวกรอบรู้เรื่องเครื่องรางและทำเสน่ห์ต่างๆ ไปทางอากาศได้[9]

    อานิสงส์ของการสวด

    พระธรรมคุณาภรณ์ ผู้ชำระคัมภีร์พระคาถานี้เป็นภาษาบาลีอักษรไทยเมื่อปี พ.ศ. 2500 กล่าวถึงอานิสงส์ของการสวดสาธยายพระคาถาอุปปาตะสันติ ไว้ว่าจะช่วยเทำให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข ดังที่กล่าวถึงในคัมภีร์อุปปาตะสันติ ที่สำคัญ 3 ประการคือ

    1. สันติหรือมหาสันติ ความสงบความราบรื่นความเยือกเย็นความไม่มีคลื่น
    2. โสตถิ ความสวัสดีความปลอดภัยความเป็นอยู่เรียบร้อยหรือตู้นิรภัย
    3. อาโรคยะ ความไม่มีสิ่งเป็นเชื้อโรคความไม่มีโรคหรือความมีสุขภาพสมบูรณ์
    คัมภีร์อุปปาตะสันติมีข้อความขอความช่วยเหลือ โดยขอให้พระรัตนตรัยและบุคคลพร้อมทั้งสิ่งทรงอิทธิพลในจักรวาลรวม ๑๓ ประเภท ดังที่กล่าวมาแล้ว ช่วยสร้างสันติหรือมหาสันติ ช่วยสร้างโสตถิ และอาโรคยะ ช่วยปรุงแต่งสันติและอาโรคยะ ขอให้ช่วยรวมสันติ รวมโสตถิและรวมอาโรคยะ และขอให้ช่วยเป็นเกราะคุ้มครอง และกำจัดเหตุร้ายอันตรายหรือสิ่งกระทบกระเทือนต่างๆ อย่าให้เกิดมีในตน ในครอบครัว ในหมู่คณะ หรือในวงงานของตน และในวงงานของคนอื่นทั่วไป ซึ่งอานิสงส์การสวดและการฟังอุปปาตะสันติ ดังที่ปรากฏในท้ายคัมภีร์ ยังมีดังต่อไปนี้อีกว่า

    1. ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ ย่อมชนะเหตุร้ายทั้งปวงได้ และมีวุฒิภาวะคือ ความเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
    2. ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติย่อมได้ประโยชน์ที่ตนต้องการ คือผู้ประสงค์ความปลอดภัยย่อมได้ความปลอดภัย คนอยากสบายย่อมได้ความสุข คนอยากมีอายุยืนย่อมได้อายุยืน คนอยากมีลูกย่อมได้ลูกสมประสงค์ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ ย่อมไม่มีโรคลมเป็นต้นมาเบียดเบียน ไม่มีอกาละมรณะคือตายก่อนอายุขัย ทุนนิมิตรคือลางร้ายต่างๆมลายหายไป ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติเมื่อเข้าสนามรบย่อมชนะข้าศึกและแคล้วคลาดจากอาวุธทั้งปวง
    นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึง เดช ของการสวดสาธยายพระคาถาอุปปาตะสันติเป็นประจำไว้ว่า

    1. อุปปาตะคือเหตุร้ายหรือสิ่งกระทบกระเทือน อันเกิดจากแผ่นดินไหวเป็นต้น ย่อมพินาศไป (ปะถะพะยาปาทิสัญชาตา)
    2. อุปปาตะ คือ คือเหตุร้ายหรือสิ่งกระทบกระเทือน อันเกิดจากลูกไฟที่ตกจากอากาศหรือสะเก็ดดาว ย่อมพินาศไป (อุปปาตะจันตะลิกขะชา)
    3. อุปปาตะ คือ คือเหตุร้ายหรือสิ่งกระทบกระเทือน อันเกิดจากการเกิดจันทรุปราคาหรือสุริยุปราคา เป็นต้น ย่อมพินาศไป (อินทาทิชะนิตุปปาตา)[10]

    ประวัติการสวดสาธยาย

    จุดประสงค์ของการสวดสาธยายพระคาถาอุปปาตะสันติมีอยู่หลากหลาย ตามข้อมูลของพระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปัญโญ ป.ธ.9) ระบุว่าสมัยที่ท่านพระมหามังคละสีลวังสะแต่งอุปปาตะสันตินั้น ที่เชียงใหม่มีโจรผู้ร้ายและคนอันธพาลชุกชุมผิดปกติ มีเหตุร้ายและสิ่งกระทบกระเทือนอยู่เสมอ พระมหาเถระสีละวังสะจึงให้พระสงฆ์สามเณร และประชาชนพากันสวดและฟังอุปปาตะสันติ เพื่อสงบเหตุร้ายทั้งมวลที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง[11]

    ขณะที่ข้อมูลของพระคันธสาราภิวงศ์ ระบุว่า ในปี พ.ศ. 1949 เมื่อกองทัพจีนยกพลมารุกรานเมืองเชียงใหม่ในรัชสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน พระสีลวังสมหาเถระผู้เป็นพระอรหันต์ได้แต่งคัมภีร์อุปปาตสันติ มีจารึกอยู่ในพงศาวดารพม่าว่า พระเจ้าสามฝั่งแกนโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปเล็กใหญ่ในทิศเฉียงทั้ง 3 ทิศ คือทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีความหมายเป็นอายุ ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีความหมายเป็นเตชะ และทิศตะวันตกเฉียงใต้มีความหมายเป็นสิริ มีการประดิษฐานพระพุทธปฏิมาในท่ามกลางมณฑปใหญ่ และมีรูปหล่อของพระอินทร์อยู่หน้าพระพุทธรูป มีรูปหล่อของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ในมณฑปเล็ก 4 แห่ง พระสงฆ์ได้สาธยายรัตนสูตร เมตตสูตร อาฏานาฏิยสูตร และอุปปาตสันติ โดยเริ่มตั้งแต่สถานที่ซึ่งสมมุติทิศว่าเป็นอายุ เมื่อสาธยายพระปริตรและอุปปาตสันติเช่นนี้ภายในเวลาสองสามวัน ภัยพิบัติอันใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นในกองทัพจีน ทำให้กองทัพระส่ำระสายและถอยทัพไปในที่สุด[12]

    พระธัมมานันทมหาเถระอดีตเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ ยังกล่าวถึงการใช้พระคาถานี้ในประเทศพม่าว่า ในรัชสมัยของพระเจ้าตาลวนที่เสด็จเถลิงราชสมบัติในปี พ.ศ. 2173 และรัชสมัยของพระเจ้าวัมแบอินสัน ได้เกิดกบฏในพระราชวัง มีการสู้รบระหว่างกบฏกับทหาร ฝ่ายกบฏปราชัยถูกฆ่าตาย ต่อมาผีของพวกกบฏได้อาละวาด โดยแสดงรูปร่างให้เห็น ดึงผ้าห่มของคนที่นอนหลับอยู่ ดึงปิ่นผมของนางสนม บางคราวก็หัวเราะ แล้วขว้างปาดอกไม้หรือผลไม้เข้าไปในพระราชวัง บางทีก็หลอกหลอนให้ตกใจ ทำให้คนในพระราชวังเดือดร้อน บางคนจับไข้ไม่สบาย คราวนั้นพระธัมมนันทะ (ชาวพม่าเรียกว่า งะยะแนนัตแสกยองสะยาด่อ) ได้ทำพิธีสาธยายมนต์พระปริตรเพื่อระงับเหตุร้ายเหล่านั้นในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2217 พงศาวดารพม่ากล่าวว่าคัมภีร์อุปปาตสันติก็ได้รับการสาธยายร่วมกับพระปริตรอื่น ๆ ในครั้งนั้น และจากการสาธยายมนต์พระปริตรนี้ ผีร้ายที่หลอกหลอนอยู่ในพระราชวังก็สาบสูญไปหมด ชาววังต่างได้รับความสุขถ้วนหน้าแต่นั้นมา[13]

    ครั้นต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแผ่นดินระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าภะจีด่อกับพระเจ้าตายาวดี ใน พ.ศ. 2380 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในประเทศ พระอาจารย์พุธ (ชาวพม่าเรียกว่า ยองกันสะยาด่อ) แปลอุปปาตสันติให้พระสงฆ์กับชาวเมืองร่วมกันสาธยาย ความไม่สงบภายในประเทศก็อันตรธานไป และต่อมาใน พ.ศ. 2452 พระอาจารย์แลดีสะยาด่อ วัดอ่องลังไตยอดเขาไจ้ตันลัน ณ จังหวัดเมาะลำเลิง ท่านได้ปรึกษากับพระอาจารย์ยะตะนาโภงมยิน แล้วแต่งคัมภีร์โรคันตรทีปนี เป็นแนวทางการสาธยายเพื่อระงับอหิวาตกโรคที่ระบาดอยู่ในขณะนั้น ท่านระบุว่าการสาธยายมหาสมัยสูตรและอุปปาตสันติ จะอำนวยผลให้พ้นจากอุปสรรคอันตรายทุกอย่างได้[14]


    การแพร่หลาย
    คัมภีร์นี้เป็นคัมภีร์แต่งขึ้นในอาณาจักรล้านนา แต่ได้เสื่อมความนิยมไปหลังจากอาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าจนแทบไม่มีใครรู้จัก อย่างไรก็ตามมีหลักฐานคัมภีร์พระคาถาอุปปาตะสันติ ฉบับหนึ่งในล้านนาซึ่งเขียนไว้ในสมุดข่อย หมึกจีน อาบน้ำชาด ในบานแผนกระบุว่า

    ‘‘ในปีจุลศักราช 1279 ปีดับไก๊ เดือน 8 เหนือ เพ็ญ วันศุกร์ ปีกุน สัปตศก พ.ศ. 2478 เจ้าภาพเขียนต้นฉบับนี้ คือ นายน้อยปิง มารวิชัย บ้านประตูท่าแพเป็นประธานพร้อมทั้งภริยาลูกและญาติทุกคน ได้จ้างคนเขียนธรรม 5 ผูก คือ มลชัย 1 ผูก,อินทนิล 1 ผูก, สังยมาปริตตคลสูตร 1 ผูก, นัครฐาน 1 ผูก และอุปปาตสันติ 1 ผูก พร้อมทั้งสร้างบ่อน้ำถวาย พระครูบาศรีวิชัย (ปฏิคาหก) ทานวัดศรีโสดา และถนนขึ้นดอยสุเทพ ขอกุศลบุญเยี่ยงนี้ จงเป็นปัจจัยค้ำชูตัวแห่งผู้ข้า ฯ (นายน้อยปิง) ทั้งหลายทุกคนตราบถึงนิพพานในอนาคตกาลโน้นเทอญ ฯ’’[15]

    กระนั้นก็ตาม แม้จะนิยมน้อยลงไปในล้านนา แต่กลับได้รับความนิยมสาธยายในประเทศพม่า ได้จัดพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ภอนวาจา ย่างกุ้ง พ.ศ. 2488 มีทั้งฉบับบาลีและฉบับนิสสัย (ฉบับแปลคำต่อคำ) ของพระชัมพุทีปธชะซึ่งแปลจบในวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ. 2379 ต่อมากระทรวงมหาดไทยและการศาสนาของพม่าได้จัดพิมพ์บทสวดมนต์ฉบับหลวงที่เรียกว่า สิริมังคลาปริตตอ (พระปริตรเพื่อสิริมงคล) ใน พ.ศ. 2500 นับว่าเป็นเวลานานที่คนไทยไม่รู้จักคัมภีร์นี้ จนกระทั่งพระเทพเมธาจารย์ (เช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ (ต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น พระธรรมคุณาภรณ์) ได้ชำระและจัดพิมพ์เป็นฉบับบาลีอักษรไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยได้รับต้นฉบับบาลีอักษรพม่าจากพระธัมมานันทมหาเถระ ธรรมาจริยะ เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอในปัจจุบัน ที่นำต้นฉบับมาจากประเทศพม่าเมื่อ พ.ศ. 2503[16]

    คัมภีร์นี้มีฉบับแปลหลายฉบับ เท่าที่ทราบมี 4 ฉบับ คือ

    1. ฉบับจิตตภาวัน พระมหาประเทือง สํฆสิริ (ป.ธ.8) แปลไว้ใน พ.ศ. 2522 จัดพิมพ์เผยแพร่หลายครั้งโดยจิตตภาวันวิทยาลัยและวัดท่ามะโอ
    2. ฉบับวัดท่ามะโอ ผศ.มยุรี เจริญ นำฉบับของพระมหาประเทืองมาขัดเกลาสำนวนใหม่จัดพิมพ์ใน พ.ศ. 2544 เนื่องในงานทำบุญฉลองมงคลอายุ 81 ปีของพระธัมมานันทมหาเถระ อัครมหา-บัณฑิต เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง
    3. ฉบับอาจารย์สุรีย์ มีผลกิจ จัดพิมพ์ใน พ.ศ. 2539 โดยนำฉบับของพระมหาประเทืองมาขัดเกลาสำนวนใหม่เช่นกัน
    4. ฉบับ ศ. (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2539 ฉบับนี้มีคำแปลไพเราะสละสลวย มีเชิงอรรถอธิบายข้อความบางแห่งไว้ท้ายเล่ม และจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2544โดยวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ แต่มิได้จัดพิมพ์เชิงอรรถไว้
    5. ฉบับพระคันธสาราภิวงศ์ แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง แปลเมื่อปี 2552 ในชื่อ บทสวดอุปปาตสันติ

    อ้างอิง

    1. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 5
    2. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 5
    3. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 6
    4. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 6
    5. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 6
    6. รศ. สมหมาย เปรมจิตต์. (2545). หน้า 5
    7. Bode, Mabel Haynes. (1909) หน้า 47
    8. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 7
    9. พระธรรมคุณาภรณ์
    10. พระธรรมคุณาภรณ์
    11. พระธรรมคุณาภรณ์
    12. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 11 - 12
    13. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 13
    14. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 14
    15. พระธรรมคุณาภรณ์
    16. พระคันธสาราภิวงศ์ (2552) หน้า 6

    บรรณานุกรม


    • พระคันธสาราภิวงศ์ (2552). "บทสวดอุปปาตสันติ." ลำปาง : วัดท่ามะโอ
    • Bode, Mabel Haynes. (1909). "The Pali literature of Burma." London : Royal Asiatic society.
    • รศ. สมหมาย เปรมจิตต์. (2545). เอกสาร ประกอบการเสวนาเรื่อง "วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาล้านนา" ในการจัดประชุม สัมมนาทางวิชาการเรื่อง "พระพุทธศาสนาในล้านนา" โดยคณะศาสนาและ ปรัชญา ระหว่างวันที่ 20 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์ฝึกอบรม ธนาคารไทยพาณิชย์ ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    • พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปัญโญ ป.ธ.9) อ้างโดย ภฏ ภูปรเศรษฐ์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ (ป.ธ.7). เอกสารเรื่อง "การสวดอุปปาตะสันติมหาสันติงหลวง"
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/อุปปาตะสันติ
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อุปปาตะสันติ

    บทสวดสงบเหตุร้าย

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สามจบ) (นำ) หันทะ มะยัง อุปปาตะสันติ คาถาโย ภะณา มะเส ฯ

    คันถารัมภะ

    คำเริ่มต้นคัมภีร์

    (ก) สุทุททะโส อะยัง ธัมโม โลกัตถัง ชินะเทสิโต

    มหาสันติกะโร โลเก สัพพะสัมปัตติทายะโก.

    (ข) สัพพุปะปาตูสะมะโณ ภูตะยักขะนิวาระโณ

    อะกาละมัจจุสะมะโณ โสกะโรคะวินาสะโน.

    (ค) ปะระจักกะมัททะโนปิ รัญโญ วิชะยะวัฑฒะโน

    สัพพานิฏฐะหะโร สันติ ธัมมัง วักขามิ ภูตะโต.

    (ฆ) วัตถุตตะยัสสะ โย ยัตถะ สังวัณเณติ คุณุตตะเม

    ตัสสะ ตัตถะ สุขาโรค๎ยะ โสตถิโย โหนติสัพพะทา.

    พระพุทธเจ้าในอดีต ๒๘ พระองค์

    ในสารมัณฑกัป ๔ พระองค์

    ๑. ตัณหังกะโร มหาวีโร สัพพะโลกานุกัมปะโก

    วันตะสังสาระคะมะโน สัพพะกามะทะโท สะทา.

    ๒. สัพพาภิภู สัพพะวิทู สัพพะเทวะคะรุตตะโม

    สัพพาสะวะปะริกขีโณ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๓. วะระลักขะณะสัมปันโน เมธังกะโร มหามุนิ

    ชุตินธะโร มหาสิรี สุวัณณะคิริสันนิโภ.

    ๔. ทิพพะรูโป มหากาโย มะหานาโถ มะหัพพะโล

    มะหาการุณิโก สัตถา มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๕. มหาโมหะตะมัง หันตะวา โย นา โถ สะระณังกะโร

    เทวาเทวะมะนุสสานัง โลกานัญจะ หิตังกะโร.

    ๖. พ๎ยามัปปะภาภิรุจิโต นิโครธะปะริมัณฑะโล

    นิโครธะปักกะพิมโพฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๗. อะสีติระตะนุพเพโธ ทีปังกะโร มะหามุนิ

    ปภา นิททาวะเต ตัสสะ ฐาเน ทะวาทะสะ โยชะเน.

    ๘. วัสสะสะตะสะหัสสานิ ฐัตตะวา โลเก วินายะโก

    โลกาโลกะกะโร สัตถา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ในสารกัป ๑ พระองค์

    ๙. อัฏฐาสีติหัตถุพเพโธ โกณทัญโญ นามะ นายะโก

    สัพพะธัมเมหิ อะสะโม สัพพะปาระมิตาคะโม.

    ๑๐. วัสสะสะตะสะหัสสานิ อายุ ตัสสะ มเหสิโน

    โมเจตุ โส สัพพะภะยา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ในสารมัณฑกัป ๔ พระองค์

    ๑๑. อัฏฐาสีติ ระตะนานิ อัจจุคคะโต ชุตินธะโร

    มังคะโล นามะ สัมพุทโธ นะวุติสะหัสสายุโก.

    ๑๒. ฉัพพัณณะรังสิโย ทะสะ สะหัสสะโลกะธาตุยา

    ผะรันตา ตัสสะ ฉาเทนติ เอสะ โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๓. นะวุติระตะนุพเพโธ สุมะโน นามะ นายะโก

    กัญจะนาจะละสังกาโส นะวุติสะหัสสายุโก.

    ๑๔. อุเปโต พุทธะคุเณหิ สัพพะสัตตะหิเตสะโก

    กะโรตุ โน มหาสันติง อาโรคะยัญจะ สุขัง สะทา.

    ๑๕. อะสีติระตะนุพเพโธ สัฏฐีสะหัสสะอายุโก

    เรวะโต นามะ สัมพุทโธ สัพพะโลกุตตะโร มุนิ.

    ๑๖. ตัสสะ สะรีเร นิพพัตตา ปะภามาลา อะนุตตะรา

    ผะรันตา โยชะเน นิจจัง สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๗. โสภิโต นามะ สัมพุทโธ นะวุติสะหัสสายุโก

    สังสาระ สาคะเร สัตเต พะหู โมเจติ ทุกขะโต.

    ๑๘. อัฏฐะปัญญาสะระตะนัง อัจจุคคะโต มะหามุนิ

    โอภาเสติ ทิสา สัพพา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ในวรกัป ๓ พระองค์

    ๑๙. อะโนมะทัสสี สัมพุทโธ เตชัสสี ทุระติกกะโม

    อัฏฐะปัญญาสะระตะโน โอภาเสนโต สะเทวะเก.

    ๒๐. นิพพานะปาปะโก โลเก วัสสะสะตะสหัสสายุโก

    กะโรตุ โน มหาสันติง สุขิตา จะ มะยัง สะทา.

    ๒๑. ปะทุโม นามะ สัมพุทโธ โลกะเชฏโฐ นะราสะโภ

    อัฏฐะปัญญาสะระตะโน อาทิจโจวะ วิโรจะติ.

    ๒๒. วัสสะสะตะสะหัสสานิ อายุ ตัสสะ มเหสิโน

    โสปิ พุทโธ การุณิโก สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๒๓. อัฏฐาสีติระตะนุพเพโธ นาระโท สัพพะกามะโท

    นิรันตะรัง ทิวารัตติง โยชะนัง ผะระเต ปะภา.

    ๒๔. นะวุติวัสสะสะหัสสานิ ฐัต๎วา โลเก วินายะโก

    โมเจติ ทุกขะโต สัตเต โสปิ โสตถิง กะโรตุ โน.

    ในวรกัป ๓ พระองค์

    ๒๕. อัฏฐะปัญญาสะระตะโน ปะทุมุตตะโร มหามุนิ

    ตัสสะ ปากะติกา รังสี ผะรันติ ท๎วาทะสะ โยชะเน.

    ๒๖. วัสสะสะตะสะหัสสานิ ฐัต๎วา โลเกมะตันทะโท

    โมเจติ พันธะนา สัตเต โสปิ ปาเลตุ โน สะทา.

    ๒๗. อัฏฐาสีติระตะนานิ อัจจุคคะโต มหามุนิ

    สุเมโธ นามะ สัมพุทโธ นะวุติสะหัสสายุโก.

    ๒๘. ตัสสะ ปากะติกา รังสี ผะรันติ โยชะนัง สะทา

    ปาเลตุ โน สะทา พุทโธ ภะเยหิ วิวิเธหิ จะ.

    ๒๙. ปัญญาสะระตะนุพเพโธ สุชาโต นามะ นายะโก

    เหมะวัณโณ มะหาวีโร มะหาตะมะวิโนทะโน.

    ๓๐. นะวุติวัสสะสะหัสสานิ อายุ ตัสสะ มะเหสิโน

    โสปิ พุทโธ การุณิโก สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ในวรกัป ๓ พระองค์

    ๓๑. อะสีติระตะนุพเพโธ ปิยะทัสสี มหามุนิ

    นะวุติวัสสะสะหัสสานิ ฐัต๎วา โลกัคคะนายะโก.

    ๓๒. โสปิ สัพพะคุณูเปโต สัพพะโลกะสุขัปปะโท

    สัพพะโทสัง วินาเสนโต สะพัง โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๓๓. อะสีติระตะนุพเพโธ อัตถะทัสสี นะราสะโภ

    วัสสะสะตะสะหัสสานิ โลเก อัฏฐาสิ นายะโก.

    ๓๔. ตัสสะ ปากะติกา รังสี ผะรันติ โยชะนัง สะทา

    นิรันตะรัง ทิวารัตติง นาโถ โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๓๕. ธัมมะทัสสี จะ สัมพุทโธ อะสีติหัตถะมุคคะโต

    อะติโรจะติ เตเชนะ สะเทวาสุระมานุเส.

    ๓๖. วัสสะสะตะสะหัสสานิ ฐัต๎วา โลเก มะหายะโส

    สัพพะสัตเต ปะโมเจติ ภะยา รักขะตุ โน สะทา.

    ในสารมัณฑกัป ๔ พระองค์

    ๓๗. สิทธัตโถ นามะ สัมพุทโธ สัฏฐิระตะนะมุคคะโต

    ติภะเว โสตถิชะนะโก สะติสสะหัสสะอายุโก.

    ๓๘. สังสาระสาคะรา โลเก สันตาเรต๎วา สะเทวะเก

    นิพพาเปติ จะ โส สัตถา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๓๙. สัฏฐิระตะนะมุพเพโธ ติสโส โลกัคคะนายะโก

    อะนูปะโม อะสะทิโส อะตุโล อุตตะโม ชิโน.

    ๔๐. วัสสะสะตะสะหัสสานิ อายุ ตัสสะมะเหสิโน

    อาโรค๎ยัญจะ มหาลุขัง โหตุ โน ตัสสะ เตชะสา.

    ๔๑. อัฏฐะปัญญาสะระตะโน ผุสโส โลกัคคะนายะโก

    ชะนัมพุชัง วิโพเธนโต นิพพาเปนโต สะเทวะเก

    ๔๒. นะวุติวัสสะสะหัสสานิ ฐัต๎วา โลเก มะหายะโส

    อุทธะรันโต พะหู สัตเต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๔๓. อะสีติระตะนุพเพโธ วิปัสสี โลกะนายะโก

    ปะภา นิทธาวะเต ตัสสะ สะมันตา สัตตะ โยชะเน.

    ๔๔. โสปิ เทวะมะนุสสานัง พันธะนา ปะริโมจะยิ

    อะสีติสะหัสสายุโก นาโถ โสตถิง กะโรตุ โน.

    ในมัณฑกัป ๒ พระองค์

    ๔๕. สัตตะตีหัตถะมุพเพโธ สิขี นาเมสะ นายะโก

    ปภา นิทธาวะเต ตัสสะ สะมันตา โยชะนัตตะเย.

    ๔๖. โสปิ อะตุล๎โย สัมพุทโธ สัตตะตีสะหัสสายุโก

    กะโรตุ โน มะหาสันติง สุขิตา จะ มะยัง สะทา.

    ๔๗. เวสสะภู นามะ สัมพุทโธ เหมะรูปะสะมูปะโม

    สัฏฐีิระตะนะมุพเพโธ สัฏฐี จะ สะหัสสายุโก.

    ๔๘. พ๎รัห๎มะเทวะมะนุสเสหิ นาคาสุระทิเชหิ วา

    ปูชิโตปิ สะทา นาโถ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ในภัททกัป ๔ พระองค์

    ๔๙. ตาฬีสะระตะนุพเพโธ กะกุสันโธ มหามุนิ

    ตัสสะ กายา นิจฉะรันติ ปะภา ท๎วาทะสะ โยชะนา.

    ๕๐. จัตตาลฬีสะ สะหัสสานิ ตัสสะ อายุ อะนุตตะโร

    กะโรตุ โส สะทา นาโถ อายุ สุขัง พะลัญจะ โน.

    ๕๑. โกนาคะมะนะ สัมพุทโธ ติงสะหัตถะ สะมุคคะโต

    ติงสะวัสสะ สะหัสสานิ อายุ ตัสสะ มะเหสิโน.

    ๕๒. ธัมมามะเตนะ ตัปเปตา เทวะสังฆัง สุราละเย

    มะหีตะเล จะ ชะนะตัง สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๕๓. กัสสะโป นามะ สัมพุทโธ ธัมมะราชา ปะภังกะโร

    วีสะตีหัตถะมุพเพโธ วีสะสะหัสสะอายุโก.

    ๕๔. อะนูปะโมสะมะสะโม เทวะสัตถา อะนุตตะโร

    กะโรตุ โน มะหาสันติง อาโรค๎ยัญจะ ชะยัง สะทา.

    ๕๕. อัฏฐาระสะหัตถะถุพเพโธ โคตะโม สักกะยะวัฑฒะโน

    สัพพัญญู สัพพะติละโก สัพพะโลกะสุขัปปะโท.

    ๕๖. สัมพุทโธ สัพพะธัมมานัง ภะเคหิ ภาค๎ยะวายุโก

    วิชชาจะระณะสัมปันโน โสตถ๎ยาโรค๎ยัง ทะทาตุ โน.

    ๕๗. อัพภะตีตา จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏิโย

    สัพพะโลกะมะภิญญายะ สัพพะสัตตานุกัมปิโน.

    ๕๘. สัพพะเวระภะยาตีตา สัพพะโลกะสุขัปปะทา

    สัพพะโทสัง วินาเสนตา สัพพะโสตถิง กะโรนตุ โน.

    พระพุทธเจ้าในอนาคต ๑ พระองค์

    ๕๙. อะนาคะเต จะ สัมพุทโธ เมตเตยโย เทวะปูชิโต

    มะหิทธิโก มหาเทโว มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    พระปัจเจกพุทธเจ้า

    ๖๐. สัพเพ ปัจเจกะสัมพุทธา นิโรธะฌานะโกวิทา

    นิราละยา นิราสังกา อัปปะเมยยา มเหสะโย.

    ๖๑. ทูเรปิ วิเนยเย ทิส๎วา สัมปัตตา ตังขะเณนะ เต

    สันทิฏฐิกะผะเล กัต๎วา สะทา สันติง กะโรนตุ โน.

    นวโลกุตตรธรรม ๙ และพระปริยัติธรรม ๑

    ๖๒. ส๎วากขาตะตาทิสัมปันโน ธัมโม สะปะริยัตติโก

    สังสาระ สาคะรา โลเก ตาเรติ ชินะโคจะโร.

    ๖๓. กิเลสะชาละวิทธังสี วิสุทโธ พุทธะเสวิโต

    นิพพานะคะมะโน สันโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    พระสังฆรัตนะ

    ๖๔. สีลาทิคุณะสัมปันโน สังโฆ มัคคะผะเล ฐิโต

    ชิตินท๎ริโย ชิตะปาโป ทักขิเนยโย อะนุตตะโร.

    ๖๕. อะนาสะโว ปะริสุทโธ นิราสาโส ภะวาภะเว

    นิพพานะโคจะโร สันโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ๑๐๘ รูป

    ๖๖. อัญญาตะโกญทัญญัตเถโร รัตตัญญูณังอัคโค อะหุ

    ธัมมะจักกาภิสะมะโย สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๖๗. วัปปัตเถโร มะหาปัญโญ มะหาตะมะวิโนทะโน

    มะหาสันติกะโร โลเก มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๖๘. ภัททิโย ภัททะสีโล จะ ทักขิเนยโย อะนุตตะโร

    โลกัตถะจะริโต เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๖๙. มะหานาโม มหาปัญโญ มะหาธัมมะวิทู สุโต

    มะหาขีณาสะโว เถโร มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๗๐. อัสสะชิตะเถโร มหาปัญโญ ชิตะมาโร ชิตินท๎ริโย

    ชิตะปัจจัตถิโก โลเก สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๗๑. อะนุปุพพิกะถัง สุต๎วา ยะโส เอกัคคะมานะโส

    อัคคะธัมมะมะนุปปัตโต โสตถ๎ยาโรค๎ยัง ทะทาตุ โน.

    ๗๒. จัต๎วาธิกา จะ ปัญญาสะ เถรา คิหิสะหายะกา

    ปัต๎วานะ ปะระมัง สันติง สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๗๓. เย ติงสะ ภัททะวัคคิยา รูเปนาตุละวัณณิโน

    ขีณาสะวา วะสีภูตา เต กะโรนตุ อะนามะยัง.

    ๗๔. อุรุเวลละกัสสะโปปิ มะหาปะริสานะมุตตะโม

    ฐะปิโต อัคคะฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๗๕. โย นะทีกัสสะปัตเถโร ปุญญักเขตโต อะนุตตะโร

    สาสังโฆ สีละสัมปันโน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๗๖. ธัมมะปัชชะลิโต สันโต โย เถโร คะยากัสสะโป

    สังยุตโต ภะวะนิเสนโห สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๗๗. โลกะนาถัง ฐะเปต๎วานะ ปัญญะวันตานะ ปาณินัง

    ปัญญายะ สารีปุตตัสสะ กะลัง นาคฆะติ โสฬะสิง.

    ๗๘. สาริปุตโต มะหาปัญโญ ปะฐะโม อัคคะสาวะโก

    ธัมมะเสนาปะติ เสฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๗๙. ปาทังคุลิกะมัตเตนะ เวชะยันตะปะกัมปะโน

    ปะถะวิง มะหะติง สัพพัง สะมัตโถ ปะริวัตติตุง.

    ๘๐. โมคคัลลาโน มะหาเถโร ทุติโย อัคคะสาวะโก

    อิทธิมันตานัง โส อัคโค สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๘๑. มะหากัสสะปัตเถโรปิ อุตตัตตะกะนะกะสันนิโภ

    ธุตะคุณัค คะ นิกขิตโต ตะติโย สัตถุสาวะโก

    ๘๒. อะรัญญะวาสาภิระโต ปังสุกูละธะโรมุนิ

    สุคะตะสาสะนะธะโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๘๓. อาปัตติอะนาปัตติยา สเตกิจฉายะ โกวิโท

    วินะเย อัคคะนิกขิตโต อุปาลิ สัตถุวัณณิโต.

    ๘๔. วินะเย ปาระมิปปัตโต วินะยัคโคจะโร มุนิ

    กะโรตุ โน มหาสันติง โสตถ๎ยาโรค๎ยัง ทะทาตุ โน.

    ๘๕. อะนุรุทธะ มะหาเถโร ทิพพะจักขู นะมุตตะโม

    ญาติเสฏโฐ ภะคะวะโต โสตถ๎ยาโรค๎ยัง ทะทาตุ โน.

    ๘๖. อุจจากุลิกานัง อัคโค ภัททิโย สุสะมาหิโต

    กาฬิโคธายะ ปุตโต จะ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๘๗. อานันโท พุทธุปัฏฐาโก สังคีติสาธุสัมมะโต

    พะหุสสุโต ธัมมะธะโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๘๘. กิมพิโล สิริสัมปันโน มะหาสุขะสะมัปปิโต

    มะหาขีณาสะโว ชาโต มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๘๙. คะรุวาสัง วะสิต๎วานะ ปะสันโน พุทธะสาสะเน

    ภะคุ จะระหะตัง ปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๙๐. กุลัปปะสาทะชะนะโก กาฬุทายี มะหิทธิโก

    เอตะทัคคัฏฐิโต เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๙๑. เสฏโฐ ธัมมะกะถิกานัง ติณณัง เวทานะ ปาระคู

    ปุณโณ มันตานิยา ปุตโต เถโร โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๙๒. ภาระท๎วาโช มะหาเถโร สีหะนาทานะมุตตะโม

    ฐะปิโต อัคคะฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๙๓. สังขิตตะ ภาสิตะมัตถัง วิตถาเรนะ วิชานะโก

    กัจจายะโน ภะวะนิเสนโห เถโร โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๙๔. ละกุณฏะกะภัททิโย เถโร มัญชุสสะรานะ มุตตะโม

    ฐะปิโต อัคคะฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๙๕. อะระณะวิหารีณัง อัคโค ทักขิเนยโย อะนุตตะโร

    สุภูติ ภูตะทะมะโน เถโร โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๙๖. อะรัญญะวาสีนัง อัคโค เรวะโต ขะทิระวะนิโย

    วิเวกาภิระโต เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๙๗. ณายีนัง อุตตะโม เถโร กังขาเรวะตะนามะโก

    สะมาธิฌานะกุสะโล สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๙๘. โสโณ จะ โกฬิวีโสปิ อารัทธะวีริยานะ มุตตะโม

    ปะหิตัตโต สะทา เถโร โสตถิง ผาสุง กะโรตุ โน.

    ๙๙. กัลยาณะวากกะระณานัง โสโณ กุฏิกัณโณปิ จะ

    อัคโคติ วัณณิโต เถโร โสตถิง ผาสุง กะโรตุ โน.

    ๑๐๐. ลาภีนะมุตตะโม เถโร สีวะลิ อิติ วิสุโต

    โส ระโต ปัจจะยาทิมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๐๑. สัทธาธิมุตตานัง อัคโค วักกะลิ อิติ นามะโก

    ปาโมชชะพะหุโล เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๐๒. ราหุโล พุทธะปุตโตปิ สิกขากามานะ มุตตะโม

    ทายาโท สัพพะธัมเมสุ มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๐๓. สัทธายะ ปัพพะชิต๎วานะ รัฏฐะปาโล ปะรักกะมี

    เอตะทัคเค ฐิโตเยวะ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๐๔. กุณฑะธาโน มะหาเถโร สะลากัง ปะฐะมัง คะโต

    ฐะปิโตเยวะ ฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๐๕. ปะฏิภานะวันตานัมปิ อัคโคติ พุทธะวัณณิโต

    วังคีโส อะระหา เสฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๐๖. สะมันตะปาสาทิกานัง อัคคัฏฐานัมหิ ฐะปิโต

    อุปะเสโน วังคันตะปุตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๐๗. ทัพโพ มัลละปุตโต เถโร เสนาสะนะปัญญาปะโก

    ฐะปิโต อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๐๘. ปิลินทะวัจฉะสะมะโณ เทวะตานัง ปิโย อะหุ

    ฐะปิโต อัคคัฏฐานัมหิ โสตถ๎ยาโรค๎ยัง ทะทาตุ โน.

    ๑๐๙. พาหิโย ทารุจีริโย ขิปปาภิญญานะ มุตตะโม

    กะโรตุ โน มะหาสันติง อาโรค๎ยัญจะ ชะยัง สะทา.

    ๑๑๐. กุมาระกัสสะปัตเถโร จิตตะกะถีนะ มุตตะโม

    มิจฉาวิตักกุปัจเฉโท สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๑๑. ปฏิสัมภิทาปัตตานัง อัคคัฏฐานัมหิ ฐะปิโต

    โกฏฐิโต อะระหา เสฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๑๒. อัปปาพาโธ มะหาเถโร อัปปาพาธานะ มุตตะโม

    พากุโล อะระหา ชาโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๑๓. ปุพเพนิวาสะเวทีนัง อัคโคติ พุทธะวัณณิโต

    โสภิโต นามะโส เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๑๔. มหากัปปินัตเถโรปิ ภิกขุโอวาทะโก อะหุ

    กุสะโล โอวาททะทาเน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๑๕. ภิกขุโนวาทะกานัค โค นันทะโก อิติ วิสสุโต

    ปาเลตุ โน สะทา เถโร โสตถิง ผาสุง กะโรตุ โน.

    ๑๑๖. อินท๎ริเยสุ คุตตะท๎วาโร อัคคัฏฐาเน ฐิโต อะหุ

    นันทัตเถโร วะสิปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๑๗. เตโชธาตุกุสะลานัง อัคคัฏฐานัมหิ ฐะปิโต

    สาคะโต นามะ โส เถโร โสตถิง ผาสุง กะโรตุ โน.

    ๑๑๘. สัญญาวิวัฏฏะกุสะโล ปะธาโน ภาวะนาระโต

    พุทธะสิสโส มหาปันโถ มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๑๙. จูฬะปันถะกัตเถโรปิ มะโนมะยาภินิมมิโต

    ฐะปิโต อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๒๐. ปฏิภาเนยยะกานัง ตุ อัคคัฏฐานัมหิ ฐะปิโต

    ราโธ เถโร มหาโสตถิง กะโรตุ โน อะนามะยัง.

    ๑๒๑. ลูขะจีวะระธะรานัง ภิกขูนัง อุตตะโม อะหุ

    โมฆะราชะมะหาเถโร มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๒๒. วิมะโล วิมะสัปปัญโญ สุรูโป สุสะมาหิโต

    ระโช นะ ลิมปะติ ขันเธ มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๒๓. ธัมมะปาโล มะหาปาโล มะหาธัมมะธะโร ยะติ

    มะหาขีณาสะโว โลเก มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๒๔. จักขุปาโล มะหาเถโร ปะธาโน สีละสังวุโต

    ปะหิตัตโต มะหากาโย มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๒๕. สัพพะเวระภะยาตีโต นาระโท อาสะวักขะโย

    มหาสันติกะโร โลเก สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๒๖. พุทธะปูชายะ นิระโต ชินะภัตติปะรายะโน

    สัทธัมมะสะวะโน เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๒๗. ปัจฉิมะภะวะสัมปัตโต โคตะโม ภาวะนาระโต

    ราคักขะยะมะนุปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๒๘. เสนาสะเนสุ สัปปายัง สัทธา ฌานัง สะมาระภิ

    โคธิโก พุทธะฌายันโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๒๙. พุทเธ ปะสันนะมานะโส สุพาหุ ปัญชะลีกะโต

    ขีณาสะโว วะสีภูโต มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๓๐. วิปัสสะนายะ ปะสุโต วัลลิโย สุสะมาหิโต

    สะโต ณายี วะเนวาสี สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๓๑. อุตติโย วินะยะธะโร อะติกกันโต นะรามะเร

    ธาเรณโต อันติมัง เทหัง สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๓๒. วิมะโล วิระโชชัลโล ชาโต ปัญฑะระเกตุนา

    พิมพิสารัทธะโช เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๓๓. รัมมารัญเญ วะสีต๎วานะ ภาเวนโต กุสะลัง พะหุง

    โยคักเขมะมะนุปปัตโต สะภิโย สันติง กะโรตุ โน.

    ๑๓๔. ปุพเพนิวาสัง ชานันโต ทิพพะจักขุ วิโสธะโน

    นาคีโตระหะติง ปัตโต โสตถ๎ยาโรค๎ยัง ทะทาตุ โน.

    ๑๓๕. ปาติโมกขะมะนุปปัตโต วิชะโย รัญญะโคจะโร

    ลาภาลาภี ตะถาสังสี สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๓๖. ตัณหาชะฏัง วิชะเฏต๎วา วัฑเฒต๎วานะ วิปัสสะนัง

    สังฆรักขิโต มะหาเถโร มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๓๗. อะรัญญะวาสาภิระโต ภะวะเนตติสะมูหะโต

    ธัมมานัง ปาระมิปปัตโต อุตตะโร ปาตุ โน ภะยา.

    ๑๓๘. ปุพเพ ปุญญานิ กัต๎วานะ ปุพพะโยคัง สะมาระภิ

    อุสสะโภ ระหะตัง ปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๓๙. สะมาปัตติ สะมาปันโน ฉะฬะภิญโญ มหิทธิโก

    สิวะโก พุทธะฌายันโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๔๐. สัตตาริยะธะโน เถโร ธะนิโย ธัมมะสาคะโร

    วันตะสังสาระคะมะโน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๔๑. ปัญจักขันเธ ปะริญญายะ ภาวะยิต๎วานะ นิพพุตัง

    ปัต๎วานะ ปะระมัง สันติง โปสิโย ปาตุ โน ภะยา

    ๑๔๒. อุปะนิสสะยะสัมปันโน อุชชะโย พุทธะมามะโก

    โลกัตถะปะสุโต เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๔๓. พุทธัปปะสาทะสัมปันโน ปัพพะชิ ชินะสาสะเน

    สัญชะโย นามะ โส เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๔๔. มารัญชะโย มะหาเถโร รามะเณยโย มะหิทธิโก

    นิพพานะนินนะจิตโต โส สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๔๕. อุโภ ปาปัญจะ ปุญญัญจะ วีติวัตโต อะนาสะโว

    วีรัตเถโร ระหัปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๔๖. ปุณณะมาสะมะหาเถโร ปังสุกูละธะโร ยะติ

    ปุพพะกิจจะวิธิง กัต๎วา มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๔๗. ปัญจะฉินโน ปัญจะชะโห ปัญจะ จุตตะริภาวะโน.

    ปัญจะสังคาติโค เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๔๘. ปุพเพ ราคัง วิจาเรนโต ชินะภัตติปะรายะโน

    เพลัฏฐะสีโส วังสะธะโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๔๙. ปัญจุปันนานิ อะภะโย นิกันติ นัตถิ ชีวิเต

    อะชิโต โส มะหาเถโร มหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๕๐. วิวัฏฏะนิสสะเย ปุญเญ กัต๎วา สัมพุทธะภัตติมา

    กุลลัตเถโร ระหัปปัตโต มหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๕๑. วิปัสสี ธัมมะทายาโท เถโร นิโค๎รธะนามะโก

    นิพพานาคะมะสันทิฏโฐ สะทา สันติง กะโรตุ โน.

    ๑๕๒. ติสโส วิชชา อะนุปปัตโต สุคันโธ นามะ โส ระโห

    สัพพะปาปะปะริกขีโณ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๕๓. นันทิโย สัทธาสัมปันโน ชิตะเกลโส มะหาเถโร

    อะภิญญา ปาระมิปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๕๔. กิเลสา ฌาปิตา เยนะ ชิตะธัมมะระเตนะ โส

    กัมมาระปุตตะวิมะโล สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๕๕. เทวะโลกะมะนุสเสสุ อะนุภุต๎วา วิภูติโย

    ติสสัตเถโร มะหาภูโต มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๕๖. สุวิมุตโต มะหานาโค ตีหิ วังเกหิ มุตตะโก

    สุมังคะโล มะหาเถโร มะหาสันติง กะโรตุ โน.

    ๑๕๗. นิรัคคะโฬ นิราสาโส มะละขีละวิโสธะโน

    วิเวกาภิระโต คุตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๕๘. ปะวิเวกะมะนุปปัตโต คิริมานันทะนามะโก

    ภาเวนโต กุสะเล ธัมเม สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๕๙. พุทธะสาสะนะมารัทโธ สะมิทธิ ภาวะนาระโต

    สะมิทธิคุณะสัมปันโน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๖๐. อาราธิตะชิโน สันโต โชติตเถโร มหาระหา

    วิมุตโต สัพพะสังสารา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๖๑. เสนาสะนานิ ปันตานิ เสวันโต ฌานะมาระภิ

    ฉะฬะภิญโญ มะหาจุนโท สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๖๒. ฉันนัตเถโร สะหะชาโต สุณันโต ชินะสาสะนัง

    โยคักเขมะมะนุปปัตโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๖๓. เมฆิโย พุทธุปัฏฐาโก ชินะภัตติปะรายะโน

    มิจฉาวิตักกุปัจเฉโท สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๖๔. อุปะวาโณ มะหาเถโร มะหากาโย มะหาระหา

    มะหิทธิโก มะหาเตโช สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๖๕. สังกิจโจ โจระฑะมะโน สัพพะสังโยชะนักขะโย

    ปาเลตุ โน สัพพะภะยา โสตถ๎ยาโรค๎ยัง ทะทาตุ โน.

    ๑๖๖. ปัญหะพ๎ยากะระเณ เฉโก เมตตาฌานะระโต ยะติ

    โสปาโกปายะสัมปันโน สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๖๗. เขตตะสัมปัตติสัมปัตโต วัฑฒะมาโนวะ โสตถินา

    สุมะโน อะระหา ชาโต สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๖๘. ปิโย เทวะมะนุสสานัง สานุตเถโร พะหุสสุโต

    เมตตาฌายี ตะโมฆาตี สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๖๙. โย จะ ปุพเพ กะตัง ปาปัง กุสะ เลนะ ปะหียะติ

    อังคุลิมาโล โส เถโร สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๗๐. วิปัสสะนาธะรา เยปิ เถรา สะมะถะยานิกา

    ขีณาสะวา มะหาเตชา มะหาตะมะวิโนทะนา.

    ๑๗๑. ฌานิกาฌานิกา เยปิ ธัมมาภิสะมะยาทะโย

    สัพเพ โสตถิง สะทา เทนตุ ชะยะมาโรค๎ยะมายุโน

    พระเถรีชั้นผู้ใหญ่ ๑๓ รูป

    ๑๗๒. รัตตัญญูณัง ภิกขุนีนัง โคตะมี ชินะมาตุจฉา

    ฐะปิตา อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๗๓. มะหาปัญญานะมัคคัฏฐา เขมาเถรีติ ปากะฏา

    สาวิกา พุทธะเสฏฐัสสะ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๗๔. เถรี อุปปะละวัณณา จะ อิทธิมันตีนะ มุตตะมา

    สาวิกา พุทธะเสฏฐัสสะ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๗๕. วินะยัทธะรีนัง อัคคา ปะฏาจาราติ วิสสุตา

    ฐะปิตา อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๗๖. ธัมมะกะถิกะปะวะรา ธัมมะทินนาติ นามิกา

    ฐะปิตา อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๗๗. ฌายิกานัง ภิกขุนีนัง นันทา เภรีติ นาเมสา

    อัคคัฏฐาเน ฐิตา อะหุ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๗๘. อารัทธะวีริยานัง อัคคา โสณาเถรีติ นามิกา

    ฐะปิตา ตัตถะ ฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๗๙. ทิพพะจักขุกานัง อัคคา พะกุลา อิติ วิสสุตา

    วิสุทธะนะยะนา สาปิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๘๐. กุณฑะละเกสี ภิกขุนี ขิปปาภิญญานะมุตตะมา

    ฐะปิตาเยวะ ฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๘๑. เถรี ภัททะกาปิลานี ปุพพะชาติมะนุสสะรี

    ตาสังเยวะ ภิกขุนีนัง อัคคา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๘๒. เถรี ตุ ภัททะกัจจานา มะหาภิญญานะมุตตะมา

    ชิเนนะ สุขะทุกขัง สา สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๘๓. ลูขะจีวะระธารีนัง อัคคา กิสาปิ โคตะมี

    ฐะปิตา อัคคัฏฐานัมหิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๑๘๔. สิงคาละมาตา ภิกขุนี สัทธาธิมุตตานะ มุตตะมา

    กะโรนตุโน มะหาสันติง อาโรคะยัญจะ สุขัง สะทา.

    ๑๘๕. อัญญา ภิกขุนิโย สัพพา นานาคุณะธะรา พะหู

    ปาเลนตุ โน สัพพะภะยา โสกะโรคาทิสัมภะวา.

    ๑๘๖. โสตาปันนาทะโย เสกขา สัทธาปัญญาสีลาทิกา

    ภาคะโส เกลสะทะหะนา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    พญานาค

    ๑๘๗. สุมะโน สุมะนะจะโล อะระวาเฬระปัตตะโก

    จัมเปยโย มุจะลินโท จะ กัมพะโล ภุชะคิสสะโร.

    ๑๘๘. กาละนาโค มะหากาโฬ สังขะปาโล มะโหทะโร

    มะณิกัณโฐ มะณิอัคขิ นันทะนาโคปะนันทะโก.

    ๑๘๙. วะรุโณ ธะตะรัฏโฐ จะ กุงคุวิโล ปะลาละโก

    จิต๎ระนาโค มะหาวีโร ฉัพ๎ยาปุตโต จะ วาสุกี.

    ๑๙๐. กัณหาโคตะโม ภุชะนินโท อัคคิธูมะสิโข ตะถา

    จูโฬทะโร อะหิจฉัตโต นาคา เอราปะถาทะโย.

    ๑๙๑. อาสิวิสา โฆระวิสา เย สัพเพ นะยะนาวุธา

    ชะลัฏฐา วะ ถะลัฏฐา วา ปัพพะ เตยยา นะทีจะรา

    กะโรนตุ โน มะหาโสตถิง อายุมาโรคิยัง สะทา.

    เปรต

    ๑๙๒. นิชฌามะตัณหิกา เปตา อุสุสัตติ จะ โลมะกา

    มังสะปิณฑาทะโย เปตา เปตา เวมานิกาทะโย

    ปาเลนตุ โน สัพพะภะยา สะทา เต สุขิโน สะทา.

    อสูร

    ๑๙๓. เย ปะหาราทะสัมพะรา พะละยาสุระคะณา จะ เย

    เวปะจิตตาสุระคะณา จันทาสุระคะณาทะโย.

    ๑๙๔. สัพเพ เตปิ มหาเตชา ภูตะยักขะนิวาระณา

    กะโรนตุ โน มะหาโสตถิง อาโรคะยัญจะ ชะยัง สะทา.

    เทวดา

    ๑๙๕. เย ยักขา สัตตะสะหัสสา ภุมมา กาปิละวัตถุกา

    อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสสิโณ.

    ๑๙๖. สัพเพ ติสะระณา ยักขา มะเหสักขา ชุตินธะรา

    กะโรนตุ โน มะหาโสตถิง อาโรคะยัญจะ ชะยัง สะทา.

    ๑๙๗. ฉะสะหัสสา เหมะวะตา ยักขา นานัตตะวัณณิโน

    พุทธะปูชายะ นิระตา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๑๙๘. สาตาคิรา ติสะหัสสา ยักขา นีลาทิวัณณิโน

    นานาปะภายะ สัมปันนา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๑๙๙. เวสสามิตตา ปัญจะสะตา ยักขา นานัตตะวัณณิโน

    อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโณ

    โมทะมานา อะภิกกามุง สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๐๐. กุมภีโร ราชะคะหิโก เวปุลลัสสะนิเวสะนัง

    ภิยโย นัง สะตะสะหัสสัง ยักขานัง ปะยิรุปาสะติ

    โส ยักเขหิ ปะริวาโร สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๐๑. ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ

    คันธัพพานัง อะธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส.

    ๒๐๒. ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา

    โส ราชา สะหะ ปุตเตหิ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๐๓. ทักขินัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัง ปะสาสะติ

    กุมภัณฑานัง อะธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส.

    ๒๐๔. ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา

    วิรุฬโห สะหะ ปุตเตหิ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๐๕. ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ

    นาคานัญจะ อะธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส.

    ๒๐๖. ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา

    วิรูปักโข สะปุสเตหิ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๐๗. อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัง ปะสาสะติ

    ยักขานัญจะ อะธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส.

    ๒๐๘. ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา

    กุเวโร สะหะ ปุตเตหิ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๐๙. ปุริมัง ทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก

    ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง.

    ๒๑๐. จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา

    ทัททัฬหะมานา อัฏฐังสุ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๑๑. เตสัง มายาวิโน ทาสา อาคุง วัญจะนิกา สะฐา

    มายา กุเฏณฑุ เวเฏณฑุ วิตุจจะ วิตุโฏ สะหะ.

    ๒๑๒. จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ

    ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ เทวะสูโต จะ มาตะลิ.

    ๒๑๓. จิตตะเสโน จะ คันธัพโพ นะโฬราชา ชะโนสะโภ

    วะโร ปัญจะสิโข เจวะ ติมพะรู สุริยะวัจฉะสา.

    ๒๑๔. เอเต จัญเญ จะ ราชาโน คันธัพพา จะ มะหัพพะลา

    โมทะมานา สะทา โสตถิง โน กะโรณตุ อะนามะยัง.

    ๒๑๕. มะหันตา นาคะสา นาคา เวสาลา สะหะ ตัจฉะกา

    กัมพะลัสสะตะรา จาปิ เมรูปาทะสิตา พะลา.

    ๒๑๖. ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ สัพเพ นาคา ยะสัสสิโน

    เอราวะโณ มะหานาโค โน กะโรณตุ อานามะยัง.

    ๒๑๗. มะหิทธิกา สุปัณณา เย นาคะราเช มะหัพพะเล

    คะเหตตะวา ชินะเขตเตวะ ปักขันทิงสุ นะเภ พะลา.

    ๒๑๘. ปะฐัพ๎ยาโป จะเตโช จะ วาโย เทวา มะหิทธิกา

    อุปะจาเรนะ นิพพัตตา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๑๙. วะรุณา วาระณา เทวา โสโม จะ ยะสะสา สะหะ

    เมตตาการุณิกา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๒๐. ปัณณาสะโยชะนายาเม วิมาเน ระตะนามะเย

    ฐิโต ตะเม วิหันตะวานะ สุริโย โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๒๒๑. จันโท สีตะกะโร โลเก ปะภายุชชะลิโตทะโย

    มะหันธะการะวิทธังสิ สะทา โสตถิง กะโรตุ โน.

    ๒๒๒. เวณฑู จะ สะหัสสี เทวา อะสะมา จะ ทุเว ยะมา

    จันทัสสูปะนิสา เทวา เทวาสูริยะนิสสิตา

    พุทธัสสะ มามะกา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๒๓. นักขัตตานิ ปุรักขิต๎วา เทวา มันทะวะลาหะกา

    สักโก ปุรินทะโท เสฏโฐ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๒๔. มะหันตา สะหะภู เทวา ชะละมัคคิสิขาริวะ

    อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ อุมาปุปผะนิภาสิโน.

    ๒๒๕. วะรูณา สะหะธัมมา จะ อัจจุตา จะ อะเนชะกา

    สุเลยยะรุจิรา เทวา เทวา วาสะวะเนสิโน

    ทะเสเต ทะสะธา กายา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๒๖. สะมานา มะหาสะมานา มานุสา มานุสุตตะมา

    ขิฑฑาปะโทสิกา เทวา เทวา มะโนปะโทสิกา.

    ๒๒๗. อะถาปิ หะระโย เทวา เทวา โลหิตะวาสิโน

    ปะระคา มะหาปาระคา สัพเพ เทวา ยะสัสสิโน

    ทะเสเต ทะสะธา กายา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๒๘. สุกกา กะรุมหา อะรุณา อาคุง เวฆะนะสา สะหะ

    โอทาตะคัยหา ปาโมกขา อาคุง เทวา วิจักขะณา.

    ๒๒๙. สะทามัตตา หาระคะชา มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน

    ถะยะนัง อาคะปัชชุนโน โย ทิสาสะวะภิวัสสะติ.

    ๒๓๐. ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน

    อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน

    โมทะมานา ชินะทานา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๓๑. โลกะธาตุสะหัสเสสุ ทะสะเสววะ สะมันตะโต

    เทวาทะโย ปาณะคะนา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๓๒. เขมิยา กัฏฐะกายา จะ โชตินามา มะหิทธิกา

    ลัมพีตะกา ลามะเสฏฐา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๓๓. ชะลัฏฐา จะ ถะลัฏฐัญเญ เทวากาสัฏฐะกาทะโย

    ยักขะคันธัพพะกุมภัณฑา ปิสาจา เย มะโหระคา

    เมตตะจิตตา จะ สัพเพ เต โสตถิง ผาสุง กะโรนตุ โน.

    ๒๓๔. ตาวะติงสา จะ เย เทวา ยามา เทวา มะหิทธิกา

    ตุสิตา จะ มะหา เทวา นิมมานะระติโนมะรา.

    ๒๓๕. วะสะวัตตีสุ ระติโน สัพเพ เทวา สะวาสะวา

    พุทธะปูชายะ นิระตา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    พรหม

    ๒๓๖. พ๎รัห๎มาโน ปาริสัชชา จะ เย จะ พ๎รัห๎มะปุโรหิตา

    มะหาพ๎รัห๎มา จะ สัพเพ เต ปะฐะมัชฌานะสัณฐิโน.

    ๒๓๗. เมตตาวิหาริโน สันตา สัมพุทธัสสะ ปะรายะนา

    กะโรนตุ โน มะหาโสตถิง เสกขาเสกขะปุถุชชะนา.

    ๒๓๘. ปะริตตาภัปปะมาณาภา พ๎รัห๎มา จาภัสสะรา ตะถา

    พุทธะปูชายะ นิระตา ทุติยัชฌานะสัณฐิโน.

    ๒๓๙. เมตตาการุณิกา สัพเพ สัพพะสัตตะหิเตสิโน

    กะโรนตุ โน มะหาสันติง โสตถิมาโรค๎ยะมายุวัง.

    ๒๔๐. ปะริตตะสุภาพ๎รัห๎มาโน อัปปะมาณะสุภา จะ เย

    สุภะกิณหา จะ พ๎รัห๎มาโน ตะติยัชฌานะสัณฐิโน.

    ๒๔๑. ปะภายะ ผะระณา โลเก พุทธะฌานะระตา สะทา

    อะหิงสา สัพพะสัตเตสุ สะทา สันติง กะโรนตุ โน.

    ๒๔๒. เวหัปผะลาปิ พ๎รัห๎มาโน จะตุถถัชฌานะสัณฐิโน

    เสกขะปุถุชชะนาเสกขา สะทา สันติง กะโรนตุ โน.

    ๒๔๓. สัมปัตติยา นะ หายันติ พ๎รัห๎มาโน ชินะสาวะกา

    อะวิหานามะกา สัพเพ สะทา สันติง กะโรนตุ โน.

    ๒๔๔. อะตัปปา นามะ พ๎รัห๎มาโน จะตุถถัชฌานะสัณฐิโน

    พ๎รัห๎มะวิหาริกา สัพเพ โสตถิง ผาสุง กะโรนตุ โน.

    ๒๔๕. สุทัสสา นามะ พ๎รัห๎มาโน ภิรูปา ฌานะโภคิโน

    อะปุนาคะมะนา กาเม สันติง ผาสุง กะโรนตุ โน.

    ๒๔๖. พ๎รัห๎มะวิหาระสัมปันนา ชินะภัตติปะรายะนา

    พ๎รัห๎มาโน สุทัสสี นามะ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๔๗. อะกะนิฏฐา จะ พ๎ร้ห๎มาโน เชฏฐา สัพพะคุเณหิ จะ

    ปะหีนะภะวะนิเสนหา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๔๘. ปะฐะมารูปะพ๎รัห๎มาโน สัพพะรูปะวิราคิโน

    ชินะภัตติระตา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๔๙. ทุติยารูปะพ๎รัห๎มาโน เหฏฐาฌานะวิราคิโน

    ชินะภัตติระตา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๕๐. ตะติยารูปะพ๎รัห๎มาโน เหฏฐาฌานะวิราคิโน

    ชินะภัตติระตา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๕๑. จะตุตถารูปะพ๎รัห๎มาโน เหฏฐาฌานะวิราคิโน

    ชินะภัตติระตา สัพเพ สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    บุคคลประเภทรวม

    ๒๕๒. เวเทเหปะระโคยาเน ชัมพูทีเป กุรุมหิ จะ

    เทวะยักขะปิสาเจหิ สัทธิง วิชชาธะราทะโย.

    ๒๕๓. อากาสัฏฐา จะ พ๎รัห๎มาโน ชะลัฏฐา จันตะลิกขะชา

    ทะวิปะทาทะโย เย สัตตา สะทา โสตถิง กะโรนตุ โน.

    ๒๕๔. มาระเสนะวิฆาตัสสะ ชินัสสะ สุขะฌายิโน

    เตโชพะเลนะ มะหะตา สะทา มังคะละมัตถุ โน.

    ๒๕๕. นานาคุณะวิจิตตัสสะ รูปะกายัสสะ สัตถุ โน

    สัพพะเทวะมะนุสสานัง มาระพันธะวิโมจิโน

    เมตตาพะเลนะ มะหะตา สะทา มังคะละมัตถุ โน.

    ๒๕๖. สัพพัยญุตาทิกายัสสะ ธัมมะกายัสสะ สัตถุโน

    จักขาทะยะโคจะรัสสาปิ โคจะรัสเสวะ ภูริยา

    เตโชพะเลนะ มะหะตา สัพพะ มังคะละมัตถุ โน.

    ๒๕๗. รูปะกายะสะทิสัสสะ นิมมิตัสสะ มะเหสิโน

    ธัมมัสสะ วัตตุโน สัคเค เทวานัง สุคะตา ปะติ

    เตโชพะเลนะ มะหาตา สะทา มังคะละมัตถุ โน.

    ๒๕๘. สิกขิต๎วา มานุเส เทเว โมจะวิต๎วา สะเทวะเก

    สังขาเร ปะชะหันตัสสะ นิพพุตัสสะ มะเหสิโน

    มหันเตนานุภาเวนะ สัพพะ มังคะละมัตถุ โน.

    ๒๕๙. จะตุราสีติสะหัสสะ ธัมมักขันธัสสะ เตชะสา

    นะวังคะสาสะนัสสาปิ นะวะโลกุตตะรัสสะ จะ

    สัพพะปาปะปะวาเหนะ สัพพะ มังคะละมัตถุ โน.

    ๒๖๐. มะหะโตริยะสังฆัสสะ ปัญญักเขตตัสสะ ตาทิโน

    ปะหีนะสัพพะปาปัสสะ สีลาทิกขันธะธาริโณ

    มะหาเตชานุภาเวนะ สัพพะ มังคะละมัตถุ โน.

    ๒๖๑. ปาตาเล ภูตะลากาเส เทวะยักขะปิสาจะกา

    วิชชาธะรา จะ คันธัพพา นาคะกุมภัณฑะรักขะสา

    สัพเพสะมานุภาเวนะ สัพพะ มังคะละมัตถุ โน.

    อานุภาพของอุปปาตะสันติ

    ๒๖๒. อิจเจวะมุปปาตะสันติง โย วะเทยยะ สุเณยยะ วา

    วิเชยยะ สัพพะปาปานิ วุทธัตตัญจะ ภะวิสสะติ.

    ๒๖๓. โสตถิกาโม ละเภ โสตถิง สุขะกาโม สุขังละเภ

    อายุกาโม ละเภยยายุง ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง.

    ๒๖๔. นะ ตัสสะ โรคา พาเธนติ วาตะปิตตาทิสัมภะวะ

    อะกาละมะระณัง นัตถิ นะ เทโว วิสะโมสะเร.

    ๒๖๕. นะ จุปปาตะภะตัง ตัสสะ ดนปี ปัตตะภะยัง ตะถา

    นัสสันติ ทุนนิมิตตานิ ปาปะกัมมัฏฐิตานิ จะ

    ทีฆะมายุ มะหาโสตถิง อาโรค๎ยัญจะ สะทา ภะเว.

    ๒๖๖. โย สุต๎วาปิ มะหาสันติง สังคามัง ปะวิเส นะโร

    วิชะเย เวริโน สัพเพ นะ สัตเถหะยะภิภูยะเต.

    ๒๖๗. สัพพะทา ละภะเต ปิติง นะวิปัตติง นาวะคาหะติ

    โรเคหิ นาภิภูยะเต สะวัตถูหิ วิวัฑฒะเต.

    ๒๖๘. ยัต๎ระ เทเส วะโกวะกา พาฬหะกา รักขะสาทะโย

    อุปปาตะสันติโฆเสนะ สัพเพ ตัตถะ สะมันติ เต.

    ๒๖๙. ยะมุททิสสะ วะเท สันติง สะชีวัญจาปะยะชีวิตัง

    โส มุจจะเต มะหาทุกขา ปัปโปติ สุคะติง สะทา.

    ๒๗๐. เทวัฏฐาเน นาคะเร วา นิจจะมุปปาตะสันติยา

    ปาละกา เทวะราชาโน เตชะสิรีวิวัฑฒะนา.

    ๒๗๑. ปะถะพะยาปาทิสัญชาตา อุปปาตา จันตะลิกขะชา

    อินทาทิชะนิตุปปาตา ปาปะกัมมะสะมุฏฐิตา

    สัพพุปปาตา วินัสสันติ เตชะสุปปาตะสันติ.

    อุปปาตะสันติ นิฏฐิตาฯ

    จบอุปปาตะสันติ

    มนต์สำหรับระงับเหตุร้ายทั้งปวง

    ที่มา แก้ไข
    จากกระทู้ของคุณ Fourthman บนเว็บ พลังจิตดอทคอม

    หมายเหตุ

    เนื่องจากประวัติของพระคัมภีร์อุปปาตะสันติ มีผิดเพี้ยนเล็กน้อยตรงวรรคที่ "คัมภีร์อุปปาตะสันติ เป็นวรรณคดีบาลีลานนาไทย พระสีลวังสะมหาเถระ แต่งที่เชียงใหม่ สมัยกรุงศรีอยุธยา " ข้าพเจ้าจึงขอแก้ไข พร้อมกับอธิบายไว้สักเล็กน้อย ในสมัยนั้น อาณาจักรล้านนา ซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี หรือเมืองหลวงของล้านนาประเทศ ยังเป็นอาณาจักรมหาอำนาจ เทียบเท่าอยุธยา มีพระมหากษัตริย์ ภาษาพูด ภาษาเขียน ตลอดจนประเพณี และวัฒนธรรมชัดเจน ยังมิได้ รวมเป็นแผ่นดินเดียวกับอาณาจักรอยุธยา และยังไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของพม่า (เพราะสมัยนั้น อาณาจักรพุกามเพิ่งฟื้นฟู หลังจากถูกมองโกล เข้าตี และช่วงนั้น พม่ายังต้องมาส่งบรรณาการให้ล้านนาอยู่เสมอ) เพราะฉะนั้น จะบันทึกลงไปว่า "แต่งขึ้นในสมัยอยุธยา" ไม่ค่อยจะถูกต้องนัก ที่ถูกต้องควรจะบันทึกไว้ว่า "แต่งขึ้นในสมัยล้านนา" ควรจะถูกต้องเป็นที่สุด เพราะคัมภีร์อุปปาตะสันติ มิได้แต่งที่ อยุธยา หากแต่งขึ้นที่ เชียงใหม่เมืองหลวงแห่งล้านนา ถึงแม้ จะอยู่ในยุคเดียวกันก็ตามที (ไม่ได้ สื่อไปในทางที่ก่อให้เกิดความแตกแยกแต่ประการใด เพียงแค่ ชี้แจงไว้ในฐานที่เข้าใจเท่านั้น)

    https://th.m.wikisource.org/wiki/อุปปาตะสันติ
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แต่งงานสไตล์ new normal
    ติดภาพแขกกับพนักเก้าอี้แทน

    เฟซบุ๊คkiccha buranond คนไทยในสหรัฐอเมริกา โพสต์ภาพและข้อความ COVID-19/Wedding Style in San Francisco. ว่า เพราะห้ามไม่ให้มีการชุมนุมกัน หนุ่มสาวคู่นี้จึงแต่งงานกันโดยไม่มีแขก ได้แต่ปิดภาพของแขกทั้งหลายที่ถูกเชิญไว้กับพนักเก้าอี้ของโบสถ์

    ในโบสถ์มีก็แต่บ่าวสาวและญาติสนิท มีพีธีทางศาสนาก็ตาม แต่ก็มีการใช้วิธี livestream พิธีทั้งหมด ทางอินเตอร์เน็ต ถ่ายทอดสดเพื่อส่งถึงเพื่อนฝูงและญาติพี่น้อง

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #สภาพอากาศโลก
    // พายุ ลมกรรโชก รุนแรงในสเปน.//
    05/05/20
    มีการแจ้งเตือนจากเจ้าหน้าที่อย่างจริงจัง เกี่ยวกับลมแรง สิ่งนี้เกิดขึ้นในวันนี้ใน #Getxo #Bilbao ประเทศ #สเปน
    ความจริงมีการประกาศเตือนตั้งแต่เมื่อวานและมีการแจ้งเตือนสำหรับการเข้าสู่ Galerna (พายุที่มีลมกระโชกแรง)

    Via @ MichaelDeLocks1
    #Watchers

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #ข่าวภัยพิบัติ #สภาพอากาศโลก
    05/05/20
    ลมกรรโชกที่รุนแรง (พายุ) วันนี้ทางตอนเหนือของประเทศสเปน #Spain
    ลมกระโชกแรงของ #wind พัดหลังคาปลิวและล้มต้นไม้ขนาดใหญ่ใน #Bilbao โชคดีที่พวกเขาไม่ได้รายงานการบาดเจ็บใด ๆ
    เครดิต @ Asiersangar
    #Watchers
     

แชร์หน้านี้

Loading...