เหยือกเต็มหรือยัง??

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย แม่ลูกตาล, 15 ตุลาคม 2008.

  1. แม่ลูกตาล

    แม่ลูกตาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    784
    ค่าพลัง:
    +1,206
    <table border="2" cellpadding="2" cellspacing="2" width="100%"> <tbody> <tr> <td align="left" bgcolor="#fab050" valign="top">มาดูกัน ว่า เหยือกเต็ม หรือ ยัง</td></tr></tbody></table>
    <table border="2" cellpadding="4" cellspacing="2" width="100%"> <tbody> <tr> <td bgcolor="#cccc99">
    [​IMG]
    <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td class="font_25" colspan="2" align="middle">


    เหยือกเต็มหรือยัง ?
    </td></tr> <tr> <td class="font_28" colspan="2" align="left">ชายหนุ่มคนหนึ่งได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเอกชน
    เพื่อให้เป็นวิทยากรพิเศษสอนวิชาปรัชญาให้กับนักศึกษาปริญญาโท

    เขาเตรียมการสอนอยู่หลายวันจึงตัดสินใจจะสอนนักศึกษาเหล่านั้นด้วยแบบฝึกหัดง่ายๆ แต่แฝงไว้ด้วยข้อคิด

    เขาเดินเข้าห้องเรียนมาพร้อมด้วยของสองสามอย่างบรรจุอยู่ในกระเป๋าคู่ใจ
    เมื่อได้เวลาเรียน เขาหยิบ เหยือกแก้ว ขนาดใหญ่ขึ้นมา แล้วใส่ ลูกเทนนิสลงไปจนเต็ม
    "
    พวกคุณคิดว่าเหยือกเต็มหรือยัง ?" เขาหันไปถามนักศึกษาปริญญาโท
    แต่ละคนมีสีหน้าตาครุ่นคิดว่าอาจารย์หนุ่มคนนี้จะมาไม้ไหนก่อนจะตอบพร้อมกัน "
    เต็มแล้ว...
    "
    เขายิ้มไม่พูดอะไรต่อหันไปเปิดกระเป๋าเอกสารคู่ใจ

    หยิบกระป๋องใส่กรวดออกมา แล้วเท กรวดเม็ดเล็กๆ
    จำนวนมากลงไปในเหยือกพร้อมกับเขย่าเหยือกเบาๆ

    กรวดเลื่อนไหลลงไปอยู่ระหว่างลูกเทนนิสอัดจนแน่นเหยือก
    เขาหันไปถามนักศึกษาอีก

    "
    เหยือกเต็มหรือยัง ?"
    นักศึกษามองดูอยู่พักหนึ่งก่อนจะหันมาตอบ " เต็มแล้ว...
    "
    เขายังยิ้มเช่นเดิม หันไปเปิดกระเป๋าหยิบเอาถุงทรายใบย่อมขึ้นมา

    และเททรายจำนวนไม่น้อยใส่ลงไป

    ในเหยือก เม็ดทราย ไหลลงไปตามช่องว่างระหว่างกรวดกับลูกเทนนิสได้อย่างง่ายดาย
    เขาเทจนทรายหมดถุง เขย่าเหยือกจนเม็ดทรายอัดแน่นจนแทบล้นเหยือก

    เขาหันไปถามนักศึกษาอีกครั้ง " เหยือกเต็มหรือยัง ?"
    เพื่อป้องกันการหน้าแตกนักศึกษาปริญญาโทเหล่านั้นหันมามองหน้ากันปรึกษากันอยู่นาน

    หลายคนเดินก้าวเข้ามาก้มๆ เงยๆ มองเหยือกตรงหน้าอาจารย์หนุ่มอยู่หลายครั้งมีการปรึกษาหารือกัน
    เสียงดังไปทั้งห้องเรียน จวบจนเวลาผ่านไปเกือบห้านาที
    หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาจึงเป็นตัวแทน เดินเข้ามา

    ตอบอย่างหนักแน่น
    "
    คราวนี้เต็มแน่นอนครับอาจารย์ "
    "
    แน่ใจนะ
    "
    "
    แน่ซะยิ่งกว่าแน่อีกครับ
    "
    คราวนี้เขาหยิบ น้ำอัดลม สองกระป๋องออกมาจากใต้โต๊ะแล้วเทใส่เหยือกโดยไม่รีรอ

    ไม่นานน้ำอัดลมก็ซึมผ่านทรายลงไปจนหมด ทั้งชั้นเรียนหัวเราะฮือฮากันยกใหญ่

    เขาหัวเราะอย่างอารมณ์ดี
    "
    ไหนพวกคุณบอกว่าเหยือกเต็มแน่ๆ ไง " เขาพูดพลางยกเหยือกขึ้น
    "
    ผมอยากให้พวกคุณจำบทเรียนวันนี้ไว้ เหยือกใบนี้ก็เหมือนชีวิตคนเรา
    ลูกเทนนิสเปรียบเหมือนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต เช่น ครอบครัว คู่ชีวิต การเรียน สุขภาพ ลูก พ่อแม่
    และเพื่อน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่คุณต้องสนใจจริงจัง สูญเสียไปไม่ได้
    เม็ดกรวดเหมือนสิ่งสำคัญรองลงมา เช่น งาน บ้าน รถยนต์
    ทรายก็คือเรื่องอื่นๆ ที่เหลือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราจำเป็นต้องทำ
    แต่เรามักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้

    เหยือกนี้เปรียบกับชีวิตของคุณ ถ้าคุณใส่ทรายลงไปก่อน
    คุณจะมัวหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆน้อยๆ อยู่ตลอดเวลา

    ชีวิตเต็มแล้ว... เต็มจนไม่มีที่เหลือให้ใส่กรวด
    ไม่มีที่เหลือใส่ให้ลูกเทนนิสแน่นอน
    "
    ชีวิตของคนเราทุกคน ถ้าเราใช้เวลาและปล่อยให้เวลาหมดไปกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราจะไม่มีที่ว่างใน

    ชีวิตไว้สำหรับเรื่องสำคัญกว่า
    เพราะฉะนั้นในแต่ละวันของชีวิต
    เราต้องให้ความสนใจกับเรื่องที่ทำให้ตัวเราและครอบครัวมีความสุข

    ใช้ชีวิตเล่นกับลูกๆ หาเวลาไปตรวจร่างกาย พาคู่ชีวิตกับลูกไปพักผ่อนในวันหยุด
    พากันออกกำลังกาย

    เล่นกีฬาร่วมกันสักชั่วโมงสองชั่วโมง เพื่อสุขภาพและความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิต
    พาพ่อแม่ไปเที่ยวพักผ่อนหรือ

    ทานข้าว โทรศัพท์หาเพื่อนบ้างให้รู้ว่าเรายังคิดถึงและเป็นห่วง
    เราต้องดูแลเรื่องที่สำคัญที่สุดจริงๆ ดูแล

    ลูกเทนนิสของเราก่อนเรื่องอื่นทั้งหมด
    หลังจากนั้นถ้ามีเวลาเหลือเราจึงเอามาสนใจกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่

    รอบๆ ตัวเรา
    นักศึกษาคนหนึ่งยกมือขึ้นถาม " แล้วน้ำที่อาจารย์เทใส่ลงไปล่ะครับ
    หมายถึงอะไร
    ?"
    เขายิ้มพร้อมกับบอกว่า " การที่ใส่น้ำลงไปเพราะอยากให้เห็นว่า

    ไม่ว่าชีวิตของเราจะวุ่น วายสับสนเพียงใด

    ในความสับสนและวุ่นวายเหล่านั้นคุณยังมีที่ว่างสำหรับการแบ่งปันน้ำใจให้กันเสมอ... .

    .

    .

    แล้วเหยือกของคุณล่ะเต็มหรือยัง ??


    ;aa19;aa20


    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...