เตือนใช้ของร่วมกับคนอื่น เสี่ยงติดเชื้ออาหารเป็นพิษ

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย dhamaskidjai, 13 ธันวาคม 2011.

  1. dhamaskidjai

    dhamaskidjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,855
    ค่าพลัง:
    +5,727
    [​IMG]


    เตือนใช้ของร่วมกับคนอื่น เสี่ยงติดเชื้ออาหารเป็นพิษ (ไทยโพสต์)

    ผล วิจัยพบว่า ข้าวของเครื่องใช้ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ คีย์บอร์ดกับเมาส์คอมพิวเตอร์ ผ้าขนหนู รถเข็นช็อปปิ้ง ไปจนถึงเก้าอี้เด็กตามร้านอาหารล้วนมีแบคทีเรีย ดังนั้นการหยิบยืมหรือใช้ของส่วนรวมจึงพึงระวังเชื้อโรคหลายชนิด เช่น เชื้ออาหารเป็นพิษให้ดี

    โดยในงานวิจัยของ London School of Hygiene and Tropical Medicine ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ได้นำโทรศัพท์มือถือ 390 เครื่องมาเช็ดเก็บตัวอย่าง และพบว่าแทบทุกเครื่องมีแบคทีเรีย บางเครื่องมีเชื้อโรคถึง 1,000 ชนิด อาทิ เชื้อที่มีพิษรุนแรงอย่างเอ็มอาร์เอสเอ และอีโคไล ซึ่งทำให้ติดเชื้ออาหารเป็นพิษ

    ทั้งนี้ เชื้อโรคมักแพร่กระจายเพราะการปฏิบัติไม่ถูกหลักอนามัย เช่น ไม่ล้างมือหลังใช้ห้องสุขา ไอจาม อาหารไม่สะอาด และการสัมผัสมือ เมื่อเชื้อโรคอาศัยอยู่บนพื้นผิวต่าง ๆ เช่น พลาสติก ก็จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายวันหรือนานเป็นเดือน ฉะนั้น แพทย์จึงแนะนำให้ระมัดระวังในการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ซึ่งข้าวของในชีวิตประจำวันที่ต้องใช้โดยคำนึงถึงหลักอนามัยมีหลายอย่าง

    คีย์บอร์ดกับเมาส์คอมพิวเตอร์

    ก่อนไปใช้คอมพิวเตอร์ของเพื่อนร่วมงาน พึงสังวรณ์ว่ามันอาจสกปรกยิ่งกว่าโถนั่งชักโครกเสียอีก เพราะกลุ่มผู้บริโภค Which? พบว่า คีย์บอร์ดที่สำนักงานของกลุ่มในกรุงลอนดอนนั้น มีเชื้อโรคมากกว่าที่นั่งส้วมถึง 5 เท่า ส่วนเมาส์คอมพิวเตอร์ก็ไม่แตกต่างกัน นั่นเพราะงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแอริโซนาบอกว่า เมาส์มีจุลินทรีย์ 1,676 ตัวต่อพื้นที่หนึ่งตารางนิ้ว ซึ่งที่นั่งสุขายังมีเพียงเศษเสี้ยวเดียวของจำนวนที่ว่านี้

    รายงานระบุอีกว่า พนักงานออฟฟิศ 10% บอกว่า ตัวเองไม่เคยทำความสะอาดคีย์บอร์ด และ 1 ใน 5 ไม่เคยทำความสะอาดเมาส์เลย ปัญหาก็คือ พนักงานกว่าครึ่งทานมือเที่ยงบนโต๊ะทำงาน ทำให้เศษขนมปังและฝุ่นละอองตกลงไปตามซอกเมาส์ คีย์บอร์ด และเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียชั้นดี ดังที่นักวิจัยได้เช็ดป้ายโต๊ะทำงานและคอมพิวเตอร์ 300 ตัวในอังกฤษ พบว่า สิ่งของเหล่านี้จำนวนมากมีแบคทีเรียหลายชนิด เช่น สเตไฟโลคอคคัส ซึ่งทำให้เกิดเชื้ออาหารเป็นพิษ


    [​IMG]


    ผ้าขนหนู

    บางคนมักใช้ผ้าเช็ดตัวของคนอื่น ๆ ในครอบครัว แต่แพทย์แนะนำว่า เป็นนิสัยที่ควรเลิกเสีย

    "ผ้าเช็ดตัวเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคอย่างดี เพราะมักเปียกชื้น และถูกทิ้งไว้ในห้องน้ำหรือตู้ล็อกเกอร์" ดร.รอน คัตเลอร์ นักจุลชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนบอก

    เมื่อเราใช้ผ้าขนหนูเช็ดตัว เซลล์ผิวหนังบางส่วนจะหลุดติดไปกับผ้า กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ดังนั้น ผ้าเช็ดตัวอาจเป็นพาหะของเชื้อโรคได้ทุกชนิด ตั้งแต่เชื้อหวัด ไปจนถึงไวรัสที่ทำให้เกิดหูด

    "ผ้าเช็ดตัวกับผ้าเช็ดมือไม่ควรใช้ร่วมกัน" ดร.ลิซา แอ็กเคอร์ลีย์ ศาสตราจารย์ด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยซัลฟอร์ดในอังกฤษบอก


    [​IMG]

    อุปกรณ์จ่ายสบู่

    เมื่อต้องการล้างมือในห้องน้ำ เรามักใช้อุปกรณ์จ่ายสบู่ แต่แทนที่จะทำให้มือสะอาดขึ้น เราอาจสกปรกมากขึ้นกว่าเดิม

    เพราะงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแอริโซนา พบว่า อุปกรณ์จ่ายสบู่ราว 1 ใน 4 มีการปนเปื้อนแบคทีเรีย ตามโรงยิมต่าง ๆ มีการปนเปื้อนราว 1 ใน 3 "เมื่อคุณสัมผัสอุปกรณ์จ่ายสบู่ คุณอาจได้รับแบคทีเรียที่คนอื่นทิ้งไว้" ดร.รอน คัตเลอร์ พูด

    "ถ้าคุณล้างมือได้สะอาดหมดจน นั่นก็ไม่เป็นปัญหา แต่เรามักไม่ได้ทำอย่างนั้น บางคนจึงได้รับแบคทีเรียเมื่อแตะต้องอุปกรณ์จ่ายสบู่"


    [​IMG]

    แปรงสีฟัน

    บางครั้ง คนในครอบครัวหรือสามีภรรยาก็ขอยืมแปรงสีฟันกันใช้ แปรงสีฟันอาจดูสะอาด แต่ที่จริงมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ เพราะแปรงสีฟันมักถูกเก็บไว้ในห้องน้ำ ใกล้กับสุขา การกดชักโครกอาจแพร่แบคทีเรียไปในอากาศ แล้วลอยมาติดแปรงสีฟันได้

    งานวิจัยของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์เผยว่า แปรงสีฟันอันหนึ่งอาจมีเชื้อแบคทีเรียกว่า 100 ล้านตัว เช่น อีโคไล สเตไฟโลคอคคัส สเตปโตคอคคัส และแคนดิดา นอกจากอันตรายจากเชื้อโรคแล้ว การยืมแปรงสีฟันของคนอื่นใช้อาจทำให้เจอปัญหาช่องปากตามมาด้วย โดยเฉพาะถ้าเจ้าของมีอาการฟันผุหรือเหงือกอักเสบ คนที่ยืมใช้อาจติดเชื้อเหล่านี้

    ดร.ฟิล สเตมเมอร์ ทันตแพทย์ประจำคลินิกเฟรชเบรธเซ็นเตอร์ บอก "การใช้แปรงสีฟันร่วมกันอาจแย่กว่าการจูบเสียอีก เพราะคุณได้สอดแปรงลึกเข้าไปในปาก และขัดถูที่เหงือก"

    ทั้งนี้ ดร.ฟิล ยังแนะนำว่า ควรเก็บแปรงสีฟันไว้ในตู้ หรือใช้แปรงที่มีครอบปิด


    [​IMG]

    รีโมตคอนโทรล

    เมื่อเข้าพักในโรงแรม ควรทำความสะอาดรีโมตทีวีก่อนใช้

    "รีโมตตามโรงแรมมีคนหยิบจับมากมายในหนึ่งสัปดาห์ อาจมีบางคนแพร่เชื้อโรคทิ้งไว้" พอล มอร์ริส ผู้เชี่ยวชาญด้านอนามัยบอก และกล่าวต่อว่า "พนักงานทำความสะอาดคงไม่ได้ใส่ใจในจุดนี้"

    รีโมตภายในบ้านก็ไม่ได้ดีไปกว่ากัน มิลตัน ผู้ผลิตน้ำยาล้างขวดนมทารก สำรวจพบว่า ผู้คนราว 55% ยอมรับว่าไม่เคยทำความสะอาดรีโมต ดังนั้นควรทำความสะอาดรีโมตเป็นประจำด้วยผ้าเช็ดฆ่าเชื้อโรค


    [​IMG]

    ปากกา

    "ขอยืมปากกาหน่อยครับ" บางคนอาจร้องขอแม้แต่กับคนแปลกหน้า

    แต่ผลสำรวจในสหรัฐพบว่า พนักงาน 1 ใน 5 ยอมรับว่าชอบเอาปากกาอมใส่ปาก ดังนั้นแบคทีเรียจากปากอาจแพร่มายังปากกาได้ โดยจากการสำรวจพนักงาน 1,000 คนในครั้งนี้ ปากกาของนักการบัญชีมีแบคทีเรียมากที่สุด คือ 2,400 ตัว ขณะที่ของทนายความมี 670 ตัว ส่วนปากกาของนางพยาบาลห้องไอซียูกว่า 1 ใน 3 ก็มีแบคทีเรียเช่นกัน


    [​IMG]

    รถเข็นช็อปปิ้ง

    ดูเหมือนไม่มีอันตรายอะไร แต่งานวิจัยในสหรัฐพบว่า ในบางพื้นที่ของประเทศนั้น รถเข็นช็อปปิ้ง 80% มีเชื้ออีโคไล รวมทั้งยังมีเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคท้องร่วงด้วย

    "ไม่น่าแปลกใจเลย" สตีฟ ไรลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อของมิลตัน บอก "บางคนก้าวลงจากรถออกมาสู่อากาศที่หนาวเย็น แล้วจามใส่มือจับของรถเข็น"

    รถเข็นที่เสี่ยงต่อการมีเชื้อโรคที่สุด คือพวกที่ถูกเก็บไว้ในอาคารหรือมีการปกคลุม "รถเข็นที่ถูกใช้งานกลางแจ้งมักไม่มีเชื้อโรค เพราะแสงแดดได้ช่วยฆ่าเชื้อโรคแล้ว" ดร.ลิซา แอ็กเคอร์ลีย์ บอก

    ดังนั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัย ใช้ผ้าเช็ดฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดมือจับของรถเข็นก่อนใช้


    [​IMG]

    เก้าอี้เด็ก

    งานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า เก้าอี้สูงตามร้านอาหารมีแบคทีเรียมากกว่าที่นั่งชักโครกในสุขาสาธารณะเสีย อีก จากการที่ทีมวิจัยได้เช็ดป้ายเก้าอี้สูงในร้านอาหาร 30 แห่งทั่วสหรัฐ พบเชื้ออีโคไล และเชื้อบางชนิดที่ทำให้ปวดท้อง

    นั่น ก็เพราะเก้าอี้สูงมักเปรอะเปื้อนอาหาร สัมผัสกับผ้าอ้อมที่เปียกแฉะ และนิ้วมือของเด็ก ซึ่งอาจไม่สะอาดนัก อีกทั้งระบบภูมิคุ้มกันของเด็กมีความแข็งแกร่งน้อยกว่าของผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าเด็กติดเชื้อ อาการอาจย่ำแย่กว่า เช่นนั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัย ก่อนให้ลูกหลานนั่งเก้าอี้สูงตามร้านอาหาร ควรเช็ดด้วยผ้าฆ่าเชื้อโรค



     

แชร์หน้านี้

Loading...