เมื่อกายและจิตสมดุลอายุก็วัฒนา

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 ตุลาคม 2008.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    เมื่อกายและจิตสมดุล'อายุก็วัฒนา'

    เมื่อกายและจิตสมดุล อายุก็วัฒนา

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>


    </TD><TD>วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ร่างกายของมนุษย์ถ้าเปรียบก็เหมือนบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โดยมีจิตที่เปรียบเสมือนตัวเราเป็นเจ้าของบ้าน ถ้าบ้านสกปรกรกรุงรัง เกรอะกรังไปด้วยฝุ่น หยากไย่ หรือส่งกลิ่นเหม็น เจ้าของบ้านก็ไม่อาจอยู่ได้


    ฉะนั้น บ้านเรือนจึงต้องสะอาดน่าอยู่ เจ้าของบ้านต้องทำความสะอาดปัดกวาดประจำ ไม่ปล่อยให้ฝุ่นร่วงลงพื้นหรือหยากไย่เกาะเต็มบ้านเป็นประหนึ่งบ้านผีสิง

    [​IMG]

    ดังนั้น เมื่อเจ้าของบ้านดูแลเอาใจใส่อย่างดี บ้านก็จะน่าอยู่ น่าเอนกาย น่าหลับนอก เจ้าของบ้านเองก็มีความสุข คนอื่นที่อยู่ในบ้าน เช่น ลูก เมีย คนใช้ ก็มีความสุข ไม่เจ็บป่วยเป็นโรค ลักษณะนี้ถือว่าคนและบ้านมีความสมดุลกัน
    ร่างกายและจิตใจของคนก็เหมือนกัน ถ้าเรามีกายและจิตใจสมดุล คือ กายมีความสุข จิตมีความสุข ชีวิตของผู้นั้นก็มีความสุข อายุก็ยืนยาว แต่ถ้ากายลำบาก ใจก็เป็นทุกข์ อายุก็รังแต่จะสั้นลงๆ เพราะกายและจิตไม่มีสมดุลกัน
    เพราะฉะนั้น คนเราจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองทั้งกายและใจให้แข็งแรง และมีความสุขอยู่เสมอ โดยพยายามไม่ให้ความเครียดเข้ามาครอบงำใจได้
    เมื่อธาตุไม่สมดุลก่อให้เกิดโรค
    อ.ชัย พนมยันตร์ แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนครธน กล่าวว่า ปกติแล้วร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ถ้าธาตุทั้ง 4 นั้น หากธาตุใดธาตุหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป ย่อมทำให้ธาตุนั้นเกิดความบกพร่อง กำเริบ หรือหย่อน เมื่อธาตุนั้นๆ บกพร่อง กำเริบ หรือหย่อน เมื่อนั้นโรคภัยต่างๆ ก็อาจเกิดขึ้นเพราะความบกพร่องหรือความวิการของธาตุนั้น ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าความไม่สมดุลทางร่างกายได้เกิดขึ้นแล้ว
    อ.ชัย กล่าวอีกว่า โรคที่เกิดขึ้นนั้นจะแตกต่างกันไปไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตามอายุหรือวัย ซึ่งทางแพทย์แผนไทยจะแบ่งอายุของคนเราออกเป็น 3 วัย คือตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 16 ปี จัดเป็นวัยต้นหรือปฐมวัย คนที่อยู่ในวัยนี้ส่วนใหญ่จะป่วยด้วยโรคที่เกิดจากธาตุน้ำหรือที่เรียกว่าเสมหะ เช่น เป็นหวัด หรือเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ หรือเป็นภูมิแพ้เป็นต้น

    [​IMG]

    ถ้าอายุ 1632 ปี จัดเป็นมัชฌิมวัย หมายถึง วัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงาน ส่วนใหญ่คนที่อยู่ในวัยนี้จะป่วยด้วยโรคที่เกิดมาจากธาตุไฟบกพร่อง หรือธาตุไฟไม่สมดุล เช่น ทำงานมากเกินไป ใช้สมองใช้ความคิดอย่างมาก ก็อาจทำให้ปวดศีรษะ เกิดความเครียดได้ง่าย
    ถ้าอายุ 32 ปีขึ้นไป จัดเป็นปัจฉิมวัย ซึ่งคนที่อยู่ในวัยนี้ส่วนใหญ่ที่เจ็บป่วยก็จะมีสาเหตุมาจากธาตุลมผิดปกติหรือไม่สมดุล จะเห็นว่าคนสูงอายุมักจะเป็นลมให้เห็น ซึ่งนอกจากลมที่หมุนเวียนในร่างกายแล้ว ยังหมายถึงประสาทด้วย เช่น คนสูงอายุตาจะฝ้าฟาง หูไม่ค่อยได้ยิน ซึ่งก็เกิดมาจากธาตุลมไม่ปกติ
    อ.ชัย กล่าวว่า อายุในแต่ละวัยของแต่ละคนนั้น ก็จะมีโอกาสเจ็บป่วยที่ไม่ค่อยเหมือนกัน เด็กก็จะเป็นโรคอย่างหนึ่ง ผู้ใหญ่ก็เป็นอีกอย่าง คนสูงวัยก็เป็นอีกอย่างไม่เหมือนกัน
    แก้เสียสมดุลเพื่ออายุวัฒนา
    ทั้งนี้ เมื่อทราบว่าในแต่ละวัยมีธาตุอะไรแปรปรวนตามหลักของแพทย์แผนไทยแล้ว จะต้องพิจารณาดูว่าธาตุนั้นมีอาการกำเริบ หย่อน หรือพิการ อย่างไร จากนั้นจึงแก้ไขการเสียสมดุลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสมดุล ดังต่อไปนี้
    1.การใช้สมุนไพรช่วยบำบัด เช่น เด็กที่ป่วยเป็นหวัด พ่อแม่จะต้องให้ความอบอุ่นแก่เขามากๆ ให้ดื่มน้ำเยอะๆ หรือรับประทานสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำมะขาม เพราะน้ำเหล่านี้จะกัดเสมหะทำให้เสมหะละลายออกง่าย และที่สำคัญทำให้ไม่เป็นภูมิแพ้ด้วย
    2.การใช้อาหารหรือโภชนาการบำบัด เช่น คนธาตุลม จำเป็นต้องมีโภชนาการที่ดีเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดกับระบบทางเดินอาหาร ควรควบคุมโภชนาการสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบย่อยอาหาร เช่น ขิง กระเทียม หอมใหญ่ เป็นต้น
    ถ้าเป็นแผนปัจจุบัน ในเรื่องอาหารต้องรับประทานอาหารครบหมู่ ถูกหลักอนามัย และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารจานด่วน หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ และระมัดระวังอาหารที่ซื้อหามาจากตลาดและบาทวิถี รวมถึงอาหารที่มีการปนเปื้อนด้วยสารเคมี เช่น บอแรกซ์ สารกันรา เป็นต้น

    [​IMG]

    ควรหลีกเลี่ยงอบายมุขทุกชนิด ทั้งการพนัน เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ซึ่งเป็นตัวทำลายสุขภาพ และทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หอบหืด มะเร็ง สมองเสื่อม เป็นต้น
    3.การนวด การอบ การประคบ กล่าวคือ การนวดเป็นการบำบัดในส่วนของธาตุลมในร่างกาย เช่น ถ้าท้องอืดท้องแน่นการนวดก็จะช่วยได้ หรือการตรากตรำทำงานเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดตามร่างกาย เช่น ปวดคอ ปวดขา บางคนนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เกิดอาการปวดหลัง ปวดต้นคอ สั่งสมนานๆ ก็ทำให้เกิดความเครียดโดยที่ไม่รู้ตัว การนวดก็จะช่วยบำบัดความปวดเมื่อยได้
    การอบ คือการทำให้เหงื่อออก เป็นการระบายของเสียที่เป็นมลพิษในร่างกายออกจากร่างกาย ซึ่งการระบายมลพิษในร่างกายนั้นสามารถทำได้โดยการขับถ่าย การปัสสาวะ แต่ทางด้านกายโดยทั่วไปแล้วคือทางรูขุมขน ซึ่งช่วยระบายเหงื่อออกมาได้ พอระบายเหงื่อออกมาแล้ว ร่างกายก็จะมีสภาพที่เย็นลงเป็นการลดพิษในร่างกาย
    การประคบ คือ การเอาสมุนไพรมาตำพอแหลกแล้วใช้ผ้ามาห่อจากนั้นก็เอาไปนึ่งเสร็จแล้วประคบตามร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อย ขัดยอก ซึ่งการประคบด้วยสมุนไพรนั้น จะช่วยให้รูขุมขนในร่างกายเมื่อถูกความร้อนแล้วจะขยายตัวทำให้ตัวยาซึมเข้าไปในรูขุมขนทำให้หายปวดหายขัดยอกได้
    4.การบริหารร่างกายด้วยท่าฤษีดัดตน ซึ่งการบริหารด้วยท่าฤษีดัดตนนั้นตามหลักแพทย์แผนไทย จะต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกตลอดเวลาในขณะที่ทำท่าต่างๆ ซึ่งนอกจากเป็นการผ่อนคลายจิตใจ และคลายความตรึงของร่างกายแล้วยังเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้ได้สมาธิอีกด้วย
    ข้อนี้จะสอดคล้องกับการออกกำลังกายทั่วไป คนเราจะมีสุขร่างกายที่แข็งแรงนั้นควรจะต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละประมาณ 2030 นาทีอย่างน้อย 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ควรเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัยเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก มีการใช้กล้ามเนื้อกลุ่มใหญ่ๆ อย่างต่อเนื่อง นานเพียงพอ และบ่อยครั้งพอที่จะมีผลกระทบต่อหัวใจ ปอด และระบบการไหลเวียนของเลือด
     

แชร์หน้านี้

Loading...