ลิขิตวาระสุดท้าย ทางเลือกเพื่อเตรียมตัวจากไปอย่างสงบตามปรารถนา

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 21 เมษายน 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ThaiLivingWill.Com

    เว็บไซต์เปิดใหม่เพื่อเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ
    สิทธิของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ผู้ที่กำลังเผชิญวาระสุดท้ายของชีวิต
    หรือผู้ที่ต้องการแสดงเจตนาที่เกี่ยวข้องกับภาวะใกล้ตายของตนเอง


    มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการเลือกหนทางเผชิญวาระสุดท้ายของตนเอง
    สิทธิในการเลือกที่จะไม่รับการรักษา
    สิทธิที่จะไม่ใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อยื้อการทำงานของอวัยวะ
    หรือลมหายใจที่กำลังดับสูญ
    ซึ่งเป็นไปตาม พรบ สุขภาพ 2550
    ในความรับผิดชอบของ
    คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข
    หลายคนรู้จักการใช้สิทธิเหล่านี้และเรียกกันว่า

    หนังสือแสดงเจตนา หรือ พินัยกรรมชีวิต


    ThaiLivingWill.Com
    เป็นสื่อกลางเผยแพร่แนวคิดการตายอย่างมีศักดิ์ศรี
    ด้วยการรักษาพยาบาลที่เคารพในเจตจำนง คุณค่า
    และศรัทธาของผู้ป่วย

    เว็บไซต์นี้นำเสนอข้อมูลด้านกฎหมาย บทความ
    และเรื่องเล่าประสบการณ์ในวาระสุดท้าย
    เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหนังสือแสดงเจตนา
    และสร้างความเข้าใจเรื่องการตายอย่างสงบตามธรรมชาติ

    เยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ได้ที่

     
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    <TABLE style="WIDTH: 519px" cellSpacing=0 cellPadding=30 border=0><TBODY><TR><TD>เกี่ยวกับโครงการ</TD></TR><TR><TD>ความตายเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล รวมถึงมนุษย์อย่างเรา ๆ วันใดวันหนึ่ง เราล้วนต้องจากโลกที่คุ้นเคยและเผชิญความตายด้วยกันทุกคน แต่เราจะเผชิญกับความตายอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัว ท่าทีและทัศนคติต่อความตายของเรา

    ในอดีต อาจด้วยความศรัทธาในศาสนาและความอ่อนด้อยทางเทคโนโลยีในการรักษา มนุษย์มองการตายเป็นเรื่องธรรมชาติ จึงน้อมรับการตายได้โดยง่ายและสงบสันติ ด้วยเห็นว่าการจากไปอย่างสง่างามนั้นมีผลต่ออนาคตในโลกหลังความตาย

    แต่ปัจจุบัน มนุษย์ในสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกพรั่งพร้อม เห็นความตายเป็นสิ่งแปลกแยกจากชีวิต

    ความตายกลายเป็นเรื่องน่ากลัว อัปมงคล และเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องต่อสู้และเอาชนะถึงที่สุด ทัศนะดังกล่าวปรากฏชัดในสื่อต่าง ๆ ที่ ฉายภาพการตายและความตายในลักษณะที่เป็นความเจ็บปวดทรมาน ความพลัดพราก สิ่งต้องห้ามที่ไม่ควรกล่าวถึงหรือให้ความสนใจในช่วงที่ยังมีลมหายใจอยู่

    ทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความตายเช่นนั้นส่งผลอย่างยิ่งต่อ “วิถีชีวิตลืมตาย” และ “สู้ยิบตากับความตาย” ของเราหลายคน ซึ่งล้วนก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกายและจิตใจ ทั้งในยามที่มีชีวิตและใกล้จะจากไป

    ปัจจุบัน สาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของคนไทยและทั่วโลก มาจากโรคไม่ติดต่อและโรคไม่ติดเชื้อ อย่างเช่น มะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต อุบัติเหตุ และภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นต้น

    ผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้มีชีวิตอยู่กับอาการต่าง ๆ เป็นเวลาหลายปี และเมื่อภาวะของโรคดำเนินไปจนถึงขั้นหมดหนทางรักษาแล้ว ร่างกายดำเนินสู่ขั้นตอนการตายในวาระสุดท้าย ความลืมตายทำให้หลายคนทั้งผู้ป่วย ญาติ และ ผู้ให้การรักษา พยายามทำการต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะความตายหรือยื้อชีวิตออกไปให้นานที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเจาะคอเพื่อใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือปั๊มหัวใจเพื่อยื้อการเต้นของหัวใจต่อไป โดยอาจไม่รู้เลยว่าเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่วาระสุดท้ายแล้ว ความหวังดีที่ทุ่มเทเพื่อรั้งชีวิตไว้นั้น อาจหมายถึงการเพิ่มความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย พรากโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับคุณภาพชีวิต เช่น การอยู่กับครอบครัวคนคุ้นเคย การได้รับโอกาสในการปฏิบัติตามความเชื่อ และอาจทำให้ชีวิตนั้นจากไปอย่างไม่สงบก็เป็นได้

    ผู้ป่วยบางรายอาจยอมรับสภาพความจริงในวาระสุดท้ายของตนได้ โดยแสดงความประสงค์ไม่ขอรับบริการทางการแพทย์ใด ๆ ที่เป็นเพียงเพื่อยืดการตายออกไป แต่น่าเสียดายว่า หลายครั้งความปรารถนานั้น ถูกปฏิเสธทั้งจากญาติและผู้ให้การรักษา โดยมองว่าการไม่ “ช่วยถึงที่สุด ในทุกวิถีทาง” คือ การอกตัญญู นอกจากนี้บุคลากรทางการแพทย์เองก็ยังขาดความเข้าใจในเรื่องการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายเพื่อช่วยให้จากไปอย่างสงบ

    สภาพเช่นนี้ทำให้ผู้ป่วยต้องจากไปในลักษณะจบชีวิตไม่ลง ตายไม่สงบ ไร้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ญาติเองตกอยู่ในภาวะจิตใจเศร้าหมอง ยังไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่ายมากมายจากการใช้เทคโนโลยียื้อชีวิตเกินจำเป็น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    จากการศึกษาของ นายแพทย์ ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะในโครงการวิจัยทบทวนกระบวนทัศน์เรื่องความตายและมิติแห่งสุขภาวะ พบว่า ตัวเลขค่าใช้จ่ายในวาระสุดท้ายของชีวิตที่ต้องจ่ายมีถึง 1,300,000 บาท เพื่อแลกกับการมีชีวิตอีก 48 วัน (ตายอย่างมรีศักดิ์ศรี ร่างพ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ 2545)
    สถานการณ์เช่นนี้ประกอบกับแนวคิดเรื่อง “สิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตตนอง” อันเป็นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน จึงเป็นปัจจัยให้เกิด “สิทธิปฏิเสธการรักษาที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อชีวิตฯ” ของผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายที่แทบจะไม่มีหวังจะกลับฟื้นคืนดีเป็นปรกติได้ คือสิทธิตามธรรมชาติที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะตัดสินใจด้วยตนเอง

    มาตรา ๑๒ ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับรองสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิเสธการรักษาเมื่ออยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ที่การรักษาเยียวใด ๆ ไม่อาจฟื้นคืนสภาพร่างกายได้ โดยการ “ทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย” อันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่กฎหมายมอบให้สำหรับเป็นปัจจัยให้ความปรารถนาในวาระสุดท้ายของเพื่อนมนุษย์ได้รับการยอมรับและปฏิบัติตาม

    ในเรื่องนี้ แพทยสมาคมโลก (World Medical Association) และนานาประเทศต่างให้การยอมรับในเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ทำหนังสือแสดงเจตนาเมื่ออยู่ในวาระสุดท้าย ยังคงได้รับการดูแลรักษาตามความจำเป็น มิได้ถูกทอดทิ้งจากแพทย์ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล (โรงพยาบาล) แต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นการดูแลให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย การบรรเทาอาการปวด หรือที่เรียกว่า “การดูแลแบบประคับประคอง” (palliative care)

    นอกจากนี้ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรให้ความสำคัญกับการเยียวยาด้านจิตใจของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และคนใกล้ชิด หรือปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วยที่ต้องการเสียชีวิตที่บ้าน ท่ามกลางบรรยากาศที่แวดล้อมด้วยญาติมิตร คนในครอบครัว

    อย่างไรก็ตาม เราตระหนักว่าลำพังเครื่องมือชิ้นนี้ชิ้นเดียวคงไม่พอ หากต้องอาศัยความเข้าใจในมิติต่างๆอีกมาก เช่น การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ความเข้าใจจากญาติของผู้ป่วย และสำคัญที่สุดคือ กระบวนการเตรียมตัว ซึ่งต้องอาศัยทั้งความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และการสื่อสารอย่างสันติต่อกัน

    สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้ จึงร่วมกับ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาตร์ศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา ดำเนินโครงการเพื่อเผยแพร่ความรู้ และส่งเสริมการใช้สิทธิ และเสนอตัวอย่างแนวทางปฏิบัติดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องคือ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไปได้เข้าใจ

    ทางคณะผู้ทำงานหวังว่า เว็บไซต์นี้จะเป็นสื่อกลางเผยแพร่แนวคิดการตายอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการรักษาพยาบาลที่เคารพในเจตจำนง คุณค่า และศรัทธาของผู้ป่วย อีกทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย พัฒนาแนวทางปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุข เผยแพร่ข้อมูล ความรู้แก่ผู้ป่วยในการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ตัวอย่างแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนาที่สามารถปรับใช้ได้ การเยียวยาผู้ป่วยและญาติทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความเข้าใจเรื่องการตายดี การตายอย่างสงบตามธรรมชาติ โดยมีมิติทางวัฒนธรรม ความเชื่อของคนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความความเข้าใจกระบวนการใช้สิทธิในทางปฏิบัติ ให้สามารถสื่อสารและเลือกหนทางการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตของตนเองได้ โดยเป้าหมายสุดท้ายก็คือ ความสงบที่ปลายทางแห่งชีวิตนั่นเอง และลดภาระของระบบบริการสาธารณสุข เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยรายอื่นที่ยังมีหวังต่อไป
     
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ จากแนวความคิดในการปฏิรูประบบสุขภาพ ด้วยวัตถุประสงค์ของการประกาศใช้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้เป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยมุ่งสนับสนุนให้ประชาชนรู้เท่าทัน และมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ อันจะทำให้ประชาชนสามารถดูแลและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

    พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงได้บัญญัติรับรองสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพไว้หลายประการ เช่น
    - สิทธิในข้อมูลด้านสุขภาพที่ถือเป็นความลับส่วนบุคคล (มาตรา ๗)
    - สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอต่อการตัดสินใจรับบริการด้านสาธารณสุขของผู้รับบริการ (มาตรา ๘)
    - สิทธิที่จะทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธไม่รับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของผู้ป่วย หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย (มาตรา ๑๒) เป็นต้น

    และเพื่อให้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อันจะเป็นหลักประกันประการหนึ่งของการมีสุขภาวะที่ดีของบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
    ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางกฎหมายสุขภาพ ประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพ และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

    1. จัดทำร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
    2. จัดประชุมรับฟังความเห็นและและให้คำปรึกษาแนะนำในระหว่างขั้นตอนการยกร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติตามความเหมาะสม
    3. จัดทำคำอธิบายหรือชุดความรู้ประกอบสาระสำคัญตามมาตรา 12
     
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    โดยมีผู้รับผิดชอบโครงการ คือ
    - ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    - ศาสตราจารย์ นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์
    - รองศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์
    - นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ นักวิชาการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์

    โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา เล็งเห็นความทุกข์ของผู้คนในสังคมอันเกิดมาจากทัศนคติเชิงลบกับความตาย การขาดการเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อน้อมรับความจริงของชีวิต และการขาดความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเยียวยาผู้ป่วยในระยะสุดท้ายกว่า 5 ปี โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ มุ่งนำเสนอแนวทาง และวิธีการที่จะเผชิญความตายอย่างสงบนำไปปฏิบัติได้ทั้งต่อตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่น รวบรวมองค์ความรู้สู่การพัฒนาจิตวิญญาณ และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต และการเผชิญความตายอย่างสงบ และส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายอย่างกว้างขวางในการช่วยเหลือทางจิตใจ และจิตวิญญาณต่อผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต ทั้งนี้ โดยผ่านทางกิจกรรมหลักของโครงการ อันได้แก่

    • การอบรมปฏิบัติการ “การเผชิญความตายอย่างสงบ”
    • เวทีเสวนา "เครือข่ายช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย"
    • โครงการอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเด็กเรื้อรังและระยะสุดท้าย
    • โครงการอาสาข้างเตียง
    • โครงการผลิตหนังสือและสื่อการเรียนรู้เพื่อการเผชิญการตายอย่างสงบ
     
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    <TABLE style="WIDTH: 519px" cellSpacing=0 cellPadding=30 border=0><TBODY><TR><TD>หนังสือแสดงเจตนา
    ข้อดีในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการรักษาของผู้ป่วยในวาระสุดท้าย

    </TD></TR><TR><TD>1. ผู้ป่วยสามารถแสดงประความสงค์หรือความต้องการไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ตนปรารถนาหรือไม่ปรารถนา ในเวลาที่ตนไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ รวมทั้งความต้องการที่จะเสียชีวิตที่บ้าน หรือต้องการอยู่ใกล้ชิดกับคนในครอบครัว ญาติมิตร คนใกล้ชิด

    2. ผู้ป่วยยังคงได้รับการดูแลจากแพทย์ พยาบาล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย ช่วยบรรเทาความทรมานทางกายที่เกิดจากอาการเจ็บป่วยต่างๆ ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

    3. ผู้ป่วยไม่ต้องทนทรมานจากการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ เช่น การเจาะคอเพื่อใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือการปั๊มหัวใจเมื่อผู้ป่วยอยู่ในสภาพร่างกายอ่อนแอ หรือเป็นผู้สูงอายุแล้ว

    4. ช่วยลดความขัดแย้งหรือความเห็นที่ไม่ตรงกันของญาติ เกี่ยวกับวิธีการรักษาผู้ป่วย เพราะผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาสามารถแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แสดงเจตนาแทนหรือตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้

    5. ลดความกังวลของแพทย์ พยาบาลในการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย กล่าวคือ ไม่ต้องห่วงว่าการรักษาจะไม่ได้ผลหรือไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะเป็นภาวะของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและเป็นความประสงค์ของผู้ป่วย

    6. ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและการใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็น ไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานหรือคนในครอบครัว รวมทั้งระบบบริการสาธารณสุขโดยรวมที่ยังมีผู้ป่วยอีกเป็นจำนวนมาก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    <TABLE style="WIDTH: 519px" cellSpacing=0 cellPadding=30 border=0><TBODY><TR><TD>สิทธิในวาระสุดท้าย
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12

    </TD></TR><TR><TD>• ผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต สามารถแสดงความประสงค์ที่จะไม่รับบริการทางการแพทย์ เช่น การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เป็นไปเพื่อยืดความเจ็บป่วยทรมานโดยไม่จำเป็น หากแต่ผู้ป่วยยังคงได้รับการดูแลจากแพทย์ พยาบาลตามความเหมาะสมเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและอาการต่าง ๆ

    • บุคคลทั่วไปหรือผู้ป่วยที่มีสติสัมปชัญญะดี สามารถทำหนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12 ได้ด้วยตนเอง (กรุณาดูตัวอย่างแบบฟอร์มประกอบ) แต่ควรปรึกษาหารือกับแพทย์ พยาบาลที่มีความเข้าใจเรื่องนี้ ในกรณีผู้ป่วยเด็กนั้น ควรให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองหรือญาติที่ให้การดูแลมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือกับแพทย์

    • ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาควรแจ้งให้คนในครอบครัว ญาติมิตร คนใกล้ชิดรับทราบเรื่องการทำหนังสือดังกล่าว

    • แพทย์ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย เพราะทำด้วยเจตนาดี ตามความประสงค์ของผู้ป่วย และกฎหมายสุขภาพแห่งชาติให้ความคุ้มครองไว้

    • แพทย์ พยาบาลควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหรือสภาพของผู้ป่วยแก่ผู้ป่วยหรือญาติตามความเป็นจริง ไม่ควรปิดบังข้อมูลใดๆ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงช่วงเวลาและจังหวะที่เหมาะสม

    • สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลควรจัดทำแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการทำหนังสือแสดงเจตนา

    • แพทย์ พยาบาลควรอธิบายขั้นตอนการทำหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    <TABLE style="WIDTH: 519px" cellSpacing=0 cellPadding=30 border=0><TBODY><TR><TD>แนวทางปฏิบัติ
    วิธีปฏิบัติเมื่อผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (สถานพยาบาล) มีอย่างไรบ้าง

    </TD></TR><TR><TD>สำหรับผู้ป่วยหรือญาติ

    1) ให้ผู้ป่วยหรือญาตินำหนังสือแสดงเจตนาหรือสำเนาหนังสือดังกล่าวของผู้ป่วย มาแสดงต่อแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลโดยไม่ชักช้า

    2) ในกรณีที่ไม่ได้นำหนังสือแสดงเจตนาหรือสำเนามาด้วย ก็ให้แจ้งแพทย์ พยาบาลด้วยวาจาว่า ผู้ป่วยเคยทำหนังสือแสดงเจตนาตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 โดยให้คำยืนยันการทำหนังสือดังกล่าวและนำเอกสารมาแสดงในภายหลังได้

    สำหรับแพทย์ พยาบาล โรงพยาบาล

    1) แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล ตรวจสอบหนังสือแสดงเจตนาหรือสำเนาที่ได้รับจากผู้ป่วยหรือญาติ หากไม่แน่ใจสามารถติดต่อบุคคลที่มีชื่อระบุในหนังสือแสดงเจตนา เช่น พยาน ญาติผู้ป่วย หรือบุคคลใกล้ชิด เพื่อตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของหนังสือแสดงเจตนา

    2) แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล นำหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วย เก็บเข้าในแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วย พร้อมทั้งรายงานให้ผู้บริหารสถานพยาบาลนั้นได้ทราบ

    3) ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีสติสัมปชัญญะดี ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาผู้ป่วย ทำความเข้าใจโดยอธิบายภาวะและความเป็นไปของโรคของผู้ป่วยให้ผู้ป่วยทราบ ทางเลือกในการดูแลรักษาผู้ป่วย ข้อดี ข้อเสียของการยืดการตายของผู้ป่วยระยะสุดท้าย พร้อมทั้งขอคำยืนยันการปฏิเสธบริการสาธารณสุขตามหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าว รวมทั้งอธิบายถึงวิธีปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนานั้นให้ผู้ป่วยเข้าใจให้ชัดแจ้ง

    4) ให้แพทย์ผู้รับผิดชอบการรักษาผู้ป่วย แจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมมือดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าว

    5) แพทย์ พยาบาล หรือโรงพยาบาลควรอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและญาติตามความเหมาะสม เช่น ความประสงค์ในการเสียชีวิตที่บ้าน ความปรารถนาของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาที่จะได้รับการเยียวยาทางจิตใจ ซึ่งหมายรวมถึงการสวดมนต์ การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรมของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา

    6) หากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น สามารถออกจากโรงพยาบาล (สถานพยาบาล) ได้ โดยยังมิได้ปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนา ให้แพทย์ส่งคืนหนังสือแสดงเจตนานั้นแก่ผู้ป่วยหรือญาติ โดยแพทย์ทำสำเนาเก็บไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    <TABLE style="WIDTH: 519px" cellSpacing=0 cellPadding=30 border=0><TBODY><TR><TD>ถาม – ตอบ
    หนังสือแสดงเจตนาตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12
    (ปรับปรุงใหม่)


    </TD></TR><TR><TD>พินัยกรรมชีวิตต่างจากหนังสือแสดงเจตนาหรือไม่ หนังสือแสดงเจตนามีเนื้อหาเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ป่วยหรือไม่ อย่างไร

    คำว่า “พินัยกรรมชีวิต” เป็นคำเรียกติดปากคนทั่วไป แปลมาจากภาษาอังกฤษคำว่า “living will” ซึ่งก็คือ “หนังสือแสดงเจตนา” ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 นั่นเอง แต่คำว่าพินัยกรรมชีวิต จึงเป็นคำแปลที่ไม่ถูกต้องตามความหมายแท้จริง คำว่า “will” ในที่นี้หมายถึง ความปรารถ, ความต้องการ, ความมุ่งหมาย, ทางเลือกของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาหรือผู้ป่วย ไม่ได้หมายถึงพินัยกรรม คำว่า “พินัยกรรม” หมายถึง การแสดงเจตนาของบุคคลเพื่อกำหนดเรื่องทรัพย์สินหรือเรื่องอื่นๆ ที่ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะเกิดผลทางกฎหมายภายหลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิต (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646)

    ดังนั้น หนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12 จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน เงินทอง หรือการทำพินัยกรรมให้แก่ทายาทของผู้ป่วยแต่อย่างใด และไม่ควรระบุเรื่องนี้ไว้ในหนังสือแสดงเจตนา ผู้ป่วยที่ต้องการทำพินัยกรรมควรทำเป็นเอกสารต่างหาก หรือปรึกษากับผู้มีความรู้ในเรื่องนี้


    หนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายคืออะไร

    พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 รับรองสิทธิของบุคคลในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการรักษาหรือบริการสาธารณสุข เมื่อบุคคลนั้นหมดสติ หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถพูดคุยหรือติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ ผู้ป่วยที่จะใช้สิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าว ได้แก่ ผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือผู้ป่วยที่ได้รับความทรมานจากการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถบรรเทาให้ดีขึ้นได้จนเสียชีวิตในที่สุด เช่น การเป็นอัมพาตสิ้นเชิงตั้งแต่คอลงไป โรคสมองเสื่อม โรคที่มีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและข้อที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น


    ใครที่สามารถทำหนังสือแสดงเจตนานี้ได้

    ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ทุกคน สามารถทำหนังสือแสดงเจตนาได้ โดยอาจเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีหรือเป็นผู้ป่วยก็ได้ กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ แต่ผู้ที่ทำหนังสือดังกล่าวควรมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เพราะน่าจะมีวุฒิภาวะทางความคิด อารมณ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับตัวเองได้แล้ว

    กรณีผู้ป่วยเด็กที่เจ็บป่วยด้วยโรคหรือการบาดเจ็บที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จนกลายเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายในที่สุด เช่น ผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็ง โรคเอดส์ หรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ สามารถทำหนังสือแสดงเจนาได้เช่นกัน แต่จะต้องให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือญาติที่เป็นดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับเด็กด้วยเสมอ


    การทำหนังสือแสดงเจตนามีกี่รูปแบบ

    กฎหมายไม่ได้กำหนดบังคับรูปแบบการทำหนังสือไว้ จึงทำหนังสือได้หลายวิธีการ เช่น
    1) ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาหรือผู้ป่วยเขียนหรือพิมพ์หนังสือแสดงเจตนาด้วยตัวเอง
    2) กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเขียนหนังสือได้ สามารถให้ผู้อื่นเขียนแทนได้ แล้วลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วหัวแม่มือของผู้ป่วย และควรมีชื่อผู้เขียนหรือผู้พิมพ์หนังสือแสดงเจตนาด้วย เช่น การแจ้งโดยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล หรือญาติผู้ป่วย


    เราจะทำหนังสือแสดงเจตนานี้ได้ที่ใด หรือต้องติดต่อใคร

    ทุกคนสามารถทำหนังสือแสดงเจตนานี้ได้ด้วยตนเอง ถ้าผู้นั้นมีความรู้หรือได้รับคำแนะนำจากผู้ที่ประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย อย่างไรก็ดี บุคคลทั่วไปควรขอคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลที่มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องนี้ หรือแพทย์ที่ให้การรักษาผู้ป่วย


    การทำหนังสือแสดงเจตนาต้องมีพยานรู้เห็นด้วยหรือไม่

    กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีพยานรู้เห็นในการทำหนังสือแสดงเจตนา แต่ก็ควรมีพยานที่รู้เห็นอย่างน้อย 2 คน ซึ่งจะเป็นบุคคลใดก็ได้ที่เราไว้วางใจ หรือเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติ เพื่อนหรือคนใกล้ชิด

    ถ้าผู้ป่วยที่ทำหนังสือแสดงเจนาไม่รู้สึกตัว ใครจะทำหน้าที่ตัดสินใจแทน

    ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาสามารถระบุชื่อบุคคลใกล้ชิดที่ไว้วางใจ เพื่อทำหน้าที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยตามความประสงค์ของผู้ป่วย ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนา โดยบุคคลใกล้ชิดจะหารือกับแพทย์ในการตัดสินใจร่วมกัน

    หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข สามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้หรือไม่
    ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนหนังสือแสดงเจตนาได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้ ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาหรือผู้ป่วยควรแจ้งให้คนในครอบครัว ญาติ คนใกล้ชิด หรือแพทย์ที่เคยให้การรักษาทราบโดยไม่ชักช้า

    การเก็บรักษาหนังสือแสดงเจตนา

    ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาควรเก็บรักษาหนังสือไว้เอง และมอบสำเนาหนังสือให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น คนในครอบครัว ญาติ บุคคลใกล้ชิดที่ไว้วางใจ แพทย์ พยาบาลที่เคยให้การรักษา พยาน (ถ้ามี) ผู้เขียนหรือพิมพ์หนังสือ (ถ้ามี)


    กรณีที่มีการให้การรักษาบางอย่างไปก่อนหน้าแล้ว โดยขัดต่อเจตนาของผู้ป่วย แพทย์ พยาบาลควรดำเนินการอย่างไร

    กฎหมายกำหนดให้แพทย์ พยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง สามารถระงับการให้บริการนั้นได้ตามความต้องการของผู้ป่วยที่ระบุไว้ โดยบุคคลใกล้ชิดหรือญาติร้องขอ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายหรือจริยธรรมแต่อย่างใด เช่น ยุติการใช้เครื่องช่วยหายใจ, ยุติการให้สารอาหารและน้ำทางสายยาง หรือยุติการฟื้นชีพเมื่อหัวใจหยุด เป็นต้น


    เมื่อแพทย์ พยาบาลปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12 แล้ว จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

    เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาฯ หรือตามความประสงค์ของผู้ป่วยแล้ว พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 คุ้มครองแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข มิให้ถือว่าการปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนานั้นเป็นความผิดทางอาญา เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือจริยธรรมแต่อย่างใด แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะต้องถูกฟ้องร้องเป็นคดีความ


    ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้เกี่ยวข้องของโรงพยาบาล ไม่ปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12 แล้ว จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

    กฎหมายมิได้กำหนดโทษของผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาไว้ และหากเป็นการดำเนินการด้วยเจตนาดีก็ไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ผู้ป่วยหรือญาติมีสิทธิปฏิเสธค่าบริการและค่าใช้จ่ายใดๆ เกี่ยวกับการให้บริการผู้ป่วยต่อโรงพยาบาล (สถานพยาบาล) ที่ขัดต่อเจตนาของผู้ป่วยตามหนังสือแสดงเจตนาได้ตามกฎหมายทั่วไป


    กรณีผู้ป่วยได้ทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ แต่คนในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดไม่เห็นด้วยกับการทำหนังสือดังกล่าว แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องควรปฏิบัติเช่นไร

    แพทย์หรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย จะต้องเคารพต่อความประสงค์ของผู้ป่วยที่ได้ทำเป็นหนังสือแสดงเจตนาไว้ กล่าวคือจะต้องปฏิบัติตามความต้องการของผู้ป่วย คนในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดไม่สามารถยกเลิกหรือแก้ไขหนังสือแสดงเจตนาโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้ป่วย


    ในกรณีผู้ป่วยมิได้ทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ แพทย์ควรดำเนินการดูแลรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอย่างไร

    กรณีที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะมิได้ทำหนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12 ไว้ และผู้ป่วยอยู่ในสภาพหมดสติหรือไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ แพทย์ควรทำการรักษาตามแนวทางที่ญาติหรือคนใกล้ชิดเห็นชอบร่วมกัน เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยและคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การช่วยให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบและมีศักดิ์ศรี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    ขอบคุณค่ะ ต้องไปทำพินัยกรรมชีวิตบ้างแล้ว ดีจังที่มีพระราชบัญญัติรับรองแล้ว
     
  11. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    โมทนาสาธุ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ที่นำมาฝากค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...