โอวาทหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย visutto, 28 กรกฎาคม 2009.

  1. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    ธรรมโอวาท หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระปฏิบัติธรรมตามแนวของ หลวงปู่มั่น ธรรมโอวาทมีดังนี้


    .คำว่าทุกข์ แม้จะนิดเดียวก็ไม่เคยมีสัตว์โลกรายใดรัก ชอบ และปรารถนา ต่างก็กลัวและขยะแขยงกันมาแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว แต่หากจะมีก็อาจได้พบเห็นในสมัย ปัจจุบัน เพราะศีลธรรมที่เคยให้ความร่มเย็นแก่โลกตลอดมากำลังถูกตำหนิ ลบล้างด้วยความคิดของคนในปัจจุบัน โดยเห็นว่า ศีลธรรมที่ร่มเย็นเป็นของเก่าก่อน กลับคร่ำครึ ล้าสมัย ความสุขที่เคยได้รับเป็นสันดาร จนลืมทุกข์ทรมานแต่ก่อนเก่าไปสิ้น

    . เราจะกลัวเสือ หรือ เราจะกลัวกิเลส กิเลสมันทำให้เราตาย นับภพนับชาติไม่ถ้วน แต่เสือตัวนี้ มันทำให้เราตายได้หนเดียว

    . อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา... อนิจจัง...ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่สามารถจะอยู่ยงคงทนต่อไปได้ ย่อมดับย่อมสลายไปตามกาล พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่เที่ยงแท้แน่นอนไปได้... ทุกขัง...เมื่อมีสิ่งที่เกิดขึ้นมาในโลก แล้วเข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวตนของเรา ของเขา ยามจากไป ยามดับไปสลายสิ้น สิ่งที่รักที่พอใจนั่นแหละ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นทุกข์อย่างยิ่ง... อนัตตา...ความจริงในโลกนี้ มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมันเอง ไม่มีใครไปต่อเสริมเติมแต่งได้ ถึงอย่างไรก็ยังเป็นธรรมชาติ แม้ร่างกายเรานี้จะยึดตัวตน ว่า เป็นของเราของเขาไม่ได้ เพราะเขาเป็นเพียงธาตุๆ หนึ่งที่ประชุมกันเข้าเท่านั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขาทั้งสิ้น

    . การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์ หรือ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน คนอื่นทำให้ไม่ได้ เราต้องปฏิบัติให้รู้ยิ่ง เราต้องอาศัยในสิ่งเหล่านี้ เพื่อจิตเข้าสู่สมาธิ จิตสงบอยู่ในอารมณ์ มาเป็นพยานขององค์วิปัสสนา ให้เห็นชัดแจ้ง เป็นความสว่างของ ปัญญา ผู้บริสุทธิ์ได้ ต้องอาศัยปัญญานี่เอง ทั้งนี้ วิปัสสนาปัญญา จึงต้องยึดเอาตัว สังขารเรานี้เป็นพยานในการปฏิบัติ จึงจะรู้แจ้ง อย่ามองไปนอกตัว เหตุอยู่ที่นี่

    . ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ล้วนเป็นเพื่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น ทุกชีวิตเกิดมามีกรรมเป็นของๆ ตน

    นอกจากนี้หลักธรรมที่หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและสอนธรรมเป็นหลักธรรมที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้วางเอาไว้ หลวงปู่กงมา ก็จดจำได้อย่างขึ้นใจ คือ ธรรมะ ๑๑ ประการ ได้แก่
    . การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปาทานเป็นหลัก

    . การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทำเฉยๆ ให้มันถ่ายถอนเอง

    . เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้น ต้องสมเหตุสมผล เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ธรรมทั้งหลายดับไปเพราะเหตุ พระมหาสมณะมีปกติ ตรัสอย่างนี้

    . เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอนอุปาทานนั้น มิใช่มีเหตุ และไม่สมควรแก่เหตุ ต้องสมเหตุสมผล

    . เหตุได้แก่สมมติบัญญาติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น เริ่มต้นด้วยการสมมติ ตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้ว ก็ไปหลงคนอื่น หลงว่าเราสวย แล้วจึงไปหลงผู้อื่นว่าสวย เมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้ว ก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัว กลับกลายเป็น ราคะ โทสะ โมหะ

    . แก้เหตุต้องพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ด้วยสามารถแห่งกำลังของสมาธิ เมื่อสมาธิชั้นต่ำ การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นต่ำ เมื่อเป็นสมาธิชั้นสูง การพิจารณาเป็นญาณชั้นสูง แต่อยู่ในกรรมฐาน ๕

    . การสมเหตุสมผล คือ คันที่ไหนก็ต้องเกาที่นั้น จึงจะหายคัน คนติดกรรมฐาน ๕ หมายถึง หลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันตรงนี้ ถ้าไม่มีหนัง คงจะวิ่งกันแทบตาย เมื่อหลงกันที่นี้ ก็ต้องแก้กันที่นี่ คือ เมื่อกำลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริง เกิดความเบื่อหน่ายเป็น วิปัสสนาญาณ

    . เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังที่ พระพุทธองค์ ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปิทุกข์ พยาธิปิทุกข์ มรณัมปิทุกข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน ๕ เป็นต้น ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้ว ตายแล้ว จึงได้ชื่อว่าพิจารณากรรมฐาน ๕ อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณาตัวทุกข์จริงๆ

    . ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมั่น จึงเป็นทุกข์ เพื่อพิจารณาก็ละได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมคำว่า รปสสมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺญายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรปิ นิพฺพินฺทติ วิญญาณสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน ๕) เป็นต้น แล้วก็คลายความกำหนัด เมื่อเราพ้นเราก็ต้องมีญาณทราบชัดว่าเราพ้น

    ๑๐. ทุกขนิโรธ ดังทุกข์ เมื่อเห็นกรรมฐาน ๕ เบื่อหน่ายได้จริง ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เช่นเดียวกับท่านสามเณรสุมนะ ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศีรษะก็สำเร็จเป ็นพระอรหันต์

    ๑๑. ทุกขคามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือ การเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ปัญญาเห็นชอบเห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเห็นจริง แจ้งประจักษ์ด้วยสามารถแห่งสัมมาทิฐิ ไม่หลงคติสุข มีสมาธิเป็นกำลัง พิจารณากรรมฐาน ๕ ก็เป็นองค์มรรค<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.1 KB
      เปิดดู:
      117
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2009
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192

    กราบหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ครับ ครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อนนั้น
    ท่านเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อแยกธรรมออกจากกัน
    เมื่อความสกปรกโสมมที่ครอบงำอยู่ ถูกแยกส่วนออกไปแล้ว
    ที่เหลือนั้นเป็นความบรีสุทธิ์ผ่องใส ไร้เศร้าหมอง
    "ความบริสุทธิ์ หรือ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน คนอื่นทำให้ไม่ได้"
    อนุโมทนา สาธุครับท่านวิสุทโธ ที่นำปฏิปทาของครูบาอาจารย์มาให้อ่านครับ

    ;aa24
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ความหมายคือ สิ่งที่เคยเป็นที่เคยมี ซึ่งเรียกว่า กิเลส ซึ่งมีทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศลรวมไปถึงไม่ใช่ทั้งสองฝ่าย ในจิตของผู้ปฏิบัตินั้นมันลดลง มันหายไปมันละไป จึงเรียกว่าการปฏิบัตินั้นส่งผลเกื้อประโยชน์ต่อตนและผู้อื่น เรียกว่า สันทิกฐิโก ไม่มีผิดเพี้ยนไม่ต้องสงสัย
    อนุโมทนากราบหลวงปู่ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...