พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัยเรื่อง"การสื่อสารทางจิต"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย phuang, 26 เมษายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE borderColor=#996600 height=98 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="66%" border=2><TBODY><TR><TD>
    [size=+1][size=+1]พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัย เรื่อง
    "การสื่อสารทางจิต"

    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
    [/size][/size]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    บทความนี้ ผมได้เขียนขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมซึ่งมีความรู้ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในสาขาโทรคมนาคมคือ การสื่อสารทางวิทยุ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจในสภาวธรรมต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ในพระอภิธรรม โดยวิธีอุปมาอุปมัยกับความรู้พื้นฐานทางปัญญาที่ท่านเหล่านี้มีอยู่แล้ว

    หัวข้อสำคัญในการศึกษาพระอภิธรรม มีอยู่ ๔ หัวข้อด้วยกัน คือ จิต (บางทีเรียกว่า วิญญาณ หรือ จิตวิญญาณ) เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งถือเป็นแก่นแท้ที่สุดของความจริงของสภาวธรรมทั้งปวงที่ได้อุบัติขึ้นในมนุษยโลก พรหมโลก เทวโลก นรกภูมิ อบายภูมิ และเอกภพ หรือ จักรวาล ที่เรียกว่า "ปรมัตถสัจจะ" ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ ในสี่หัวข้อนี้ยังได้จำแนกรายละเอียดออกไปอีกมากมายมีแสดงอยู่ในพระไตรปิฎกถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (ผมเชื่อว่า พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้มากกว่านี้เหลือคณานับ) ท่านผู้ที่กำลังศึกษาปฏิบัติธรรมในขั้นต้นๆ คงจะรู้สึกลำบากไม่น้อยที่จะแยกแยะออกมาให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างจิต กับเจตสิกให้เห็นอย่างชัดเจนได้

    ตามหลักวิชาพุทธศาสตร์ จิตเป็นธรรมชาติของมนุษย์ในการรับรู้เรื่องราวที่ผ่านเข้ามาทางอวัยวะต่างๆ ของร่างกายรวม ๕ ทาง ที่เรียกว่า "ปัญจทวาร" หรือ "อายาตนะ" ได้แก่ ตา (รูป) ลิ้น (รส) จมูก (กลิ่น) หู (เสียง) และการสัมผัสของอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย (กาย) กับอีกหนึ่งทางคือ ใจคิดขึ้นมาเอง ที่เรียกว่า "มโนทวาร" หรือ "ธรรมารมณ์" การเกิดดับของจิตจึงหมายความว่า "การเปลี่ยนแปลงเรื่องราวที่จิตรับรู้" ใน ๑ วินาที จิตจะเกิดดับรวดเร็วถึง ๓ ล้านล้านครั้ง เร็วกว่าคลื่นวิทยุประมาณ ๑ หมื่นเท่า เมื่อจิตเริ่มรับรู้ และปรุงแต่งแล้ว จะทำให้เกิดอารมณ์พอใจ (อิฏฐารมณ์) ไม่พอใจ (อนิฏฐารมณ์) หรือเฉยๆ (อุเบกขา) ทำให้เกิดความทะเยอทะยานอยากได้ เช่น อยากได้รถยนต์เบนซ์มาขี่ อยากได้ดาราโทรทัศน์มาเป็นคู่ครองเพราะหน้าตาน่ารัก รูปร่างอวบอัดเซ็กซี่ดี (กามตัณหา) ความอยากเป็น เช่น อยากเป็นคนรวย อยากเป็นรัฐมนตรี ฯลฯ (ภวตัณหา) ความไม่อยากเป็น เช่น ไม่อยากเป็นคนจน ไม่อยากเป็นโรคมะเร็ง โรคเอดส์ ฯลฯ ความเบื่อหน่าย (วิภวตัณหา) ซึ่งเรียกรวมว่า "ตัณหาอารมณ์"

    ธรรมชาติซึ่งเฝ้ากระตุ้นให้จิตเกิดรับ ระลึก รู้ มีอารมณ์ต่างๆ เรียกว่า "เจตสิก"

    อวัยวะของร่างกายที่เป็นกลไกสำคัญซึ่งทำให้เกิดเจตสิกขึ้นมาได้ คือ สมอง ซึ่งใช้ คำศัพท์บาลีว่า "หทัยวัตถุ" แบ่งออกเป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ให้เกิดเจตสิกต่างๆ ได้มากถึง ๕๒ ส่วน คือ มันสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ การปรุงแต่ง มันสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ส่วนที่เกี่ยวกับการนึกคิด การไตร่ตรอง พิจารณาหาเหตุ หาผล ทำให้เกิดปัญญา ในจำนวนนี้มีมันสมองซีกขวาซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนึกคิด การสร้างจินตนาการต่างๆ จัดเป็นฝ่ายศิลป์ และมีมันสมองซีกซ้ายซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล การคิดคำนวณต่างๆ จัดเป็นฝ่ายศาสตร์ ในปัจจุบัน ได้มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สามารถตรวจสอบสภาวะการทำงานของสมอง หรือ คลื่นสมองได้ และได้มีการนำเอาเครื่องมือดังกล่าวมาตรวจสอบลักษณะของคลื่นสมองของคนที่นอนหลับ ซึ่งทางวิชาการแพทย์ได้จำแนกขั้นตอนการหลับของคนไว้ ๔ ระดับด้วยกัน ตั้งแต่เริ่มจะเคลิ้มหลับ ไปจนถึงหลับสนิท จิตเข้าภวังค์ ไม่รู้สึกตัวเลย ดังคำกล่าวที่ว่า "หลับเป็นตาย" ลักษณะของคลื่นสมองในแต่ละระดับนั้นแตกต่างกันดังแสดงไว้ในภาพประกอบ นอกจากนี้ ยังได้สรุปไว้ว่า คนที่เริ่มจะเคลิ้มหลับ ความถี่ของคลื่นสมองจะสูง แต่จะมีระดับไฟฟ้าของคลื่นสมองซึ่งวัดได้เป็นแรงดัน (Voltage) อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่หลับสนิท จิตเข้าสู่ภวังค์นั้น ความถี่ของคลื่นสมองจะต่ำมาก แต่จะวัดระดับไฟฟ้าของคลื่นสมองที่เป็นแรงดันจะวัดได้ในระดับสูงที่สุด

    เมื่อมีการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานเพื่อสร้างสมาธิแต่ละครั้ง การบริกรรมภาวนาไม่ว่า จะเป็น พุทโธๆ สัมมาอรหังๆ ยุบหนอ พองหนอ หรือ พระสูตร พระคาถาต่างๆ ตามที่พระอาจารย์ของแต่ละสำนักจะแนะนำสั่งสอน จิตจะถูกโน้มนำให้ไปเกาะจับอยู่ที่อารมณ์เดียว หรือ คิดอยู่ที่เรื่องหนึ่งเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว ที่คำศัพท์บาลีเรียกว่า วิตก และเฝ้าประคองให้จิตเกาะจับอยู่ที่อารมณ์เดียว คิดอยู่แต่เรื่องนั้นเพียงเรื่องเดียวได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ที่คำศัพท์บาลีเรียกว่า วิจาร และ เอกัคคตา สมาธิก็จะเกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่า จิตได้เข้าสู่วิถีสงบสนิทนิ่งเข้าสู่ภวังค์(Trance) หรือที่เรียกว่า "ก้นบึ้งของหัวใจ" แล้ว ต่อจากนั้นก็จะดับ หรือ จุติ แล้วก็เกิด หรือ ปฏิสนธิ ขึ้นใหม่ มีลักษณะเกิดดับกันอย่างต่อเนื่องเสมือนน้ำที่ไหลอยู่เรื่อยๆไม่รับรู้อารมณ์เรื่องราวใดๆทั้งสิ้น และโดยที่จิตได้เกาะจับอยู่ที่อารมณ์เดียว หรือ ติดอยู่กับเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว ลักษณะของคลื่นสมองทั้งในด้านความถี่ และระดับไฟฟ้าที่วัดได้จึงเหมือนกับในช่วงเวลาก่อนที่จิตจะดับ และมาเกิดใหม่

    เมื่อนำเอาหลักการแพทย์ และวิชาการไฟฟ้า-วิทยุมาประยุกต์เข้าด้วยกัน จะเห็นได้ว่า ส่วนสมองข้างขวาได้มีบทบาทเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้จิตเข้าไปเกาะจับอยู่ที่อารมณ์เดียว หรือ คิดอยู่ที่เรื่องหนึ่งเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว เมื่อมีสภาวะในลักษณะเดียวกัน คือ มีลักษณะคลื่นสมองที่เหมือนกัน เกิดต่อเนื่องกันเช่นเดียวกับไฟฟ้ากระแสสลับ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าไปในจังหวะเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือ เฟส (Phase) เดียวกัน จึงเป็นการป้อนกำลังกลับที่ส่งเสริมกัน ไม่หักล้างกันที่เรียกว่า "Positive Feedback หรือ Regeneration" ทำให้มีพลังงานไฟฟ้าสูงขึ้นโดยลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจระดับไฟฟ้าของคลื่นสมองทางวิชาการแพทย์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นคือ จิตที่เข้าสู่ภวังค์นั้นจะมีความถี่ของคลื่นสมองต่ำ แต่มีระดับไฟฟ้าสูงที่สุด ดังนั้น เมื่อเกิดขึ้นซ้ำๆ เช่นนี้จนถึงจุดหนึ่ง จะทำให้เกิดการออสซิลเลชั่น (Oscillation) ตามหลักวิชาการวิทยุเช่นเดียวกับการทำงานของวงจรออสซิลเลเตอร์(Oscillator) ในเครื่องส่งวิทยุ มีพลังงานที่แผ่กระจายออกไปได้ ในกรณีนี้ จึงเรียกพลังงานที่เกิดขึ้นว่า " พลังจิต" พลังจิตที่เกิดขึ้น และแผ่กระจายออกไปจะมีลักษณะเป็นลูกคลื่นต่อเนื่อง คล้ายกับการแผ่กระจายของคลื่นวิทยุที่เรียกว่า "คลื่นพาห์ (Radio Carrier)" พลังจิตนี้จะมีมาก หรือน้อยขึ้นอยู่พลังของสมาธิซึ่งเป็นพลังหนึ่งในพละ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการปฏิบัติธรรม ๓๗ ประการ หรือ โพธิปักขิยาธรรม เพื่อการ(ตรัส)รู้ แจ้ง เห็นจริง ซึ่งมีแสดงอยู่ในพระอภิธรรมนั่นเอง นอกจากนี้ พลังจิตซึ่งเกิดจากสมาธินี้ยังสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติมีอำนาจพิเศษที่เรียกว่า " อภิญญา" ในคำศัพท์บาลี อาทิ การเหาะเหินเดินอากาศ สามารถระลึกชาติได้ มีตาทิพย์ที่เห็นได้ไกล มีหูทิพย์ที่ได้ยินไกล สองประการหลังนี้ก็คือ โทรจิต หรือ การสื่อสารทางจิต นั่นเอง

    ดังนั้น จึงเป็นการพิสูจน์ให้เห็นและเข้าใจได้ว่า การที่พระอริยบุคคลสามารถ ติดต่อระหว่างกันในขณะที่ท่านอยู่ต่างสถานที่กัน ห่างกันเป็นระยะทางไกลๆ ได้นั้น จึงมิใช่เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ แต่เป็นเพราะพลังจิตที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิซึ่งมีกำลังสูงของท่านทำให้เกิดอภิญญา สามารถแผ่กระจายพลังไปได้ไกลในลักษณะของพลังานคลื่นวิทยุที่แผ่กระจายออกจากสายอากาศของเครื่องส่งวิทยุที่มีกำลังส่งสูง ช่วยให้พระอริยบุคคลอีกท่านหนึ่งซึ่งมีพลังจิตสูงเช่นเดียวกัน สามารถรับพลังจิตที่ส่งมาได้ดีเช่นเดียวกับเครื่องรับวิทยุที่มีความไวในการรับฟังสูง (High Receiving Sensitivity)

    ตามหลักวิชาการสื่อสารทางวิทยุ เราสามารถทำให้สัญญาณความถี่เสียง (Audio Frequency Signal) และหรือ พลังานสัญญาณภาพ (Video Signal) แผ่กระจายไปได้ไกลๆ โดยการนำสัญญาณดังกล่าวมาผสมกับสัญญาณวิทยุคลื่นพาห์ ที่เรียกว่า "มอดูเลชั่น (Modulation)" โดยวิธีผสมกันในแบบต่างๆ อาทิ AM (Amplitude Modulation), FM (Frequency Modulation) เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมคลื่น ผสมพลังงานสัญญาณต่างๆ เข้ากับพลังงานคลื่นวิทยุ เรียกว่า "มอดูเลเตอร์ (Modulator)" ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้สัญญาณวิทยุ คลื่นพาห์ให้มีการเปลี่ยนแปลงช่วงสูง (Amplitude Modulation) หรือ มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ (Frequency Modulation) แล้วแต่กรณี

    เป้าหมายสำคัญที่สุดในออกแบบระบบโทรคมนาคมได้แก่ การรักษาอัตราส่วนความแตกต่างทางระดับระหว่างสัญญาณ กับเสียงรบกวนภายในระบบ (Signal to Noise Ratio หรือ S/N Ratio) ให้มากที่สุด ที่เรียกว่า "Link Budget หรือ Noise Objectives" ซึ่งจะทำให้ ผู้รับสัญญาณปลายทางสามารถรับสัญญาณที่ส่งมาพร้อมกับคลื่นพาห์ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณภาพ หรือ เสียง ได้ชัดเจนที่สุด และเสียงรบกวนต่างๆ ที่จะทำให้ภาพพล่าไม่ชัดเจน ภาพล้มบ่อยๆ ภาพมีสีไม่สดสวย หรือ มีเสียงโครกคราก ซู่ซ่า ที่ทำให้สัญญาณที่รับฟังได้ไม่ไพเราะชัดเจน น่ารำคาญ เกิดความเบื่อหน่ายที่จะทนรับชม รับฟังต่อไป มีระดับต่ำที่สุด

    สภาพของจิต และเจตสิก เมื่ออธิบายในเชิงอุปมาอุปมัยโดยเปรียบเทียบกับหลักธรรมชาติทั่วไป จะได้สาระสำคัญดังนี้

    เมื่อจิตเข้าสู่วิถีเป็นภวังค์สงบนิ่ง เจตสิกจะอยู่ในภาวะที่หยุดพักการทำงานดัวยพลังสมาธิ จึงเปรียบเทียบได้กับคนโทที่ยังไม่ถูกเขย่าให้สั่นสะเทือน น้ำที่มีอยู่ในคนโทจึงยังดูใสสะอาด เมื่อใดก็ตามที่จิตหลุดจากภวังค์ เจตสิกเริ่มทำงาน ภาวะของจิตในลักษณะนี้จึงเปรียบเทียบได้กับสภาพของคนโทน้ำที่ถูกเขย่าเกิดการสั่นสะเทือน สิ่งสกปรกที่ตกตะกอนอยู่จะฟุ้งกระจายขึ้นมา ทำให้น้ำขุ่นมัวมากน้อยโดยขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความแตกต่างระหว่างปริมาณน้ำบริสุทธิ์สะอาด กับสิ่งสกปรกที่ตกตะกอนอยู่ในคนโท ถ้าอัตราส่วนความแตกต่างดังกล่าวมีมาก น้ำในคนโทก็จะไม่ขุ่นมัวมาก สภาพของจิตในลักษณะนี้จัดเป็นกุศลจิตที่มีแต่ความปิติ สงบสุข ไม่ร้อนรนกระวนกระวาย มีสติอยู่กับตัว เป็นจิตที่ผ่องใสสว่าง ทำให้เกิดพลังปัญญาเห็นช่องทางที่จะแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ ในทางตรงกันข้าม หากอัตราส่วนความแตกต่างดังกล่าวมีน้อย น้ำในคนโทจะขุ่นมัวมาก สภาพของจิตประการหลังนี้จัดเป็นอกุศลจิตที่มีแต่ความทุกข์ ร้อนรนกระวนกระวาย มีแต่ความโกรธ คิดแค้นพยาบาท อิจฉาริษยา เห็นผิดเป็นชอบ ขาดสติ จิตใจไม่ผ่องใสขุ่นมัว ขาดปัญญา คิดหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ไม่ได้

    ภาวะจิตในลักษณะกุศล และอกุศลดังกล่าวข้างต้น สามารถอธิบายในเชิงอุปมาอุปมัยโดยใช้หลักวิชาการทางวิทยุได้ดังนี้

    ระดับของสัญญาณเสียง และหรือ สัญญาณภาพที่ผสมมากับคลื่นพาห์ซึ่งแผ่กระจายจากสายอากาศของเครื่องส่งวิทยุจนถึงเครื่องรับวิทยุ กับระดับของเสียงรบกวนที่ปะปนมาถึงเครื่องรับวิทยุพร้อมๆ กัน เปรียบเทียบได้กับน้ำที่บรรจุอยู่ในคนโทซึ่งมีทั้งน้ำบริสุทธิ์สะอาด และสิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ที่กำลังถูกเขย่า ถ้าอัตราส่วนความแตกต่างระหว่างระดับสัญญาณเสียงและหรือ สัญญาณภาพกับระดับของเสียงรบกวน หรือ S/N Ratio มีน้อย สัญญาณของภาพที่รับได้จะไม่ชัดเจนแจ่มใส สีไม่สวยสด ภาพล้มบ่อยๆ สัญญาณที่รับฟังเสียงได้จะไม่ไพเราะชัดเจน ในทางตรงกันข้าม หาก S/N Ratio มีมาก สัญญาณของภาพที่รับได้ชัดเจนแจ่มใส มีสีสวยสดงดงาม สัญญาณเสียงที่รับฟังได้มีความไพเราะชัดเจนเสมือนฟังอยู่หน้าวงดนตรีจริงๆ ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจในหลักวิชาต่างๆ ที่ผมได้นำมาผสมผสานอธิบาย ดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงสรุปข้อเปรียบเทียบได้ดังนี้

    จิต เปรียบเทียบได้กับ คลื่นพาห์ (Carrier Wave)

    เจตสิก เปรียบเทียบได้กับ การผสมสัญญาณเสียง และหรือ สัญญาณภาพเข้ากับคลื่นพาห์ ที่เรียกว่า "มอดูเลชั่น (Modulation)" โดยใช้เครื่องอุปกรณ์ประกอบในการทำงาน ที่เรียกว่า "มอดูเลเตอร์ (Modulator)" เปรียบเทียบได้กับ สมอง เจตสิกจะเริ่มมีบทบาทเมื่อจิตหลุดจากภวังค์เข้าสู่วิถีที่เสาะหา และเสวยอารมณ์

    สัญญาณที่มาผสม เปรียบเทียบได้กับ สัญญาณเสียง และหรือ สัญญาณภาพ ในลักษณะโสภณเจตสิก และ อัญญสมานเจตสิต ซึ่งกระตุ้นให้จิตเกิดเป็นกุศล

    เสียงรบกวน (Noises) ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และติดตามเข้ามาผสมกับคลื่นพาห์ เปรียบเทียบได้กับอกุศลเจตสิก ซึ่งกระตุ้นให้จิตเป็นอกุศล

    เจตสิกที่เข้ามากระตุ้นจิตไม่ว่าจะเป็นโสภณเจตสิก อัญญสมานเจตสิก หรือ อกุศลเจตสิก เปรียบเทียบได้กับ การผสมสัญญาณ และเสียงรบกวนต่างๆ เข้ากับคลื่นพาห์ จึงเป็นการ "มอดูเลชั่นทางจิต" นั่นเอง

    ขอเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบว่า ผลงานที่ได้ปรากฏอยู่ในบทความเรื่องนี้ และเรื่องอื่นๆ ที่ผมได้นำเสนอไปแล้ว เป็นอานิสงส์จากการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานซึ่งช่วยสร้างและพัฒนาปัญญาให้แก่ผม ดังที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ทุกประการ อย่างไร ก็ตาม หากท่านผู้อ่านที่มีความรู้ ทักษะในวิชาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาการแพทย์ วิชาการ โทรคมนาคม วิชาการพุทธศาสตร์ หรือ วิชาการอื่นๆ ที่ผมได้อ้างอิง นำมากล่าวไว้มาในบทความต่างๆ ที่ผมได้เขียนขึ้นโดยตลอด มีข้อคิดเห็นที่ผิดแผกแตกต่างออกไป กรุณาช่วยชี้แนะเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผม และท่านผู้อ่านอื่นๆ ด้วย เพื่อให้เกิดเป็นผลานิสงส์แก่ท่านในโอกาสต่อไป ขอขอบคุณ และอนุโมทนาล่วงหน้าครับ



    <CENTER>********************* </CENTER>
     
  2. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    ขอขอบคุณค่ะ
     
  3. potisad

    potisad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +103
    เรียน คุณน้ำผึ่ง
    ขออนุโมทนาที่นำมาให้อ่าน /ท่านผู้เขียน ก็มีจิตที่เป็นกุศล แต่ขอติง ที่ยังเข้าใจผิดอยู่นิดเดียวคือ ข้อเขียนที่กล่าวว่า อวัยวะของร่างกายที่เป็นกลไกสำคัญซึ่งทำให้เกิดเจตสิกขึ้นมาได้ คือ สมอง ซึ่งใช้ คำศัพท์บาลีว่า "หทัยวัตถุ" ขอกล่าวว่าที่ถูก สมองไม่ใช่ หทัยวัตถุ สมองทำหน้าที่คล้ายกับซีพียู ตัวประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ คีบอร์ด และเม้าท์ทำหน้าที่คล้ายกับ อายะตนะ ส่วนหทัยวัตถุนั้น คือ ก้อนเนื้อหัวใจ ตรงตัว ไม่ผันแปร ส่วนถุงที่ห่อหุ้มรองรับก้อนเนื้อหัวใจคือที่ตั้งแห่งธาตุที่เราเรียกกันตามขาวสุวรรณภูมิว่า วิญญาณ ถุงที่ห่อหุ้มรองรับก้อนเนื้อหัวใจนี้จะผันแปรไปตามภาวะอารมณ์ ขุ่น ใส สี หม่น แวววาว ผันแปรตามอารมณ์ ครับ
    คาถาโลกนาถแห่งตน อาหารดี อากาศดี บริหารจิต ฟิตร่างกาย นอนหลับง่าย ขับถ่ายเป็น หลีกเร้นอันตราย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
     
  4. snow late

    snow late สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +10
    ขอบคุณมากครับ เปนความรู้ที่ดีมากเลย
    ผมเชื่อนะว่าทุกอย่างอธิบายได้ ทุกอย่างเปนเหตุเปนผลกันเสมอ และจะเท่ากันเสมอในทุกกรณี
    ใครจะรู้ว่าในอนาคต เราอาจนำหลักทางศาสนามาปรับใช้กับวิทยาศาสตร์ได้ครับ
     
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ..** ขอบคุณคุณผึ้ง.และคุณpotisad.. สำหรับความรู้ใหม่ ค่ะ..**
     
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043

    อ๋อ...ขอบพระคุณมากค่ะ รับทราบค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...