การเดินจงกรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ณฉัตร, 13 พฤษภาคม 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อีก :cool:
     
  2. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ลองเดินดูไม่ละไม่เลิก สลับกับนั่งสมาธิ
    ได้ประโยชน์มากเกินกว่าที่เราคิดนะครับ

    ถ้าทำถูกวิธีก็เห็นอริสัจจ์ได้เป็นลำดับลำดับครับ
     
  3. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    สาธุ อนุโมทนาครับ คุณมาจากดินครับ การเห็นความเสื่อมของสังขาร(ในที่นี้หมายถึง ร่างกาย) เห็นแม้นิดเดียวก็เป็นกุศลมากครับ สำหรับหลายคนได้ยินมาว่าเห็นนิมิตรเป็นโครงกระดูกก็มีครับ อาการนิมิตรกรรมฐานจะเห็นด้วยตาเนื้อหรือตาใจก็จัดเป็นนิมิตรกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ก็สอนให้ยกมาพิจารณาครับ แต่ต้องประคองสติสมาธิไว้ด้วย
     
  4. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    การเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิแบบกำหนดลมหายใจสามารถยกจิตเข้าสู่วิปัสสนาจากการกำหนดรู้การเดิน และการหายใจได้อยู่แล้ว แต่อาจเป็นเพราะจิตเราไม่ฉลาดพอ ที่จะพัฒนาการกำหนดรู้ไปมากกว่าสะสมสติและสมาธิ แล้วก้าวไปสู่การวิปัสสนา มักกำหนดจนไปที่ผลสมาธิ และติดสุขจากสมาธิ ตามพุทธธรรมจึงให้ถอยหลัง เมื่อจิตเป็นหนึ่งเดียว จนกลับมาบริกรรมเหมือนเพิ่งเริ่ม ทำให้ชำนาญ ทั้งขาขึ้นและขาลง จากนั้นจะเข้าสภาวะจิตระดับไหน ก็สามารถดึงอารมณ์กรรมฐานได้ทันที วิธีนี้ทำได้ง่ายจากการกำหนดลม ส่วนการเดินจงกรม จะไม่ถึงระดับหนึ่งเดียวเพราะต้องกำหนดรู้สภาวะโดยรอบด้วย แต่สามารถยกเข้าวิปัสสนาโดยจับอิริยาบถแห่งกาย พิจารณาความล่วงไปเป็นอนิจจะลักขณะ หรือพิจารณาสภาวะองค์ธรรมของสภาวะที่สังเกต คือ เห็นรูป เห็นนาม เห็นจิต จนเห็นไตรลักษณ์ของนามรูปก็ได้ ส่วนอานาปานสติหากไม่ติดสุขจากสมาธิก็พิจารณาลม แต่เมื่อสมาธิพัฒนาจนดับลมหายใจ อาการรู้ลมหายใจจะไม่มี จึงไม่อาจพิจารณาได้ เมื่อนั่งสมาธิหลับตา เมื่อได้สมาธิสูงจึงยกขึ้นสู่วิปัสสนาได้หลายแบบ มากกว่าจะพิจารณาอาการของลมหายใจ เพราะหากจะพิจารณาลมหายใจต้องลดระดับสมาธิลง จนจิตมารับรู้และกำหนดลมหายใจได้ แต่หลายคนก็อาจนำสมาธิ ไปพิจารณากายในกาย ตั้งแต่พิจารณากายจริงๆ หรือพิจารณากายในก็ได้ พิจารณาเวทนาก็ได้ พิจารณาจิตคือพิจารณาองค์ประกอบในจิต หรือพิจารณาธรรมก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่อุปนิสัยครับ
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,432
    ค่าพลัง:
    +35,430
    ออกตัวล้อฟรีก่อนว่าไม่มีความชำนาญในการเดินจงกลมนะครับ.
    แต่เห็นประโยชน์ การเดินจงกลมสลับกลับการนั่งสมาธิแบบพิธีการ
    พบว่ามันมีส่วนที่ช่วยหนุนและสัมพันธ์กันพอจะสังเกตุได้ดังนี้ครับ.
    ๑.ถ้าเดินก่อนนั่ง ทำให้จิตสงบได้นานขึ้น
    เนื่องจากได้กำลังสมาธิสะสมจากการเดินมาช่วยหนุนส่งเสริม
    ทำให้ผ่านสภาวะที่มีเรื่องราวในอดีตผุดขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจ
    ในระดับปฐมฌานซึ่งเป็นเหตุทำให้ระดับสมาธิไม่ยกระดับ
    และเป็นเหตุให้เลิกนั่งเนื่องจากแม้ว่าจะยกจิต
    ให้เข้าสู่สภาวะเป็นทิพย์แทนได้ เรื่องที่ผุดขึ้นมา
    ก็ยังไม่ยอมวางครับ. หรือพิจารณายังไง
    มันก็มีเรื่องอื่นๆเปลี่ยนขึ้นมาเรื่อยๆ

    ๒.ในระดับสมาธิใช้งานทางด้านกำลังจิตต่างๆในระดับลืมตา
    ทำให้ส่งผลต่อร่างกายน้อยลง พูดง่ายๆคือเหนื่อยน้อยลง
    และใช้งานในขณะนั้นในเรื่องนั้นๆได้นานขึ้น
    ๓.กำลังสมาธิสะสมที่ได้จากการเดินช่วยหนุน
    ให้อยู่ในสภาวะอารมย์สำหรับวิปัสสนาได้นานขึ้น

    ๔.ช่วยหนุนผลของกำลังจิตใช้งานได้ดีขึ้น
    เช่น เมื่อก่อนทำ A ใช้เวลา ๕ นาที
    ในการสำเร็จผลเวลาใช้งานจะเหลือ ๒ นาทีเป็นต้น
    พูดง่ายๆคือหนุนกำลังจิตใช้งาน. (ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ)
    ๕.ถ้าผ่านข้อ ๑ กับ ๓ มาจะทำให้มีกำลังในการป้องกัน
    อารมย์กระทบต่างๆที่มาจากภายนอก และวางอารมย์กระทบที่ผุดขึ้น
    มาจากสัญญาในอดีตต่างๆที่เป็นผลให้เกิดการกระทบข้างในจิตเรา
    ที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินชีวิตปกติปะจำวันของเราวางได้ง่ายขึ้นครับ.

    ปล.ส่วนขั้นที่เดินจนสามารถเห็นกายตน และเห็นส่วนประกอบต่างๆของกาย
    จนกะทั่งเห็นอวัยวะต่างๆดับสลายไปจนระเบิดและเกิดความสว่างสไสว
    และเกิดผลจนจิตสามารถตัดกายได้ถึงขั้นละเอียดนั้น ยังไม่มีประสบการณ์
    ขณะเดิน แต่เคยได้อ่านผ่านๆมาบ้าง เรื่องแม่ชีท่านหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับ
    หลวงตาผูมากบารมี มีชื่อ ที่ช่วยเหลือประเทศชาติเกี่ยวกับทองคำครับ

     
  6. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ขอบคุณครับ ประสบการณ์ที่ผมเล่า อาจเล่าแล้วดูโอเว่อร์ไปบ้าง แต่จริงๆ มันก็เป็นเพียงนิมิตรบ้าง หรือการรับรู้ที่เกิดเพราะจิตมันสงบมากแล้วเอาไปใช้ดูใช้ฟังกาย มันเหมือนจิตมันขยายให้เราเห็นชัดครับ ร่างกายคนเรามันสั่นไหวตามการเคลื่อนไหวอยู่แล้วแต่จิตเราดันมีกำลังขยาย เลยเห็นหรือได้ยินมันอึกทึกเหมือนแผ่นดินไหว แต่คนที่เค้าคนจงกรมหรือที่อยู่โดยรอบก็ไม่ได้เห็นหรือรู้สึกไปกับเรา พอเห็นหรือยินชัดก็รู้สึกสัมผัสเหมือนมันจะพังทลายได้ง่าย เหมือนเราเห็นแผ่นดินไหวก็รู้สึกว่าข้าวของต้องพังแน่ๆ พอจิตขยายการรับรู้เลยกลัวเพราะรู้สึกว่าการสั่นไหวของกายมันทำให้ไม่มั่นคงในชีวิตครับ ส่วนการรับรู้เหมือนเห็นร่างตัวเองแบบทั้งตัวทั้งที่เห็นแต่ข้างหน้าและควรเห็นแต่ข้างหน้า ของผมไม่ได้โอเว่อร์เหมือนเห็นกายในกายอย่างตอนนั่งสมาธินะครับ มันเป็นการที่จิตรับรู้กว้างขึ้นจิตคงแปลให้เรารับรู้ด้วยแล้ว จิตก็สร้างภาพในมโนให้เราทราบแล้วให้เราทราบขณะเรากำลังรับรู้ทางตาทางกายมันเลยซ้อนกัน มันเหมือนเห็นซ้อนกัน มันจะหลอนนิดๆครับ การเห็นเหมือนแสงไฟที่เกิดดับ การเห็นเหมือนเหมือนเปลวไฟ ก็คือจิตไปขยายการรับรู้ของแสงที่กระทบร่างกายเรา หรือจิตไปรับรู้เตโชธาตุในกายเรา แต่เป็นการรับรู้แบบขยายส่วนครับ ส่วนการเห็นกายในกาย นั้น ทุกคนก็แทบจะเห็นกันได้ หรือเคยเห็นกันมาแล้วครับ ตอนเด็กทุกคนน่าจะมีประสบการณ์แต่อาจลืมครับ กายฝันนี้จัดเป็นกายภายในอย่างหนึ่งนะครับ เวลาฝันมีสองแบบ แบบแรก ฝันเห็นแบบผู้ฝันเป็นผู้ดูภาพยนตร์ อีกแบบ ฝันว่ามีตนหรือกายของตนเป็นผู้เล่นฝันเอง การเห็นกายภายในจึงแล้วแต่ระดับของจิต จะเห็นเป็นแบบไหน ขึ้นอยู่กับจิตว่าตั้งอยู่อย่างไร มีการรับรู้อย่างไรกับธาตุทั้งนามทั้งรูปในร่างกายของตัวเรา เผอิญเวลาฝึกกรรมฐานจิตมีกำลัง ที่ตั้งของจิตกับกายมันแตกต่างจากเดิม และจิตเราแปลการรับรู้ของจิตด้วยซ้ำกัน เลยเห็นขอบเขตของกายที่จิตตั้งอยู่ในสภาวะจิตเป็นอีกแบบ แต่จิตก็รับรู้กายอาณาเขตของกายอีกแบบ บางท่านที่เล่ามาบอกว่าเดินไปมาขาหาย ก็เพราะจิตไม่อยู่ที่ขาแล้วครับ จิตไปตั้งที่อารมณ์ของพรหม ซึ่งเป็นอารมณ์ของฌาณแล้วไม่ทันถอยมา ส่วนการเดินจงกรมก็ยังเดินไปตามอานุภาพของจิตที่กำหนดไว้สม่ำเสมอแล้ว แต่หากนานไปพอเสร็จแรงของการกำหนดไว้เดิม หากไม่เติมจิตสติเจตนาลงไป การเดินจะสดุด จิตจึงสะดุ้งครับ บางครั้งเวลานั่งสมาธิจะรู้สึกกลวงภายในร่างกายหรือเหมือนมีแสงสีทองเต็มร่างกายภายในอวัยวะไม่มี ก็เพราะจิต สติ สมาธิไปตั้งที่อารมณ์ฌาณซึ่งมีนิมิตรเป็นความสว่างไสว จิตไปตั้งอยู่ในนิมิตรแต่ขณะเดียวกันจิตก็รับรู้กายภายนอกด้วย อันนี้ ก็จัดว่าเกิดกายในกายอย่างหนึ่ง ผมไม่รับรองว่าจะตรงตามตำราหรือไม่ แต่ทางปฏิบัติเกิดเรื่องอย่างนี้ได้ตามปกติ การพิจารณากายในกายก็คือพิจารณากายที่จิตที่ตั้ง ซึ่งก็เป็นเรื่องรูปธาตุนามธาตุในใจในกายปกติของเรานี้เองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015
  7. DEEJAI243

    DEEJAI243 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2015
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ฉันเคยลองฝึกเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิ
    รู้สึกว่าจิตเราจะเข้าสู่สมาธิได้เร็วกว่าที่มานั่งสมาธิเลย

    ทำให้รู้สึกว่าการเดินจงกรมเป็นเหมือนการ
    วอร์ม จิตเพื่อนำไปสู่การฝึกวิปัสสนาในระดับ
    ต่อไป และทำให้ลดการเกิดภาวะเหน็บชาด้วยค่ะ

    ทางฝั่งตะวันตกเรียกว่า Active meditation ค่ะ
    และนิยมฝึกกันมากค่ะ
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    51,065
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,067
    มีอยู่คราวหนึ่งหลังจากเดินแล้วนั่งระหว่างที่จิตยังอยู่ในสมาธิตั้งใจไว้หนึ่งชม พอถึงเวลาเป้ะ มันก็ลุกขึ้น คราวนี้ก็บังเอิญมองไปที่ภาพหลวงปู่สด(๒ฟุต)ทันใดนั้นก็เห็นหน้าท่านเป็นกระโหลกครึ่งหนึ่ง เลยเอ๊ะ เราตาฝาดหรือเปล่านี่ พอมองอีกครั้งก็เหมือนเดิม ขอท่านช่วยวิจัยให้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ (นับถือหลวงพ่อจรัญมากค่ะ)
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,432
    ค่าพลัง:
    +35,430
    ถือว่าเรื่องที่คุณ ณฉัตร เล่ามามีประโยชน์ครับ
    อือ เห็นคุณ wanwisa พูดขึ้นมาเลยนึกได้.
    ขอเพิ่มเติมเล็กน้อยครับ
    ถ้านั้งสมาธิแล้วรู้สึกว่าเป็นเหน็บชาขณะนั่ง
    หรือมักจะเป็นเหน็บชาหลังเลิกนั่ง.
    ตอนที่เรานั่งสมาธิในท่านั่งปกติ ให้ขยับ
    ปลายนิ้วโป้หัวแม่มือทั้งสองข้างให้มาชนกัน แล้วค้างไว้
    และให้ก้มหลังไปหน้าตัวให้มากที่สุด
    ถ้าหน้าชนพื้นได้ก็จะดีที่สุด. จะแก้เหน็บชาได้
    และเราจะสามารถลุกเดินได้เหมือนปกติครับ

    ปล.ลองพิสูจน์ดูได้ครับ
     
  10. DEEJAI243

    DEEJAI243 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2015
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +1,445
    จากกระทู้ของคุณ supatorn ที่ # 28
    ในความเข้าใจของดิฉัน
    ท่านอาจจะให้ฝึกจิต
    เกี่ยวกับกายคตาสติภาวนาหรือเปล่าค่ะ
    ความคิดที่เกิดนี้เป็นความเข้าใจของดิฉันค่ะ

    ถูกผิดประการใดท่านผู้รู้ขอช่วยชี้แนะ
    ด้วยค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ
     
  11. DEEJAI243

    DEEJAI243 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2015
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ขอขอบคุณ คุณนพ มากค่ะสำหรับ
    ข้อปฏิบัติในการแก้อาการเหน็บชา
    มักจะเป็นตอนช่วงท้ายๆ
    ของการทำสมาธิค่ะ
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    51,065
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,067
    *********************************
    ขอบคุณท่านนพค่ะ พักนี้เป็นอยู่ประจําเลย แค่ชม ก็แย่แล้ว เมื่อก่อน๒ชม ยังเฉย สงสัยเป็นโรคOA:'(
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    51,065
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,067
    ******************************
    หลายอย่างเลยค่ะ แบบที่หลวงพ่อฤาษีท่านให้ใช้ อานาปา แล้วคิดอยู่เสมอว่าทุกลมหายใจเข้าออกนี่เราจะตายเมื่อไหร่ก็ได้ค่ะ(ลองไปเรื่อยๆเลยไม่ทราบว่าถูกกับอะไรดี)
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เดินจงกรม ๖ ระยะ

    ระยะที่ ๑
    ซ้าย ย่าง หนอ, ขวา ย่าง หนอ

    ระยะที่ ๒
    ยกหนอ เหยียบหนอ (ถึงพื้น)

    ระยะที่ ๓
    ยกซ่นหนอ ยกหนอ เหยียบหนอ

    ระยะที่ ๔
    ยกซ่นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ

    ระยะที่ ๕
    ยกซ่นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ (หย่อนเท้าลงแต่ยังไม่ถึงพื้น) เหยียบหนอ (ถึงพื้น)

    ระยะที่ ๖
    ยกซ่นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ


    เมื่อเดินระยะใดระยะหนึ่ง (เดินระยะต่ำๆคือระยะที่ ๑ ก่อน ไม่ใช่เดิน ทุกระยะ) สุดทาง (ที่จำกัด) แล้ว หยุดยืน ว่าในใจ “ยืนหนอๆๆๆ” ให้สังเกตรูปยืน (อาการยืน) รวมๆ ไม่ใช่นึกลึกถึงข้างใน เมื่อจะเดินต่อ (สังเกตความคิดด้วย) กลับตัว พร้อมกับว่าในใจ “กลับหนอๆๆๆ” แล้วเดินต่อ


    -ระยะที่ ๑-๓ เพิ่มวิริยินทรีย์ (วิริยะ)

    -ระยะที่ ๔-๖ เพิ่มสมาธินทรีย์ (สมาธิ)

    -อิริยาบถนั่งกำหนดรูปนาม ก็เพิ่มสมาธินทรีย์ด้วย

    เดินจงกรม กับ นั่ง ให้เวลาใกล้เคียงกัน เช่น นั่ง ๑๕ นาที ก็เดิน ๑๕ นาที ฯลฯ
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ปรับอินทรีย์ ให้สม หรือเสมอกัน


    สัทธา กับ ปัญญา ต้องเสมอกัน
    วิริยะ กับ สมาธิ ต้องเสมอกัน
    สติ เป็นตัวควบคุม เจริญมากยิ่งดี

    สัทธา มากกว่า ปัญญา โลภะจะครอบงำ
    ปัญญา มากกว่า สัทธา วิจิกิจฉาจะครอบงำ
    วิริยะ มากกว่า สมาธิ อุทธัจจะจะครอบงำ
    สมาธิ มากกว่า วิริยะ ถีนมิทธะจะครอบงำ

    การปฏิบัติจะได้ผลช้า - เร็ว อยู่ที่การปรับอินทรีย์

    เพิ่มสัทธา ควบคุมสติกำหนดรู้ให้อยู่กับรูปกับนามขณะปัจจุบันเท่ากับเพิ่มสติเท่ากับเพิ่มสัมปชัญญะ (ปัญญา)
    เพิ่มวิริยะ จงกรมระยะ ที่ 1-3 หรือใช้เวลาจงกรมให้มากกว่าใช้อิริยาบถนั่ง
    เพิ่มสมาธิ คือใช้เวลาอิริยาบถนั่งให้มากกว่าจงกรม หรือ จงกรมระยะ 4-6
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ไม่เชิงฮับ

    การเห็น "กายในกาย" ที่คุณ ณchat พยายามจะลากไป ให้ต่างจากตำรา อันนั้นก็ว่า
    กันไปตาม ผลของสมถะ ผลของสมาธิ

    แต่ " กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม " ที่ ตรงตำราจริงๆ จะต้อง
    มีการเห็น กิเลส เห็นภวสวะ เห็นสาสวะ เห็นอาสวะ

    จะเห็น โลภ โกรธ หลง ก็ได้ ...

    จะเห็น มานานุสัย ก็ได้ จะเห็น ความเป็นอัตตาก็ได้ จะเห็น ความบางๆเบาๆที่ห้อม
    ล้อมกักขัง ก็ได้

    แต่ไม่ใช่ ไปเห็นจิตปักในภพนั้น ภพนี้ แสงนั้น แสงนี้ แล้วบอกว่า เห็นกายในกาย

    คือ ถ้าเห็นว่าง เกิดแสงสว่าง แล้ว ระลึกได้ว่า เป็นเพราะ สาสวะไม่สิ้น อาสวะไม่สิ้น
    จิตเกิดโลภะ หรือ ผลักจากมหาภูตรูปไปเพราะโทษะ หรือ หลงไปเลยคิดว่านั่นคือ
    ทางที่อสิสระ(หลงไปสร้างภพ เพื่ออยู่ เพื่อเป็น) ตรงเนี่ยะ จะเห็นว่า จิตไปยกเห็น
    อะไร ก็กำหนดรู้ว่า เป็นเพราะ อัตตามันพาไปติด ไปข้อง สิ่งนั้น อย่างเนี่ยะ ถึง
    จะเป็นการยก " สักกายทิฏฐิ " ขึ้นมาพิจารณา เห็น อาการของจิตมันส่งออกนอก
    ไปยึดถือโน้น นั่น นี่ "มาประชุมเป็นตน(สักกายทิฏฐิ) อันเป็น มิจฉาทิฏฐิ มันแสดงตัว"
    ไม่ใช่เพราะ พ้นทุกข์ แต่กำลังไปติด กับดักที่ปราณีต สุขุม ละเอียด ลึกซึ้ง พ้นได้ยาก
    ไปเรื่อยๆ

    แล้ว ได้เรื่อยๆ นะฮับ ฌาณวิสัย หรือ การไปเห็นอะไรแล้วยึดจับว่า เป็นตน ของตน มัน
    จะไปเรื่อยๆ บางคนเห็นสุดขอบจักรวาล บางคนเหาะไปนอกจักรวาล ไปเรื่อย....!!

    เป็นการไปเรื่อย ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ฌาณวิสัย ไม่มีที่สิ้นสุด

    แต่...................บัณฑิต จะทราบ ปฏิปทาในการสำรอกออก

    ต่างจากพวก ทำไป เจออะไรก็ยึดจับไปเรื่อย สำคัญผิดว่า กำลังพิจารณากายในกาย
    แต่เป็น การเอาเข้าตัว ไม่ใช่เพื่อ การกำหนดรู้เพื่อละ สละออก ไม่มีการชำระกิเลส
    ละก้อ ผิดทางแน่นอน [ แต่ก็ต้อง อาศัย ทางแบบนั้นแหละ ไม่ได้ห้ามประกอบ ห้ามเห็น
    เว้นไว้แต่ ....กู่ไม่กลับ ]
     
  17. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ครับสาธุครับ ตามความเข้าใจของผม วิจารณ์ตามความเห็นส่วนตัว หากผิดพลาดประการใดขอขมาล่วงหน้าครับ อาการที่ออกจากสมาธิได้เมื่อกำหนดไว้ตั้งใจไว้แล้วเป็นกำลังของจิตครับ จิตเป็นตัวรู้ จิตเป็นพลังงาน เมื่อมีกำลังมากก็รู้มากขึ้นมีพลังงานมากขึ้น เมื่อจิตตั้งใจกำหนดหมายไว้ว่าจะออกจากสมาธิอีกหนึ่งชั่วโมงข้างหน้า จิตได้ประกอบการแสดงเจตนาแล้ว จัดเป็นมโนกรรม เป็นกรรมที่ทำไปแล้ว จากนั้น แค่รอผลแห่งวิบากกรรม เมื่อจิตเป็นตัวรู้การรู้เวลาก็จัดเป็นสิ่งที่กำหนดรู้ได้ครับ จิตจึงส่งพลังที่เกิดจากเจตนา ไปยังบุคคลและเวลาที่กำหนดไว้ได้ถูกบุคคล(ถูกที่)และถูกเวลาได้ เดี๋ยวจะมาต่ออีกประเด็นครับ
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สมมตินะครับ สมมติ

    สมมติว่า เดินไปเดินมา แล้ว เท้ามันลอยพ้นพื้น


    สิ่งที่จะยก พิจารณา กายในกาย ไม่ใช่ ฮานาก้า เห็นไหมๆ จิตมันไปเสวยภพพรหม

    การยก พิจารณากายในกาย หาก เท้ามันลอยพ้นพื้น จะต้องเป็น กำหนดรู้เห็นจิต
    ที่ไม่ใช่เรา มันเป็น ธาตุ ผันแปรไปตามปัจจัยการ ห้ามไม่ได้

    และ จิตขณะนั้น ไปปักใน กองลม(หากเห็นการเลื่อนลอย) กองดิน(หากเห็นความ
    หนักแน่นของช่องว่าง) กองไฟ(หากเห็นกริยาวิบากกรรมทำไมต้องลอย--เช่น
    พระโมคคัลลานะเห็นว่าตนลอยเพราะ คนมันวิ่งมาทุบ) กองน้ำ(กรณีที่เห็น
    ว่าเป็นหนึ่งเดียวกันกับ มหาภูตรูปธาตุ)

    เนี่ยะ จิตมันส่งออก ไปแนบเข้ากับ มหาภูตรูป จึงได้เกิด การเคลื่อนของจิต
    [ กระบวนการนี้ เป็น พฤติจิตของจิต สามัญ ไม่ใช่เพราะ ใครหน้าไหน มีความสามารถ
    ถ้า สำคัญตนว่า เพราะตนสามารถ หากเป็นพระ ก็ ปาราชิกทันที ]

    จิตส่งออกนอก เป็นสมุทัย สมาธินั้นเจือสมุทัย

    หากกำหนดรู้ถูกต้อง จะลอยอย่างเดิมก็ได้ ลงก็ได้ หายวับไปก็ได้ แต่ถ้า โดน
    มารมันแทรก ......ละก้อ จะเห็น วิบากกรรม ที่ตามมาทัน ทันที !!! โครม !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015
  19. DEEJAI243

    DEEJAI243 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2015
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +1,445
    หลักการณ์ที่คุณเอกวีร์
    พูดคล้ายๆหลักของสุญญตานุปัสสนา
    หรือ อนัตตานุปัสนา ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้า ยกการภาวนาถูกส่วน

    โดยเฉพาะ หลักสำคัญ คือ ต้องมีกระบวนการพิจารณา(กิเลส) มีการเพียรเพ่ง(นำมานะ อัสมิมานะออก)

    ถึงตรงนี้จะเริ่ม เห็น ปัจจัยการของการภาวนา


    การภาวนา กายในกาย ก็เป็นสิ่งที่เกิดจากปัจจัยการ ปัจจัยการนั้น คือ ต้องมีการ ชำระกิเลส

    ขำระโลภะ ออก รู้เท่าเอา ทัน โลภะได้ ในทาง สัมมาสมาธิ จะชื่อว่า ได้สุญญตาสมาธิ

    ชำระโทษะ การปักจิต ปักใจ ผลักจิต ผลักใจ ออก ในทางสัมมาสมาธิ จะชื่อว่า ได้อนิมิตสมาธิ

    ชำระโมหะ การไหลไปแนบกับภพ ออก ในทางสัมมาสมาธิ จะชื่อว่า อัปณิหิตสมาธิ


    เห็น สมาธิตัวใดตัวหนึ่ง ปรากฏได้ โดยที่เรา ซ่องเสพ ฌาณวิสัยชนิดที่ถนัด เราจะ
    ถือว่า ฝึกฌาณวิสัยนั้นด้วยอาการ " กายคตาสติ "

    เริ่มเดิน " วิปัสสนา นามรูป ปริเฉทญาณ " วิปัสสนาพึ่งเริ่มต้น และ ยังไม่แน่นอน
    ว่า มีไตรลักษณ์ญาณสัมปยุตกับจิต มีการสำรอกสาสวะ ภวสวะ อาสวะออก

    ถ้าเริ่มมีการสำรอกออก จะเริ่มเดิน " อุทัพยญาณ " ซึ่ง จะไปติด วิปัสนูปกิเลสกัน
    อีกคนละตัวสองตัว ( สำคัญว่า บรรลุธรรม ขั้นโน้น ขั้นนี้ ) ไปอีกสักพัก จนกว่า

    สมาธิทั้งสาม จะเป็น อินทรีย์ และ พละ มากพอ พาหลุดออกจาก สัญญาขันธ์ ได้


    พอจิตแหวก สัญญาขันธ์ได้ ก็จะทราบชัด ถึง "การฟังธรรมที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน"
    เข้าถึง จุฬโสดาบัน ไม่ตกอบายแน่นอน มี สิกขาที่จะมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...