เรื่องเด่น ยูนิเซฟชี้วิกฤต COVID-19 เสี่ยงเพิ่มเด็กยากจน 86 ล้านคน

ในห้อง 'ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 29 พฤษภาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    9fe0b88ae0b8b5e0b989e0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895-covid-19-e0b980e0b8aae0b8b5e0b988e0b8a2e0b887.jpg

    ยูนิเซฟและองค์การช่วยเหลือเด็ก ระบุวิกฤต COVID-19 อาจส่งผลให้เด็กอีกกว่า 86 ล้านคนทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะความยากจน เรียกร้องให้ยกระดับมาตรการคุ้มครองทางสังคมเร่งด่วน

    วันนี้ (28 พ.ค.2563) องค์การยูนิเซฟ และองค์การช่วยเหลือเด็ก เปิดเผยผลการวิเคราะห์ที่ระบุว่า ภายในสิ้นปี 2563 ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจส่งผลให้เด็กอีกกว่า 86 ล้านคนทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะความยากจน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15 ซึ่งหากไม่มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก็อาจทำให้มีเด็กยากจนที่มีความเป็นอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนในประเทศรายได้น้อยและปานกลางสูงถึง 672 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้ โดยเกือบสองในสามอาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา และเอเชียใต้

    นางเฮนเรียตตา โฟร์ ผู้อำนวยการบริหารองค์การยูนิเซฟ ระบุว่า COVID-19 ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งยังทำให้การขจัดความยากจนในเด็กต้องใช้เวลานานกว่าเดิมอีกหลายปี และทำให้เด็กหลายคนเข้าไม่ถึงบริการที่จำเป็น

    ขณะที่ อิงเกอร์ แอชชิง ซีอีโอขององค์การช่วยเหลือเด็ก กล่าวว่า เด็กเป็นผู้ได้รับผลกระทบรุนแรงจากภาวะความยากจนที่เป็นผลมาจาก COVID-19 ที่ต้องเผชิญกับความหิวโหยและภาวะขาดโภชนาการ จนอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการได้ ซึ่งการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถป้องกันและควบคุมผลกระทบร้ายแรงที่จะเกิดกับเด็กๆ ที่เปราะบางที่สุดในกลุ่มประเทศที่ยากจนได้

    องค์การช่วยเหลือเด็กและยูนิเซฟ จึงได้เรียกร้องให้มีการยกระดับมาตรการคุ้มครองทางสังคมอย่างเร่งด่วน ทั้งการให้เงินอุดหนุน โครงการอาหารในโรงเรียน สวัสดิการเด็ก รวมถึงการลงทุนที่จำเป็นอื่นๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเด็ก

    ขอบคุณที่มา

    https://news.thaipbs.or.th/content/293025
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤษภาคม 2020

แชร์หน้านี้

Loading...