สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พุทธธรรม ชั้นประถม

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พุทธธรรม ชั

    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"> <tbody><tr> <td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร)[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>

    <center> พุทธธรรม
    ชั้นประถม </center> ประมวลคำสั่งสอนที่ห้ามทำความชั่วทั้งปวง แนะให้ทำความดี และนำให้ชำระใจของตนให้ขาวสะอาดรวมเรียกว่าพุทธธรรมทั้งสิ้น แต่พุทธธรรมชั้นประถมหมายเอาเฉพาะคำสั่งสอนที่โปรดชุมชน ให้รู้จักพึ่งสิ่งที่ควรพึ่ง และให้รู้จักพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง สร้างตนเองให้เป็นคนมั่งคั่งสมบูรณ์ และเป็นคนดี มีความสงบสุขปลอดภัยในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น

    พระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้ง ๓ องค์ รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย และพระรัตนตรัยนี้แต่ละองค์ชื่อว่าแก้ว เพราะแต่ละองค์มีดีจริงดีแท้อยู่ในตัวเอง เป็นธงชัยเฉลิมศาสนา ให้ผู้นับถือยึดเหนี่ยวเป็นที่พึ่งอุ่นอกเย็นใจ ส่องทางให้เกิดปัญญา เห็นดีเห็นชั่ว ข้ามพ้นจากทุคติลุถึงสุคติ และหลุดพ้นจากกิเลสกับกองทุกข์ทั้งปวงเป็นที่สุด
    ๑. พระพุทธ คือท่านผู้ได้บำเพ็ญบารมีสามสิบทัศบริบูรณ์ รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเอง พรั่งพร้อมด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระกรุณาคุณ สอนชุมชนให้รู้ดีรู้ชอบ และประพฤติชอบตามพระธรรมวินัย
    ๒. พระธรรม คือพระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธ มีคุณรักษาผู้ปฏิบัติให้ไม่ตกไปในที่ชั่วให้คงอยู่ในทางที่ดี และให้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงยอดสุด
    ๓. พระสงฆ์ คือหมู่คนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธและปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนนั้น จนให้คนอื่นเห็นว่ามีผู้ปฏิบัติตามได้จริง และมีคุณสอนชุมชนให้กระทำตามด้วย
    เมื่อเรายึดเอาคุณพระรัตนตรัย มาเป็นที่พึ่งที่ระลึกเสมอแล้ว จะบำรุงใจให้กล้าหาญองอาจสามารถสู้อันตรายที่ทำให้หวาดกลัวได้ แม้พระพุทธองค์ก็ทรงแนะนำเรา ให้ระลึกเป็นอารมณ์ว่า “เมื่อสูเจ้าระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่แล้ว สูเจ้าจักไม่มีสิ่งน่ากลัวน่าหวาดเสียว หรือน่าขนพองสยองเกล้าเลย”

    <center> ไตรสรณคมน์ </center> อุบายน้อมกิริยาวาจาอัชฌาสัยเข้ายึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ชื่อว่าไตรสรณคมน์ พระรัตนตรัยนี้นับเป็นที่พึ่งชั้นเยี่ยมในโลก แต่ท่านจะเป็นที่พึ่งของเราได้นั้น อยู่ที่เราปฏิญาณตนยอมรับนับถือท่านด้วยวิธีดังนี้
    ๑. ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ผู้จะปฏิญาณตนพึงเข้าหาพระเถระ ขอให้ท่านอนุเคราะห์ประชุมสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูป และเริ่มประกอบพิธีดังนี้
    ๑.๑ ก่อนปฏิญาณตน พึงหันหน้าตรงพระประธาน ชายนั่งคุกเข่า หญิงนั่งพับเพียบ ประนมมือ ให้มีหัวหน้าจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคำบูชาพร้อมกันว่า “อิมินา สกฺกาเรน พุทฺธํ ปูเชม, อิมินา สกฺกาเรน ธมฺมํ ปูเชม, อิมินา สกฺกาเรน สงฺฆํ ปูเชม.” ถ้าคนเดียวให้เปลี่ยน ปูเชม เป็น ปูเชมิ จบแล้วกราบ ๓ หน
    ๑.๒ พึงหันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ ให้หัวหน้าถวายเครื่องสักการะแด่พระเถระ กราบพร้อมกัน ๓หน นั่งตามท่าของตน ประนมมือ กล่าวคำปฏิญาณตนพร้อมกันว่า “เอเต มยํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉาม ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ พุทฺธมามกาติ โน สงฺโฆ ธาเรตุ.” แปลว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้งหลายถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานมาแล้ว กับพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ คือระลึกนับถือ ขอพระสงฆ์โปรดจำข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ว่า เป็นพุทธมามกะ (สำหรับชาย) ว่าเป็นพุทธมามิกา(สำหรับหญิง) คือ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่นับถือ ถ้าคนเดียวให้เปลี่ยน เอเต มยํ เป็น เอสาหํ, คจฺฉาม เป็น คจฺฉามิ แต่คำว่า พุทฺธมามกาติ ถ้าชายคนเดียวให้เปลี่ยนเป็น พุทฺธมามโกติ ถ้าหญิงคนเดียวหรือหลายคน ให้เปลี่ยนเป็น พุทฺธมามิกาติ.
    ๑.๓ ครั้นแล้วพึงกล่าวคำขอศีลพร้อมกันว่า “มยํ ภนฺเต วิสุง วิสุง รกฺขนตฺถาย ติสรเณร สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม, ทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุง วิสุงรกฺขนตฺถาย ติสรเณร สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม, ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุง วิสุง รกฺขนตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม” ถ้าคนเดียวให้เปลี่ยน มยํ เป็น อหํ, ยาจาม เป็นยาจามิ.
    ๑.๔ ครั้นแล้วพึงตั้งใจรับศีล ว่าตามคำที่พระบอกดังนี้ “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส”
    “พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ, ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ สงฆํ สรณํ คจฺฉามิ, ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.
    (๑) ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    (๒) อทินฺนาทานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    (๓) กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    (๔) มุสาวาทา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    (๕) สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    อิมานิ ปญฺจ สิกฺขาปทานิ สมาทิยามิ”
    เมื่อเสร็จพึงกราบ ๓ หน นั่งราบประนมมือ ฟังโอวาทจากพระเถระ จบแล้วเปล่งเสียงสาธุการว่า “สาธุ” พร้อมกัน และกราบ ๓ หน ตั้งใจรับพร จบแล้วกราบอีก ๓ หน เป็นเสร็จพิธี
    ๒. ปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ผู้ปฏิญาณตนพึงเข้าหาพระเถระ ขอให้ท่านอนุเคราะห์ประชุมสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูป และเริ่มประกอบพิธีดังนี้
    ๒.๑ ก่อนปฏิญาณตน พึงหันหน้าตรงพระประธาน ชายนั่งคุกเข่า หญิงนั่งพับเพียบ ประนมมือ ให้มีหัวหน้าจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคำบูชาพร้อมกันว่า “อิมินา สกฺกาเรน พุทฺธํ ปูเชม, อิมินา สกฺกาเรน ธมฺมํ ปูเชม, อิมินา สกฺกาเรน สงฺฆํ ปูเชม.” ถ้าคนเดียวให้เปลี่ยน ปูเชม เป็น ปูเชมิ จบแล้วกราบ ๓ หน
    ๒.๒ พึงหันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ ให้หัวหน้าถวายเครื่องสักการะแด่พระเถระ กราบพร้อมกัน ๓หน นั่งตามท่าของตน ประนมมือกล่าวคำปฏิญาณตนพร้อมกันว่า “เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ อุปาสกํ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ,” แปลว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้วนั้น กับพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หญิงให้เปลี่ยน อุบาสก เป็นอุบาสิกา อุปาสกํ เป็น อุปาสิกํ นอกนี้เหมือนกัน
    ๒.๓ ครั้นแล้วพึงรับศีล ไม่ต้องกล่าวคำขอศีล ว่าตามคำที่พระบอกตั้งต้นแต่ ปาณาติปาตาเวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ไปจนถึง สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ. เมื่อพระสรุปว่า “อิมานิ ปญฺจ สิกฺขาปทานิ นิจฺจสีลวเสน สาธุกํ รกฺขิตพฺพานิ” พึงรับว่า “อาม ภนฺเต” และเมื่อท่านว่า “สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย” พึงกราบพระสงฆ์ ๓ หน นั่งราบประนมมือ ฟังโอวาทและรับพร จบแล้วกราบอีก ๓ หน เป็นเสร็จพิธี.

    <center> ศีลห้ากับกัลยาณธรรม </center>คนเราที่อยู่ด้วยกัน ผู้มีอัธยาศัยหยาบมักเบียดเบียนกันทางกายบ้าง เบียดเบียนทรัพย์สมบัติของกันบ้าง เบียดเบียนกันทางประเวณีบ้าง เบียดเบียนกันทางวาจาบ้าง และการเบียดเบียนกันจะมีได้เพราะความประมาท แม้ความประมาทก็มีการเสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษเป็นสำคัญ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลห้า ไว้ว่า ๑. ให้เว้นการฆ่ากัน
    ๒. ให้เว้นการลักของกัน
    ๓. ให้เว้นการทำผิดประเวณีต่อกัน
    ๔. ให้เว้นการโกหกหลอกลวงกัน
    ๕. ให้เว้นการเสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษ
    พึงทราบว่า ผู้ฆ่าเขา ลักของเขา ทำผิดประเวณีต่อเขา โกหกหลอกลวงเขา ชื่อว่าทำแก่เขาในสิ่งที่ตนไม่อยากให้เขาทำแก่ตน นับเป็นคนก่อเวร ผู้ถูกเบียดเบียนก็ต้องคอยจองเวรตอบ ส่วนผู้เสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษ ชื่อว่าทำลายตนเอง ผู้เว้นกรรมชั่วเหล่านี้เสีย ชื่อว่าทำแก่คนอื่นในสิ่งที่ตนอยากให้เขาทำแก่ตน ย่อมพ้นจากเวรภัย
    กัลยาณธรรม เป็นเครื่องประดับศีล ให้ไม่ทำสิ่งที่ตนคนเดียวชอบ ให้พยายามชอบสิ่งที่คนดีทั้งหลายทำ และให้ทำสิ่งที่คนดีทั้งหลายชอบ มี ๕ ประการ
    ๑. เมตตากรุณา ความหวังดีและหวังช่วยเหลือ ประดับศีลข้อ ๑
    ๒. สัมมาอาชีวะ หาเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ประดับศีลข้อ ๒
    ๓. ความสำรวมในกาม ประดับศีลข้อ ๓
    ๔. ความมีสัตย์ ประดับศีลข้อ ๔
    ๕. ความมีสติรอบคอบ ประดับศีลข้อ ๕
    สังคมจะตั้งอยู่อย่างสงบสุขได้ ก็ด้วยการไม่เบียดเบียนกัน และช่วยเหลือกันในทางที่ชอบ ดังนั้นเพื่อจะป้องกันการเบียดเบียนกัน คนในสังคมแต่ละคนจึงต้องมีศีลมีธรรมดังกล่าวมา ผลของการมีศีลมีธรรมนั้นคือ สันติภาพ สวัสดิภาพ และ ความผาสุก ซึ่งเราต้องการกันยิ่งนักอยู่ทุกวันนี้

    <center> สมบัติของอุบาสก </center> ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ใกล้ชิดกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชื่อว่าอุบาสกสำหรับชาย ชื่อว่าอุบาสิกาสำหรับหญิง และอุบาสกอุบาสิกาย่อมมีสมบัติประจำตัว ๕ ประการ
    ๑. ศรัทธา เชื่อในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่ามีจริง เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง พระธรรมเป็นคุณดีจริง พระสงฆ์มีคุณดีจริง แม้ผู้น้อมเข้ามาถือปฏิบัติตามก็เป็นคนดีได้จริง
    ๒. มีศีลบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
    ๓. ไม่ตื่นผู้วิเศษ ไม่งมงายในข่าวลือที่เหลวไหล เชื่อกรรมที่ตนทำแล้วว่าเป็นอันทำ เชื่อผลของกรรมว่า ผู้ทำดีต้องได้ดี ผู้ทำชั่วต้องได้ชั่ว และเชื่อว่าดีชั่วที่ตนทำแล้วย่อมเป็นของตน และติดตามตนไปเหมือนเงาตามตัว
    ๔. ฤม่แสวงหาบุญในลัทธิที่ไร้เหตุผล มีการเซ่นบวงสรวงภูตผีปีศาจเป็นตัวอย่าง
    ๕. บำเพ็ญบุญแต่ในศาสนาที่มีเหตุผลจริงแท้

    <center> ทิฏฐธัมมิกัตถะ </center> คุณสมบัติที่ให้ผู้ประพฤติรู้จักพึ่งตนเอง สร้างตนเองให้สำเร็จเป็นคนมั่งคั่งสมบูรณ์ และเป็นคนดี มีหลักฐานอุ่นหนาฝาคั่ง อยู่สงบสุขปลอดภัยในปัจจุบัน เรียกว่าทิฏฐธัมมิกัตถะ คืออำนวยประโยชน์ในปัจจุบันมี๔ ประการ
    ๑. อุฏฐานสัมปทา มีความขยันหมั่นเพียร ในการศึกษาเล่าเรียน ในการแสวงหาทรัพย์เครื่องเลี้ยงชีวิตและในการทำธุระหน้าที่ของตน
    ๒. อารักขสัมปทา มีการรักษาทรัพย์ที่หามาได้ ให้รู้จักเก็บงำ รู้จักถนอม รู้จักบูรณะ รู้จักทำให้เกิดดอกออกผล และรู้จักรักษาธุระหน้าที่ของตนไม่ให้เสื่อมเสีย
    ๓. กัลยาณมิตตตา คบเพื่อนที่ดีงาม คือเพื่อนมีอุปการะ ร่วมสุขร่วมทุกข์ แนะประโยชน์? และมีความรักใคร่กันจริง ไม่คบคนชั่ว คือคนปอกลอก คนดีแต่พูด คนหัวประจบ และคนชักจูงในทางฉิบหาย
    ๔. สมชีวิตา รู้จักเลี้ยงชีวิตตามควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ โดยรู้จักประหยัดทรัพย์ ไม่ให้ฝืดเคือง ไม่ให้ฟูมฟายนัก

    <center> สังคหวัตถุ </center> คุณธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน และควบคุมความสามัคคีของหมู่ที่อยู่รวมกัน ให้แน่นแฟ้นกลมเกลียวกัน เหมือนเพลารถคุมล้อรถไว้แน่น หมุนล้อรถให้แล่นได้คล่องว่องไว เรียกว่า สังคหวัตถุ มี ๔ ประการ
    ๑. ทาน รู้จักแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้ควรแบ่งปัน
    ๒. ปิยวาจา รู้จักปราศรัยกันด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
    ๓. อัตถจริยา รู้จักช่วยทำประโยชน์แก่เอกชนและส่วนรวม
    ๔. สมานัตตตา รู้จักวางตัวให้สม่ำเสมอไม่ถือตัว

    <center> พรหมวิหาร </center> คุณธรรมเป็นเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่ บำรุงน้ำใจให้แช่มชื่นเบิกบาน ไม่ใจจืด ไม่ใจดำ ไม่ใจแข็งกระด้าง ไม่ใจลำเอียง โปรยความร่มเย็นแก่กันและกัน ให้ได้ความสุขเกษมเปรมปรีดิ์ทั่วกันเหมือนเมฆโปรยฝนลงอาบแผ่นดินให้ชุ่มชื่น หล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ และบรรดาสัตว์ให้ชื่นบานหรรษา เรียกว่า พรหมวิหาร มี ๔ ประการ
    ๑. เมตตา มีใจหวังความสุขแก่กัน
    ๒. กรุณา มีใจหวังช่วยเหลือกันเมื่อฝ่ายหนึ่งได้ทุกข์
    ๓. มุทิตา มีใจพลอยยินดีด้วยเมื่อฝ่ายหนึ่งได้ดี
    ๔. อุเบกขา มีใจเที่ยงธรรม ไม่พลอยซ้ำเมื่อเขาวิบัติ ไม่ตัดรอนเมื่อเขาสมบูรณ์

    <center> วิธีแผ่พรหมวิหาร </center> พึงแผ่พรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในวันหนึ่ง ๓ เวลา คือ เช้า เที่ยง และเย็นโดยวิธีแผ่ดังนี้
    ๑. แผ่เมตตาแก่ตนก่อนว่า “อหํ สุขิโต โหมิ อเวโร โหมิ อพฺยาปชฺโฌ โหมิ อนีโฆ โหมิ สุขี อตฺตานํ ปริหรามิ” แปลว่า “ข้าหวังมีสุขกายสุขใจ ไม่มีเวรต่อใคร ไม่คิดเบียดเบียนใคร ไม่อยากมีทุกข์กายทุกข์ใจ หวังรักษาตนให้มีสุขอยู่”
    ๒. แผ่เมตตาแก่ผู้อื่นว่า “สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ สพฺเพ สตฺตา อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ สพฺเพ สตฺตา อนีฆา โหนฺตุ สพฺเพ สตฺตา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ” แปลว่า “ขอเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายทุกถ้วนหน้า จงมีสุขกายสุขใจเถิด อย่ามีเวรต่อกันเลย อย่าเบียดเบียนกันเลย อย่ามีทุกข์กายทุกข์ใจรักษาตนให้มีสุขเถิด”
    ๓. แผ่กรุณาแก่ผู้อื่นว่า “สพฺเพ สตฺตา สพฺพทุกฺขา ปมุญจนฺตุ” แปลว่า “ขอเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายทุกถ้วนหน้า จงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเถิด”
    ๔. แผ่มุทิตาต่อผู้อื่นว่า “สพฺเพ สตฺตา ลทฺธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ” แปลว่า “ขอเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายทุกถ้วนหน้า จงอย่าเสื่อมจากสมบัติที่ตนได้แล้วเลย”
    ๕. แผ่อุเบกขาในผู้อื่นว่า “สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธุ กมฺมปฏิสรณา ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ” แปลว่า “เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยก้น ล้วนมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นมรดก มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นเครื่องอาศัยไปจักเป็นผู้รับผลของกรรมดีหรือชั่วที่ทำไว้ทั้ง สิ้น”
    ผู้แผ่พรหมวิหารให้ได้ ๓ เวลาทุกวัน โดยวิธีดังกล่าวมา ชื่อว่าได้ยาแก้ทุกข์โศกโรคภัย บำรุงกำลังใจให้ชื่นบานมีสุขกายสุขใจ เสริมสวยให้สีหน้าผ่องใส นัยน์ตายิ้มแย้มแช่มชื่น นอนหลับสบาย ตื่นขึ้นสบาย มีหน้าแจ่มใส ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของคนและภูตผีปีศาจ เทวดาคุ้มครองป้องกัน ไม่ถูกอัคคีภัย ไม่เป็นอันตรายเพราะยาพิษหรือศัสตราาอาวุธ ใจตั้งมั่นเป็นสมาธิเร็ว สติไม่ฟั่นเฟือนในเวลาสิ้นชีพ เมื่อยังไม่สำเร็จมรรคผลย่อมไปเกิดในพรหมโลก

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...