เรื่องเด่น อริยสัจจากพระโอษฐ์ ตอน ผู้ไม่รู้อริยสัจ ชื่อว่าตกอยู่ในที่มืด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 16 กันยายน 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ตอน ผู้ไม่รู้อริยสัจ ชื่อว่าตกอยู่ในที่มืด

    buddha-พลังจิต.jpg



    ภิกษุ ท. ! บุคคลเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตาม ไม่รู้ อยู่ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือ

    ๑. คือพระโสดาบัน ที่ต้องมีกำเนิดอีก ๗ ชาติ อันเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้นที่สุดของจำพวกโสดาบัน. แม้กระนั้น ก็ตรัสว่า ทุกข์หมดไปมากกว่าที่ยังเหลือ.ของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้, เขาเหล่านั้น ย่อมยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่งที่เป็นไปพร้อมเพื่อความเกิดเป็นต้น, เขายินดีแล้ว ก็ สร้างปัจจัยนั้น ๆ, ครั้นก่อสร้างแล้ว ก็ ตกจมลงสู่ห้วงแห่งความมืดอันกระทำให้เป็นเหมือนตาบอด ได้แก่ความมืด คือความเกิดความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับใจ. ภิกษุ ท. ! บุคคลเหล่านั้น เรากล่าวว่า เขาไม่พ้นไปจากทุกข์ คือความเกิดเป็นต้น ไปได้เลย.
    ภิกษุ ท. ! ส่วนบุคคลเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตามเมื่อรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์. นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”, ดังนี้ ; บุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง ที่เป็นไปพร้อมเพื่อความเกิดเป็นต้น, เขาผู้ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ก่อสร้างปัจจัยนั้น ๆ ขึ้น (เพื่อตัวเอง), ครั้นไม่ก่อสร้างแล้ว ก็ไม่ตกจมลงสู่ห้วงแห่งความมืด อันกระทำให้เป็นเหมือนตาบอด ได้แก่ความมืดคือความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ. ภิกษุ ท. ! เรา กล่าวว่า เขาพ้นไปจากทุกข์ คือความเกิดเป็นต้นไปได้ ดังนี้.
    ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้.” ดังนี้.

    ที่มา - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๗/๑๗๔๑-๑๗๔๒.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กันยายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...