เรื่องเด่น เตือนถ้าโลกยังไม่หยุดร้อนกัมมันตรังสีจากปรมาณูในอดีตจะกลับมา

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 5 ตุลาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b989e0b8b2e0b982e0b8a5e0b881e0b8a2e0b8b1e0b887e0b984e0b8a1e0b988e0b8abe0b8a2e0b8b8e0b894e0b8a3.jpg
    เตือนถ้าโลกยังไม่หยุดร้อนกัมมันตรังสีจากปรมาณูในอดีตจะกลับมา


    ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น ชั้นดินเยือกแข็งที่ขั้วโลกจะยิ่งละลาย ปลดปล่อยกากนิวเคลียร์สมัยสงครามเย็นที่อยู่ข้างใต้ซึ่งอันตรายกับมนุษย์สู่ชั้นบรรยากาศ

    ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Aberystwyth University ในเวลส์เตือนว่า ราว 2 ใน 3 ของชั้นดินเยือกแข็ง หรือ Permafrost ในแถบขั้วโลกเหนืออาจละลายหายไปภายในปี 2100 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยพื้นที่แถบดังกล่าวร้อนขึ้นกว่า 3 เท่าของอัตราเฉลี่ยทั่วโลก

    และเมื่อชั้นดินเยือกแข็งเหล่านี้ละลายจากภาวะโลกร้อน กัมมันตรังสีและขยะนิวเคลียร์จากการทดสอบระเบิดปรมาณูในช่วงสงครามเย็น รวมทั้งเชื้อโรคร้ายในอดีตที่ถูกแช่แข็งอยู่ข้างใต้ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์จะถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศและสภาพแวดล้อม

    นักวิทยาศาสตร์เน้นที่อาวุธนิวเคลียร์ 130 ชิ้นที่ทดสอบในชั้นบรรยากาศโดยสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1995-1990 ซึ่งทิ้งสารกัมมันตรังสีไว้ในระดับสูง

    นอกจากขยะนิวเคลียร์ ยังมีจุลินทรีย์อีกนับไม่ถ้วนที่ถูกแช่แข็งอยู่ใต้ชั้นดินเยือกแข็ง และเมื่อชั้นดินเยือกแข็งละลายก็มีโอกาสที่แบคทีเรียเหล่านี้จะออกมาปะปนกับหิมะหรือน้ำแข็งที่ละลาย ก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ดื้อยา

    ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Climate Change ระบุว่า พบจุลินทรีย์ที่ถูกแช่แข็งอยู่ในชั้นดินเยือกแข็งกว่า 100 ชนิดที่ดื้อยา

    หากขยะนิวเคลียร์ถูกปลดปล่อยออกมาอาจเป็นอันตรายกับมนุษย์และสัตว์ เช่นเดียวกับไวรัสและแบคทีเรียโบราณอาจเป็นภัยคุกคามสังคม

    ข้อมูลของ Observer Research Foundation ระบุว่า เมื่อปี 2016 การละลายของชั้นดินเยือกแข็งในไซบีเรียทำให้ซากกวางเรนเดียร์ที่ติดเชื้อแอนแทร็กซ์อายุกว่า 70 ปี โผล่ขึ้นมา ส่งผลให้เชื้อไปติดเด็กชายในหมูบ้านเสียชีวิต 1 ราย และเจ็บป่วยอีกหลายราย

    ทั้งนี้ ชั้นดินเยือกแข็งครอบคลุมพื้นที่ราว 9 ล้านตารางไมล์ของแถบอาร์กติก โดยส่วนใหญ่มีอายุราว 1 ล้านปี และยิ่งอยู่ลึกลงไปก็ยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่านั้น

    อาร์วิน เอ็ดเวิร์ดส์ หนึ่งในทีมวิจัยเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและนิเวศวิทยาของอาร์กติกจะส่งผลต่อทุกส่วนของโลกเนื่องจากจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ชั้นบรรยากาศและทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

    เอกสารแถลงข่าวของทีมวิจัยระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลรัสเซียจะมีโครงการทำความสะอาดกัมมันตรังสีและขยะนิวเคลียร์ดังกล่าว แต่การตรวจสอบในแถบอาร์กติกพบซีเซียมและพลูโตเนียมในระดับสูงระหว่างตะกอนดินใต้ทะเล พืชผัก และแผ่นน้ำแข็ง

    นอกจากรัสเซีย สหรัฐก็มีส่วนก่อให้เกิดขยะนิวเคลียร์ในชั้นดินเยือกแข็งจากการตั้งศูนย์วิจัยพลังงานนิวเคลียร์ Camp Century ในกรีนแลนด์ซึ่งปลดประจำการในปี 1967

    AFP PHOTO / Greg BAKER



    ขอบคุณที่มา

    https://www.posttoday.com/world/664847
     

แชร์หน้านี้

Loading...