ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Climate State


    ปรอทวัดอุณหภูมิ สูงถึง 16 องศาเซลเซียส (60.8 องศาฟาเรนไฮต์) สูงกว่าปกติสำหรับเวลานี้ของปีสำหรับออสเตรเลียภาคใต้, กับหลายเมืองที่กำหนดบันทึกใหม่ ในเดือนธันวาคมใหม่, กรมอุตุนิยมวิทยาบอกว่าวันศุกร์


    https://www.france24.com/en/20181228-australia-swelters-record-breaking-heatwave


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Big Wobble


    การเพิ่มขึ้นของภูเขาไฟ! กิจกรรมภูเขาไฟระเบิด Anak Krakatau ที่อันตรายถึงตายของอินโดนีเซีย ผู้สูญหายเพิ่มขึ้น 22,000 คน จากเหตุการณ์สึนามิ


     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Big Wobble


    " ร้อนพอที่จะทำอาหารจากไก่!" คลื่นความร้อนที่กระทบกันอย่างต่อเนื่องเพื่อเผาผลาญออสเตรเลีย วันพฤหัสบดีอยู่ที่อุณหภูมิ 122 องศา f (50 องศา c)


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Big Wobble


    การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมภูเขาไฟ! สถาบันฟิลิปปินส์ของ volcanology และ seismology รายงานว่าภูเขาไฟ mayon ใน albay ระเบิดสองรอบเมื่อวาน (วันพฤหัสบดี)


     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Big Wobble


    อาร์กติกสูญเสียน้ำมากกว่าพันล้านตันในแต่ละวัน: น้ำแข็งละลายในอาร์กติกตั้งแต่ปี คศ.1971 ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 2.3 เซนติเมตร


     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ช่างศุภวิชญ์ จูเปรมปรี


    (2)(9) ธันวาคม 2561

    ติดตามพายุดีเปรสชั่น 35W ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะเคลื่อนผ่านตอนกลางประเทศฟิลิปปินส์ ช่วงวันที่ 29-30 ธ.ค.61 จากนั้นมีแนวโน้มทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทะเลจีนใต้ตอนล่าง ปลายแหลมญวน

    พายุนี้ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย และมีโอกาศเปลี่ยนแปลงความเร็วและทิศทางการเคลื่อนตัวได้อีก

    ผู้เกี่ยวข้องควรติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด


    ⛑ ชัยธวัช ศิวบวร

    ผชช.ศปภ.เขต11สุราษฎร์ธานี



     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Sasook


    เงินออกแล้ว ปรับค่าตอบแทนจาก 600 เป็น 1000 บาท เดือนแรก เป็นขวัญกำลังใจ ฝาก อสม. ทั่วประเทศ" เป็นจิตอาสาประจำด่านทุกชุมชน เจออุบัติเหตุทำ CPR ช่วยชีวิตคนเบื้องต้นได้


    [ https://medhubnews.com/ดูบทความ-33345-ระดมอสมทั่วประเทศประจำด่านปีใหม่2562ทุกชุมชน ]


     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    D484FE63-BC24-4321-8099-BA98E320E552.jpeg
    (Dec 28) ธุรกิจภาพยนตร์ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ในปี 2018 : สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ธุรกิจภาพยนตร์ยังคงดำเนินไปได้ด้วยดี ท่ามกลางกระแสความนิยม streaming services ต่างๆ โดย box–office รายงานการขยายตัวของรายได้ภายในประเทศปี 2018 กว่าร้อยละ 7 ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 11.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นำโดยการขยายตัวของรายได้ในสหรัฐฯ (อ้างอิงจาก Comscore Inc.)


    ภาพยนตร์ที่ทำอันดับรายได้สูงสุด 10 อับดับอยู่ในกลุ่มภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ และกลุ่มภาพยนตร์ซึ่งเป็นภาคต่อ นำโดย “Avengers: Infinity War” และ “Black Panther”


    อย่างไรก็ดี จำนวนตั๋วภาพยนตร์ที่ขายสุทธิยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปี 2002 ขณะที่ราคาตั๋วและจำนวนผู้เข้าชม ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.7 และร้อยละ 5 ตามลำดับ


    อนึ่ง The Walt Disney Company ผู้มีส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศกว่าร้อยละ 26 เป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมในการขยายตัวของยอดขาย สะท้อนถึงกลยุทธ์ของนาย Bob Iger, Disney Chief Executive Officer ในการรวบรวมตัวละครจากค่ายต่างๆ โดยคาดว่าการเข้าซื้อ 21st Century Fox Inc. มูลค่า 71 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ที่ผ่านมา จะสามารถคืนทุนได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2019


    Source: BOTSS


    - Superhero Movies Prove Indestructible, Lift Box Office to Record: https://www.bloomberg.com/news/arti...-movies-they-drove-hollywood-to-a-record-year
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_6791.JPG
    (Dec 28) 2018 ปีแห่งความยากเข็ญ ของผู้ยิ่งใหญ่อย่าง 'เฟซบุ๊ก' : ช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา ในขณะที่โลกกำลังเดินหน้าไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ การพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมา หากแต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้นอยู่อย่างตลอด ทั้งในเรื่องกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่คอยจ้องจะอาศัยช่องโหว่ต่างๆ ในการหาผลประโยชน์ โดยการล้วงข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยมิชอบ หรือแม้แต่เรื่องของ "ข่าวปลอม" ที่นำไปสู่เรื่องราวความรุนแรงต่างๆ มากมายและสำหรับปีนี้ เรียกได้ว่า "เฟซบุ๊ก" เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดฮิตที่มีผู้ใช้งานมากถึง 2,200 ล้านคน ต้องเจอกับปัญหาใหญ่และหนักหน่วงมาตลอด



    ดังนั้น เมื่อเฟซบุ๊กจัดให้มี Year in Review ของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กแต่ละคน สิ้นปีแบบนี้ก็คงต้องมี Year in Review สำหรับเฟซบุ๊กเองบ้าง



    เรื่องนี้ เดอะการ์เดียน ได้รวบรวมเรื่องราวที่ดูจะแย่ๆ สำหรับเฟซบุ๊กเอาไว้ให้ได้ทบทวนกัน



    โดยทุกๆ ปี มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก จะต้องมีการตั้งปณิธานเอาไว้ว่า แต่ละปีจะต้องทำอะไรให้ได้ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และในปี 2018 ซัคเคอร์เบิร์ก ตั้งเป้าไว้ว่าเขาจะมุ่งมั่นไปที่การแก้ไขปัญหาที่ร้ายแรงของเฟซบุ๊ก



    "เฟซบุ๊กมีงานอีกมากต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องชุมชนของเราจากการถูกละเมิดและความเกลียดชัง การปกป้องการแทรกแซงจากรัฐ หรือการทำให้แน่ใจว่าการใช้เวลาอยู่กับเฟซบุ๊ก เป็นการใช้เวลาที่เกิดประโยชน์" ซัคเคอร์เบิร์กกล่าวไว้และเพื่อไม่ให้เสียเวลาเปล่า เดือนมกราคม เฟซบุ๊กก็ได้เริ่มการปรับอัลกอริธึ่มของนิวส์ฟีดใหม่ ด้วยการออกแบบให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากกว่าการใส่เนื้อหาต่างๆ หรือพวกข่าวปลอม



    แต่หลังจากนั้น เฟซบุ๊กเองก็เริ่มตกเป็นเป้าของการโจมตีจากหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ที่เฟซบุ๊กถูกนำเข้าไปพัวพันกับปัญหาเรื่องการที่รัสเซียเข้าไปแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และมีการระบุว่า รัสเซียได้ใช้แพลตฟอร์มของสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จและสร้างความบาดหมาง



    เดือนมีนาคม รัฐบาลศรีลังกา สั่งบล็อกการเข้าถึงเฟซบุ๊ก และสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ หลังจากกลุ่มต่อต้านมุสลิมก่อเหตุจลาจลขึ้น ซึ่งทางเฟซบุ๊กเองระบุว่า เฟซบุ๊กมีความเป็นห่วงกังวลเกี่ยวกับการที่รัฐบาลจำกัดการเข้าถึงข้อมูล แต่รัฐบาลศรีลังกากล่าวหาเฟซบุ๊กว่า ล้มเหลวในการหยุดยั้งการเผยแพร่วาทกรรม



    แห่งความเกลียดชัง หรือเฮทสปีชและยั่วยุจนทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น



    เดือนเดียวกัน สหประชาชาติ ออกมากล่าวหาเฟซบุ๊ก ในฐานะเป็นผู้เผยแพร่ความเกลียดชังให้เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา จนนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่ของพม่า



    หลังจากนั้นไม่นาน เฟซบุ๊กก็เจอกับปัญหาใหญ่ เมื่อดิอ็อบเซิร์ฟเวอร์ รายงานว่า ข้อมูลของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 50 ล้านคน ถูกบริษัท เคมบริดจ์ อนาลิติกา บริษัทที่ปรึกษาด้านการเมือง นำไปใช้ในทางมิชอบด้านการเมือง เพื่อการหาเสียงของโดนัลด์ ทรัมป์ ระหว่างการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ จนนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น และกลายเป็นกระแสเรียกร้องให้มีการ "ลบบัญชี" เฟซบุ๊กทิ้ง ทำให้หลายต่อหลายคน เลิกใช้เฟซบุ๊กไปตามๆ กัน



    กระทั่งปลายเดือนมีนาคม ซัคเคอร์เบิร์กจึงได้ออกมายอมรับว่า เกิดการล้วงข้อมูลผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไปจริง และทางเฟซบุ๊กขอรับผิดชอบที่จะปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน และรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้น พร้อมกับกล่าวขอโทษต่อเหตุการณ์ครั้งนั้น



    ในเดือนเมษายน เฟซบุ๊กเดินหน้าปราบปรามบทความต่างๆ ที่สร้างความเกลียดชังหรือยั่วยุในประเทศเมียนมา แต่กลุ่มภาคประชาสังคมพลเรือนในเมียนมาบอกว่า ไม่ใช่เรื่องของระบบเฟซบุ๊ก แต่เป็นหน้าที่ของพวกเขาเอง เฟซบุ๊กจึงได้ยกเลิกการกระทำดังกล่าวไป



    ผลจากการที่เคมบริดจ์ อนาลิติกา ล้วงข้อมูลผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไป ในวันที่ 10 เมษายน ซัคเคอร์เบิร์กต้องเข้าให้การต่อสมาชิกสภาคองเกรส อธิบายเรื่องเกี่ยวกับการสร้างรายได้ของเฟซบุ๊ก และสัญญาว่าเฟซบุ๊กจะมีความรับผิดชอบต่างๆ ให้กว้างมากขึ้น



    ในเดือนกรกฎาคม เฟซบุ๊กออกมาประกาศว่าได้ทำการปราบปรามการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ และวาทกรรมแห่งความเกลียดชัง



    ปลายเดือนกันยายน เฟซบุ๊กก็ออกมาประกาศว่ามีบัญชีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเกือบ 50 ล้านบัญชี ที่ถูกโจมตีและทำให้กลุ่มแฮกเกอร์ สามารถเข้าไปยึดเอาบัญชีดังกล่าวเอาไว้ได้



    กระทั่งเมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา เฟซบุ๊กออกมายอมรับอีกครั้งว่า เกิดช่องโหว่เรื่องความเป็นส่วนตัวขึ้น คราวนี้เกี่ยวกับรูปภาพของผู้ใช้งาน 6.8 ล้านคน ซึ่งช่องโหว่ หรือบั๊ก ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อภาพถ่ายของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กที่เคยอัพโหลดไว้แต่ไม่เคยนำไปโพสต์ แต่แอพพลิเคชั่นภายนอกจะสามารถเข้าถึงรูปภาพเหล่านั้นได้ แม้จะยังไม่ได้กดแชร์ก็ตาม



    ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา นิวยอร์กไทม์ส ได้ออกมาแฉรายละเอียดใหม่ว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งปันข้อมูลของเฟซบุ๊กกับริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ที่เฟซบุ๊กอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลในการอ่าน เขียน หรือแม้แต่ลบข้อมูลที่เป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน เฟซบุ๊กได้ โดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านั้น ได้แก่ เน็ตฟลิกซ์ และสปอติฟาย



    เป็นข่าวน่าตกตะลึงท้ายปีอีกครั้งสำหรับผู้ใช้งาน เฟซบุ๊ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเฟซบุ๊กออกมายอมรับว่า เปิดให้เน็ตฟลิกซ์ และสปอติฟายอ่านข้อความส่วนตัวของผู้ใช้จริง แม้ว่าเน็ตฟลิกซ์และสปอติฟายจะออกมาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และว่า ไม่รู้มาก่อนว่าระบบของเฟซบุ๊กจะเปิดให้เข้าถึงข้อความส่วนตัวเหล่านี้



    19 ธันวาคม อัยการประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เดินหน้ายื่นเรื่องฟ้องร้องเฟซบุ๊ก ที่อนุญาตให้เคมบริดจ์ อนาลิติกาเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ข่าวนี้ทำเอาหุ้นของเฟซบุ๊กร่วงลงไปอีกครั้ง



    เหล่านี้จริงๆ แล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เฟซบุ๊กต้องเผชิญในช่วงปี 2018 นี้ และเชื่อการฟ้องร้องคงจะยังไม่จบลงง่ายๆ เฟซบุ๊กต้องเผชิญหน้ากับคดีต่างๆ อีกมากมาย



    ปี 2019 ก็น่าจะเป็นอีกปีที่ยากลำบาก สำหรับ "มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก"


    Source: มติชน


    เพิ่มเติม

    - The Verge 2018 tech report card: Facebook

    https://www.theverge.com/2018/12/26...ssenger-instagram-cambridge-analytica-privacy
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สถานการณ์โลก ด้านความมั่นคง


    ปู่ธรรมขู่: จะปิดชายแดนด้านใต้หากสภาครองเกรสไม่อนุมัติงบประมาณสร้างกำแพงกั้นเม็กซิโก./..

    -------------

    ประชาธิปไตยต้นแบบเขาจะขออนุมัติงบประมาณสภา เขาใช้วิธีข่มขู่กันเอาเน้อสหาย ไอ้ประเภทถือกระดาษแผ่นเดียวอภิปรายข้ามวันข้ามคืน(มีแต่น้ำลาย)มันไม่ทันกิน/ส่วนทำไมปู่ธรรมต้องใช้วิธีข่มขู่ เพราะตอนหาเสียงได้รับปากกับFCกลุ่มหนึ่งไว้และได้คะแนนจากFCกลุ่มนี้ไปมากโข ว่าจะสร้างกำแพงกั้นชายแดนเม็กซิโก/เลยถูกใจสายชาตินิยมที่ไม่อยากรับผู้คนแปลกปลอมมาอยู่ปะปนกับคนอเมริกัน ที่ลักลอบหนีเข้าเมืองหรืออพยพเข้าสหรัฐผ่านชายแดนเม็กซิโกที่เป็นจุดเปราะบางสุด/


     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    IMG_6792.JPG
    (Dec 28) สื่อเผย ทรัมป์ เล็งแบนสินค้าจากหัวเว่ย และ ZTE อ้างเป็นภัยต่อพลเมืองอเมริกา: สำนักข่าวเกียวโดรายงานโดยอ้างอิงรายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ กำลังพิจารณาลงนามในคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดี (Executive Order) ในเดือนม.ค. เพื่อประกาศภาวะฉุกเฉินระดับชาติ และสั่งห้ามบริษัทสหรัฐใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ผลิตโดยบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี และบริษัท ZTE ของจีน

    รายงานดังกล่าวอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า สหรัฐกล่าวหาว่าทั้ง 2 บริษัททำงานภายใต้คำสั่งของรัฐบาลจีน และอุปกรณ์ของทั้ง 2 บริษัทสามารถใช้เพื่อสอดแนมพลเมืองสหรัฐได้

    ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นแม้ว่าปธน.ทรัมป์ และปธน.สี จิ้นผิงของจีนได้เห็นพ้องกันในการประชุมนอกรอบ G20 เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่าให้เลื่อนกำหนดระยะเวลาที่สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ออกไป 90 วัน จากกำหนดเวลาเดิมในวันที่ 1 ม.ค.2562

    ทั้งนี้ คำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีได้ถูกนำมาพิจารณาเป็นเวลา 8 เดือนแล้ว และอาจทำให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐสั่งห้ามบริษัทสหรัฐซื้ออุปกรณ์จากผู้ผลิตต่างชาติที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ

    คำสั่งดังกล่าวอาจเป็นการนำกฎหมายว่าด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจฉุกเฉินระหว่างประเทศปีค.ศ. 1997 (International Emergency Economic Powers Act of 1997) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจปธน. มาใช้ในการควบคุมการค้าเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่มีต่อสหรัฐ

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สาริน โรจนวงศ์สกุล/รัตนา

    https://asia.nikkei.com/Economy/Trade-War/Trump-weighs-executive-order-to-bar-Huawei-and-ZTE
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_6793.JPG
    (Dec 28) สมาคมธนาคารไทยมั่นใจระบบโอนเงินสิ้นปีไม่ล่ม : สมาคมธนาคารไทยเตรียมพร้อมรับมือการทำธุรกรรมโอนเงินผ่านพร้อมเพย์หนาแน่นช่วงสิ้นปี มั่นใจระบบไม่ล่มเหมือนปีก่อน


    วันนี้ (28ธ.ค.61) ใกล้วันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ปีนี้สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิกได้เตรียมพร้อมเรื่องระบบและเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ระบบพร้อมเพย์ขัดข้องเหมือนปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการทำธุรกรรมระหว่างวันที่ 31 ธ.ค.2561-1 ม.ค.2562 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านปีปฏิทิน อีกทั้งยังได้เตรียมพร้อมรองรับการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติอีก 2 เท่าตัวให้สามารถรองรับการทำธุรกรรมช่วงสิ้นปีที่จะมีผู้ใช้บริการโอนเงิน ชำระเงินต่างๆเป็นจำนวนมาก


    นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เชื่อว่าการเตรียมความพร้อมปีนี้จะไม่เกิดเหตุระบบมีปัญหาซ้ำรอยเป็นครั้งที่สองอย่างแน่นอน เนื่องจากที่ผ่านมาสมาคมฯได้ประชุมและปรับปรุงแก้ไขแผนงานต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญเรื่องการรักษาความปลอดภัยควบคู่กับการพัฒนาด้านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเพย์เมนท์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ใช้บริการอย่างไม่หยุดชะงัก โดยแต่ละสถาบันการเงินได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบกันอย่างเต็มที่


    สำหรับเหตุการณ์ระบบพร้อมเพย์ล่มครั้งก่อนเป็นช่วงเปลี่ยนปีปฏิทินระหว่าง 31 ธ.ค.2560 มาเป็นวันที่ 1 ม.ค.2561 ซึ่งขณะนั้นเกิดความผิดพลาดจากการใส่เลขปีปฏิทินผิด ทำให้ระบบเกิดปัญหาขึ้นและธนาคารต่างๆก็เร่งคืนเงินให้ลูกค้าโดยเร็ว มาปีนี้ระบบที่สมาคมเตรียมพร้อมป้องกันระบบแบงก์ล่มโดยมีแผนฉุกเฉินเอาไว้หากช่องทางหลักมีปัญหาติดขัดหรือธุรกรรมหนาแน่น ก็จะเปลี่ยนระบบการชำระเงินไปอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งทันทีเพื่อให้การทำธุรกรรมไม่สะดุด


    ขณะที่ปีนี้ธนาคาพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่งมีการสำรองเงินสดให้ประชาชนเบิกจ่ายผ่านสาขาและเครื่องกดเงินสดกว่า 147,610 ล้านบาทในช่วงสิ้นปีนี้ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน


    Source: TNN

    https://www.tnnthailand.com/content/11525
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_6793.JPG
    (Dec 28) สมาคมธนาคารไทยมั่นใจระบบโอนเงินสิ้นปีไม่ล่ม : สมาคมธนาคารไทยเตรียมพร้อมรับมือการทำธุรกรรมโอนเงินผ่านพร้อมเพย์หนาแน่นช่วงสิ้นปี มั่นใจระบบไม่ล่มเหมือนปีก่อน


    วันนี้ (28ธ.ค.61) ใกล้วันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ปีนี้สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิกได้เตรียมพร้อมเรื่องระบบและเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ระบบพร้อมเพย์ขัดข้องเหมือนปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการทำธุรกรรมระหว่างวันที่ 31 ธ.ค.2561-1 ม.ค.2562 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านปีปฏิทิน อีกทั้งยังได้เตรียมพร้อมรองรับการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติอีก 2 เท่าตัวให้สามารถรองรับการทำธุรกรรมช่วงสิ้นปีที่จะมีผู้ใช้บริการโอนเงิน ชำระเงินต่างๆเป็นจำนวนมาก


    นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เชื่อว่าการเตรียมความพร้อมปีนี้จะไม่เกิดเหตุระบบมีปัญหาซ้ำรอยเป็นครั้งที่สองอย่างแน่นอน เนื่องจากที่ผ่านมาสมาคมฯได้ประชุมและปรับปรุงแก้ไขแผนงานต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญเรื่องการรักษาความปลอดภัยควบคู่กับการพัฒนาด้านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเพย์เมนท์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ใช้บริการอย่างไม่หยุดชะงัก โดยแต่ละสถาบันการเงินได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบกันอย่างเต็มที่


    สำหรับเหตุการณ์ระบบพร้อมเพย์ล่มครั้งก่อนเป็นช่วงเปลี่ยนปีปฏิทินระหว่าง 31 ธ.ค.2560 มาเป็นวันที่ 1 ม.ค.2561 ซึ่งขณะนั้นเกิดความผิดพลาดจากการใส่เลขปีปฏิทินผิด ทำให้ระบบเกิดปัญหาขึ้นและธนาคารต่างๆก็เร่งคืนเงินให้ลูกค้าโดยเร็ว มาปีนี้ระบบที่สมาคมเตรียมพร้อมป้องกันระบบแบงก์ล่มโดยมีแผนฉุกเฉินเอาไว้หากช่องทางหลักมีปัญหาติดขัดหรือธุรกรรมหนาแน่น ก็จะเปลี่ยนระบบการชำระเงินไปอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งทันทีเพื่อให้การทำธุรกรรมไม่สะดุด


    ขณะที่ปีนี้ธนาคาพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่งมีการสำรองเงินสดให้ประชาชนเบิกจ่ายผ่านสาขาและเครื่องกดเงินสดกว่า 147,610 ล้านบาทในช่วงสิ้นปีนี้ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน


    Source: TNN

    https://www.tnnthailand.com/content/11525
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    IMG_6794.JPG IMG_6795.JPG IMG_6796.JPG IMG_6797.JPG IMG_6798.JPG IMG_6799.JPG
    (Dec 28) ธปท. เผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ย. ขยายตัวต่อเนื่อง : เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2561 ขยายตัวจากเดือนก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตาม การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน

    สําหรับจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศกลับมาขยายตัวแม้จํานวนนักท่องเที่ยวจีนยังหดตัว ด้านการส่งออกสินค้าทรงตัว ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวเล็กน้อยจากรายจ่ายลงทุนเป็นสําคัญ

    ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงตามราคาน้ํามันขายปลีกในประเทศ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสําหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลทรงตัวจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงตามดุลการค้าเป็นสําคัญ ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิรายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

    เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ชะลอลงบ้างเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวสูง โดยเป็นการขยายตัวในทุกหมวดการใช้จ่าย สําหรับปัจจัยสนับสนุนกําลังซื้อโดยรวมปรับลดลงเล็กน้อย โดยรายได้ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมหดตัวจาก ทั้งด้านราคาและด้านผลผลิตที่ปรับลดลงจากปัญหาฝนทิ้งช่วงในบางพื้นที่

    โดยเฉพาะผลผลิตข้าวหอมมะลิขณะที่รายได้รวมลูกจ้างนอกภาคเกษตรกรรมทรงตัว ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน โดยเฉพาะการผลิตในหมวดยานยนต์ และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สอดคล้องกับยอดจําหน่ายยานยนต์ในประเทศที่ขยายตัวดีเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน จากเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามการนําเข้าสินค้าทุนของภาคเอกชน

    โดยเฉพาะการนําเข้าเครื่องจักร เพื่อใช้ในการตรวจสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มายังไทยในช่วงก่อนหน้า ยอดจําหน่ายเครื่องจักรในประเทศ และยอดจดทะเบียนรถยนต์ เพื่อการลงทุน ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้างหดตัวตามพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง แต่ยอดจําหน่ายวัสดุก่อสร้างยังขยายตัวดี

    ทั้งนี้ในภาพรวมเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ปรับฤดูกาลแล้ว เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสําคัญ จํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของจํานวนนักท่องเที่ยวเกือบทุกตลาดสําคัญ อาทิ นักท่องเที่ยวอาเซียน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซีย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในปีก่อนจากการปราบปรามรถนําเที่ยวผิดกฎหมาย นักท่องเที่ยวฮ่องกง และอินเดียขยายตัวดีตามการเปิดเส้นทางบินมายังไทยเพิ่มเติม ประกอบกับได้รับผลดีจากมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียม visa on arrival ที่เริ่มมีผลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561

    อย่างไรก็ดี จํานวนนักท่องเที่ยวจีนยังคงหดตัว ทั้งนี้ เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว จํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามจํานวนนักท่องเที่ยว มาเลเซีย อินเดีย และจีนเป็นสําคัญ โดยเฉพาะจีนที่จํานวนนักท่องเที่ยวปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน สะท้อนสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้น

    มูลค่การส่งออกสินค้าทรงตัวร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคําหดตัวร้อยละ 0.6 โดยการส่งออกสินค้าในหลายหมวดหดตัวจาก 1) ผลของฐานสูงจากระยะเดียวกันปีก่อน อาทิ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ผู้ผลิตมีการใช้กําลังการผลิตเต็มที่ในปีก่อน โทรศัพท์มือถือจากการเหลื่อมเดือนของการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์จากการเร่งส่งออกรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปฟิลิปปินส์ ก่อนปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในช่วงต้นปี 2561 และสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าว จากการส่งออกไปยังประเทศที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติในช่วงเดียวกันปีก่อน และ 2) ผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ประกอบกับวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปสงค์ต่อรถยนต์ในจีนชะลอตัว ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และยางพาราไปจีนหดตัว อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าที่มูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ และปิโตรเคมี

    ทั้งนี้ การส่งออกไปสหรัฐฯ เร่งขึ้นในเดือนนี้จากการส่งออกยางล้อ รถยนต์เป็นสําคัญ รวมทั้งเริ่มเห็นผลดีจากการทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ ในบางกลุ่มสินค้า มูลค่าการนําเข้าสินค้าขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 16.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคําขยายตัวร้อยละ 19.4 โดยเป็นการขยายตัวในหลายหมวดสินค้า ได้แก่

    1) หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ตามการนําเข้าน้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และโลหะ

    2) หมวดสินค้าทุน ตามการนําเข้าหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ สอดคล้องกับการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน

    3) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวตามการนําเข้าทั้งหมวดสินค้าไม่คงทนและสินค้าคงทน สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว และ

    4) หมวดยานยนต์และชิ้นส่วน ตามการนําเข้ารถยนต์นั่ง และชิ้นส่วนยานยนต์ สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ขยายตัวดี

    การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนหดตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามรายจ่ายลงทุนที่ หดตัวจากผลของฐานสูงในปีก่อนที่มีการเบิกจ่ายเพื่อซื้ออากาศยานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และการเบิกจ่ายค่าก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลของสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

    ขณะที่รายจ่ายประจําขยายตัวจากรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเป็นสําคัญ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.94 ชะลอจากร้อยละ 1.23 ในเดือนก่อน ตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงในหมวดที่มิใช่อาหารเป็นสําคัญ สําหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลทรงตัวจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงตามดุลการค้าเป็นสําคัญ

    ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากด้านสินทรัพย์ ตามการนําเงินออกไปฝากในต่างประเทศเพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ และการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศของสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน (ODC) รวมถึงการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Thai Direct Investment: TDI) ของธุรกิจโฮลดิ้งและธุรกิจบริการทางการเงิน

    Source: การเงินธนาคาร
    https://www.moneyandbanking.co.th/new/23281/2/ธปท-เผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ-ย-ขยายตัวต่อเนื่อง

    เพิ่มเติม
    1. แถลงข่าว รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนพฤศจิกายน 2561 (เผยแพร่วันที่ 28 ธันวาคม 2561) : https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/PressRelease/Pages/default.aspx

    English Version: https://www.bot.or.th/English/MonetaryPolicy/EconomicConditions/PressRelease/Pages/default.aspx

    2. ตารางดัชนีเศรษฐกิจเดือนพฤศจิกายน 2561 (เผยแพร่วันที่ 28 ธันวาคม 2561): https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/EconomicIndices/Pages/default.aspx

    English Version: https://www.bot.or.th/English/MonetaryPolicy/EconomicConditions/EconomicIndices/Pages/default.aspx
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_6800.JPG
    (Dec 28) ภูมิคุ้มกันธนาคารไทย กับปัจจัยเสี่ยงปี 2562 : เดือน ธ.ค.เป็นช่วงที่คนมักจะมองไปข้างหน้าเพื่อวางแผนชีวิตหรือแผนธุรกิจในปีถัดไป สำหรับทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีหน้านั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคาดว่ายังคงเติบโตต่อเนื่องในระดับ 4% ขึ้นไป แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ยังต้องจับตา เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ สงครามการค้า และภาระหนี้ครัวเรือน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนในประเทศและระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้ดูแลความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ รวมถึงความเสี่ยงระบบธนาคารพาณิชย์ จึงขอถือโอกาสนี้มาเล่าสู่กันฟังว่าระบบธนาคารพาณิชย์มีภูมิคุ้มกันรองรับความท้าทายทางเศรษฐกิจในปี 2562 มากน้อยเพียงใด



    การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ต่อไปอีกอาจทำให้เกิดสถานการณ์เงินทุนไหลออกจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ส่งผลให้ค่าเงินผันผวนและสภาพคล่องในตลาดเงินหลายสกุลตึงตัว ซึ่งจะทำให้การระดมทุนเป็นสกุลต่างประเทศทำได้ยากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการไหลออกของเงินทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่กลุ่มที่เศรษฐกิจมีความเปราะบางหลายประเทศ เช่น ตุรกี อาร์เจนตินา และเวเนซุเอลา



    ในประเด็นความเสี่ยงนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยถือว่ามีภูมิคุ้มกันที่ดีประการแรก เศรษฐกิจไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูง ประการที่สองในภาพรวมระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีการกู้ยืมจากต่างประเทศอยู่ในสัดส่วนค่อนข้างต่ำ และประการที่สามธนาคารพาณิชย์ไทยมีการปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบหมด Currency Mismatch อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องและต้นทุนการระดมทุนสกุลเงินตราต่างประเทศอาจสูงขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึงควรเตรียมความพร้อมรับมือในประเด็นดังกล่าวด้วย



    สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ความเสี่ยงจาก Trade War อาจส่งผลกระทบต่อลูกหนี้ธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ในบางภาคส่วน เช่น กลุ่มที่ส่งออกสินค้าไปจีนโดยตรง กลุ่มผู้ส่งออกที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของจีนและเครือข่ายการค้าการผลิตในภูมิภาค แม้จะมีข่าวดีว่าไทยอาจได้รับอานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของสหรัฐและจีนมาไทย แต่ก็ยังต้องแข่งขันกับประเทศอื่นในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดดังกล่าว นอกจากนี้ หากสงครามการค้ายังคงยืดเยื้อจนกระทบต่อเศรษฐกิจจีน ก็อาจกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวในระลอกถัดไปได้ จึงยังคงต้องติดตามผลกระทบของ Trade War อย่างต่อเนื่อง



    ภาระหนี้ครัวเรือน ปัจจัยในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ หนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งยังอยู่ในระดับสูง และเป็นปัญหาสำคัญของหลายประเทศในภูมิภาค เช่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทย ดังจะเห็นได้จากหนี้เสียในกลุ่มสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงเพิ่มขึ้น ดังนั้น ธปท.ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) เพื่อดูแลหนี้ภาคครัวเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและยกระดับมาตรฐานการพิจารณาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Credit Underwriting) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย โดยสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ต้องระมัดระวัง คือ ต้องไม่ปล่อยให้แรงกดดันจากการแข่งขันมาทำให้หย่อนมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อลง และหากผู้กำกับดูแลเห็นประเด็นความเสี่ยงก็ต้องออกมาเตือนก่อนที่จะเกิดปัญหาปัจจัยในประเทศ



    อีกประการที่ต้องจับตาคือ หนี้ธุรกิจขนาดกลางถึงเล็ก ซึ่งยังมีหนี้เสียเพิ่มอยู่ จากปัจจัยเชิงโครงสร้างด้านความสามารถในการแข่งขันสำหรับลูกหนี้ในกลุ่มนี้ธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันค่อนข้างมีความระมัดระวังในการคัดกรองสินเชื่อ



    นอกจากนี้ ธปท.ยังให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลให้มีการจัดชั้นที่เหมาะสม กับความเสี่ยงและมีการตั้งเงินสำรองหนี้สูญรองรับ จึงทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินสำรองที่สูงพอสมควร และถือเป็นภูมิคุ้มกันอีกด้านหนึ่งของระบบธนาคารพาณิชย์ ภูมิคุ้มกันของระบบธนาคาร หากดูจากความสามารถในการทำกำไร ซึ่งเป็นรากฐานของความมั่นคงนั้น จะเห็นได้ว่าแหล่งรายได้หลักของธนาคารพาณิชย์คือสินเชื่อยังเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ



    แม้ในช่วงที่ผ่านมา จะมีการแข่งขันลดค่าธรรมเนียม E-payment หรือให้ฟรีในบางประเภท แต่ในภาพรวมค่าธรรมเนียมดังกล่าวยังคงเป็นสัดส่วนที่เล็กเทียบกับรายได้จากสินเชื่อ



    นอกจากนี้ การปรับพฤติกรรมลูกค้าให้มาใช้ E-payment ยังช่วยลดต้นทุนแฝงจากการให้บริการเงินสดลงได้ และเมื่อประกอบกับการพัฒนา E-payment และ Digital Banking ให้กลมกลืนไปกับชีวิตประจำวัน ลูกค้าก็จะช่วยรักษาและขยายฐานลูกค้าให้อยู่กับธนาคารได้มากขึ้น เป็นผลดีกับทั้งผู้บริโภคและธนาคารพาณิชย์



    สุดท้ายหากจะสรุปสั้นๆ เรื่องภูมิคุ้มกันระบบธนาคารพาณิชย์ ก็กล่าวได้ว่าในภาพรวมมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มแข็งดีขึ้นมาก และหากธนาคารพาณิชย์ใดมีจุดที่พึงระวังก็เป็นบทบาท ธปท. ที่จะเข้าไปดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น



    นอกเหนือจากการบริหารความเสี่ยงที่ดีแล้ว ภูมิคุ้มกันที่สำคัญ คือ การมีกันชนรองรับความเสียหาย ซึ่งได้แก่ ระดับเงินกองทุนและการกันสำรองที่สูงพอสมควร เมื่อมองมุมนี้ถือว่าระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจะสามารถรับมือกับมรสุมต่างๆ ที่หวังว่าจะไม่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี จึงมั่นใจได้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์จะสามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินให้แก่ทุกภาคส่วนได้อย่างมั่นคงในปี 2562 ที่จะถึงนี้



    สิ่งสำคัญที่สุดคือ ธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่นิ่งนอนใจ ควรจะต้องนำปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ มาคิดในเชิง Scenario ว่า หากเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ตนเองพร้อมหรือไม่ เพราะเหตุการณ์บางเรื่องแม้ว่าจะประเมินแล้วโอกาสที่จะเกิดมีไม่มาก แต่หากไม่เตรียมคิดหรือเตรียมการไว้ล่วงหน้า ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงกว่าที่คิดได้


    โดย ธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ สายกำกับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย


    Source: Posttoday
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    (Dec 28) ธปท.แจง ผลงานปี 2561 – ระยะต่อไปเน้น Distribution Impact กระจายผลของนโยบาย : ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดแถลงข่าวที่สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในโอกาสนำผู้สื่อข่าวสำรวจเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือและฟังการบรรยายสรุปแนวทางการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ร่วมกับผู้บริหาร 5 สายงานได้แก่ นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการนายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน และนางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ได้สรุปการดำเนินงานของธปท.ปี 2561 และเปิดเผยแผนงานในปี 2562

    คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

    ดร.วิรไทเริ่มการแถลงข่าวโดยกล่าวว่า ทุกครั้งที่มีการแถลงข่าวประจำปีก็จะถามว่างานที่ธปท.ทำคนไทยจะได้อะไร ในปี 2561 ธปท.ได้ทำงานหลากหลายด้านในการสร้าง การพัฒนาสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยและระบบการเงินยุคใหม่ และชื่อว่าจะให้ประโยชน์ต่อคนไทยในกลุ่มต่างๆได้

    งานของธปท.เกี่ยวข้องกับคนไทยหลายกลุ่ม ซึ่งแบ่งออกมาได้แก่ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอสเอ็มอี ที่การโอนเงินสะดวกและถูกลง รวมทั้งได้สร้างการชำระเงินอิเลคทรอนิคส์ยุคใหม่ที่ส่งเสริม ปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นทุกเดือนต่อเนื่อง ยอดเงินต่อธุรกรรรมลดลง แสดงว่าประชาชนได้มีการใช้การโอนเงินอิเลคทรอนิคส์มากขึ้น ขณะที่ยอดการโอนเงินผ่านสาขา ผ่านเอทีเอ็มลดลง มาสู่แพล็ตฟอร์มโมบายแบงกิ้งและอิเลคทรอนิคส์มาก

    นอกจากนี้แม้แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูงขึ้นจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก การบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องสำคัญ เครื่องมือที่มีในระบบการเงินอาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการ ปีที่แล้วจึงได้พัฒนาเครื่องมือมากขึ้น จะเห็นได้ว่าช่วงครึ่งหลังของปีอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนแต่ภาคธุรกิจบริหารความเสี่ยงได้ดีขึ้น ธปท.พยายามลดต้นทุนและความเสี่ยงในการชำระค่าสินค้าด้วยบริการใหม่ ซึ่งตอบโจทย์ธุรกิจ

    สำหรับภาคประชาชน ดร.วิรไทกล่าวว่า งานของธปท.เกี่ยวข้องในหลายมิติ อันแรก ส่งเสริมให้ประชาชน เข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานและสามารถเลือกใช้บริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ปีที่แล้วเป็นปีที่ธปท.ประกาศว่าสิทธิการเข้าถึงบริการทางการเงิน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทย และคนไทยจะต้องได้รับบริการด้านนี้จากสถาบันการเงิน ซึ่งนำมาสู่ 2-3 เรื่องสำคัญ เรื่องแรกบัญชีเงินฝากขั้นพื้นฐาน ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับประชาชนที่มีรายได้น้อยและประชาชนที่เป็นผู้สูงอายุ

    รวมไปถึงการยกระดับกฎเกณฑ์การกำกับดูแลในการให้ความคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินหรือ Market Conduct เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งได้ยกเครื่องระบบปฏิบัติของสถาบันการเงินเกี่ยวกับ Market Conduct นำไปสูการลงโทษสถาบันการเงินที่มีพฤติกรรมที่ไม่สอด คล้องกับแนวปฏิบัติที่ต้องการจะเห็น ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า เรื่องร้องเรียนต่างๆที่รับผ่านศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน 1213 ลดลงมากไม่ว่าจะเป็นการขายพ่วง การบังคับขาย มีสถิติลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยังมีเรื่องที่จะทำต่อไป ไม่ได้หมายความว่าจะจบลงสำเร็จลงแล้ว

    ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง การได้รับบริการทางการเงินอย่างเป็นธรรม ต้องเริ่มต้นจากการที่ประชาชนเข้าถึงอัตราดอกเบี้ยดีแต่ไม่ทราบว่ามีเงื่อนไขเต็มไปหมด เห็นโครงการดอกเบี้ยเงินฝากเก้นอัคราดอกเบี้ยเงืนกาดีแต่ไม่รู้เงื่อนไขอื่น เช่น ต้องซื้อประกันอะไรบ้าง ต้องคงเงินฝากขึ้นต่ำเท่าไร การคงเงินขั้นต่ำ การต้องซื้อผลิตภัณฑ์อื่นพ่วง ซึ่งได้พัฒนาแพล็ตฟอร์มที่สถาบันการเงินเมื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆก็ต้องส่งข้อมูลเข้าแพล็ตฟอร์มของธปท.ให้ประชาชนสามารถเปรียบเทียบได้ ซึ่งเริ่มจากเงินฝากและขยายไปสู่หลายผลิตภัณฑ์ ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล

    อีกด้านหนึ่งที่สำคัญคือการทำให้ประชาชนมีความรู้ทางการเงิน มีความเข้าใจในการบริหารจัดการทางเงินได้ดีขึ้น มีภูมิคุ้มกันทางการเงินได้ดีขึ้น ที่ศูนย์เรียนรู้ของธปท. การสร้างความรู้ความเข้าใจบริการทางการเงิน การสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดการทางการเงิน เป็นแนวคิดสำคัญที่ธปท.จัดกิจกรรมมาต่อเนื่อง BoT Money Terminal เป็นกิจกรรมที่มุ่งตอบโจทย์เด็กและเยาวชนให้มีความรู้ทางการเงิน

    ธปท.ยังทำกิจกรรม Fin ดี we can do เป็นโครงการสำหรับเด็กอาชีวะปีที่แล้ว 17 โรงเรียนได้มาแข่งขันคิดกลไก โมเดลในการส่งเสริมความรู้ในด้านการบริหารจัดการทางการเงินที่นำไปใช้ได้จริง เพราะเน้นย้ำตลอดเวลาว่า ความรู้ที่ให้นั้น ต้องเป็นความรู้ที่มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชน ไม่ใช่เพียงเป็นการให้ข้อมูลและใช้ชีวิตในการจัดการทางการเงินเหมือนเดิม

    นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาหนี้สิน เป็นสิ่งที่ธปท.ให้ความสำคัญ Debt Clinic คลีนิคแก้หนี้ที่เริ่มเมื่อปีที่แล้วมีการขยายเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งขณะนี้พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนดเอเอ็มซีที่จะทำให้คลีนิคแก้หนี้ขยายเข้าไปสู่วง Non-bank ได้ด้วย และได้ผ่านวาระ 1 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ไปแล้ว เชื่อว่า หากแก้ไขได้เสร็จภายใน 1 เดือน จะทำให้สามารถให้บริการกับลูกค้า non bank ได้ ซึ่งหนี้ประชาชนที่มีปัญหาอยู่ใน non bank จำนวนมาก

    ส่วนของสถาบันการเงิน สิ่งที่ธปท.ได้ดำเนินการในปีที่แล้วซึ่งมีส่วนในการสร้างรากฐานให้ระบบสถาบันการเงินของไทยเป็นระบบสถาบันการเงินที่มีเสถียรภาพทางการเงินระยะยาวและสามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนปลงของโลก โดยเฉพาะโลกดิจิทับ ความท้าทายใหม่ๆ ความเสี่ยงใหม่ๆที่กำลังเกิดขึ้น ธปท.ให้ความสำคัญมากกับการสร้างระบบ ecosystem ให้เหมาะสม ซึ่งช่วยให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลาย ซึ่งเมื่อปรับตัวได้เร็วขึ้น ให้บริการได้เร็วขึ้น ต้นทุนทางการเงินกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะลดลง ธปท.ต้องการให้สิ่งที่ทำผ่านสถาบันการเงินไปส่งผลไปสู่ประชาชนคนไทย ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจไทย ทำให้ต้นทุนการเงินถูกลง มีนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆมากขึ้น

    ยกระดับกำกับดูแลเพื่อให้บริการการเงินที่เป็นธรรม

    ธปท.ได้ยกเครื่องการกำกับดูแลให้เป็นสากลมากขึ้น เพราะมีความเสี่ยงใหม่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่ความเสี่ยงเรื่องเงินกองทุนไม่พอหรือความเสี่ยงจากการมีสภาพคล่องจำกัด ความเสี่ยงในขณะนี้ เช่น ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ ถ้าเกิดปัญหาไซเบอร์ขึ้นสถาบันการเงินจะรับมืออย่างไร ตั้ทั้งการป้องกัน ตรวจจับให้ได้เร็ว การกู้คืนระบบ Response and recovery ให้กลับมาทำงานปกติ ที่สำคัญสถาบันการเงินเป็นกลไกที่จัดสรรทรัพยากรที่สำคัญที่สุดหนึ่งของไทย คือ ทรัพยากรทุน ในโลกที่เห็นปัญหาต่างๆที่เกิดจากกระบวนการพัฒนา แนวคิดเรื่องความยั่งยืนเป็นแนวคิดที่สถาบันการเงินไทยต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ซึ่งธปท.ได้เริ่มจัดกิจกรรม Sustainable Banking Forum การสร้างความคาดหวังในเรื่องมาตรฐานธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การสร้างความยั่งยืน การทำธุรกิจที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและ ธรรมาภิบาล

    ดร.วิรไทกล่าวว่า ปีที่ผ่านมามีการยกเครื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายเรื่องตั้งแต่พระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน เพื่อตอบโจทย์ระบบการชำระเงินอิเลคทรอนิคส์ใหม่ๆ ซึ่งมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในระบบมากขึ้น ลดความกระจัดกระจายของกฎเกณฑ์มากขึ้น จากเดิมที่กระจายอยู่ที่กระทรวงดิจิทัล กระทรวงการคลัง ทำให้กระบวนการกำกับดูแลผู้ให้บริการระบบการชำระเงินไม่เป็นหนึ่งเดียว ไม่สามารถส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆได้ ก็มีการออกพระราชบัญญัติระบบการชำระเงินใหม่ ที่มีผลบังคับใช้เดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ธปท.ได้เข้าไปมีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ผู้รับผิดชอบหลัก

    สำหรับการยกเครื่องกฎหมายในส่วนของธปท. ดร.วิรไทกล่าวว่า เนื่องจากมีความเสี่ยงใหม่ๆเกิดขึ้น เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะความเสี่ยงทางด้านการตลาด Market Risk มีความผันผวนสูงขึ้นมาก การกำกับดูแลจะต้องเท่าทัน จึงมีแนวคิดเรื่อง on-going supervision คือการกำกับดูแลโดยต่อเนื่อง เดิมการตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ ธปท.ใช้วิธีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบทุกอย่างถึงสถานที่ซึ่งใช้เวลา 45-50 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดของธนาคาร แต่โลกยุคใหม่ที่มีข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ทุกวัน หลั่งไหลเข้าสู่ธปท.ได้ทุกวัน ธปท.สามารถสามารถคำนวณความเสี่ยงต่างๆได้ทันที และใช้กลไกใหม่ที่มี เช่น Data Analytic การวิเคราะห์ข้อมูล Machine Learning ที่จะยกธงให้ธปท.ได้เห็นชัดเจนว่าความเสี่ยงต่างๆมีอะไรบ้าง และการตรวจสอบสามารถตรวจได้ตรงกับประเด็นความเสี่ยงได้ชัดเจนมากขึ้น

    ดร.วิรไทกล่าวถึงมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ได้ประกาศบังคับใช้เมื่อเร็วนี้ว่า ธปท.เห็นว่ามีการลดหย่อนมาตรฐานในการปล่อยสินเชื่อและมีการรับความเสี่ยงเกินพอดี เวลาที่พูดถึงเศรษฐกิจที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานา การพูดถึง search for yield มากขึ้น การหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นโดยประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร เดิมมีการพุดว่าคนมีเงินเย็นและโยกเงินฝากออกไปลงทุนในสหกรณ์ออมทรัพย์ ในกองทุนประเทต่างๆโดยไม่เข้าใจความเสี่ยง แต่ตอนหลังมีการ search for yield ด้วยการกู้ ไม่ได้ใช้เงินที่มี แต่อาศัยช่องทางสินเชื่อเพื่อที่อยูอาศัย ที่สถาบันการเงินมีการแข่งขันจนเกินพอดี ไปกู้เงินแบบที่เรียกว่ามีเงินทอน และธนาคารก็ให้กู้มากกว่าราคาบ้าน ผู้กู้ได้เงินก้อนมา ดอกเบี้ยค่อนข้างถูก เพราะดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย 3 ปีแรกค่อนข้างถูกก็นำเงินนั้นมาลงทุน หรือทำธุรกรรมอื่น หรือประกอบอาชีพอื่น โดยไม่เข้าใจความเสี่ยง และเชื่อว่าราคาบ้านมีแต่เพิ่มขึ้น และจะปล่อยเช่าได้ แต่อุปทานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีอุปทานคงค้าง ก็เป็นเหตุผลว่าธปท.ต้องเข้ามาดูแลเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ด้วยการออกมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

    “ในช่วงอีกไม่นานจะมีอีกมาตรการหนึ่ง คือ มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เป็นประเภทของสินเชื่อที่มีจำนวนเป็นแสนล้านบาท แต่ไม่มีกำกับดูแล อันนี้ไม่ได้เป็นประเด็นเสถียรภาพ แต่เป็นการดูแลผู้ใช้บริการทางการเงิน ดูแลเรื่อง market conduct มีเยอะมากที่ผู้ให้บริการมีสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับประชาชน ซึ่งธปท.จะเข้าไปกำกับดูแลมากขึ้น” ดร.วิรไทกล่าว

    ปีที่แล้วธปท.ได้ทดลองทำนวัตกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ที่ธปท.จัดให้มีขึ้น ซึ่งนอกจากจะมี sandbox ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้สถาบันการเข้ามาทดลอง ก็ยังได้ริเริ่มโครงการ Digital Currency ที่ออกโดยธนาคารกลาง หรือโครงการอินทนนท์ Central Bank Digital Currency ใช้เทคโนโลยี Distributed Ledger Technology (DLT) เพื่อวางกลไกการชำระเงินระหว่างธนาคารพาณิชย์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแนวคิดการตรวจสอบ

    นอกจากนี้ยังได้ใช้ DLT กับกระบวนการขายพันธบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชน ที่เกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน ซึ่งย่นระยะเวลาที่จะได้รับพันธบัตรจากเดิมใช้เวลา 15 วัน เหลือแค่ 2 วัน ซึ่งจะขยายไปสู่หุ้นกู้ภาคธุรกิจอื่น นอกเหนือจากพันธบัตรรัฐบาล

    ปิดช่องโหว่ในระบบสถาบันการเงิน

    เรื่องสำคัญอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญ คือ การนำประเทศไทยเข้าสู่การประเมิน FSAP (Financial Sector Assessment Program) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(International Monetary Fund:IMF) ซึ่งไทย ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการการประเมิน FSAP มา 10 ปี FSAP เป็นกลไกประเมินกฎเกณฑ์การกำกับดูแลเสถียรภาพของภาคการเงินทั้งหมดที่ไม่ได้เฉพาะธนาคารพาณิชย์ แต่รวมทั้ง ก.ล.ต. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ตลาดทุน ประกันภัยประกันชีวิต โดยการประเมินรอบแรกเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาและการประเมินรอบสองเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า หลังจากนั้นจะได้รู้ว่ากลไกการกำกับดูแลของไทยเป็นอย่างไร

    “การที่เราเอาระบบการกำกับดูแลกฎเกณฑ์เข้าสู่การประเมินของธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟซึ่งเป็นกระบวนการมาตรฐานสากลที่ดีที่สุดที่เข้มที่สุด ทำให้ต้องเตรียมตัวเยอะมาก ต้องยกเครื่อง ปิดช่องโหว่ต่างๆที่เราอาจจะเคยมีในระบบการเงิน ซึ่งจะทำให้มั่นใจว่าระบบการเงินของเราจะสามารถทนทานต่อแรงกดดันความผันผวน ปัจจัยเสี่ยงต่างๆในอนาคตได้” ดร.วิรไทกล่าว

    สำหรับการเตรียมการรับความเสี่ยงใหม่ ดร.วิรไทกล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการรับมือกับภัยไซเบอร์ โดยปีที่แล้วประสานงานกับสมาคมธนาคารไทยจัดตั้ง CERT (Computer Emergency Response Team )ของภาคธนาคาร เป็นทีมที่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินสามารถร่วมกันคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากภัยไซเบอร์ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน Cyber Security ให้กับอุตสาหกรรมด้วย และมีการทดสอบต่อเนื่อง มีการอบรม”

    “เรื่องภัยไซเบอร์ใกล้ตัวกว่าที่คิดมาก เมื่อก่อนเราอาจจะตั้งสมมติฐานว่าจะป้องกันอย่างไร ทำอย่างไรจะไม่ให้ถูกโจมตี แต่ยุคนี้ต้องคิดใหม่ว่าหากมีการเจาะเข้ามาในระบบเราได้ เราจะตอบสนองอย่างไร เราจะต่อสู้อย่างไร ดังนั้นจึงต้องมีการซ้อมบ่อย ซึ่งอันนี้ได้ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมในประเทศไทย และทำให้คณะกรรมการตระหนักถึงเรื่องนี้ ว่าไม่ใช่เรื่องของฝ่ายไอทีอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของทุกคนทุกฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง” ดร.วิรไทกล่าว

    ทางด้านการปฏิรูปกฎเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินเป็น Regulatory Impact Assessment หรือที่เรียกว่า Regulatory Guillotine ปีที่แล้วได้เริ่มนำมาใช้กับกฎเกณฑ์การกำกับดูแลด้านการแลกเปลี่ยนเงินตรา มีการตัดกฎเกณฑ์ที่ไม่เท่ากันกับสภาวะแวดล้อม ไม่เอื้อต่อการต่อยอด การคิดนวัตกรรมใหม่ๆและสร้างต้นทุนให้กับภาคธุรกิจโดยไม่จำเป็น ออกไป ปีนี้ขยายผลมาสู่การกำกับสำคัญ 2 เรื่อง คือ Digital Banking เพราะกฎเกณฑ์ที่เขียนไว้ไม่เท่าทันสภาวะแวดล้อม และ SME Financing ที่หลายเรื่องเกี่ยวกับกฎเกณฑ์สร้างต้นทุนให้เอสเอ็มอีอย่างไม่จำเป็น

    “การปฏิรูปกฎเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินต้องทำต่อเนื่อง มีกฎเกณฑ์อีกหลายอย่างที่เราต้องทำ ที่สำคัญการออกกฎเกณฑ์ใหม่ RIA ต้องเป็นส่วนหนึ่งวัฒนธรรมองค์กรในการออกกฎใหม่”ดร.วิรไทกล่าว

    ประสานหน่วยงานอื่นแก้ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจ

    ดร.วิรไทกล่าวต่อว่า ในปีที่แล้วธปท.ได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงาน เพื่อทำให้นโยบ่ายสอดประสานกันและเห็นความเชื่อมโยงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมมากขึ้น ขณะนี้เศรษฐกิจไทยและเศราฐกิจกำลังเข้าสู่ช่วงที่มีการปรับตัว เข้าสู่การปรับโครงสร้างอย่างรุนแรง ด้วยเรื่องของเทคโนโลยี ดิจิทัล ขณะเดียว ไทยมีปัญหาทางโครงสร้างเดิมในหลายมิติ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกำลังเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ไม่มีนโยบายใดนโยบายหนึ่ง ไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาตอบโจทย์ปัญหาเชิงโครงสร้างได้ ต้องทำบูรณาการกัน ทำงานอย่างใกล้ชิดกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน หาทางออกช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคมไทย ซึ่งมีหลายงานที่ธปท.ทำร่วมกับหน่วยงานอื่น ได้แก่ โครงการ National e-payment ที่ทำกับกระทรวงการคลัง ที่ขับเคลื่อนร่วมกันหลายเรื่อง

    ด้าน Data Analytic ก็เป็นงานที่สำคัญ ธปท.ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือทุกหน่วยงานที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ แต่อาจจะขาดบุคลากร ขาดเครื่องมือที่จะใช้ในการประมวลผล การจัดระเบียบข้อมูล โดยในปีที่แล้ว ธปท.ได้ทำงานร่วมกับกรมศุลกากร กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม ช่วยเข้าไปช่วยจัดการฐานข้อมูลและมาวิเคราะห์ร่วมกัน

    งานด้าน Data Analytic ของธปท.มีการพัฒนาที่ค่อนข้างรวดเร็วมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เริ่มจากตั้งหน่วยงานใหม่ เป็นกลุ่มงานด้าน Data Analytic ซึ่งกำลังขยายคาดว่าในปีหน้าจะมีบุคลากรจำนวน 20 คน ขณะเดียวกันมีการให้ทุนพนักงานจากสายงานต่างๆไปเรียนเรื่อง Data Analytic ขณะนี้มีจำนวนกว่า 10 ทุน เพราะ Data Analytic จะต้องเข้าไปเป็นวิธีการทำงานของทุกสายงานของแบงก์ชาติ ทั้งสายนโยบายการเงิน สายสถาบันการเงิน สายตลาดเงิน การกำกับดูแลสถาบันการเงิน การทำงานยุคใหม่การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นทักษะที่สำคัญ

    โลกยุคใหม่การเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากและมีเทคโนโลยี API (Application Protocol Interface) ที่ทำให้ข้อมูลไหลเชื่อมต่อกันได้ง่าย ปีที่แล้วได้เริ่มทำเรื่อง API ส่งผลให้ขณะนี้ ข้อมูลกว่า 2 หมื่นรายการที่ส่งออกไปผ่าน API และมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานราชการ ภาคธุรกิจ รวมทั้งองค์กรที่รับfeed ข้อมูลธปท.ต่อเนื่องทุกวัน

    นอกจากนี้มีการตั้งฝ่ายงานใหม่ คือ ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ เพราะตระหนักว่าความรู้ความเข้าใจเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจมีความสำคัญ ธปท.จะสนใจเพียงนโยบายการเงิน เศรษฐกิจมหภาพคในภาพใหย๋อย่างเดียวไม่ได้ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงปรับโครงสร้าง และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างมีผลต่อการทำงานของธปท.ค่อนข้างมา ทั้งตลาดแรงงานที่มีผลต่อค่าจ้าง และมีผลกลับมาถึงเงินเฟ้อ เมื่อพูดถึงศักยภาพของเศรษฐกิจไทย จะอาศัยความคิดความเข้าใจศักยภาพเศรษฐกิจไทยในโครงสร้างแบบเดิมไม่เหมาะ เพราะโลกกำลังเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก

    งานด้านวิชาการก็เป็นเรื่องที่ธปท.ให้ความสำคัญต่อเนื่อง ซึ่งสถาบันวิจัยป๋วย อึ้งภากรณ์ สายนโยบายการเงิน และสายงานต่างๆได้ให้ความสนใจงานวิจัยมากขึ้น มีผลงานวิจัยออกมาต่อเนื่องและเป็นงานวิจัยที่ใช้ได้จริง เข้าใจปัญหาตอบโจทย์ของปัญหาชัดเจนมากขึ้น เป็นการเริ่มเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรที่เข้าใจปัญหาต่างๆที่ติดดินมากขึ้น เข้าใจที่รากเหง้าของปัญหา การแก้ปัญหาจะได้ตรงประเด็น

    “นี่เป็นการสรุปงานที่เราได้ทำในปี 2561 สิ่งที่ถามตัวเองมาตลอดว่า สิ่งที่เราทำแล้วคนไทยได้อะไรคนไทยแต่ละกลุ่มที่เราคาดหวังว่า เขาจะได้รับประโยชน์ เขาได้อะไรจากงานที่เราทำ”ดร.วิรไทกล่าว

    ชี้ต้องทำงานเร็วขึ้นรับโลกเปลี่ยน

    ดร.วิรไทกล่าวต่อว่า ปีหน้า 2562 เป็นปีที่ 3 ของการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ปี 2560-2562 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสำคัญ กลุ่มแรก การรักษาเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็น core mandateภารกิจหลักของแบงก์ชาติ โดยเสถียรภาพมีด้วยกัน 4 ด้าน คือ เสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพระบบการเงิน เสถียรภาพสถาบันการเงิน และ เสถียรภาพระบบการชำระเงิน เมื่อพ.ร.บ. ระบบชำระเงินฉบับใหม่ออกมา ธปท ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานเดียวที่ดูแลเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน

    ดร.วิรไทกล่าวว่ากลุ่มสองเป็นงานด้านพัฒนา ซึ่งกำหนดงานด้านพัฒนา 3 ด้านด้วยกันคือ หนึ่งพัฒนาระบบการเงิน สองการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำเพื่อการเชื่อมโยงกับต่างประเทศดีขึ้น ต้นทุนทางการเงินที่เกี่ยวการเงินข้ามพรมแดนยังสูงมาก ต้องทำเพิ่มอีกมากเพื่อทำให้เศรษฐกิจไทยแข่งขันได้ และสามการส่งเสริมบริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

    กลุ่มสาม มีความสำคัญมากขึ้นต่อการทำหน้าที่ของธปท.ในระยะยาว คือ การสร้างความเป็นเลิศภายในองค์กร การสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กรหรือ Internal Excellence ซึ่งให้ความสำคัญกับการยกเครื่องระบบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ความเป็นเลิศด้านงานวิจัย เพราะธปท.เป็นองค์กรนโยบาย จะต้องมีส่วนในชี้นำทิศทาง ชี้นำความคิดต่างๆให้กับสังคม ตั้งบนพื้นฐานของงานวิจัยที่เป็น evidence-based

    “การยกระดับบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญเพราะทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดที่แบงก์ชาติมีคือ บุคลากร ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงเราต้องยกระดับศักยภาพบุคคลากรในทุกสายงาน ทุกฝ่ายงาน ทุกคน การยกระดับศักยภาพขององค์กร ด้วยวิธีการทำงานใหม่ๆ ก็เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญ”

    “ท้ายสุดการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ทำอย่างไรให้คนเข้าใจแบงก์ชาติมากขึ้น แบงก์ชาติมีหน้าที่ตอบโจทย์คนไทย มีหน้าที่ให้บริการกับคนไทยหลากหลายกลุ่ม ในโลกที่มีความเห็นขัดแย้งกันมากขึ้น มีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องที่สำคัญ” ดร.วิรไทกล่าว

    บริบทที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย สังคมโลกทำให้งานธปท.ใน 1 ปีข้างหน้า กว้างขึ้น ยากขึ้น และต้องทำให้เร็วขึ้น ในเศรษฐกิจโลกไทยต้องเผชิญกับการปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ขณะนี้ไม่เฉพาะประเทศอุตสาหกรรมหลักเท่านั้น แต่จะเห็นว่าประเทศอื่นๆที่เป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประเทศ Advanced Economy แต่ไม่ใช่ประเทศใหญ่ ก็เริ่มปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากวันที่คณะกรรมการนโนบายการเงิน (กนง.) ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในคืนเดียวกันธนาคารกลางสหรัฐได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมไปถึง สวีเดน เม็กซิโก ที่ปรับดอกเบี้ยขึ้นด้วย

    เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะที่นโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น สภาพคล่องในระบบการเงินโลกค่อยๆปรับลดลง และความไม่แน่นอนทางการค้าโลก วันนี้ผลที่เกิดขึ้นและอาจจะเป็นผลที่กว้างและมีผลในระยะยาว ไม่ใช่การต่อสู้กัน เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าของอเมริกาเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์โลก ปัญหาที่ป้องกันไม่ให้จีนมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะยาว ภูมิรัฐศาตร์โลกเป็นเรื่องใหญ่ที่ไทยต้องเผชิญในปีหน้า ราคาน้ำมันดิบที่ขึ้นลงเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก

    สำหรับในประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่บรรยากาศการเลือกตั้ง เป็นเรื่องที่มีความไม่แน่นอน มีผลต่อการลงทุนของทั้งไทยและต่างชาติ นโยบาย ต่างๆความต่อเนื่องที่รัฐบาลที่ผ่านมาทำไว้ ก็อาจจะเป็นจุดที่ต้องจับตาเพราะเป็นต่อการฟื้นตัวและการขยายตัวของเศรษฐกิจ การเปลี่ยน แปลงเชิงโครงสร้างมีหลายเรื่องที่ต้องเผชิญ ความคาดหวังของสังคมมีความคาดหวังที่หลากหลายขึ้นและมีความคาดหวังที่แตกต่างกันมากขึ้นสำหรับคนกลุ่มต่างๆของสังคม ในสภาพสังคมเศรษฐกิจไทยที่มีความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น มีความคาดหวังที่จะให้องค์กรภาครัฐที่จะเข้ามาตอบโจทย์ หลายเรื่อง นโยบายเศรษฐกิจ มีการกล่าวกันว่าทำไมแบงก์ชาติไม่คิด ทำไมแบงก์ชาติไม่ช่วยทำ บางเรื่องเกินพันธกิจของแบงก์ชาติ บางเรื่องไม่สามารถทำได้เพียงองค์กรเดียว นโยบายหลักของแบงก์ชาติคือการดูแลเศรษฐกิจในภาพรวม แต่บางเรื่องในช่วงต่อไปต้องให้ความสำคัญกับการกระจายผลประโยชน์ การกระจายผลของนโยบาย (Distribution impact) ที่แบงก์ชาติไปยังคนกลุ่มต่างๆมากขึ้น เพราะสังคมไทยมีแนวโน้มที่มีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น

    “เราเองก็เผชิญกับความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยคนรุ่นใหม่เข้ามา วิถีชีวิตพนักงานที่หลากหลายมากขึ้น ตลาดแรงงานมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้น บุคคลากรของเราเป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้นใน 3 มิติ การรักษาเสถียรภาพ การพัฒนา และการสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กร ยากขึ้น มีความคาดหวังสูงขึ้นและเราต้องทำเร็วขึ้น” ดร.วิรไทกล่าว

    เกาะติดกลุ่มธุรกิจใหญ่ที่โยงใยเศรษฐกิจในประเทศ

    นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน กล่าวว่า ยุคนี้เป็นยุคผันผวน มีความไม่ชัดเจนทำให้การมองไปข้างหน้า ประเมินสถานการณ์ทำได้ยากขึ้น ความเสี่ยงในการมองไปข้างหน้ามีหลายเรื่อง ทั้งการปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ ภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่กระจายในหลายจุดของโลก ทั้งยุโรป ตะวันออกกลาง คาบสมุทรเกาหลี แม้ในประเทศการเลือกตั้งก็ยังมองไม่ชัดเจน

    นายเมธีกล่าวว่า ในภาวะที่มีความผันผวน เศรษฐกิจการเงินต้องแข็งแกร่ง ต้องสามารถรองรับแรงกระแทกจากคลื่นลมได้ ผู้กำกับดูแลนโยบายและผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความสามารถในการหลบเลี่ยงผลกระทบต่างๆและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างทางได้ และต้องพยายามนำประสบการณ์ที่มีมาใช้ในการแก้ไขปัญหา

    การผสมผสานเครื่องมือนโยบาย ที่มีหลายเครื่องมือ ต้องมีส่วนผสมที่ลงตัว เป็นการผสมผสานนโยบาย (policy mixed) ที่ต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ของไทย ทั้งนโยบายอัตรา นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ต้องตอมรับกันและสอดคล้องกับเศรษฐกิจแต่ละช่วง ส่วนการดูแลระบบเสถียรภาพทางการเงิน ที่เมื่อเร็วๆนี้ได้ออกมาตรการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ปีต่อไปมีบางเรื่องอาจจะต้องนำมาเข้ามาพิจารณา

    นโยบายของธปท.จะเข้ามาช่วยให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้ นโยบายที่สำคัญ คือ นโยบายด้าน supply side ทั้งเป็นการแก้ปัญหาที่มีอยู่และรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ซึ่งทุกประเทศดำเนินการ หากไทยไม่ทำอะไรก็ไม่สามารถแข่งขันได้ สิ่งที่ธปท.จะดำเนินการแม้ว่าไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ แต่สามารถให้คำแนะนำได้ ทั้งสามด้านจะทำให้มีความสอดคล้อง เสริมกันให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับประเทศ

    นายเมธีรกล่าวถึงแนวทางที่จะสร้างเสถียรภาพระบบการเงินคือ จับควันให้ไว ดับไฟให้ทัน ป้องกันไม่ให้ลาม โดยการจับควันให้ไว คือ การที่รู้ว่าจุดไหนมีความเสี่ยงอะไรมีข้อมูลที่เพียงพอ ซึ่งธปท.ได้ทำไปเยอะ คิดตามภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาคอสังหา และสหกรณ์ออมทรัพย์ ตลาดทุน สถาบันการเงิน ติดตามและมีข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาในปีที่แล้วค่อนข้างมาก รวมทั้งเห็นถึงความเสี่ยงต่างๆ

    “สำหรับระยะต่อเป็นคิดว่าเป็นข้อต่อสำคัญและเป็นจุดที่มีผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินมาก คือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความโยงใยกับธุรกิจภาคเศรษฐกิจในประเทศค่อนข้างมาก และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มีบริษัทลูกในต่างประเทศมาก ซึ่งความเสี่ยงในต่างประเทศมีมาก หากต่างประเทศเกิดอะไรขึ้น อาจจะทำให้มีผลกระทบตามไปด้วย จะพยายามข้อมูลติดตามให้ครบถ้วนมากขึ้น เป็นความท้าทาย เพราะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จะมีวิธีการในการระดมทุนหลากหลาย มีการกระจายการลงทุนที่หลากหลาย ต้องติดตามให้มากขึ้น” นายเมธีกล่าว

    ส่วนการดับไฟให้ทัน คือ การออกมาตรการ เช่น ที่ทำมาตรการอสังหาริมทรัพย์ ที่ใช้เวลาไม่มากทำได้ครบถ้วนตามประบวนการ ทั้งการใช้ข้อมูล ประเมินผลกระทบ การรับฟังความเห็นกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับก่อนประกาศใช้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เร็วและมีประสิทธิภาพมาก หากสามารถทำแบบนี้กับกระบวนการอื่น ก็จะทำให้มีเสถียรภาพมาก

    การป้องกันไม่ให้ลาม การป้องกันไม่ให้ลามไปยังจุดอื่นต้องมีการประสานข้อมูล ความร่วมมือด้านนโยบายต่างๆ กับหน่วยงานด้านกำกับดูแล ซึ่งก็ได้ทำอยู่แล้ว แต่อาจจะทำให้เป็นระบบมากขึ้น ที่สำคัญต้องมีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับเสถียรภาพระบบการเงิน เพราะแม้แต่ละหน่วยงานดูแล้วว่ามีเสถียรภาพ แต่มีข้อต่ออาจจะเป็นจุดอ่อนอยู่

    ทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน นายเมธีกล่าวว่า ไทยมีความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจด้านเสถียรภาพมากกว่าหลายประเทศ มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดค่อนข้างมาก มีเงินทุนที่ไหลเข้ามามาก ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานระยะหนึ่ง พยายามหาวิธีที่จะแก้ไข อาจจะเป็นแนวทาง 3 แนวคือ ทางแรก ให้การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดได้มากขึ้น ให้ตลาดสามารถปรับตัวได้ด้วยตัวเอง

    ขณะเดียวกันทำให้กฎเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินมีความสะดวกคล่องตัวมากขึ้น มีต้นทุนต่ำลง ไม่ดึงเงินจากต่างประเทศโดยไม่จำเป็น เพราะไทยไม่ต้องการเงินตราต่างประเทศมากเท่ากับในอดีต ให้เอกชนถือครองเงินตรามากขึ้น และสร้างระบบนิเวศตลาดเงินตราต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว การป้องกันความเสี่ยงก็สามารถทำได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะเอสเอ็มสามารถป้องกันความเสี่ยงด้วยต้นทุนต่ำ มีความเข้าใจตลาดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งแนวทางที่ธปท.ได้ทำมา จะช่วยทั้งในแง่ของธุรกิจและประเทศ และธปท. จุดที่สำคัญถ้าสามารถกระตุ้นการลงทุนของประเทศให้เพิ่มขึ้นการเกินดุลบัญชีจะลดลง แต่การลงทุนนั้นต้องเพิ่มศักยภาพให้ประเทศด้วย

    พัฒนาเครื่องมือตรวจสอบเข้มตามความเสี่ยง

    นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน กล่าวว่า สายงานเสถียรภาพสถาบันการเงินเกี่ยวข้องกับงาน 3 ด้านหลัก คือ หนึ่ง การพัฒนาระบบการเงินการชำระเงิน สอง เสถียรภาพระบบการเงิน และสาม การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนและตอบโจทย์ว่าประชาชนได้อะไรจากการทำงานของธปท.

    สิ่งที่เป็นความท้าทาย คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ การแข่งขันที่สูงขึ้น ความต้องการของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินหลาก หลายขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนแปลงไป โจทย์ยากขึ้นกว้างและต้องตอบโจทย์อย่างรวดเร็ว ในช่วง 2 ปีในช่วงปี 2560-2561 ได้มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ

    “ปี 2562 สิ่งสำคัญคือทำให้โครงสร้างพื้นฐานนี้ตอบโจทย์ได้ ระบบการเงินเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี ดังนั้นเรื่องของสถาบันการเงินต้องทบทวนโครงสร้างปัจจุบัน บทบาทของธนาคาร non-bank รวมทั้งกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และ financial landscape ให้ชัดเจน แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน financial master plan ในปีหน้าต้องมาทบทวนกัน สภาวะแวดล้อม การตอบสนองต่างๆ”,นายรณดลกล่าว

    นายรณดลกล่าวว่า โครงสร้างของ financial landscape ต้องเห็นเด่นชัดขึ้นในปีหน้า บทบาทของผู้เล่นแต่ละรายจะตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างไร ส่วนแบงก์ชาติก็ต้องทำให้เสถียรภาพมีความเข้มแข็งและทำให้การพัฒนาทางการเงินไม่เป็นอุปสรรค ต้องสร้างสมดุลให้ชัดเจน แนวคิดของธปท. ที่ผ่านมา ในการที่จะออกหลักเกณฑ์ต่างๆ ยึดแนวคิด principle based แทนที่ rules based โดยเพียงแต่กำหนดหลักเกณฑ์และหลักการ ที่เหมือนกับเป็น best practice ให้สถาบันการเงิน หากจะนำนวัตกรรมทางการเงินเข้ามาใช้ สิ่งที่ควรทำใน principle based คืออะไร เดิมใน rules based มีการกำหนดเงื่อนไขแบบเจาะจง

    “กระบวนการที่จะใช้ในข้างหน้า ที่นำ RIA เข้ามาก็อยู่บนพื้นฐานของ principle based ถ้าจะเป็นเรื่องของนวัตกรรม นำผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามา เทคโนโลยีใหม่มาใช้ อันนี้ก็จะตอบโจทย์ในเรื่องที่จะทำให้ระบบการเงินของเราปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วขึ้น สิ่งที่ทดแทนคือความเข้มแข็งของสถาบันการเงิน การที่ต้องมีระบบการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยงดีขึ้น เป็นความท้าทายของเราที่จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นในปี 2562” นายรณดลกล่าว

    กระบวนการ RIA ได้นำมาใช้แล้ว Digital Banking และ เอสเอ็มอี แต่ยังมีกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสถาบันการเงิน RIA ต้องฝังอยู่ในกระบวนการทำงาน ในการนำ principle based เข้ามาดูแลในเรื่องนี้ ฉะนั้นอันนี้เป็นหลักสำคัญหนึ่ง ในการทำงานการกำกับดูแล RIA และ principle based มากขึ้น ดังนั้นในปีหน้าสิ่งที่ธปท.จะต้องทำคือ ออก principle based ในแนวทางที่ให้สถาบันการเงินนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บริการครบวงจรงบนพื้นฐาน principle based

    นอกจากนี้ธปท.มองว่า การให้สถาบันการเงินทดลองนวัตกรรมใน Sandbox ของตัวเอง คงจะตอบโจทย์ของตัวเอง เพราะเป็นสิ่งที่ริเริ่ม เป็นนวัตกรรมของตัวเองเพื่อได้ทดสอบกับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์ที่คิดขึ้นมาตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่ มีการควบคุมความเสี่ยงที่รัดกุมหรือไม่ แทนที่จะเข้ามาใน sandbox ของ ธปท. ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นกรอบและมีหลักการที่ชัดเจนว่า อะไรที่ทำใน sandbox ของตัวกับอะไรที่ควรเข้ามาใน sandbox ของแบงก์ชาติ โดยในหลักการกว้างๆคือ อะไรที่เชื่อมโยงกัน เช่น มาตรฐาน QR ให้เข้ามาใน sandbox แบงก์ชาติ แต่หากเป็นเรื่องเจาะจงของธนาคารก็ทดสอบใน sandbox ของตัวเอง

    นายรณดลกล่าวว่า ระบบการชำระเงินเป็นเรื่องที่โดดเด่นในปีที่ผ่านมา มีการใช้เพย์เม้นท์มากขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือ ความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการเพย์เม้นท์เหล่านั้น เชื่อมั่นว่ามีความปลอดภัย มีความเสถียรและมีความสะดวก ในการใช้ ธปท.ต้องเร่งพัฒนาในหลายเรื่องในปีหน้า เรื่องแรก คือการทำมาตรฐาน QR Payment ซึ่งธปท.ต้องการเห็นมาตรฐาน ISO 2022 รวมการการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์มาตรฐาน ISO 27100

    เรื่องที่สอง ongoing supervision ซึ่งได้นำมาใช้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นการกำกับดูแลสถาบันการเงินของแบงก์ชาติโดยไม่ต้องไปตรวจภาคสนาม ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาเครื่องมือจับประเด็นความเสี่ยงได้เร็วขึ้น จากการดูข้อมูลต่างๆ ในลักษณะ market dashboard ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าความเสี่ยงด้านตลาด การลงทุน อัตราแลกเปลี่ยน ของแต่ละสถาบันการเงิน

    ในไตรมาสแรก ปีหน้า สิ่งที่ธปท.จะออกมา คือ เครื่องมือที่เกี่ยวกับ credit dashboard กับ liquidity dashboard ซึ่งเป็นความเสี่ยงสำคัญของธนาคารพาณิชย์ และเครื่องมือที่พัฒนานี้จะสามารถเห็นถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ แต่ละช่วงเวลาของแต่ละสถาบันการเงิน ที่ต้องจับสัญญานและต้องดูแลเป็นพิเศษ เครื่องมือเหล่านี้จะทยอยออกมา ซึ่งจะทำให้ผู้ตรวจสอบทำงานในช่วงที่ ongoing ได้มากขึ้น

    ธปท.ได้นำ Data Analytic กับ Text mining เข้ามาใช้กับกระบวนการตรวจสอบ ที่ผ่านมาได้ใช้เทคโนโลยีนี้เข้ามาอ่านรายงานการประชุมของคณะกรรมการ จับว่า ในการประชุมแต่ละครั้งมีการประชุมเรื่องอะไรบ้าง ความคิดเห็นของกรรมการ ความหลากหลายของความคิดเห็น ความสมดุลในการลงความเห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยผู้ตรวจการที่ต้องอ่านรายงานการประชุมเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งการอ่านก็อาจจะไม่พบอะไร แต่การใช้ text mining จะช่วย จับสัญญานวัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมความเสี่ยงได้ดีขึ้น

    วัฒนธรรมความเสี่ยงกับพฤติกรรมขององค์กร (corporate behavior) เป็นเรื่องที่ธปท. ให้ความสำคัญในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการออกแบบสอบถามความคิดเห็นคณะกรรมการผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน ในด้านวัฒนธรรมองค์กรและการบริหารความเสี่ยงของตัวเอง โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งเป็นการประเมินตัวเอง self assessment แบบหนึ่ง ก็ได้ผลลัพธ์ระดับหนึ่ง ต้องยอมรับการประเมินตนเองมีความโน้มเอียงส่วนหนึ่ง ส่วนในปี 2562 การดูแลและการประเมินพฤติกรรม วัฒนธรรมของสถาบันการเงินจะมีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อให้สถาบันการเงินมีความชัดเจนมากขึ้นในวัฒนธรรมความเสี่ยง

    ในแง่มุม IT security ธปท.ให้ความสำคัญมาก รู้ว่าต้องมีเครื่องมือในการป้องกัน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ให้ระบบกลับขึ้นมาใช้งานได้อย่างปลอดภัยในเวลาที่สมควร ดังนั้นจากการตรวจจับ detect และการป้องกัน protect แล้วในปี 2562 การตอบสนอง response การกู้ระบบ recovery จะเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนแนวทางนั้นเป็นสิ่งที่คณะกรมการ ผู้บริหารแต่ละธนาคารให้ความสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการซักซ้อมกับคณะกรรมการ ผู้บริหารเกี่ยวกับการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไปแล้ว

    นายรณดลกล่าวว่า ในปีหน้า ธปท.จะประสานงานกับธนาคารกลางอื่นในภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งว Threat Intelligence การประเมินเหตุการณ์ล่วงหน้า ว่าอาจจะเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์

    การตรวจสอบการชำระเงินจะใช้แนวทางการตรวจสอบเดียวกับสถาบันการเงิน คือ ongoing supervision เงิน การบริหารความเสี่ยง สร้างเครื่องมือที่ช่วยให้รู้ได้เกี่ยวกับการชำระเงิน

    “ที่สำคัญและมองข้ามไม่ได้ คือ การตอบโจทย์ การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน การให้บริการทางการเงินที่ทั่วถึงและเป็นธรรม ที่ผ่านมามีหลายเรื่องที่ได้ทำ เช่น คลินิกแก้หนี้ เพื่อตอบโจทย์คนที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาทางออกไม่ได้ แต่ยังมีข้อจำกัดหลายเรื่อง จึงได้เพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเข้าถึงคลินิกแก้หนี้ และปีหน้าหวังว่าคลินิกแก้หนี้จะครอบคลุม non bank มากขึ้น” นายรณดลกล่าว

    นายรณดลกล่าวว่า Market conduct ได้ดำเนินการไปแล้ว แต่ต้องการให้มีการพัฒนามากขึ้น อยากให้ฝังอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร ในการดูแลผู้บริโภคนอกเหนือจากการให้บริการทางการเงิน สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป คือการให้ข้อมูลผู้บริโภคให้เปรียบเทียบ รวมทั้งต้องมีการตรวจสอบด้านการให้ผลตอบแทนภายในของธนาคารให้มีความสมดุลกับการขายกับการคุ้มครองผู้บริโภค

    “สิ่งที่เราจะทำมากขึ้นคือ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับโมบายแบงกิ้ง ซึ่งบางครั้งผู้บริโภคตอบรับไปโดยไม่รู้ว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง อาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่รู้ว่าให้อะไรไปบ้าง ปี 2562 จะเพิ่มความสำคัญกับ market conduct ด้านโมบายแบงกิ้งมากขึ้น นอกจากนี้จะให้ความสำคัญด้านการให้ความรู้ด้านการเงิน Financial literacy มากขึ้น เช่น การชำระเงิน ถ้าคนใช้บริการขาดความรู้ความเข้าใจ จะนำไปสู่ความเสี่ยง ขาดความเชื่อมั่น” นายรณดลกล่าว

    พัฒนาคนเท่าทันโลกสร้างวัฒนธรรมเรียนรู้ใหม่

    นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการ ด้านบริหารกล่าวว่า ส่วนงานสนับสนุนได้ทำใน 3 เรื่องหลักมาต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนให้งานส่วนหน้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ คน กระบวนการทำงานและข้อมูล โดยในเรื่องคน ยอมรับว่าธปท.ก็เข้าสู่สังคมสูงวัย โดยอายุพนักงานเฉลี่ย 47.5 ปี แต่ละปีรับเด็กรุ่นใหม่ราว 100 คน และให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานที่หลากหลายอายุ หลากหลายสาขาวิชาชีพ ให้ผสมกลมเกลียวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ คือ ธปท.จะมีพนักงานที่กำลังจะเกษียณอายุใน 5 ปีข้างหน้าในระดับ ผู้อำนวยการขึ้นไป 44 คน ในจำนวนนี้เป็นระดับผู้ช่วยผู้ว่าการ 11 คนจาก 17 คน ฉะนั้นต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนดูแลการสืบทอดตำแหน่งสำคัญในธปท. ให้มีความต่อเนื่อง มีความมั่นใจทั้งจำนวนคนที่เหมาะสมให้การดำรงตำแหน่งที่สำคัญ มีคุณภาพ ศักยภาพที่ตรงกับตำแหน่งด้วย

    นอกจากจำนวนคน ศักยภาพที่เหมาะสมแล้ว ต้องมีกระบวนการทำงานที่ยืดหยุ่นรองรับความท้าทายใหม่ได้ ต้องเท่าทันสภาวะแวดล้อมใหม่ เท่าทันเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว แม้พนักงานค่อนข้างอาวุโสจำนวนมาก แต่พยายามจัดระบบการทำงานต่างๆ ให้พนักงานสามารถมีประสบการณ์ที่หลากหลาย มีวางระบบให้พนักงานย้ายงาน เปลี่ยนหน้างานเพิ่มประสบการณ์ มีการสร้างวัฒนธรรมให้มีการเรียนรู้ใหม่ตลอด เวลา มีการทำงานข้ามสายงานเป็นระบบที่ไม่จำเป็นต้องมีหัวหน้าคนเดียว เป็นงานโครงการที่ต้องประสานความร่วมมือกับหลายฝ่าย มีการส่งเสริมให้พนักงานสมัครขอย้ายงานด้วยตัวเอง และสมัครเลื่อนตำแหน่งได้ด้วย

    “เราพยายามสร้างภาวะให้พนักงานตื่นตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ ขยายประสบการณ์ หน้างานให้มากขึ้น และจะให้ความสำคัญมากขึ้นในปีต่อๆไป” นายไพบูลย์กล่าว

    ส่วนที่ไม่สามารถสร้างพนักงานได้ทันกับความท้าทายของโลกใหม่ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้มีการรับบุคคลภายนอก ในระดับ mid- career เข้ามาในหลายระดับตั้งแต่ระดับรองผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการอาวุโส และผู้ช่วยผู้ว่าการ เพราะต้องยอมรับความจริงว่าบางครั้งบางจุดไม่มีพนักงานที่มีทักษะเพียงพอ รองรับสิ่งใหม่ได้ทัน ต้องอาศัยบุคลากรจากภายนอก ในปีหน้าสายทรัพยากรจะประเมินว่ามีช่องว่างตรงไหน จะเติมเต็มอย่างไร จะใช้ทรัพยากรจากภายในส่วนใด บางส่วนอาจจะใช้จากภายนอก

    นายไพบูลย์กล่าวว่า จะนำหลักการ RIA มาประยุกต์ใช้กับกระบวนการอื่น นอกเหนือจากการนำไปใช้กับการกำกับดูแลการให้บริการ Digital Banking และเอสเอ็มอี โดยหลักเกณฑ์ของ RIA มีด้วยกัน 3-4 ข้อ คือ การออกกฎเกณฑ์ต้องถามว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะออกกฎเกณฑ์ ถ้าจำเป็นแล้ว เกณฑ์ที่จะออกมีวิธีเดียวหรือไม่ ได้ผลหรือไม่ มีทางเลือกอื่นหรือไม่ สาม หากมีทางเลือกอื่น ได้ประเมินประสิทธิผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือยัง โดยใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงในการวิเคราะห์ และสุดท้ายได้สอบผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วหรือยัง

    วิธีการทำงานอย่างนี้ที่ผ่านมาได้ใช้กับกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น การควบคุมปริวรรตเงินตรา SME Financing หรือ Digital Banking เราต้องการใช้กรอบการทำงานนี้กับทุกงานที่ทำ ปีหน้ากฎเกณฑ์เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลซึ่งมีกฎเกณฑ์จำนวนมาก สลับซับซ้อน คาบเกี่ยวลักลั่น ก็จะสังคายนาให้ง่ายต่อการใช้งานและมีผลลัพธ์ตรงกับสิ่งที่ต้องการ เป็น process driven มีความยืดหยุ่นรองรับความต้องการของพนักงานที่หลากหลายมากขึ้น จะพยายามทำให้เป็นส่วนหนึ่งของ DNA ในการทำงาน” นายไพบูลย์กล่าว

    เรื่องสุดท้ายข้อมูล ธปท.มีความน่าเชื่อถือในการดำเนินนโยบายต่างๆ ไม่ใช่เพราะการเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย แต่สิ่งที่ทำมาตลอด คือ นโยบายการแสดงความเห็นต่างได้ใช้ฐานความรู้ ฐานข้อมูลและการวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมา โดยยึดหลักวิชาการ สิ่งที่ทำในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคือ การใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างละเอียด รายธุรกรรม รายคนได้มากขึ้น ที่ผ่านมาได้สรรหาข้อมูลจากหลายองค์กรมาใช้ เพื่อใช้ในการจับชีพจรเศรษฐกิจ

    ขอบเขตของการวิเคราะห์มีมากมาย บางครั้งได้ข้อมูลมาก็ให้ data scientist เข้าไปดูแล นอกจากใช้กับงานด้านเศรษฐกิจ สถาบันการเงินแล้ว ก็จะนำมาใช้กับงานด้านบริหารภายในมากขึ้น การดูแลพนักงาน และด้านงบประมาณด้วย อย่างไรก็ตามการที่มีข้อมูลมากมายโดยที่หลายเรื่องเป็นรายธุรกรรม ต้องมีกรอบ การใช้ข้อมูลด้วย หรือ Data governance ที่เข้มงวดและสอดคล้องกับการออกกฎเกณฑ์ มาตรฐานสากลของโลกยุคใหม่ การเก็บ การใช้การแชร์ครบวงจร เพื่อให้ความมั่นใจว่าคนที่ให้ข้อมูลมา ข้อมูลมีความปลอดภัยไม่รั่วไหล โดยจะนำเครื่องมือตรวจสอบการรั่วไหลของข้อมูลมาใช้

    เชื่อมโยงต่างประเทศขยายการใช้เงินสกุลท้องถิ่น

    นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร กล่าวว่า งานต่างประเทศปีหน้าจะยึดแนวทางเดียว กับการทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนของไทย ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดไว้แล้ว คือ การเสริมสร้างการเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน แบงก์ชาติจะเดินต่อภาคการเงินหลายเรื่อง โดยเฉพาะการดูแลความมั่นคงด้านไซเบอร์ การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล data governance การสร้างความร่วมมือด้านนี้ไม่ได้เฉพาะอาเซียน แต่มีกลุ่มอื่น เช่น WEF สนใจที่จะเสนอแนะแนวทางในกรอบของอาเซียน ซึ่งจะทำให้ยกระดับคสวามมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์

    “ส่วนที่สองเป็นความร่วมมือที่ทำอยู่แล้ว ทั้ง การส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่น ไทยเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับอาเซียนมากที่สุด การทำความเชื่อมโยง การส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นที่ธปท.เป็นผู้ริเริ่ม ก็จะขยายจำนวนประเทศให้มากขึ้น เพราะทุกประเทศตระหนักว่า การมีทางเลือกอื่นในการชำระค่าสินค้าบริการระหว่าง นอกเหนือจากเงินสกุลหลัก เป็นทางเลือกที่สำคัญในภาวะที่เงินสกุลหลัก มีความผันผวนมากในโลกปัจจุบัน”นางจันทวรรณกล่าว

    ทางด้านความยั่งยืน เป็นหัวข้อที่รับมาจากแนวคิดหลัก การเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน ภาคการเงินต้องแสวงหาความร่วมมือในกรอบอาเซียนเพื่อเดินไปด้วยกัน เพราะความยั่งยืนคงไม่ได้ทำในปีเดียว เชื่อว่าเมื่อเริ่มจากประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้านที่รับหน้าที่ประธานต่อไป ก็คง จะเดินหน้าเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้ภาคการเงินภูมิภาคนี้มีความเข้มแข็ง เพราะคำนึงถึงบทบาทของภาคการเงินต่อส่วนรวมภาคประชาชนมากขึ้น

    “เรื่องสุดท้ายคือการมีส่วนของ stakeholder ในปีหน้าจะมีการพัฒนาการสื่อสารให้เท่าทัน ทั้งช่องทางการสื่อสาร และวิธีการสื่อสาร เพราะยุคสมัยใหม่ ที่คนรับสารไม่นิยมอ่านข้อความที่มีความยาว รวมทั้งจะริเริ่มขยายความร่วมกับstakeholder ที่ไม่ได้มีโอกาสใกล้ชิดมาก เช่น องค์การคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มการค้า ภาคเศรษฐกิจต่างๆ” นางจันทวรรณกล่าว

    Source: ThaiPublica
    https://thaipublica.org/2018/12/vee...ai-people-get-from-policy-strategic-planning/

    ขมคลิปงานสำคัญของ ธปท. ปี 2561
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    IMG_6801.JPG
    (Dec 28) รายงาน: 'เวียดนาม' แชมป์ 'ไอพีโอ' อาเซียน ปี 61- สิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินระหว่างประเทศที่สำคัญ ได้เสียมงกุฎในฐานะตลาดที่มีการเสนอขายไอพีโอสูงสุดในปี 2561 เสียแล้ว และตลาดที่มากระชากมงกุฎไปจากสิงคโปร์คือเวียดนาม ซึ่งมักเป็นตลาดนอกสายตานักลงทุน

    ความจริงแล้ว บริษัทที่จัดทำดัชนีรายใหญ่ ๆ ถือว่าเวียดนามยังเป็นตลาดชายขอบ (frontier market ) ซึ่งหมายถึงว่ามีความมั่นคงน้อยกว่าและมีความเสี่ยงมากกว่าแม้แต่กับตลาดเกิดใหม่ ในขณะที่สิงคโปร์จัดชั้นว่าเป็นตลาดที่พัฒนาแล้ว

    ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่า การปรับตัวลงของตลาดสิงคโปร์ในปีนี้ไม่เกี่ยวกับการเติบโตของตลาดเวียดนาม สิงคโปร์เป็นเศรษฐกิจเปิดที่มั่งคั่งย่อมมีผลกระทบจากพัฒนาการทั่วโลกมากกว่าและมีหลายเหตุผลที่บริษัทจะระงับแผนจดทะเบียนในปี 2561

    เตย์ วี หลิง ผู้อำนวยการฝ่ายบริการเสนอขายหลักทรัพย์และมาตรฐานการรายงานทางบัญชีระหว่างประเทศทั่วโลกภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสิงคโปร์ของดีลอยต์ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 สงครามการค้าโลก ความตึงเครียดทางการเมืองและตลาดผันผวน ได้มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ที่อยากจะเสนอขายไอพีโอเลื่อนจดทะเบียน

    ความซบเซาของตลาดสิงคโปร์ในปี 2561 ยังเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่กิจกรรมในการเสนอขายไอพีโอทั่วโลกลดลงเช่นกันเมื่อหลายบริษัทระงับแผนขยายธุรกิจท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมืองที่ไม่แน่นอน

    จากข้อมูลของอีวาย การเสนอขายไอพีโอในสิงคโปร์ในปี 2561 มีทั้งหมด 13 ตัว ซึ่งระดมเงินได้ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ สูงเป็นอันดับสี่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอันดับหนึ่ง คือ เวียดนาม ตามมาด้วยไทยและอินโดนีเซีย

    เวียดนามกระโดดขึ้นมาอยู่ในอันดับหนึ่งในปี 2561 ด้วยการเสนอขายไอพีโอ 5 ตัว แต่ระดมเงินได้ถึง 2,600 ล้านดอลลาร์ การเสนอขายไอพีโอขนาดใหญ่ในประเทศเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลเดินหน้าผลักดันการแปรรูปที่รอคอยกันมานาน ไอพีโอของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ชื่อว่า วินโฮมส์ ระดมทุนได้มากสุด 1,350 ล้านดอลลาร์และเป็นบริษัทที่เสนอขายไอพีโอมากสุดเป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2561

    แลนด์สเคปเปลี่ยนรายงานของเบเกอร์ แมคเคนซี และออกซฟอร์ด อีโคโนมิกส์ ชี้ว่า รัฐบาลเวียดนามน่าจะขายหุ้นอีกหลายบริษัท ดังนั้นเวียดนามจึงอาจยังคงเป็นประเทศที่มีการเสนอขายไอพีโอสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ โดยมีการคาดการณ์เมื่อต้นเดือนนี้ว่า เวียดนามจะระดมเงินจากการเสนอขายไอพีโอมากสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงปี 2563 โดยมีสิงคโปร์และไทยตามมาติด ๆ

    ธัม ตั๊ก เส็ง ผู้อำนวยการตลาดทุนสิงคโปร์ของพีดับเบิลยูซี กล่าวว่า การเติบโตของเวียดนามและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจทำให้ตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคแข่งขันกันอย่างรุนแรงเพื่อให้มีการจดทะเบียนใหม่ ๆ ซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อสิงคโปร์ให้สร้างความแตกต่างมากขึ้นเพื่อที่จะโดดเด่นกว่าตลาดอื่น ๆ

    สิงคโปร์ได้เป็นศูนย์กลางในการระดมทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาหลายปี แต่หลาย ๆ เหตุการณ์ เช่น การพังครืนของหุ้นขนาดเล็กในปี 2556 ได้ทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปริมาณการซื้อขายและการเสนอขายไอพีโอลดลง แต่สิงคโปร์ได้ฟื้นตัวกลับมาในปี 2559 และ 2560 จึงอาจมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวแบบเดียวกันในปีหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความเชื่อมั่นของนักลงทุนดีขึ้น

    Source: ข่าวหุ้น

    https://www.cnbc.com/2018/12/27/vie...largest-ipo-fundraiser-in-southeast-asia.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6801.JPG
      IMG_6801.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53.9 KB
      เปิดดู:
      34
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สัญญาณมหากลียุค Signs of the end in Current Events


    ปูตินเป็นโกกหรือไม่?http://www.christianevidence.net/20...Fk7n8NBXu_b3TIJ11_VCjs6FY6r8MwtX0lpkDXf0YaLjQ

    ถ้าใช่.. ปูตินจะนำทัพบุกอิสราเอลเป็นสงครามโกกและมาโกกในทำนาย สงครามอมาเกโดนหรือสงครามวันสิ้นสุดในพระคัมภีร์ ..


    โกกและมาโกกพูดกันนานมา นี่มันจะสิ้นปีแล้วเมื่อไหร่เหตุการณ์จะระเบิดขึ้น? นั่นสิ.. อย่าลืมเราตามดูวัดสามอยู่ไง คิดว่าไม่นานนี้ใครสักคนจะเผยธาตุแท้ออกมาเพื่อนำในเหตุการณ์ก่อนวัดแล้วเสร็จ..และบางอย่าง? อาจจะ "คน" หรือตัวแทนความดีความร้ายเป็นสัญลักษณ์เช่นบาโฟแมทจะได้ เข้าไปในวิหารแล้วความเลิศร้างก็เกิดขึ้น...


    " แต่ก่อนการทำลายเกิดขึ้นจะมีการทำร้ายกันอยู่เนือง ๆ สงครามแต่ละขนาด! - พร้อมสัญญานภัยพิบัติจากธรรมชาติ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ สภาพอากาศ อื่นๆ .."

    ดังนั้นเรามีเหตุการณ์ที่ครุกรุ่นที่กำลังเตรียมอุบัติแบ่งเป็น สามระดับ


    - ในตะวันตก สหรัฐฯอาจจะเริ่มระเบียบฯ โดยธงเท็จ หรือ ล่มสลายของระบบการเงิน ปากท้อง อื่นๆ ในเร็วนี้ (ช่วงสร้างวัดสาม)

    - อื่น ๆ ยุ่งยากเพราะอะไรไม่รู้ๆแต่ก่อนสีทองผ่องอำไพต้องโน่นๆนี่นั่น !!!

    - ตะวันออกกลาง ก็คืออิสราเอลเป็นตาของพระเจ้า เป็นถ้วยเรียกแต่ละประเทศกลิ้งไปทำสงคราม ... ดูที่ปูติน อิหร่าน (ตุรกีแม้จะยึกยักอยากเป็นใหญ่ในโลกอาหรับแต่เหมือนว่าท้ายสุดจะไม่เอานักเลงโตบิ๊กกัน.)


    ถ้าวันสิ้นสุดตั้งค่าระดับ 3 ที่เป็นตอนนี้ความร้อนแรงระดับ 1+ ระดับ 2 อาจจะเริ่มของเศษฐกิจตกทั่วโลกขนาดใหญ่พร้อมโกลาหลหรือสงครามกลางเมืองสหรัฐ หรือโกลาหลในที่อื่น ๆ ..และมันอาจจะ มันอาจจะเกิดขึ้นภายหลัง " การประกาศอิสรภาพ!! " ดูคำทำนายที่ว่า "เมื่อกล่าวกันว่าสงบและปลอดภัยดีแล้วฉับพลับการทำลายก็เกิดขึ้น!!" ..


    มีการพูดกันเรื่องเสรีภาพกันมากแล้วเมื่อไหร่ของจริงจะมา? ดูสัญญานการเริ่มต้นทำลายของการชำระล้างโลกทั้งหมดเพื่อการเกิดใหม่ ลองอ่านทำนายแรบบี "โลกกำลังประสบกับการทำลายและการเกิดใหม่ในเวลาเดียวกัน."




    ดังนั้นตอนนี้เราตามดูการจัดการเรื่องเสรีภาพและสันติภาพของทั้งหมดที่อิรุงตุงนังและคาดว่าสันติภาพที่ไม่จีรังจะเกิดขึ้นชั่วคราว จะมีความสงบลงชั่วครู่


    รัสเซียกล่าวเรียกร้องต่อกลุ่มสันนิบาติอาหรับรับซีเรียสู่อ้อมแขน และตอนนี้ดูเหมือนว่ากลุ่มอาหรับต้อนรับแล้ว..

    ต่อมาดูที่รัสเซียกำลังช่วยปาเลสไตน์สร้างสันติภาพ (ภายหลังอับบาสไม่ยอมรับแผนทรัมป์) คาดว่าคงสำเร็จได้ เพราะคิดว่าอิสราเอลไม่กล้าทำอะไรมากไปกว่าที่ทำอยู่ และในระหว่างช่วงนี้เองคาดว่าเหตุการณ์ในสหรัฐน่าจะเริ่มแล้ว และวัด 3 ก็น่าจะเสร็จแล้วพร้อมที่มารจะได้เข้าไปและตามมาด้วยเหตุการณ์ระดับ 3 ...


    และช่วงนี้เองทุกคนจะแหงนมองฟ้าโดยอัติโนมัติ!!! ต่อสิ่งใหญ่ตามทำนาย..

    และเราจะ นึกถึงผู้ทำให้เกิดและล่มสลาย

    มนุษย์เราจะนึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดโดยอัติโนมัติ!!!?


    หมายเหตุ: ไปรับยาที่ช่องรับยา 3 ก่อน


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Public Post


    แอร์โดกันพูดชัด ตุรกีไม่มีธุระใดอีกในเมืองมันบิจของซีเรีย หลัง YPG ออกไปแล้ว

    https://www.publicpostonline.net/21110


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,657
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฐานเศรษฐกิจ

    IMG_6804.JPG IMG_6805.JPG
    จ้างผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทำงานได้ยกเว้นภาษี 50 % #ฐานเศรษฐกิจ





    วันนี้(28ม.ค.2561) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 670) พ.ศ.2561 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 112 ก โดยพ.ร.ฎ.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


    สาระสำคัญของพ.ร.ฎ.นี้ตามมาตรา 3 คือ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งรับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเข้าทำงาน สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฉพาะที่มีการจ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 256 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด


    ในกรณีที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทำงานในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หลายแห่งในเวลาเดียวกัน ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเข้าทำงานก่อนได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง

    การจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่นายจ้างมีค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างในแต่ละเดือนเกินกว่า15,000 บาท หรือการจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินอื่นนอกเหนือจากเงินได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากรในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินกว่า100,000 บาท

    เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรสนับสนุนให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเข้าทำงาน สมควรยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเฉพาะที่มีการจ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2561 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้


    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/112/T_0089.PDF
     

แชร์หน้านี้

Loading...