โทสมูลจิต 2 ประเภท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 5 กันยายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    โทสมูลจิต ๒ ประเภท.

    ต้องเกิดร่วมกับ ปฏิฆะ คือ โทสเจตสิก เท่านั้น.!


    ฉะนั้น

    โทสมูลจิต

    จึงเป็น ปฏิฆสัมปยุตต์ ทั้ง ๒ ประเภท.


    .


    ขณะที่ เกิดความรู้สึก
    ...โทมนัสเวทนา.

    ขณะนั้น จะต้องมี โทสเจตสิก

    ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่หยาบกระด้าง ประทุษร้าย

    เกิด ร่วมด้วย ทุกครั้ง.!


    .


    ซึ่งต่างกับ ขณะที่เกิดความรู้สึก
    ...โสมนัสเวทนา และ อุเบกขาเวทนา.


    ซึ่ง จิต ที่เกิดร่วมกับ "ความรู้สึก" ๒ ประเภทนี้
    .........


    เกิดร่วมกับ โลภมูลจิต (อกุศลจิต) ก็ได้

    เกิดร่วมกับ กุศลจิต ก็ได้

    เกิดร่วมกับ วิบากจิต หรือ กิริยาจิต ก็ได้.


    .


    โทสมูลจิต.

    ต่างกัน เป็น ๒ ประเภท

    (โดยความเป็น อสังขาริก-สสังขาริก)


    ได้แก่

    เป็น อสังขาริก.

    คือ

    โทสมูลจิต ที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่อาศัยการชักจูง ๑.


    และ


    เป็น สสังขาริก.

    คือ

    โทสมูลจิต ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยการชักจูง ๑.


    .


    ดังนั้น


    โทสมูลจิต ๒ ประเภท.


    คือ


    โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ

    อสงฺขาริกํ ๑.


    และ


    โทมสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตํ

    สสงฺขาริกํ ๑.

    โมหมูลจิต.

    ต่างกัน เป็น ๒ ประเภท.


    คือ


    ๑. โมหมูลจิต ที่เป็น วิจิกิจฉาสัมปยุตต์

    ซึ่ง เกิดร่วมกับ วิจิกิจฉาเจตสิก.



    "วิจิกิจฉาเจตสิก"

    คือ

    ความสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    ขันธ์ ธาตุ อดีต ปัจจุบัน อนาคต
    ...............

    เป็นต้น.



    ๒. โมหมูลจิต ที่เป็น อุทธัจจสัมปยุตต์.

    ซึ่ง เกิดร่วมกับ อุธัจจเจตสิก.


    .


    "โมหเจตสิก"

    เป็น เจตสิก ที่ไม่รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง.



    แม้ในขณะที่กำลังเผชิญหน้ากับอารมณ์

    ก็ไม่สามารถรู้ "ลักษณะที่แท้จริง"

    ของ "อารมณ์ที่กำลังปรากฏ" ได้.!


    เช่น

    ในขณะที่กำลังเห็น
    ...ขณะนี้.!

    (โมหเจตสิก)
    ไม่รู้ ว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา

    เป็น สภาพธรรม ชนิดหนึ่ง.!


    เมื่อ "ไม่รู้"

    ก็ "สงสัย" ว่า ลักษณะของสภาพธรรมที่เพียงปรากฏทางตา นั้น

    ต่างจากที่เคยเข้าใจ ว่า

    สิ่งที่เห็น นั้น
    ...
    เป็นคน เป็นสัตว์ หรือ เป็นวัตถุสิ่งของ อย่างไร.?


    (เป็นต้น)


    .


    ขณะใด...ที่เกิด "ความสงสัย"

    ขณะนั้น เป็น "โมหมูลจิต-วิจิกิจฉาสัมปยุตต์"


    แต่

    ตามความเป็นจริง นั้น

    ความสงสัย
    ...ไม่ได้เกิดขึ้น ตลอดเวลา.!


    .


    ขณะที่สงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.

    และ

    ขณะที่สงสัย ในลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ.


    ขณะนั้น
    ........เป็น โมหมูลจิต

    ที่เกิดร่วมกับ วิจิกิจฉาเจตสิก

    ซึ่ง หมายถึง
    .........................

    "โมหมูลจิต-วิจิกิฉาสัมปยุตต์"


    .


    โดยปกติ

    ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน

    เมื่อ
    (จิต) เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส

    และ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย
    (ดับไป)
    แล้ว.


    หลังจากนั้น
    ..........ถ้า จิตขณะที่เกิดต่อไป

    ไม่เป็น กุศลจิต หรือ อกุศลจิต ประเภทใด ประเภทหนึ่ง

    จิตขณะ
    (ต่อไป) นั้น...

    เป็น "โมหมูลจิต-อุธัจจสัมปยุตต์"

    เพราะว่า

    ขณะนั้น
    ...ไม่ได้มี "ความสงสัย" (วิจิกิจฉาเจตสิก) เกิดร่วมด้วย.!

    ไม่มี โลภเจตสิก เกิดร่วมด้วย.!

    และ

    ไม่มี โทสเจตสิก เกิดร่วมด้วย.!


    .


    ฉะนั้น

    จึงสามารถ รู้ ลักษณะของ "โมหมูลจิต-อุทธัจจสัมปยุตต์" ได้.


    โดย รู้ ว่า

    ขณะใด
    ...ที่ "หลงลืมสติ"

    ขณะนั้น
    ........................

    "ไม่รู้ ตรง ลักษณะสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ"


    .


    และ

    ขณะที่ อกุศลจิต

    ไม่เกิดร่วมกับ โลภเจตสิก หรือ โทสเจตสิก หรือ วิจิกิจฉาเจตสิก
    .


    อกุศลจิต ขณะนั้น...เป็น "โมหมูลจิต-อุทธัจจสัมปยุตต์"


    (โมหมูลจิต ต้องเกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา ทั้ง ๒ ประเภท)



    ดังนั้น

    "โมหมูลจิต"

    มี ๒ ประเภท คือ


    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ

    ๒. อุเปกฺขาสหคตํ อุทธจฺจสมฺปยุตฺตํ


    รวม

    อกุศลจิต ๑๒ ประเภท.


    เป็น สัมปยุตต์ ๘ ประเภท.

    เป็น วิปปยุตต์ ๔ ประเภท.


    (สัมปยุตต์=โลภมูลจิต ๔, โทสมูลจิต ๒, โมหมูลจิต ๒ = ๘.)

    (วิปปยุตต์= โลภมูลจิต ๔.)


    .


    สาหรับ

    "โสภณ-สัมปยุตต์" หรือ "ญาณสัมปยุตต์"


    หมายถึง

    จิต ขณะที่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก

    (และโสภณเจตสิกอื่น ๆ)


    เรียก จิต ขณะนั้น ว่า

    "ญาณสัมปยุตต์"


    สภาพธรรมคือสิ่งที่มีจริง มีนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งตามความเป็นจริงนั้น สภาพ
    ธรรมยังแบ่งเป็นส่วนหยาบและละเอียด สามารถปรากฎให้รู้ได้ในชีวิตประจำวัน และ
    ที่ไม่ปรากฎให้รู้ได้ทั่วไปเพราะต้องรู้ด้วยปัญญาระดับสูง ดังนั้นสภาพธรรมขณะนี้อะไร
    กำลังปรากฎให้รู้ เห็น ได้ยิน เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น สามารถปรากฎให้รู้ในชีวิต
    ประจำวันการอบรมปัญญาเพื่อรู้ความจริง คือ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลัง
    ปรากฏ ไม่ใช่เป็นการพยายามไปรู้ในสิ่งที่ไม่ปรากฎ
    รูป เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่รู้อะไรเลย การอบรมปัญญาเพื่อรู้ความจริงของสภาพธรรมจึง
    เป็นการเกิดของสติที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฎ โดยไม่เลือกว่าเป็นสภาพ
    ธรรมใด เพราะสติเป็นอนัตตา จะเกิดรู้รูปหรือนามอะไรก็ได้ แต่สำคัญคือที่ปรากฎให้รู้
    ได้ในชีวิตประจำวัน รูปบางอย่างไม่ปรากฎให้รู้ก็ไม่สามารถรู้ได้ จึงเป็นวิสัยของปัญญา
    ที่ต่างระดับกันไป ผู้มีปัญญามากย่อมสามารถรู้ความละเอียดของรูปนามแต่ละอย่างตาม
    ความเป็นจริงได้ครับ แต่สำหรับผู้เริ่มศึกษาจึงควรรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้
    วิปัสสนาญาณ หมายถึง "ปัญญา" ที่ รู้ สภาพธรรม.


    ใช้ คำ ว่า สภาพธรรม"

    ไม่ใช่ "เรื่องราว"


    และ ขณะนี้
    ...ที่กำลังเห็น

    "เห็น" เป็นเรื่องราว หรือ เป็น สภาพธรรม.?

    คำตอบคือเป็นสภาพธรรม.!


    .


    เพราะฉะนั้น

    วิปัสสนาญาณ หมายถึง ปัญญาที่รู้สภาพธรรม

    ไม่ใช่เรื่องราว.!


    .


    เพราะว่า ขณะนี้
    ...ถ้า สติ เกิดขึ้น ระลึก

    สติ
    จะระลึกอะไร.?

    ถ้าไม่ใช่ ขณะที่กำลังเห็น ขณะที่กำลังได้ยิน ฯลฯ


    .


    ทุกคนที่ฟังนะคะ

    ควรไตร่ตรอง ตรึกตรอง

    ไม่จำเป็นต้องเชื่อ.!

    แต่

    หมายความว่า
    ..............

    พิจารณาแล้ว "เข้าใจ"

    และ

    "ศึกษา" เพิ่มเติม ในเหตุ ในผล

    ในสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

    ขณะนี้.!


    เริ่มตั้งแต่...ขณะที่ฟัง.!

    เหมือนเฝ้าพระผู้มีพระภาคฯ
    ...หรือ พระองค์ประทับอยู่ต่อหน้า...
    .?


    เพราะว่า

    พระธรรมเทศนา ทั้งหมด มาจากพระองค์

    ซึ่งใช้ คำ ว่า " ธรรมกาย"

    คือ เป็นที่รวมของพระธรรมเทศนา.!


    เพราะฉะนั้น

    ขณะที่ฟัง
    ....ฟังด้วยความเคารพ

    คือ

    ตั้งใจฟัง.!


    ขณะใด
    .....
    ที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง หรือ สนใจเรื่องอื่น

    ผู้นั้น อาจไม่ทราบ ว่า

    ขณะนั้น
    ...
    ไม่ได้เคารพในพระธรรม.


    แต่

    ผู้ที่เคารพในพระธรรม

    ทราบได้ทันที ว่า ใครไม่เคารพในพระธรรม

    ซึ่งก็หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง.!


    .


    เพราะว่า

    พระธรรมนั้น ยากแสนยาก
    ...ที่จะมีโอกาสได้ฟัง.!

    และฟังแล้ว
    ...
    ต้องพิจารณาจริง ๆ

    จนกว่าจะเป็น

    "ความเข้าใจที่ถูกต้อง"


    .


    เพราะฉะนั้น

    การที่มีโอกาสได้ฟัง
    .....ก็ควรฟัง ด้วยความเคารพ.

    คือ


    เคารพ
    .........
    ในพระปัญญาธิคุณ.

    เคารพ
    ..........
    ในพระบริสุทธิคุณ.

    เคารพ
    ...
    ในพระมหากรุณาธิคุณ.


    .


    เมื่อฟังด้วยความเคารพแล้ว

    ก็ควรไตร่ตรอง พิจารณาในเหตุ ในผล ว่า

    ตรงกับสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

    ในขณะนี้ หรือไม่.!


    .


    ถ้าพูด "เรื่องปรมัตถธรรม"

    ก็หมายความถึง

    "สภาพธรรมที่มีจริง
    ...แม้ไม่เรียกชื่อ"


    เช่น

    กำลังเห็น
    ...ขณะนี้.!

    มีมาตั้งแต่เกิด
    ...มีการเห็นมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึง...ขณะนี้.!


    แล้วมี "ความเข้าใจรื่องการเห็น" แค่ไหน.?

    รู้ สภาพที่เป็น "นามธรรม" แค่ไหน.?


    .


    ถ้าหาก พระผู้มีพระภาคฯ ไม่ทรงตรัสรู้

    ไม่ทรงแสดงธรรม

    ก็ไม่มีใคร สามารถที่จะรู้ "ความจริงของสภาพเห็น" ในขณะนี้ ได้.!



    แม้จะได้ยิน ได้ฟัง ว่า

    "เห็น" มีจริง ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา

    เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งต่างกับ ธาตุที่ได้ยินเสียง

    และต่างกับธาตุอื่น ๆ

    ซึ่งเป็น "นามธาตุ" ด้วยกัน

    ใช้คำว่า "นามธาตุทุกชนิด"

    เพราะว่า

    ทุกอย่าง เป็น "ธาตุ"


    เมื่อทุกอย่าง เป็น "ธาตุ"

    จะใช้ คำว่า จักขุธาตุ ก็ได้ รูปธาตุ ก็ได้

    จักขุวิญญาณธาตุ ก็ได้

    หรือ โลภะธาตุ โทสธาตุ โมหธาตุ

    ฯลฯ



    ธรรมทุกอย่าง เป็น "ธาตุ"


    .


    เคย "เข้าใจถูกต้อง" อย่างนี้หรือเปล่า.?

    เพราะว่า

    "ปัญญา" เริ่ม เกิดขึ้น

    เมื่อได้ฟังพระธรรม
    ...
    ด้วยความเคารพ.!


    คือ

    เคารพ ด้วยการตั้งใจฟัง และ ไตร่ตรอง พิจารณา ว่า

    ขณะนี้ เป็น ธรรม.!

    จนกว่าจะถึง "ความเป็นอนัตตา"

    คือ

    "ไม่ใช่เรา"


    ซึ่ง ยากมาก
    ...
    กว่าจะสละ "ความเป็นเรา"

    ออกจากขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น

    รู้รส รู้โผฏฐัพพะ และคิดนึก.


    ยากมาก
    ........

    ที่จะสละ "ความเป็นเรา" ออกจาก จิต ทุก ๆ ขณะ.!


    .


    ดังนั้น

    จึงต้องเป็น ผู้ที่อดทน มีวิริยะ


    และ ไม่ละเลย
    ......ต่อการที่จะรู้ ว่า

    ตนเองนั้น
    .........
    รู้ ธรรมะ แค่ไหน.!

    เป็นผู้ตรงต่อสภาพธรรม แค่ไหน.!


    เพราะว่า

    "การที่จะเข้าใจธรรมะ"

    หรือใช้คำว่า "รู้ธรรม" ได้ นั้น.!

    ก็คือ

    "เข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ"

    ซึ่ง เราก็เรียนกันมาแล้ว.


    .


    ถ้าขณะที่ สติ ไม่เกิด
    ...ไม่ระลึก

    ขณะนั้น ก็ไม่ใช่ การศึกษา "ลักษณะของสภาพธรรม"

    แต่ เป็นเพียง

    การศึกษา "เรื่องราวของสภาพธรรม" เท่านั้น.!


    .


    จนกว่า ขณะที่สติปัฏฐาน เกิด.!


    ที่ใช้คำว่า "สติปัฏฐาน" ก็คือ ขณะที่ระลึก.


    ระลึกได้
    ...เพราะว่า วันหนึ่ง ๆ มักจะหลงลืมสติ.!

    วันหนึ่ง ๆ คือ อย่างไร
    ......
    .?


    ขณะที่กำลังเห็น
    ....ไม่จำเป็นต้องไปคำนึงถึง ว่า

    ดับไปแล้ว อย่างรวดเร็ว.

    ในเมื่อ ยังไม่ประจักษ์
    ...
    แล้วจะไปพูดอย่างนั้น เข้าใจอย่างนั้น

    ก็เป็นเพียงแค่ "คิด"เท่านั้น.!


    แต่

    ขณะใด ที่กำลังเห็น
    ....ก็ค่อย ๆ ระลึกได้ ว่า

    ขณะที่กำลังเห็น เป็น สภาพธรรมอย่างหนึ่ง

    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล.


    สิ่งที่ปรากฏทางตา
    ...
    มีจริง.!

    และเป็นสภาพธรรมอีกชนิดหนึ่ง

    คือ สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย.


    ส่วนการเห็น เป็นสภาพธรรมที่รู้ หรือ ธาตุรู้

    ก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง.


    หมายความว่า

    เข้าใจจริง ๆ ว่า ทั้งหมดเป็นสภาพธรรม
    ...โดย สติ เกิด.!

    สติ เกิด ขณะที่สภาพธรรมนั้น ๆ

    กำลังปรากฏ "ตามปกติ" จริง ๆ


    .


    มิฉะนั้น

    จะไม่เข้าใจเลย ว่า
    .....ทำไม ผู้ที่ปรุงอาหารอยู่ในครัว

    จึงสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความเป็น พระอนาคามีบุคคล ได้.!


    ในครัว
    ...
    มีทุกอย่าง ซึ่ง ในครัวของเราก็มี

    เช่น หม้อ กระทะ ฯลฯ


    แต่ ผู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญามาแล้ว

    ก็สามารถที่จะเป็นพระอนาคามีบุคคล ที่ไหนก็ได้

    เป็นพระโสดาบันที่ไหน ก็ได้.


    .


    เพราะว่า

    สภาพธรรมที่มีจริง
    ...มีไม่เคยขาดเลย.!

    แต่

    ต้องมี ความเข้าใจจริง ๆ ว่า

    ขณะใด สติเกิด ขณะใด หลงลืมสติ.!

    กรรมที่ได้กระทำไว้แล้วในอดีตอนันตชาติต่างหาก...ที่ผู้เป็นเจ้า

    ของกรรมจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นในภายหลัง...ไม่ใช่มีผู้อื่น

    จะมาบันดาลกรรมให้...หรือว่าตนจะไปบันดาลกรรมของผู้อื่นได้
    ข้อความในอังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ธัมมปริยายสูตร (๑๙๓)

    พระผู้มีภาคตรัสว่า ....ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของ

    ของตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง

    มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อม

    เป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น ๆ
    เจ้ากรรมนายเวรทำให้ท่านเกิดเป็นบุคคลนี้ในโลกนี้ หรือว่ากรรมของ

    ท่านเองที่ท่านได้กระทำแล้ว เป็นเหตุปัจจัยทำให้ท่านเกิดเป็นบุคคลนี้ใน

    โลกนี้
    เมื่อท่านได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์

    เป็นเพราะเจ้ากรรมนายเวรทำให้ หรือเป็นผลของกรรมที่ท่านเองได้กระทำไว้

    แล้ว
    ฉะนั้น จึงควรพิจารณาว่าเจ้ากรรมนายเวรคือใคร และเพราะเหตุใด

    ท่านจึงจะอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร
    ผู้ที่อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรนั้นย่อมคิดว่ามีบุคคลที่เป็นเจ้า

    กรรมนายเวรจริง ๆ ที่สามารถทำให้ท่านป่วยไข้ทุกข์ยาก โดยที่ท่านไม่เคย

    เห็นเจ้ากรรมนายเวรนั้นเลย และไม่รู้ด้วยว่าเป็นใคร เพียงแต่คิดว่าท่านเคย

    ทำให้ผู้นั้นเป็นทุกข์เดือดร้อนในชาติก่อน ๆ ฉะนั้น ผู้นั้นจึงเป็นเจ้ากรรมนาย

    เวรของท่านติดตามมาทำให้ท่านป่วยไข้ทุกข์ยากต่าง ๆ ในชาตินี้ หรือคิดว่า

    ถึงแม้ว่าเจ้ากรรมนายเวรนั้นยังไม่ได้ทำให้ท่านป่วยไข้ทุกข์ยาก ท่านก็ควรที่

    จะอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรนั้น ก่อนที่เจ้ากรรมนายเวรนั้นจะทำให้

    ท่านป่วยไข้ทุกข์ยากต่าง ๆ
    ใครจำชาติก่อน ๆ ได้บ้างว่าเคยทำกรรมใดไว้ และ เคยถูกใครทำให้

    เป็นทุกข์เดือดร้อนบ้าง
    เมื่อฆ่าไก่ตัวหนึ่งแล้ว ทันทีที่ไก่ตัวนั้นตาย กุศลกรรมทำให้เกิดเป็น

    มนุษย์ สูญสิ้นสภาพความเป็นไก่ ผู้ที่เคยเป็นไก่ในชาติก่อนนั้นจะรู้ไหมว่าตน

    เป็นเจ้ากรรมนายเวรของใคร และถ้าผู้ที่ฆ่าไก่นั้นคิดว่าไก่เป็นเจ้ากรรมนาย

    เวรจึงอุทิศส่วนกุศลให้ ผู้ที่เคยเป็นไก่จะรู้ได้ไหมว่าผู้ฆ่ากำลังอุทิศส่วนกุศล

    ให้ เมื่อไม่รู้ จะเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันได้อย่างไร
    อกุศลกรรมทั้งหลาย เช่น การฆ่า เป็นเหตุให้เกิดในนรกได้ หรือเมื่อ

    เกิดเป็นมนุษย์ อกุศลกรรมก็เป็นเหตุให้ป่วยไข้ทุกข์ยากได้ ถ้านาย ก. ถูก

    นาย ข. ฆ่า อกุศลกรรมของนาย ก. ทำให้นาย ก. เกิดในอบายภูมิ คือ เกิด

    ในนรก หรือเกิดเป็นเปรต หรือเกิดเป็นอสุรกาย หรือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

    ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือกุศลกรรมของนาย ก. เองทำให้นาย ก. เกิดใน

    สุคติภูมิคือเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นหนึ่งชั้นใดใน ๖ ชั้น

    ไม่ใช่นาย ก. เกิดในสวรรค์ หรือเกิดในนรกได้เพราะนาย ข. ซึ่งเป็นผู้ฆ่า
    ส่วนนาย ข. ผู้ฆ่านาย ก. ก็มีอกุศลกรรม คือการฆ่านั้นเป็นของของ

    ตน เมื่อนาย ข. ตายและอกุศลกรรมนั้นให้ผล นาย ข. ก็เกิดในอบายภูมิตาม

    กำลังของกรรมนั้นที่ตนได้กระทำแล้ว แต่ไม่ใช่เพราะนาย ก. เป็นเจ้ากรรม

    นายเวรทำให้นาย ข. เกิดในอบายภูมินั้น ๆ



     
  2. แผ่นน้ำ

    แผ่นน้ำ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +13
    อนุโมนาสาธุด้วยนะค่ะ เพิ่งจะเข้าใจเกี่ยวกับเจ้ากรรมนายเวรจริงๆก็ตอนนี้น่ะค่ะ สาธุ สาธุ
     
  3. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    ใครจะเป็นผู้กระทำ หรือถูกกระทำ เป็นเจ้าหนี้ หรือ ลูกหนี้ อโหสิ หรือไม่อโหสิ กรรมนั้นยังคงทำหน้าที่ของมันไปตลอด ไม่เว้นแม้แต่องค์สมเด็จพระบรมครู จะพ้นได้ก็ต่อเมื่อ ทิ้งร่างกายนี้เข้าสู่นิพพานแล้วเท่านั้น กรรมให้ผลไม่ผิดตัว กรรมนั้นเที่ยงเสมอ กรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ ทุกคนเป็นไปตามกรรม มาตามกรรม พ้นได้ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ไปสู่วิมุตติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...