พระ25ศตวรรษ...สับสน

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย คนอุดร, 4 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. คนอุดร

    คนอุดร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +16
    พระ25ศตวรรษ ที่พุทธมณฑล ไม่ทราบว่า จริงๆๆ แล้วเป็นพระปี 2500 หรือสร้างทีหลังครับ เพราะอ่านแล้วสับสน แต่เท่าที่โทร.สอบถามที่พุทธมณฑล บอกว่าเป็นพระปี 2500 ครับ ไม่ได้สร้างใหม่...ผู้ใดมีข้อมูล(จริงๆๆ) ขอคำแนะนำหน่อยครับ..ผมอยู่ไกล อยากไปบูชา แต่ไม่แน่ใจเท่าไหร่..
     
  2. ball

    ball เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +1,094
    ผมว่าน่าจะใช่ของ ปี 2500 นะคับ เพราะพระเนื้อชินและเนื้อดินรวมกันสร้างตั้ง 4,842,500 นี้นยังไม่รวมเหรียญอีกนะครับ ผิดพราดประการใดขออภัยด้วยนะครับ
     
  3. ธนาพล

    ธนาพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +177
    ของแท้ครับผมแต่เป็นพิมพ์ธรรมดา หมายถึงคงไม่ต้องไปหาพิมพ์มีเข็มแล้ว
     
  4. Fourthman

    Fourthman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,742
    ค่าพลัง:
    +5,413
    ผมไปบูชามาแล้ว ที่เป็นพระ 25 พุทธศตวรรษ เหลืออยู่ที่พุทธมณฑล 3 แบบดังนี้
    1. เนื้อชิน 200 บาท
    2. เนื้อดิน 100 บาท
    3. เหรียญ เสมา 100 บาท
    ที่เหลือนอกนั้น ทั้งพระบูชา และเหรียญ ทำทีหลังครับ
     
  5. ball

    ball เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +1,094
    ใช่ครับเมื่อวันอาทิตย์ผมก็ไปบูชามาครับ
     
  6. ตี๋เต๋วเป็ด

    ตี๋เต๋วเป็ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +219
    ช่วยยืนยันว่าแท้และเป็นพระเป็นพระปี 2500 ขอรับกระผมตกค้างจากหน่วยงานราชการที่นำไปให้บุชาและส่งกลับมาแต่ไม่มีพิมพ์นิยมแล้วขอรับ
     
  7. อิหิโอตะปะ

    อิหิโอตะปะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +54
    สำหรับท่านที่ยังไม่เคยรับรู้ลองอ่านดูอาจจะสนใจก็ได้ครับสุดยอดของดีราคาถูกจริงๆ...หุหุหุ

    ประวัติ พระฉลอง 25 ศตวรรษ
    ในปีพุทธศักราช 2500 พระพุทธศาสนา ยุคกาลได้ล่วงพ้นเป็นเวลา “2,500 ปี” รัฐบาลสมัยนั้นนำโดยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้จัดงานฉลองทั้งภาครัฐบาลและประชาชนทั่วพระราชอาณาจักรโดยในกรุงเทพมหานคร กำหนดจัดงานเฉลิมฉลองเป็นงานใหญ่ที่ ท้องสนามหลวง เป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเรียกว่างาน “เฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” ตั้งแต่วันที่ 12-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ในช่วงเทศกาลวันวิสาขบูชา) ส่วนการเฉลิมฉลองใน ภาคประชาชน จัดให้มีการ สวดมนต์ภาวนา, รักษาศีล, ทำบุญทำทาน ทางด้าน ภาครัฐบาล จัดให้มีการ บูรณะวัดและปูชนียสถานที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาพร้อม การอภัยโทษปลดปล่อยผู้ต้องหา และการ นิรโทษกรรมและล้างมลทิน แก่ผู้กระทำความผิดบางจำพวกและการจัดสถานที่อันเป็นการ อภัยทานแก่สัตว์ เพื่อปลอดจากการถูกทำลายล้างชีวิตโดยได้ทำการเผยแพร่การจัดงานไปยังนานาประเทศ พร้อมเชิญผู้แทนรัฐบาลจากทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และผู้แทนองค์การทางพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ มาร่วมพิธีฉลองด้วย ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดงานที่นำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่สำเร็จเป็นรูปธรรมในครั้งนั้นได้แก่ 1. การจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑล 2. การวางผังพุทธมณฑล 3. การออกแบบองค์พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล 4. รัฐพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล 5. การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลอื่น ๆ 6. การจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ระหว่าง 12-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 เป็นเวลา 7วัน 7 คืน ที่อ้างอิงมาก็เพื่อนำพาผู้อ่านย้อนถึงมูลเหตุของการจัดสร้าง “พุทธมณฑล” จะได้เข้าใจอย่างชัดเจนเพราะการสร้างพุทธมณฑลมีมากมายหลายแง่มุม ซึ่งวันนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงเฉพาะการสร้างพระเครื่อง “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” อันเป็นวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองและ กดพระพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ส่วนมูลเหตุในการจัดสร้างพระเครื่องฉลอง “25 พุทธศตวรรษ” สืบเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพุทธมณฑลที่คณะกรรมการได้ประมาณการไว้ “25 ล้านบาท” แต่กระทรวงการคลังจัดสรรเงินงบประมาณขั้นต้นไว้ “4,280,000 บาท” เท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอในการก่อสร้าง คณะกรรมการจัดงานจึงลงมติให้มีการจัดสร้าง “พระเครื่องฉลอง 25พุทธศตวรรษ” พร้อม “พระพุทธรูปและวัตถุมงคลอื่น ๆ” เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบในการสร้างพุทธมณฑลและเป็นที่ระลึกในงาน “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” โดยการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้คณะกรรมการได้กราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และทรงกดพิมพ์ “พระพิมพ์เนื้อดิน” เป็นปฐมฤกษ์โดยหนังสือ “พุทธมณฑลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ได้บันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีหล่อพระพุทธรูปและทรงกดพิมพ์พระเป็นปฐมฤกษ์ ดังนี้ “วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2500 เวลา 16 นาฬิกา 30 นาที พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรมหาราช เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดสุทัศน์เทพวราราม เสด็จขึ้นบนพระวิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ บูชาพระศรีศากยะมุนี แล้วเสด็จฯไปยังพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายศีลจบแล้วเจริญพระพุทธมนต์ ทรงจุดเทียนมหามงคล โหรบูชาฤกษ์ เวลา 17 นาฬิกา 4 นาที 8 วินาทีถึงเวลา 17 นาฬิกา 17 นาที เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำแบบพุทธลีลา 4 องค์” และทรงพิมพ์พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษชนิด “พระเนื้อดินผสมผงเกสร 30 องค์” เป็นปฐม ฤกษ์โหรลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรและดุริยางค์ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 25 รูป เจริญชัยมงคลคาถา พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณหลั่งน้ำสังข์ เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายอดิเรก จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระสงฆ์ 25 รูปเจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว “พระคณาจารย์ 108 รูป” นั่งปรกปลุกเสกสรรพสิ่งของบรรจุพุทธาคมต่อตลอดคืน” จากบันทึกดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระเครื่อง “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” มีความเป็นสิริมงคลที่สำคัญยิ่งอีกรุ่นเพราะได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯจาก พระบาทสม เด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และกดพิมพ์พระเครื่อง “เนื้อดินผสมผง” (พิมพ์ปางลีลา) เป็นปฐมฤกษ์ อีกทั้งได้ทราบการพิมพ์พระเครื่องและพระพุทธรูปดังกล่าวล้วนจัดสร้างขึ้นที่ วัดสุทัศน์ฯ ดังบันทึกในหนังสือเล่มเดียวกันว่า “คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ได้สร้างโรงงานให้ผู้รับจ้างพิมพ์พระได้ทำงานอยู่ในบริเวณวัดสุทัศน์ เทพวราราม ด้วยประสงค์จะให้พระพุทธรูปดังกล่าวได้จัดทำอยู่ในปริมณฑลพิธี หรือในเขตพระอารามโดยตลอดและสะดวกต่อการควบคุมดูแล เพราะใช้เวลาสร้างพระเครื่อง 3 เดือนเศษ จึงแล้วเสร็จ และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกเป็นครั้งที่ 2” ดังนั้นวัตถุมงคล “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” จึงนับเป็นวัตถุมงคลมีคุณค่าที่ถึงพร้อมด้วย พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ และ พระมหากษัตราธิคุณ ส่วนรายพระนามและรายนามพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกขออนุญาตไม่เอ่ยถึง เพราะมีจำนวนมากครับ จึงเสนอเฉพาะในแง่มุมที่เกี่ยวเนื่อง “พระมหากษัตราธิคุณ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงถึงพร้อมด้วยทศพิธราชธรรมและทรงเป็น สมเด็จพระบรมธรรมิกราชผู้ยิ่งใหญ่ ทรงมีพระธรรมประจำพระทัยอันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป ผู้เขียนจึงนำเสนอเฉพาะในแง่มุมที่ยังไม่มีผู้ใดให้ความสำคัญหรือสนใจมาก่อนเพื่อให้ท่านผู้อ่าน “ความจริง...อ่านเดลินิวส์” ได้รู้ไว้ “จะได้ไม่เสียเปรียบในการสะสม”.
    ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูล คุณศุทธิวิทย์ กิจ

    อีกข้อมูลหนึ่งครับ

    เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
    และนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม
    (พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการจัดสร้างดังต่อไปนี้

    • คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    • นายพลตำนวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ

    คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    มีหน้าที่จัดสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อแจกจ่ายและสมนาคุณ
    แก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน สมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑล

    คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้จัดการดำเนินงานไปแล้ว และจะจัดการต่อไปตามลำดับนี้

    1.คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้อนุมัติ เงินทุนในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้
    เป็นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) เพื่อทำการสร้างพระ 2 แบบ คือ

    ก. พระเนื้อชิน อันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท
    ,เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท ,เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท ,ปรอท หนัก
    5 บาท ,สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท ,เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท,
    ตลอดจนแผ่นทองแดง,ตะกั่ว,เงินที่พระอาจารย์ต่างๆ เกือบทั้งราชอาณาจักรได้ลงเลขยันต์คาถา
    ส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่นๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย

    ข.พระผง (ดิน) ผสมด้วยผงเกษรดอกไม้ 108 อย่าง ตลอดจนผสมด้วยดินหน้าพระอุโบสถ
    จากพระอาจารย์ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรและผงพุทธาคมต่างๆ ที่บรรดาพระอาจารย์ได้มอบให้มา
    รวมทั้งพระผงต่างๆ แบบของโบราณและของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้สร้างไว้แต่โบราณกาล
    อันได้ส่งอุทิศมาให้ผสมรวมเป็นผงในครั้งนี้ด้วยมากมายหลายแห่ง
    2. จำนวนพระที่สร้างในครั้งนี้

    ก. พระเนื้อชิน 2,421,250 องค์

    ข. พระเนื้อดิน 2,421,250 องค์
    รวมทั้ง 2 ชนิด เป็นพระ 4,842,500 องค์

    ค. สร้างพระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา ลักษณะเดียวกับพระองค์ใหญ่ ซึ่งจะสร้างที่
    พุทธมณฑล สูงองค์ละ 9 ซ.ม. 4 องค์ ทองคำหนักรวม 55 บาท พระพุทธรูปทองคำนี้
    ได้ให้กองพระษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดสร้าง

    3. จัดการสร้างพระเครื่องทองคำ แบบลักษณะและขนาดเดียวกับพระเนื้อชินใช้ทองคำหนักองค์ละประมาณ 6 สลึง
    โดยให้สร้างเป็นจำนวนเพียง 2,500 องค์การสร้างพระเครื่องทองคำ ตามข้อนี้ ได้ใช้ทุนโดยวิธีเรียกเงินล่วงหน้าจาก
    ผู้สั่งจอง องค์ละ 1,000 บาท ส่วนเงินสมทบทุนอันแท้จริงนั้นองค์ละ 2,500 บาท เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    ผู้สั่งจองจะต้องส่งเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เวลามาขอรับองค์พระไป
    4. คณะกรรมการหาทุนและรับสั่งของสมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑลอันมีพระยาสามราชภักดี
    ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการดำเนินงานอยู่นั้น ได้แจ้งความจำนงมายังคณะกรรมการนี่ว่า
    เดิมที่ได้มีมติดังต่อไปนี้

    ก. ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุนสร้างพุทธมณฑล 10,000 บาทจะได้พระทองคำหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์

    ข. ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุน 1,000 บาท จะได้พระเงินหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์
    การสร้างพระสมนาคุณนี้คณะกรรมการจะต้องสร้างเพื่อมอบเป็นของสมนาคุณมีจำนวนดังนี้

    ก. พระทองคำ 15 องค์
    ข. พระนาก 30 องค์
    ค. พระเงิน 300 องค์

    เงินค่าสร้างพระทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นเงินทุนจากที่ได้รับไว้แล้วและจะดำเนินการสร้างให้เสร็จในคราวเดียว
    กับที่ได้สร้างพระเครื่องชินและผง (ดิน) ดังกล่าวแล้วด้วย
    5. การสร้างพระเครื่องนี้ ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม
    ราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ , เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป
    พระคณาจารย์ 108 รูปนี้ได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังมีรายชื่อพระคณาจารย์ ดังต่อไปนี้
    1. พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ กทม.
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
    3. พระครูญาณาภิรัต วัดสุทัศน์ กทม.
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ วัดสุทัศน์ กทม.
    6. พระครูพิศาลสรกิจ วัดสุทัศน์ กทม.
    7. พระมหาสวน วัดสุทัศน์ กทม.
    8. พระมหาอำนวย วัดสุทัศน์ กทม.
    9. พระปลัดสุพจน์ วัดสุทัศน์ กทม.
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ วัดชนะสงคราม กทม.
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (วงษ์) วัดสระเกศ กทม.
    12. พระอาจารย์สา วัดราชนัดดาราม กทม.
    13. พระปลัดแพง วัดมหาธาตุ กทม.
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท วัดพระเชตุพน กทม.
    17. พระอินทรสมาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
    18. พระครูวินัยธร (เฟื่อง) วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
    19. พระครูภักดิ์ วัดบึงทองหลาง กทม.
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ วัดดอนหวาย กทม.
    21. พระอาจารย์มี วัดสวนพลู กทม.
    22. พระอาจารย์เหมือน วัดโรงหีบ กทม.
    23. พระหลวงวิจิตร วัดสะพานสูง กทม.
    24. พระอาจารย์หุ่น วัดบางขวด กทม.
    25. พระราชโมลี วัดระฆัง กทม.
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม กทม.
    27. พระครูโสภณกัลญานุวัตร (เส่ง) วัดกัลญาณมิตร กทม.
    28. พระครูภาวนาภิรัต (ผล) วัดหนัง กทม.
    29. พระครูทิวากรคุณ (กลีบ) วัดตลิ่งชัน กทม.
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กทม.
    31. พระครูญาณสิทธิ์ วัดราชสิทธาราม กทม.
    32. พระอาจารย์มา วัดราชสิทธาราม กทม.
    33. พระอาจารย์หวน วัดพิกุล กทม.
    34. พระมหาธีรวัฒน์ วัดปากน้ำ กทม.
    35. พระอาจารย์จ้าย วัดปากน้ำ กทม.
    36. พระอาจารย์อินทร์ วัดปากน้ำ กทม.
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม กทม.
    38. พระครูวินัยสังวร วัดประยุรวงศาวาส กทม.
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
    40. พระครูพรหมวินิต วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
    41. พระอาจารย์อิน วัดสุวรรณอุบาสิการ กทม.
    42. พระครูวิริยกิจ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
    43. พระปรีชานนทมุนี (ช่วง) วัดโมลี นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) วัดศรีรัตนาราม นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) วัดบางจาก นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากะเหรี่ยง ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน วัดธรรมเสน ราชบุรี,
    48. พระครูบิน วัดแก้ว ราชบุรี
    49. พระอินท์เขมาจารย์ วัดช่องลม ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง วัดเวฬุวัน นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก วัดสระบัว ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ (เทียน) วัดโบสถ์ ปทุมธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ (เหรียญ) วัดหนองบัว กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี วัดเหนือ กาญจนบุรี
    59. พระมุจลินท์โมฬี (ดำ) วัดมุจลินท์ ปัตตานี
    60. พระครูรอด วัดประดู่ นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) วัดอโศการาม สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร วัดใหม่บางปลากด สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง วัดกลางสวน สมุทรปราการ
    65. พระครูศิริสรคุณ (แดง) วัดท้ายหาด สมุทรสงคราม
    66. พระครูสมุทรสุนทร วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม
    67. พระสุทธิสารวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง วัดบางคณที สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ (ฮะ) วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร
    71. พระครูลักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
    72. พระอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) วัดสังโฆ สุพรรณบุรี
    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) วัดวรจันทร์ สุพรรณบุรี
    75. พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ (เฮี้ยง) วัดอรัญญิการาม ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ วัดเสม็ด ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี วัดโพธิ์สัมพันธ์ ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศภิต (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี วัดบรมธาตุ ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) วัดชากหมาก ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง วัดท่าแพ ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธารี วัดท้าวอู่ทอง ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลาจารย์ วัดศรีประจันตคาม ปราจีนบุรี
    87. พระครูสุนทรธรรมประกาศ วัดโพธิ์ปากพลี นครนายก
    88. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ วัดสวรรคนิเวศ แพร่
    90. พระครูจันทร์ (หลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง นครสวรรค์
    91. พระครูศีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติการาม อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี วัดมหาธาตุ เพชรบุรี
    102. พระครูสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ เพชรบุรี
    104. พระครูทม (หลวงพ่อทม) วัดสว่างอรุณ เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรควรนายก วัดสวรรคาราม สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี สุโขทัย
    107. พระครูบี้ วัดกิ่งลานหอย สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทรกิจ วัดเสด็จ สมุทรสงคราม



    ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณชัยวัฒน์ครับ
     
  8. ยุทธองครักษ์

    ยุทธองครักษ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2007
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอบคุณครับ.........yimm
     

แชร์หน้านี้

Loading...