เรื่องเด่น มมร จัดงานสมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด"การขับเคลื่อนพลังบวร สู่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน"

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 11 กรกฎาคม 2017.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    DSC_8448.jpg
    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยร่วมกับองค์กรภาครัฐและเครือข่ายองค์กรชาวพุทธ จัดงานสมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการประเพณีวันสำคัญของชาติและศาสนา วันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2560 เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ กรกฏาคม ๒๕๖๐ ณ ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมรามาการ์เด้นท์ โดยพระพรหมเมธี กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอในการร่วมกันแก้ไขปัญหาวิกฤติของพระพุทธศาสนาให้ฟื้นคืนกลับมาในจิตใจของพุทธศาสนิกชนไทย และกำหนดแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันของหน่วยงาน องค์กร รวมไปถึงผู้มีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน ภายใต้แนวคิด “การขับเคลื่อนพลังบวร สู่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน”

    DSC_8352.jpg

    DSC_8329.jpg DSC_8360.jpg DSC_8436.jpg

    พระพรหมเมธี ประธานในพิธี

    พระพรหมเมธี ประธานในพิธีกล่าวสัมโมทนียกถาว่า วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก จนมีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 การจัดการประชุมสมัชชานี้ จึงเป็นการประชุมที่กำหนดแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    ขณะที่ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนโดยประชารัฐ" ว่ารัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติให้ดำรงคงไว้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้หลักจริยธรรมไปใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินให้มีธรรมาภิบาล และส่งเสริมให้คนไทยมีค่านิยมหลัก 12 ประการในจิตใจ อีกทั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชน ประดับธงชาติเคียงคู่ธงธรรมจักร ตามอาคาร บ้านเรือน ในช่วงวันสำคัญทางศาสนา อาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาด้วย เพื่อเป็นการยืนยันในการเคารพบูชา และให้พระพุทธศาสนาเจริญงอกงามสืบไป



    DSC_8475.jpg DSC_8486.jpg

    นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนโดยประชารัฐ" DSC_8495.jpg

    พระเทพบัณฑิต อธิการบดี มมร กล่าวปาฐกถาพิเศษ "มมร กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา"

    หลังจากนั้น พระเทพบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "มมร กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา" เพื่อยืนยันถึงพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และยังได้กล่าวขอบคุณภาคส่วนต่างๆ ที่ได้มาร่วมงานสมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในครั้งนี้

    นอกจากนี้ในช่วงเช้ายังมีการเสวนาในหัวข้อ "การขับเคลื่อนพลังบวร สู่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน" โดยพระเมธาวินัยรส รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย , ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, และศิลปิน นักแสดง กิ๊ก-มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ ดำเนินการเสวนาโดย คุณอดิศักดิ์ ศรีสม พิธีกรชื่อดัง

    DSC_8508.jpg

    การเสวนาในหัวข้อ "การขับเคลื่อนพลังบวร สู่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน"

    hu.jpg h1.jpg

    ส่วนในช่วงบ่าย ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นและวางแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาภายใต้แนวคิด "บวร" เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมสมัชชาเป็น กลุ่มบ้าน (ประชาชนทั่วไป) กลุ่มวัด (ภาคคณะสงฆ์) และกลุ่มราชการโรงเรียน (ภาครัฐ) ได้มีการสรุปข้อเสนอการระดมความคิดของแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งการรับรองมติสมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ โดยมีหม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้แทนรัฐบาลรับมอบมติสมัชชา และแสดงปาฐกถาพิเศษ "พระมหากษัตริย์ไทยกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา"

    DSC_8589.jpg DSC_8547.jpg

    DSC_8635.jpg

    h3.jpg h2.jpg

    DSC_8664.jpg DSC_8698.jpg

    DSC_8700.jpg

    สำหรับมติสมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติครั้งที่ ๒ นี้มีข้อสรุปทั้งสิ้น ๖ ข้อคือ

    ๑. ให้รัฐบาลส่งเสริมให้เกิดและรวบรวมทำเนียบเครือข่ายจิตอาสาด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมถึงจัดทำแนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับพระไตรปิฎก

    ๒. ให้รัฐบาล หน่วยงาน เครือข่าย และพื้นที่ ร่วมกันค้นหา ยกย่องบุคคลต้นแบบด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา,ชุมชนต้นแบบวิถีพุทธ เช่นหมู่บ้านศีลห้า ฯลฯ พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของบุคคลและชุมชนต้นแบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

    ๓. ให้รัฐบาล และองค์กรด้านสื่อสารส่งเสริม สนับสนุนการผลิตสื่อเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในส่วนเครือข่ายชาวพุทธ และสื่อสารมวลชน พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งมีกลไก ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และตอบโต้การเผยแผ่ที่มีผลเชิงลบ นอกจากนั้นควรพิจารณาจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการเฉพาะ

    ๔.ให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการวิจัยเพื่อพัฒนาการเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง มีการสร้างความร่วมมือดำเนินการวิจัยเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    ๕. เสนอให้รัฐบาล มอบหมายให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่พระ เด็กและเยาวชน หน่วยงาน องค์กร เครือข่าย และพื้นที่ ให้ดำเนินการด้วยความมีเอกภาพในทุกระดับ

    ๖. ผลักดันให้พระพุทธศาสนา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยนับถือเป็นศาสนาประจำชาติ และศาสนาประจำชีวิต รวมทั้งผลักดันให้เกิดธนาคาร กองทุน เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    DSC_8762.jpg

    DSC_8784.jpg DSC_8336.jpg DSC_8669.jpg



    DSC_8395.jpg

    ภายในงานมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ชุด "ศาสนาพาพ้นทุกข์ สังคมสุขสืบยุคสมัย"

    วันอาสาฬบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรก คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งถือเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขึ้นครั้งแรกในพุทธสมัยของพระพุทธองค์ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธคุณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับประเทศภายใต้ชื่องาน "สมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ " เมื่อวันพุธที่ ๑๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ แกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ซึ่งได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสานต่อเจตนารมณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงได้จัดการประชุมสมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติครั้งที่ ๒ ขึ้น อีกทั้งยังตั้งเป้าหมายว่าจะจัดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี โดยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และร่วมกันกำหนดทิศทาง วางยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นระบบ และมีความเป็นเอกภาพ อันจะเป็นแนวทางให้ดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ที่จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแก่พุทธบริษัท ๔ นำมาซึ่งสติปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆในชาติบ้านเมืองให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างเป็นรูปธรรม

    ที่มา
    mbu.ac.th
     

แชร์หน้านี้

Loading...