พระธรรมทูตไทยในต่างแดน หน้า 2 จาก 6

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 29 พฤศจิกายน 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table class="contentpaneopen"> <tbody> <tr> <td class="contentheading" width="100%">พระธรรมทูตไทยในต่างแดน </td></tr></tbody></table> <table class="contentpaneopen" width="100%"> <tbody> <tr> <td colspan="2" valign="top">

    คำว่า “พระธรรมทูตไทยในต่างแดน” ในที่นี้ หมายถึง พระสงฆ์ไทยสายเถรวาทผู้ไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ โดยการรับรองจากมหาเถรสมาคมอันเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์สูงสุดในประเทศไทยเท่านั้น และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ขอขมวดลงในพระธรรมทูตในต่างแดนยุดโลกาภิวัตน์ หรือยุดปัจจุบันนี้และเนื่องจากผู้เขียนเป็นกรรมการและเลขานุการสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) โดยมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นประธานสำนักฝึกอบรมฯ เนื้อหาสาระที่เขียนครั้งนี้ อาจไม่ครอบคลุมทุกฝ่ายนัก
    ในอดีตพระธรรมทูตประเทศไทย แม้จะมีการเจริญศาสนสัมพันธ์กับต่างประเทศ เช่น ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็ตาม แต่ทว่ายังอยู่ในขอบเขตจำกัด เป็นความจำกัดด้านพาหนะเดินทางและสภาพแวดล้อมของผู้คนในประเทศนั้น ๆ อีกทั้ง ยังมิได้มีการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความเป็นพระธรรมทูตเป็นกิจจะลักษณะ เพียงแต่ตรวจคุณสมบัติพระเถระนุเถระที่เหมาะสมและจัดส่งไป กาลเวลาที่ผ่านมา พระสงฆ์มีจำนวนมากขึ้น โอกาสไปมาติดต่อระหว่างประเทศมีสูงขึ้น พร้อมกันนี้ รัฐบาลไทยมีโครงการสนับสนุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างแดน จะเห็นได้จากรัฐบาล โดย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไปสร้างวัดไทยพุทธคยา ใกล้สถูปพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นแห่งแรก ตามคำเชิญของรัฐบาลอินเดีย ฯพณฯ ยาวฮะราลห์ เนรูห์ คราวฉลอง ๒๕ ศตวรรษ ครั้งต่อมา รัฐบาลไทยได้อุปถัมภ์อย่างเป็นทางการให้สร้างพุทธประทีป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นแห่งที่สอง ซึ่งประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดวัดนี้ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๐๘ ดังนั้น คณะสงฆ์ไทยจึงมีโครงการฝึกอบรมพระธรรมทูตเพื่อเตรียมความพร้อมและจัดส่งพระธรรมทูตไปต่างประเทศสนองภาระงานดังกล่าว
    โครงการฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศได้จัดขึ้นร่วมกันทั้งสองนิกายในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๑๐ และได้หยุดลงด้วยเหตุปัจจัยจำเป็นบางประการ แต่ความต้องการพระธรรมทูตไปต่างประเทศกลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ แล้วมีการตั้งวัดเป็นบ้านเล็ก ๆ หลังหนึ่ง เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๑๔ ต่อมาวัดไทยเริ่มมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะ เมืองใหญ่ ๆ เช่น นิวยอร์ก วอชิงตัน ดีซี ชิคาโก ลอสแองเจลลิส
    เมื่อพระสงฆ์ไทยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่างแดนมากขึ้น แต่ทว่าการจัดฝึกอบรมได้ชะงักลงไปแล้ว มหาเถรสมาคมภายใต้การสนับสนุนของกรมการศาสนา จึงให้มีการรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาใหม่ มอบให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระสงฆ์มหานิกาย และสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระมหาเถระทั้งสองได้มอบภาระงานนี้ แก่มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดยลำดับเป็นหน่วยงานดำเนินการ กรมการศาสนาสนับสนุนงบประมาณจำนวนแห่งละสองแสนกว่าบาทในการดำเนินการโครงการนี้ จึงเริ่มมีการฝึกอบรมเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกันในการดำเนินงานคือ
    ๑. เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตให้มีความรู้ความสามารถ จริยาวัตรอันงดงาม และความมั่นใจในการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศยิ่งขึ้น
    ๒. เพื่อเตรียมพระธรรมทูต ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมส่งไปต่างประเทศ
    ๓. เพื่อสนองงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย
    นับว่าการดำเนินงานของสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ทั้งสองต่างได้ทำหน้าที่ของตนอย่างน่าชมเชย เราไม่เคยได้ยินการล้ำเส้นของกันและกัน กลับได้เห็นความสมัครสมานสามัคคีเมื่อมีกิจกรรมทางศาสนาที่สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลได้นี่ แสดงให้เห็นว่าพระธรรมทูตไทยในต่างแดนมีใจกว้างมองภาพรวมมากกว่าภาพแคบ ถ้าจะไม่ชมเชยเห็นทีจะไม่ได้
    อันที่จริงแล้ว โครงการบัณฑิตศึกษา ทั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (มมร.) และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุ เข้ามาศึกษาในระดับปริญญาโท ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๑ นั้นก็คืองานสืบสาน โครงการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทยนั่นเอง แต่เป็นการศึกษาในรูปหลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (ศน.ม.) และหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) โดยเฉพาะหลักสูตร ศาสนศาสตรมหาบัณฑิตของ มมร. มีสาขาวิชา พุทธศาสนนิเทศ (BUDDHIST MISSION PROCESS) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า BUDDHISH STUDIES (พุทธศาสน์ศึกษา) มีจุดประสงค์ให้ผู้สำเร็จการศึกษาไปเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ แต่ทว่ามิได้มีการส่งผู้สำเร็จการศึกษาออกไป เพราะขาดการประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรปกครองคณะสงฆ์ไทย ทำให้ไม่มีการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมและการส่งพระธรรมทูตอย่างเป็นรูปธรรม จนเป็นเหตุให้มหาเถรสมาคมมีมติให้ดำเนินการฝึกอบรมพระธรรมทูตอีกวาระหนึ่ง นับแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ เป็นต้นมา
    กรณีปัญหาและอุปสรรคของพระธรรมทูตไทยในต่างแดน ที่ได้ประสบพบเจอกับล้วนเป็นเรื่องท้าทายสติปัญญาและจริยวัตรของพระธรรมทูตยิ่งนัก จะขอนำมากล่าวโดยสังเขป
    ความคิดและปฏิกิริยาของชาวต่างชาติ ต่อพระธรรมทูตไทย : เมื่อพระสงฆ์ไทยไปเมืองนอกในระยะแรก ๆ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา เจ้าของถิ่นหรือที่เราเรียกเขาว่า “ฝรั่ง” แทบไม่เคยเห็น พระสงฆ์ไทย เพราะจำนวนพระมีน้อย บางคนเคยมา เมืองไทย ก็พอจะคุ้น ๆ ตา เรียกความทรงจำมาได้บ้าง แต่ชาวต่างประเทศส่วนมากเมื่อเห็นพระก็นึกแปลกใจ และมองแบบมีคำถามบนหน้าผาก พระกลายเป็นบุคคลแปลกประหลาด บางทีขับรถผ่านมา ชะเง้อมองและร้องว่า “หริกฤษณะ” เพราะเขาเคยเห็นพวกหริ-กฤษณะ นักบวชฮันดูที่มาเผยแพร่สมาธิและแนวคิดความเชื่อของเขา ประสบความสำเร็จพอสมควร มีฝรั่งหนุ่มสาวหันมานับถือ และอยู่ร่วมชุมชนหริ-กฤษณะ มีชีวิตแบบนักบวชโกนหัวแต่ไว้ผมเปียยาว ๆ นุ่งห่มโธตีสีส้ม ใช้สีแดง ขาว ทาหน้าเป็นริ้ว มือถือกลองแขก ปากร้องร่ำ ๆว่า “หเร รามา หเร รามา” พระสงฆ์เราจึงนับเนื่อง “สาธุ” (นักบวช) ประเภทนี้ในสายตาของชาวต่างชาติ
    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...