พระสงฆ์ในสังคมเทคโนโลยี (พ.ม.บุญไทย ปุญฺญมโน)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 11 กันยายน 2009.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,017
    [​IMG]
    สังคมเทคโนโลยี
    ในยุคปัจจุบันเราปฏิเสธกันไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำ ให้สังคมต้องสัมพันธ์กับเทคโนโลยี ทำให้โลกต้องมีสภาวะที่แปรเปลี่ยนไป สังคมโลกเปลี่ยนจากสังคมเกษตรอุตสหกรรม มาเป็นสังคมแห่งข้อมูลสารสนเทศ ทำให้คนทั่วโลกติดต่อกันได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น


    ในหนังสือที่ขายดีระดับโลกติดต่อกันหลายปีเล่มหนึ่งโทมัส แอล ฟรีดแมนพูดถึงคนในยุคนี้ไว้ว่า “ใน โลกยุคโลกาภิวัตน์จะทำให้คนจำนวนมากสามารถเสียบปลั๊กและใช้งานคอมพิวเตอร์ ได้ทันที และคุณจะได้เห็นผู้คนทุกสีผิวมีส่วนร่วมในการผลักดันกระแสโลกาภิวัตน์” (Thomas L. Friedman, The World is Flat, <city w:st="on">
    London</city>,Penguin Books,2006, p.11.) สิ่งที่จะเปลี่ยนโลกแม้เขาจะนำเสนอไว้ถึงสิบประการแต่สรุปได้จริงๆเพียงสามอย่างคือ เทคโนโลยีดิจิตอล เทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเตอร์เน็ต ทั้งสามอย่างนั้นเป็นสิ่งที่เข้ามาในการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



    [​IMG]
    คน ทั่วโลกจึงมีสิทธิ์ในการรับรู้ข่าวสารและการศึกษาค้นคว้าก็ง่ายรวดเร็วและ สะดวกมากยิ่งขึ้น ข่าวสารข้อมูลทำให้สังคมมนุษย์ในโลกไร้ทั้งพรมแดนและกาลเวลา เพราะสื่อสารถึงกันได้โดยใช้คอมพิวเตอร์ ดาวเทียมและอื่นๆนั้นสามารถสื่อถึงกันได้จากขั้วโลกหนึ่งมายังอีกขั้วโลก หนึ่งโดยเกือบจะไม่ต้องใช้เวลาเลย (ประเวศ วสี(บรรณาธิการ), ธรรมชาติของสรรพสิ่ง: การเข้าถึงความจริงทั้งหมด,กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์2547,หน้า 2


    การ นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างระมัดระวัง อาจจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนในอนาคตได้ วิลเฮลม์นำเสนอทางแยกของสังคมในอนาคตไว้ว่า “หากมองไปในอนคตในปี 2020 เราอาจเผชิญหน้ากับสังคมแห่งการเฝ้าระวังภัยหรือสถานการณ์ไม่เท่าเทียมกันอย่างรุนแรงในสังคมโลก หรือในทางตรงกันข้ามเราอาจได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีและสิ่งประดิษย์ต่างๆซึ่งนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและวัฒนธรรม” (แอนโทนี จี.วิลเฮม(ดร.
    เอกพงษ์ ตั้งศรีสงวน แปล),ประชาชาติยุคดิจิตอล,กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท,2549,หน้า 16)

    การ ไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติโดยอาศัยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้ค่านิยมของสังคมไทยเปลี่ยนไปด้วย โดยอดีตคนนับถือคุณค่าทางจริยธรรมไว้สูง แต่ปัจจุบันคุณค่าทางจริยธรรมถูกมองว่าเป็นที่สองรองจากวัตถุ หาก ศาสนาไม่สอดแทรกคุณค่าทางจริยธรรมให้กับคนในยุคนี้โดยใช้เครื่องมือคือ เทคโนโลยีที่สื่อกับคนร่วมสมัยได้ง่ายกว่า คุณค่าทางจริยธรรมของคนก็จะลดลงเรื่อยๆ

    ใน โลกยุคนี้เทคโนโลยี สารสนเทศและระบบอินเทอร์เน็ตจะเป็นปัจจัยสำคัญของการศึกษาในอนาคต มนุษย์ในโลกปัจจุบันจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องการพึ่งพาเทคโนโลยีในการดำเนิน ชีวิต ในการทำงาน และสนองความต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข แม้คำสอนทางศาสนาบางอย่างก็พยายามตีความและอธิบายด้วยเทคโนโลยี มี นักคิดบางท่านพยายามอธิบายหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อให้เชื่อมโยงกับโลก แห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการตีความให้เข้ายุคสมัยว่า “ความ ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถสร้างสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สำหรับผู้คนในโลกได้แล้วเช่น อานุภาพของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้แก่อาวุธสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธประจำตัว มีอานุภาพทำลายล้างสูงและมีรัศมีทำการไกล อาจเทียบได้กับปืนไฟ เครื่องบินรบ ขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ สวรรค์อันสวยงามทั้งหลายดูได้จากสตรีที่แต่งกายด้วยพัสตราภรณ์อันหรูหรา ซึ่งพบได้ในงานสังสรรค์และสามารถเห็นตัวอย่างได้จากแฟชั่นโชว์เป็นต้น" (อนุช อาภาภิรม,เทคโนโลยีกับสวรรค์,กรุงเทพฯ:มติชน,2547,หน้า 104.)


    มนุษย์กับเทคโนโลยี

    การ อธิบายและตีความเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยอาจเป็นอันตรายต่อหลักคำสอนดั้งเดิม แต่ก็ทำให้คนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งมีแนวโน้มจะเชื่อได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนเข้าถึงได้ง่าย ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลดีที่คนจะได้ศึกษาพระพุทธศาสนาในวงกว้างขึ้น แต่อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นผลเสียคือคนรับรู้ ข่าวสารได้เร็วหากไม่มีภูมิคุ้มกันก็อาจจะหลงเชื่อคำสอนที่ผิดได้ง่ายเช่น กัน

    พระพรหมคุณาภรณ์ได้สรุปสังคมไทยมีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีด้านข่าวสารข้อมูล หรือตัวข่าวสารข้อมูลได้เป็น 4 ประเภทคือ
    1.พวกตื่นเต้น คนกลุ่มนี้คิดว่าเรานี้ทันสมัยได้เสพข่าวสารที่ใหม่ๆแปลกๆมีของใหม่ๆ เข้ามาเราได้บริโภค แต่สัมผัสกับข่าวสารและเรื่องราวต่างๆอย่างผิวเผิน เรียกว่าตกอยู่ในกระแส ถูกกระแสพัดพาไหลไปเรื่อยๆ ไม่เป็นตัวของตัวเอง
    2.พวกตามทัน คนพวกนี้ก็ภูมิใจว่าเรานี่เก่ง ข่าวเกิดที่ไหนๆรู้หมดแผ่นดินไหว เกิดอีโบล่าอะไรที่ไหนรู้ทันหมด ตามทันแต่ไม่รู้ทันพวกนี้เยอะ รู้ตามข่าว แต่ไม่เข้าถึงความจริงของมัน
    3.พวกรู้ทัน ในกลุ่มนี้นอกจากตามทันแล้ว ยังรู้เข้าใจ เท่าทันมันด้วย ว่ามันเป็นมาอย่างไร มีคุณมีโทษ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร จะมีท่าทีอย่างไร ให้ได้ประโยชน์โดยไม่ถูกครอบงำ
    4.พวกอยู่เหนือมัน เป็นกลุ่มคนที่อยู่เหนือกระแส จึงจะสามารถจัดการกับกระแสได้ เป็นผู้สามารถใช้การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประโยชน์ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับข่าวสารข้อมูลแบบเป็นนาย เป็นผู้จัดการ เป็นผู้ใช้มันอย่างแท้จริง(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต)ไอที ภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา,พิมพ์ครั้งที่ 7,กรุงเทพฯ: ธรรมสภา,2540,หน้า44)

    พระ สงฆ์ก็หลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธการเสพเทคโนโลยีไม่ได้ แต่เมื่อต้องเป็นผู้เสพจะเสพอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะรู้เท่าทันและอยู่เหนือเทคโนโลยีได้ สาระสำคัญจึงอยู่ที่การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้รู้เท่าทันเพื่อรักษาคำสอนของ พระพุทธศาสนาไว้และนำเสนอข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับรู้ คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ใกล้เคียงกับเรื่องของเทคโนโลยีน่าจะเทียบได้กับ เรื่องอิทธิปาฏิหารย์



    เทคโนโลยีกับอิทธิปาฏิหาริย์

    ใน คัมภีร์พระพุทธศาสนาเรื่องเทคโนโลยีคงยังไม่เจริญมากนัก เพราะยังอยู่ในสังคมเกษตรกรรม เครื่องมือที่ใช้ก็เพียงเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนและ ครอบครัว มิได้ผลิตเพื่อการค้า คำสอนของพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีโดยตรง แต่ หากจะเทียบเคียงน่าจะเป็นเรื่องของอิทธิปาฏิหารย์ซึ่งพระพุทธองค์แสดงไว้สาม ประการดังที่ปรากฎในสังคารวสูตร ติกนิบาต อังคุตรนิกายว่า (20/500/164)
    "ดูกรพราหมณ์ ปาฏิหาริย์สามอย่างคือ(1)อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ (2) อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์ (3)อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์" ในปาฏิหาริย์ทั้งสามประการนั้นมีคำอธิบายไว้ดังนี้
    1. อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
    ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมากคือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในไปอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
    2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์
    ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัย นี้ พูดดักใจได้โดยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ว่า ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ดูกรพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ก็แตว่าพอได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ย่อมพูดดักใจได้ว่าใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไม่ ดูกรพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้เลย แต่ว่าพอได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ย่อมพูดดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ดูกรพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ ถึงได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้วก็พูดดักใจไม่ได้ ก็แต่ว่า กำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิ อันไม่มีวิตกวิจาร ด้วยใจ ของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้น
    ก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่
    3.อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ดูกรพราหมณ์นี้เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์

    เทคโนโลยี น่าจะเทียบเคียงได้กับอิทธิปาฏิหารย์ ซึ่งในพระพุทธศาสนาจัดเข้าเป็นข้อหนึ่งในอภิญญาคืออิทธิวิธี ซึ่งอภิญญาจัเป็นสามัญยผลที่ภิกษุควรจะได้รับหากปฏิบัติตามขั้นตอน ดังที่ได้ตอบคำถามของพระเจ้าอชาตศรัตรูทูลที่ถามถึงผลที่ภิกษุควรจะได้รับ พระพุทธองค์จึงได้แสดงไว้ในสามัญญผลสูตร ตอนหนึ่งว่า(9/100/57)ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญหม่อมฉันขอทูลถามพระผู้มีพระภาคบ้างว่า ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก คนเหล่านั้น ย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบันด้วยผลแห่ง ศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตรอำมาตย์ ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ใน สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่ พระเจ้าข้า
    พระ พุทธองค์ได้แสดงผลที่ภิกษุจะได้รับในการอุปสมบทคือภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็น สมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปย่อมได้บรรลุ(1)อิทธิวิธญาณ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆได้ (2)ทิพยโสตญาณ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (3) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ (4) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (5) จุตูปปาตญาณ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ และ(6)อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่าอภิญญาเป็นความรู้ที่ยิ่งยวด
    เมื่อ โลกเจริญด้วยเทคโนโลยีทำให้มีบางคนคิดว่าอภิญญานั้นบางอย่างสามารถเข้าถึง ได้โดยใช้เครื่องมือที่มนุษย์ผลิตขึ้นมา ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือทิพยโสตญาณ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ เพราะมีเครื่องมือหลายอย่างที่ใกล้เคียงกับการมีหูทิพย์เช่นสามารถสำรวจโลก ได้แทบทุกตารางนิ้ว ฟังเสียงได้ไกลแม้จะอยู่คนละขั้วโลกโดยใช้โทรศัพท์เป็นต้น
    ในความหมายที่พระพุทธเจ้าแสดงอธิบายไว้นั้นลองอ่านโดยละเอียดแล้วลองเทียบเคียงดูว่ามีส่วนใกล้เคียงกันกับโทรศัพท์จริงหรือไม่
    ทิพยโสตญาณนั้นพระพุทธเจ้าแสดงไว้ว่า(9/100/74) ภิกษุ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียงสองชนิดคือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรมหาบพิตรนี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
    เสียงที่ได้ยินด้วยทิพยโสตญาณตามที่อธิบายไว้ในพระไตรปิฎกหมายถึงเสียงสองชนิดคือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ที่ เราได้ยินและติดต่อกันได้ด้วยเทคโนโลยีนั้นคือเสียงมนุษย์ด้วยกัน มนุษย์ไม่สามารถใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเทวดาหรือร่างที่เป็นทิพย์ได้ซึ่งหมาย ถึงเทวดาและพรหมที่มีร่างเป็นทิพย์หรือเหล่าสัตว์บางพวกที่ไม่ปรากฎรูปร่าง เมื่อใดที่มนุษย์สามารถโทรศัพท์ติดต่อสื่อสารกับหมู่เทวดาได้ เมื่อนั้นความเจริญด้วยเทคโนโลยีก็จะตอบคำถามเรื่องทิพโสตญาณได้ แต่ ในปัจจุบันยังไม่มีใครใช้เครื่องมือที่มนุษย์ผลิตขึ้นติดต่อหรืออธิบายหมู่ เทพอันเป็นทิพย์ได้ เคยมีคนบางคนอ้างว่าสามารถถ่ายภาพเทวดาได้ แต่นั่นเป็นเพียงข้ออ้างยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ เรื่องของโทรศัพท์ กล้องถ่ายรูปจึงยังไม่เข้าข่ายของทิพโสตญาณตามทัศนะของพระพุทธศาสนา
    อภิญญา กับเทคโนโลยีมีส่วนที่สามารถอธิบายได้ เพียงแต่เทคโนโลยีอธิบายด้วยกายภาพหรือโลกแห่งวัตถุ ส่วนอภิญญาเป็นเรื่องของจิต ต้องอธิบายและตีความแยกออกจากกัน โลกตะวันตกอาจเข้าใจคำว่าจิตแตกต่างจากโลกตะวันออก การนำเรื่อง


    ความสุขของนักคิดจากตะวันตก

    Richard Layard ได้สรุปปัจจัยที่ทำให้คนมีความสุขทั้งภายนอกและภายในไว้ในหนังสือ Happiness พิมพ์เมื่อปี 2548 ไว้น่าคิดว่าปัจจัยภายนอกได้แก่ฐานะทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ในครอบครัว หน้าที่การงาน และสภาพของสังคม
    ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดความสุขภายในมาจากพันธุกรรมและประสบการณ์จากการเลี้ยงดู ปรัชญาในการดำเนินชีวิต และความรู้สึกมั่นคง(รายได้ การงาน ครอบครัว ชุมชน สุขภาพ)
    การที่จะทำให้มนุษย์ในสังคมปัจจุบันได้มาซึ่งความสุขนั้นเลยาร์ดเสนอว่า ควรดำเนินชีวิต
    ตามหลักศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา หลักธรรมะที่ควรนำมาใช้ประจำคือความมีสติสัมปชัญญะพอใจในสภาวะที่ตนมี สรุปแล้วก็คือสติและสันโดษ (2) คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง (เมตตา)และ(3) ทำในสิ่งที่ดีงาม (พอดี พอเพียง)สอดคล้องกับที่องค์กรสหประชาชาติเคยสรุปไว้ว่า
    “วิกฤตทางจิต วิกฤตทางสังคม วิกฤตทางจิตวิญญาณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พอรุนแรงขึ้นสิ่งที่จะช่วยโลกได้คือพุทธธรรม”



    [​IMG]
    ยัง มีหนังสือจากนักคิดทางตะวันตกที่เสนอทางปัญหาของสังคมและทางออกอีกมากมาย หนังสือบางเล่มนำคำสอนของพระพุทธศาสนาไปใช้ในการอธิบาย บางครั้งนำไปประยุกต์กับศาสตร์อื่นๆเช่นด้านเศรษฐศาสตร์มีหนังสือชื่อ Small is Beautiful โดยใช้หลักการในอริยมรรคมีองค์แปดไปอธิบายการแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์เป็นต้น
    สาระสำคัญของโลกตะวันตกจึงอยู่ที่เมื่อเทคโนโลยีเจริญมากขึ้น ตามหลักตรรกศาสตร์คนน่าจะมีความสุขมากขึ้นตามไปด้วย แต่ผลที่ตามมากลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามคือโลกเจริญขึ้น แต่คนมีความสุขน้อยลง ประเด็นปัญหาน่าจะเป็นการตีความคำว่า “ความสุข” ผิดพลาดเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือเข้าใจคนละบริบท

    ความสุขจากคำสอนของพระพุทธศาสนา

    ใน เรื่องของความสุขนั้นแม้เลยาร์ดจะนำเสนอว่าให้หันหน้าเข้าหาศาสนาโดยเฉพาะ เน้นที่พระพุทธศาสนา เกี่ยวกับทัศนะเรื่องความสุขพระพุทธเจ้าแสดงไว้หลายประการ ดังที่ปรากฏในสุขวรรค อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต (20/309-301/74-75) ก็ได้จำแนกเรื่องของความสุขไว้หลายประการดังนี้ “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างคือสุขของคฤหัสถ์ และสุขเกิดแต่บรรพชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุขสองอย่างนี้ สุขเกิดแต่บรรพชาเป็นเลิศ
    กามสุข และเนกขัมมสุข ดูกรภิกษุทั้งหลายสุขสองอย่างนี้เนกขัมมสุขเป็นเลิศ
    สุขเจือกิเลสและสุขไม่เจือกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้ สุขไม่เจือกิเลสเป็นเลิศ
    สุขมีอาสวะและสุขไม่มีอาสวะดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้ สุขไม่มีอาสวะเป็นเลิศ
    สุขอิงอามิสและสุขไม่อิงอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้สุขไม่อิงอามิสเป็นเลิศ
    สุขของพระอริยเจ้า และสุขของปุถุชน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้สุขของพระอริยเจ้าเป็นเลิศ
    กายิกสุข และเจตสิกสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้ เจตสิกสุขเป็นเลิศ
    สุขอันเกิดแต่ฌานที่ยังมีปีติ และสุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้ สุขอันเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นเลิศ
    สุขเกิดแต่ความยินดี และสุขเกิดแต่ความวางเฉย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้ สุขเกิดจากการวางเฉยเป็นเลิศ
    สุขที่ถึงสมาธิ และสุขที่ไม่ถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้ สุขที่ถึงสมาธิเป็นเลิศ
    สุข เกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ และสุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์เป็นเลิศ
    สุข ที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ และสุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขสองอย่างนี้ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์เป็นเลิศ
    สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ และสุขที่ไม่มีรูปเป็น ดูกรภิกษุทั้งหลายสุขสองอย่างนี้ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นเลิศ

    ความสุขที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในวรรคนี้พระพุทธองค์ได้แสดงกำกับไว้ด้วยว่าสุขประเภทดีกว่าเลิศกว่าและควรเสพมากกว่า
    เวลาที่พระสงฆ์ให้พรก็จะมีคำว่า
    “อายุ วัณโณ สุขัง พลัง” ซึ่งหมายถึงให้มีอายุ ผิวพรรณ ความสุข และพลังในการดำเนินชีวิต คำว่า “สุข” ในที่นี้หมายถึงความสุขของภิกษุในองค์ฌานดังที่แสดงไว้ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคว่า (ที.ปา.11/50/59) ดูกร ภิกษุทั้งหลายในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องสุขของภิกษุ
    ส่วนสุขของคฤหัสถ์มีแสดงไว้ในอันนนาถสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาตว่า (21/62/68) ดูกรคฤหบดีสุข 4 ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามพึงได้รับตามกาลตามสมัยคือ
    1.สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ หมาย ถึงโภคทรัพย์ของกุลบุตรในโลกนี้ เป็นของที่เขาหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรสั่งสมขึ้นด้วยกำลังแขนมีเหงื่อ โทรมตัว ประกอบในธรรม ได้มาโดยธรรมเขาย่อมได้รับความสุขโสมนัสว่า โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรสั่งสมขึ้นด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัว ประกอบในธรรม ได้มาโดยธรรมของเรามีอยู่
    2.สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค กุลบุตรในโลกนี้ ย่อมใช้สอยโภคทรัพย์ และย่อมกระทำบุญทั้งหลายด้วยโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมขึ้นด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัว ประกอบในธรรม ได้มาโดยธรรม เขาย่อมได้รับความสุขโสมนัสว่า เราย่อมใช้สอยโภคทรัพย์ และย่อมกระทำบุญทั้งหลายด้วยโภคทรัพย์
    3.สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้ อธิบายว่ากุลบุตรในโลกนี้ ย่อมไม่เป็นหนี้อะไรๆของใครๆ น้อยก็ตาม มากก็ตาม เขาย่อมได้รับความสุขโสมนัสว่า เราไม่เป็นหนี้อะไรๆ ของใครๆ น้อยก็ตาม มากก็ตาม
    4.สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ อริย สาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันหาโทษมิได้ เขาย่อมได้รับความสุขโสมนัสว่า เราประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมมโนกรรม อันหาโทษมิได้ ดูกรคฤหบดี สุข 4 ประการนี้แล อันคฤหบดีผู้บริโภคกามพึงได้รับตามกาลตามสมัย
    โป รดสังเกตุว่าสุขประการสุดท้ายหมายเอาอริยสาวกแต่ยังบริโภคกาม ยังทำงานเหมือนคนทั่วไป แต่งานที่ทำมิได้มีโทษ นั่นคือทัศนะเรื่องความสุขจากหลักธรรมของพระพุทธศาสนา และการที่จะได้มาซึ่งความสุขนั้นมีคำอธิบายไว้ตามสมควรแก่ความสุขแล้ว


    บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ

    นับ ว่าเป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเมื่อนักคิดจากโลกตะวันตกมองความสุขจากหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา แต่ปัญหาของคณะสงฆ์มิได้อยู่ที่ศาสนธรรม เพราะถึงอย่างไรก็คงไม่เลือนหาย แต่จะไปผสมอยู่ในศาสตร์อื่น ในอนาคตผู้ที่รู้ธรรมะจะเป็นชาวบ้านมากกว่าพระ ดังที่ในปัจจุบันนักพูดธรรมะ นักเขียนด้านพระพุทธศาสนามีมากกว่าพระภิกษุ โดยเฉพาะในประเทศไทยพระที่ทำหน้าที่อธิบายธรรมะให้กับคนรุ่นใหม่ได้เริ่มมี น้อยลง
    ปัญหาของคณะสงฆ์จึงอยู่ที่ศาสนบุคคลและวิธีการเผยแผ่ แม้พระพุทธเจ้าจะวางหลักไว้ในการส่งสาวกไปเผยแผ่ครั้งแรกว่า
    “พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์” (วิ. มหา. 4/32/ 32)
    ปัจจุบัน มีจำนวนพระบวชมากขึ้น แต่มีพระที่บวชไม่สึกอยู่ในพระพุทธศาสนาน้อยลง คนส่วนมากนิยมบวชระยะสั้น เพราะเงื่อนไขของการงาน ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์มีคนเรียนน้อยลง ในอนาคตจะมีเปรียญธรรม 9 ประโยค น้อยลง หากคณะสงฆ์ไม่ปรับเปลี่ยน เพราะในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆเปิดโอกาสให้พระเข้าศึกษาได้ และเรียนแล้วมีโอกาสจบมากกว่าเรียนบาลี พระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลต้องเดินทางไปหาศาสนิกแล้วแสดงธรรม ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือพระพุทธเจ้าทรงพักอยู่จำพรรษาเพียงสามเดือน ที่เหลืออีกเก้าเดือนได้เที่ยวจาริกไปในสถานที่ต่างๆเพื่อแสดงธรรม แต่ปัจจุบันพระสงฆ์พักอยู่ประจำในวัดแห่งเดียวติดต่อกันตลอดปี มิได้เดินทางจาริกไปหาศาสนิก แต่รอให้ศาสนิกเข้ามาหา จึงสวนทางกับบทบาทที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้
    องค์กร สงฆ์จึงควรจะต้องมีพระสงฆ์ที่ศึกษาและพัฒนาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มาก ขึ้น จะได้นำไปเผยแผ่ให้กับคนรุ่นใหม่ได้ เพราะพูดภาษาเดียวกัน หากไม่เดินทางไปด้วยกายก็สามารถอาศัยความเจริญทางเทคโนโลยีเผยแผ่ธรรมผ่าน อินเทอร์เน็ตหรือช่องทางอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีวัดหลายแห่งทำงานด้านนี้อย่างได้ผลเช่นหลวงตาดอทคอม แห่งวัดป่าบ้านตาดเป็นต้น


    [​IMG]

    เนื่อง จากพระสงฆ์มีกรอบในการดำเนินชีวิตคือพระธรรมวินัย ในสมัยพุทธกาลเทคโนโลยีคงยังไม่เจริญมากนัก เพราะยังอยู่ในยุคสังคมเกษตรกรรม จึงมิได้มีวินัยบัญญัติเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีไว้เลย เทคโนโลยีเป็นเรื่องของวัตถุ ซึ่งวินัยบัญญัติในเรื่องวัตถุจึงมีขอบข่ายอยู่ที่เรื่องของเครื่องนุ่งห่ม (จีวร) อาหาร(บิณฑบาต) ที่อยู่อาศัย(กุฎิ วิหาร) และยารักษาโรค ซึ่งให้ใช้เท่าที่จำเป็นเช่นสิกขาบทเรื่องจีวรในจีวรวรรคก็ให้ใช้ไม่เกินสาม ผืนดังในสิกขาบทที่หนึ่งแห่งจีวรวรรคว่า “ภิกษุใดทรงอติเรกจีวร เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์"
    บัญญัติในเรื่องของอาหารบิณฑบาตก็ให้รับแต่พอประมาณดังที่บัญญัติไว้ในโภชนวรรคสิกขาบทที่สี่ว่า “ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ทายกเขาเอาขนมมาถวายเป็นอันมาก จะรับได้เป็นอย่างมากเพียงสามบาตรเท่านั้น ถ้ารับให้เกินกว่านั้นต้องปาจิตตีย์ ของที่รับมามากเช่นนั้น ต้องแบ่งให้ภิกษุอื่น
    บัญญัติในเรื่องเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยเช่นในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ 6 ว่า “ภิกษุสร้างกุฎีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ จำเพาะเป็นที่อยู่ของตน ต้องทำให้ได้ประมาณ โดยยาวเพียง 12 คืบพระสุคต โดยกว้างเพียง 7 คืบ วัดในร่วมใน และต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้องสังฆาทิเสส
    ยารักษาโรคนั้นก็ให้ใช้ตามที่มี สิกขาบทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศพระพุทธเจ้าจึงมิได้ทรงบัญญัติไว้


    [​IMG]



    หากจะเทียบเคียงน่าจะเป็นเทคโนโลยีทางจิตดังที่ปรากฏในปาราชิก สิกขาบทที่ 4 ความว่า “ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่าข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอา ตาม ก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”
    คำว่า
    “อุตตริมนุสสธรรม” ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ มรรค ภาวนา การทำให้แจ้งซึ่งผล การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ซึ่งก็ไม่มีเรื่องของเทคโนโลยีทางวัตถุเลย แต่น่าจะเป็นเทคโนโลยีทางจิต

    หลักมหาปเทศคือทางออกของพระสงฆ์

    ปัญหาและทางออกของพระธรรมวินัยอยู่ที่หลักมหาปเทศซึ่งมีพระพุทธานุญาตเรื่องมหาประเทศไว้ในวินัยปิฎก มหาวรรค(วิ.มหา.5/92/105) เมื่อ ครั้งหนึ่งภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ สิ่งไรไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
    1. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
    2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย
    3. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
    4. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย
    ปัญหาของพระสงฆ์กับเทคโนโลยีจึงอยู่ที่วัตถุประสงค์ว่าใช้เพื่ออะไร ใช้ในสิ่งที่ควรหรือไม่ควร แต่การพิจารณาว่าอะไรควรหรือไม่ควรก็มิใช่เรื่องที่ตัดสินได้ง่ายนัก



    พระสงฆ์ในโลกอินเทอร์เน็ต

    เมื่อ มีหลักในการเทียบเคียงแล้ว พระสงฆ์ก็ควรเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะโดยไม่ขัดกับพระธรรมวินัย เมื่อเทคโนโลยีมารวมเข้ากับสารเทศเทศ จึงทำให้กลายเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology), ไอที (IT) หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (information and communications technology), ไอซีที (ICT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง, แปลง, จัดเก็บ, ประมวลผล, และ ค้นคืนสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นการรับ การประมวลผล และการแจกจ่าย สารสนเทศในรูปแบบเสียง ภาพ เนื้อหาที่เป็นข้อความและ ตัวเลข โดยระบบพื้นฐานหลักการไมโครอิเล็กทรอนิคร่วมกับคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
    ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือ ระบบที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถรับข้อมูลต่างๆมา บันทึกไว้ แล้วนำข้อมูลนั้นมาจัดทำเป็นสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ (รศ.
    ยืน ภู่วรรณ(บรรณาธิการ),พจนานุกรมคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต,(กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น,2546),หน้า 207.)





    [​IMG]

    เทคโนโลยีสารสนเทศมีองค์ประกอบ 6 ส่วน ด้วยกัน คือ 1. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ 2. โปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ 3. ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อเท็จจริง ข้อความ ภาพ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่บันทึกเก็บไว้ เพื่อใช้วิเคราะห์ให้ทราบเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน 4. ระบบการสื่อสารข้อมูล (Data communication System) หมายถึง อุปกรณ์ระบบโทรคมนาคม และข้อตกลงที่ทำให้หน่วยงานสามารถส่งข้อมูลและรายงานข้ามไปยังผู้รับที่อยู่ห่างไกลได้ 5.บุคลากร (Peopleware) หมายถึงผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ดำเนินงาน และจัดการ ให้เกิดระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เช่นผู้ใช้(User) นักพัฒนาโปรแกรม(Programmer) และนักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst) เป็นต้น 6.ระเบียบปฏิบัติและคู่มือ (Procedures) หมายถึง ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ และคู่มือการใช้ระบบสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้การใช้ระบบสารสนเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเชื่อถือได้ และระบบมีความปลอดภัย (ศักดา ศักดิ์ศรีพาณิชย์,การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ)
    หาก จะว่าโดยสรุปเทคโนโลยีสารสนเทศคือคอมพิวเตอร์ โปรแกรม คน ข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถ้าหากมีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่เมื่อพระต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตจึงมีประเด็นที่ปลีกย่อยอีก มาก เพราะทางด่วนสายนี้มีทั้งสิ่งที่เป็นคุณและเป็นโทษต่อการประพฤติผิดธรรม วินัย
    พระสงฆ์เมื่ออยู่ในสังคมอิน เทอร์เน็ตควรใช้อย่างไร เรื่องนี้เป็นประเด็นปัญหาที่พระสงฆ์ถูกโจมตีมาก เพราะมีบางรูปเข้าไปดูเว็บไซด์ที่ไม่เหมาะสมกับสมณภาวะ องค์กรสงฆ์จะมีวิธีการในการแก้ปัญหาอย่างไร
    ใน ส่วนที่เป็นประโยชน์เราปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันมีวัด องค์กรสงฆ์จำนวนมากที่ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิธีแก้ปัญหาที่เรียบง่ายและได้ผลที่สุดคือให้วางเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใน สถานที่เปิดเผย ไม่เปิดโอกาสให้อยู่ผู้เดียว เพราะอาจพลั้งเผลอเข้าไปดูเว็บที่ไม่เหมาะสมได้ง่าย


    หลักธรรมสำหรับนักเสพอินเทอร์เน็ต

    ข้อมูล ในโลกไซเบอร์มีทั้งคุณและโทษ ในการกำหนดรู้โลกแห่งเทคโนโลยีนั้น พระพรหมคุณาภรณ์(ธรรมกับการพัฒนาชีวิต)ได้เสนอแนวทางในการปฏิบัติเมื่อต้อง สัมพันธ์กับข่าวสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน โดยใช้หลักปฏิสัมภิทา ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(31/268/96)
    1.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งในความหมาย เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายความออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่งก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่ออกไปได้จนล่วงรู้ถึง ผล เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี แม้จะมีเนื้อหาเพียงน้อยนิดก็รู้ความหมาหมายและสามารถขยายความออกไปได้
    2. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่งก็สามารถสืบสาวไปหาเหตุได้
    การเสพเทคโนโลยีแม้จะมีเนื้อหามาก แต่ก็สามารถจับสาระสำคัญได้
    3.นิรุตติปฏิสัมภิทา หมายถึงปัญญาแตกฉานในนิรุตติ ปรีชา แจ้งในภาษา รู้ศัพท์ถ้อยคำบัญญัติและภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ เมื่อรับรู้แล้วพูดสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้

    4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึงปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณ์เข้ากับเหตุการณ์ เมื่อเสพแล้วสามารถเชื่อมโยงกับความรู้เก่าสังเคราะห์จนเป็นองค์ความรู้ใหม่ นำไปใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ได้


    [​IMG]

    สรุป

    ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศหากถือตามปฏิสัมภิทาคือรู้ความหมายขยายความได้ จับประเด็นสำคัญได้ สื่อสารถ่ายทอดเป็น และใช้ความรู้ได้ถูกเรื่องทันการณ์ ข้อมูล ข่าวสารในโลกไซเบอร์บางครั้งมีเพียงน้อยนิดและกระจัดกระจาย เราต้องนำมาอธิบายขยายความให้ได้ บางครั้งมีข้อมูลมหาศาลก็ต้องย่อความจับประเด็นให้ได้ จากนั้นนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์จนกลายเป็นองค์ความรู้ใหม่และนำเสนอออกไปให้ สังคมได้รับรู้ได้ หลักปฏิสัมภิทานั้นพระสารรีบุตรได้อธิบายไว้ในสัญเจตนิยวรรค อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต (21/172/154) ความว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราอุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน ก็ได้กระทำให้แจ้งอรรถปฏิสัมภิทาโดยเป็นส่วน โดยจำแนก เราย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้งเปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายซึ่งอรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา โดยอเนกปริยาย โดยเป็นส่วน โดยจำแนกเราย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายซึ่งปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นโดยอเนกปริยาย ก็ผู้ใดแลพึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงผู้นั้น พึงถามเรา เราพึงพยากรณ์” หาก พระสารีบุตรยังอยู่ท่านคงให้คำตอบได้ แต่เมื่อท่านไม่อยู่เราก็สามารถศึกษาจากพระไตรปิฎกและนำมาอธิบายเชื่อมโยง กับสิ่งที่ได้พบเห็นได้ นั่นจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่
    “ไม่ตาย”ไปตามกาลเวลา
    เคนิชิ โอมาเอะชาวญี่ปุ่น(Kenichi Ohmae,The next global Stage)ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของประเทศต่างๆไว้อย่างน่าคิดว่า
    “ในภูมิภาคที่หวังจะก้าวหน้าประชาชนต้องรู้อย่างน้อยสามภาษาคือภาษาของตนเอง ภาษาอังกฤษ และภาษาเทคโนโลยี ซึ่งในสมัยนี้คือภาษาคอมพิวเตอร์ประกอบกับระบบอินเตทอร์เน็ต” หากพระสงฆ์ศึกษาภาษาของตนเองคือพระไตรปิฎก ศึกษาภาษาโลกคือภาษาอังกฤษ และภาษาเทคโนโลยี



    ดัง นั้นหากพระสงฆ์เข้าใจสภาวะของตนเองแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศก็คือวิชาการอย่างหนึ่งที่พระควรศึกษาและคณะสงฆ์ควรส่ง เสริมให้พระได้มีโอกาสศึกษาให้มากขึ้น โดยใช้หลักปฏิสัมภิทาคือรู้จักความหมาย รู้จักหลักการ รู้จักภาษาหรือศัพท์เฉพาะต่างๆและสามารถคิดต่อได้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทันและนำไปอธิบาย หลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้กับคนร่วมสมัยเข้าใจได้ พระสงฆ์ก็จะอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปอีกนาน
    พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน
    เรียบเรียง





    http://www.watsaikhan.org/index.php?option=com_content&task=view&id=43&Itemid=1
     
  2. "น้ำหวาน"

    "น้ำหวาน" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2009
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +10
    '๐'อนุโมทนากับเรื่องที่เป็นกุศลคร่า'๐'
    ----หวานเล่นเกมส์ออนไลน์ หวานเจอพระกะเณรเล่นเกมส์ด้วยง่ะ -----บาปนะนั่น
     

แชร์หน้านี้

Loading...