เจ้าฟ้านักพัฒนา ผู้เปี่ยมด้วยพระเมตตา

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    [​IMG]สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระเมตตาต่อผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในท้องถิ่นทุรกันดาร โดย เฉพาะเด็กที่ต้องเผชิญกับปัญหาทุพโภชนาการ การเจ็บป่วย และการขาดโอกาสทางการศึกษา ด้วยทรงตระหนักว่าหากเด็กเหล่านั้นได้มีโอกาสเติบโต และมีพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ จะเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ชุมชน และประเทศ นอกจากนี้ ทรงเข้าพระทัยเป็นอย่างดีถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลเหล่านั้นที่ควรได้รับในเรื่องอาหาร โภชนาการ สุขภาพ การศึกษา และโอกาสในการร่วมพัฒนา จึงทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญาอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย เพื่อให้เกิดสัมฤทธิผลอันเป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยทรงริเริ่มและติดตาม ผลการดำเนินงานของโครงการพัฒนาต่างๆ ภายในประเทศอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานานหลายสิบปี จนเกิดความมั่นใจในประโยชน์และความยั่งยืน จึงทรงขยายโครงการไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ผลงานต่างๆอันเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ และยอมรับทั้งในประเทศและนานาชาติ
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ได้ทรงเรียนรู้ปัญหาทุพโภชนาการและการเจ็บป่วยของเด็กตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จากการที่ได้ทรงมีโอกาสตามเสด็จฯ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ทรงทราบถึงปัญหาการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย ปัญหา โรคที่เกิดจากการขาดวิตามินและเกลือ แร่ต่างๆ ที่พบได้ทั่วไปในประเทศ จากประสบการณ์ดังกล่าว พระองค์จึงได้ เริ่มโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่อเป็นการนำร่องในการขจัดปัญหาทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน โดยเริ่มที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งต่อมาโครงการดังกล่าวได้ ขยายผลไปยังโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ และในโรงเรียนต่างๆ อีกใน 44 จังหวัดในถิ่นยากไร้ ห่างไกลและทุรกันดาร
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันได้มีการวิวัฒนาการเป็นลำดับ จนบัดนี้ถือว่าเป็นโครงการ บูรณาการที่สมบูรณ์แบบเชื่อมโยง “การเกษตร อาหาร โภชนาการ สุขภาพ การศึกษา และการพัฒนา” เพื่อให้เด็กมีโอกาสได้รับอาหารพอเพียงตามที่ร่างกายต้องการ มีภาวะโภชนาการและสุขภาพดี เรียนรู้จากชั้นเรียนและประสบการณ์ตรงจากการปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ ปลา และสัตว์ เล็กอื่นๆ เรียนรู้เรื่องสหกรณ์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนวิชาชีพพื้นฐาน ทั้งนี้ ได้ทรงสนับสนุนโครงการเหล่านี้จากทุนทรัพย์ส่วนพระองค์และทุนที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย และทรงติดตามเยี่ยมเยียน ชี้แนะ และให้การสนับสนุนด้านต่างๆอย่างสม่ำเสมอด้วยพระวิริยะอุตสาหะ โดยมิได้ทรงคำนึงถึงความเหนื่อยยาก โครงการดังกล่าวยังช่วยให้เด็กด้อยโอกาส จำนวนมากได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษา และสามารถกลับมาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
    [​IMG]นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงจัดทำโครงการ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ เพื่อปรับปรุงภาวะโภชนาการและสุขภาพของแม่และเด็กในชนบทห่างไกล และทุรกันดารที่การบริการสาธารณสุขแบบประจำเข้าไม่ถึง เพื่อให้แม่ได้รับบริการการฝากครรภ์ มีการคลอดอย่างปลอดภัย และเด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม โดยทรงเน้นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ เอกชน ตลอดจนชุมชน เพื่อให้ร่วมกันรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาอาหารและทุพโภชนาการสัมฤทธิผล ของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันที่ได้ทรงริเริ่มขึ้น ซึ่งปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรม ได้แก่การที่ภาวะโภชนาการของเด็กในโรงเรียนดีขึ้นเป็นลำดับ โดยจำนวนเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือเตี้ยแคระแกร็นลดลงจากร้อยละ 20-30 เหลือเพียงต่ำกว่าร้อยละ 5-10 นอกจากนี้ ในบางโรงเรียนปัญหาทุพโภชนาการได้หมดไป โดยเฉพาะปัญหาคอพอกจากการขาดไอโอดีน ผลพลอยได้อีกประการหนึ่งคือเด็กนักเรียนมีพลานามัยดีขึ้น มีความรู้ด้านการเกษตร รู้จักรักษาสุขอนามัยของตนเองและท้องถิ่น
    ทั้งนี้ พระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว มิได้จำกัดเฉพาะในเด็กชนบทเท่านั้น แต่ยังทรงมีพระราชดำริ ที่จะดำเนินโครงการลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ในกรุงเทพมหานครด้วย โดยรูปแบบเนื้อหาของโครงการมีการปรับปรุงและพัฒนา ให้เหมาะสมกับโรงเรียนในเขตเมือง แต่เป้าหมายยังคงเดิมคือให้มีการปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนให้ดีขึ้น ป้องกันทั้งภาวะโภชนาการขาดและภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งรวมถึงโรคอ้วน นอกจากนี้ ยังคงเน้นด้านการเรียนรู้เรื่องการเกษตร อาหาร โภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร ตลอดจนการจัดบริการอาหารในโรงเรียน การออกกำลังกาย รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    [​IMG]พระเมตตา และพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มิได้มีเฉพาะในประเทศเท่านั้น แต่ยังได้แผ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ที่ประสบปัญหาอาหารและโภชนาการที่รุนแรงกว่า โดยเมื่อ พ.ศ. 2533 ได้พระราชทานโครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมอาหาร และโภชนาการของโรงเรียนเด็กกำพร้า แขวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โครงการนี้ดำเนินงานในลักษณะบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาโภชนาการ การเจ็บป่วยในเด็ก โดยมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ สุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงปลาและสัตว์เล็ก ปลูกผักสวนครัวเพื่อเป็นวัตถุดิบนำมาประกอบเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การปรับปรุงโรงครัวและห้องรับประทานอาหาร การประเมินภาวะโภชนาการและการดูแลสุขภาพ โดยคณะครู นักเรียน และหน่วยงานของรัฐได้เป็นกำลังสำคัญ ในการดำเนินงานจนภาวะโภชนาการและสุขภาพที่ดีขึ้น และส่งผลต่อเนื่องให้การเรียนของเด็กอยู่ในระดับที่ดีขึ้นมากเป็นที่พอใจของทุกๆฝ่าย
    ความสำเร็จดังกล่าวทำให้มีการขยายโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพื่อปรับปรุงภาวะโภชนาการในเด็ก และการเรียนรู้ไปสู่โรงเรียนอีก 7 แห่ง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และไปยังโรงเรียนในประเทศกัมพูชา เวียดนาม ประเทศละ 2-3 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาเด็กโดยเน้นการศึกษา อาหาร และโภชนาการในโรงเรียนที่ประเทศพม่า และได้พระราชทาน โรงเรียนต้นแบบให้กับประเทศกัมพูชา ในเรื่องการเรียนการสอนและพัฒนาเด็ก อีกทั้งเมื่อเร็วๆนี้ พระองค์ได้ทรงสนับสนุนให้คณะผู้บริหารระดับสูงจากประเทศมองโกเลีย มาศึกษาดูงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันที่ประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินโครงการอาหารและโภชนาการในโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งครอบคลุมถึงการผลิตและถนอมอาหารในโรงเรียน การจัดบริการให้อาหารแก่เด็กนักเรียน โภชนศึกษาและการประเมินภาวะโภชนาการ
    [​IMG][​IMG]ในการดำเนินโครงการตามพระราชดำริทุกโครงการ พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทรงเน้นการพัฒนากำลังคน จัดฝึกอบรมแก่ครูและผู้บริหารโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ ทั้งในประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ ยังทรงเน้นให้มีการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    ผลงานต่างๆที่พระองค์ได้ทรงดำเนินงานมาหลายสิบปี ได้พิสูจน์จนเป็นที่ประจักษ์ว่าทรงเป็น เจ้าฟ้านักโภชนาการและนักพัฒนา ที่มีสายพระเนตรอันกว้างไกล ดังที่มีกระแสพระราช ดำรัสในการบรรยายเรื่อง “งานโภชนาการในอนาคต : ระดับประเทศและนานาชาติ” ณ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2545 ว่า “นักโภชนาการก็ต้องสนใจศึกษาการปฏิบัติงานโภชนาการระดับนานาชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ช่วยเกื้อหนุนการปฏิบัติงานในประเทศให้ดีขึ้น... การที่นำความรู้ไปช่วยที่อื่นก็ช่วยให้ชาวโลกอยู่ดีกินดีขึ้น และเมื่อได้พบคนอื่นที่มีความรู้ มีประสบการณ์ ก็จะได้นำความรู้ ประสบการณ์ นานาชาตินั้น มาช่วยแก้ปัญหาในบ้านเราได้ รวมทั้งถ้าสร้างความ ประทับใจให้แก่คนอื่นได้ด้วย ก็อาจได้งบประมาณ ได้เงินมาเสริมงบประมาณของประเทศเราที่มีอยู่น้อย”
    ผลที่เกิดจากพระเมตตา พระกรุณา และความมุ่งมั่นที่ทรงต้องการพระราชทานความช่วยเหลือ แก่เด็กผู้ด้อยโอกาสที่อยู่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร ในด้านเกษตร อาหาร โภชนาการ และการพัฒนา เป็นที่ชื่นชมและเชิดชูอย่างกว้างขวางในระดับชาติ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระดับนานาชาติ ทำให้ ทรงได้รับการถวายรางวัลอันทรงเกียรติระดับนานาชาติมากมาย อาทิ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ จากประเทศฟิลิปปินส์ในปี 2534 รางวัลเหรียญซีเรส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้านอาหารและโภชนาการดีเด่น ในวันอาหารโลก พ.ศ.2535 จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟ เอ โอ) รางวัลอินทิรา คานธี สาขาสันติภาพ การลดอาวุธ และการพัฒนา ในปี 2547 จากประเทศอินเดีย (พิธีทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลได้จัดให้มีขึ้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2548) นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2547 โครงการอาหารโลก (World Food Program) ได้ขอพระราชานุญาตถวายตำแหน่ง “อัครราชทูตพิเศษของโครงการอาหารโลกด้านอาหารโรงเรียน” และเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 พระองค์[​IMG]ทรงได้รับการถวายตำแหน่ง “ทูตสันถวไมตรีแห่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ด้านการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กชนกลุ่มน้อยด้วยการศึกษา และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม จากองค์การยูเนสโก จากการที่พระองค์ทรงงานด้วยพระวิริยะอุตสาหะ จนทำให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
    พระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในด้านคุณภาพชีวิตที่เกิดจากพระเมตตา และกรุณามิได้จำกัดเฉพาะในเด็กและพสกนิกรชาวไทยเท่านั้น แต่ยังได้แผ่ไปยังเด็กด้อยโอกาสในประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย จนเป็นที่ประจักษ์และเชิดชูทั้งในระดับชาติและนานาชาติ พระเกียรติยศเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญอย่างแพร่หลาย เป็นที่ซาบซึ้งของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีพระเมตตาอย่างล้นพ้นต่อผู้ด้อยโอกาส โดยทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญาด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ประกอบกับประสบการณ์ที่ได้ทรงสั่งสมตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้ทรงสามารถแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทรงใช้การพัฒนาในรูปแบบบูรณาการได้อย่างสมบูรณ์ โดยครอบคลุมงานด้านเกษตร อาหาร โภชนาการ สุขภาพ การค้นคว้าเรียนรู้และการพัฒนา ทั้งนี้ ทรงมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคนให้มีภาวะโภชนาการที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาด้านอื่นๆต่อไป
    เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 52 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน ศกนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานพระราชานุญาต ถวายพระพร ขอพระองค์ทรงมีพระสุขภาวะที่แข็งแรง มีพระราชประสงค์จำนงหมายสิ่งใด ขอจงสัมฤทธิผลทุกประการ
    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
    ข้าพระพุทธเจ้า ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์
    ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
    ------------------------------------------------------------------------------
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="780"><tbody><tr><td width="300">
    [​IMG]
    </td> <td width="519"> <iframe id="a7c92ede" name="a7c92ede" src="http://203.150.225.168/thairathads/adframe.php?n=a7c92ede&what=zone:19" framespacing="0" frameborder="no" height="60" scrolling="no" width="468">&lt;a href='http://203.150.225.168/thairathads/adclick.php?n=a7c92ede' target='_blank'&gt;&lt;img src='http://203.150.225.168/thairathads/adview.php?what=zone:19&amp;amp;n=a7c92ede' border='0' alt=''&gt;&lt;/a&gt;</iframe> <!--a href="http://www.thairath.co.th/ads.php" target="_blank">[​IMG]</a--></td> </tr> <tr> <td>
    ปีที่ 58 ฉบับที่ 17968 วันจันทร์ ที่ 2 เมษายน 2550​
    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...