><กระทู้ใหม่(4) วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย หลากหลายสายราคาเบา (สรุปรายการ น.1) ><

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์ปิยธโร, 5 มกราคม 2017.

  1. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,893
    ค่าพลัง:
    +6,817
    ขอจองครับ
     
  2. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,578
    ค่าพลัง:
    +30,871
    สวัสดียามเช้า.jpg2.jpg
     
  3. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,578
    ค่าพลัง:
    +30,871
    สวัสดียามบ่าย.jpg2.jpg
     
  4. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    3125.สุดยอดของดียุคต้นหายากมีเกศา(๑) รูปหล่อลอยองค์ รุ่นแรก หลวงปู่พรหมมา
    อิสีขลังผู้ชาญพระเวทย์ แห่งลุ่มแม่น้ำโขงผู้มีอายุยืนถึง 105ปี

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    df5af97441e54286164913bd6ad9bd9a-jpg-jpg.jpg
    รูปหล่อลอยองค์ รุ่นแรก(สำเร็จแก้ว) หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อสัมฤทธิ์ (โลหะผสม) ใต้ฐานบรรจุเส้นเกศาหลวงปู่พรหมมา, ผงดินและว่านมหาฤษีใหญ่รุ่น 1 และตอกโค้ด 2โค้ด ดำเนินการจัดสร้างเมื่อ ปี พ.ศ.2535 ผลงานการร่วมมือกันจัดสร้างโดย อาจารย์เบิ้ม(คุณสุวัฒน์ พบร่มเย็น), อาจารย์อนันต์ สวัสดิสวนีย์ และอาจารย์อำพล เจน โดยส่งโรงงานทางกรุงเทพเป็นผู้หล่อ รูปเหมือนรุ่นนี้สร้างต่อจากฤาษีรุ่นแรก

    ประวัติโดยย่อของ หลวงปู่พรหมมา
    หลวง ปู่พรหมมา ท่านเป็นพระที่มีอิทธิญาณบารมีแก่กล้า เป็นพระลึกลับอยู่บนยอดเขาห่างไกลผู้คน มุ่งบำเพ็ญจิตภาวนาเป็นสำคัญ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2440 บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ12 ปี จากนั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิชากับสำเร็จลุน ที่เวินชัยนคร จำปาศักดิ์ นานถึง 6 พรรษา หลังจากที่สมเร็จลุนได้มรณภาพลง หลวงปู่พรหมมาก็ได้ร่วมเดินธุดงค์พร้อมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปหาสถานที่อันสงบเงียบบำเพ็ญภาวนาตามป่าเขา หลวงปู่พรหมมาได้จำพรรษาที่ถ้ำแห่งหนึ่งบนยอดภูเขาควายนานถึง 45 พรรษา กล่าวกันว่าหลวงปู่พรหมมา ท่านมีครูบาอาจารย์เป็นฤาษีตาไฟ มีวิชาอาคมเข้มขลัง ต่อมาได้ธุดงค์ข้ามมายังฝั่งไทย เมื่อปีพ.ศ.2533 หลวงปู่พรหมมาได้เห็นว่าถ้ำสวนหิน ภูกระเจียว ในวันเดือนหงายจะมีสัตว์ป่านานาชนิดวิ่งกันขวักไขว่ เหมาะแก่การฝึกปฏิบัติตน จึงได้พักบำเพ็ญเพียรแต่นั้นมา เมื่อเวลา 22 นาฬิกา 11 นาที 31 วินาที ของวันที่ 23 ส.ค.2545 หลวงปู่พรหมมาได้มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคหัวใจ สิริอายุรวม 105 ปี ณ วัดธาตุวราราม จ.เลย วัตถุมงคลที่ท่านจัดสร้างมีด้วยกันหลายรุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นล้วนมีประสบการณ์และสร้างอภินิหารให้แก่ผู้บูชาอย่างมากมาย ซึ่งสายสำเร็จลุนวัตถุมงคลจะโดดเด่นในเรื่องเมตตา โชคลาภ ค้าขายและแคล้วคลาดปลอดภัย เร็วและแรงครับ


    สภาพสวยเก่าเก็บไม่ได้ใช้ พิมพ์คมชัดลึก รุ่นแรกหายาก มวลสารที่บรรจุก็ยอดเยี่ยม แถมมีเกศาหลวงปู่ให้เห็นชัดเจน(ดังลูกศรชี้) พุทธคุณครอบครบ แบ่งให้บูชา 888 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  5. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    3126.สุดยอดมหาพิธี(New3) พระพุทธชินราชใบเสมา หน้าหนุ่ม พิธีจักรพรรดิ์
    ลป.ทิม,ลป.โต๊ะ,ลพ.กวย พิธีใหญ่เศก2วัน2เต็ม

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    uvkeve-jpg-jpg-jpg.jpg

    132512bf07fc21a2222ef2ce55a2f83b-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    พระพุทธชินราชใบเสมา พิมพ์หน้าหนุ่ม หลังตราธรรมจักร พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธภิเศก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ณ วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษนุโลก โดยสร้างจากเนื้อดินผสมผงและดินกรุเก่า ออกแบบโดย นายช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ
    พิธีมหาพุทธภิเศก เป็นเวลา 2 วันเต็ม นับจากวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2515 พระคณาจารย์บริกรรมปลุกเสก 109 รูป


    ประวัติการจัดสร้างพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธภิเศก
    ดำเนินการ ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2515 โดยพุทธสมาคมพิษณุโลก เพื่อนำวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเข้าพิธีปลุกเสก วัตถุมงคลในรุ่นนี้มี พระพุทธชินราชจำลอง พระชัยวัฒน์ พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ พระพิมพ์ และเหรียญมหาจักรพรรดิ์ ฯลฯ พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก เป็นพิธีที่ใหญ่มาก
    ยากแก่การดำเนินการหาเจ้าพิธี ตลอดจนตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้ ตามประวัติ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


    พิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" นี้ ครั้งแรกได้กระทำพิธีในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้มีการกระทำพิธีนี้อีก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2515 ในสมัยรัชกาลที่ 9 หลังนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำพิธีฯ นี้อีกเลย ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธีได้กำหนด และควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณกาลพิธีทุกประการ

    คณะกรรมการพิธีฯ
    สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นประธานบริกรรมปลุกเสก
    กรรมการฝ่ายเจ้าพิธี
    พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร อาจารย์มาโนช มาโสภาศ
    กรรมการอุปถัมป์ฝ่ายสงฆ์
    พระสุวรรณวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก พระพิษณุบูราจารย์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จ.พิษณุโลก ฯลฯ
    กรรมการอุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส
    นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พล.ท.สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ ๓ สมาคมนักเรียนเก่าพิษณุโลกพิทยาคม ฯลฯ
    กรรมการดำเนินงาน
    คณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลก
    กรรมการที่ปรึกษา
    นายประชุม กาญจนวัน์ นายสุฉันท์ โพธิสุวรรณ ฯลฯ


    พิธีมหาพุทธภิเศก เป็นเวลา 2 วันเต็ม นับจากวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2515 พระคณาจารย์บริกรรมปลุกเสก 109 รูป
    รายนามพระคณาจารย์ที่ร่วมบริกรรมปลุกเสก อาทิ
    1. หลวงพ่อทอง (พระครูวิริยะโสภิต) วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี

    2. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมมาภรณ์) วัดดอนยาหอม จ.นครปฐม
    3. หลวงพ่อนาค (พระครูจันทรโสภณ) วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ
    4. หลวงพ่อแดง (พระครูญาณวิลาศ) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
    5. หลวงพ่อหอม (พระครูภาวนาณุโยค) วัดซากหมากป่าเรไร จ.ระยอง
    6. หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์
    7. หลวงพ่อสด (พระครูวิจิตนชัยการ) วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท
    8. หลวงพ่อชื่น (พระครูนนทกิจวิมล) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
    9. หลวงพ่อบุญ (พระครูประดิษฐ์นวการ) วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี
    10. หลวงปู่ทองอยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพระองค์ จ.สมุทรสาคร
    11. หลวงพ่อกรับ (พระครูธรรมสาคร) วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
    12. หลวงพ่อเจริญ (พระครูปัญญาโชติ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
    13. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
    14. หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี
    15. พระครูสนิทวิทยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี
    16. พระครูปิยะธรรมโสภิณ (หลวงพ่อคำ) วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี
    17. พระครูกิตพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราฎร์เจริญ จ.สระบุรี
    18. พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
    19. พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
    20. พระวินัยรักขิตาวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    21. พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
    22. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
    23. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
    24. หลวงพ่อเผือก วัดสาลีโข จ.นนทบุรี
    25. พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ฯกรุงเทพฯ
    27. พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
    28. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    29. พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
    30. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
    31. พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    32. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี
    33. พระครูโกวิทยาสมุทคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
    34. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    35. พระอาจารย์ผ่อง (จินดา) วัดจักรวรรคิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ
    36. พระครูศรีปริยานุรักษี วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่
    37. พระครูวิรุฬห์ธรรมโกวิทย์ วัดเจดีย์สถาน จ.เชียงใหม่
    38. พระครูมงคลคุณาธร วัดหม้อตองคำ จ.เชียงใหม่
    39. หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสต๋อย จ.เชียงใหม่
    40. หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง
    41. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง
    42. หลวงพ่อชุบ วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง
    43. หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
    44. หลวงพ่อเงิน วัดเขาสาก จ.ลำปาง
    45. หลวงพ่อบุญสม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง
    46. พระวิบูลวชิรธรรม วัดท่าพุทรา จ.กำแพงเพชร
    47. หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์
    48. หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
    49. หลวงพ่อโอด (พระครูนิสัยจริยคุณ) วัดจันเสน จ.นครสวรรค์
    50. หลวงพ่อคัด วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท
    51. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท
    52. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
    53. หลวงพ่อดวง วัดทอง จ.สิงห์บุรี
    54. พระครูอาทรสิกขการ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง
    55. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดท่าช้าง จ.อยุธยา
    56. พระครูประภาสธรรมคุณ (หลวงพ่อแจ่ม) วัดวังแดง จ.อยุธยา
    57. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
    58. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
    59. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
    60. พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง) วัดกก กรุงเทพฯ
    61. พระครูอนุกูลวิทยา (หลวงพ่อเส็ง) วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ
    62. พระครูพิริยกิจติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    63. พระครูภาวณาภิรมย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    64. พระครูโสภณกัลป์ยานุวัฒน์ (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณ์ กรุงเทพฯ
    65. พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี
    66. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง
    67. พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์
    68. พระครูวชิรคุณาญาณ วัดในกลาง จ.ประจวบคีรีขันธ์
    69. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
    70. พระครูอุดมศีลจารย์ (พ่อท่านเย็น) วัดโคกสะท้อน จ.พัทลุง
    71. พระครูพิศาลพัฒนกิจ (พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม จ.พัทลุง
    72. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
    73. หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
    74. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
    75. หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
    76. หลวงปู่จันทร์ วัดสำราญ จ.อุบลราชธานี
    77. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
    78. หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    79. หลวงพ่อครูบาตัน วัดเชียงทอง จ.ตาก
    80. หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย
    81. หลวงพ่อปี้ วัดบ้านด้านลานหอย จ.สุโขทัย
    82. พระครูคีรีมาสธรรมคุณ วัดวาลุการาม จ.สุโขทัย
    83. พระครูพิลาศธรรมคุณ วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย
    84. พระครูไกรลาศสมานคุณ วัดกงไกรลาศ จ.สุโขทัย
    85. พระอาจารย์พวง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
    86. พระอาจารย์ฉลอง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
    87. พระครูพินิจธรรมภาณ วัดวังแดง จ.พิจิตร
    88. พระครูธรรมมานิสิทธิ์ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร
    89. พระอาจารย์ชัย วัดกลาง จ.อุตรดิตถ์
    90. หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส จ.อุตรดิตถ์
    91. หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์
    92. พระพิษณุบุราจารย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    93. พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนีวัดอรัญญิก) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    94. พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก
    95. พระครูอภัยจริยาภรณ์ วัดใหม่อภัยยาราม จ.พิษณุโลก
    96. พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว จ.พิษณุโลก
    97. พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
    98. พระครูประภาสธรรมมาภรณ์ (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก
    99. พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไช่) วัดศรีรัตนาราม จ.พิษณุโลก
    100. หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
    101. พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
    102. หลวงพ่อเฉลิม วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
    103. หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
    104. พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ จ.พิษณุโลก
    105. พระอาจารย์โต วัดสมอแข จ.พิษณุโลก
    106. พระครูประพันธ์ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก
    107. พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทอง จ.พิษณุโลก
    108. พระอาจารย์นวล วัดนิมิตธรรมาราม จ.พิษณุโลก
    109. พระอาจารย์ธงชัย วัดวชิรธรรมราชา จ.พิษณุโลก

    และจากจังหวัดต่างๆทั่วประเทศรวม 109 รูป พุทธคุณของพระชุดนี้ กล่าวขวัญมากโดยเฉพาะด้านแคล้วคลาดและเหนียวสุดๆครับ น่าบูชาเป็นอย่างยิ่งนับแต่นั้นมา ยังมีการชุมนุมของพระเกจิอาจารย์ครั้งไหน จะยิ่งใหญ่เท่านี้อีก
    สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเข้าพิธี ใช้น้ำที่วัดตูม เป็นน้ำที่ออกจากพระเศียรพระพุทธรูปที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสงและเครื่องศัตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) เมืองเก่าสุโขทัย



    ### รูปและรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาต่อได้ที่ลิ้งด้านล่างนี้ เลยครับผมครบถ้วนกระบวนความ ###

    http://palungjit.org/threads/กระทู้ใหม่-3-วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย-หลากหลายสายราคาเบา-สรุปรายการ-น.2/page-291309page-3#post-4702140


    สภาพสวยเดิม ไม่หักไม่ซ่อม มวลสารอันศักดิ์สิทธิ์แห่งการเคารพบูชา พุทธาภิเษกด้วยพิธีจักรพรรดิ์ ด้านพุทธคุณหาที่เปรียบมิได้สูงส่งเกินกว่าพิธีใดๆ ไม่แท้ไม่ทันคืนเต็มครับ แบ่งให้บูชา 600 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณPeterbn จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2023
  6. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    3127.เมตตามหาอุดหยุดกระสุน(B) เหรียญพระคันธารราษฎร์ วัดเขาปฐวี
    อ.นำ,อ.ปาล,อ.คง,ลพ.โฉม,อ.ชุม สำนักเขาอ้อเสกแล้วเสกอีกเสกจนเต็ม มีดปืนไม่ได้กินเลือด

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    IjfBat.jpg

    no3b1w-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    เหรียญพระคันธารราษฎร์ วัดเขาปฐวี จังหวัดอุทัยธานี เนื้อทองวรรณะเหลืองรมดำ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2516

    พุทธศิลป์
    ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ขนาด 1.5x2.6 เซนติเมตร
    ด้านหน้า :
    มีขอบรอบวง ยกซุ้มห่วง มีพระคันธารราษฎร์ยกพระหัตถ์ประทานพร นั่งอยู่กลางเหรียญ ด้านซ้ายมือขององค์พระ มีพระอาทิตย์กำลังส่องแสงมีเมฆลอยอยู่ด้านข้าง
    ด้านหลัง :
    มีขอบเพียงเล็กน้อย กลางเหรียญเป็นยันต์ห้า มีอักขระขอม “นะโม พุท ธายะ” กำกับด้วยอุณาโลม 3 ยอด ด้านล่างของยันต์ มีอักขระขอม “นะ อุ อะ มะ” ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า


    ประวัติการจัดสร้างพระเครื่อง วัดเขาปฐวี จ.อุทัยธานี

    ด้วยเมื่อปี พ.ศ.2516 ขณะที่หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ หรือพระครูอุทิศธรรมรส ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี นายอำเภอทัพทัน ได้มาขอให้หลวงพ่อโฉมให้จัดทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคล

    วัตถุมงคลที่จัดสร้างเพื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษกในคราวนี้ประกอบด้วย
    - พระบูชาคันธารษฏร์ มี 2 แบบ คือแบบเนื้อทองผสมรมดำ และแบบเนื้อทองผสมไม่รมดำ และพระพุทธรูปปางลีลา ทั้งหมดรวมกัน 250 องค์
    - พระกริ่งคันธารษฏร์ มี 2 แบบ คือแบบเนื้อทองผสมรมดำ และแบบเนื้อทองผสมไม่รมดำ รวมจำนวน 8000 องค์
    - เหรียญคันธารษฏร์ เนื้อทองแดงรมดำจำนวน 30,000 เหรียญ

    พิธีพุทธาภิเษก
    โดยจัดทำพิธีขึ้นในวันเสาร์ 5 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งตามคติความเชื่อโบราณถือเป็นวันฤกษ์แข็งเหมาะแก่การประกอบพิธีวัตถุมงคล ในพิธีมี
    - นายไพฑูรย์ เก่งสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธาน
    - อาจารย์ชุม ไชยคีรี เป็นเจ้าพิธี

    พร้อมด้วยคณาจารย์สายเขาอ้อและคณาจารย์อื่นปลุกเสกหลายท่าน อาทิ
    - อาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
    - อาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง
    - อาจารย์คง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
    - อาจารย์ขาว วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง
    - หลวงพ่อโฉม วัดเขาปฐวี จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่อจิ๋ว วัดโนนเหล็ก จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่อปลั่ง วัดห้วยรอบ จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่อปุย วัดหนองสระ จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่อแอ๋ว วัดหัวเมือง จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่อสว่าง วัดถือน้ำ เป็นต้น

    ประกอบพิธีพุทธาภิเษกภายในถ้ำ วัดเขาปฐวี โดยทำพิธีพุทธาภิเษกตั้งแต่เวลา 18.00 น. จนถึงเวลา 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ปลุกเสกกันตลอดทั้งคืนจึงดับเทียนชัย

    หลังจากนั้นอาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้มีการทดสอบพลังพุทธคุณของวัตถุมงคลที่ปลุกเสกเสร็จแล้ว ทำให้ทราบว่ามีพุทธคุณในทางคงกระพันชาตรี มหาอุดและเมตตาภาวนานิยมอย่างสูง


    *** สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ***
    ก็คือ การปลุกเสกครั้งแรก เป็นเวลาหลายวันเลย ปลุกเสกครบรอบด้าน แต่เนื่องจากจะมีวัยรุ่นเป็นจำนวนมาก จะเข้ามาลองของเพราะในสมัยนั้นสายเขาอ้อเป็นที่เลื่องลือด้านคงกระพันชาตรีเป็นอย่างมาก อาจารย์ชุมได้ยินอย่างนั้น จึงให้พระอาจารย์ทุก ๆ องค์ที่อยู่ในพิธีนั้น ปลุกเสกอัดพลังใหม่ เนื่องจากว่าถ้าเกิดมีการลองขึ้นมา แล้วมีการยิงก็ดี การฟันก็ดี เกิดเข้าขึ้นมา ชื่อเสียงสายเขาอ้อก็จะไม่เป็นที่เชื่อถือ

    ดังนั้น อาจารย์ชุมจึงขอให้มีการปลุกเสกที่หนักไปด้านคงกระพันชาตรี และ มหาอุด เป็นเลิศอย่างเดียว ได้ปลุกเสกใหม่ตั้งแต่หกโมงเย็นจนถึงหกโมงเช้าในวันต่อมา ซึ่งตลอดระยะเวลาที่มีงาน

    ผลการทดสอบของวัยรุ่นในอุทัยธานีเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะฟันก็ดี จะยิงก็ดี ล้วนทำอะไรกับเหรียญหรือกับผู้ที่มีเหรียญติดตัวไม่ได้ และที่สำคัญตอนแจกเหรียญอาจารย์ชุมได้ประกาศว่า ใครอยากได้เหรียญนี้ ต้องให้ท่านเอามีดมาฟันหนึ่งที จึงจะได้รับแจกเหรียญนี้ไป นับว่าเป็นเหรียญที่ศักดิ์สิทธิ์มากเหรียญนึง และเป็นที่ต้องการของวัยรุ่นมาก ป้องกันตัวได้เป็นอย่างดี อีกอย่างถือเป็นเหรียญที่เสกโดยสายเขาอ้อโดยตรง ซึ่งปกติสายเขาอ้อในยุคนั้นจะไม่ออกนอกเพื่อไปปลุกเสกเป็นอันขาด นับว่าเป็นเหรียญแรก ๆ ที่ออกนอกเพื่อปลุกเสกครับ



    สภาพสวยเก่าเก็บไม่ผ่านการบูชา พิมพ์คมชัดลึกเก่าเก็บไม่ได้ผ่านการบูชา พุทธคุณครอบครบทุกด้าน แบ่งให้บูชา 350 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  7. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323


    $$$$$ ปิดรายการแล้วครับผม $$$$$




    3128.
    สุดยอดชนวนมวลสารมหาพิธีสายกรรมฐาน รวม 35วาระ
    รูปหล่อโบราณ เจ้าคุณอุปาลีคุณูปรามาจารย์ วัดบรมนิวาส สร้างน้อยมากๆ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    รูปหล่อโบราณฐานภูเขา ท่านเจ้าคุณอุปาลีคุณูปรามาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กทม. เนื้อนวโลหะ ตอกโค้ด จำนวนการสร้าง 182องค์ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 24- 25 มีนาคม พ.ศ.2549 เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาส 100 ปี กุฏิปัฐมราช วัดบรมนิวาส

    วัตถุประสงค์ :
    1.สมทบทุนนิธิศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท วัดบรมนิวาส ปทุมวัน กรุงเทพฯ
    2.สมทบทุนบูรณปฏิสังขรณ์ กุฏิปัทมาราช วัดบรมนิวาส (100ปี กุฏิปัทมราช)
    3.สมทบทุนสร้างพระอุโบสถวัดบึงพลาราม อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย(หลวงปู่ต้น สุทฺธิกาโม)
    4.สมทบทุนการจัดพิมพ์หนังสือของศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท


    ชนวนโลหะที่ใช้ในการจัดสร้าง
    ๑.ชนวนสำคัญ - พระยันต์ ๑๐๘ พระยันต์ - นะ ๑๔ พระยันต์ - แผ่นจาร พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป (สมเด็จพระญาณสังวร,หลวงตาพวง, หลวงพ่ออุ้น, หลวงพ่อตัด,หลวงพ่อเจือ.หลวงพ่อเอียด,หลวง พ่อเพิ่ม,หลวงพ่อพูน,หลวงพ่อเพี้ยน,หลวงพ่ออั๊บ,หลวงปู่แย้ม เป็นต้น) - ชนวนพระนาคปรกแสงอรุณ วัดบรมฯ ปี ๒๔๙๕ - ชนวนช่อพระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมฯ ปี ๐๘, ปี ๑๒, ปี ๑๗ - ชนวนพระแก้ว ปี ๒๔๗๕ - ชนวนวัตถุมงคล ๒๕ พุทธศตวรรษ - ชนวนพระกริ่งคุ้มเกล้า ปี ๒๒ - ชนวนวัตถุมงคล รุ่นฉลอง ๒๐๐ ปี กทม. - ชนวนพระกลีบบัวหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว - ชนวนวัตถุมงคลวัดเขาอ้อ ปี ๓๙ และแผ่นจาร - ชนวนพระชัยหลังช้าง ภปร สก ปี ๓๐ - ชนวนพระกริ่งรักษาดินแดน (เจ้าคุณนรฯ) - ชนวนพระกรุท่ากระดาน กาญจนบุรี - ชนวนเหรียญหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ปี ๙๒ - ชนวนเหรียญ ๕ อาจารย์วัดสุปัฏฏนาราม อุบลฯ ปี ๑๖ - ตะกรุดหลวงพ่อป่าน วัดบางนมโค - ชนวนหลวงปู่ทวด วัดโพธิ์ฯ ปี ๑๓ - ชนวนวัตถุมงคล วัดป่าทรงคุณ ปราจีนบุรี ปี ๒๑ - ชนวนวัตถุมงคล หลวงพ่อโสธร ปี๓๖ - ชนวนพระกริ่งตากสินทร์ - ชนวนวัตถุมงคลหลวงพ่ออิ่มตลอดกาล - ชนวนพระพุทธชินราช ปี ๓๕ - ชนวนพระพุทธชินราช ปี ๓๗ - ชนวนวัตถุมงคลวัดแก้วพิจิตร ปราจีนบุรี - ชนวนหลวงพ่อหก วัดสะแกซึง - ชนวนวัตถุมงคลพระธาตุดอยสุเทพ ปี ๑๘ - ชนวนพระกริ่งสีลวุฒโฑ (หลวงปู่เส วัดบูรพาราม) ปี ๔๗ - ชนวนวัตถุมงคลวัดสิริจันทรนิมิตร (เขาพระงาม) ลพบุรี - ชนวนวัตถุมงคลวัดนิมมานนรดี ปี ๑๔ - ชนวนวัตถุมงคลพระทิพย์อำนาจ ปี ๓๘ - ชนวนวัตถุมงคล ๗๐๐ ปี ลายสือไทย - ชนวนพระกริ่ง ๖๐ ปี ธรรมศาสตร์ - ชนวนพระกริ่ง – พระสมเด็จจอมสุรินทร์ ปี ๑๓ - ชนวนพระพุทธปริต ปี ๑๔ - ชนวนวัตถุมงคลพระเจ้าใหญ่อินแปลง อุบลฯ ปี ๑๖ - ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศฯ ปี ๘๕ - ชนวนพระนาคปรกนาสีดา - ชนวนพระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศฯ - ชนวนวัตถุมงคลบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ ปี ๔๕ - ช่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ รุ่น150ปี สิริจันโท
    ๒.ทองชนวน ๑๕๐ พระคณาจารย์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่) วัดสระเกศ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน) วัดมกุฏฯ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น) วัดโพธิ์ฯ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาส)วัดราชบพิธฯ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ) วัดมหาธาตุฯ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์) วัดพระศรีฯ สมเด็จพระธีรญษณมุนี (สนิท) วัดปทุมคงคา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต) วัดสัมพันธวงศ์ หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปญฺโญ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่อ่อนศรี หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม หลวงปู่สาม หลวงปู่คำคะนิง หลวงปู่หลุย หลวงพ่อสุด วัดกาหลง หลวงพ่อคง วัหนองกระจาย หลวงปู่ขาว หลวงปู่มหาปิ่น หลวงปู่วัน หลวงพ่อเต๋ หลวงปู่เปลี้ย หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย หลวงพ่อแดง วัดเขาบรรไดอิฐ หลวงปู่เจ๊ก หลวงปู่ชื่น วัดมาบข่า หลวงพ่อตาบ หลวงปู่กว่า หลวงปู่แหวน หลวงปู่หุ่น วัดบางขวด หลวงปู่คร่ำ หลวงพ่อพุธ หลวงปู่หลอด หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่หลวง หลวงปู่เหรียญ หลวงปู่บุญมี สิริธโร หลวงพ่อเกษม หลวงปู่จันทร์ เขมิโย หลวงปู่หงษ์ หลวงปู่อ่อน หลวงปู่สมชาย หลวงปู่ธรรมรังษี หลวงปู่ชม วัดเขานันทาราม หลวงปู่เมตตาหลวง หลวงปู่สิม หลวงปู่จวน หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต หลวงปู่บัวพา หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม ครูบาพรหมจักรสังวร หลวงพ่ออวยพร หลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงปู่บุญมี วัดอ่างแก้ว หลวงปู่บุดดา หลวงปู่จันทร์โสม หลวงปู่จันทร์ วัดบึงเขาหลวง หลวงปู่เส วัดบูรพาราม หลวงพ่อสมบูรณ์ หลวงพ่อสายหยุด วัดอดิสร หลวงปู่ปราโมทย์ วัดป่านิโคธาราม หลวงปู่แสง หลวงปู่โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน หลวงปู่ต้น หลวงปู่กิ หลวงปู่ผ่าน หลวงปู่คำพอง หลวงปู่มา ญาณวโร หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ หลวงพ่อทองบัว ตนฺติกโร พระเทพวรคุณ(สิงห์) หลวงปู่ศรีจันทร์ เจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต หลวงปู่ซามา หลวงพ่อคง วัดอินทาราม หลวงพ่อแพ หลวงปู่โง่น หลวงปู่ผล วัดดักคะนนท์ หลวงปู่ห้อม วัดคูหาสวรรค์ หลวงปู่ท่อน หลวงปู่สีทน สีลธโน หลวงปู่พวง หลวงปู่สังข์ วัดท่าช้างใหญ่ หลวงปู่ชา หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อจ้อย วัเขาสุวรรณประดิษฐ์ พระศรีสัจจญาณมุณี วัดสุทัศฯ หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว หลวงปู่ดูลย์ พ่อท่านกลั่น วัดเขาอ้อ หลวงปู่สาย เขมธมฺโม หลวงปู่มหาโส หลวงปู่บุญหนา หลวงปู่จันทา หลวงปู่จ้อย วัดหนองน้ำเขียว หลวงพ่อมหาสนธ์ หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต พระพรหมมุนี (บู่) หลวงพ่อสาคร หลวงปู่ทิม อิสริโก หลวงพ่ออุตตมะ หลวงปู่พรหมา เขมจาโร หลวงตามหาบัว หลวงปู่เพียร หลวงปู่อ่ำ หลวงปู่ขาน หลวงพ่อคำบ่อ หลวงพ่อหยอด หลวงปู่แว่น หลวงปู่ถิร หลวงพ่อรวย หลวงพ่อจรัญ หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงพ่อสินทร์ วัดบ้านนาโพธิ์ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่หลิว ครูบาอินคำ วัดทุ่งฟ้าผ่า ครูบาอิน วัดฟ้าหรั่ง หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร หลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ หลวงปู่เปรื่อง หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าฯ พ่อท่านคล้าย หลวงพ่อเชิญ พ่อท่านนอง หลวงพ่อทองพูล หลวงพ่อเปิ่น ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย หลวงปู่กรอง หลวงปู่เขียน วัดถ้ำขุนเณร หลวงปู่ไสว หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อบุญเรือน วัดยางสุทธาราม หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน พ่อท่านสีนวล วัดเกวียนหัก พระครูประสานนรกิจ วัดพระนอนจักรสีห์ พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมณ์) วัดบรมฯ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์) หลวงตาแตงอ่อน หลวงพ่อไพบูลย์ หลวงปู่ทา หลวงปู่ทอง วัดสามปลื้ม



    วาระการอธิษฐานจิตแบบพิธีพุมธาภิเษก ๙ วาระดังนี้

    ๑.งาน ๑๕๐ปีชาตกาลพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดบรมนิวาส ๒๔ มี. ค. ๔๙

    กำหนดการ
    - วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2549 พศ. 2549 แรม 10 ค่ำ เดือน 4
    เวลา 14.30 น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส
    เวลา 15.09 น. สมเด็จพระญาณโรดม วัดเทพศิรินทราวาส เป็นประธานจุดเทียนชัยพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่น 150 ปีฯ ณ. ศาลาอุรุพงษ์ พระคณาจารย์ 19 รูป นั่งปรกอธิฐานจิต
    เวลา 22.39 น. พระเทพสังวรญาณ(หลวงตาพวง สุขินฺทริโย) ดับเทียนชัย


    - วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พศ. 2549 แรม 11 ค่ำ เดือน 4
    เวลา 07.00 น. พระสงฆ์ 150 รูป ออกบิณฑบาต ณ ศาลาสนิทวงศ์ (อาหารแห้ง)
    เวลา 07.30 น. ตักบาตรพระคณาจารย์ 19 รูปที่มาพุทธาภิเษก(อาหารคาว-หวาน)
    พระสงฆ์ 19 รูป สวดมาติกาบังสุกุล ถวายแด่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) และเจริญพระพุทธมนต์
    เวลา 08.00 น. ถวายภัตตาหารแด่ พระสงฆ์ 19 รูป
    เวลา 09.00 น. ถวายไทยธรรม พระสงฆ์กล่าวอนุโมทนากถา
    เวลา 09.30 น. แสดงพระธรรมเทศนาโดย หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จังหวัดอุดรธานี
    จึงขอกราบเรียน เรียนเชิญและเจริญพรเชิญชวน ท่านที่เคารพนับถือในท่านเจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจนฺโท อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส พระบูรพาจารย์แห่งวงศ์พระกรรมฐาน มาร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกัน


    รายนามพระคณาจารย์ที่อฐิษฐานจิต ปลุกเสกชนวน
    ๑. พระเทพสังวรญาณ (หลวงตาพวง สุขินฺทริโย) วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร
    ๒. พระราชวรคุณ (เจ้าคุณโพธินันทมุนี) วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    ๓. พระราชภาวนาภินิจ (เจ้าคุณอุดมฯ) วัดพุทธบูชา กรุงเทพฯ
    ๔. พระญาณทีปาจารย์ (หลวงปู่ท่อน ญาณธโร) วัดศรีอภัยวัน จ.เลย
    ๕. สมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพศิริน กรุงเทพฯ
    ๖. พระครูสังวรสมณวัตร (หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต) วัดพระขาว จ.อยุธยา
    ๗. พระครูสุทธิคุณรังสี (หลวงปู่ทอง ปญฺญาทีโป) วัดรังสีสุทธาวาส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
    ๘. พระครูวิเวกวัฒนาทร (หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก) วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น
    ๙. พระครูสุนทรธรรมวินิฐ (หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก) วัดตะโก จ.อยุธยา
    ๑๐. พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ) วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน จ.บุรีรัมย์
    ๑๑. พระครูวิทิตพัฒนาการ (หลวงพ่อจ้อย พุทธฺสโร) วัดหนองน้ำเขียว จ.ชลบุรี
    ๑๒.หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย
    ๑๓. พระครูวิมลภาวนาคุณ (หลวงพ่อคูณ สุเมโธ) วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    ๑๔. พระครูมนูญธรรมวัตร (หลวงพ่อสาคร มนุญฺโญ) วัดหนองกรับ จ.ระยอง
    ๑๕. พระครูสมุห์เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
    ๑๖. พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวส กรุงเทพฯ
    ๑๗. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ จ.นนทบุรี
    ๑๘. หลวงปู่สรวง สิริปุญฺโญ วัดบ้านสีฐาน จ.ยโสธร
    ๑๙. หลวงพ่อคำบ่อ ฐิตปญฺโญ วัดใหม่บ้านตาล จ.สกลนคร
    ๒๐. หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม จ.สระแก้ว
    ๒๑.หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค จ.อุทัยธานี



    ### ข้อมูลและภาพถ่ายในพิธีพุทธาภิเษก ###
    https://www.mediasocialnews.com/สิริจันโท-150-ปี/


    ๒.งานพุทธาภิเสกพระกริ่งวันสงกรานต์ปี๔๙ วัดสุทัศฯ
    - หลวงปู่กาหลง หลวงพ่ออั้น หลวงพ่อทรง เป็นต้น

    ๓.งานพุทธาภิเสกพระกริ่งหลวงวัดสุทัศฯปี๔๙

    ๔.งานไหว้ครูหลวงปู่กาหลง

    - (หลวงปู่กาหลง หลวงพ่ออั้น ฯลฯ)

    ๕.งานพุทธาภิเสกวัตถุมงคล สสส วัดพระขาว อยุธยา ปี๔๙

    - หลวงปู่ทิม หลวงพ่อรวย หลวงพ่อเอียด หลวงพ่อเพิ่ม หลวงพ่อพูนฯลฯ

    ๖.งานพุทธาภิเสกวัดโคกหิรัญ อยุธยาปี๔๙

    - เกจิอยุธยาทั้งหมด

    ๗.งานพุทธาภิเสกวัดพุทธบชา ปี๔๙

    - หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    - หลวงตาพวง สุขินฺทริโย
    - พระราชภาวนาภินิจ(สนธิ์ อนาลโย)
    - หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    - หลวงพ่อไพบูลย์ สุมงฺคโล
    - หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป เป็นต้น


    ๘.งานมุทิตา ๙๑ ปี หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ปี๔๙

    - หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป
    - หลวงปู่เสรี สีลวุฒฺโฑ
    - หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    - หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    - หลวงตาพวง สุขินฺทริโย
    - หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน
    - หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ
    - หลวงปู่สมุทร วัดเขาจีนแล ลพบุรี ฯลฯ


    ๙.งานบูชาคุณแผ่นดิน ณ ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ ๑๑ มี.ค.๕๐

    - พระเทพสังวรญาณ (หลวงตาพวง สุขินฺทริโย) วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร
    - พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ) วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน จ.บุรีรัมย์
    - พระครูวิมลภาวนาคุณ (หลวงพ่อคูณ สุเมโธ) วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระครูสมุห์เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
    - หลวงปู่ดี วัดเทพากร กรุงเทพฯ
    - หลวงพ่อทองคำ วัดหลวงอรัญ จ.สระแก้ว
    - ครูบาสิทธิ วัดบางต้นเดื่อ จ.เชียงใหม่
    - ครูบาผัด วัดศรีดอนมูน จ.สุโขทัย
    - หลวงปู่สรวง วัดศรีฐาน จ.ยโสธร
    - หลวงพ่อเจิม วัดหนองน้ำขุ่น จ.ระยอง
    - หลวงพ่อสุข วัดท่าตะคร้อ จ.กาญจนบุรี
    - พ่อท่านแจ้ง วัดทรายขาว จ.สงขลา ฯลฯ



    วาระการอธิษฐานจิตแบบเดี่ยว 24 วาระดังนี้
    รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสก-อฐิษาจิตเดี่ยว
    ๑.หลวงปู่บุญฤทธิ์ อฐิษาจิต ๕ ครั้งพร้อมเหรียญรุ่นแรก ปี๔๙-๕๐
    ๒.หลวงตาพวง อฐิษาจิต ๔ ครั้งพร้อมพระกริ่ง๑๕๐ปีฯชุดแจกกรรมการ
    ๓.หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อฐิษาจิต ๓ ครั้ง ปี๔๙-๕๐
    ๔.หลวงพ่อรวย วัดตะโก อฐิษาจิต ๓ ครั้ง ปี๔๙-๕๐
    ๕.หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม อฐิษาจิต ๓ ครั้ง ปี๔๙-๕๐
    ๖.หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ อฐิษาจิต ๒ ครั้ง
    ๗.หลวงปู่บุญหนา อฐิษาจิต ๒ ครั้ง
    ๘.หลวงพ่อคำบ่อ อฐิษาจิต ๒ ครั้ง
    ๙.หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค อฐิษาจิต ๒ ครั้ง
    ๑๐.หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว อฐิษาจิต ๒ ครั้ง
    ๑๑.หลวงปู่ท่อน อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๑๒.หลวงปู่โส กสฺสโป อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๑๓.หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๑๔.หลวงปู่สาย เขมฺมธมฺโม อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๑๕.หลวงพ่อคูณ สุเมโธ อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๑๖.หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๑๗.หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๑๘.หลวงพ่อจ้อย วัดหนองน้ำเขียว อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๑๙.หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๒๐.หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๒๑.หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๒๒.หลวงพ่ออับ วัดท้องไทร อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๒๓.หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    ๒๔.หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม อฐิษาจิต ๑ ครั้ง
    และยังมีครูบาอาจารย์อีกหลายรูปที่ไม่ได้จดบรรทึกไว้


    *** หมายเหตุ : วัตถุมงคลชุดนี้ มีจำนวนสร้าง ทั้งหมด ๓๐๒ องค์ แบ่งเป็น ๒ เนื้อ
    ๑. เนื้อนวโลหะ สร้าง ๑๘๒ องค์ ใต้ฐานบรรจุผงอัฏฐิ เกศา อังคาร ๑๕๐ คณาจารย์ และเส้นเกศาเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์
    ๒.เนื้อทองพระพุทธสมัยสุโขทัย ๑๒๑ องค์ ใต้ฐานบรรจุผงอัฏฐิ เกศา อังคาร ๑๕๐ คณาจารย์
    การปลุกเสก และอฐิษฐานจิตสิ้นสุดลงในพิธีบูชาคุณแผ่นดิน วันที่ ๑๑ มี.ค.๕๐

    ขอขอบพระคุณข้อมูลบางส่วนจาก
    : http://www.jokonsarn.99wat.com/product/7774/รูปหล่อก้นอุดผง พระอุบาลีคุณ



    สภาพสวยเดิมๆ พิมพ์คมชัดลึก สุดยอดชนวนมวลสาร มหาพิธีหายากมากๆๆ ไม่ค่อยมีหมุนเวียนให้เห็นมากนัก ส่วนใหญ่เก็บกันหมด พระรุ่นนี้ดีนอกดีใน พุทธคุณครอบครบมวลสารยอดมหามงคล แบ่งให้บูชา 1,234 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • yvbj-jpg.jpg
      yvbj-jpg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      154.6 KB
      เปิดดู:
      229
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2024
  8. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,578
    ค่าพลัง:
    +30,871
    สวัสดีหลัง-png.png3.png
     
  9. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    3129.อุดมลาภผลเมตตาค้าขาย(คัดแบบมีเกศา) พระปิดตาพรายมงคล
    รุ่นสร้างศาลาการเปรียญ วัดหนองสะเดา มหาพิธี 24วาระ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    IaO4pu.jpg

    image-e889_58e48338-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    พระปิดตาพรายมงคล หลังยันต์นะมหาจักรพรรดิ์ รุ่นสร้างศาลาการเปรียญ วัดหนองสะเดา จังหวัดสระบุรี เนื้อผงวิเศษมากมาย ผสมเกศาครูบาอาจารย์ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อ ปีพ.ศ.2554 ( โดยคุณหนุ่มเมืองแกลง จำนวนการสร้าง 5,000 องค์ บูชาทำบุญตอนนั้นองค์ละ 300บาท )

    **** แบ่งให้บูชา องค์ละ 250 พร้อมส่งครับ ****

    - คุณktv เบอร์ 2
    - คุณstepbymr เบอร์ 5



    นับตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมาหลังจากหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดระยอง ได้ละสังขารไปแล้วเหลือทิ้งไว้แต่บารมีอันยิ่งใหญ่และมงคลวัตถุอันทรง อิทธิฤทธิ์เกรียงไกรเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป รวมทั้งผงพรายกุมารที่ท่านได้ให้กำเนิดไว้ อันเป็นที่รวมของอาถรรพ์เวทย์และผงมหัศจรรย์ที่มากด้วยอิทธิฤทธิ์-บุญฤทธิ์ สุดประมาณ นับแต่วันนั้นจวบจนวันนี้ก็นับได้ครบ 36 ปีที่หลายคนรอคอยการกำเนิดของศูนย์รวมทั้งอิทธิฤทธิ์ - บุญฤทธิ์และอำนาจมหัศจรรย์อาถรรพ์พิสดารที่จะกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในโลก แห่งพระเครื่อง - ของขลัง บัดนี้ถึงเวลาที่หลายคนเฝ้ารอนั้นแล้ว จะเป็นอีกครั้งที่ประวัติศาสตร์หวนกลับคืนและอาจจะเป็นครั้งเดียวในวงการ พระเครื่อง - ของขลังในสยามประเทศ ที่รวบรวมที่สุดแห่งสรรพสิ่งที่ล้วนหายากยิ่งและหาไม่ได้อีกแล้วเข้าไว้ด้วย กัน เพื่อฝากเป็นผลงานไว้ในแผ่นดินสักครั้งหนึ่ง ด้วยมงคลมวลสารที่นับจำนวนไม่ถ้วน อันมีที่มาจากผู้เก็บรวมรวมไว้นานหลายปี หลายอย่างอยู่นอกเหนือการคาดหมายของคนในวงการพระเครื่อง บางอย่างหายสาบสูญไปจากวงการของขลังนับครึ่งศตวรรษ บางอย่างไม่เคยมีใครได้รับมาสร้างเป็นวัตถุมงคลแม้แต่ครั้งเดียวตลอดเวลา ที่ผ่านมานับแต่อดีต และนี่อาจเป็นครั้งสุดท้ายแห่งมรดกสูงค่าทางบุญฤทธิ์และพุทธาคมแห่งพระ ผู้ทรงอภิญญาลึกล้ำและยิ่งใหญ่ที่คนยอมรับกันทั่วประเทศอย่าง
    - หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ในผงพรายกุมารแท้ๆอันสร้างชื่อระบือไกลมาแล้วทั้งประเทศ และด้วยผงพรายกุมารชนิดเข้มข้นของแท้ๆขวดสุดท้ายจากปู่สาย แก้วสว่าง ผู้พลีผงพรายและกำเนิดผงอาถรรพ์นี้ร่วมกับหลวงปู่ทิมมาแต่ในอดีตกาล ซึ่งลูกหลานของท่านได้นำมามอบให้เป็นการเฉพาะเพื่อร่วมสร้างกุศลในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้ อีกทั้งผงพรายกุมาร
    - ผงพุทธคุณของหลวงปู่ทิม ที่เป็นสมบัติของวัดละหารไร่
    - เถ้ากระดูกของผู้ทรงฤทธิ์มากบารมีอย่าง ลป.ทิม วัดละหารไร่ ซึ่งได้รับเมตตามอบให้มาเพื่อร่วมสร้างกุศลโดยท่านอาจารย์เชย เจ้าอาวาสวัดละหารไร่องค์ปัจจุบัน
    - ชนวนพระกริ่งชินบัญชรและผงพรายกุมารอีกจำนวนหนึ่งจากกลุ่มศิษย์หลวงปู่ทิม
    - ผงพุทธคุณต่างๆและสิ่งสูงสุดที่ได้รับการประทานจากสมเด็จพระ สังฆราช (สมเด็จพระญาณสังวร)
    - ผงเถ้ากระดูกของหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ สระบุรี ที่ได้รับมาจากท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
    - ผงพุทธคุณแท้ๆจากพระเกจิดังของเมืองไทยปัจจุบัน และมวลสารอื่นๆที่ล้วนหายากหรือหาไม่ได้อีกแล้วอีกนับไม่ถ้วน บางอย่างเป็นสิ่งเร้นลับและลี้ลับสุดคาดเดาอย่างตื่นตาตื่นใจ


    ทุกอย่างทั้งหมดทั้งปวงนี้เพื่อกำเนิดสุดยอดแห่งพระเครื่องที่มี อำนาจความศักดิ์สิทธิ์และพลังแฝงที่มากด้วยคุณประโยชน์ต่อผู้บูชาอย่างแท้จริง


    วาระพิธีพุทธาภิเษก

    1. พิธีปลุกเสกหมู่วันเสาร์ห้า วัดสุทัศน์ฯ กทม. พิธีปลุกเสกเมื่อวันที่ 23/4/2554

    2. หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระเดียน อุบลราชธานี ปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 5/6/ 2554

    3. หลวงพ่อสุพัฒน์ วัดป่าประชานิมิต อุบลราชธานี ปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 6/6/2554

    4.พิธีปลุกเสกหมู่ที่วัดผาบ่อง อ.แม่อาย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2554
    - ครูบาไต้อ๋อง สุธัมโม วัดดอยกู่ไก่แก้ว อ.จุน พะเยา
    - ครูบาสุจิณ วัดศรีจอมเรือง อ.เมือง พะเยา
    - พระอาจารย์มหาถาวร วัดขัวแคร่ เชียงราย
    - ครูบาก้องหล้า วัดผาบ่อง แม่ลาว เชียงราย
    - ครูบาอนันต์ พุทธธัมโม วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล พะเยา
    - หลวงพ่อวิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม แม่สาย เชียงราย
    - หลวงพ่อปัตติ วัดพระธาตดอยยนต์ ประเทศพม่า


    5. ครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด อ.เมือง จ.พะเยา ปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 9/7/2554

    6. ครูบาคำแสง อธิจิตโต วัดพระธาตุสันขวาง เชียงราย ปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 10/7/2554

    7. หลวงปู่ครูบาแก้ว วัดดอยแก้วเทพเนรมิตร อ.บ้านตาก อธิษฐานจิตเมื่อวันที่ 10/7/2554

    8. หลวงพ่อลี วัดป่าหัวตลุก อ. ลาดยาว นครสวรรค์ อธิษฐานจิตเมื่อวันที่ 11/7/2554

    9. พิธีปลุกเสกหมู่ ที่วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี วันที่ 20 ก.ค. 2554
    - หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อุบลราชธานี
    - ญาท่านเกษม วัดเกษมสำราญ อุบลราชธานี
    - หลวงปู่เร็ว วัดหนองโน อุบลราชธานี
    - หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระเดียน อุบลราชธานี
    - หลวงปู่อ่อง วัดเทพสิงหาร อุบลราชธานี


    10. หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด จ. บุรีรัมย์ ปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 21/7/2554

    11. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู่ สุพรรณบุรี ปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 22/7/2554

    12. หลวงปู่สม วัดโพธิ์ทอง จ. อ่างทอง ปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 23/7/2554

    13. พ่อท่านนวล วัดไสหร้า นครศรีธรรมราช ปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 29/7/2554

    14. หลวงปู่เอื้อม วัดบางเนียน นครศรีธรรมราช ปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 29/7/2554

    15. พิธีปลุกเสกหมู่ ภาคใต้ ที่วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง วันที่ 30 ก.ค. 2554
    - พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง พัทลุง
    - พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง
    - หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน พัทลุง
    - หลวงพ่อห้อง วัดเขาอ้อ พัทลุง
    - พ่อท่านอุทัย วัดดอนศาลา พัทลุง
    - หลวงพ่อสลับ วัดป่าตอ พัทลุง
    - หลวงพ่อเหวียน วัดพิกุลทอง พัทลุง
    - หลวงพ่อเงิน วัดโพรงรู พัทลุง
    - หลวงพ่อเสถียร ฐานจาโร วัดโคกโดน จ.พัทลุง


    16. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในค่ายตากสิน อ.เมือง จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 5/8/2554
    - สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (องค์ประธาน) วัดราชบพิตร กทม.
    - พระครูพุทธิสารสุนทร (พระอาจารย์บุญกู้) วัดพระศรีมหาธาตุกทม
    - พระอาจารย์แปลง วัดป่าอุดมพรสกลนคร
    - พระครูวินัญธร วัดอรัญญิกาวาสสกลนคร
    - พระครูวีรธรรมคุณ วัดป่าวีรธรรมสกลนคร
    - พระครูสันคยาภิวัฒน์ วัดหนองผกาด สกลนคร
    - พระอาจารย์อุทัย สริธโร วัดถ้ำพระคูวัว หนองคาย
    - พระอาจารย์เสถียร คุณวโร วัดถ้ำพระคูวัว หนองคาย
    - พระครูปริยัตธรม วิธาน วัดไสท้อน สงขลา
    - หลวงพ่อเขียว วัดห้วยเงาะ ปัตตานี
    - พระอาจารย์บัว วัดเกาะตะเคียน ตราด
    - พระอาจารย์ไพรวัลย์ สำนักสงฆ์หาดทรายแดง ตราด
    - พระธรรมวงศ์มุนี วัดไผ่ล้อม จันทบุรี
    - พระเทพสารสุธี วัดจันทนาราม จันทบุรี
    - พระเทพจันทมุนี วัดใหม่เมืองจันทบุรี
    - พระภาวนา ปัญญาวิสุทธิ์ วัดป่าคลองกุ้ง จันทบุรี
    - พระราชจันทโมลี วัดบูรพาพิทยาราม จันทบุรี
    - พระสุธีปริยัตยาภรณ์ วัดพลับบางกะจะ จันทบุรี
    - พระอาจารย์อ่อง ถาวโร วัดเขาวงกต จันทบุรี
    - พระครูธรรมสรคุณ (ท่านพ่อเขียน) วัดกระทิง จันทบุรี (ปลุกเสกวันที่4สิงหา)
    - พระครูปัญญษ วราภรณ์ (ท่านพ่อประเวศน์) วัดป่าคลองมะลิ จันทบุรี
    - หลวงพ่อมนัส มนฺตชาโต วัดทุ่งจันดำ จันทบุรี
    - พระอาจารย์ธรรมรัตน์ วัดชากใหญ่ (พลิ้ว)
    - พระปลัดนิวัต พลธมฺโม (พระอาจารย์ตุ๊กแก) วัดคมบาง
    - พระครูจันทกิจ โสพณ พระวัดเกวียนหัก(ทำสายสิญจ์) จันทบุรี
    - พระครูวิศาล ศาสนกิจ พระวัดเขาน้อยสามผาน จันทบุรี
    - หลวงพ่อทองหล่อ วัดศรีเมือง จันทบุรี
    - ท่านรัญจวน วัดเขาตานก จันทบุรี
    - พระรัตนโมลี เจ้าคณะจังหวัดระยอง วัดเนินพระ ระยอง
    - พระราชภาวนามงคล วัดเภตราสุขารมย์ ระยอง
    - พระครูวิมล พรหมญาณจาร วัดเนินย่อง ระยอง
    - พระปลัดบังเอิญ อินทวังโส วัดบ้านนา ระยอง
    - พระครูวิมลสีลาจารย์ วัดหนองขุ่น ระยอง
    - พระครูสุภัททาจารคุณ (หลวงพ่อสิน) วัดละหารใหญ่ ระยอง
    - พระมนูญ ธรรมวัตร (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ ระยอง (ปลุกเสกก่อนวันพิธี)
    - พระอาจารย์อภิชัย พละภิญโญ วัดเขาโบสถ์ทับมา ระยอง
    - พระอุดม วัฒนมงคล วัดถ้ำพัฒนะมงคล ระยอง
    - หลวงพ่อสวาท ถาวโร วัดอ่าวหมู จันทบุรี
    - หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ฉะเชิงเทรา


    17. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดโพธิ์ผักไห่ อ.ผักไห่ จ. อยุธยา ตลอดคืนวันที่ 12/8/2554
    - พระครูวิชัยกิจจารักษ์ (หลวงพ่ออุดม) เจ้าอาวาสวัดพิชัยสงคราม อยุธยา
    - พระครูอดุลวิริยกิจ (หลวงพ่อเอื้อน) เจ้าอาวาสวัดวังแดงใต้ อยุธยา
    - หลวงพ่อทองหยิบ ปชุโชโต (หลวงพ่อทองหยิบ) เจ้าอาวาสวัดบ้านกลาง อ่างทอง
    - พระครูโสภณสิริธรรม (หลวงพ่อสม ) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทอง อ่างทอง


    18. พระอาจารย์สุริยัน วัดฉัพพรรณรังสี ชัยภูมิ อธิษฐานจิตปลุกเสกเมื่อวันที่ 25/9/2554

    19. พิธีปลุกเสกหมู่ ที่วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ. ระยอง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554
    - หลวงปู่ปัญญา วัดหนองผักหนาม ชลบุรี
    - หลวงพ่อเจียง วัดเนินหย่อง ระยอง
    - หลวงพ่อเจิม วัดหนองน้ำขุ่น ระยอง
    - หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ ระยอง
    - หลวงพ่ออ่อง วัดเขาวงกต จันทบุรี
    - หลวงพ่อสวาท วัดอ่าวหมู จันทบุรี
    - พระอาจารย์วีระ วัดพลับบางกะจะ จันทบุรี
    - หลวงพ่อแผน วัดหนองติม สระแก้ว
    - ครูบามงคล วัดบางเบน พิจิตร


    20. หลวงพ่อตี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี ปลุกเสกเดี่ยวเครื่องราง ระหว่างวันที่ 7-10 ตุลาคม 2554

    21. หลวงปู่เร่ง วัดดงแขวน อุทัยธานี ปลุกเสกเดี่ยววัตถุมงคลทั้งหมดเมื่อวันที่ 22/12/2554

    22. หลวงพ่อเดช วัดสังฆมงคล นครสวรรค์ ปลุกเสกเดี่ยววัตถุมงคล ในวันที่ 16/1/2555

    23. หลวงพ่อสุนทร วัดหนองสะเดา สระบุรี ปลุกเสกเดี่ยว 21-28 มกราคม 2555

    24 . พิธีบวงสรวงและพุทธาภิเษกหมู่ ที่วัดหนองสะเดา สระบุรี วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2555
    - หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา
    - หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว อยุธยา
    - หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อยุธยา
    - หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม อยุธยา
    - หลวงพ่อสุนทร วัดหนองสะเดา สระบุรี


    หากจะกล่าวว่าพระเครื่องในครั้งนี้ เป็นวัตถุมงคลชิ้นเล็กๆ ที่อุดมไปด้วยมงคลมวลสารที่หายากยิ่ง เป็นที่รวมของสรรพวิชาและพลังอำนาจต่างๆในทางที่ดีและมีผลเกื้อหนุนต่อชีวิต มนุษย์อย่างแท้จริง และจะเป็นจุดกำเนิดสิ่งมหัศจรรย์ในอนาคตก็อาจไม่ผิดนัก จะเป็นอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทยที่มีการสร้างมงคลวัตถุที่มีผลต่อผู้บูชา โดยนับถือเลื่อมใสศรัทธาได้ดังใจอย่างเร็วพลัน จะเป็นการพลิกฟื้นวิชาบางอย่างที่สูญหายไปนานให้กลับมามีคุณประโยชน์ต่อคน ที่ศรัทธาอีกครั้งหนึ่ง หากท่านกำลังมองหาพระเครื่องหรือของขลัง เพื่อใช้บูชาติดตัวสักชิ้นหนึ่ง โดยเน้นให้มีคุณอนันต์และครอบคลุมในทุกๆด้านของชีวิตนับจากวันนี้จวบจนถึงใน อนาคตข้างหน้า หรือเพื่อมอบให้บุคลอันเป็นที่รักและห่วงใยที่อยู่เบื้องหลัง ขอให้พิจารณาในรายละเอียดของพระเครื่องชุดนี้ดูสักนิด วันนี้พระกริ่งชินบัญชรก้นอุดผงพรายกุมาร (ผงขวดเดียวกันกับที่จะนำมาอุดพระชัยเทวฤทธิ์และสร้างพระขุนแผน - พระปิดตา) ได้มีค่านิยมทะยานไกลเกินเอื้อมแล้ว และมีน้อยนิดเกินกว่าจะเสาะแสวงหามาไว้ติดตัว ขอแนะนำว่าพระเครื่องชุดที่สร้างใหม่นี้จะมีดีมากพอจะทดแทนสิ่งที่หลายคน แสวงหาหรือรอคอยมานาน และมีพลังความศักดิ์สิทธิ์นานาประการสมดังที่ท่านหวังและปรารถนามานานวัน
    ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก : กระทู้คุณหนุ่มเมืองแกลง


    สภาพสวยเดิมไม่ผ่านการใช้งานเลย คัดแบบมีเกศาชัดเจนครับ เนื้อหายอดผงวิเศษเข้มข้น พุทธคุณครอบครบ แบ่งให้บูชา 250 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IVQAoQ.jpg
      IVQAoQ.jpg
      ขนาดไฟล์:
      299.9 KB
      เปิดดู:
      115
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2023
  10. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +1,187
    จอง เบอร์ 2 ครับ
     
  11. ทองทวี

    ทองทวี “นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา" สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    607
    ค่าพลัง:
    +1,770
    จอง
     
  12. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323


    -jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  13. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    3130.ปลิงไม่ได้กินเลือด(A) พระอม หลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง
    ของดียุคสงครามโลกปี84 ลพ.จงเมตตาปลุกเสก

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    6byxkq-jpg.jpg

    พระอม พิมพ์พระพุทธ หลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง จังหวัดปทุมธานี เนื้อดินผสมผงวิเศษ(ผงลบยันต์ “นะ” ต่าง ๆ ยันต์ต่าง ๆ อันเป็นตำราที่เล่าเรียนมาจากพระอาจารย์) ท่านสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2484 ช่วงประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเจตนาการสร้างขึ้นเพื่อแจกญาติโยม และชาวบ้านแถบย่าน จ.ปทุมธานี ที่ได้มาขอให้วัตถุมงคลไว้คุ้มครองจากภัยสงคราม

    นอกจากหลวงพ่อหอมจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ท่านยังได้นิมนต์ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก มาปลุกเสกพระชุดนี้ด้วย เนื่องจากหลวงพ่อหอมท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจงอีกรูปหนึ่ง

    พระอม คือ ผู้คนที่มีพระอมของท่านจะแคล้วคลาดอันตรายทุกคนด้วยชาวสามโคกมีอาชีพในการทำอิฐมอญเผาและก็ทำนา ชาวบ้านเล่าสู่กันฝังว่าเมื่อใดที่ลงไปในน้ำมักจะใช้พระอมของหลวงพ่อหอมที่มีขนาดเล็กอมไว้ใต้ลิ้นทำให้ปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆที่มากับน้ำแม้กระทั้งปลิงดูดเลือดยังไม่เกาะ

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อหอม รามธมฺโม
    วัดบางเตยกลาง (เปิ้ง)
    ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

    ปฏิปทากิตติคุณศีลวัตร "พระครูธีรานุวัตร" หรือ "หลวงพ่อหอม รามธมฺโม" พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง (เปิ้ง) ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี หนึ่งในพระปฏิบัติดีรูปหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี

    "หลวงพ่อหอม" นามเดิม เปรื่อง นามสกุล ศีลปี แต่ชาวบ้านตำบลบางเตย นิยมเรียกท่านว่า "หอม" เกิดที่ตำบลบางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี บิดาชื่อ แปลก ศีลปี เป็นชาวฝั่งธนบุรี แถวสามแยกไฟฉายตรงข้ามวัดรวก มารดาชื่อ เปลื้อง (ใจทน) เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

    หลวงพ่อท่านเป็นบุตรโทน อาชีพทำนาและค้าขาย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2459 ในวัยเด็กหลวงพ่อหอมเรียนหนังสือไทย ที่โรงเรียนวัดจันทร์กะพ้อ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี จนจบ ม.1 ปัจจุบันเรียกว่า ชั้น ป.5 แล้วลาออกไม่ได้เรียนต่ออีก พอโตวัยหนุ่มได้ช่วยบิดามารดาค้าขาย

    จนมีอายุครบ 21 ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดไผ่ล้อม ต.บ้านงิ้ว อ.สามโคก จ.ปทุมธานี โดยมี พระอธิการจ่าง เกสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการเจริญ ญาติวังโส อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมลำดับต่อมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการช่วง อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "รามธมฺโม"

    เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2481 ได้จำพรรษาอยู่วัดไผ่ล้อม เรียนพระปริยัติธรรมกับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จนสอบได้นักธรรม หลวงพ่อหอมมีความสนใจในด้านทำพระเครื่องมาก จึงเรียนวิชาทำพระเครื่องทำตะกรุดและวัตถุมงคลต่างๆ ทุกชนิด เรียนกับอาจารย์มาตลอด ท่านจำพรรษาอยู่วัดไผ่ล้อม 5 พรรษา พอดีเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลางว่างลง ท่านเจ้าคุณพระปทุมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ในขณะนั้น และญาติโยมที่วัดบางเตยกลางได้ไปนิมนต์ท่านให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง เมื่อปี พ.ศ.2486 ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุ 27 พรรษา 6

    วัดบางเตยกลาง (วัดเปิ้ง) ตั้งอยู่ใจกลางอำเภอสามโคก วัดกับที่ทำการอำเภอสามโคกห่างกันประมาณ 200 เมตร ถนนเดียวกันคือ ปทุม-สามโคก-เสนาอยุธยา วัดอยู่ติดถนน ชุมชนส่วนมากจะเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ (รามัญ)

    วัดบางเตยกลางเดิมชื่อว่า "วัดแค" สร้างเมื่อปี พ.ศ.2330 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาชาวมอญอพยพหนีสงครามมาพึ่งโพธิสมภารอยู่กับคนไทยที่เมืองสามโคก วัดนี้จึงมีสภาพเป็นวัดมอญแปลง และชาวบ้านคนไทยเชื่อสายมอญชอบเรียกว่า "วัดเปิ้ง"

    ต่อมาพระยาอำภัยมหัยสวรรค์กลับจากรบกับเงี้ยว ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดลิ้มกลีบอำภัยมหัยสวรรค์" (ลิ้มกลีบเป็นภรรยาพระยาอำภัยมหัยสวรรค์) ต่อมามีการเปลี่ยนชื่ออีกเป็น "วัดบางเตยกลาง" จนถึงปัจจุบัน แต่ชาวบ้านยังเรียกติดปากว่า "วัดเปิ้ง" อยู่บ้าง

    หลังจากได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง แล้วท่านได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมมากในขณะนั้น โดยสร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอระฆัง และสร้างอุโบสถหลังใหม่หมด

    หลวงพ่อหอมเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมากองค์หนึ่ง ท่านนิยมสร้างพระเครื่องมาก มีทั้งพระสมเด็จ พระอม ตะกรุด เหรียญและพระพิมพ์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงพ่อหอมได้รับความนิยมอย่างมาก โดยท่านปฏิบัติอยู่ในศีลเคร่งครัดมาก จนชาวบ้านนับถือมาก

    ท่านดูแลวัดวาอารามสั่งสอนลูกศิษย์และญาติโยมให้เป็นคนดีมาตลอดไม่เคยขาดตกบกพร่อง ท่านจะสอนทั้งพระเณรลูกศิษย์ ญาติโยมทุกคนเสมอภาพกันหมด แต่ชาวบ้านกลัวท่านมาก เพราะท่านจะดุ สอนให้เป็นคนดีทำสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่เคยกลัวใครว่าท่านเลย ท่านเคยพูดว่า "ทำให้เขาไปสวรรค์" สอนสิ่งที่ถูกต้องจนชาวบ้านนับถือท่านมาก เพราะท่านมีเมตตากับทุกคน จึงสอนให้ลูกศิษย์ญาติโยมเป็นคนดีโดยไม่นิ่งเฉย สอนอยู่เสมอมาจนถึงปัจจุบันนี้

    ชาวบ้านนิยมนำพระเครื่องและวัตถุมงคลทุกอย่างของหลวงพ่อหอมติดตัวตลอดเวลา ท่านได้ทำพระเครื่องวัตถุมงคลยมีพุทธคุณสูงมาก ท่านจะลงคาถาที่ท่านได้เรียนจากอาจารย์มาโดยใช้พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ส่วนมากแล้วกำกับด้วย คาถา อักขระขอมว่า กัม กะ ระ นัง ทุกอย่าง กัม กะ ระ นัง นี้คือ การกระทำของตัวเราเองทำอย่างไรได้อย่างนั้น

    เคยมีคนถามหลวงพ่อหอมว่า "วัตถุมงคลของหลวงพ่อใช้ในด้านไหนเมตตาหรือคงกระพัน"

    หลวงพ่อหอมบอกว่า "อธิษฐานเอาเองใช้ได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราขาดการนึกถึง คุณบิดา คุณมารดา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เหมือนเราแขวนดิน" เพราะฉะนั้น หลวงพ่อหอมจะบอกให้นึกถึงและปฏิบัติต่อบิดา มารดา เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ดีชีวิตก็ดีขึ้นเจริญขึ้น

    หลวงพ่อหอมมีอายุ 90 ปี 69 พรรษา ลูกศิษย์และญาติโยมจึงพร้อมใจกันจัดงานทำบุญอายุ 90 ปีขึ้น และฉลองวิหารกับหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อหอมด้วยในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2549

    หลวงพ่อหอม ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคชรา สิริอายุรวม 91 พรรษา 70 ก่อนหน้านี้ คณะศิษยานุศิษย์ได้นำหลวงพ่อหอม เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนนทเวช เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550


    สภาพสวยเดิมคราบเก่าจากการเก็บรักษา พิมพ์คมชัดลึก ของดีราคาเยาว์พุทธคุณครอบครบ แบ่งให้บูชา 234 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)






    (คุณสิริพงษ์ จองแล้วครับ)







    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2023
  14. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    3131.พระกรรมฐานผู้ซ่อนเร้นมากด้วยอภิญญาของจริง(New3)
    รูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่ทองสา ศิษย์ลป.มั่น,ศิษย์พอจ.จวน ยุคสร้างสะพานขึ้นภูทอก

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6tibnw-jpg.jpg

    พระผงรูปเหมือน รุ่นแรก หลวงปู่ทองสา ฐิตเปโม วัดป่าจิตตวิทยาราม บ้านนาเจริญ จ.บึงกาฬ เนื้อว่านผสมผงมหาพุทธคุณ มหาอนันตัง(มวลสารมากมายเกินบรรยายตามแบบฉบับ อ.อำพล เจน) ใต้ฐานฝังแผ่นทองฝาบาตร ตอกโค้ด ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2554 รังสรรค์ผลงานโดย อ.อำพล เจน อัครศิลปินแห่งสำนักห้วยไผ่

    อธิษฐานจิต : ( 6 สค 54 – 13.13 น. )
    หลวงปู่ทองสาอธิษฐานจิตปลุกเสกรูปเหมือนรุ่นแรกขององค์ท่าน โดยใช้เวลากำหนดจิต 9 นาที ไม่รวมเวลาสวด
    ท่านตั้งใจเสกรุ่นนี้เป็นที่สุด ปกติทุกครั้งที่เคยเห็นท่านเสก อย่างมากก็แค่ 5 นาที , วางกล่องพระลงตรงหน้าก็นั่งหลับตาเสกเลย คราวนี้แปลก ท่านสวดก่อน แว่วๆว่าเป็นการสวดตั้งธาตุ แล้วจึงนั่งกำหนดจิตนิ่งสนิท แทบไม่เห็นอาการไหวของลมหายใจ

    สรุปจำนวนที่ถวายหลวงปู่
    - เนื้อทองทิพย์ 1,289 องค์
    - เนื้อว่าน 4,069 องค์
    หลวงปู่จะไม่เอาออกมาจำหน่าย ท่านจะแจกฟรี ได้ยินว่าจะเอาไว้แจกผ้าป่า

    หลวงปู่ทองสา ฐิตเปโม
    ท่านเป็นพระผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ ที่เก็บตัวซ่อนเร้นไม่ข้องเกี่ยวกับโลกภายนอก อยู่ป่าอยู่เขาที่วิเวกเงียบสงัด ท่านเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) แต่ก็ทันพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในขณะที่ยังเป็นสามเณร เราท่านอาจไม่รู้จักท่าน แต่ในหมู่พระกัมมัฐฐานโดยมากรู้จักท่านทั้งนั้น

    หลวงปู่ทองสา ฐิตเปโม เล่าว่า เหตุที่ท่านได้มาอยู่วัดป่าจิตตวิทยาราม ซึ่งเป็นวัดร้างนั้นเพราะ หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม วัดสามัคคีอุปถัมภ์ ( วัดภูกระแต ) มีบัญชาให้ท่านมาบูรณะและรักษาวัดร้างให้กลับคืนเป็นวัดดี

    เมื่อวานนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว (23 มกราคม 57)
    คือวันที่หลวงปู่ทองสา ฐิตเปโม วัดป่าจิตตวิทยาราม ถึงกาลมรณภาพ
    แต่เดิมหลวงปู่ทองสาเป็นพระเก็บตัวเงียบ ใครนิมนต์ไปปลุกเสกพระที่ไหนก็ไม่ไป เห็นกล้องถ่ายรูปจะเดินหนี ใครขอถ่ายรูปก็ไม่ให้ถ่าย หลังจากพรรษาอายุมากพอสมควรแล้ว ท่านจึงอนุโลมให้
    ในที่สุดแล้ว เพียงไม่นานปี ท่านก็จากหมู่ศิษย์อย่างไม่มีวันกลับ

    เกี่ยวกับหลวงปู่ทองสา
    ทราบมาจากคำบอกเล่าของท่านผู้เฒ่าและอาจารย์เวทย์ว่า แต่เดิมท่านเป็นพระที่ปิดตัวเงียบเชียบ แม้กระทั่งการถ่ายรูป ท่านก็มักจะเลี่ยงไม่ยอมถ่าย การปลุกเสกต่างๆก็ไม่ใคร่ทำ แต่ครั้นได้พบกับท่านผู้เฒ่าและอาจารย์เวทย์ ท่านกลับอนุโลม จะด้วยลูกตื้อ หรืออะไรก็มิทราบได้ (ในกรณีนี้เหมือนกับอีกหลายกรณีที่ครูบาอาจารย์ที่ว่าไม่เสกๆ แต่สุดท้ายก็เสกให้ เช่น สาธุใหญ่คำจันทร์ เป็นอาทิ) จนเป็นที่มาแห่งมรดกขลังหลายอย่าง ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นว่า มหากศปฤาษี, พระนาคเกี้ยวใหญ่, ตระกรุดหัวใจพระปาฏิโมกข์, พระพิราพ, ล๊อกเกต รวมถึงพระรูปเหมือนรุ่นแรกที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้
    คนที่สัมผัสกับท่านจะรู้สึกถึงความสงบ สะอาด ร่มเย็น ด้วยท่านมีกริยาสุภาพ พูดน้อย เสียงเบาบางครั้งท่านผู้เฒ่าต้องสะกิดคนข้างๆว่าท่านพูดอะไร เพราะฟังไม่ถนัด ส่วนเรื่องการปลุกเสกนั้น แลเห็นถึงความตั้งใจของท่านมาก อย่างเมื่อครั้งท่านปลุกเสกพระพิราพ ท่านก็เสกเป็นเวลานานจนจำวัดที่หน้ากล่องพระนั่นเลย หรือพระรุ่นอื่นๆ ท่านก็เสกอย่างตั้งใจ เอาจนพอใจ อย่างพระกศปมหาฤาษี ท่านออกปากเองว่า "เมตตาหลวง" เป็นต้น
    ดังนั้นในยุคนี้จึงมั่นใจได้ว่า หลวงปู่ทองสา เป็นอีกองค์ที่สร้างขลังแบบบินเดี่ยวได้ไม่แพ้ใคร รุ่นนี้คักๆๆหลายครับ



    # หลวงปู่ทองสา ร่วมสร้างสะพานไม้ภูทอก
    หลวงปู่ทองสา ฐิตเปโม วัดป่าจิตตวิทยาราม เป็น ๑ ในพระ ๒๐ รูปที่ไม่ตกใจกลัวความสูง
    ท่านเล่าว่า..มีพระไม่กี่รูปที่จะต้องโหนตัวลงสู่หน้าผา ลอยอยู่กลางอากาศ เพื่อตอกสกัดหินเพื่อจะฝังเสาค้ำสะพานไม้ที่ภูทอก
    หลวงปู่คงไม่ทราบว่า สะพานไม้ขนาบหน้าผา ไต่ขึ้นสู่ยอดภูทอก ซึ่งท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการร่วมสร้างนั้น ปัจจุบันคือสิ่งมหัศจรรย์เล็กๆที่ผู้คนยกย่อง ถือเป็นผลงานน่าทึ่งเท่าที่มนุษย์ธรรมดาจะสามารถทำได้
    หลวงปู่ทองสาอาจมีคุณวิเศษในการทำของหนักให้กลายเป็นเบา
    ครั้งหนึ่งที่วัดภูผาแดง ชาวนาไถคราดถูกเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์หัก และนำเอาเศียรพระพุทธรูปนั้นมาถวาย
    หลวงปู่ได้ถามถึงส่วนที่เป็นลำตัวของพระพุทธรูป ..แต่ชาวนาบอกไม่ทราบ.. พบแต่เศียรเท่านั้น
    ท่านจึงให้ชาวนาพาไปดูบริเวณที่พบเศียรพระพุทธรูป ซึ่งเป็นนาน้ำท่วม
    ท่านยืนเพ่งดูอยู่อึดใจเดียว
    พระพุทธรูปที่เป็นส่วนลำตัวก็ลอยบุ๋งขึ้นมาเหนือน้ำอย่างน่าอัศจรรย์

    ผมมีวาสนาได้เห็นพระพุทธรูปทั้งองค์ที่พระลูกวัดทำการต่อเศียรแม้ไม่แนบเนียนแล้วด้วย
    เป็นพระพุทธรูปศิลปลาว ที่เรียกว่าเชียงรุ้ง หน้าตักประมาณ ๗ นิ้ว เนื้อสัมฤทธิ์เขียวคล้ำ ดูเก่าแก่เอาการ


    # ย้ายศาลา 40ต้นเพียงข้ามคืน
    หลวงปู่ทองสาพำนักอยู่วัดที่มีเรื่องศาลาผีดุ ซึ่งผมได้เขียนไปแล้วเมื่อหลายฉบับก่อน ซึ่งศาลาหลังนี้เป็นศาลาโบราณมีมาตั้งแต่สมัยก่อนที่หลวงปู่จะมาอยู่ที่นี่

    เมื่อไม่นานมานี้ เสาศาลาผุกร่อนไปมากโดยเฉพาะส่วนที่ฝังอยู่ในดิน หลวงปู่จึงคิดจะบูรณะซ่อมแซมเพื่อรักษาศาลาไว้ใช้งานได้ต่อไป ท่านไปขอแรงชาวบ้านให้มาช่วยย้ายศาลาครั้งแรก ชาวบ้านก็เฉย ไปขอครั้งที่ 2 และ 3 ก็เฉย

    ปรากฏว่า ในคืนวันหนึ่ง คืนเดียวผ่านไปชาวบ้านจึงเห็นว่า ศาลาเขยื้อนไปจากที่เก่า 10 เมตร ได้อย่างไรไม่รู้

    ศาลานี้ใหญ่โตมาก จุคนได้ร่วมพันคน
    เท่านั้นแหละชาวบ้านจึงได้แห่กันเข้ามาช่วย ซึ่งเวลานี้ก็เทปูนรองรับเสาศาลาและยกศาลากลับมาตั้งไว้ที่เดิมแล้ว
    ตอนยกศาลากลับที่เก่าเป็นเรื่องโกลาหลใหญ่โต ต้องใช้กำลังคนและเครื่องมือช่วยอย่างเต็มที่จึงย้ายได้
    ถามหลวงปู่ว่าท่านย้ายศาลาเองได้อย่างไร ท่านว่า “ใช้ไม้งัดเอา”
    วัดนี้ส่วนใหญ่หลวงปู่อยู่เพียงลำพังองค์เดียวแต่วันที่ย้ายศาลานั้น มีพระลูกวัดอยู่ด้วยอีก 2 องค์รวมกับหลวงปู่เป็น 3 องค์ น่าแปลกประหลาดใจว่าทำได้อย่างไร

    เรียกว่ากับศาลาไม้ที่มีเสาขนาด 1 คนโอบ 40 ต้น แค่ไม้ก็งัดให้เขยื้อนไปได้



    # รับแขกลึกลับยามวิกาล
    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ทองสาเดินทางมาพร้อมกับลูกศิษย์จากจังหวัดบึงกาฬ มาพักอยู่ในป่าเขตอำเภอโขงเจียม ซึ่งศิษย์ทางจังหวัดอุบลฯนิมนต์ท่านมาดูพื้นที่สำหรับจะตั้งขึ้นเป็นวัด

    ลูกศิษย์ที่เดินทางมากับหลวงปู่ ได้กระซิบบอกสารวัตร เทวินทร์ กองพร สภ.อ. โขงเจียม ว่าถ้าจะนอนพักใกล้กับหลวงปู่.. อย่าหลับ.. ดึกๆมักจะมีอะไรดีๆ

    สารวัตร เทวินทร์ จึงแอบปูเสื่อ นอนอยู่ใต้ถุนกุฏิที่หลวงปู่ทองสาจำวัด

    ตกดึกได้ยินเสียงเหมือนหลวงปู่ลุกขึ้นมาพูดคุยกับใครไม่ทราบ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องสนทนาธรรมที่ทั้งลึกทั้งพิสดาร

    ภายหลังเมื่อมีโอกาสเหมาะๆ จึงเรียนถามหลวงปู่ว่า ที่กุฏิกลางป่านั้น ท่านคุยกับใครอยู่ทั้งคืน หลวงปู่ตอบว่า.. “ไม่ได้คุยกับใครหรอก.. เฮาชอบนอนละเมอ..”

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    - คัดลอกจากงานเขียนท่านอาจารย์อำพล เจน


    สภาพสวยคราบฝาไขว่านคราบเดิมๆ เก่าเก็บไม่ผ่านการบูชา พิมพ์คมโค้ดชัดลึก พุทธคุณครอบครบ แบ่งให้บูชา 250 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  15. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +1,187
    โอนแล้วครับ 24/06/66 เวลา 10.59 น.จำนวน 250 บ.จัดส่งที่เดิมครับ
     
  16. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    รายการจัดส่ง แฟลช 16/06/2566

    idiqnw-jpg.jpg


    ********************************



    รายการจัดส่ง แฟลช 24/06/2566


    IeK7NS.jpg


    ***สรุปรายการที่ หน้า1 ครับผม***
    Tel: 086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    Line id : engiman_nu

    -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2023
  17. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    3132.สุดยอดมหาพิธี (New1) เหรียญพระพุทธชินราช พิธีจักรพรรดิ์
    ลป.ทิม,ลป.โต๊ะ,ลพ.กวย พิธีใหญ่เศก2วัน2เต็ม

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6bpv-jpg-jpg.jpg

    t4gocp-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    t4gpte-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    เหรียญพระพุทธชินราช รุ่นมั่นในธรรม พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธภิเศก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ณ วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษนุโลก เนื้อทองแดงผิวไฟ
    พิธีมหาพุทธภิเศก เป็นเวลา 2 วันเต็ม นับจากวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2515 พระคณาจารย์บริกรรมปลุกเสก 109 รูป


    ประวัติการจัดสร้างพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธภิเศก
    ดำเนินการ ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2515 โดยพุทธสมาคมพิษณุโลก เพื่อนำวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเข้าพิธีปลุกเสก วัตถุมงคลในรุ่นนี้มี พระพุทธชินราชจำลอง พระชัยวัฒน์ พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ พระพิมพ์ และเหรียญมหาจักรพรรดิ์ ฯลฯ พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก เป็นพิธีที่ใหญ่มาก
    ยากแก่การดำเนินการหาเจ้าพิธี ตลอดจนตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้ ตามประวัติ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


    พิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" นี้ ครั้งแรกได้กระทำพิธีในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้มีการกระทำพิธีนี้อีก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2515 ในสมัยรัชกาลที่ 9 หลังนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำพิธีฯ นี้อีกเลย ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธีได้กำหนด และควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณกาลพิธีทุกประการ

    คณะกรรมการพิธีฯ
    สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นประธานบริกรรมปลุกเสก
    กรรมการฝ่ายเจ้าพิธี
    พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร อาจารย์มาโนช มาโสภาศ
    กรรมการอุปถัมป์ฝ่ายสงฆ์
    พระสุวรรณวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก พระพิษณุบูราจารย์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จ.พิษณุโลก ฯลฯ
    กรรมการอุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส
    นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พล.ท.สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ ๓ สมาคมนักเรียนเก่าพิษณุโลกพิทยาคม ฯลฯ
    กรรมการดำเนินงาน
    คณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลก
    กรรมการที่ปรึกษา
    นายประชุม กาญจนวัน์ นายสุฉันท์ โพธิสุวรรณ ฯลฯ


    พิธีมหาพุทธภิเศก เป็นเวลา 2 วันเต็ม นับจากวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2515 พระคณาจารย์บริกรรมปลุกเสก 109 รูป
    รายนามพระคณาจารย์ที่ร่วมบริกรรมปลุกเสก อาทิ
    1. หลวงพ่อทอง (พระครูวิริยะโสภิต) วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี

    2. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมมาภรณ์) วัดดอนยาหอม จ.นครปฐม
    3. หลวงพ่อนาค (พระครูจันทรโสภณ) วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ
    4. หลวงพ่อแดง (พระครูญาณวิลาศ) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
    5. หลวงพ่อหอม (พระครูภาวนาณุโยค) วัดซากหมากป่าเรไร จ.ระยอง
    6. หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์
    7. หลวงพ่อสด (พระครูวิจิตนชัยการ) วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท
    8. หลวงพ่อชื่น (พระครูนนทกิจวิมล) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
    9. หลวงพ่อบุญ (พระครูประดิษฐ์นวการ) วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี
    10. หลวงปู่ทองอยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพระองค์ จ.สมุทรสาคร
    11. หลวงพ่อกรับ (พระครูธรรมสาคร) วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร
    12. หลวงพ่อเจริญ (พระครูปัญญาโชติ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
    13. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
    14. หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี
    15. พระครูสนิทวิทยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี
    16. พระครูปิยะธรรมโสภิณ (หลวงพ่อคำ) วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี
    17. พระครูกิตพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราฎร์เจริญ จ.สระบุรี
    18. พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
    19. พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
    20. พระวินัยรักขิตาวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    21. พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
    22. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
    23. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
    24. หลวงพ่อเผือก วัดสาลีโข จ.นนทบุรี
    25. พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ฯกรุงเทพฯ
    27. พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
    28. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    29. พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
    30. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
    31. พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    32. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี
    33. พระครูโกวิทยาสมุทคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
    34. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    35. พระอาจารย์ผ่อง (จินดา) วัดจักรวรรคิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ
    36. พระครูศรีปริยานุรักษี วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่
    37. พระครูวิรุฬห์ธรรมโกวิทย์ วัดเจดีย์สถาน จ.เชียงใหม่
    38. พระครูมงคลคุณาธร วัดหม้อตองคำ จ.เชียงใหม่
    39. หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสต๋อย จ.เชียงใหม่
    40. หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง
    41. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง
    42. หลวงพ่อชุบ วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง
    43. หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
    44. หลวงพ่อเงิน วัดเขาสาก จ.ลำปาง
    45. หลวงพ่อบุญสม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง
    46. พระวิบูลวชิรธรรม วัดท่าพุทรา จ.กำแพงเพชร
    47. หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์
    48. หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
    49. หลวงพ่อโอด (พระครูนิสัยจริยคุณ) วัดจันเสน จ.นครสวรรค์
    50. หลวงพ่อคัด วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท
    51. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท
    52. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
    53. หลวงพ่อดวง วัดทอง จ.สิงห์บุรี
    54. พระครูอาทรสิกขการ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง
    55. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดท่าช้าง จ.อยุธยา
    56. พระครูประภาสธรรมคุณ (หลวงพ่อแจ่ม) วัดวังแดง จ.อยุธยา
    57. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา
    58. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
    59. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
    60. พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง) วัดกก กรุงเทพฯ
    61. พระครูอนุกูลวิทยา (หลวงพ่อเส็ง) วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ
    62. พระครูพิริยกิจติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    63. พระครูภาวณาภิรมย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    64. พระครูโสภณกัลป์ยานุวัฒน์ (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณ์ กรุงเทพฯ
    65. พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี
    66. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง
    67. พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์
    68. พระครูวชิรคุณาญาณ วัดในกลาง จ.ประจวบคีรีขันธ์
    69. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
    70. พระครูอุดมศีลจารย์ (พ่อท่านเย็น) วัดโคกสะท้อน จ.พัทลุง
    71. พระครูพิศาลพัฒนกิจ (พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม จ.พัทลุง
    72. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
    73. หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
    74. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
    75. หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
    76. หลวงปู่จันทร์ วัดสำราญ จ.อุบลราชธานี
    77. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
    78. หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    79. หลวงพ่อครูบาตัน วัดเชียงทอง จ.ตาก
    80. หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย
    81. หลวงพ่อปี้ วัดบ้านด้านลานหอย จ.สุโขทัย
    82. พระครูคีรีมาสธรรมคุณ วัดวาลุการาม จ.สุโขทัย
    83. พระครูพิลาศธรรมคุณ วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย
    84. พระครูไกรลาศสมานคุณ วัดกงไกรลาศ จ.สุโขทัย
    85. พระอาจารย์พวง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
    86. พระอาจารย์ฉลอง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย
    87. พระครูพินิจธรรมภาณ วัดวังแดง จ.พิจิตร
    88. พระครูธรรมมานิสิทธิ์ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร
    89. พระอาจารย์ชัย วัดกลาง จ.อุตรดิตถ์
    90. หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส จ.อุตรดิตถ์
    91. หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์
    92. พระพิษณุบุราจารย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    93. พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนีวัดอรัญญิก) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    94. พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก
    95. พระครูอภัยจริยาภรณ์ วัดใหม่อภัยยาราม จ.พิษณุโลก
    96. พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว จ.พิษณุโลก
    97. พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
    98. พระครูประภาสธรรมมาภรณ์ (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก
    99. พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไช่) วัดศรีรัตนาราม จ.พิษณุโลก
    100. หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
    101. พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก
    102. หลวงพ่อเฉลิม วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
    103. หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก
    104. พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ จ.พิษณุโลก
    105. พระอาจารย์โต วัดสมอแข จ.พิษณุโลก
    106. พระครูประพันธ์ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก
    107. พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทอง จ.พิษณุโลก
    108. พระอาจารย์นวล วัดนิมิตธรรมาราม จ.พิษณุโลก
    109. พระอาจารย์ธงชัย วัดวชิรธรรมราชา จ.พิษณุโลก

    และจากจังหวัดต่างๆทั่วประเทศรวม 109 รูป พุทธคุณของพระชุดนี้ กล่าวขวัญมากโดยเฉพาะด้านแคล้วคลาดและเหนียวสุดๆครับ น่าบูชาเป็นอย่างยิ่งนับแต่นั้นมา ยังมีการชุมนุมของพระเกจิอาจารย์ครั้งไหน จะยิ่งใหญ่เท่านี้อีก
    สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเข้าพิธี ใช้น้ำที่วัดตูม เป็นน้ำที่ออกจากพระเศียรพระพุทธรูปที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสงและเครื่องศัตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) เมืองเก่าสุโขทัย



    ### รูปและรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาต่อได้ที่ลิ้งด้านล่างนี้ เลยครับผมครบถ้วนกระบวนความ ###

    http://palungjit.org/threads/กระทู้ใหม่-3-วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย-หลากหลายสายราคาเบา-สรุปรายการ-น.2/page-291309page-3#post-4702140


    สภาพสวยเดิมๆผิวหิ้งนิดๆ ไม่หักไม่ซ่อม มวลสารอันศักดิ์สิทธิ์แห่งการเคารพบูชา พุทธาภิเษกด้วยพิธีจักรพรรดิ์ ด้านพุทธคุณหาที่เปรียบมิได้สูงส่งเกินกว่าพิธีใดๆ ไม่แท้ไม่ทันคืนเต็มครับ แบ่งให้บูชา 1,555 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)






    (คุณKKT จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2023
  18. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    3133.สุดยอดมวลสารมงคลครบ มีเกศา(๑)
    ระขุนแผนพรายกุมาร หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่าอรัญญาวิเวก

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    v0zbnw-jpg.jpg

    พระขุนแผนพรายกุมาร พิมพ์เล็ก หลวงปู่แสง ญาณวโร ออกวัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ จังหวัดอำนาจเจริญ เนื้อผงพุทธคุณผสมผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ และผงพุทธคุณหลายชนิด และเกศา หลวงปู่แสง ผสมลงไปด้วย ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2554 ศิษย์สร้างถวาย เพื่อเป็นแจกเป็นที่ระลึก

    พิมพ์เล็ก จำนวนการสร้างประมาณ 5,000องค์

    ( รุ่นนี้ไม่มีให้บูชา หลวงปู่แจกเท่านั้น องค์นี้เจ้าของเดิมได้รับแจกจากมือหลวงปู่โดยตรง )



    ประวัติ “หลวงปู่แสง จันดะโชโต ญาณวโร”
    ข้อมูลจาก เพจโบราณนานมา ระบุว่า “หลวงปู่แสง จันดะโชโต (ญาณวโร)” วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ตำบลโคกนาโก อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร เดิมชื่อ “นายแสง ดีหอม” เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2467 อำเภอฟ้าหยาด จังหวัด อุบลราชธานี (ปัจจุบัน คือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร)

    อุปสมบทเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2490 ณ วัดศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันสิริอายุปีที่ 97 พรรษา 75 (บางคนเล่าว่าจริง ๆ แล้วท่านอายุ 105 ปี เพราะสมัยนั้นแจ้งเกิดช้า)

    ประวัติการจำพรรษา วิเวกธุดงค์
    : ศึกษาหลักธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ช่วงบั้นปลายของท่านอาจารย์มั่นที่อยู่บ้านหนองผือ)

    : หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จังหวัด เลย (ปี 2494-2496)

    : พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้ร่วมสร้างวัดถ้ำขาม (ปี 2497)

    : หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย (1 พรรษา)

    : หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดราษฎร์สงเคราะห์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี (20 พรรษา)

    : พระอาจารย์แบน ธนากโร ได้ร่วมสร้างกุฏิศาลาที่วัดธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร

    : หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    : หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ได้ร่วมธุดงค์ที่ภูวัว

    : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

    : หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    : หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้วิเวกธุดงค์ที่ภูเกล้า ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

    : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย – ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่วัดดอยหินหมากเป้ง

    : หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จังหวัดอุดรธานี ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่ อำเภอผือ อำเภอสามพราน และ อำเภอน้ำโสม

    : พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์วัน อุตตะโม หลวงปู่หล้า เขมปัตโต และพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ได้วิเวกธุดงค์ร่วมกันที่ถ้ำสาลิกา ภูสิงห์ ภูทอง ภูพานคำ และ ภูทอก ฯลฯ

    : หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม ได้จำพรรษาด้วยกัน (ปี 2532 – 2533)

    : ตั้งแต่ ปี 2534 – 31 ธันวาคม 2551 จำพรรษา ที่วัดป่าอรัญญาวิเวก บ้านไก่คำ จังหวัดอำนาจเจริญ

    : 31 ธันวาคม 2551 – 11 ตุลาคม 2552 จำพรรษาที่วัดป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (เสนาสนป่าโคกค่าย) บ้านหนองไฮน้อย ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

    : 11 ตุลาคม 2552 จำพรรษาที่วัดป่านาเกิ้งญาณวโร บ้านนาเกิ้ง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ

    : 21 พฤศจิกายน 2553 จำพรรษาที่ วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (สำนักสงฆ์ภูทิดสา)

    : บ้านห้วยฆ้อง ตำบลหนองข่า อำเภอ ปทุมราชวงศา จังหวัด อำนาจเจริญ

    : 3 พฤศจิกายน 2556 สำนักสงฆ์บ้านเวินชัย อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

    : ปัจจุบัน หลวงปู่แสง ญาณวโร จำพรรษา ที่ วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ตำบลโคกนาโก อำเภอ ป่าติ้ว จังหวัดยโสธร


    ก่อนหน้านี้หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับฉายาของท่านคือ “หลวงปู่แสง ญาณวโร” หลวงปู่ท่านได้เมตตาเล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงเหตุการณ์ที่เปลี่ยนฉายาจาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2557 หลวงปู่ท่านได้เล่าให้ฟังว่า “…สมัยที่ท่านหนุ่ม ๆ ท่านได้เดินทางไปธุดงค์ที่ จังหวัดอุดรธานี เพื่อที่จะไปปักกลดที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ทางที่จะไปนั้น ต้องนั่งเรือข้ามห้วยชื่อว่า “ห้วยหลวง” ขณะที่หลวงปู่ท่านกำลังนั่งเรืออยู่นั้น เรือได้เกิดพลิกคว่ำ ทำให้บาตรของหลวงปู่ได้หล่นน้ำ ซึ่งในบาตรนั้นได้มีสูติบัตรพระอยู่ด้วย ทำให้สูติบัตรของหลวงปู่ท่านได้ลอยหายไปกับกระแสน้ำ

    หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้ไปทำสูติบัตรพระใหม่ซึ่งหลวงปู่ท่านมาเห็นในภายหลังว่า เจ้าหน้าที่พิมพ์ฉายาให้ท่านผิดไปเป็นฉายา “ญาณวโร” โดยแท้จริงแล้วหลวงปู่ท่านได้ใช้ฉายา “จันดะโชโต” มาตั้งแต่ต้น จึงทำให้หลวงปู่ได้ใช้ฉายา “ญาณวโร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเป็นเวลาหลายปี

    จนกระทั่งปี 2557 หลวงปู่ท่านได้มอบหมายให้พระครูสุทธิพรหมคุณ (สุทธิพงศ์ ชนุตตโม) เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ให้ดำเนินการในการเปลี่ยนฉายาของหลวงปู่กลับมาเหมือนเดิม จาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต” ซึ่งเป็นฉายาที่แท้จริงของหลวงปู่ และหลวงปู่ยังได้กล่าวอีกว่า “จันดะโชโต” มีความหมายว่า “ผู้ที่รุ่งเรือง” หลวงปู่ท่านเคยจำพรรษาที่วัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม เมื่อปี 2532 – 2533…”



    สภาพสวยเก่าเก็บ ของดีมวลสารเยี่ยม มีเกศาหลวงปู่ แบ่งให้บูชา 270 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)






    (คุณRoj_56 จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2023
  19. Roj_56

    Roj_56 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    607
    ค่าพลัง:
    +1,489
    ขอบูชาครับ
    3133
     
  20. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,180
    ค่าพลัง:
    +14,323
    3135.ของดีที่ถูกลืม กล่องเดิมๆ ในหลวงพระราชทานนาม
    พระพุทธนวมินทรมหาจักรีฯ พระญาณสังวร,คบ.อิน,ลพ.อุตตมะ,ลป.คำพันธ์


    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    Ie2E5Q.jpg
    พระผงพระพุทธบรมศาสดานวมินทรมหาจักรีราชานุสรณ์สัฐิพรรษาสถาพรพิพัฒน์ พระประธานพระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อผงมหาพุทธคุณ จัดสร้างโดยกองทัพอากาศ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 พระผงรุ่นนี้ได้บรรจุกรุไว้ที่พระมหาเจดีย์เป็นจำนวนมาก และมีบางส่วนที่แจกจ่ายออกมา ทำให้คนรุ่นหลังแทบจะไม่รู้จักเลย

    ประวัติการจัดสร้างโดยย่อ
    สืบเนื่องจากวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และวาระที่กองทัพอากาศมีอายุครบ 72 ปี ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2530 กองทัพอากาศได้สร้างพระมหาสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อเป็นพระอนุสรณ์สถาน ณ ดอยอินทนนท์ บริเวณประมาณกิโลเมตรที่ 415 ของถนนสายจอมทอง – อินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับความสูง 2146 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า “พระมหาธาตุนภเมทนีดล” มีความหมายว่า “พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่ยิ่งใหญ่เพียงฟ้าจรดดิน"

    ในการนี้ กองทัพอากาศได้ว่าจ้างช่างแกะสลักชาวอินโดนีเซีย ชื่อนายอีโยมาน อาลิม มุสตาฟา (Inyoman Alim Mustapha) อยู่ที่อำเภอมุนติลาน เมืองจ๊อกจาการ์ตา แกะสลักพระพุทธรูปปางประทานพร ขนาดหน้าตักกว้าง 60 นิ้ว ตามจำนวนพระชนมพรรษา โดยสลักจากหินแกรนิต ซึ่งตัดเจาะจากภูเขาเบิร์ดโจ อำเภอกอร์เดียน เมืองจ๊อกจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเซีย
    พระพุทธรูปหินแกรนิตนี้ นายแหลมสิงห์ ดิษฐพันธุ์ เป็นผู้ปั้นแบบ ตามแนวคิดของ พลอากาศโท วรนาถ อภิจารี ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และนางไขศรี ตันศิริ ผู้อำนวยการกองแบบแผน กระทรวงสาธารณสุขสถาปนิกผู้ออกแบบมหาสถูป เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระมหาธาตุนภเมทนีดล
    นายอีโยมานแกะสลักพระพุทธรูปแล้วเสร็จและทำพิธีรับมอบเมื่อวันวิสาขบูชา ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 จากนั้นจึงอัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองจ๊อกจาการ์ตาลงเรือที่ท่าเรือตันจุงปิอ๊อก เมืองจาการ์ตา ถึงท่าเรือคลองเตยวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 ระหว่างนั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานชั่วคราวที่กรมขนส่งทหารอากาศ และสนามหลังกองบัญชาการกองทัพอากาศ จนกระทั่งวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 จึงอัญเชิญไปจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระมหาธาตุนภเมทนีดล เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระพุทธบรมศาสดา นวมินทรมหาจักรีราชานุสรณ์ สัฐิพรรษาสถาพรพิพัฒน์ แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาสร้างเป็นอนุสรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระชนมพรรษา 60 พรรษา

    วาระประกอบพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
    วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2530 เป็นวันพุทธาภิเษก วันนั้นตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ปีเถาะ พระจันทร์จะเต็มดวงแล้ว และตามปูม เป็นวันมหาสิทธิโชค ตามเวลาฤกษ์จุดเทียนชัย คือเวลา 15.49 -16.30 น. เป็นมหัทธโนฤกษ์

    การประกอบพิธีพุทธาภิเษก ได้ประกอบพิธีไปตามขั้นตอนครบถ้วนทุกประการ ในตอนเช้าท้องฟ้าอากาศแจ่มใส ตอนใกล้เที่ยงมีเมฆฝนเข้ามา และค่อยๆ ผ่านไป เมฆมีกระจายทั่วๆ ไปในท้องฟ้า แต่ก็ไม่มีฝนตก แม้จะทำท่าว่าจะตกอยู่บ้าง วันนั้นเป็นวันสำคัญที่สุดของพิธี ผู้ช่วยผู้อำนวยการพิธีได้ปฏิบัติบูชาสิ่งศักดิสิทธิ์ก่อนเวลา 11.00 น. และในตอนบ่าย เวลา 15.00 น. ก็ได้มีสภาพอากาศที่ปรากฎแก่สายตาของทุกคนที่มาร่วมพิธีที่ได้สังเกต เวลาประมาณ 15.00 น. นั้นเมฆที่ลอยต่ำรอบพระมหาสถูปเจดีย์เริ่มลอยช้าลง และพัดเป็นทักษิณาวัฎ เป็นวงรอบพระมหาสถูปเจดีย์ในเบื้องสูงยอดดอยที่ตั้งพระมหาสถูปเจดีย์โปร่งโดยรอบขึ้นไป ไม่มีเมฆเป็นช่องสว่างขึ้นไป เมฆที่ผ่านมาถึงบริเวณนี้จะพัดอ้อมไป โดยเฉพาะบริเวณใกล้องค์พระมหาสถูปเจดีย์ ในปริมณฑล 100-150 เมตร โดยรอบ ทุกสิ่งทุกอย่างสงบนิ่ง ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ไปจนเสร็จพิธี เวลาประมาณ 18.30 น. เมื่อไม่มีลมเลย อากาศจึงไม่หนาวอย่างที่เคยหนาวมาก่อนแล้วทุก ๆ วัน อุณหภูมิของอากาศขณะนั้นคงจะราวๆ 20-25 องศาเซลเซียส เพราะสามารถสวมเสื้อแขนสั้นเพียงตัวเดียวโดยมิต้องมีเสื้อหนาวสวมทับอีกชั้นหนี่ง ธรรมชาติสงบนิ่งเป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง สภาวะเช่นนั้นย่อมจะไม่เคยมีหรือบังเกิดขึ้นมาก่อนแน่นอน ณ ที่นั้นนับร้อยๆ ปี ทุกคนเชื่อว่าปวงสิ่งศักดิสิทธิ์ทั้งหลายได้มาประชุมอนุโมทนาและบันดาลให้บังเกิดสภาวะเช่นนั้น อันเป็นนิมิตแห่งความสวัสดีและเป็นมหามงคลด้วยอำนาจและบารมีแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้ ผู้ที่ได้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกในวันนั้นประจักษ์แก่ตาตนเอง ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้

    - สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศ
    - หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง
    - หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
    - ครูบาชัยวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม
    - หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    - หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    - หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล
    และพระเถราจารย์ร่วมปลุกเสกหลายท่าน ร่วมอธิญานจิต


    เป็นต้น ประกอบศาสนพิธีเสร็จแล้ว เริ่มออกจากห้องโถงพระมหาสถูปเจดีย์เป็นคณะแรก ผู้บัญชาการทหารอากาศและผู้เข้าร่วมพิธีอื่นๆ ต่างทยอยกันกลับ เพื่อเดินทางต่อไปขึ้นเครื่องบินกลับดอนเมือง ทุกคนต่างปลื้มปิติและอิ่มในบุญกิริยาที่แต่ละคนได้มีโอากาสมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งจะประดิษฐานอยู่บนดอยอินทนนท์ที่สูงที่สุดเป็นอมตะ นับภพ นับชาติ จะไม่มีสิ้นสุด หากจะได้เกิดมาใหม่เมื่อใดก็คงจะพบ "พระพุทธบรมศาสดา" ณ ที่ขุนเขาแห่งนี้ คณะเจ้าหน้าที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดินทางกลับลงมาเป็นคณะสุดท้าย เมื่อพระจันทร์วันขึ้น 14 ค่ำ ส่องสว่างเหนือดอยอินทนนท์และเส้นทางถนนอินทนนท์-จอมทอง จะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน
    ในวันรุ่งขึ้น วันที่ 7 กันยายน 2530 พลอากาศโท เกริกชัย หาญสงคราม นาวาอากาศเอก ประกลป์ วิจิตรานุช และ นาวาอากาศเอก อนุธวัช บุณยสิงห์ ได้อำนวยการและควบคุมการลำเลียงส่งพระพุทธรูปจำลอง 999 องค์ พร้อมด้วยพระพิมพ์ผงบรรจุไห จำนวนหนึ่งขึ้นบรรจุไว้ในชั้นตามแผนแบบ ชั้นที่ 5 และ ชั้นที่ 6 ตามที่กำหนดจำนวนไว้ครบถ้วนและเรียบร้อย แล้วรอที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในวันที่ 14 กันยายน 2530 ต่อไป

    พระชุดนี้พิธียิ่งใหญ่ แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก จนลานโพธิ์นำไปเขียนคอลัมม์ "พระดีพุทรคุณเกินหลักล้าน" ทำให้มีหลายคนติดตามแอบเก็บกันเงียบๆ ครับ ซึ่งถ้าจะหาเก็บกันชั่วโมงนี้ยังง่ายอยู่ แต่ต่อไปคนรู้เยอะขึ้น แพงแน่นอนครับ เพราะใครๆก็ต้องอยากได้ไว้ประดับบารมีเมื่อรู้ข้อมูลประวัติการสร้างยิ่งใหญ่ดังนี้แล้ว

    สภาพสวยเดิมๆ พระเก่าเก็บไม่ผ่านการใช้งาน เนื้อดีพุทธคุณครอบครบ แบ่งให้บูชา 280 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณจินดา จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2023

แชร์หน้านี้

Loading...