มาฆบูชาปี ๒๕๕๔ ณ วัดเวฬุวันฯ อินเดีย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 28 มกราคม 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

    พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดงานมาฆบูชาโลกขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ใน ๒ สถานที่ ได้แก่ ในวันที่ ๑๒ ก.พ. ๒๕๕๔ ณ ดิคชาภูมี นครนาคปุระ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และต่อเนื่องไปสู่วัดเวฬุวันมหาวิหาร ราชคฤห์ (มคธชนบท) นาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ในระหว่างวันที่ ๑๖๑๙ ก.พ. ๒๕๕๔ สาเหตุที่คณะกรรมการจัดงานมาฆบูชาโลกได้จัดให้มีถึง ๒ แห่งนั้น ก็เพราะเพื่อความสะดวกของชาวพุทธในอินเดียจำนวนมากกว่า ๑๐ ล้านคน

    วิสัชนา : ขอเจริญพรสาธุชนผู้สนใจในธรรม สำหรับปุจฉาของ “นิธินันท์/ กรุงเทพฯ” เป็นเรื่องตรงใจที่อาตมาจะเขียนอยู่แล้ว เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารการจัดงานมาฆบูชาโลกครั้งที่ ๒ ณ ประเทศอินเดีย ในเดือน ก.พ. ๒๕๕๔ นี้ โดยชาวพุทธในอินเดียร่วมกับชาวพุทธในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดงานมาฆบูชาโลกขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ใน ๒ สถานที่ ได้แก่ ในวันที่ ๑๒ ก.พ. ๒๕๕๔ ณ ดิคชาภูมี นครนาคปุระ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และต่อเนื่องไปสู่วัดเวฬุวันมหาวิหาร ราชคฤห์ (มคธชนบท) นาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ในระหว่างวันที่ ๑๖-๑๙ ก.พ. ๒๕๕๔

    สาเหตุที่คณะกรรมการจัดงานมาฆบูชาโลกได้จัดให้มีถึง ๒ แห่งนั้น ก็เพราะเพื่อความสะดวกของชาวพุทธในอินเดียจำนวนมากกว่า ๑๐ ล้านคน ซึ่งจำนวนมากอาศัยอยู่ในรัฐมหาราษฏระจะได้สะดวกในการเดินทางไปร่วมงานที่ดิคชาภูมี อันเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธที่เคยทำพิธีเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูมาเป็นพุทธเมื่อวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๔๙๙ ภายใต้การนำของ ดร.บี อาร์ อัมเบ็ดก้าร์ ซึ่งเดิมเป็นพวก อวรรณะ ที่ถูกเรียกว่ากลุ่ม จัณฑาล หรืออธิศูทร โดยระบุตัวเลขว่ามีถึง ๕ แสนคน ที่เข้าร่วมพิธีเปลี่ยนศาสนาในครั้งนั้น ณ ดิคชาภูมี นครนาคปุระแห่งนี้

    คณะกรรมการจัดงานมาฆบูชาโลกจึงได้ตัดสินใจจัดงานเฉลิมฉลองมาฆบูชา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ขึ้นที่ดิคชาภูมีแห่งนี้ เพื่อการเชิญชวนชาวพุทธในอินเดียมาร่วมงาน จะได้เรียนรู้ความสำคัญของวันมาฆบูชา ซึ่งแต่เดิมนั้นเขาไม่รู้จัก และไม่ได้รับทราบถึงความสำคัญของวันดังกล่าวเลย เมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๕๓) ซึ่งเป็นครั้งแรกของการจัดงานมาฆบูชา จากดำริและการแนะนำของอาตมา ตลอดจนแรงสนับสนุนจากศรัทธาสาธุชนชาวไทย ที่เป็นลูกศิษย์ในอาตมา จึงได้มีการจัดงานมาฆบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกอย่างยิ่งใหญ่ ณ ดิคชาภูมี สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ใจกลางเมืองหลวง (นาคปุระ) ของรัฐมหาราษฏระ ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จสูงมาก

    มีมหาชนชาวพุทธในอินเดียเข้าร่วมงานจำนวนมากและพึงพอใจกับการจัดงานศาสนกิจดังกล่าว สร้างความตื่นตัวให้กับชาวพุทธในอินเดียได้มาก โดยเฉพาะกับทางสังคมในอินเดียที่ให้ความสนใจการจัดงานมาฆบูชาในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์มากกว่า ๑๓ ฉบับ ตลอดจนถึงสื่อทางสถานีโทรทัศน์ วิทยุ ได้เผยแพร่ข่าวสาร รายงานภาพข่าวและความเคลื่อนไหวอย่างใหญ่โตไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะในรัฐมหาราษฏระซึ่งมีพื้นที่และจำนวนประชากรมากกว่าประเทศไทย เฉพาะรัฐเดียวนี้...

    ในการจัดงานปีที่แล้ว ก็ได้จัด ๒ สถานที่ ตามเหตุผลที่กล่าวมา โดยเฉพาะเพื่อความสะดวกต่อการเดินทางของชาวพุทธในรัฐมหาราษฏระที่จะเข้าร่วมงานที่ดิคชาภูมี นครนาคปุระ แต่สำหรับบรรดาผู้ที่เดินทางสะดวก มีกำลังความพร้อมสูง ก็ได้เดินทางมาร่วมงานที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร แห่งพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธในอดีต (ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร) ซึ่งปีที่แล้วได้รับพระเมตตาจากพระสังฆราชาของประเทศศรีลังกา จากนิกายสยามอุบาลีวงศ์ มาเป็นประธานเปิดงาน โดยในวันประชุมคณะสงฆ์ เพื่อร่วมสังฆกรรม ฟังสวดพระปาติโมกข์ในวันมาฆบูชาในครั้งนั้น

    อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : มาฆบูชาปี ๒๕๕๔ ณ วัดเวฬุวันฯ อินเดีย (ตอน ๑)
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    จัดงานดังกล่าวขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๖๑๙ ก.พ. ๒๕๕๔ ณ ดินแดนแผ่นดินเกิดวันมาฆบูชา ได้แก่ วัดเวฬุวันมหาวิหาร อันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ถึง ๕ พรรษา ได้แก่ พรรษาที่ ๒๓๔๑๗ และ ๒๐ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ต.ราชกีร์ (พระนครราชคฤห์ในอดีต) อ.นาลันทา ปัตนะ รัฐพิหาร (อินเดีย)

    วิสัชนา:ได้รับความกรุณาจากพระธรรมกิตติเมธี ปัจจุบันได้แก่ พระพรหมเมธี/ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานคณะสงฆ์ในศาสนพิธีดังกล่าว พรั่งพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา และพระสงฆ์นานาชาติ ที่เข้าร่วมพิธีตั้งแต่ยามเช้า ณ เขาคิชฌกูฏ จนถึง ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ภาพงานและสาระธรรมในวันนั้น ยังคงประทับใจผู้ที่มีโอกาสได้เข้าร่วมงานมาฆบูชามาจนถึงทุกวันนี้ ประชาชนชาวไทยจำนวนไม่น้อยที่ได้ชมภาพงานทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๓ รายการเที่ยวละไมไทยแลนด์ ของ ม.ล.สราลี กิติยากร ซึ่งนำคณะไปบันทึกเทปและถ่ายทำเชิงสารคดีในสถานที่สำคัญๆ ทางศาสนา มาเผยแพร่ให้ได้ชม

    สำหรับในปีนี้ก็คงเช่นเดียวกัน และคงเป็นไปตามแผนงานเดิมของการจัดงานมาฆบูชาโลก ครั้งที่ ๒ ที่ได้ให้มีการจัดงานทั้ง ๒ แห่งอย่างต่อเนื่อง โดยจะจัดให้มีการเฉลิมฉลองเทศกาลมาฆบูชาขึ้น ณ ดิคชาภูมี รัฐมหาราษฏระ (อินเดีย) เพื่อชาวพุทธในอินเดียจำนวนมาก จะได้ร่วมงานมาฆบูชาดังกล่าว มีการรับศีล การถวายทาน ตลอดจนการฟังปาฐกถาธรรม เรื่องความสำคัญของวันมาฆบูชาในพระพุทธศาสนา จากพระสงฆ์ที่สำคัญๆ หลายๆ รูป ตลอดจนถึงคฤหัสถ์ ผู้ทรงความรู้ ปิดรายการโดยการร่วมประทักษิณ ณ ดิคชาภูมี
    ด้วยคลื่นของฝูงชนจำนวนมาก ดังจะเห็นภาพแสงเทียน ดุจสายน้ำที่ไหลอย่างต่อเนื่อง สวยงามและประทับใจมาก ซึ่งจัดให้มีขึ้น ณ ดิคชาภูมี ในวันที่ ๑๒ ก.พ. ๒๕๕๔ อาตมาได้บอกกล่าวไปยังศรัทธาสาธุชนหลายๆ ท่านว่า หากใครมีโอกาส มีกำลังความพร้อม ก็อยากจะให้ไปร่วม อยากจะให้ไปเห็นกระแสแห่งความศรัทธาที่คืนกลับมาอีกครั้งของมหาชนในชมพูทวีป ที่มีต่อพระพุทธศาสนาของเรา น่าชื่นใจ และน่ายินดียิ่งนัก โดยเฉพาะความประทับใจดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ชาวพุทธอินเดีย เรียกขานว่า กูรูจี (Ven.Guruji) เป็นผู้จุดประกายหรือเป็นผู้นำ และทำให้วันมาฆบูชากลับมาอีกครั้งหนึ่งอย่างยิ่งใหญ่ โดยชาวพุทธในอินเดียร่วมกันขับเคลื่อนอย่างไม่เคยมีมาก่อนในรอบร่วมเป็นพันปี (กล่าวตามหนังสือพิมพ์ในอินเดีย ที่ลงข่าวตีพิมพ์เผยแพร่ภาพงานดังกล่าว)

    เมื่อจบงานเฉลิมฉลองที่ดิคชาภูมี นครนาคปุระ รัฐมหาราษฏระ ในวันที่ ๑๒ ก.พ. แล้ว ก็จะเข้าสู่วันมาฆบูชาที่ ๑๘ ก.พ. ๒๕๕๔ ทางคณะกรรมการจึงจัดงานดังกล่าวขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๖๑๙ ก.พ. ๒๕๕๔ ณ ดินแดนแผ่นดินเกิดวันมาฆบูชา ได้แก่ วัดเวฬุวัน มหาวิหาร อันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ถึง ๕ พรรษา ได้แก่ พรรษาที่ ๒๓๔๑๗ และ ๒๐ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ต.ราชกีร์ (พระนครราชคฤห์ในอดีต) อ.นาลันทา ปัตนะ รัฐพิหาร (อินเดีย)

    สำหรับงานมาฆบูชา ณ วัดเวฬุวันมหาวิหารในปีนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ ๒ ทางฝ่ายพระสงฆ์ไทยมีพระพรหมเมธี/กรรมการมหาเถรสมาคม รับเป็นประธานจัดงาน แต่ทราบว่าติดภารกิจที่จะมีขึ้นในวันที่ ๒๒ ก.พ. ๒๕๕๔ เกี่ยวกับวันเกิดและการจัดฉลองสมณศักดิ์ของคณะศิษย์ศรัทธา จึงไปร่วมงานไม่ได้ แต่ได้สนับสนุนการจัดงาน และรับเป็น ประธานคณะกรรมการจัดงานมาฆบูชา ตามคำเชิญของ มหาโพธิสมาคมในอินเดีย แต่อย่างไรก็ตามพระพรหมเมธีก็ได้มอบหมายให้มีพระสงฆ์ไปร่วมดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการจัดงานดังกล่าวให้ยิ่งใหญ่ ในแผ่นดินเกิดพระพุทธศาสนาอีกครั้ง
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วิสัชนา : ในส่วนของพระมหาเถระผู้ใหญ่จาก พุทธนานาชาติ ดังเช่น พระสังฆราชา จากประเทศศรีลังกา (สยามอุบาลีวงศ์) นั้น จะมาถึงพุทธคยาในวันที่ ๑๖ ก.พ. และจะทรงประกอบภารกิจปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ในนามของรัฐบาลศรีลังกา ร่วมกับรัฐบาลอินเดีย เพื่อเตรียมการทดแทน ต้นพระศรีมหาโพธิ์ปัจจุบัน ซึ่งมีความแก่ชรามากแล้ว นักพฤกษศาสตร์ของรัฐบาลอินเดียมีความเห็นว่าคงจะทรงสภาพอยู่ได้ไม่นานนัก ด้วยอายุวัยที่มากแล้วของต้นพระศรีมหาโพธิ์ปัจจุบัน ณดินแดนตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นหน่อที่ ๔ จึงได้มีการเตรียมหน่อที่ ๕ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกาซึ่งเป็นต้นดั้งเดิม ที่สืบเนื่องอายุมาถึงปัจจุบัน
    จากครั้งสมัยที่ พระสังฆมิตตเถรี อัญเชิญกิ่งไม้โพธิพฤกษ์ จากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ดินแดนตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อไปประดิษฐาน ณ ตัมพปัณณิทวีปหรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน ตามความประสงค์ของพระมหินทเถรเจ้า ซึ่งเป็นพระเชษฐา หรือหลวงพี่ของพระสังฆมิตตเถรี ที่ได้ทำนิมิตโปรยดอกมะลิไปยังซุ้มประตูอุทยาน แห่งมหาเมฆวัน จนแผ่นดินใหญ่ไหวไปทั้งเกาะ ต่อหน้าพระพักตร์ของ พระราชาเทวานัมปิยติสสะ ซึ่งพระเถระได้ถวายพระพรไว้ว่า “สถานที่ดังกล่าวนี้จักเป็นที่ปลูกกิ่งเบื้องขวาของต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้จากชมพูทวีป ซึ่งเป็นโพธิพฤกษ์ของพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
    จากบันทึกความเป็นมาของต้นพระศรีมหาโพธิ์ในลังกาทวีป หรือประเทศศรีลังกาปัจจุบันนั้น กล่าวไว้ว่า พระอโศกมหาราชทรงยินดีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้รับพระราชสาส์นจากพระราชาเทวานัมปิยติสสะ ถึงพระประสงค์ดังกล่าว จึงรับสั่งให้พระสังฆมิตตเถรีอัญเชิญกิ่งมหาโพธิ์ตรัสรู้ไป ลังกาทวีป (ตัมพปัณณิทวีป) โดยพระอโศกมหาราชได้บูชากิ่งมหาโพธิ์ด้วยพระองค์เอง แล้วทรงยกกิ่งมหาโพธิ์ดังกล่าว ลงสู่เรือที่ฝั่งแม่น้ำคงคา พระองค์เองเสด็จออกจากพระนคร ข้ามดง วิชฌาฎวี แล้วเสด็จไปถึงท่าน้ำชื่อ ตามพลิตตี ตลอด ๗ วัน ในระหว่างทางพวกทวยเทพ มนุษย์ และนาค ได้พากันมาบูชากิ่งมหาโพธิ์อย่างมโหฬาร

    พระอโศกฯ ทรงพักกิ่งมหาโพธิ์ไว้ที่ริมฝั่งสมุทร ๗ วัน หลังจากทรงบูชาด้วยเครื่องสักการะอย่างยิ่งใหญ่แล้ว พระอโศกทรงยกกิ่งมหาโพธิ์ขึ้น เสด็จลุยน้ำไปประมาณเพียงพระศอ ทรงวางกิ่งมหาโพธิ์ไว้บนเรือ แล้วรับสั่งให้ พระสังฆมิตตเถรี พร้อมบริวารลงเรือ เพื่ออัญเชิญสู่เกาะลังกา กล่าวไว้ในบันทึกความเป็นมาของต้นพระศรีมหาโพธิ์แห่งลังกาว่า ในระหว่างทางเหล่านาคได้ทูลขอพระเถรีนำกิ่งมหาโพธิ์ไปสู่นาคพิภพ

    เพื่อบูชาด้วยราชสมบัติแห่งนาคตลอด ๗ วัน แล้วนำกลับมาประดิษฐานไว้บนเรือ เพื่อแล่นไปสู่ท่า ชัมพุโกละ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะลังกา โดยในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ จึงได้ทำพิธีอัญเชิญกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ประดิษฐานลงบนแผ่นดิน ตัมพปัณณิทวีป ณ เมืองอนุราธบุรี (อนุราธปุระ ปัจจุบัน) กล่าวไว้ว่ามีความอัศจรรย์ยิ่งนักในวันดังกล่าว โดยเฉพาะการแผ่ฉัพพรรณรังสีปกคลุมไปทั่ว ตัมพปัณณิทวีป หรือ เกาะลังกา ปัจจุบัน อันเป็นการประกาศความหมายว่า พระพุทธศาสนาจะหยั่งลงอย่างมั่นคงในประเทศนี้สืบต่อไปอย่างแน่นอน

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : มาฆบูชาปี ๒๕๕๔ ณ วัดเวฬุฯ อินเดีย (ตอน ๓)-
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วิสัชนา : ดังนั้น เมื่อมีการเตรียมต้นกล้ามหาโพธิ์ขึ้น เพื่อทดแทนต้นพระศรีมหาโพธิ์ปัจจุบัน ณ ดินแดนสังเวชนียสถานตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (พุทธคยา) ในปีนี้นั้น จึงได้มีการไปอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา หรือตัมพปัณณิทวีปในอดีต โดยมีการเตรียมการปลูกลงบนแผ่นดินตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พุทธคยา ในวันที่ ๑๗ ก.พ. ๒๕๕๔ นี้ เพื่อเตรียมสำรองไว้ หากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตำแหน่งตรัสรู้เกิดสิ้นอายุ ล้มตายไปตามสภาพธรรมชาติ ที่ไม่มีสิ่งใดจะหลีกเลี่ยงอำนาจแห่งมรณกาลนั้นได้ ซึ่งประธานสงฆ์ในพิธีการปลูกต้นกล้าพระศรีมหาโพธิ์ในครั้งนี้ คือ พระสังฆราชา นิกายสยามอุบาลีวงศ์ จากประเทศศรีลังกาและตัวแทนของรัฐบาลอินเดีย ด้วยภารกิจสำคัญดังกล่าว

    ด้วยวัยที่ชรามากแล้วของพระสังฆราชา แห่งสยามอุบาลีวงศ์ ประกอบกับมีโรคประจำตัว คือ ต้องล้างไตอยู่เป็นระยะๆ จึงทำให้ไม่สามารถเดินทางไปเปิดงาน ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร เนื่องในงานมาฆบูชาโลกได้ แต่ได้มี “สาส์นจากสังฆนายก แห่งสยามอุบาลีวงศ์/ศรีลังกา” ไปแทน โดยอาตมาจะเข้ากราบถวายความเคารพ และรับสาส์นจากองค์สังฆนายกท่าน ในตอนเย็นวันที่ ๑๖ ก.พ. ๒๕๕๔ ณ มหาโพธิสมาคม (พุทธคยา) ซึ่งนับได้ว่าเป็นความเมตตาอย่างเป็นที่สุดแล้ว จากประธานคณะสงฆ์ (สยามอุบาลีวงศ์) ของประเทศศรีลังกา ทั้งนี้เพื่ออัญเชิญสาส์นไปอ่านประกาศในวันเปิดงานมาฆบูชา ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร

    สำหรับในส่วนความพร้อมของการจัดงานมาฆบูชาในปีนี้นั้น คงจะดีกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะความพร้อมเพรียงของชาวพุทธ ทั้งในอินเดียและชาวพุทธจากประเทศไทยของเรา ที่เป็นคณะกรรมการจัดงานดังกล่าว ประการสำคัญคือ การได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี ให้ชาวพุทธสามารถใช้สถานที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งปัจจุบันเป็นสวนป่าเวนูวัน (Venuvan) กำกับดูแลโดยหน่วยงานป่าไม้ของรัฐบาลอินเดีย เพื่อจัดงานมาฆบูชาได้เป็นครั้งที่ ๒ แม้ว่ารัฐบาลอินเดียจะเป็นศาสนาฮินดูส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ อย่างที่หลายๆ คนวิตกกังวล โดยเฉพาะจากรัฐบาลท้องถิ่น (รัฐพิหาร) เราได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าวิปของรัฐบาลอย่างเต็มที่ ซึ่งอาตมาเพิ่งเดินทางไปเข้าพักอยู่ที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร เมื่อวันที่ ๒๐๒๒ ม.ค. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา อากาศหนาวจัดมาก อาตมามีกุฏิเล็กๆ พร้อมห้องน้ำอยู่ใน เขตวัดเวฬุวัน ตรงส่วนศาลากรรมฐาน (Meditation Hut) ขณะนี้กำลังรื้อปรับปรุงหลังคาของ ศาลา Meditation ซึ่งถูกกิ่งไม้หักตกลงมาใส่ ด้วยพายุพัดผ่านเมื่อหลายเดือนผ่านมาแล้ว หน่วยงานป่าไม้เขายังไม่มีงบประมาณซ่อมแซม

    ทางเราชาวพุทธจึงต้องรับภาระซ่อมแซมเอง เพราะจะได้เสร็จทันใช้งานเฉลิมฉลองมาฆบูชาโลก วันที่ ๑๖๑๙ ก.พ. ๒๕๕๔ ซึ่งคณะศรัทธาชาวไทย เราได้ร่วมแรงร่วมใจกันออกปัจจัยซ่อมแซมเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาทั้งหมด (ใช้ของเก่าบ้าง ตามสภาพที่ใช้งานได้) ถือว่าเป็นบุญใหญ่ของชาวพุทธ ที่ได้ร่วมซ่อมแซมเสนาสนะในวัดเวฬุวันมหาวิหาร ถวายเป็นพุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา เนื่องในวันมาฆบูชา เรื่องดังกล่าวคิดว่าคงไม่มีปัญหาในค่าใช้จ่าย เพราะคงจะจัดรวมกันไปในหมวดการสร้างปะรำพิธี การจัดเตรียมสถานที่เพื่อรองรับการจัดงานทั้งหลาย รวมถึงการเตรียมสิ่งของต่างๆ การดูแลอาหารพระสงฆ์ ตลอดจนถึงการเดินทาง ก็มีการทำบุญจากศรัทธาชาวไทยเราเป็นหลัก

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : มาฆบูชาปี ๒๕๕๔ ณ วัดเวฬุวันฯอินเดีย(ตอน ๔)-
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    มาฆบูชาปี ๒๕๕๔ณ วัดเวฬุวันฯ อินเดีย (ตอน ๕)

    “การฟื้นฟูวัดเวฬุวันมหาวิหารให้คืนกลับมาสู่หัวใจของชาวพุทธนั้นเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก เพราะวัดเวฬุวันฯ แห่งนี้เป็นพระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นมูลเหตุในต่อมาที่ให้พระสงฆ์สาวกรับอารามซึ่งมีผู้ถวายได้ โดยในครั้งนั้นจอมกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ นามว่า พระเจ้าพิมพิสาร เป็นผู้น้อมถวายด้วยพระราชศรัทธาที่มีต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า”

    วิสัชนา : สำหรับผู้ที่เดินทางไปร่วมที่วัดเวฬุวันมหาวิหารไม่ได้ ก็สามารถร่วมอนุโมทนาก็ได้บุญเช่นเดียวกัน ตามกำลังของศรัทธาจิต ซึ่งควรระลึกให้มั่นคงว่า การฟื้นฟูวัดเวฬุวันมหาวิหารให้คืนกลับมาสู่หัวใจของชาวพุทธนั้นเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก เพราะวัดเวฬุวันฯ แห่งนี้เป็นพระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นมูลเหตุในต่อมาที่ให้พระสงฆ์สาวกรับอารามซึ่งมีผู้ถวายได้ โดยในครั้งนั้นจอมกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ นามว่า พระเจ้าพิมพิสาร เป็นผู้น้อมถวายด้วยพระราชศรัทธาที่มีต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ หลังจากที่ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว เมื่อนำราชบริพารเข้าเฝ้าสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่อง มหานารทชาดก และอริยสัจ ๔ และต่อมาพระเจ้าพิมพิสาร พร้อมทั้งราชบริพารจำนวน ๑๒ นหุต ได้ขอแสดงตนเป็น พุทธมามกะ และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้น้อมถวายทานอันได้แก่พระอารามแห่งนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ายังได้ทรงสงเคราะห์พระเจ้าพิมพิสาร โดยทรงแนะนำให้รู้จักการอุทิศบุญแด่บรรดาเปรตซึ่งเคยเป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารในอดีต โดยทรงแสดงผลแห่งทักษิณาที่ได้น้อมถวายในพระพุทธศาสนาไว้ว่า “ทักษิณาที่พระเจ้าพิมพิสารถวาย อุทิศให้หมู่พระประยูรญาติในครั้งนี้ เพราะเหตุที่พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก เป็นทักษิณาที่ทรงตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ ทานนี้จึงสัมฤทธิผลอย่างทันที” ซึ่งขยายความต่อมาว่า ทักษิณาที่สำเร็จผลทันทีต้องประกอบด้วยองค์ ๓ คือ

    ๑.การอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย
    ๒.ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย
    ๓.ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล

    ซึ่งเราชาวพุทธได้ถือปฏิบัติกันมาสืบถึงปัจจุบัน ในการพลีบุญอุทิศให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว จนเป็นธรรมเนียมประเพณีวิถีพุทธที่สำคัญยิ่ง

    นอกจากเรื่องโปรดพระเจ้าพิมพิสารแล้ว วัดเวฬุวันมหาวิหารแห่งนี้ยังเป็นที่บรรพชาอุปสมบทของพระสารีบุตรเถรเจ้า และพระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า คู่พระอัครสาวกในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานการบวชให้ด้วยพระองค์เอง ด้วยความหมายธรรมที่ทรงตรัสว่า “พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด...” และทรงประกาศ ณ สถานที่แห่งนี้ว่า ทั้ง ๒ พระเถระ คือ “คู่อัครสาวกชั้นเยี่ยมของพระองค์”

    วัดเวฬุวันมหาวิหาร มีพระสูตร คือ คำสั่งสอนของพระพุทธองค์เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่ทรงเลือกเป็นสถานที่ซึ่งทรงประทานโอวาทปาติโมกข์ ตามธรรมเนียมวิสัยของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ บรมฤกษ์ โดยมีพระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ซึ่งภิกษุทุกรูปล้วนเป็นพระอรหันตขีณาสพ ผู้ได้อภิญญา ๖ และภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา เรียกวันดังกล่าวอีกชื่อหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” หรือ วันที่ประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นสำคัญ

    หมายเหตุสำคัญที่ชาวพุทธควรจดจำอีกเรื่องหนึ่งสำหรับวันมาฆบูชา เมื่อครั้งก่อนเข้าสู่พรรษาที่ ๒ ของพระพุทธองค์ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหารแห่งนี้ นอกเหนือจากการประทานพระโอวาทปาติโมกข์แล้วนั้น ยังเป็นวันที่ทรงสถาปนาพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ เป็นคู่อัครสาวก โดยพระสารีบุตรเถรเจ้า เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา และพระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย ด้วยสาวกบารมีญาณที่บำเพ็ญมาเต็มเปี่ยมแล้ว นับด้วยอสงไขยกับอีกแสนกัป ซึ่งในวันมาฆบูชากาลดังกล่าวนั้น ยามก่อนเที่ยงวัน พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา บนภูเขาคิชฌกูฏ แห่งพระนครราชคฤห์

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : มาฆบูชาปี ๒๕๕๔ณ วัดเวฬุวันฯ อินเดีย (ตอน ๕)
     
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    มาฆบูชาปี ๒๕๕๔ ณ วัดเวฬุวันฯอินเดีย (จบ)

    “เนื่องในกาลมาฆบูชาอันสำคัญ ก่อนที่จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุของพระสงฆ์สาวก และคัมภีร์พระปาติโมกข์ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ขึ้นสู่ขบวนรถม้า เพื่อดำเนินขบวนสู่วัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งในตอนเย็นของวันนั้น พระสงฆ์จะประชุมกระทำสังฆกรรม เพื่อฟังสวดพระปาติโมกข์ คณะสาธุชนที่มาพร้อมในสถานที่ดังกล่าว ก็จะได้ร่วมฟังพระธรรมเทศนา และกระทำการอนุโมทนาในสังฆกรรมของพระสงฆ์”

    วิสัชนา : มีพระสารีบุตรเถรเจ้าถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ ซึ่งเป็นเวลา ๑๕ วันหลังจากอุปสมบทแล้วของพระสารีบุตรเถรเจ้า ได้ฟังทีฆนขสูตร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานชาย และได้พิจารณาตามจนรู้ชัดแจ้งธรรม จนบรรลุอรหัตตผล แทงตลอดสุดยอดแห่งสาวกบารมีญาณ และปัญญา ๑๖ ในสถานที่แห่งนั้น ซึ่งในวันมาฆบูชาปีนี้ ยามเช้าคณะพระสงฆ์และสาธุชนจะไปพร้อมกันยามเช้า ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ร่วมกันสวดมนต์ทำวัตร

    ด้านหน้าพระคันธกุฎี บนภูเขาคิชฌกูฏ และมาพร้อมกันบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ณ ถ้ำสุกรขาตาแห่งนี้ ซึ่งนับว่าเป็นมหามงคลอย่างยิ่งกับชีวิตของชาวพุทธ ที่ได้มีโอกาสกระทำ เนื่องในกาลมาฆบูชาอันสำคัญ ก่อนที่จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุของพระสงฆ์สาวก และคัมภีร์พระปาติโมกข์ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ขึ้นสู่ขบวนรถม้า เพื่อดำเนินขบวนสู่วัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งในตอนเย็นของวันนั้น พระสงฆ์จะประชุมกระทำสังฆกรรม เพื่อฟังสวดพระปาติโมกข์ คณะสาธุชนที่มาพร้อมในสถานที่ดังกล่าว ก็จะได้ร่วมฟังพระธรรมเทศนา และกระทำการอนุโมทนาในสังฆกรรมของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นการประกาศการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไป

    อาตมาขอกล่าวเล่ามาเพื่อผู้มีศรัทธาจะได้ร่วมกระทำการอนุโมทนาอย่างเห็นร่างเค้าโครงว่ามีศาสนกิจ ศาสนธรรมอันใดเกิดขึ้นบ้างในวันมาฆบูชาปีนี้ ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ ๒ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ (มคธชนบท) รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

    จึงใคร่ขอประชาสัมพันธ์ตามสมควร เพื่อประโยชน์แห่งสาธุชนผู้มีศรัทธา โดยเฉพาะผู้ติดตามอ่าน “ธรรมส่องโลก” มาโดยตลอด จะได้ร่วมยินดีสาธุการพร้อมกัน เพื่อมีส่วนในบุญกุศลครั้งนี้

    อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้ไปร่วมงานกับทุกคน ก็สามารถติดตามอ่านรายละเอียดโดยสรุปจาก “ธรรมส่องโลก” ได้ และคงจะมีการถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๓ รายการเที่ยวละไมไทยแลนด์เวิลด์ของ ม.ล.สราลี กิติยากร ซึ่งยกคณะไปทำการบันทึกเทป และเข้าร่วมงานด้วยตนเอง

    ขอเจริญพร

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : มาฆบูชาปี ๒๕๕๔ ณ วัดเวฬุวันฯอินเดีย (จบ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...