มหายาน กับสังคม

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย G@cKt, 26 สิงหาคม 2008.

  1. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    มหายาน กับสังคม​

    โดย.. สถิรธรรม ​

    คำว่า "มหายาน" หมายถึงพาหนะที่ใหญ่โต เป็นชื่อเรียกนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาที่เผยแผ่ไปทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย(บางตำราว่าศรีลังกา) เมื่อราวสองพันปีก่อน (ในยุคแรกเรียกว่า "มหาสังฆิกะ"แปลว่าสงฆ์หมู่ใหญ่) มีแนวการสอน(อุปายะ)ที่ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมเพื่อความอยู่รอดของพุทธศาสนาในยุคต้นๆ ที่ได้เผชิญมรสุมของเพื่อนต่างศาสนา คือแม้นจักได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบภายนอกแต่ยังคงไว้ซึ่งแก่นภายใน มีแนวทางปฏิบัติตนแบบ"โพธิสัตวมรรค" มีหลักธรรมและวิถีปฏิบัติที่สามารถช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นทะเลทุกข์ได้จำนวนมาก ประดุจพาหนะหรือเรือลำใหญ่ เน้นสังคหวัตถุ ๔, บารมี ๖ ฯลฯ เป็นต้น

    ส่วนพุทธศาสนาที่แผ่มาทางใต้ เรียก "เถรวาท" มีจุดเด่นคือยังรักษาข้อธรรม ข้อศีลไว้ได้บริสุทธิ์คงเดิมทุกประการ มีแนวทางปฏิบัติเน้นด้าน "อรหันตมรรค" คือเน้นอริยสัจ, อริยมรรค ฯลฯ เป็นต้น

    แต่ทั้งสองนิกายก็ถือกำเนิดแต่พุทธบิดรองค์เดียวกัน เมื่อพุทธศาสนารุ่งเรืองแผ่ขยายไปยังดินแดนต่างๆในโลก ซึ่งมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศต่างกัน การเผยแผ่พุทธศาสนาไปยังดินแดนนั้นๆ จำต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เหมาะสมกับจริตผู้คนในแถบนั้นเสียก่อน เพื่อให้พุทธศาสนาเป็นที่ศรัทธา แล้วจึงสอนธรรมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็ยังคงรักษาพระธรรมวินัยและพระพุทธธรรมคำสอนตามเดิมทุกประการ และอาจกล่าวได้ว่า "มหายานสร้างความไพศาล และเถรวาทสร้างความมั่นคง"

    คำว่า " โพธิสัตว์"นี้ ถือเป็นจริยวัตรแบบอย่างของมหายานิกชนไม่เว้นแต่ผู้ออกบวชเท่านั้น แม้ผู้ครองเรือนก็อาจบำเพ็ญตนเป็นโพธิสัตว์ได้ การเป็นโพธิสัตว์นั้นจำต้องมีมหาปณิธาน ๔ หรือความตั้งใจมั่นที่ยิ่งใหญ่ ๔ ประการ คือ ๑.เราจักโปรดสรรพสัตว์ให้หมดสิ้น ๒.เราจักกำจัดกิเลสให้สูญ ๓.เราจักศึกษาพระธรรมให้แจ่มแจ้ง และ ๔.เราจักบรรลุพุทธมรรคให้จงได้

    จตุรปณิธานนี้ คือสิ่งที่มหายานิกชนต้องเปล่งประกาศต่อพระบรมศาสดาในอารามทุกค่ำเช้า เพื่อตอกย้ำและเตือนใจให้มุ่งมั่นดำเนินความตั้งใจที่ยิ่งใหญ่ทั้ง ๔ นี้ให้สำเร็จ โดยมีพระพุทธองค์เป็นสักขีพยาน และมีโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นแบบอย่างกำลังใจ จึงกล่าวได้ว่า โพธิสัตว์ที่แท้มิเป็นเพียงรูปปั้นบนแท่นบูชา สวมอาภรณ์สีบริสุทธิ์ หรือประดับองค์อลังการด้วยเพชรนิลจินดา และประทับบนดอกบัวเท่านั้น แต่คำสอนในหลักธรรมมหายานหมายมุ่งให้หมู่มนุษย์ทั้งปวง ได้เป็นโพธิสัตว์ทั่วกัน ให้เป็นโพธิสัตว์ที่มีชีวิต เคลื่อนไหวได้และทำประโยชน์ได้จริง

    ดังนั้น ความเป็นโพธิสัตว์ ตามคติธรรมมหายานจึงหมายถึงทุกคน ตลอดไปจนถึงสัตว์ทั้งปวง ที่ในภายหน้าย่อมบรรลุพุทธภูมิด้วยกันทั้งสิ้น อยู่ที่ใครจะบรรลุก่อนเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้ ผู้ที่รู้จึงชี้แนะผู้ไม่รู้ ผู้ที่มีจึงให้ผู้ไม่มี ผู้ที่แข็งแรงจึงพยาบาลผู้ป่วยไข้ เป็นต้น หากจักพิจารณาสังคมปัจจุบันก็มีผู้ดำเนินตามอย่างโพธิสัตว์อยู่มากมาย เช่นการสังคมสงเคราะห์ สาธารณะกุศลในรูปแบบต่างๆที่ล้วนน่าวันทนาสรรเสริญอย่างยิ่ง แต่ยังเป็นการอนุเคราะห์เพื่อนมนุษย์ในเบื้องต้น เช่นไรถึงกล่าวว่าเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น เพราะความทุกข์ทั้งปวงนั้นที่จริงไม่มีรูปร่างลักษณะ แต่คนเรามักนำความรู้สึกพลัดพรากจากสิ่งที่รัก การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ หรือการไม่ได้สมกับกิเลสของตนว่าเป็น "ความทุกข์" ตรงข้ามสิ่งใดๆที่สาแก่กิเลสปรารถนาของตนก็เรียกเอาว่าเป็น "ความสุข"

    สรุปได้ว่า ความทุกข์หรือความสุขนั้น ล้วนเกิดจากใจของเราเอง ที่จริงแล้วไม่มีผู้ใดที่เสวยทุกข์หรือสุขนั้นอยู่เลย การช่วยเหลือตามวิถีพุทธคือการช่วยให้พ้นทุกข์ตลอดไป พ้นทุกข์อย่างยั่งยืน มิใช่เพียงครั้งคราว

    ฉะนั้น การช่วยเหลือสรรพสัตว์แบบยั่งยืนถาวรตามอย่างโพธิสัตว์นั้น จะต้องดำเนินไปบนวิถีหรือกฎเกณฑ์ที่สำคัญยิ่ง ๓ ประการ คือ ๑.มหากรุณา จะต้องมีความตั้งใจยิ่งใหญ่ ต้องการให้เขาพ้นทุกข์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนหรือมีข้อแม้ใดๆ ๒.มหาปัญญา จะต้องรู้ซึ้งถึงสิ่งที่ทำว่าเป็นประโยชน์หรือโทษเช่นไร แล้วจึงทำไปด้วยสติปัญญาที่ยิ่งใหญ่ ไม่ผิดพลาด ๓.มหาอุปายะ จะต้องรู้ว่าการกระทำใดที่แม้จะทำแต่น้อยแต่ให้ผลมหาศาล ซึ่งแต่ละบุคคลก็ต้องใช้วิธีช่วยเหลือที่แตกต่างกันอีกเป็นรายๆ ไป เป็นต้น

    ในปัจจุบันผู้ที่กำลังดำเนินตามวิถีโพธิสัตว์แม้จะมีเมตตากรุณา แต่ยังแอบแฝงด้วยผลประโยชน์ทั้งรูปธรรมคือทรัพย์สินเงินทอง และนามธรรมคือสรรเสริญลาภยศ แม้นจะมีสติปัญญาแต่ใช้ในทางผิดเสียส่วนมาก เช่นการเจริญศรัทธาโดยอ้างว่าตั้งอยู่บนบาทฐานแห่งความเมตตาและปัญญา โดยมีพิธีกรรมมากเกินจนเป็นโมหะขั้นงมงาย หลงลืมวัตถุประสงค์หรือแก่นพุทธศาสน์ที่แท้จริง แม้จะมีอุปายะหรือกุศโลบายมาก แต่กลายเป็นเล่ห์เพทุบายไปเสียหมด โดยเฉพาะกุศโลบายวิธีที่สร้างขึ้นมานั้น แทนที่จะช่วยเพื่อนมนุษย์ได้อย่างแท้จริง กลับยิ่งหลงติดกุศโลบายที่ตนสร้างจนลืมแก่นเองก็มีมาก อุปมาแมงมุมชักใยพันตัวเอง เช่นการสร้างวัตถุมงคลที่เกินคำว่า "ศรัทธาสมธรรม" ในปัจจุบัน แล้วอุปายะที่อ้างว่าใช้ชักนำหรือเจริญศรัทธานั้น จะนำพาหมู่สัตว์ในเรือลำนี้ไปสู่ฝั่ง หรือลงเหวกันแน่?? เป็นเพราะเรามีเข็มทิศคือพระธรรม แต่ไม่ใช้หรือใช้ไม่เป็น และขาดนายเรือผู้เจนทะเล คือผู้นำจิตวิญญาณที่เป็นแบบอย่างแท้จริง

    เราผู้เป็นพุทธบริษัท ผู้ที่เรียกตนว่าเป็นพุทธสาวกหรือพุทธบุตรทั้งปวง ควรเร่งไตร่ตรองการกระทำและศรัทธา ว่าถูกต้องสมธรรมดีอยู่หรือไม่ เป็นไปเพื่อการช่วยเหลืออย่างยั่งยืนแท้จริงหรือยัง หรือเป็นการซ้ำเติมให้ย่ำแย่ลงไปอีก ตัวอย่างเช่น แม้การสังคมสงเคราะห์ หรือการสาธารณกุศลนั้น นับเป็นสิ่งจำเป็นและยังประโยชน์มากในการแก้ไขปัญหาสังคม ถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาชั้นสูงขึ้นต่อไป ถือเป็นธรรมข้อมหากรุณา แต่อาจยังขาดมหาปัญญาและมหาอุปายะ หากเราจักใช้หลักความยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ ข้างต้นประกอบกันตามสมควรแก่เวลาและโอกาส เพื่อส่งเสริมให้เพื่อนมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยากทั้งหลาย ได้มีสติปัญญาตามรู้ธรรม ไม่หวั่นไหวต่อความสุขและความทุกข์ในชีวิตจนเกินไปนัก เพียงแค่รู้ปล่อยวาง ละอัตตาความยึดมั่นถือมั่นในชีวิตลงเสียบ้าง ก็ไม่มีอะไรที่จะได้หรือเสีย ไม่มีสุขหรือทุกข์ ทั้งไม่มีเขาและไม่มีเรา

    เพียงเท่านี้ เราจักดำเนินชีวิตตามวิถีโพธิสัตว์แบบยั่งยืนในทันที อันเป็นสิ่งที่ผู้คิดจักช่วยเหลือต้องค้นหาและพัฒนาอุปายวิธีให้เหมาะสมอยู่เรื่อยไป และผู้ต้องการรับความช่วยเหลือก็จำต้องพัฒนาตนเองให้ง่ายต่อการช่วยเหลือด้วยเช่นกัน
    ดั่งพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ที่ว่าความพอเพียงนั้นจะช่วยให้เขายืนด้วยตัวเองแล้วเขาจักช่วยคนอื่นต่อไป เราทุกคนทั้งผู้ที่ช่วยเหลือผู้อื่น และผู้ที่ถูกช่วยเหลือก็จะเป็นโพธิสัตว์ได้ สามารถช่วยผู้ที่ยังเป็นปุถุชนให้กลายเป็นโพธิสัตว์ โลกแห่งนี้จึงกลายเป็นพุทธเกษตรในอุดมคติ นำพลังของธรรมธิษฐานหรือนามธรรมขับเคลื่อนเป็นปุคคลาธิษฐานหรือรูปธรรม ด้วยความเข้าใจสัจจธรรมภายในของตนด้วยปัญญา เช่นนี้เราทุกคนจึงจะเข้าใจปริศนาธรรมว่าด้วยเรื่องพระโพธิสัตว์สวมใส่อาภรณ์ขาวบริสุทธิ์ เพราะท่านมีจิตกรุณา จิตปัญญาและจิตอุปายะที่ขาวบริสุทธิ์ไม่แอบแฝง หรือที่ประดับองค์ด้วยเพชรนิลจินดา ก็เพราะสิ่งมีค่าที่มนุษย์ต้องการหนักหนาเป็นเพียงสิ่งประดับที่อยู่ภายนอกเท่านั้น การประทับบนดอกบัว จึงหมายความว่าพระโพธิสัตว์มาโปรดสัตว์ยังโลกียโลกที่มากด้วยกิเลส แต่ท่านยังสะอาดบริสุทธิ์ ประดุจบัวที่เกิดจากโคลนตมสกปรกแต่ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำอาสวะ

    หากเราทุกคนทำความดีโดยยึดมหาปณิธาน ๔ ประการ บนพื้นฐานของความยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ ประการแล้ว จึงบำเพ็ญประโยชน์ต่อโลกด้วยความไม่เหนื่อยยาก เมื่อไม่เหนื่อยยากจึงไม่ท้อถอยจนล้มเลิกไป ยังให้โลกนี้เป็นแดนพุทธเกษตรที่มีแต่ความสุข มีแต่คนดี ทั้งหมดนี้จึงจะเรียกว่า "มหายานกับสังคม" หรือ "มหายานเพื่อมหาชน" ได้อย่างแท้จริง...




    บทความจากhttp://www.buddhayan.com/?p=article&content_id=138
     
  2. ศักดิ์

    ศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,187
    ค่าพลัง:
    +2,022
    [​IMG]
    ขออนุโมทนา
    南 นำ
    無 โม
    阿 ออ
    彌 มี
    陀 ทอ
    佛 ฮุก
    นโมอามิตตาพุทธ
     
  3. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  4. มาร-

    มาร- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +487
    จะยานไหนๆ ได้ชื่อว่ายาน และตั้งมั่นอยู่ในมรรคมีองค์ 8 ทุกๆยานก็สามารถพาเหล่าสรรพสัตว์ไปถึงซึ่งถิ่นพระนิพาน ได้เช่นนั้นแล

    ________________________

    บุญกุศลเหล่าใดที่ข้าพเจ้าได้ทำ จำได้ก็ดี จำไม่ได้ก็ดี ร้อยชาติก็ดี หมื่นชาติก็ดี อสงไขย์ชาติก็ อนันตชาติก็ดี

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทั่วทั้งอนันตจักวาลโดยมี ภันเต ภควา สมเด็จองค์พระประถม สิขี ทศพล ญาณที่ 1 เป็นองค์พระประธาน

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจคุณพระธรรม คำสั่งสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจคุณพระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ทั่วอนันตจักวาล

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจคุณพระสงฆ์ พระสาวกแห่งองค์ ภันเต ภควา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

    ข้าพระพุทธขอน้อมอำนาจ คุณพระบิดา พระมารดา ของข้าพเจ้าทุกๆชาติ ทุกๆภพ ทุกๆภูมิ

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจแห่งคุณพระอาจารย์ ทุกๆรูป ทุกๆนาม ที่ ได้ประสิทธิ ประสาท วิชา

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจคุณของ พระพรหม และเทพ เทวา ทุกๆ พระองค์ จงร่วมกันบันดาล และ อนุโมทนา

    ขอให้กุศลผลบุญ เหล่าใด ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำมา ได้บำเพ็ญมาโดยชอบ จำได้ก็ดี จำมิได้ก็ดี ข้าพเจ้าขออุทิศกองกุศลเหล่านั้นให้ถึงแด่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกรูป ทุกนาม ทุกภพ ทุกภูมิ ขอให้ได้ อนุโมทนา ขอให้มีส่วนร่วมในกุศลของข้าพเจ้า เพื่อยังผลให้ที่สุดแห่งกองทุกข์แห่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกรูป ทุกนาม จงหมดสิ้นไปด้วยเทอญ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2008
  5. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    ขออนุญาตนำกระทู้นี้ขึ้นมาให้สมาชิกใหม่ๆได้มาอ่านกันอีกนะครับ เพราะผมเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดีเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนอย่างหนึ่งของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...