ไฟล์ที่สิบแปด สรุปอนุสติ10เพื่อพระอริยเจ้า-วรรณกสิน(27 - มค - 47)

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 21 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    [music]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2069[/music]
     
  2. น้ำมนต์

    น้ำมนต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,159
    ไฟล์ที่สิบแปด สรุปอนุสติ10พระอริยเจ้า-วรรณกสิน(27 - มค - 47)

    สำหรับตอนนี้ ในเรื่องของอนุสสติ คือการตามระลึกถึงความดีทั้ง ๑๐ ประการว่าเราก็ได้ศึกษามาครบถ้วนแล้ว คราวนี้ในเรื่องของอนุสสติ พื้นฐานใหญ่คืออานาปานสติการนึกถึงลมหายใจเข้า ออก มันก็จะมีอยู่ สอง สาม ขั้นตอนที่ถ้าหากว่าเราปฏิบัติแล้ว ไม่มีความเข้าใจ หรือว่าเกิดความกลัวขึ้นมา ก็จะก้าวพ้นไปไม่ได้ คือขั้นตอนที่เริ่มเป็น ปีติ ได้แก่ มีอาการน้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ขนลุก หรือว่า ลอยขึ้นทั้งตัว หรือรู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่ว ตัวแตก ตัวระเบิด อะไรพวกนั้น อาการต่างๆ นั้นที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ถ้าหากว่าเราไม่กลัว ปล่อยให้มันเป็นไปเต็มที่ตามกำลังของมัน ถ้ามันขึ้นเต็มที่มันจะผ่านไปเลย แล้วก็จะไม่เป็นอีก เพราะว่าครั้งต่อไป จิตของเราพอตั้งใจปุ๊บ มันจะทรงเป็นฌานไป มันจะก้าวข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไป บางคนพอเริ่มสั่น ก็เริ่มกลัว บางคนลอยขึ้น ก็กลัว กลัวว่าลอยไปไกลๆ เดี๋ยวกลับไม่ได้ บางคนรู้สึกว่าตัวมันพอง ตัวมันใหญ่ ตัวมันรั่ว ตัวมันแตกระเบิด กลัวจะตาย บางคนน้ำตาไหล อายคนอื่นเขา ตัวโยกไปโยกมา หรือว่าดิ้นเหมือนกับทรงเจ้าเข้าผี อายคนอื่นเขา ไปฝืนไ่ม่ให้อาการเหล่านั้นมันเกิิด ถ้าหากว่าเราฝืน อาการเหล่านั้นจะหายไป แต่ว่ามันจะก้าวข้ามจุดนั้นไม่ได้ เมื่อกำลังใจเริ่มทรงตัวถึงจุดนั้นเมื่อไร อาการเหล่านี้จะ้เกิดขึ้นอีกทันที ดังนั้นมีืทางเดียวก็คือว่าปล่อยให้มันเป็นไปเลยเต็มที่ของมัน ถ้ามันขึ้นเต็มที่เมื่อไรมันจะเลิกของมันเมื่อนั้น ให้สังเกตุว่่าในขณะนั้นกำลังของเราทรงตัวนิ่งมาก อาการภายนอกมันจะเกิดอะไรขึ้นไม่ว่า จะเป็นขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ลอยขึ้นทั้งตัว หรือว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่ว ตัวแตก ตัวระเบิด อะไรก็ตาม จิตมันจะนิ่ง สงบ ระงับ เป็นปกติ ถ้ารู้จักสังเกตุตรงนี้ก็ไม่ต้องกลัวอะำไรมัน
    สำหรับขั้นตอนต่อไปที่พวกเราจะไปติดอยู่อีกขั้นหนึ่ง ก็คือในระหว่างที่กำลังใจก้าวจากปฐมฌานละเอียด ขึ้นไปสู่ฌานที่ ๒ ตอนนั้นลมหายใจจะไม่มี คำภาวนาจะไม่มี ความจริงลมหายใจมันมีของมันปกติ เพียงแต่มันละเอียดมาก ถ้าเราไม่ได้เอาสติตามจดจ่อมันจริงๆ จะจับมันไม่ติด ตอนนั้นถ้าหากว่าเราไปตกใจว่า เอ๊ะ เราไม่ได้หายใจ เอ๊ะ คำภาวนามันไม่มีแล้ว แล้วไปรีบหายใจ ไปรีบภาวนา เท่ากับว่าเราถอยหลังกลับ มันจะไม่ก้าวหน้า อันนั้นให้กำหนดรู้ไว้เฉยๆ ว่าตอนนี้มันไม่หายใจแล้ว ตอนนี้มันไม่ภาวนาแล้ว จิตมันนิ่ง มันใสอย่างไรให้กำหนดใจรู้ไปเช่นนั้น มันจะก้าวขึ้นเป็นฌานที่ ๓ ซึ่งรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นหินไป บา่งคนก็จะมาตกใจขั้นนี้อีก อันนั้นเป็นเรื่องปกติ มันอยากจะเป็นอย่างไรให้มันเป็นไป ถ้าหากว่าเราทำใจอย่างนี้ได้ กำลัีงใจทรงตัวแล้ว จะเป็นสมาธิได้เลย จะก้าวขึ้นสู่ฌาน ๔ ได้ง่าย
    ส่วนในเรื่องของอนุสสติอื่นๆ คือพุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าก็ดี ธรรมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรมก็ดี สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ก็ดี ศีลานุสสติ ระลึกถึงคุณความดีของศีล จาคานุสสติ ระลึกถึงคุณความดีของการเสียสละ บริจาค ให้ทาน เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณความดีของเทวดา ของพรม ของพระบนนิพพาน กายคตานุสสติ ระลึงถึงความเป็นจริงของสภาพร่างกาย มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเพื่อจะไ้ด้ไม่ประมาท อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสงบ ระงับ คือพระนิพพาน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ อนุสติทั้งหลายเหล่านี้ ผูกพันอยู่กับอานาปานานุสติ คือลมหายใจเข้า ออก ถ้าไม่มีอนุสติต่างๆ อีก ๙ กอง จะทรงตัวได้ยาก หรือไม่ทรงตัวเอาเลย ดังนั้นไม่ว่าเราจะปฏิบัติในอนุสสติข้อไหนก็ตาม เราต้องมีอานาปานุสสติควบคุมอยู่เสมอ
    <O:pคราวนี้ในอนุสสติ ๑๐ นั้น เป็นเรื่องของคนที่เป็นพุทธิจริต คือมีความฉลาด พุทธิจริตนี้ จะสามารถปฏิบัติในมรณานุสติ กายคตานุสสติอุปสมานุสติได้ง่าย เพราะว่าฉลาด มีปัญญามาก ในเรื่องของ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ศีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ เป็นเรื่องของบุคคลผู้มีศรัทธาจริต มีจิตน้อมเชื่อง่ายเป็นปกติ ถ้าปฏิบัติในอนุสสติเหล่านี้ ก็จะมีกำลังจิตทรงตัวได้ง่าย สำหรับกายคตานุสสติเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นราคะจริตอีกส่วนหนึ่ง สำหรับผู้ทีเ็็ป็นโมหะจริต วิตกจริตเหล่านี้ ใช้อานาปานุสสติอย่างเดียว ใช้อนุสสติอื่นๆ ไม่ได้ ผู้ที่เป็นโทสะจริต เราจะใช้อนุสสติอื่นๆ บางทีกำลังใจมันเข้ากันไม่ได้ ดังนั้นจะเป็นโทสะจริต อย่างเดียวที่จะต้องแตกแขนงออกไปใช้กรรมฐานกองอื่นๆ ที่ไม่ใช่อนุสสติ ๑๐ ประการนี้ <O:p

    สำหรับ อนุสสติ ๑๐ อย่างการตามระลึกถึงความดีทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ในแต่ละวัน ใ้ห้เรามีอนุสสติข้อใดข้อหนึ่งทรงอยู่ในใจเสมอ ไม่ว่าจะระลึกถึงความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ระลึกถึงความดีของศีล ระลึกถึงความดีของการบริจาค ให้ทาน ระลึกถึงความดีของเทวดา พรม ระลึกถึงความตายมันจะได้ไม่ประมาท ระลึกถึงความเป็นจริงของร่างกาย ระลึกถึงความสงบ ระงับในพระนิพพาน หรือระลึกถึงลมหายใจเข้าออก แต่ละวัน แต่ละเวลา ให้อนุสสติั ๑๐ อย่างนี้ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่ในใจของเราก็ได้ หรือว่าจะเ้อาเฉพาะอนุสสติข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ อนุสสติทั้ง ๑๐ ประการนี้ เราไม่จำเป็นต้องใช้ถึง ๑๐ ก็ก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริเจ้าระดับต้นได้แล้ว อย่างเช่นกติกาความเป็นพระโสดาบัน คืิิอเราต้องเคารพพระพุทธเจ้าจริงๆ เคารพระธรรมจริงๆ เคารพพระสงฆ์จริงๆ ไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลัง อันนี้ก็คือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสตินั่นเอง จะต้องเป็นผู้มีศีล ทุกสิกขา่บทบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่ล่วงศีลด้วยตัวเอง ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นล่วงศีล และไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเขาล่วงศีล อันนี้ก็เป็นศีลานุสสติ ลำดับสุดท้ายก็คือว่าระลึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ถ้าเราตายเราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว อันนี้เป็นมรณานุสสติ และอุปสมานุสสติ จะเห็นได้ว่าเราใชอนุสสติ ๖ ประการ สำหรับความเป็นพระโสดาบัน เน้นหนักตรงศีลานุสสติ คือให้ตั้งใจว่าเรารักษาศีล เพราะเราเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรารักษาศีล เพราะเราต้องการจะไปพระนิพพาน

    สำหรับพระสกิทาคามีก็ยังเป็นอนุสสติทั้ง ๑๐ ประการ คือ ๖ ประการใหญ่นี้เช่นกัน แต่ว่าพระอนาคามีนั้น กำลังสมาธิท่านสูงกว่า ดังนั้นเรื่องของราคะ ความรักระหว่างเพศ โลภะ ความโลภอยากได้ใคร่มีในสิ่งต่างๆ โทสะอารมณ์ความโกรธ จะสงบระงับได้มากกว่า เพราะว่ามีปัญญามากขึ้น เห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นตัวขัด เป็นตัวขวาง เป็นตัวไม่นำไปสู่พระนิพพาน ก็พยายามลด พยายามละมัน ในเมื่อท่านมีอานาปาณสติ คือตัวฌานสมาบัติกำลังสูงกว่า ก็เลยสามารถทำให้ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เบาบางกว่าได้ แต่ก็ยังจัดอยู่ในอนุสสตินั่นเอง คือเป็นฌานในอานาปานุสสติ ถ้าเป็นพระสกิทาคามี ก็แปลว่ากำลังของฌานจะต้องสูงกว่าพระโสดาบัน แต่ในอนุสสติทั้ง ๖ คือการระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ดี การระลึกทบทวนระัมัดระวังในสิกขาบทต่างๆ ของศีลในสภาพของตนก็ดี การระลึกถึงความตายเพื่อความไม่ประมาท ตั้งใจว่าตายแล้วจะไปนิพพานก็ดี จะละเอียดกว่า ทรงตัวกว่าพระโสดาบัน<O:p></O:p>
    ส่วนพระอนาคามีนั้น ทุกท่านจะต้องมีฌาน ๔ ทรงตัวเป็นปกติ ต้องมีความคล่องตัวในฌาน ๔ มาก ไม่อย่างนั้นแล้วจะระงับ ราคะ โลภะ โทสะ ไม่ทัน เนื่่องเพราะพระอนาคามีนั้น ราคะ โลภะ โทสะดับลงโดยสิ้นเชิง เพราะว่าสติของท่านสมบูรณ์ รู้เท่าทัน เห็นว่าสาเหตุของสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากอะไร แล้วก็หยุดการทำเหตุนั้นได้ทัน เนื่องเพราะว่าต้องมีกำลังของสมาธิ ในอานาปานุสสติกรรมฐาน จึงจะเห็นได้ว่าพระอนาคามีก็ตาม ก็ยังคงสามารถใช้อนุสสติ เพื่อที่จะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าระดับนี้เช่นกัน <O:p


    ส่วนพระอรหันต์นั้นเป็นผู้สงบ ระงับในทุกรูปแบบ เป็นผู้ไม่เป็นทุกข์ โทษ เวร ภัยให้กับคนอื่นด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง ไม่มีทางที่กิเลส ส่วนอื่นๆ จะเกิดขึ้นในใจของท่านได้ เพราะว่าปัญญาของท่านแจ่มใส สติของท่านสมบูรณ์ ไม่ไปสร้างเหตุของการรัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมา รัก โลภ โกรธ หลง ก็กินใจของท่านไม่ได้ อันนี้ก็เกิดจากกำลังของอานาปานุสสติ ในระดับของฌาน ๔ เป็นอย่างน้อย ถ้าหากว่าได้สมาบัติอื่นๆ ขึ้นไปจนถึงสมาบัติ ๘ ยิ่งดี ก็หมายความว่าในอนุสสติทั้ง ๑๐ ถ้าหากว่าใช้อานาปานุสสติเป็นหลักใช้พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ศีลานุสสติ มรณานุสสติ และอุปสมานุสสติเป็นปกติ เราสามารถเป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่ขั้นต้น คือพระโสดาบัน ขั้นกลางคือพระสกิทาคามีและพระอนาคามี และขั้นสูงสุดคือพระอรหันต์ได้ เพียงแต่ว่าต้องใช้ให้เป็นต้องรักษาอารมณ์ ให้ทรงตัว ต้องมีปัญญาควบกับสติ สัมปชัญญะด้วย พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงสภาพของร่างกายของเรา สภาพร่างกายของผู้อื่น จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นคน เป็นสัตว์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีสภาพความเป็นจริง ในลักษณะของความไม่สวยไม่งาม ความสกปรกโสโครก ความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุดเช่นกัน ไม่มีอะไรทรงตัวให้ยึดถือมั่นหมายได้ ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ ก็มีแต่ความทุกข์เป็นปกติ ตราบใดที่ยังเกิดอีกก็ยังทุกข์อีก เพราะฉะนั้้นจึงสมควรที่จะปล่อยวางร่างกายนี้ ปล่อยวางโลกนี้ หรือว่ายังไปยึดไปถือมันอยู่ <O:p

    จะต้องคอยระมัดระวังกิเลสตามสังโยชน์ ที่จะเกาะกินใจของเรา โดยฉะเพาะอวิชชาสังโยชน์ ซึ่งเราระมัดระวังแค่ไหนก็พยายามจะสอดจะแทรกเข้ามาเสมอ เราเห็นสิ่งใด เกิดความชอบใจขึ้นมา ได้ยินสิ่งใดเกิดความชอบใจขึ้นมา ได้กลิ่นสิ่งใดเกิดความชอบใจขึ้นมา ได้รสสิ่งใดเกิดความชอบใจขึ้นมา สัมผัสสิ่งใดเกิดความชอบใจขึ้นมา อารมณ์ใจใดๆ เกิดขึ้นในใจเกิดความชอบใจขึ้นมา อันนี้จัดเป็นฉันทะ คือยินดีกับมัน มันก็จะสร้างราคะ คือความอยากมีอยาำกได้ขึ้นมาในใจ ดังนั้นเราจะต้องผูกใจของเราอยู่กับคำภาวนา ผูกใจของเราอยู่กับลมหายใจเข้า ออกให้เป็นปกติ เพื่อที่สติสัมปชัญญะจะได้ทรงตัว ไม่เผลอไปยินดียินร้ายกับสิ่งต่างๆ ที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา เราต้องระมัดระวังอยู่ทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินา่ที ทั้งหลับและตื่น จะต้องพยายามมีสติรู้รอบ หลับอยู่ก็ต้องรู้ ตื่นอยู่ยิ่งจำเป็นต้องรู้ ถ้าขาดสติลงช่วงใดช่วงหนึ่ง กำลังของกิเลสจะสามารถสอดแทรกเข้ามา ทำให้จิตใจของเราเริ่มว้าวุ่น ขุ่นมัว แล้วก็จะพลาดจากเป้าหมายออกไป ดังนั้นอนุสสติทั้ง ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่งในแต่ละวันเราจำเป็นจะต้องให้อยู่ในใจของเราตลอดเวลา เพื่อที่กำลังของกิเลสจะได้แทรกเข้ามาไมได้้<O:p

    สำหรับวันนี้ก็จะกล่าวถึงเรื่องของกสิณต่อไป การศึกษากรรมฐานนั้นถ้าหากว่าเราศึกษาขั้นต้น คือให้รู้อยู่ว่ากรรมฐานแต่ละกอง มีการปฏิบัติอย่างไร มีุคุณประโยชน์อย่างไร แล้วเราชอบใจกองใดกองหนึ่ง ก็นำกองนั้นไปปฏิบัติให้ได้ผลอย่างแท้จริง สำหรับกสิณทั้ง ๑๐ นั้นเป็นกรรมฐานหยาบ เพราะว่ามีนิมิต ให้จับได้ต้องได้ กสิณนั้นจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน <O:p
    ส่วนแรก เรียกว่า วรรณกสิณ คือกสิณเกี่ยวกับสีสรรต่างๆ ประกอบไปด้วย กสิณสีแดง กสิณสีเหลือง กสิณสีเีขียว กสิณสีขาว
    <O:p อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวกับธาตุกสิณ คือธาตุ ๔ เกี่ยวกับ กสินดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ
    อีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นเรื่องของ กสิณแสงสว่าง และกสิณอากาศ <O:p
    สำหรับวันนี้จะกล่าวถึงวรรณกสิณทั้ง ๔ ก่อน เพราะว่าเหมาะสำหรับท่านที่เป็นโทสะจริต ซึ่งเมื่อครู่กล่าวแล้วว่าจะต้องมีข้อปฏิบัติที่ต่างจากอนุสสติทั้ง ๑๐ ประการ วรรณกสิณทั้ง ๔ คือ<O:p
    กสิณสีแดงภาษาบาลีเรียกว่า โลหิตกสิณ<O:p
    กสิณสีเหลือง เรียกว่า ปีตกกสิณ
    <O:pกสิณสีเขียว นีลกสิณ<O:p
    กสิณสีขาว โอทาตกสิณ<O:p
    กสิณทั้ง ๔ กองนี้เหมาะสำหรับท่านที่เป็นโทสะจริต ผู้ใดเจริญกสิณทั้ง ๔ กองนี้ กำลังโทสะจะเบาบางลง ถ้าทำจนได้เต็มที่สามารถตัดอารมณ์ของโทสะนี้ได้ แล้วกสิณทั้ง ๔ กองนี้ยังมีอานุภาพพิเศษต่างๆ กันไป<O:p
    อย่างโอทาตกสิณ กสิณสีขาว เป็นหนึ่งในกสิณทั้ง ๓ กอง ที่จะสร้างทิพจักขุญาณให้เกิดขึ้นแก่เราได้<O:p
    นีลกสิณ กสิณสีเขียว ทำให้สถานที่ที่สว่างอยู่ มืดมิดไปได้ สามารถกำบังตนของเราไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นได้<O:p
    ปีตกสิณ กสิณสีเหลือง สามารถเปลี่ยนสีอื่นๆ ให้กลายเป็นสีเหลืองได้ ให้กลายเป็นสีทองได้ สามารถที่จะทำใ้ห้วัุตถุต่างๆ กลายเป็นทองคำได้<O:p
    กสิณสีแดง สามารถเปลี่ยนวัตถุต่างๆ ให้กลายเป็นสีแดงทั้งหมดได้
    <O:pเหล่านี้เป็นอานุภาพพิเศษ สำหรับการฝึกกสิณนั้น จำเป็นจะต้องมีดวงกสิณ คือสิ่งเราอาศัยเพ่งก่อน สมัยโบราณนั้นกสิณสีแดง ท่านให้ดูดอกไม้สีแดง หรือว่าผ้าสีแดงเป็นหลัก กสิณสีเขียว ท่านให้ดูใบไม้เป็นหลัก กสิณสีเหลืองท่านให้กำหนดดูดวงอาทิตย์ การกำหนดดูดวงอาทิตย์นั้น อย่าดูดวงอาทิตย์ตอนที่ส่องแสงสว่างมาก เพราะว่าจะทำให้สายตาเสีย กสิณสีขาว ท่านให้ดูผ้าขาว หรือว่าดูดวงจันทร์เป็นหลัก สำหรับเราในสมัยนี้ วัตถุต่างๆ หาง่าย การสร้างดวงกสิณทำได้ง่าย สมัยก่อน ตัวผมเอง ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ มาพ่นสีลงไป พ่นเป็นสีแดง พ่นเป็นสีเหลือง พ่นเป็นสีเีขียว พ่นเป็นสีขาว แล้วใช้จานครอบลง ตัดออกมาเป็นวงกลม ติดใส่ข้างฝาไว้ แล้วก็จับเป็นนิมิตภาวนาิ ไม่จำเป็นว่าจะต้องไปใช้ สองคืบ สี่นิ้วอะไร เอาแค่ขนาดที่เรารู้สึกว่าพอเหมาะพอดี สามารถจับภาพนั้นได้สะดวก
    <O:pเมื่อเราใช้ สีใดสีหนึ่งขึ้นมาก่อน ถึงเวลาแล้วกำหนดใจ ตั้งใจสบายๆ ลืมตามองภาพนั้นแล้วหลับตาลงนึกถึงจะเห็นภาพนั้นได้ชั่วคราว พอภาพมันเลือนหายไป ให้ลืมตามองใหม่ หลับตาลงนึกถึงอีกพร้อมกับคำภาวนา อย่างเช่นว่า
    ถ้าสีแดงก็ใช้คำภาวนาว่า โลหิตกสิณังๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก
    สีเหลือง ใช้ว่า ปีตกกสิณังๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก<O:p
    สีเขียวว่า นีลกสิณัง ๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก
    <O:pสีขาวว่า โอทาตกสิณัง ๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก
    <O:pหรือจะคิดเป็นภาษาไทยอยู่ในใจว่า สีแดงๆ สีเหลืองๆ สีเขียวๆ สีขาวๆ ก็ได้พร้อมกับจับลมหายใจเข้า ออก ให้เป็นปกติ ลืมตามองภาพ หลับตานึกถึง ภาพหายไปลืมตามองใหม่ หลับตานึกถึงพร้อมคำภาวนาดังนี้ไปเรื่อยๆ เป็นหมื่่นเป็นแสนครั้ง ภาพก็จะเริ่มค่อยๆ ปรากฏติดตาขึ้นมา เรียกว่าอุกคหนิมิต ลืมตาอยู่ก็เห็น หลับตาลงก็เห็น เมื่อถึงขั้นตอนนี้ ท่านทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องเพิ่มสติให้มากกว่าเดิม เพราะว่าถ้าเผลอเมื่อไรภาพจะหายไป จำเป็นต้องเอาใจจดจ่ออยู่กับภาพนั้น จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง จะทำงานทำการใดๆ ก็ตาม ต้องแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งจับภาพของกสิณไว้เสมอ ถ้าเราทำดังนี้ได้เป็นปกติ ภาพกสิณนั้น สีสรรก็จะค่อยๆ จางลงๆ ไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นสีแดง สีเขียวจะจางลงอย่างเห็นได้ชัด จะค่อยๆ เป็นสีเหลือง เป็นสีเหลืองอ่อน เป็นสีขาว เป็นสีขาวทึบขึ้น แต่ถ้าหากว่าเป็นปีตกกสิณ เป็นสีเหลืองอยู่แล้ว ก็จะเป็นสีเหลืองอ่อน เป็นสีขาว ถ้าโอทาตกสิณเป็นสีขาวอยู่แล้ว ก็จะค่อยๆ เป็นสีขาว เป็นแผ่นทึบขึ้น เราจับไปเรื่อยๆ ตามปกติของเรา พร้อมกับคำภาวนา จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง จะเดิน จะนอน ให้ความรู้สึกอยู่กับภาพกสิณอย่างนี้ไปเรื่อย ภาพนั้นก็จะค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น คือจากที่เป็นขาวทึบก็จะค่อยๆ จางลงๆ จนกลายเป็นใส ใสขึ้น ใสขึ้น สว่างขึ้นๆ จนกระทั่งในที่สุดก็ใสกระจ่างเจิดจ้าไปหมด อันนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต เมื่อเป็นปฏิภาคนิมิต ความสว่างนั้น สว่างเหมือนกับเอากระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ใส่ดดวงตาของเรา เราก็เริ่มอธิษฐาน ขอให้ภาพนี้เล็กลง ให้ภาพนี้ใหญ่ขึ้น ให้ภาพนี้หายไป ให้ภาพนี้ปรากฏขึ้นให้อยู่บนศีรษะ ให้อยู่ในอก ให้อยู่ข้างซ้าย ให้อยู่ข้างขวา ให้อยู่ข้างหน้า ให้อยู่ข้างหลัง ให้มา ให้หาย ทำอย่างนี้ให้คล่องตัว นึกเมื่อไร ให้ทำได้เมื่อนั้น ถ้าเป็นดังนี้ แปลว่ากำลังของกสิณนี้ เราทำได้ทรงตัวแล้ว เมื่อทำได้ทรงตัวก็ลองอธิษฐานใช้ผลดู คืิอว่า

    ถ้าเป็น โอทาตกสิณ ก็ให้อธิษฐานว่าขอให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพนรก จงปรากฏขึ้นมา ให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพสวรรค์จงปรากฏขึ้นมา ให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพของพรมจงปรากฏขึ้นมา ให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพของพระนิพพานจงปรากฏขึ้นมา ภาพของนรกก็ดี สวรรค์ก็ดี พรมก็ดี นิพพานก็ดี หรือสถานที่ใดๆ ก็ตาม จะปรากฏขึ้นมาแทนดวงกสิณ ก็ให้พยายามทำให้คล่อง ดูให้ชัดเจน รักษาอารมณ์ใจให้แจ่มใส
    <O:p ถ้าหากว่าเป็นนีลกสิณก็ให้กำหนดว่า ให้ความมืดจงปรากฏขึ้น แต่ว่าให้จำกัดเขตเอาไว้ ถ้าเราปฏิบัติอยู่ในห้องก็อธิษฐานแค่ให้ในห้องนี้มืดลง หรืออธิษฐานให้กายของเราหายไปด้วยอำนาจของกสิณ
    <O:pหรือว่าถ้าเป็นปีตกกสิณ สีเหลืองก็ลองเปลี่ยนวัตถุอื่นๆ ให้เป็นทองดู
    <O:p หรือว่่าเป็นสีแดงก็ลองทดลองเปลี่ยนวัตถุอื่นๆ ให้เ็ป็นสีแดงดู
    <O:pถ้าสามารถทำได้คล่องตัว กสิณเหล่านี้ก็เท่ากับว่าเป็นของเราแล้ว คราวนี้ ถ้าทำแค่นี้จิตก็จะได้แค่ฌาน ๔ จะเป็นโลกียอภิญญาเท่านั้น ก็ให้รู้จักพิจารณาด้วยว่า จริงๆ แล้วภาพกสิณนี้มันก็ไม่เที่ยง แรกๆ มันเป็นภาพอยู่ข้างนอก พอหลับตานึกถึงภาพก็ปรากฏขึ้นข้างใน จากสีเข้ม ก็เป็นสีจางลง จากสีจางลง ก็เป็นสีใส จากสีใสก็กลายเป็นแก้วทั้งดวง มันไม่เที่ยงเป็นปกติอย่างนี้ ตอนที่เราจับมันไม่ได้ เกาะมันไม่ติด เราก็กลุ้ม ก็ทุกข์ใจเป็นปกติ และในที่สุดจริงๆ แล้วมันก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นดวงกสิณที่เราสร้างขึ้นก็ดี กสิณภายในก็ดี กระทั่งตัวเราก็ดี<O:p
    เสื่อมสลายตายพังไปทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราให้ยึดถือมั่หมายได้ <O:p
    ถ้าเกิดอีกเมื่อไรก็ต้องพบกับความไม่เที่ยงเช่นนี้ เกิดอีกเมื่อไรก็ต้องพบกับความทุกข์เช่นนี้ ดังนั้นถ้าเราเกิดอีก ทุกข์อีกดังนี้เราจะโง่มาเกิดทำไม เราก็ควรจะไปนิพพานดีกว่า ก็เอากำลังของกสิณนี้เกาะพระนิพพานแทน เราจะสามารถเห็นพระนิพพานได้ชัดเจนแจ่มใส สามารถเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชัดเจนแจ่มใส วางอารมณ์ใจว่าตายเมื่อไรเราขออยู่ที่นี่แห่งเดียว แล้วจับใน อุปสมานุสสติหรือพุทธานุสสตินั้นเป็นกสิณแทน ถ้าทำดังนี้ได้กำลังของสมาธิที่ทรงตัว กิเลสจะค่อยๆ ลดน้อยลง และในที่สุดก็สลายตัวไป เราก็จะเข้าสู่พระนิพพานได้ตามที่เราต้องการ สำหรับวรรณกสิณทั้ง ๔ นี้ ถ้าหากว่ากำลังใจทรงตัวถึงปฏิภาคนิมิตเมื่อไร มันจะตัดตัวโทสะได้โดยอัตโนมัติ ของมันเอง สำหรับวันนี้เวลาก็ไม่พอแล้ว การศึกษาเรื่องของกสิณ ให้เราไปปฏิบัติเอาตามใจชอบของตน ตอนนี้ก็ให้รักษากำลังใจส่วนหนึ่ง เกาะภาพพระให้เป็นปกติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2005
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    สำหรับตอนนี้ ในเรื่องของ "อนุสสติ" คือการตามระลึกถึงความดีทั้ง ๑๐ ประการว่าเราก็ได้ศึกษามาครบถ้วนแล้ว

    คราวนี้ในเรื่องของ
    อนุสสติ พื้นฐานใหญ่คือ อานาปานสติการนึกถึงลมหายใจเข้า ออก มันก็จะมีอยู่ สอง สาม ขั้นตอนที่ถ้าหากว่าเราปฏิบัติแล้ว ไม่มีความเข้าใจ หรือว่าเกิดความกลัวขึ้นมา ก็จะก้าวพ้นไปไม่ได้คือ

    ขั้นตอนที่เริ่มเป็น ปีติ ได้แก่ มีอาการน้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ขนลุก หรือว่า ลอยขึ้นทั้งตัว หรือรู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่ว ตัวแตก ตัวระเบิด อะไรพวกนั้น อาการต่างๆ นั้นที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ถ้าหากว่าเราไม่กลัว ปล่อยให้มันเป็นไปเต็มที่ตามกำลังของมัน ถ้ามันขึ้นเต็มที่มันจะผ่านไปเลย แล้วก็จะไม่เป็นอีก เพราะว่าครั้งต่อไป จิตของเราพอตั้งใจปุ๊บ มันจะทรงเป็นฌานไป มันจะก้าวข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไป บางคนพอเริ่มสั่น ก็เริ่มกลัว บางคนลอยขึ้น ก็กลัว กลัวว่าลอยไปไกลๆ เดี๋ยวกลับไม่ได้ บางคนรู้สึกว่าตัวมันพอง ตัวมันใหญ่ ตัวมันรั่ว ตัวมันแตกระเบิด กลัวจะตาย บางคนน้ำตาไหล อายคนอื่นเขา ตัวโยกไปโยกมา หรือว่าดิ้นเหมือนกับทรงเจ้าเข้าผี อายคนอื่นเขา ไปฝืนไม่ให้อาการเหล่านั้นมันเกิด ถ้าหากว่าเราฝืน อาการเหล่านั้นจะหายไป แต่ว่ามันจะก้าวข้ามจุดนั้นไม่ได้ เมื่อกำลังใจเริ่มทรงตัวถึงจุดนั้นเมื่อไร อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอีกทันที

    ดังนั้นมีทางเดียวก็คือว่าปล่อยให้มันเป็นไปเลยเต็มที่ของมัน ถ้ามันขึ้นเต็มที่เมื่อไรมันจะเลิกของมันเมื่อนั้น ให้สังเกตุว่าในขณะนั้นกำลังของเราทรงตัวนิ่งมาก อาการภายนอกมันจะเกิดอะไรขึ้นไม่ว่า จะเป็นขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง ลอยขึ้นทั้งตัว หรือว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่ว ตัวแตก ตัวระเบิด อะไรก็ตาม จิตมันจะนิ่ง สงบ ระงับ เป็นปกติ ถ้ารู้จักสังเกตุตรงนี้ก็ไม่ต้องกลัวอะไรมัน


    สำหรับขั้นตอนต่อไปที่พวกเราจะไปติดอยู่อีกขั้นหนึ่ง ก็คือในระหว่างที่กำลังใจก้าวจากปฐมฌานละเอียด ขึ้นไปสู่ ฌานที่ ๒ ตอนนั้นลมหายใจจะไม่มี คำภาวนาจะไม่มี ความจริงลมหายใจมันมีของมันปกติ เพียงแต่มันละเอียดมาก ถ้าเราไม่ได้เอาสติตามจดจ่อมันจริงๆ จะจับมันไม่ติด ตอนนั้นถ้าหากว่าเราไปตกใจว่า เอ๊ะ เราไม่ได้หายใจ เอ๊ะ คำภาวนามันไม่มีแล้ว แล้วไปรีบหายใจ ไปรีบภาวนา เท่ากับว่าเราถอยหลังกลับ มันจะไม่ก้าวหน้า อันนั้นให้กำหนดรู้ไว้เฉยๆ ว่าตอนนี้มันไม่หายใจแล้ว ตอนนี้มันไม่ภาวนาแล้ว

    จิตมันนิ่ง มันใสอย่างไรให้กำหนดใจรู้ไปเช่นนั้น มันจะก้าวขึ้นเป็น ฌานที่ ๓ ซึ่งรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นหินไป บางคนก็จะมาตกใจขั้นนี้อีก อันนั้นเป็นเรื่องปกติ มันอยากจะเป็นอย่างไรให้มันเป็นไป ถ้าหากว่าเราทำใจอย่างนี้ได้ กำลังใจทรงตัวแล้ว จะเป็นสมาธิได้เลย จะก้าวขึ้นสู่ ฌาน ๔ ได้ง่าย


    ~ส่วนในเรื่องของ
    อนุสสติ อื่นๆ คือ~
    *พุทธานุสสติ
    ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าก็ดี
    *ธรรมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรมก็ดี
    *สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ก็ดี
    *ศีลานุสสติ ระลึกถึงคุณความดีของศีล
    *จาคานุสสติ ระลึกถึงคุณความดีของการเสียสละ บริจาค ให้ทาน
    *เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณความดีของเทวดา ของพรม ของพระบนนิพพาน
    *กายคตานุสสติ
    *มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเพื่อจะได้ไม่ประมาท ระลึงถึงความเป็นจริงของสภาพร่างกาย

    *อุปสมานุสสติระลึกถึงความสงบ ระงับ คือพระนิพพาน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้

    อนุสติทั้งหลายเหล่านี้ ผูกพันอยู่กับ
    อานาปานานุสติ คือลมหายใจเข้า ออก ถ้าไม่มีอนุสติต่างๆ อีก ๙ กอง จะทรงตัวได้ยาก หรือไม่ทรงตัวเอาเลย

    ดังนั้นไม่ว่าเราจะปฏิบัติใน
    อนุสสติข้อไหนก็ตาม เราต้องมอานาปานุสสติควบคุมอยู่เสมอ
    <O =""></O>คราวนี้ในอนุสสติ ๑๐ นั้น เป็นเรื่องของคนที่เป็น
    พุทธิจริต
    คือมีความฉลาด พุทธิจริตนี้ จะสามารถปฏิบัติในมรณานุสติ
    กายคตานุสสติ
    อุปสมานุสติได้ง่าย เพราะว่าฉลาด มีปัญญามาก ในเรื่องของ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสตสังฆานุสสติ ศีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ เป็นเรื่องของบุคคลผู้มีศรัทธาจริต มีจิตน้อมเชื่อง่ายเป็นปกติ ถ้าปฏิบัติในอนุสสตืิืัีีืิหล่านี้ ก็จะมีกำลังจิตทรงตัวได้ง่าย

    สำหรับ
    กายคตานุสสติหมาะสำหรับผู้ที่เป็นราคะจริตอีกส่วนหนึ่ง
    สำหรับผู้ที่เป็นโมหะจริต วิตกจริตเหล่านี้ใช้
    อานาปานุสสติอย่างเดียว ใช้อนุสสติอื่นๆ ไม่ได้
    ผู้ที่เป็นโทสะจริต เราจะใช้
    อนุสสติอื่นๆ บางทีกำลังใจมันเข้ากันไม่ได้ ดังนั้นจะเป็นโทสะจริต อย่างเดียวที่จะต้องแตกแขนงออกไปใช้กรรมฐานกองอื่นๆ ที่ไม่ใช่อนุสสติ ๑๐ ประการนี้ <O =""></O>

    สำหรับ อนุสสติ๐ อย่างการตามระลึกถึงความดีทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ในแต่ละวันให้เรามีอนุสสติข้อใดข้อหนึ่งทรงอยู่ในใจเสมอ ไม่ว่าจะ
    -ระลึกถึงความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    -ระลึกถึงความดีของศีล
    -ระลึกถึงความดีของการบริจาค ให้ทาน
    -ระลึกถึงความดีของเทวดา พรม
    -ระลึกถึงความตายมันจะได้ไม่ประมาท
    -ระลึกถึงความเป็นจริงของร่างกาย
    -ระลึกถึงความสงบ ระงับในพระนิพพาน หรือ
    -ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก แต่ละวัน แต่ละเวลา
    ให้อนุสสติ ๑๐ อย่างนี้ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่ในใจของเราก็ได้ หรือว่าจะเอาเฉพาะอนุสสติข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ อนุสสติทั้ง ๑๐ ประการนี้ เราไม่จำเป็นต้องใช้ถึง ๑๐ ก็ก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริเจ้าระดับต้นได้แล้ว อย่างเช่นกติกา

    ความเป็นพระโสดาบัน คือเราต้องเคารพพระพุทธเจ้าจริงๆ เคารพระธรรมจริงๆ เคารพพระสงฆ์จริงๆ ไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลัง อันนี้ก็คือ
    พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสตินั่นเอง จะต้องเป็นผู้มีศีล ทุกสิกขาบทบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่ล่วงศีลด้วยตัวเอง ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นล่วงศีล และไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเขาล่วงศีล อันนี้ก็เป็นศีลานุสสติ ลำดับสุดท้ายก็คือว่าระลึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ถ้าเราตายเราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว อันนี้เป็นมรณานุสสติ และอุปสมานุสสติจะเห็นได้ว่าเราใช้อนุสสติ ๖ ประการ สำหรับความเป็นพระโสดาบัน เน้นหนักตรงศีลานุสสต คือให้ตั้งใจว่าเรารักษาศีล เพราะเราเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรารักษาศีล เพราะเราต้องการจะไปพระนิพพาน

    สำหรับพระสกิทาคามี ก็ยังเป็นอนุสสติทั้ง ๑๐ ประการ คือ ๖ ประการใหญ่นี้เช่นกัน แต่ว่าพระอนาคามีนั้น กำลังสมาธิท่านสูงกว่า ดังนั้นเรื่องของ
    ราคะ ความรักระหว่างเพศ
    โลภะ ความโลภอยากได้ใคร่มีในสิ่งต่างๆ
    โทสะ อารมณ์ความโกรธ จะสงบระงับได้มากกว่า เพราะว่ามปัญญามากขึ้น เห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นตัวขัด เป็นตัวขวาง เป็นตัวไม่นำไปสู่พระนิพพาน ก็พยายามลด พยายามละมัน

    ในเมื่อท่านมี
    อานาปาณสติ คือตัวฌานสมาบัติกำลังสูงกว่า ก็เลยสามารถทำให้ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เบาบางกว่าได้ แต่ก็ยังจัดอยู่ในอนุสสตินั่นเอง คือเป็นฌานในอานาปานุสสติ ถ้าเป็น พระสกิทาคามีก็แปลว่ากำลังของฌานจะต้องสูงกว่าพระโสดาบัน
    แต่ในอนุสสติทั้ง ๖ คือการระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ดี การระลึกทบทวนระมัดระวังในสิกขาบทต่างๆ ของศีลในสภาพของตนก็ดี การระลึกถึงความตายเพื่อความไม่ประมาท ตั้งใจว่าตายแล้วจะไปนิพพานก็ดี จะละเอียดกว่า ทรงตัวกว่าพระโสดาบัน
    <O =""></O>
    ส่วนพระอนาคามีนั้น ทุกท่านจะต้องมีฌาน ๔ ทรงตัวเป็นปกติเนื่องเพราะพระอนาคามีนั้น ราคะ โลภะ โทสะดับลงโดยสิ้นเชิงเพราะว่าสติของท่านสมบูรณ์ รู้เท่าทัน เห็นว่าสาเหตุของสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากอะไร ต้องมีความคล่องตัวในฌาน ๔ มากไม่อย่างนั้นแล้วจะระงับ ราคะ โลภะ โทสะ ไม่ทัน แล้วก็หยุดการทำเหตุนั้นได้ทัน เนื่องเพราะว่าต้องมีกำลังของสมาธิ ในอานาปานุสสติกรรมฐาน จึงจะเห็นได้ว่าพระอนาคามีก็ตาม ก็ยังคงสามารถใช้อนุสสติ เพื่อที่จะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าระดับนี้เช่นกัน <O =""></O>

    ส่วนพระอรหันต์นั้นเป็นผู้สงบ ระงับในทุกรูปแบบ เป็นผู้ไม่เป็นทุกข์ โทษ เวร ภัยให้กับคนอื่นด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง ไม่มีทางที่กิเลส ส่วนอื่นๆ จะเกิดขึ้นในใจของท่านได้ เพราะว่าปัญญาของท่านแจ่มใส สติของท่านสมบูรณ์ ไม่ไปสร้างเหตุของการรัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมา รัก โลภ โกรธ หลง ก็กินใจของท่านไม่ได้ อันนี้ก็เกิดจากกำลังของอานาปานุสสติ ในระดับของฌาน ๔ เป็นอย่างน้อย ถ้าหากว่าได้สมาบัติอื่นๆ ขึ้นไปจนถึงสมาบัติ ๘ ยิ่งดี ก็หมายความว่าในอนุสสติทั้ง ๑๐

    ถ้าหากว่าใช้
    อานาปานุสสติเป็นหลักใช้พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ศีลานุสสติ มรณานุสสิติ และอุปสมานุสสติเป็นปกติ
    เราสามารถเป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่ขั้นต้น
    คือพระโสดาบัน
    ขั้นกลางคือ พระสกิทาคามี และ พระอนาคามี
    และขั้นสูงสุดคือพระอรหันต์ ได้ เพียงแต่ว่าต้องใช้ให้เป็นต้องรักษาอารมณ์ ให้ทรงตัว ต้องมีปัญญาควบกับสติ สัมปชัญญะด้วย พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงสภาพของร่างกายของเรสภาพร่างกายของผู้อื่น จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นคน เป็นสัตว์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีสภาพความเป็นจริง ในลักษณะของความไม่สวยไม่งาม ความสกปรกโสโครก ความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุดเช่นกัน ไม่มีอะไรทรงตัวให้ยึดถือมั่นหมายได้ ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ ก็มีแต่ความทุกข์เป็นปกติ ตราบใดที่ยังเกิดอีกก็ยังทุกข์อีก เพราะฉะนั้นจึงสมควรที่จะปล่อยวางร่างกายนี้ ปล่อยวางโลกนี้ หรือว่ายังไปยึดไปถือมันอยู่
    <O =""></O>

    จะต้องคอยระมัดระวังกิเลสตามสังโยชน์ ที่จะเกาะกินใจของเรา โดยฉะเพาะอวิชชาสังโยชน์ ซึ่งเราระมัดระวังแค่ไหนก็พยายามจะสอดจะแทรกเข้ามาเสมอ
    เราเห็นสิ่งใด เกิดความชอบใจขึ้นมา ได้ยินสิ่งใดเกิดความชอบใจขึ้นมา ได้กลิ่นสิ่งใดเกิดความชอบใจขึ้นมา ได้รสสิ่งใดเกิดความชอบใจขึ้นมา สัมผัสสิ่งใดเกิดความชอบใจขึ้นมา อารมณ์ใจใดๆ เกิดขึ้นในใจเกิดความชอบใจขึ้นมา อันนี้จัดเป็น
    ฉันทะ คือยินดีกับมัน
    มันก็จะสร้าง
    ราคะ คือความอยากมีอยากได้ขึ้นมาในใจ ดังนั้นเราจะต้องผูกใจของเราอยู่กับคำภาวนา ผูกใจของเราอยู่กับลมหายใจเข้า ออกให้เป็นปกติ เพื่ิอที่สติสัมปชัญญะจะได้ทรงตัว ไม่เผลอไปยินดียินร้ายกับสิ่งต่างๆ ที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา เราต้องระมัดระวังอยู่ทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาที ทั้งหลับและตื่น จะต้องพยายามมีสติรู้รอบ หลับอยู่ก็ต้องรู้ ตื่นอยู่ยิ่งจำเป็นต้องรู้ ถ้าขาดสติลงช่วงใดช่วงหนึ่ง กำลังของกิเลสจะสามารถสอดแทรกเข้ามา ทำให้จิตใจของเราเริ่มว้าวุ่น ขุ่นมัว แล้วก็จะพลาดจากเป้าหมายออกไป ดังนั้นอนุสสติทั้ง ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่งในแต่ละวันเราจำเป็นจะต้องให้อยู่ในใจของเราตลอดเวลา เพื่อที่กำลังของกิเลสจะได้แทรกเข้ามาไมได้<O =""></O>

    สำหรับวันนี้ก็จะกล่าวถึงเรื่องของกสิณต่อไป การศึกษากรรมฐานนั้นถ้าหากว่าเราศึกษาขั้นต้น คือให้รู้อยู่ว่ากรรมฐานแต่ละกอง มีการปฏิบัติอย่างไร มีคุณประโยชน์อย่างไร แล้วเราชอบใจกองใดกองหนึ่ง ก็นำกองนั้นไปปฏิบัติให้ได้ผลอย่างแท้จริง สำหรับกสิณทั้ง ๑๐ นั้นเป็นกรรมฐานหยาบ เพราะว่ามีนิมิต ให้จับได้ต้องได้

    กสิณนั้นจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
    <O =""></O>
    ส่วนแรก เรียกว่าวรรณกสิณ คือกสิณเกี่ยวกับสีสรรต่างๆ ประกอบไปด้วย กสิณสีแดง กสิณสีเหลือง กสิณสีเขียว กสิณสีขาว
    <O =""></O>อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวกับธาตุกสิณ คือธาตุ ๔ เกี่ยวกับ กสินดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ
    อีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นเรื่องของ กสิณแสงสว่าง และกสิณอากาศ <O =""></O>

    สำหรับวันนี้จะกล่าวถึงวรรณกสิณทั้ง ๔ ก่อน เพราะว่าเหมาะสำหรับท่านที่เป็นโทสะจริต ซึ่งเมื่อครู่กล่าวแล้วว่าจะต้องมีข้อปฏิบัติที่ต่างจากอนุสสติทั้ง ๑๐ ประการ

    วรรณกสิณทั้ง ๔ คือ
    <O =""></O>
    -กสิณสีแดงภาษาบาลีเรียกว่า โลหิตกสิณ<O =""></O>
    -กสิณสีเหลือง เรียกว่า ปีตกกสิณ
    <O =""></O>
    -กสิณสีเขียว นีลกสิณ<O =""></O>
    -กสิณสีขาว โอทาตกสิณ<O =""></O>
    กสิณทั้ง ๔ กองนี้เหมาะสำหรับท่านที่เป็นโทสะจริต ผู้ใดเจริญกสิณทั้ง ๔ กองนี้ กำลังโทสะจะเบาบางลง ถ้าทำจนได้เต็มที่สามารถตัดอารมณ์ของโทสะนี้ได้ แล้วกสิณทั้ง ๔ กองนี้ยังมีอานุภาพพิเศษต่างๆ กันไป<O =""></O>

    อย่าง
    โอทาตกสิณ กสิณสีขาว เป็นหนึ่งในกสิณทั้ง ๓ กอง ที่จะสร้างทิพจักขุญาณให้เกิดขึ้นแก่เราได้<O =""></O>
    นีลกสิณ กสิณสีเขียว ทำให้สถานที่ที่สว่างอยู่ มืดมิดไปได้ สามารถกำบังตนของเราไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นได้<O =""></O>
    ปีตกสิณ กสิณสีเหลือง สามารถเปลี่ยนสีอื่นๆ ให้กลายเป็นสีเหลืองได้ ให้กลายเป็นสีทองได้ สามารถที่จะทำให้วัตถุต่างๆ กลายเป็นทองคำได้<O =""></O>
    กสิณสีแดง สามารถเปลี่ยนวัตถุต่างๆ ให้กลายเป็นสีแดงทั้งหมดได้
    <O =""></O>เหล่านี้เป็นอานุภาพพิเศษ สำหรับการฝึกกสิณนั้น จำเป็นจะต้องมีดวงกสิณ คือสิ่งเราอาศัยเพ่งก่อน

    สมัยโบราณนั้นกสิณสีแดง ท่านให้ดูดอกไม้สีแดง หรือว่าผ้าสีแดงเป็นหลัก
    กสิณสีเขียว ท่านให้ดูใบไม้เป็นหลัก
    กสิณสีเหลืองท่านให้กำหนดดูดวงอาทิตย์ การกำหนดดูดวงอาทิตย์นั้น อย่าดูดวงอาทิตย์ตอนที่ส่องแสงสว่างมาก เพราะว่าจะทำให้สายตาเสีย
    กสิณสีขาว ท่านให้ดูผ้าขาว หรือว่าดูดวงจันทร์เป็นหลัก

    สำหรับเราในสมัยนี้ วัตถุต่างๆ หาง่าย การสร้างดวงกสิณทำได้ง่าย สมัยก่อน ตัวผมเอง ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ มาพ่นสีลงไป พ่นเป็นสีแดง พ่นเป็นสีเหลือง พ่นเป็นสีเขียว พ่นเป็นสีขาว แล้วใช้จานครอบลง ตัดออกมาเป็นวงกลม ติดใส่ข้างฝาไว้ แล้วก็จับเป็นนิมิตภาวนา ไม่จำเป็นว่าจะต้องไปใช้ สองคืบ สี่นิ้วอะไร เอาแค่ขนาดที่เรารู้สึกว่าพอเหมาะพอดี สามารถจับภาพนั้นได้สะดวก

    <O =""></O>เมื่อเราใช้ สีใดสีหนึ่งขึ้นมาก่อน ถึงเวลาแล้วกำหนดใจ ตั้งใจสบายๆ ลืมตามองภาพนั้นแล้วหลับตาลงนึกถึงจะเห็นภาพนั้นได้ชั่วคราว พอภาพมันเลือนหายไป ให้ลืมตามองใหม่ หลับตาลงนึกถึงอีกพร้อมกับคำภาวนา อย่างเช่นว่า

    ถ้าสีแดงก็ใช้คำภาวนาว่า โลหิตกสิณังๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก

    สีเหลือง ใช้ว่า ปีตกกสิณังๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก<O =""></O>
    สีเขียวว่า นีลกสิณัง ๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก
    <O =""></O>สีขาวว่า โอทาตกสิณัง ๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก
    <O =""></O>หรือจะคิดเป็นภาษาไทยอยู่ในใจว่า สีแดงๆ สีเหลืองๆ สีเขียวๆ สีขาวๆ ก็ได้พร้อมกับจับลมหายใจเข้า ออก ให้เป็นปกติ ลืมตามองภาพ หลับตานึกถึง ภาพหายไปลืมตามองใหม่ หลับตานึกถึงพร้อมคำภาวนาดังนี้ไปเรื่อยๆ เป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง ภาพก็จะเริ่มค่อยๆ ปรากฏติดตาขึ้นมา เรียกว่าอุกคหนิมิต ลืมตาอยู่ก็เห็น หลับตาลงก็เห็น เมื่อถึงขั้นตอนนี้ ท่านทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องเพิ่มสติให้มากกว่าเดิม เพราะว่าถ้าเผลอเมื่อไรภาพจะหายไป จำเป็นต้องเอาใจจดจ่ออยู่กับภาพนั้น จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง จะทำงานทำการใดๆ ก็ตาม ต้องแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งจับภาพของกสิณไว้เสมอ ถ้าเราทำดังนี้ได้เป็นปกติ ภาพกสิณนั้น สีสรรก็จะค่อยๆ จางลงๆ ไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นสีแดง สีเขียวจะจางลงอย่างเห็นได้ชัด จะค่อยๆ เป็นสีเหลือง เป็นสีเหลืองอ่อน เป็นสีขาว เป็นสีขาวทึบขึ้น แต่ถ้าหากว่าเป็นปีตกกสิณ เป็นสีเหลืองอยู่แล้ว ก็จะเป็นสีเหลืองอ่อน เป็นสีขาว ถ้าโอทาตกสิณเป็นสีขาวอยู่แล้ว ก็จะค่อยๆ เป็นสีขาว เป็นแผ่นทึบขึ้น เราจับไปเรื่อยๆ ตามปกติของเรา พร้อมกับคำภาวนา จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง จะเดิน จะนอน ให้ความรู้สึกอยู่กับภาพกสิณอย่างนี้ไปเรื่อย ภาพนั้นก็จะค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น คือจากที่เป็นขาวทึบก็จะค่อยๆ จางลงๆ จนกลายเป็นใส ใสขึ้น ใสขึ้น สว่างขึ้นๆ จนกระทั่งในที่สุดก็ใสกระจ่างเจิดจ้าไปหมด อันนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต เมื่อเป็นปฏิภาคนิมิต ความสว่างนั้น สว่างเหมือนกับเอากระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ใส่ดดวงตาของเรา เราก็เริ่มอธิษฐาน ขอให้ภาพนี้เล็กลง ให้ภาพนี้ใหญ่ขึ้น ให้ภาพนี้หายไป ให้ภาพนี้ปรากฏขึ้นให้อยู่บนศีรษะ ให้อยู่ในอก ให้อยู่ข้างซ้าย ให้อยู่ข้างขวา ให้อยู่ข้างหน้า ให้อยู่ข้างหลัง ให้มา ให้หาย ทำอย่างนี้ให้คล่องตัว นึกเมื่อไร ให้ทำได้เมื่อนั้น ถ้าเป็นดังนี้ แปลว่ากำลังของกสิณนี้ เราทำได้ทรงตัวแล้ว เมื่อทำได้ทรงตัวก็ลองอธิษฐานใช้ผลดู คือว่า

    ถ้าเป็น โอทาตกสิณ ก็ให้อธิษฐานว่าขอให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพนรก จงปรากฏขึ้นมา ให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพสวรรค์จงปรากฏขึ้นมา ให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพของพรมจงปรากฏขึ้นมา ให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพของพระนิพพานจงปรากฏขึ้นมา ภาพของนรกก็ดี สวรรค์ก็ดี พรมก็ดี นิพพานก็ดี หรือสถานที่ใดๆ ก็ตาม จะปรากฏขึ้นมาแทนดวงกสิณ ก็ให้พยายามทำให้คล่อง ดูให้ชัดเจน รักษาอารมณ์ใจให้แจ่มใส
    <O =""></O>
    ถ้าหากว่าเป็นนีลกสิณก็ให้กำหนดว่า ให้ความมืดจงปรากฏขึ้น แต่ว่าให้จำกัดเขตเอาไว้ ถ้าเราปฏิบัติอยู่ในห้องก็อธิษฐานแค่ให้ในห้องนี้มืดลง หรืออธิษฐานให้กายของเราหายไปด้วยอำนาจของกสิณ

    <O =""></O>หรือว่าถ้าเป็นปีตกกสิณ สีเหลืองก็ลองเปลี่ยนวัตถุอื่นๆ ให้เป็นทองดู
    หรือว่าเป็นสีแดงก็ลองทดลองเปลี่ยนวัตถุอื่นๆ ให้เป็นสีแดงดู
    <O =""></O>ถ้าสามารถทำได้คล่องตัว กสิณเหล่านี้ก็เท่ากับว่าเป็นของเราแล้ว คราวนี้ ถ้าทำแค่นี้จิตก็จะได้แค่ฌาน ๔ จะเป็นโลกียอภิญญาเท่านั้น ก็ให้รู้จักพิจารณาด้วยว่า จริงๆ แล้วภาพกสิณนี้มันก็ไม่เที่ยง แรกๆ มันเป็นภาพอยู่ข้างนอก พอหลับตานึกถึงภาพก็ปรากฏขึ้นข้างใน จากสีเข้ม ก็เป็นสีจางลง จากสีจางลง ก็เป็นสีใส จากสีใสก็กลายเป็นแก้วทั้งดวง มันไม่เที่ยงเป็นปกติอย่างนี้ ตอนที่เราจับมันไม่ได้ เกาะมันไม่ติด เราก็กลุ้ม ก็ทุกข์ใจเป็นปกติ และในที่สุดจริงๆ แล้วมันก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นดวงกสิณที่เราสร้างขึ้นก็ดี กสิณภายในก็ดี กระทั่งตัวเราก็ดี<O =""></O>
    เสื่อมสลายตายพังไปทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราให้ยึดถือมั่หมายได้ <O =""></O>

    ถ้าเกิดอีกเมื่อไรก็ต้องพบกับความไม่เที่ยงเช่นนี้ เกิดอีกเมื่อไรก็ต้องพบกับความทุกข์เช่นนี้ ดังนั้นถ้าเราเกิดอีก ทุกข์อีกดังนี้เราจะโง่มาเกิดทำไม เราก็ควรจะไปนิพพานดีกว่า ก็เอากำลังของกสิณนี้เกาะพระนิพพานแทน เราจะสามารถเห็นพระนิพพานได้ชัดเจนแจ่มใส สามารถเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชัดเจนแจ่มใส วางอารมณ์ใจว่าตายเมื่อไรเราขออยู่ที่นี่แห่งเดียว แล้วจับใน อุปสมานุสสติหรือพุทธานุสสตินั้นเป็นกสิณแทน ถ้าทำดังนี้ได้กำลังของสมาธิที่ทรงตัว กิเลสจะค่อยๆ ลดน้อยลง และในที่สุดก็สลายตัวไป

    เราก็จะเข้าสู่พระนิพพานได้ตามที่เราต้องการ
    สำหรับวรรณกสิณทั้ง ๔ นี้ ถ้าหากว่ากำลังใจทรงตัวถึงปฏิภาคนิมิตเมื่อไร มันจะตัดตัวโทสะได้โดยอัตโนมัติ ของมันเอง สำหรับวันนี้เวลาก็ไม่พอแล้ว การศึกษาเรื่องของกสิณ ให้เราไปปฏิบัติเอาตามใจชอบของตน ตอนนี้ก็ให้รักษากำลังใจส่วนหนึ่ง เกาะภาพพระให้เป็นปกติ
     
  4. น้ำมนต์

    น้ำมนต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,159
    คุณรินคะ ที่คุณรินจัดรูปแบบใหม่ เครื่องของน้ำมนต์ไม่สามารถอ่านได้เลยค่ะ
    เห็นเป็นจุดไข่ปลา ทั้งไฟล์เลยค่ะ
    ไม่ทราบว่าคนอื่นๆ เห็นเป็นยังไงบ้างคะ?


    (หรืออาจเป็นเพราะว่าเครื่องของน้ำมนต์มีฟอนต์ไทยน้อยก็ไม่ทราบค่ะ)
     
  5. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    ของผมอ่านได้ดี ตามปกติ เดี่ยวผมลองทำ font หใม่ แล้วน้ำมนต์มาดูใหม่ว่า จะอ่านได้ไหม
     
  6. น้ำมนต์

    น้ำมนต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,159
    ตรงนี้อ่านได้แล้วค่ะ คุณเวบ แต่ยังเหลือ ไฟล์อื่นๆ ที่คุณรินทำทั้งหมดค่ะ ยังอ่านไม่ได้เลย
    ขอบคุณมากนะคะ
     
  7. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    ok เดี่ยวผมเข้าไปแก้ font ทั้งหมดของ ริน เป็น arail
     

แชร์หน้านี้

Loading...