เรื่องเด่น “โลกร้อน” ทำน้ำท่วม-พายุร้าย วัดใจธุรกิจชูเป้า Net Zero

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 13 พฤศจิกายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    การเผชิญภัยธรรมชาติเช่น น้ำท่วม พายุ ในหลายจังหวัด ในหลายของไทยและหลายเมืองของโลก สร้างความเดือดร้อน ที่รุนแรงและเกิดบ่อยขึ้น นั่นเป็นสิ่งยืนยันให้ผู้คนตระหนักรู้ชัดว่า ธรรมชาติกำลัง”เอาคืน” จากพฤติกรรมมนุษย์และการทำธุรกิจอุตสาหกรรม ที่สร้าง”เหตุปัจจัย”ทำลายทรัพยากรและธรรมชาติ เป็นปัญหาสะสมมากว่า150 ปีมาแล้ว

    เพราะเหตุดังกล่าว ผลก็คือ “สภาวะโลกร้อน” (Global Worming) ที่ส่งผลให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate change) ที่ดิน น้ำ อากาศ ของโลกรวนไปหมด

    b8ade0b899-e0b897e0b8b3e0b899e0b989e0b8b3e0b897e0b988e0b8a7e0b8a1-e0b89ee0b8b2e0b8a2e0b8b8e0b8a3.jpg

    ผลการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์หลายสำนัก ประจักษ์ชัดว่า วิถีทางของมนุษย์ที่ขาดความสมดุลย์ในการให้คุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมได้สร้างผลกระทบสั่งสมจนเกินกว่าสภาพธรรมชาติของโลกใบนี้จะเป็นไปอย่างปกติสุขได้

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำธุรกิจการค้าและการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การคมนาคม ขนส่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิล. การเผาไหมในกระบวนการผลิต การตัดไม้ทำลายป่า ล้วนมีส่วนปล่อย ”ก๊าซเรือนกระจก” สู่บรรยากาศเสมือนเป็นห้องกระจกไปห่อหุ้มโลก ไม่ให้คลายความร้อนออกไป สภาวะอากาศรอบโลกจึงร้อนขึ้น เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกบางส่วนละลาย กลายเป็นน้ำปริมาณมหาสาร ก็ไปส่งผลให้เกิดน้ำท่วม เปลือกโลกเคลื่อน และดินฟ้าอากาศแปรปรวนรุนแรงตามมา

    ปรากฎการณ์เหล่านี้ได้ส่งสัญญานเตือนภัยภูมิอากาศมีภาวะฉุกเฉิน(Climate Emergency) จนผู้นำภาครัฐและเอกชนระดับโลก เริ่มตื่นตัว ตระหนักรู้ว่า ต้องร่วมมือสร้างกฎกติกา มีมาตรการและลงมือทำ เพื่อ ลด-ละ -เลิก ไม่สร้างปัจจัยซ้ำเติมปัญหาใส่ธรรมชาติ ก่อนที่โลกมนุษย์เราจะถึงวาระสุดท้าย

    องค์การสหประชาชาติมีการจัดประชุมภาคีรัฐตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nation Framwork Convention on Climate Change Conference of the Parties (UN FCCC COP) เรื่องสั้นๆว่าCOP ที่น่าจับตาคือ

    COP 1 เริ่มครั้งแรกปี1995 จัดที่ กรุงเบอร์ลิน เพื่อพิจารณาสถานการณ์และแนวทางการแก้ปัญหาการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ

    COP 21 จัดปี 2015 ที่ กรุงปารีส ภาคีสมาชิกเห็นพ้องต้องกันว่า จะกลับไปปรับนโยบายของแต่ละประเทศ เพื่อคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน1.5 องศาเซลเซียส หรือไม่เกิน2 องศาเซลเซียส ก่อนโลกจะร้อนไปถึงระดับ เป็นภัยพิบัติแก่พันธุ์พืชที่เป็นอาหาร และเขตร้อนเริ่มจะอยู่อาศัยไม่ได้

    ข้อตกลงปารีส ฉบับนี้ผู้นำทุกประเทศได้ได้ลงนามให้สัตยาบัน นับเป็นข้อตกลงต้านโลกร้อนยิ่งครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และทุกประเทศต้องมารายงานผลการดำเนินกาผลงานทุก5ปี

    COP 26 คือการประชุมในปีปัจจุบัน ช่วงวันที่ 31 ต.ค.- 12 พ.ย.ศกนี้ จัดที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ในเครือสหราชอาณาจักร จึงเป็นการประชุมครั้งสำคัญ เพราะความถี่และรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมและพายุที่เกิดในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ท้าทายมากขึ้น

    ade0b899-e0b897e0b8b3e0b899e0b989e0b8b3e0b897e0b988e0b8a7e0b8a1-e0b89ee0b8b2e0b8a2e0b8b8e0b8a3-1.jpg
    รัฐบาลไทยนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะร่วมประชุมด้วย นำรัฐบาลไทยได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้นำกว่า 120 ประเทศในการประชุมครั้งนี้ว่า

    “ประเทศไทยพร้อมจะยกระดับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มที่ และทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์( Net Zero) ภายในหรือก่อนหน้าปี 2065”

    สถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 12 ของโลก และมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพดินฟ้าอากาศที่นับวันแปรปรวนรุนแรง

    เมื่อกระแสโลกแต่งตัว เพราะคำนึงถึงภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากการอยู่ร่วมโลกใบเดียวกัน เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกัน มีแผน มีนโยบายและมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดกฎกติกาเก็บเงินให้มีเงื่อนไข “รักษ์โลก” อยู่ในกฎเกณฑ์ การค้า การเงินและการลงทุน ระหว่างประเทศ

    ตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรป เตรียมออกกฎหมายคล้าย ”ภาษีสิ่งแวดล้อม” ด้วยมาตรการค่าปรับคาร์บอน แฟนส่งสินค้าข้ามพรมแดน ( Cabon Border Adjustment Mechanism) หรือ CBAM ซึ่งผู้นำสินค้าเข้า EU ต้องซื้อใบรับรองCBAM เป็นมูลค่าตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG)

    เริ่มต้นช่วงแรกปี 2023 จะเป็นเพียงให้รายงานข้อมูลการปล่อยGHGเท่านั้น แต่จะใช้กติกาเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2025 ผู้นำเข้าสินค้าต้องซื้อใบCBAM ไปส่งมอบพร้อมสินค้า

    ทั้งนี้ผู้นำเข้าสินค้า 5 รายการจะโดนกติกาใหม่ที่ต้องแจ้งรายละเอียดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ได้แก่ ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม ไฟฟ้า และปูนซีเมนต์

    นี่เป็นตัวอย่างของกติกาการค้าของโลกยุคใหม่ ที่ใช้แนวคิดที่ปกป้องโลก ซึ่งจะมีผลเพิ่มต้นทุนการค้าระหว่างประเทศ ผู้ผลิตเพื่อส่งออกติดตั้งปรับปรุงระบบการผลิตให้ทันต่อประเด็นความเสี่ยงจ่ากการพิจารณากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

    ข้อคิด…
    ยุคนี้การบริหารประเทศ และบริหารกิจการธุรกิจ การใช้ทรัพยากรและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นคุณค่า ไม่ใช่ภาษาดอกไม้ที่พูดให้ดูดี หรือแค่ตระหนักรู้ แต่สังคมโลกต้องการรู้เป้าหมาย และแผนการดำเนินงาน ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อนอันเป็นเหตุให้ดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง

    ประเทศส่วนใหญ่รวมทั้งไทย ก็กำหนดเป้าหมาย 2 จังหวะ คือ ”ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrallity) ภายในปี 2050 ซึ่งนอกจาก เปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด ในกระบวนการผลิตที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วถ้าถ้ายังหาเป้าหมาย เราสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยตัวเลขที่ขาด(เป็น การให้เงินอุดหนุนแหล่งที่มีกิจกรรมหรือวิธีการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่นการปลูกป่า )

    ส่วนที่ดำเนินการในระยะต่อไปที่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์(Net Zero) ภายในปี 2065 ภาคเอกชนก็ต้องพัฒนากระบวนการผลิตดำเนินการต่อเนื่อง แต่น่าจะมีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการสนับสนุนพลังงานสะอาด แม่ส่งเสริมนวัตกรรมที่อื่นต่อการลดมลพิษ

    น่ายินดีที่มีข้อมูลว่าไทยเป็นประเทศกลุ่มแรกของโลก และเป็น 1 ใน 3 ของอาเซียน คือไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่ได้เสนอกรอบแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว ตั้งแต่ก่อนปี 2020 ดังนั้นถ้ามีการติดตามความคืบหน้าและปรับปรุงกลไกแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลจริงจัง ก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อคุณภาพชีวิตสังคมและการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยในสายตาโลกก็ดีด้วย

    ขอบคุณที่มา

    https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000112644
     

แชร์หน้านี้

Loading...