สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวกอย่างไร...จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย aprin, 3 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วิสัชนา ขอเจริญพรสาธุชนผู้สนใจในธรรมและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก่อนอื่นอาตมาขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมกันแสดงความเคารพ โดยการตั้งจิตสักการบูชาถึงปฏิปทาของหลวงตามหาบัว พระมหาเถระในพระพุทธศาสนา พระอริยสงฆ์ ผู้ดำรงไว้ซึ่งสมณะสารูปอันถูกต้อง และเพียบพร้อมด้วยวิสุทธิธรรม ดุจเป็นเพชรเม็ดงามที่เกิดขึ้นท่ามกลางรัตนะชาติทั้งหลาย... นั้นหมายถึง ความเป็นพระสุปฏิปันโน ท่ามกลางมหาสังฆิกะในแผ่นดินไทย ซึ่งคงจะไม่มีใครๆ ที่จะกล้าคิดปฏิเสธว่า มิใช่ หรือไม่จริง หากดำรงสติมั่นคง และมีปัญญาธรรม ซึ่งก่อเกิดขึ้นด้วยสัมมาทิฏฐิที่แท้จริง...

    เมื่อสมัยที่หลวงตามาที่เชียงใหม่ เพื่อพบปะกับสหธรรมิกของท่าน ซึ่งละสังขารไปก่อนหน้าท่านแล้ว คือ หลวงปู่จันทร์ กุสโล หรือพระพุทธพจนวราภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อาตมาก็พอจะได้เห็นปฏิปทา หรือจริยาวัตรอันงดงามของหลวงตามาบ้าง แม้จะไม่ใช่ศิษย์สายตรงของหลวงตา ซึ่งนำมาซึ่งความศรัทธาในองค์หลวงตา โดยเฉพาะความเป็นผู้มีความเมตตากรุณาต่อแผ่นดินไทย อันหมายถึง แด่สรรพสัตว์ทั้งหลายบนผืนแผ่นดินแห่งนี้ ด้วยอุบายวิธีที่มีเจตนาเพื่อเกื้อกูลโลกด้วยธรรม ซึ่งชาวไทยคงจะรู้จักกันดีในชื่อ โครงการทอดผ้าป่าช่วยชาติ

    ด้วยปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส ด้วยความเป็นพระป่าขนานแท้ สืบนิสัยโดยตรงจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ อดีตแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรมฝ่ายอรัญญวาสี จึงทำให้ศรัทธาสาธุชนชาวไทยจำนวนมากทั่วประเทศร่วมใจกันบริจาค/ถวายปัจจัยเพื่อร่วม โครงการทอดผ้าป่าช่วยชาติ จนสามารถทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงในเสถียรภาพทางการคลังมากขึ้น เพราะทองคำที่ศรัทธาสาธุชนน้อมถวายหลวงตาฯ ซึ่งได้มอบให้เป็นทุนสำรองในคลังแห่งแผ่นดิน ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มแสดงให้เห็นคุณค่า เมื่อประเทศมีภาระไม่เสถียรภาพในด้านความมั่นคงของเศรษฐกิจเท่าที่ควร...

    ประการสำคัญในคูณานุปการที่หลวงตาได้แสดงไว้อย่างประจักษ์แจ้ง คือ การปกป้องรักษาพระพุทธศาสนาไว้อย่างเข้มแข็งมั่นคงในฐานะกุลบุตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่แท้จริง... จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวไทยร่วมกันถวายความเคารพบูชาสรีระร่างและคุณธรรมของหลวงตา เพื่อประโยชน์แห่งสาธุชนทั้งหลายเถิด ในวันที่ ๓ มี.ค.นี้ อาตมาและคณะศิษย์ศรัทธา วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย จะเดินทางไปร่วมกราบขอขมากรรมและบำเพ็ญกุศล เพื่อบูชาพระคุณของหลวงตา ณ วัดป่าบ้านตาด สาธุชนผู้ศรัทธาท่านใดจะเดินทางไปร่วมก็ยินดียิ่ง

    http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใ...ธาตุสาวกอย่างไร-จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง-ตอน-๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2011
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวก อย่างไร...จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง

    เรื่องการจัดบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระสาวก ว่า จะทำอย่างไรให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนในพระพุทธศาสนา และควรสวดบูชาสักการะด้วยบทพระคาถาใด จึงจะถูกต้องนั้น... ซึ่งได้มีการจัดให้สาธุชนผู้มีศรัทธาได้ไปร่วมสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุอริยสงฆ์ ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา งานดังกล่าวกำกับดูแลโดย สถาบันพระปกเกล้า ใช้ชื่อว่า “๙ วัน มหาบูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตสาวก และพระคัมภีร์ธรรม ตามโครงการ ประกอบการกุศลกรรมหมู่ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส ๘๔ พรรษา” ทั้งนี้ ได้มีการอาราธนานิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ มาเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อฉลองสมโภชสักการบูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ เนื่องในเทศกาลมาฆบูชาโดย...

    ในวันที่ ๑ ก.พ. ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐๑๖.๐๐ น.คณะสงฆ์จากวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เจริญพระพุทธมนต์ และมีองค์ธรรมเทศนา จากวัดพระราม ๙
    ในวันที่ ๒ ก.พ. ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐๑๖.๐๐ น. คณะสงฆ์จากวัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี เจริญพระพุทธมนต์ และมีองค์ธรรมเทศนา จากวัดชลประทานฯ

    ในวันที่ ๓ ก.พ. ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐๑๖.๐๐ น.คณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และแสดงพระธรรมเทศนาโดย ท่านมิตซูโอะ คเวสโก

    ในวันที่ ๔ ก.พ. ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐๑๖.๐๐ น. คณะสงฆ์จากวัดระฆังโฆสิตาราม เจริญพระพุทธมนต์ และแสดงพระธรรมเทศนาโดย พระเดชพระคุณ พระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังฯหยุดวันเสาร์อาทิตย์ ๕๖ ก.พ. ๒๕๕๔

    ในวันที่ ๗ ก.พ. ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐๑๖.๐๐ น. เจริญพระพุทธมนต์โดย วัดราชผาติการาม และแสดงพระธรรมเทศนาโดย พระเดชพระคุณ พระเทพโมลี เจ้าคณะแขวงดุสิตฯ

    ในวันที่ ๘ ก.พ. ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐๑๖.๐๐ น.คณะสงฆ์วัดพระศรีมหาธาตุ เจริญพระพุทธมนต์ และแสดงพระธรรมเทศนาโดย องค์ธรรมจากวัดพระศรีมหาธาตุ(เปลี่ยนแปลงได้/ยังไม่แน่นอน) และในวันที่ ๙ ก.พ. ๒๕๕๔ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐๑๔.๐๐ น. คณะสงฆ์จากวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย เจริญพระพุทธมนต์

    ในระหว่างเวลา ๐๘.๐๐๑๖.๐๐ น. เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาสักการบูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุฯ เพื่อความเป็นศุภมงคลแห่งชีวิต ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงานโดยพร้อมเพรียงกันและในระหว่างเวลา ๑๔.๐๐๑๖.๐๐ น. เชิญร่วมฟังบรรยายธรรมในเรื่อง “การสืบอายุพระพุทธศาสนาและการร่วมกันทำกุศลกรรมหมู่” โดยพระอาจารย์อารยะวังโส/เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) ศาสตราจารย์ ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ดำเนินการเสวนาธรรม โดย ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

    http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใ...าตุสาวก-อย่างไร-จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง-ตอน-๒
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวกอย่างไร จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง (ตอน ๓)

    วิสัชนา : จากคำถามดังกล่าว ที่ว่า จะทำการสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุอย่างไร ให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนในศาสนพิธีนั้น... และที่สำคัญ จะใช้บทสวดบทใดกล่าวบูชานั้น ก็คงจะเข้าใจไม่ยาก เมื่อพิจารณาดูแบบแผนของการจัดงานสักการบูชาทั้ง ๙ วัน จะเห็นว่ามีการเจริญพระพุทธมนต์และมีองค์ธรรมบรรยาย เพื่อนำไปสู่การเคารพบูชาพระรัตนตรัย ซึ่งถือว่าถูกต้องอยู่แล้วในแบบแผนของการจัดงานมงคลฉลองสมโภช โดยพระสงฆ์ท่านคงเตรียมพร้อมเจริญพระพุทธมนต์ตามบทสวดเจ็ดตำนาน หรือสิบสองตำนานอยู่แล้ว ส่วนจะมีบทสวดพิเศษหรือไม่ เช่น บทสวดจากพระสูตรที่สำคัญๆ ก็เป็นเรื่องของความเห็นชอบในสงฆ์แต่ละคณะที่ถือปฏิบัติกันไป แต่หากเจ้าภาพต้องการฟังบทสวดจากพระสูตรบทใดเป็นสำคัญ เช่น พระธัมมจักฯ พระอนันตลักขณสูตร หรือพระอาทิตตปริยายสูตร ฯลฯ ก็สามารถอาราธนาคณะสงฆ์เป็นเฉพาะได้ ตามประสงค์ แต่ควรแจ้งก่อนล่วงหน้า เพื่อพระสงฆ์จะได้เตรียมพร้อม

    ในส่วนสำหรับการบรรยายธรรม หรือการแสดงพระธรรมเทศนานั้น จะขอฟังพระธรรมเป็นเฉพาะเรื่องก็ได้ แต่ควรจะนำเรียนพระสงฆ์ผู้แสดงธรรมที่รับนิมนต์ เพื่อทราบก่อนล่วงหน้า ท่านจะได้เตรียมความรู้มาให้พร้อม หรือจะเป็นไปโดยธรรม คือ แล้วแต่ท่านผู้แสดงธรรมจะเมตตาก็ได้

    การจัดให้มีการสวดมนต์หรือเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมทั้งมีการแสดงพระธรรมเทศนาควบคู่กันไปนั้นได้ว่าเป็นประเพณีนิยมในพุทธศาสนา ทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล ส่วนจะสวดบทใด จะแสดงธรรมเรื่องอะไร พระสงฆ์คงจะรู้ฐานะ รู้กาละ ของท่านอยู่แล้ว

    หากจะกลับมาถามว่า แล้วศรัทธาสาธุชนจะควรสวดบทใดบูชานั้น หรือควรจะปฏิบัติอย่างไร เพื่อการสักการบูชาที่ถูกต้อง ก็คงจะตอบแบบง่ายๆ เข้าใจไม่ยาก เพื่อการถือปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้คงจะต้องให้ความสำคัญในส่วนแรก คือ เรื่องสถานที่อันเหมาะควร นั้นหมายถึง การจัดเสนาสนะอันเหมาะควรแก่รองรับการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งควรจัดวางบนแท่นบูชาที่สูงพอเหมาะ ดุจดังเช่นเดียวกับการจัดวางพระพุทธรูปไว้บนแท่นประธานของโต๊ะหมู่บูชา โดยควรมีการจัดพานรองรับสถูปแก้วที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอาจจะแวดล้อมไปด้วยดอกไม้ทั้ง ๖ สี เพื่อเปรียบดุจพระฉัพพรรณรังสีของพระพุทธองค์ และสำหรับพระธาตุสาวกนั้น ให้จัดวางในลำดับที่ลดต่ำลงมาตามกำลังของคุณธรรม เช่น พระอรหันตสาวก ย่อมต้องจัดวางไว้สูงกว่า พระธาตุของพระอนาคามี

    พระอนาคามีธาตุ ย่อมวางสูงกว่า พระสกิทาคามีธาตุ,และพระสกิทาคามีธาตุ ย่อมจัดวางไว้สูงกว่า พระโสดาบันธาตุ... ซึ่งควรจัดบรรจุใส่สถูปแก้วเล็กๆ ลดหลั่นกันลงไป เพื่อเหมาะสมต่อการสักการบูชา ตามจริยประเพณี

    อ่านต่อฉบับหน้า

    http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/ธรรมส่องโลก/73187/สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวกอย่างไร-จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง-ตอน-๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2011
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวก อย่างไร...จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง (ตอน ๔)

    วิสัชนา : สำหรับบทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุอริยสงฆ์นั้น ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกไปจากธรรมเนียมของการสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยตามปกติ โดยมีการถือปฏิบัติกันในเบื้องต้นดังนี้ คือ

    ๑.บูชาด้วยเครื่องสักการบูชา อันได้แก่ ดอกไม้ ธูปเทียน และของหอม ที่เรียกว่า อามิสบูชา

    ๒.กราบสักการบูชาให้ถูกต้อง และกล่าวสวดบูชาสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ที่เรียกว่า สวดอิติปิโสธงชัย และสามารถสวดบทพาหุงฯ ๘ จบ ที่เรียกว่า บทสวดชัยมงคลคาถา ต่อเนื่องจนจบก็ได้

    ๓.สวดสักการบูชา พระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ

    ๔.จบแล้ว กระทำการสักการบูชา ขอขมาพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดขอขมากรรม

    ๕.แผ่เมตตาและอุทิศบุญกุศล แด่สรรพสัตว์ทั้งหลายน้อยใหญ่ เป็นอันเสร็จพิธี
    ในสรุปท้ายวิสัชนาครั้งนี้ จึงขอนำตัวอย่างบทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวกแด่สาธุชน เพื่อจะได้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุฯ

    ๑.นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓ จบ)

    ๒.สวดบทอิติปิโสธงชัย

    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู

    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๓.สวดคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

    อะหัง วันทามิ ธาตุโย
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุทั้งหลาย ที่สถิตอยู่ในจักรวาลทั้งหลาย ทั้งพรหมโลกและดาวดึงส์ ตลอดจนถึงในนครบาดาลของเหล่านาคราช

    อะหัง วันทามิ สัพพะโส

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธาตุของพระอริยสงฆ์เจ้า

    ผู้ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอวัง ธาตุโย จัตตารีสะ สะมาทันตาเกสา โลมา นะขา ขีจะ อะหัง วันทามิ ธาตุโย อิติปิโส วิเสเสอิอิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิอะหัง วันทามิ สารีกะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

    http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/ธรรมส่องโลก/73406/สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวก-อย่างไร-จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง-ตอน-๔
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุสาวกอย่างไร... จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง (จบ)

    ๔.สวดบทขอขมากรรมพระรัตนตรัยหรืออาจจะใช้บทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวก ของท่านพ่อลี วัดอโศการามฯ ก็ย่อมได้

    โดยไหว้พระแล้วต้องตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วจึงสวดบูชา ด้วยพระคาถาดังต่อไปนี้
    อุกาสะ ทะวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    วันทามิ ภันเต เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะฐาเน สุปะติฎฐิตัง สารีรังคะธาตุง
    มหาโพธิง พุทธะรูปัง สักการัตถัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

    อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คะโต สะมิหันตา ภินนะมุตตา

    จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา ขุททะกา สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพะฐาเน อาคัจฉันตุ สีเส เม ปะตันตุ

    อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ
    ตะโจ พระพุทธเจ้าจงมาเป็นหนัง
    มังสัง พระธรรมเจ้าจงมาเป็นเนื้อ
    อัฎฐิ พระสังฆเจ้าจงมาเป็นกระดูก

    พุทธบูชา มหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มะหัปปัญโญ สังฆะบูชา มหาโภคะวะโห
    พุทธังชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมังชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆังชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ ธัมโม สังโฆ สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชัยยะมังคะลัง

    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง พุทธะ ธัมมะ สังฆะ สะมังนัตถิ ตัสมาโสตถี ภะวันตุ เม

    ปริสุทโธ อะหัง ภันเต ปริสุทโธ ติมัง พุทโธ ธัมโม สังโฆ ธาเรตุ
    สัพเพสัตตา อะเวราโหนตุ อัพยาปัชฌาโหนตุ อะนีฆาโหนตุ สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ

    สัพเพ สัตตา สะทาโหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต

    เมื่อสวดบทดังกล่าวจบ ท่านพ่อลี สอนว่า ให้นั่งสมาธิจนสงบจิต หากอธิษฐานขอพระบรมสารีริกธาตุเสด็จ ก็พึงสำเร็จตามประสงค์

    เครื่องบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุสาวก ก็ให้ใช้ ดอกมะลิ ดอกพิกุล และธูปอินเดีย

    ถ้าอย่างไรก็ให้นำไปปฏิบัติในการสวดสักการบูชา แบบไหนก็ประเสริฐ เป็นมงคลทั้งนั้น หากจิตของเราประเสริฐ

    ขอเจริญพร

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุสาวกอย่างไร... จึงจะเป็นมงคลและถ
     
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรมขับเคลื่อนกงล้อ อายุพระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชาปี’๕๔

    สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรมขับเคลื่อนกงล้อ อายุพระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชาปี’๕๔(ตอน๑)

    วิสัชนา : ขอเจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เนื่องในโอกาสกาลสำคัญ “วันมาฆบูชา” ที่จะมาถึงแล้วนี้ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๘ ก.พ. พ.ศ. ๒๕๕๔ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายคงจะได้กระทำพิธีสักการบูชาเนื่องในวันมาฆบูชาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นพุทธศาสนานิกายใดก็ตาม ทั้งนี้เพราะความหมายแห่งธรรมในวันมาฆบูชา ที่เรียกว่า “พระโอวาทปาฏิโมกข์” เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหลักธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานการสั่งสอนแด่พระสงฆ์สาวก หลังจากที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ ๙ เดือน ตรงกับวันเพ็ญมาฆฤกษ์ ที่เรียกเป็นภาษาบาลีว่า “มาฆปุณฺณมี” หรือ “มาฆปุณฺณมิยํ” แปลว่า ในดิถีเป็นที่เต็มดวงแห่งพระจันทร์ ในเดือนมาฆะ ที่เราเรียกรวมว่า “วันเพ็ญเดือน ๓” จึงให้เข้าใจในความหมายที่ตรงกันว่า “เป็นการสักการบูชาพระรัตนตรัย เนื่องในวันเพ็ญเดือน ๓” เรียกสั้นๆ ว่า “วันมาฆบูชา”
    พุทธศาสนิกชนชาวไทยรู้จัก วันมาฆบูชา ว่าเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ควรแก่การบูชายิ่ง ก็คงจะเป็นสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรีซึ่งเคยทรงออกผนวชในพระพุทธศาสนา เป็นพระภิกษุนามว่า “วชิรญาโณ” และทรงคุณานุปการแก่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย อันควรแก่การบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาแห่งชาติไทย ด้วยเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ตามพระธรรมวินัยอย่างดียิ่ง ซึ่งทรงศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน มีความรู้ลึกซึ้งในภาษาบาลี ได้ทรงเห็นความสำคัญอย่างยิ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องในวันมาฆปุรณมี หรือวันเพ็ญเดือนสาม ดังกล่าว ในกาลสมัยครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ก่อนย่างเข้าสู่พรรษาที่ ๒ (หลังจากออกพรรษาที่ ๑ ซึ่งทรงจำพรรษาอยู่ ป่าอิสิปตมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี หรือสารนาถในปัจจุบัน)
    โดยในกาลครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ พระนครราชคฤห์ ได้มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ หรือเข้าถึงความเป็นชาวพุทธในฐานะ “อุบาสกแก้ว” ในพระพุทธศาสนา เมื่อครั้งไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ “ลัฏฐิวัน” หรือ “สวนตาลหนุ่ม” นอกเมืองราชคฤห์ ทางด้านทิศใต้ พร้อมบริวารอันประกอบด้วยข้าราชบริพาร จำนวน ๑๒ นหุต ด้วยความศรัทธาที่เกิดขึ้นดีแล้วของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อได้รับพระธรรมเทศนา จนเกิดดวงตาเห็นธรรม จึงได้กราบอาราธนาขอทูลเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปรับภัตตาหารในพระนครราชคฤห์ และได้ทรงน้อมถวาย “เวฬุวนอุทยาน” (หรือ “สวนป่าเวนูวัน” (Venuvan) ในปัจจุบันซึ่งกำกับดูแลโดยกรมป่าไม้ของรัฐบาลอินเดีย ที่เรียกว่า Forestry Department)

    แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นพระอารามที่ประทับของพระองค์และพระสงฆ์สาวก... “วัดเวฬุวันมหาวิหาร” จึงเป็นพระอารามหรือวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา มีประวัติความเป็นมาที่สำคัญยิ่ง ซึ่งชาวพุทธควรที่จะช่วยกันรักษาดูแลสถานที่ดังกล่าว ให้เป็นสมบัติของพุทธศาสนาอันมีคุณค่า ที่สืบเนื่องต่อไปเพื่อเป็นมรดกโลก อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพุทธประวัติที่เกี่ยวเนื่องกับสถานที่ดังกล่าว ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ถึง ๕ พรรษา โดยเฉพาะพระธรรมคำสั่งสอนที่เปล่งจากพระโอษฐ์ เฉพาะในเขตเวฬุวันฯ ที่ทรงประทับอยู่ ทั้งนี้ยังไม่นับนอกพรรษาที่ทรงโคจรจาริกอยู่ในเขตพื้นที่ต่างๆ ในแคว้นมคธ ดังปรากฏหลักฐานสำคัญอ้างอิงได้จากพระไตรปิฎก

    อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรมขับเคลื่อนกงล้อ อายุพระพุทธศาสนาเนื่อง�
     
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    “วัดเวฬุวันมหาวิหาร” ได้ปรากฏเกิดขึ้นก่อนเข้าสู่พรรษาที่ ๒ เป็นสถานที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประชุมพระสงฆ์ครั้งยิ่งใหญ่ ที่มีความอัศจรรย์ด้วยเป็นการประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ซึ่งมีได้เพียงครั้งเดียวกับการประชุมสงฆ์ในลักษณะพิเศษดังกล่าวนี้ในพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ โดยในสมัยพระพุทธเจ้าของเรานั้น ในปีแรกหลังจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม หรือมาฆฤกษ์ ได้ทรงประชุมพระสงฆ์สาวก เพื่อทรงประทาน “พระโอวาทปาฏิโมกข์” อันเป็นไปตามพุทธวิสัยแด่พระสงฆ์ จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ได้อภิญญา ๖ทั้งสิ้น และทั้งหมดล้วนแล้ว

    แต่เป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา หมายถึง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานการอุปสมบทให้โดยพระองค์เอง ทั้งนี้ เพื่อจัดวางรูปแบบการปฏิบัติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่เหมือนกับศาสนาหรือลัทธิใดๆ ในชมพูทวีปหรือในโลกนี้ เพื่อความเป็นแบบฉบับอันเดียวกันในการถือปฏิบัติของพระสงฆ์ (หรือพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา) เพื่อการประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยั่งยืนสืบไป ด้วยความเป็นหนึ่งเดียวอย่างมีเอกภาพ และคุณภาพขององค์กรสงฆ์ (หรือองค์กรพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา) ที่จะได้มีความเข้าใจ ความรู้ และข้อปฏิบัติเป็นอันเดียวกัน

    ในการสืบสานเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่ชาวโลก ดุจดังการกำหนดยุทธการ ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีของกองทัพทางการทหาร ซึ่งเช่นเดียวกันในศาสนจักรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้มีการกำหนดหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และข้อปฏิบัติ ๖ โดยมีหลักธรรมพิเศษเป็นข้อๆ ง่ายต่อความเข้าใจ สะดวกต่อการพิจารณา ที่เรียกรวมว่า พระโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นคำสอนที่สำคัญในพระพุทธศาสนา รวมทั้งหมด ๓ คาถากึ่ง แด่พระสงฆ์ เพื่อจะได้ยึดถือเป็นกรอบระเบียบในการปฏิบัติ ซึ่งต่อมาได้ยกขึ้นเป็น แม่บทในพระวินัย หรือ วินัยแม่บท เป็นประมวลข้อกำหนดความประพฤติที่เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ข้อบังคับ หรือแบบแผนวิธีการ ในการดำเนินชีวิตของพระภิกษุหรือศาสนิกชนผู้มุ่งสู่เส้นทางของความเป็นอริยบุคคล ก็สามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน...
    สำหรับความหมายของคำว่า “พระโอวาทปาฏิโมกข์” นั้น คงจะมาจากความหมายที่ว่า “พระพุทธองค์ทรงประสงค์แสดง “โอวาท คือ คำสั่งสอน” ที่เป็นหลักการสำคัญในพระพุทธศาสนา ซึ่งตรงกับคำว่า “ปาฏิโมกข์ แปลว่า ที่เป็นหลัก” หรือเป็นประธานของพระธรรมคำสั่งสอน จึงเป็นความหมายธรรมของพระโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งแปลว่า คำสั่งสอนที่เป็นหลักหรือเป็นประธาน หรือ คำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งปรากฏมีอยู่รวมทั้งหมด ๓ คาถากึ่ง พูดให้เห็นตามรูปว่า แบ่งไว้ ๓ ตอน โดยตอนแรก หรือ พระคาถาแรก ทรงกล่าวแสดงว่า

    ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกขา
    นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
    สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต
    แปลความจากพระคาถาดังกล่าวว่า
    ความอดทน คือ ความอดกลั้นนั้น เป็นตบะ (เครื่องเผากิเลส) อย่างยิ่ง
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า พระนิพพานเป็นธรรมยอดเยี่ยม
    ผู้เข้าไปฆ่าผู้อื่น ไม่ชื่อว่า บรรพชิต
    ผู้เข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่า สมณะ

    http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/ธรรมส่องโลก/74072/สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรมขับเคลื่อนกงล้ออายุพระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชาปี๕๔-ตอน-๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2011
  8. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรม ขับเคลื่อนกงล้ออายุพระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชาปี’๕๔

    สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรม ขับเคลื่อนกงล้ออายุพระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชาปี’๕๔ (ตอน๓)

    วิสัชนา : ในพระคาถาแรกนี้ ท่านผู้รู้บางท่านจัดรูปอยู่ใน อุดมการณ์ หรือเจตนคติ ที่พระสงฆ์ (หรือพุทธบริษัท) ในพระพุทธศาสนา จะต้องดำรงไว้อย่างแน่วแน่ ที่เรียกว่า“อุดมการณ์ ๔” ซึ่งแสดงลักษณะความเป็น “อริยะของพุทธบริษัท” หรือความเป็นอริยชุมชนในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะของพระสงฆ์ อันเป็นความแตกต่างไปจากลัทธิหรือศาสนาอื่นๆ ในชมพูทวีป หรือในโลกนี้ เป็นการประกาศหลักอุดมคติของพระพุทธศาสนา ที่เป็นเอกลักษณ์ โดดเด่น สง่างาม ควรค่าแก่ความศรัทธาของมหาชนผู้ประสงค์เข้าอยู่ร่วมในอริยชุมชนดังกล่าว

    อุดมการณ์ธรรม ๔ ประการดังกล่าว สามารถแสดงความจำแนกให้เห็นได้อย่างชัดเจนที่แตกต่างจากศาสนาเดิมๆ ในชมพูทวีป อย่างเช่นในเรื่องความเข้าใจของการบำเพ็ญตบะ ซึ่งในชมพูทวีปเป็นที่นิยมการบำเพ็ญโยคะวิธีตบะวิธี ของนักบวชในศาสนาลัทธิต่างๆ ที่เชื่อว่า การบำเพ็ญตบะจะทำให้บรรลุความบริสุทธิ์ หลุดพ้นได้ โดยมีแนวคิดแนวปฏิบัติที่นำไปสู่การก่อการทรมานเบียดเบียนร่างกายของตน อย่างเช่น นักบวชในศาสนาเชน เป็นต้น ซึ่งเข้าใจในความหมายของการบำเพ็ญตบะที่แตกต่างจากพระพุทธศาสนา ที่ให้ความหมายของการบำเพ็ญตบะ มาจาก “ขันติ” คือ ความอดทน ความอดกลั้น

    กล่าวว่าเป็นตบะอย่างยิ่ง ซึ่งตบะนั้นไม่ได้อยู่ที่การทรมานกาย ซึ่งต้องใช้ความกดข่ม ความเจ็บปวด ทรมาน เพื่อหวังเพียงตบะให้แก่กล้า แต่ ขันติ หรือความอดทน ในพระพุทธศาสนานั้น เป็นการอดทนหรืออดกลั้นโดยใช้สติปัญญา ทำความเพียรเข้มแข็งทางด้านจิตใจ โดยมุ่งมั่นจะทำความเพียรให้ถึงความสำเร็จด้วยความอดทน อย่างมีความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ของความอดทนอดกลั้นนั้น ซึ่งนับเป็นการบำเพ็ญตบะอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นไปเพื่อเพียรเผากิเลสให้สิ้นไป เพื่อการก้าวไปให้ถึง ความสิ้นทุกข์ หรือ พระนิพพาน ด้วยสติปัญญาธรรมที่ปรากฏในดวงจิต

    โดยจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระสงฆ์ทั้งหลายจะต้องตั้งเจตนคติ หรือมีอุดมการณ์ เมื่อเข้าสู่ความเป็นพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา ที่จะต้องตั้งจิตประสงค์นั้นคือ พระนิพพาน ซึ่งหากพระสงฆ์หรือศาสนิกชนตั้งจุดมุ่งหมายที่ประสงค์ต่ำไปจากพระนิพพาน นั่นหมายถึง ความปรารถนาอันลามก อันเป็นความปรารถนาฝ่ายต่ำ ที่ไม่ใช่จุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนา ที่สั่งสอนให้เพียรเพ่งเผากิเลสด้วยขันติ ดังบาลีในพระคาถาที่ว่า “ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกขา...” ซึ่งจัดเป็น ตีติกขาขันติ อันเป็นอุดมการณ์ธรรมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อก้าวไปให้ถึงตามจุดหมายตามที่กล่าว ดังพระคาถาที่กล่าวไว้ในบทแรกว่า นิพพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา แปลว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันยอดเยี่ยม

    จากการที่ทรงตรัสแสดงจุดมุ่งหมายไว้อย่างชัดเจนว่า จุดสูงสุดที่พุทธบริษัทในพระพุทธศาสนาจะต้องตั้งไว้เป็นอุดมคตินั้น คือ พระนิพพาน อันมีความหมายคือ ความสิ้นทุกข์ อย่างชัดเจนนั้น ย่อมแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างไปจากลัทธิศาสนาต่างๆ ในชมพูทวีป หรือในโลกนี้ โดยเฉพาะศาสนาที่มีลักษณะ เทวนิยมทั้งหลาย ดังเช่น ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเขาถือว่าจุดมุ่งหมายอยู่ที่ภาวะที่คืนกลับไปรวมเข้ากับ พรหม หรือเรียกว่า พราหมสหัพยตา คือ การเข้าไปอยู่ร่วมกับพรหม หรือ การเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับพรหม หรือการเข้าถึงพรหม ซึ่งเป็นจุดหมายของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรม ขับเคลื่อนกงล้ออายุพระพุทธศาสนา เนื่อง
     
  9. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรมขับเคลื่อนกงล้ออายุ พระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชาปี'๕๔

    วิสัชนา : แม้ในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นสั่งสอนไว้ให้วิงวอน เรียกร้อง ขอความเห็นใจ ขอความช่วยเหลือจากอำนาจภายนอก ที่เรียกว่า เทพเจ้า... โดยมีการกล่าวบูชายัญ ตบแต่งพิธีกรรมต่างๆ เพื่อเอาใจเทพเจ้าให้กลับมาช่วยเหลือ เพื่อการหวังคืนกลับไปอยู่กับพรหม

    แต่ในขณะที่ พระพุทธศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นธรรมที่เป็นอริยสัจที่ปรากฏมีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ความทุกข์ อันปรากฏมีอยู่อย่างเป็นปกติในสังสารวัฏนั้น ซึ่งสัตว์ทั้งหลายต้องพานพบ หรือต้องเสวย หรือจะต้องเกิดขึ้นเป็นปกติกับตัวเอง ตราบใดที่ยังเป็นสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้ โดยแสดงให้เห็นลักษณะสามัญของสัตว์ที่ต้องโคจร เวียน ว่าย ตาย เกิด หรือมี การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นปกติ ว่าเป็นความทุกข์ ดังที่ ทรงตรัสแสดงไว้ในพระธัมมจักรกัปปวัตนสูตร ที่แสดงไว้ว่า “ชาติปิ ทุกขา ชราปิ ทุกขา มรณัมปิ ทุกขัง...” ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในหมวดทุกขสัจ โดยทรงระบุว่า “ทุกข์ เป็นสิ่งที่ต้องรู้” โดยได้แสดงให้เห็นความจริงของความทุกข์ หรือทุกขตา ถึง ๓ รูปแบบ ๑๑ ประการแห่งทุกข์ ในส่วนของทุกขตา ๓ รูปแบบนั้น ได้แก่

    ๑.ทุกขทุกขตา หมายถึง ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ คือ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ หรือทุกขเวทนา ซึ่งเป็นความทุกข์ที่ปกติเกิดขึ้น เมื่อประสบกับอนิฏฐารมณ์ หรือความทุกข์ที่เกิดจากทุกข์

    ๒.วิปริณามทุกขตา หมายถึง ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือความสุขที่กลายเป็นทุกข์...

    ๓.สังขารทุกขตา หมายถึง ทุกข์ที่เกิดจากสังขาร หรือทุกข์ตามสังขาร
    มี ๑๑ ประการทุกข์ ได้แก่ ความเกิดเป็นทุกข์, ความแก่เป็นทุกข์, ความตายเป็นทุกข์, โสกะ (ความแห้งใจ) เป็นทุกข์, ปริเทวะ (ความรำพัน) เป็นทุกข์, ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) เป็นทุกข์, โทมนัส (ความไม่สบายใจ) เป็นทุกข์, อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นทุกข์, เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์, เมื่อพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์, ความไม่สมปรารถนาเป็นทุกข์...

    จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้ตรงชัดว่า “ทุกข์เป็นอริยสัจ” เป็นสัจจะของอริยบุคคลที่ต้องกำหนดรู้ (ปริญญา) เพื่อการเข้าให้ถึงความเห็นชอบ หรือ สัมมาทิฏฐิ อันมีความเห็นตรงตามความเป็นจริง หรือมีความเห็นที่ตรงตามสภาวะที่ปรากฏมีอยู่ และเป็นไปตามหลักความจริงในธรรมชาติ ดังเช่น การเห็นตรงตามความเป็นจริงว่า โลกขันธ์ หรือรูปขันธ์ เป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง หรือความเป็นอนิจจัง เมื่อกำหนดรู้จนเห็นจริงตามอริยสัจ ก็ย่อมเกิดปัญญาเห็นชอบ ซึ่งจะนำไปเพื่อความเบื่อหน่าย ซึ่งทำให้สิ้นความเพลิดเพลิน

    จึงนำไปสู่การสิ้นการยึดติด จิตจึงหลุดพ้นได้ เรียกว่า ถึงความสิ้นทุกข์หรือพระนิพพานได้ ทั้งนี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ จนเข้าใจในทุกขสัจ อันเป็นปกติแล้ว พระพุทธศาสนาก็ได้สั่งสอนให้พิจารณาค้นหา เหตุแห่งทุกข์ หรือสมุทัย จนพบความจริงว่า ตัณหา หรือความทะยานอยาก เป็นสมุทัยของทุกข์ หรือทำให้เกิดความทุกข์ จึงกำหนดพิจารณาโดยแยบคาย จนพบความจริงจากความทุกข์ คือการเห็นและเข้าไปยึดถือในสิ่งที่ไม่เที่ยง...ว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์...ว่าเป็นสุข และในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน...

    อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้

    http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใ...ออายุ-พระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชาปี๕๔-ตอน๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2011
  10. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วิสัชนา : เมื่อรู้แจ้งเห็นชอบ จึงนำไปสู่การละความอยากและตัดความยืด จนขาดสิ้นเป็นสมุทเฉทปหานอย่างแท้จริง เป็นผลให้จิตเกิดความหลุดพ้น หรือพ้นเด็ดขาดจากความกำหนัดเพลิดเพลินยินดีในโลก หรือรูปนามนี้ นั่นหมายถึง การดับสิ้นซึ่งทุกข์ หรือการทำความทุกข์ให้สิ้น ที่เรียกว่า พระนิพพานในพระพุทธศาสนา อันเป็นธรรมยอดเยี่ยมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงกล่าวไว้เช่นนี้ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ปรากฏอยู่ในหลักการอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นแบบแผนการศึกษาปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจด้วยพระองค์เอง อาจจะสามารถสรุปลงได้ว่าไม่ว่าในกาลใดๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนแต่เรื่องความทุกข์และความดับทุกข์ เป็นปกติ เพื่อก้าวให้ถึงจุดหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน

    อย่างไรก็ตาม ในพระคาถาแรก ซึ่งเป็นการวางอุดมการณ์ให้กับพุทธบริษัทไว้อย่างจำแนกชัดเจนนั้น ซึ่งแตกต่างไปจากลัทธิหรือศาสนาต่างๆ แล้ว ยังได้จำแนกลักษณะของผู้มีอุดมการณ์ธรรมดังกล่าว ในฐานะพระสงฆ์หรือสาวกในพระพุทธศาสนานั้น จะต้องไม่ทำร้าย... จะต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่นเลย ดังที่กล่าวไว้เป็นบาลีว่า น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ซึ่งอุดมการณ์ใน ๒ ข้อนี้นับว่าเป็นความสวยงามที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ที่ประกาศความจริงใจอันสอดคล้องกันในอุดมการณ์ เพื่อนำไปสู่สันติหรือความสงบ และการที่จะสุขสงบได้นั้น จะต้องมาจากเบื้องต้นของการเตรียมพร้อมที่ดี คือ ความสะอาดและความสว่าง จึงจะพบกับความสงบ นั้นหมายถึง การพัฒนาการของกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้สะอาด และมีความสว่าง ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมวินัย เพื่อก้าวสู่ความสงบในสังขารทั้งปวง อันจะนำไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง เนื่องจากความสงบของสังขารนั่นเอง ดังบาลีที่ว่า เตสํ วูปสโม สุโข

    อุดมคติธรรมดังกล่าว จึงเป็นการยืนยันตามความจริงในพระพุทธศาสนา ที่จะนำโลกไปสู่สันติสุขอย่างแท้จริง อันควรค่าแก่การสืบเนื่องหรือเผยแผ่ไปยังชาวโลก เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพื่อความอนุเคราะห์โลก ในพระคาถาดังกล่าว จึงมุ่งเน้นการประกาศอุดมการณ์ของบุคคลที่จะก้าวสู่ความเป็นบรรพชิต หรือความเป็นสมณะในพระพุทธศาสนาว่า จะต้องมีลักษณะสำคัญอยู่ที่การไม่ทำร้ายผู้อื่น การไม่เบียดเบียนใคร เป็นผู้มุ่งละจากเวรภัยอย่างแท้จริง จึงประกาศการดำรงตนอยู่ตามหลักสันติธรรม เพื่อประโยชน์ตน และเพื่อการอนุเคราะห์โลกโดยธรรม

    “...ขอให้พี่น้องทั้งหลาย จงดำเนินชีวิตต่อไป ด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา และขอให้ช่วยกันแนะนำผู้ที่ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนาให้มีโอกาสได้รู้ และได้ปฏิบัติตาม ชีวิตจะประสบความสุขสมปรารถนา...” วิสัชนา : ถึงตรงนี้ ก็คงจะทำให้ทุกๆ คนที่ได้รับฟัง หรือได้รับรู้อุดมการณ์ธรรมในพระพุทธศาสนา มีความเข้าใจตรงกันได้ว่า อุดมการณ์ ๔ ประการในพระโอวาทปาฏิโมกข์นั้น เป็นเรื่องยิ่งใหญ่และประเสริฐสุดกับชาวโลก หากรู้และเข้าถึงพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา โดยการศึกษาปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างแท้จริง จึงควรอย่างยิ่งที่พุทธบริษัทในพระพุทธศาสนาจะได้ช่วยกันเผยแผ่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้แพร่หลายไปในทุกหมู่ชน ดังที่รัตนบุรุษแห่งชมพูทวีป หรือ ดร.บี อาร์ อัมเบ็ดก้าร์ ได้เคยกล่าวย้ำกับชาวพุทธในอินเดีย ในงานประชุมการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะว่า “ขอให้มุ่งเน้นงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นงานใหญ่ที่ทำคนเดียวไม่ได้ ชาวพุทธทุกๆ คนต้องช่วยกัน...” และได้กล่าวย้ำในที่สุดอันสอดคล้องกับความจริงที่นำเสนอมาตั้งแต่เบื้องต้นว่า “...ขอให้พี่น้องทั้งหลาย จงดำเนินชีวิตต่อไป ด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา และขอให้ช่วยกันแนะนำผู้ที่ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา ให้มีโอกาสได้รู้ และได้ปฏิบัติตาม ชีวิตจะประสบความสุขสมปรารถนา...” หากจะกล่าวสรุปต่อจากคำกล่าวปราศรัยในบทสุดท้ายของ ดร.บี อาร์ อัมเบ็ดก้าร์ ที่เข้าถึงเข้าใจ และรู้ถึงคุณประโยชน์ของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ก็คงจะกล่าวย้ำไปในความหมายที่ปรากฏอยู่ในพระโอวาทปาฏิโมกข์ว่า “พระพุทธศาสนานั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อสงเคราะห์สัตว์โลก ให้ไปถึงจุดมุ่งหมายคือความสิ้นทุกข์อย่างแท้จริง” สมดังพระบาลีที่ว่า “นิพพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา” แปลความว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันเยี่ยม และพระนิพพานหรือความสิ้นทุกข์นั้นจะมีหรือเกิดขึ้นได้ เฉพาะในศาสนาที่มีคำสั่งสอนครบถ้วนในไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น ซึ่งไตรสิกขานั้น แท้จริงคือองค์ธรรม ๘ ประการในอริยมรรค คือ อริยมรรคที่มีองค์อธรรม ๘ ประการ อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นข้อควรปฏิบัติเพื่อให้ถึงความสิ้นทุกข์ หรือพระนิพพานนั่นเอง นี่คือความเป็นหนึ่งแห่งพุทธศาสนา ที่ไม่เหมือนกับลัทธิหรือศาสนาใดๆ ในโลกนี้ ซึ่งมีความเป็นหนึ่งเดียวในการปฏิบัติที่กล้าระบุว่า เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ มีความเป็นเอกภาพ มีลักษณะโดดเด่นในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้ง และไม่ขัดแย้งกับโลก ถูกต้องตรงตามความจริงขั้นอริยสัจ โดยเฉพาะลักษณะสำคัญของพระสงฆ์ หรือพระภิกษุ หรือความเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ว่ามีลักษณะสำคัญเป็นเอกเทศมีคุณสมบัติอย่างไร โดยเฉพาะการแสดงให้เห็นรูปลักษณ์ที่แท้จริง คือ ความเป็นผู้ดำรงอยู่อย่างสันติ สืบทอดไปในทุกสถานการณ์ เพื่อประโยชน์แห่งตน และเพื่อประโยชน์แห่งสังคมด้วย...
    ต่อไปขอยกพระคาถาที่ ๒ ขึ้นมาสักการบูชา เรียกพระคาถาที่ ๒ นี้ได้ว่า เป็นหลักการของพระพุทธเจ้า “ผู้รู้หลายๆ ท่านกล่าวเรียกพระคาถานี้ว่า เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา” เพราะเป็นการประกาศหลักขั้นปฏิบัติการ หรือหลักการของพระพุทธศาสนา ดังที่ทรงตรัสไว้ว่า...

    สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
    แปลความว่า การไม่ทำบาปทั้งปวง

    การทำกุศลให้ถึงพร้อม

    การทำจิตให้บริสุทธิ์ นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ

    พระคาถาดังกล่าวนี้ ศาสนิกชนทั้งหลายคงจะคุ้นเคยได้รับฟังบ่อยๆ แต่ประโยชน์จะเกิดขึ้น เมื่อนำไปเป็นหลักในการปฏิบัติ เพื่อรองรับอุดมการณ์ ๔ ว่า จะสำเร็จตามจุดมุ่งหมายหรือไม่นั้น จะต้องมีหลักการ ๓ ข้อนี้เป็นแนวปฏิบัติ นั่นหมายถึง จุดมุ่งหมายจริงๆ ในอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา คือ ความสิ้นทุกข์ หรือพระนิพพาน ซึ่งจะเป็นไปได้นั้น เมื่อจะต้องมีหลักการขั้นปฏิบัติการที่สอดคล้องและสนับสนุนการกระทำให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ปรากฏอยู่ใน อุดมการณ์ ๔ ตามที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น

    อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : สานจิตร่วมอุดมการณ์ธรรม ขับเคลื่อนกงล้ออายุพระพุทธศาสนา เนื่อง
     

แชร์หน้านี้

Loading...