เรื่องเด่น บารมีน้อย เพราะขี้อิจฉา คนที่ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น จะเป็นผู้มีศักดามาก มีอำนาจมาก

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย MonYP, 15 พฤศจิกายน 2019.

  1. MonYP

    MonYP เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    32
    ค่าพลัง:
    +756

    "ที่ไหนที่ไหนก็มีคนอิจฉา..ขนาดพระพุทธเจ้ายังโดน..เอ็งกับข้าจะเหลือหรอ" หลวงปู่กล่าวกับศิษย์ผู้หนึ่งขณะขอคำปรึกษากับท่านเรื่องที่ทำงานแล้วมีคนอิจฉาตลอด


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ จูฬกัมมวิภังคสูตร ความตอนหนึ่งได้กล่าวถึงผลกรรมจากความอิจฉาริษยา ว่า

    [๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
    มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความ
    นับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
    ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง
    จะเป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจ
    ริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ
    การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ


    tnews_1492683848_21.jpg


    วิบากกรรมก็จะส่งผลให้เป็นคนที่
    ไม่มีอำนาจ ด้อยอานุภาพ ความสามารถน้อย ประสบความสำเร็จในสิ่งที่หวังได้ยาก ไม่ว่าจะพยายามเพียงไรก็ตาม นั่นก็เพราะ ความริษยาผู้อื่นไว้อย่างไร ไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดีอย่างไร ขัดขวางผู้อื่นอย่างไร ตนก็ย่อมได้อย่างนั้น ในพุทธกาล มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อโลสกติสสแม้ท่านจะสำเร็จอรหันต์แล้ว แต่ด้วยวิบากกรรมของการอิจฉาในอดีต ท่านอิจฉาพระอรหันต์รูปหนึ่งที่มีญาติโยมศรัทธามากกว่าท่านให้อดอาหารเพียงแค่มื้อเดียวเท่านั้น เป็นวิบากรรมที่ทำให้ท่านไม่เคยกินอิ่มเลยสักครั้ง เวลาที่ท่านบิณฑบาตหากมีญาติโยมนำอาหารใส่บาตร อาหารพวกนั้นก็จะหายไปเอง แต่ญาติโยมก็จะเห็นอาหารอยู่เต็มบาตรของท่าน จึงไม่มีใครใส่บาตรท่านอีก ทำให้ท่านฉันไม่เคยอิ่มเลย

    อย่างไรก็ดี การจะลดความริษยาในใจลงได้ ก็เพียงแต่ ฝึกตนให้มีมุทิตา หรือ ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี เริ่มต้น จากความเมตตาก่อน คือ ปรารถนาให้เขาเป็นสุข ต่อมา คือ ความกรุณา ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ และตามมาด้วย มุทิตา คือพลอยยินดีเมื่อเขาได้ดี ก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และสุดท้ายคืออุเบกขาการวางใจให้เป็นกลาง ดังนั้นควรฝึกพรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอยู่บ่อยๆ โดย เฉพาะ “มุทิตา” เพื่อลดกำลังของความริษยานั้นลง

    ขณะเดียวกันคนที่ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่นก็จะทำให้เกิดผลกรรมในด้านที่ดี คือ
    จะเป็นผู้มีศักดามาก มีอำนาจมาก มีความสามารถ ทำอะไรก็ย่อมประสบความสำเร็จอยู่เสมอ ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ จูฬกัมมวิภังคสูตร ใจความว่า


    [๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
    เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความ
    เคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ-
    *โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
    ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น
    คนมีศักดามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้ คือ มีใจไม่ริษยา
    ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ
    การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ


    361500.jpg





    อ้างอิง
    https://www.deepsnews.com/contents/9035 วิบากกรรมคนขี้อิจฉา
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ จูฬกัมมวิภังคสูตร
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7623&Z=7798
    และ อรรถกถา โลสกชาดก ว่าด้วย คนที่ต้องเศร้าโศก
    http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270041
    ผู้จุดประทีปในดวงใจ
    ตามรอยธรรมย้ำรอยครู
     

แชร์หน้านี้

Loading...