บริหารการจัดสร้างพระ เครื่องเชิงพุทธ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 15 กรกฎาคม 2010.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    บริหารการจัดสร้างพระเครื่อง เชิงพุทธ[FONT=&quot]<o></o> [/FONT]
    สมหวัง วิทยาปัญญานนท์[FONT=&quot]<o></o> [/FONT]
    5 ธันวาคม 2543
    Font : CordiaUPC
    ประเด็นเรื่อง<o>

    </o>
    ผู้ที่สนใจพระเครื่อง เคยเล่นแต่สะสมเป็นงานอดิเรก บางครั้งก็อาราธนาขึ้นแขวนคอ หลายคนไม่ทราบว่าพระเครื่องสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีไว้ทำไม วิธีการสร้างเขาทำกันอย่างไร และการสร้างพระเครื่องเชิงพุทธนั้นเป็นอย่างไร แต่ที่รู้ทราบถึงการสร้างพระเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว ซึ่งจะหาอ่านการวิธีการสร้างพระเครื่องได้ยาก แม้นในวารสารพระเครื่อง แต่สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    บทคัดย่อ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    การจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านดินผง นั้นเป็นการทำบุญชนิดหนึ่ง เพื่อสืบทอดสัญลักษณ์พุทธศาสนาต่อไป แต่ปัจจุบันมักจะเบี่ยงเบนไปทางพุทธพาณิชย์ และในทางงมงายไม่ใช่สร้างปัญญา การนำพระเครื่องมาบูชา อาจเป็นงานอดิเรก หรือเชื่อมั่นในอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ หรืออนุสติเตือนใจ[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] ขั้นตอนการบริหารจัดสร้างพระเครื่องเชิงพุทธเนื้อว่านดินผง มีตั้งคณะทำงาน กำหนดวัตถุประสงค์การสร้าง จัดเตรียมงบประมาณ การเลือกแบบ การทำพิธีขอจัดสร้าง การออกแบบพระ การจัดเตรียมแม่พิมพ์ การเลือกประเภทแม่พิมพ์ การเลือกเนื้อพระ การจัดเตรียมเนื้อพระ การจัดเตรียมมวลสารวัตถุมงคล การจัดเตรียมวัตถุประสาน การผสมเนื้อพระ การพิมพ์พระ การทำให้พระแข็งตัว การตรวจสอบคุณภาพ การจัดเตรียมภาชนะหีบห่อ การเตรียมพระเครื่องเข้าพิธีพุทธาภิเษก การจัดพิมพ์คู่มือพระ การแจกจ่ายพระเครื่อง

    ในเชิงพุทธนั้นการสร้างพระขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสติถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นที่พึ่งทางใจ ให้จิตสงบ นึกถึงกับธรรมะ เพื่อใช้ในการปฏิบัติตนให้ใจสงบ ไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย ไม่ให้สร้างศรัทธาอันนำไปสู่ลาภสักการะ หรือเอาไปสร้างวัตถุจนเกินจำเป็น จนมองเป็นการค้าบุญไป หรือหนักไปทางพุทธพาณิชย์ [FONT=&quot]<o>
    </o><o></o>
    [/FONT]
    1. บทนำ
    <o></o>
    วิธีการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านดิน ผง มักจะเป็นความลับ เนื่องจากเกรงว่าจะมีคู่แข่งในการทำมาหากิน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ในวงการนักเลงพระ หรือนักสะสมพระเครื่อง มักจะสนใจแต่พุทธลักษณะ เนื้อมวลสาร อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แต่มักไม่ค่อยจะทราบถึงวิธีการสร้าง และวัสดุประสานที่ใช้[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] เนื้อพระที่พบเห็นก็มีเนื้อว่าน เนื้อดินดิบ เนื้อดินเผา และเนื้อผง เนื้อว่าน เนื้อดินดิบ เนื้อผง ต้องหาวัสดุเชื่อมประสาน สำหรับเนื้อดินเผาจะให้เนื้อดินประสานกันเองด้วยความร้อน สุดท้ายเนื้อพระต้องเชื่อมกันติดแน่น และต้องไม่ยุ่ย ละลายน้ำเมื่อแช่น้ำต่อเนื่องกันหลายๆ วัน<o></o>

    การสร้างพระเครื่องสมัยนี้ มักจะกลายเป็นพุทธพาณิชย์ เป็นวัตถุที่ใช้ในการระดมทุนเข้าวัด หรือเป็นสินค้าในท้องตลาด จนเป็นล่ำเป็นสัน ร่ำรวยไปหลายคน ซึ่งแตกต่างจากสมัยโบราณที่สร้างพระเครื่องเพื่อชาติและศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ใช้ในการออกรบปกป้องบ้านเมือง และมักจะมีคนโบราณบอกว่า “จนอย่างไรก็จะไม่ขอขายพระกิน” สมัยนี้ขายพระกิน จนคนทั้งบ้านทั้งเมืองเห็นเป็นของธรรมดาไปเสียแล้ว มีการตั้งราคาพระเครื่องเป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสน และเป็นล้าน โดยเฉพาะพระสมเด็จ ที่สมเด็จพุฒาจารย์โตสร้างไว้แต่โบราณ มีราคาในท้องตลาดเป็นหลักล้าน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    พระเครื่องที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นพระแขวนคอ เนื้อว่านดินผง สำหรับเนื้อโลหะยังไม่กล่าวถึง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    2. วัตถุประสงค์การจัดสร้างพระเครื่อง
    <o></o>
    วัตถุประสงค์การจัดสร้างพระเครื่อง อาจเรียงตามลำดับจากได้บุญมาก ไปบุญน้อย จนถึงบาป ดังนี้[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    1. สร้างพระ เครื่องเป็นสื่อคำสั่งสอน โดยแจกแก่บุคคลทั่วไป โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    2. สร้างพระเพื่อ นำไปทำบุญแก่วัด หรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดมูลค่า และไม่หวังสิ่งตอบแทน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    3. สร้างพระเพื่อ บรรจุลงกรุ เจดีย์ สถูป เจดีย์พระธาตุ เพื่อเป็นหลักฐานทางโบราณคดี และใช้เป็นสิ่งจูงใจ ระดมทุนมาซ่อมแซมบูรณะเมื่อชำรุดทรุดโทรมในอนาคต[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    4. สร้างพระเพื่อ วิจัยสูตรเนื้อดินหรือโลหะธาตุ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    5. สร้างพระเพื่อ เป็นเครื่องรางของขลัง สำหรับการออกสงคราม สู้รบปกป้องบ้านเมือง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    6. สร้างพระเพื่อ แจกเป็นของชำร่วย เพื่อเป็นของที่ระลึกในงานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า งานวันเกิด งานศพ งานแต่งงาน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    7. สร้างพระโดย เน้นพุทธศิลป์ ศิลปวัฒนธรรม ในยุคนั้น[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    8. สร้างเป็นพระ ของขวัญ แก่ผู้มาทำบุญที่วัด[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    9. สร้างเพื่อหา รายได้จากการเช่าพระ (ขายพระ) มาสร้างสาธารณประโยชน์ เช่น วัด โบสถ์ โรงเรียน โรงพยาบาล มีการตั้งราคาพระ เพื่อให้สามารถควบคุมรายได้และค่าใช้จ่ายได้[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    10. สร้างพระโดย เน้นวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น เมตตามหานิยม มหาอุต โชคลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาเสน่ห์[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    11. สร้างพระแบบ ทั่วๆ ไป ไม่ระบุสังกัด ทำเป็นโหล เพื่อให้ทางวัดหรือบุคคลทั่วไปมาซื้อ แล้วเอาไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกเอง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    12. สร้างเสริม เพิ่มจำนวนที่หมดไปแล้ว เพิ่มยอดรายได้ แล้วทำให้เข้าใจผิดว่ารุ่นเดิมยังไม่หมด บางครั้งทางวัดสร้างเสริมเอง และบางครั้งคณะศิษย์ก็แอบสร้าง ทางที่ถูกต้องการสร้างเสริมควรแจ้งให้ทราบว่าเป็นรุ่นสร้างเสริมแล้วมีโค๊ด บอกให้ทราบด้วย เพื่อไม่ให้ผิดศีลข้อมุสา โกหกหลอกลวง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    13. ทำปลอมพระ เครื่องที่ดังๆ โดยมีเจตนาว่าให้ผู้ต้องการหลงผิด คิดว่าเป็นพระของแท้ดั่งเดิม แล้วจะขายในราคาพระแท้ เป็นการต้มตุ๋นอย่างหนึ่ง ผิดศีลข้อมุสา โกหกหลองลวง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    3. วัตถุประสงค์ของการบูชาพระเครื่อง
    <o></o>
    “บูชา” นี้ก็คือ การเอาไปสักการะ เป็นการเล่นคำเพื่อหลีกเลี่ยงคำว่า “ซื้อพระ” เช่นเดียวกับการที่ผู้ขายหรือผู้ให้บูชา ใช้คำว่า “ให้เช่าพระ” แทนคำว่า “ขายพระ” เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนกันด้วยเงินกับพระตลอดไป เช่าพระ แปลว่า ขายพระ ถ้าซื้อพระขายพระเป็นสิ่งดี ทำไมต้องเลี่ยงคำด้วย
    [FONT=&quot]<o></o>
    [/FONT]
    แหล่งสถานที่ที่จะบูชาเช่าซื้อหามีหลาย แห่ง เช่น วัด ธนาคาร (เป็นครั้งคราว) ศูนย์พระเครื่องแลกเปลี่ยนกันเองระหว่างบุคคล มรดกตกทอดมา นำมาจากกรุที่ค้นพบ ร้านค้าของชำร่วย (บางครั้ง) แถมมากับหนังสือพระเครื่อง ร้านขายหนังสือ พบตกหล่นในบริเวณโบราณสถาน คนตกรถนำมาขาย โรงรับจำนำ (ติดมากับสร้อยคอทองคำ) พระสงฆ์เดินธุดงค์ ถ้ำโบราณ เป็นต้น[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] การหาพระเครื่องมาเป็นเจ้าของนั้น บางครั้งก็ได้มาฟรี บางครั้งก็ใช้เงินพอประมาณ แต่บางครั้งก็ต้องใช้เงินจำนวนมากเป็นหมื่นเป็นแสนก็มี ซึ่งการใช้เงินมากๆ อย่างนี้ ขอให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองด้วย[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    วัตถุประสงค์ของการนำพระเครื่องมาบูชา หรือใช้งาน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    q สะสมพระ เครื่อง แบบงานอดิเรก หรือนักสะสมของเก่า[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    q ใช้เป็น เครื่องเตือนใจ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือพระสงฆ์ที่ตนเองนับถือ (พุทธานุสติ ธัมมานุสติ และ สังฆานุสติ)[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    q ชมชอบพุทธ ศิลป์ และมวลสารที่นำมาสร้างพระเครื่อง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    q ใช้เป็นที่ ระลึกในการทำบุญ ทำความดี ในโอกาสต่างๆ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    q เชื่อใน อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ของพระเครื่องที่จะคุ้มครองให้ปลอดภัย หรือนำโชคลาภมาให้[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    4. อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระเครื่อง
    <o></o>
    อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ถึงแม้นมีจริง แต่เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งจริงแท้แน่นอนก็คือ ต้องปฏิบัติธรรม[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    คนหนังเหนียวยิงฟันไม่เข้า แล้วสร้างศัตรูไปทุกแห่งหน ย่อมมีคนที่คอยหมายปองจ้องเอาชีวิต วันใดคาถาอาคมเสื่อมหรือพระหนีไปแล้ว ก็ย่อมถึงวันตาย สู้ปฏิบัติธรรมไม่ได้ โดยการสร้างมิตรไปทั่ว ดังนั้นก็ไม่มีใครคิดที่จะฆ่าฟัน อายุยาวนานกว่า[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    วัตถุประสงค์การสร้างพระเครื่อง อย่าเน้นเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ให้คิดเป็นเรื่องของผลพลอยได้ ควรเน้นเรื่องการใช้พระเครื่องเป็นสื่อชักชวนให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม บำเพ็ญความดี จะถูกต้องที่สุด[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    5. กระบวนการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่าน ดินผง
    <o></o>
    การจัดสร้างพระเครื่อง ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง หากทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เนื่องจากเป็นการเผยแพร่พุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง การสร้างพระเครื่องนี้ เป็นการสร้างสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรมจักร พระพุทธบาท พระสงฆ์ พระอรหันต์ เป็นต้น แต่เดี๋ยวนี้มักมีการสร้างที่อิงกับศาสนาพรามณ์ เช่น ยักษ์ ฤาษี เจ้าพ่อ เจ้าแม่ พระพิฆเนศ หนุมาน ราหูอมจันทร์ พระนารายณ์ พระพรหม เป็นต้น ความเชื่ออื่นๆ ก็มี เช่น ตะกรุด นางกวัก ขุนช้าง จิ้งจกสองหาง แม่พระธรณี เงาะป่า เป็นต้น[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ในเชิงพุทธ จะเน้นสร้างเฉพาะสัญลักษณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้น เช่นเดียวกันกับการสร้างพระพุทธรูป พระบูชา เพื่อสักการะกราบไหว้ตามที่เห็นตามวัดวาอารามทั่วไป[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] กระบวนการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่าน ดินผง มีดังนี้[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    1. จัดตั้งคณะทำ งานจัดสร้าง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    2. กำหนดวัตถุ ประสงค์การจัดสร้าง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    3. การจัดเตรียม งบประมาณ<o></o>
    4. การเลือกแบบ พระเครื่องที่จะจัดสร้าง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    5. จัดทำพิธีขอ จัดสร้าง<o></o>
    6. ออกแบบพระ เครื่อง<o></o>
    7. การลองพิมพ์ พระ<o></o>
    8. การจัดเตรียม แม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์ขึ้นรูป[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    9. การเลือก ประเภทแม่พิมพ์[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    10. การเลือกเนื้อ พระที่จะจัดสร้าง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    11. การจัดเตรียม เนื้อพระ<o></o>
    12. การจัดเตรียม มวลสารวัตถุมงคล[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    13. การจัดเตรียม วัสดุประสาน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    14. การผสมเนื้อ พระ<o></o>
    15. การพิมพ์พระ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    16. การทำให้พระ เครื่องแข็งตัว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    17. การตรวจสอบ คุณภาพพระพิมพ์[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    18. การจัดเตรียม ภาชนะหีบห่อ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    19. การนำพระ เครื่องเข้าพิธีพุทธาภิเษก[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    20. การจัดพิมพ์ คู่มือพระเครื่อง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    21. การแจกจ่ายพระ เครื่อง<o></o>
    <center> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </center> ​
    <o></o>
    5.1 จัดตั้งคณะทำงานจัดสร้าง[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง กำหนดภารกิจตั้งแต่ประธาน การเงิน การตลาด ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก และเลขานุการ คณะผู้จัดสร้างอาจเป็นบริษัทเอกชน องค์กร บุคคลธรรมดา คณะกรรมการวัดก็ได้ ถ้าไม่เน้นพิธีการอะไรมากมาย คนหนึ่งหรือสองคน ก็ทำงานได้แล้ว หากการตั้งคณะทำงานแล้วต้องมีค่าใช้จ่าย ก็ต้องดูความเหมาะสม ให้เน้นหลักความประหยัด ไม่ต้องหรูหราปรุงแต่ง[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] 5.2 กำหนดวัตถุประสงค์การจัดสร้าง[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] การสร้างพระเครื่องขึ้นมาเพื่ออะไร ใช้ในงานอะไร เช่น งานทอดกฐิน ฝังกรุ หารายได้เข้าวัด จำนวนที่สร้างจะสร้างเท่ากับวัตถุประสงค์ เช่น จำนวนผู้สั่งจอง จำนวนสมาชิก ยอดรายได้ที่ต้องการ บางครั้งสร้างเท่ากับพระธรรมขันธ์ในพระไตรปิฎก คือ 84,000 องค์ หากจำนวนนี้มากไป ก็เอาแค่ 4,000 องค์ เท่ากับส่วนหลังของ 84,000 องค์ หรือเท่ากับจำนวนพระอรหันต์ในวันมาฆะบูชา คือ 1,250 องค์ บางคนก็เอาเลขสวยๆ เช่น 9,999 องค์ หรือ 999 องค์ จำนวนสร้างที่น้อยๆ มักเป็นพระที่ต้นทุนแพง เช่น พระเนื้อทองคำ พระบูชาขนาดใหญ่ หรือเปลืองที่จัดเก็บหากสร้างจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การถือเลขก็ขอให้เป็นเพียงการระลึกถึงเท่านั้น ไม่ใช่โชคลาภ ในเชิงพุทธนั้นจำนวนที่สร้างนั้นก็ให้มีปริมาณที่พอเพียงและพอประมาณ และตอบสนองวัตถุประสงค์การจัดสร้างพระ

    5.3 การจัดเตรียมงบประมาณ[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] งบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ อยากสบายในการจัดสร้างก็จ้างเขาทำ แต่ลงทุนมากหน่อย หากทำเองราคาก็ถูกลง เพราะใช้แรงงานตัวเอง แม่พิมพ์ไม่มีก็ไปยืมวัดอื่นมา หรือใช้วิชาเรซิ่นพลาสติกและซิลิโคน ทำแม่พิมพ์เองก็ได้[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] จ้างเขาทำนั้นค่าบล๊อกแม่พิมพ์ 5,000 [FONT=&quot]– 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับช่างแกะพิมพ์ รูปเหมือนเกจิอาจารย์แกะยากหน่อย ก็มีราคาแพง พระสมเด็จแกะง่ายหน่อย ราคาก็ถูก ค่ากดพิมพ์ประมาณองค์ละ 1 - 3 บาท/องค์ ค่ากล่องพลาสติก 3 – 5 บาท/กล่อง หากใช้ถุงซิปขนาดเล็กก็ประมาณ 5 – 8 บาท/ร้อยถุง หรือ 500 บาท/กิโลกรัม หากสร้าง 10,000 องค์ ต้นทุนก็ตกประมาณ 7 [FONT=&quot]–[/FONT] 10 บาท/องค์[FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT]
    [/FONT] การระดมทุน ก็โดยการชักชวนผู้มีจิตศรัทธามาลงเงินก้อนแรก หากไปกู้เงินเขามาทำพระเครื่อง อย่างนี้มีความเสี่ยงหากขาดทุน การสร้างพระแบบสมัยใหม่ ต้นทุนแพง หากมองกลับไปดูในอดีตโบราณ ต้นทุนน้อยมากแทบไม่มีเลย เช่น ช่างแกะพระทำแม่พิมพ์มาถวายวัด บางแห่งพระสงฆ์ก็แกะพิมพ์พระเองบนหินลับมีดก็ได้ มวลสารก็เป็นของที่อยู่ในวัด การพิมพ์พระก็ระดมกำลังจากพระสงฆ์ หรือชาวบ้านที่ศรัทธาลงแรงช่วยกัน หากเป็นพระดินเผาก็เอาไปฝากเตาเผาอิฐที่มีอยู่แล้ว คิดดูให้ดี อาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลย มีแต่แรงงานช่วยกัน และเลี้ยงข้าวปลาอาหารกัน สมัยก่อนพระเครื่องไม่ได้ใส่กล่องพลาสติก ให้หยิบเอาไปเลย หรือเอาผ้าห่อไป ดังนั้นต้นทุนกล่องพลาสติกก็ไม่มี

    5.4 การเลือกแบบพระเครื่องที่จะจัดสร้าง[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] โดยทั่วไปนิยมสร้างรูปพระพุทธเจ้า พระประธานในโบสถ์ รูปเกจิอาจารย์แทนพระสงฆ์ และพระธรรมจักร ต่อไปก็เป็นการเลือกซุ้มพระ การเลือกปางของพระพุทธเจ้า มีปางนั่งสมาธิ ปางมารวิชัย ปางนาคปรก ปางป่าลิไลย์ ปางลีล่า ปางห้ามพระญาติ ปางตามวันเกิด จะเลือกโค๊ตตำหนิหรือไม่ จะเลือกยันต์อะไร เช่น นโมพุทธายะ (ยันต์พระเจ้า 5 องค์) หัวใจคาถา ภาษาขอม สัญลักษณ์ผู้สร้าง รุ่น ปี พ.ศ.ที่สร้าง เป็นที่ระลึกงานอะไร[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] ในเชิงพุทธขอให้สร้างเฉพาะพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรมจักร พระสงฆ์ และพระอรหันต์เท่านั้น เพื่อให้เป็นพุทธาสุสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ ในทางพุทธให้เรากราบไหว้ 5 อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ และครูบาอาจารย์ หากหลุดไปจากนี้แล้ว จะมีโอกาสที่จะไปหลงงมงายกับสิ่งอื่น ทำให้เกิดความเชื่อแบบงมงาย ขาดปัญญา เกิดมิจฉาทิฎฐิได้ง่าย[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    5.5 จัดทำพิธีของจัดสร้าง[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] โดยเฉพาะเกจิอาจารย์ที่มีวัดสังกัด จะสร้างรูปเหมือนก็ต้องบอกกันหน่อย ตามหลักมารยาทสากล รูปแบบพระเครื่องยังไม่มีใครไปจดสิทธิบัตร ผลทางกฎหมายไม่มี แต่หลักมารยาท ต้องบอกเจ้าของ หากเป็นของเก่าโบราณ ไม่รู้จะขอสร้างจากใคร ก็ทำพิธีขอสร้างจากดวงวิญญาณหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะทำให้ผู้สร้างสบายใจ เพราะขออนุญาตทำแล้ว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    5.6 ออกแบบพระเครื่อง[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] ประกอบด้วยพุทธลักษณะด้านหน้าและด้านหลังพระเครื่อง ความหนาของพระ หนากี่มิลลิเมตร จะใช้ศิลปะสมัยไหน เมื่อออกแบบเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนทำแม่พิมพ์ จะจ้างทำก็ได้ โดยแกะพิมพ์บนโลหะเหล็กหรือทองแดง หรือบนแผ่นพลาสติก สมัยโบราณนิยมแกะบนโลหะเหล็ก หรือทองแดง หรือบนแผ่นพลาสติก สมัยโบราณนิยมแกะบนหินลับมีด (หินอ่อนหรือหินชนวน)[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    แม่พิมพ์สมัยใหม่นิยมแบบ 3 ชิ้น ประกอบด้วยแม่พิมพ์หน้าพระ แม่พิมพ์ข้างพระ และแม่พิมพ์หลังพระ สมัยโบราณนิยมชิ้นเดียวเฉพาะแม่พิมพ์หน้าพระ[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] ด้านหลังพระ ควรชี้บ่งถึงผู้สร้าง จะเป็นอักษรหรือสัญลักษณ์อะไรก็ได้ เพื่อลดความสับสน ในการสืบที่มาของพระ หรือโอกาสของการสร้าง เช่น หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน มีผู้สร้างมากมาย ควรมีลักษณะพิเศษของผู้สร้างด้วย เช่น หน้าตา บัวฐานพระ ลูกแก้วที่ถืออุ้มไว้ งูใต้ฐาน เป็นต้น[FONT=&quot]<o>
    </o><o></o>
    [/FONT]
    5.7 การลองพิมพ์พระ[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] ร้านรับแกะบล๊อกพิมพ์พระที่ดี ควรจะทำพระลองพิมพ์มาให้ผู้จัดสร้างตรวจสอบพุทธลักษณะ และเนื้อมวลสาร หากยังไม่พอใจก็สั่งแก้ไขจนพอใจ จึงค่อยส่งมอบบล๊อกพิมพ์ แล้วพร้อมที่จะลงมือพิมพ์พระจริง เป็นจำนวนมากๆ การแก้ไขแม่พิมพ์ ช่างแกะพระอาจเรียกเงินค่าจ้างเพิ่ม ต้องตกลงกันให้ดี
    [FONT=&quot]<o></o><o></o>
    [/FONT]
    5.8 การจัดเตรียมแม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์ขึ้นรูป[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] ถ้าใช้แม่พิมพ์จริงหรือต้นแบบ หากสร้างพระจำนวนมากๆ เช่น 84,000 องค์ เชื่อแน่เลยว่า ความคมชัดขององค์พระเครื่อง จะลดลงช่วงพระองค์ท้ายๆ ทำให้สับสนคิดว่าเป็นพระปลอม หรือต่างรุ่นกันก็ได้ โดยเฉพาะพระเนื้อดินจะกัดแม่พิมพ์มากกว่าเนื้อว่าน ทางแก้ไข คือ การทำแม่พิมพ์พลาสติกหรืออีพอกซี่ขึ้นมา อายุการใช้งานประมาณ 2,000 [FONT=&quot]– 4,000 องค์ ซึ่งสามารถถ่ายแบบแม่พิมพ์ที่จ้างแกะมาได้ โดยใช้ซิลิโคนรวมกับสารช่วยแข็ง ถอดถ่ายแบบออกมา เทคนิคการถ่ายแบบที่สวยงาม ต้องฝึกฝนพอสมควร จากนั้นก็ทำแม่พิมพ์เรซิ่นพลาสติกหล่อ โดยการผสมเรซิ่นเหลวกับสารช่วยแข็ง แล้วเทลงพิมพ์ซิลิโคน แล้วรอจนเรซิ่นแข็งตัวเต็มที่ จึงค่อยถอดออกจากแบบพิมพ์[FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT]
    [/FONT] ถ้าต้องการให้แม่พิมพ์เรซิ่นแข็งแรง ทนต่อการขีดข่วนสึกหรอ ให้ผสมผงหินปูนบด หินซิลิก้าบด ผสมลงในเรซิ่นเหลวด้วย อย่าใส่ตัวช่วยแข็งมากเกินไป เพราะจะทำให้ชิ้นงานหล่อจะหดตัว เล็กกว่าขนาดเดิมและเกิดความร้อน หากต้องการให้แม่พิมพ์พลาสติกแข็งแรงกว่านั้น ก็ให้ใช้เรซิ่นอีพอกซี่เหลวแทน เรซิ่นหล่อไฟเบอร์กลาส[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] การใช้วัสดุอื่นแทนเรซิ่นก็มี ใช้พุตตี้อีพอกซี่ ยี่ห้อ Devcon ที่ใช้ในการพอกเพลา โลหะ แต่ต้องมีเทคนิคพิเศษในการป้ายครีมพุตตี มิเช่นนั้นจะเกิดฟองอากาศที่ชิ้นงานมาก นอกจากนี้อาจใช้สีโป๊รถยนต์รองพื้น ก็ใช้งานได้เช่นกัน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ข้อควรระวังก็คือ เรซิ่นหล่อ สีโป๊วรถยนต์ นั้นมีกลิ่นเหม็นมาก ให้ปฏิบัติการต่างๆ ในที่โล่งหรือสถานที่มีการระบายอากาศดี หรือมีการดูดควันไอไปทิ้งที่อื่น[FONT=&quot]<o>
    </o><o></o>
    [/FONT]
    5.9 การเลือกประเภทแม่พิมพ์[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] มีแบบแม่พิมพ์ 3 ชิ้น ทำด้วยพลาสติก เหล็ก ทองเหลือง คือ พิมพ์หน้าพระ พิมพ์ขอบข้าง และพิมพ์หลังพระ โดยติดตั้งกับเครื่องกดพระ (ราคาประมาณ 2,500 [FONT=&quot]– 3,000 บาท/เครื่อง) การพิมพ์มี 2 วิธี คือ การพิมพ์ตวงปริมาตรดินที่เครื่องกดหนึ่ง จากนั้นนำดินตวงไปใส่ในเครื่องกดพระอีกเครื่องหนึ่ง รวมเป็น 2 ขั้นตอน อีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้เครื่องกดเดี่ยวเป็นทั้งตวงและพิมพ์ในคราวเดียวกัน[FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT]
    [/FONT] แม่พิมพ์ชั้นเดียวแบบพระพิมพ์โบราณ คือ มีเฉพาะพิมพ์หน้าพระ แม่พิมพ์ทำด้วยหินแกะ พลาสติก หรือดินเผา[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] แบบแม่พิมพ์ 3 ชั้น ทำด้วยพลาสติกหล่อ ผู้เขียนเป็นผู้ออกแบบเอง มีขนาดเล็ก กะทัดรัด ทำขั้นตอนเดียว พกใส่กระเป๋าเสื้อ หรือย่ามพระได้โดยง่าย ราคาถูก เวลากดพระไม่มีเสียงดังรบกวนคนโดยรอบ[FONT=&quot]<o>
    </o><o></o>
    [/FONT]
    5.10 การเลือกพระที่จะจัดสร้าง[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] การเลือกเนื้อพระชนิดว่าน – ดิน – ผง (ไม่ขอกล่าวเนื้ออื่นที่ใช้กับเหรียญปั๊ม รูปหล่อ และแกะสลัก)[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ไม่ว่าจะเป็นเนื้อว่าน เนื้อดินดิบ เนื้อดินเผา และเนื้อผง ก็ต้องอาศัยดิน เพื่อให้เกิดการประสาน และก่อให้เกิดน้ำหนัก เนื้อว่าน – ดิน – ผง นี้หากไม่มีดินผสมก็จะเบามากๆ และจะฟ่ามๆ เวลาเป็นพระเครื่องแล้วจะไม่น่าใช้[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] ตัวอย่างพระเครื่องหลวงปู่ทวด มักใส่ดินกากยายักษ์ (ดินชนิดหนึ่งสีดำ) พระผงสมเด็จมักใส่ดินขาวหรือผงปูนลงไปด้วย[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สำหรับเนื้อดินก็ต้องจัดหาเนื้อดินเหนียวที่มาจากสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ดินเหนียวที่ดีควรมีลักษณะนุ่มมือ เมื่อมีความชื้นหมาด เนื้อเนียนไม่ติดมือมันราวคล้ายดินน้ำมัน อย่างไรก็ตามดินเหนียวชนิดต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้งานได้ โดยใช้ความรู้เรื่องเครื่องปั้นดินเผา[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] ดินร่วนยุ่ยก็ต้องใช้ดินเหนียวจัดผสม ดินหดตัวมาก ก็ใช้ดินปนทรายหรือแร่ภูไมต์ หรือหินเขียวหนุมาน หรือดินเผาบดมาผสม ตามสัดส่วนที่เหมาะสม[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สีสรรของดินและประกายมันวาวของดินจะช่วยทำให้พระเครื่องดูเด่น และแปลกตาออกไป ในการเลือกเนื้อดินที่สีสรรและสีหลังการเผา หรือเลือกจากดินที่มีไมก้าขาวแวววาว เพื่อความสวยงาม[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สิ่งที่นิยมทำ คือ การหาแร่พิเศษที่เป็นผงเป็นเม็ดมีความเป็นมันวาว สำหรับโปรยหลังพระเครื่อง หรือผสมลงไปในเนื้อพระเลย เช่น เพทาย ดีบุก นิล พลอยแดง เป็นต้น[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] 5.11 การจัดเตรียมเนื้อพระ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    อาจต้องไปขุดดินจากแหล่งหรือไปขอจากวัด หรือจากผู้ที่ชอบสะสม บางอย่างก็ไปหาซื้อมาได้ ดินที่ขุดมาแล้วควรวางในที่สูงด้วย ป้องกันคนเดินข้ามหรือมาถ่ายปัสสาวะใกล้ๆ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    การจัดเตรียมดินเนื้อพระ บางครั้งจะพบว่าดินอยู่ปนกับกรวด หรือหินแข็ง ตัวอย่างดินลูกรัง จะมีทั้งดินและกรวดอยู่รวมกัน และดินบางอย่างเนื้อเนียนนุ่ม แต่มีเม็ดกรวดประปรายไปทั่วเนื้อดิน วิธีการแก้ไขให้ทำดังนี้[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] วิธีที่ 1 นำดินไปหมักน้ำหรือแช่น้ำ 1 [FONT=&quot]– 3 คืน นำดินมาใส่ถัง เติมน้ำพอสมควร ขย่ำดินให้เกิดน้ำขุ่นหรือน้ำดินจนขุ่นได้ที่ จากนั้นค่อยๆ เทน้ำดินลงในถังน้ำดิน ระวังให้ป้องกันกรวดที่จมก้นถัง ไม่ให้ไหลออกมา ทำเช่นนี้จนดินหมด จนเหลือปริมาณดินปนกรวดทราย ให้ทิ้งไป น้ำดินที่ได้ ปล่อยรอให้ดินตกตะกอนก้นถัง เทน้ำใสส่วนบนทิ้ง ทำเช่นนี้จนดินมีความเข้มข้นมาก แล้วนำไปเทบนถุงปุ๋ย หรือผ้าขาวม้า ปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำซ้ำออก จะทิ้งไว้กลางแจ้งก็ได้ เพื่อให้ดินระเหยน้ำเร็วขึ้น จนหมาดพอก็ให้ปั้นเป็นก้อนๆ ผึ่งดินก้อนไว้จนเป็นก้อนดินที่เหมาะกับการขึ้นรูป ก็ให้เก็บใส่ถังพลาสติกที่มีฝาปิด จะทำให้รักษาดินได้เป็นปี วิธีอื่นในการทำให้น้ำดินแห้ง เช่น วิธีใส่ถุงผ้าแขวนให้น้ำใสไหลออก วิธีเทน้ำขุ่นลงในกระถางดินเผาที่ไม่เคลือบให้ดูดน้ำออก วิธีนำน้ำดินไปเข้าเครื่องเตาอบ วิธีนำน้ำดินไปใส่ในถังโลหะ แล้วเคี่ยวไฟให้แห้ง และวิธีการกรองด้วยระบบสูญญากาศ เป็นต้น

    [/FONT] วิธีที่ 2 ทำดินที่เตรียมมาทำให้แห้ง จากนั้นบดดินด้วยโม่บดหรือตำด้วยครกหินหรือครกเหล็ก แล้วร่อนด้วยตะแกรงร่อนแป้ง นำผงร่อนแห้งมาผสมน้ำ ก็เป็นดินเหนียวที่พร้อมขึ้นรูป การเก็บรักษาอาจเก็บในลักษณะเป็นผงแห้งก็ได้ เวลาจะใช้งานค่อยนำมาผสมน้ำ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    บางท่านก็ใช้วิธีลัดในการจัดเตรียมดินเนื้อพระ โดยใช้แร่ที่ซื้อขายกันในวงการเหมืองแร่ และเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งบดละเอียดมาแล้ว เช่น เฟลด์สปาร์ (หินฟันม้า) หินเขี้ยวหนุมาน แร่โคโลไมต์ แร่แบไรต์ แร่ภูไมต์ (หินภูเขาไฟ ที่มีซิลิก้าสูง มีความพรุนตัว ใช้ในงานเกษตร) ดินขาวลำปาง ดินบอล์เดลย์ สำหรับทำเครื่องปั้นดินเผาหรือเซอรามิกส์[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] 5.12 การจัดเตรียมมวลสารวัตถุมงคล[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] มวลสารวัตถุมงคลส่วนใหญ่จะป็นอิฐปูนโบราณสถาน ตะไคร่น้ำเจดีย์ หลังคา กระเบื้องโบสถ์ พระเก่า พระหัก ผงเถ้าธูปบูชา ที่บูชาพระประธาน ศาลหลักเมือง หน้ารูปเหมือนเกจิอาจารย์ ดอกไม้บูชาพระ ขี้เถ้าใบลาน แร่ธาตุที่เป็นมงคล พระธาตุ อัฎฐิ เถ้ากระดูกของเกจิอาจารย์ ว่าน 108 พืชสัตว์ที่เป็นมงคล (งาช้าง) ผลชอล์กที่เขียนยันต์แล้วลบออก[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] มวลสารวัตถุมงคลนี้จะใช้ปริมาณ 5 – 90 % ของเนื้อพระทั้งหมด วัตถุมงคลนี้มักเป็นวัตถุเรียกศรัทธา ทำให้น่านับถือกราบไหว้ได้มากขึ้น สิ่งที่ควรระวังคือ อย่าตั้งใจทำลายใบลานโบราณที่จดคัมภีร์มาเผาเพื่อเอาขี้เถ้าสีดำ ทั้งที่ควรเก็บรักษาไว้เป็นของโบราณไว้ ในเชิงพุทธ จะไม่เน้นวัตถุมงคล แต่ให้ไปปฏิบัติตนตามมงคล 38 มากกว่า อย่างไรก็ตาม วัตถุมงคลที่ใส่ในพระเครื่อง ก็ให้เป็นเพียงสิ่งยึดเหนี่ยวให้มาสนใจพระเครื่อง ซึ่งดีกว่าจะไปสนใจกิเลสอื่นรอบๆ ตัว เช่น เล่นการพนันเพราะโลภ สนใจพระเครื่องเป็นงานอดิเรก ก็ยังดีกว่าไปเล่นไพ่เป็นงานอดิเรก บางคนก็เน้นในเรื่องวัตถุมงคล ในเชิงอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ แต่ในเชิงพุทธให้ปฏิบัติธรรมแทน และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์จะมีหรือไม่ ไม่ต้องไปสนใจ[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] สูตรส่วนผสมเนื้อพระ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สูตร 1 พระเครื่องเนื้อว่าน (เช่น พระหลวงปู่ทวด)
    เนื้อพระ : ดินกากยายักษ์ ฝุ่นสีดำ กระดาษไม้ไผ่ กระดาษฟาง ปูนขาว ดินเหนียว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ดิน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    วัตถุมงคล : ว่านแร่ผงต่างๆ ผงว่านเก่า ชิ้นส่วนพระเครื่องแตกหัก แร่เขาเขียว โป่ง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]ขาม สะเก็ดดาว ขี้เหล็กไหล อัญมณี ดอกไม้แห้ง น้ำพระพุทธมนต์ ผง<o></o>กะลามะพร้าวไม่มีตา (มหาอุต) หินเขี้ยวหนุมาน ชานหมาก ยาฉุน ของ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]เกจิอาจารย์ ว่านเพชรหลง – เพชรเหล็ก ว่านกลิ้งกลางดง เพชรหน้าทั่ง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT](ไพไรต์) ดินรูปูปิด ดินกำบัง (เกลือจืด) ผงขมิ้นกับปูน ผงพระ ผงกระ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]เบื้องหลังคาโบสถ์ ผงพุทธคุณ วัตถุมงคลนี้ไม่จำเป็นต้องหามาให้ครบ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]เลือกตามใจชอบ[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] วัสดุประสาน : ปูนขาวจากหิน ปูนขาวเปลือกหอย กล้วย น้ำตาลทราย น้ำมันตังอิ้ว น้ำ<o></o>ผึ้งเดือนห้า ข้าวเหนียวดำ น้ำมนต์ ข้าวสุก สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ปูนขาว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]และกล้วย
    สีเนื้อพระ : สีดำ ใส่ฝุ่นสีดำ และดินดำมาก ปูนขาวน้อย [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สีเทา ใส่ฝุ่นสีดำน้อย ใส่ว่านมาก <o></o>
    สีชมพู ใส่ว่านสบู่เลือด และปูนกินหมาก[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สีขาว ใส่ปูนขาว และผงวิเศษสีขาวมาก[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สีขาวอมเหลือง เหมือนทำสีขาว แล้วใส่น้ำมันตังอิ้วมาก[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สีเหลือง ใส่ขมิ้น หรือเนื้อขนุน หรือเปลือกขนุน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    สูตร 2พระเครื่องเนื้อผง (เช่นพระสมเด็จ)
    เนื้อพระ : ปูนขาวหิน ปูนขาวเปลือกหอย[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    วัตถุมงคล : ปูนจากองค์พระประธาน ผงว่าน น้ำมนต์ 108 วัด ผงธูปและดอกไม้ที่[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    บูชาพระประธาน ผงวิเศษ 5 อย่าง คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    วัสดุประสาน : ปูนขาว กล้วยสุก น้ำผึ้ง น้ำมันตังอิ้ว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สีเนื้อพระ : สีขาวอมเหลือง จากปูนขาว และน้ำมันตังอิ้ว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    สูตร 3 พระเครื่องเนื้อผงยา (เช่น พระผงยาวาสนา “จินดามณี”)

    เนื้อพระ : ผงหินบด ผงยาจินดามณีซึ่งประกอบด้วย หญ้าฟรั่น อบเชย โกฎทั้งหมด<o></o> กลัมพัก ผักตาดหัวแหวน กระแจะ ตัวปู กระต่ายจาม บดผสมกับกฤษณา พิมเสน ชะมดเชียง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    วัตถุมงคล : ไม่เน้น
    วัสดุประสาน : ปูนขาว น้ำผึ้งรวง น้ำมะนาวคั้น น้ำมะเขือขื่นคั้น น้ำมันตังอิ้ว น้ำยางรัก[FONT=&quot]<o></o>[/FONT] และน้ำมันยาง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สีเนื้อพระ : สีน้ำตามเข้ม[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] สูตร 4 <o></o>ระเครื่องเนื้อดินดิบ (เช่น พระเม็ดกระดุมศรีวิชัย – พุนพิน)
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ตามลัทธิมหายาน จะมีการนำเถ้าอัฎฐิของพระสงฆ์เถระ ที่มรณภาพแล้ว มาป่นคลุกเคล้ากับดิน แล้วพิมพ์เป็นพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ไว้ เป็นปรมัตถประโยชน์ ของผู้มรณภาพ และจะไม่มีการเผาพระพิมพ์อีก เนื่องจากได้เผาอัฎฐิมาแล้วครั้งหนึ่ง หากเผาอีก จะเป็นการตายครั้งที่สองนั่นเอง[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] สูตร 5พระเครื่องเนื้อดิน เผา (เช่น พระรอด พระกำแพง)

    โดยนำดินเหนียวมาผสมมวลสารที่มีอินทรีย์สารน้อย พิมพ์ขึ้นรูป แล้วนำไปที่เตาเผาอิฐ หรือหมกแกลบเผาหรือใส่ในเตาเผาถ่าน หรือเตาเผากระถาง หรือเตาเผาเซอรามิกส์ หรือใส่กระถางดินไปเผาในเตาอังโล่[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    การใช้ดินเหนียวนั้นจะต้องรู้คุณสมบัติของดินด้วย เพราะดินบางชนิดเผาที่อุณหภูมิต่ำจะไม่สุก เช่น ดินขาวลำปาง[FONT=&quot]<o>
    </o>
    [/FONT]<o></o>
    5.13 การจัดเตรียมวัสดุประสาน[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    วัสดุประสานสำหรับเนื้อพระที่ไม่ต้องการเผา ซึ่งจะนำวัสดุประสานไปผสมกับวัสดุเนื้อพระอีกครั้งหนึ่ง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สูตรโบราณ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    1. ปูนขาวหรือปูน เปลือกหอยเผา กล้วยสุก น้ำตาลทราย หรือน้ำผึ้ง และน้ำมันตังอิ้ว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    2. ปูนขาว กล้วยสุก น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำมันตังอิ้ว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    3. ผงชันยาเรือ และน้ำมันยาง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    4. น้ำมันยางและ รัก (ที่ใช้สำหรับลงรักปิดทอง)[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สูตรสมัยใหม่[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    1. ซีเมนต์ขาว หรือปูนยาแนวหรือปูนซิเมนต์เทา[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    2. ปูนพลาสเตอร์ ผสมกาวลาเท๊กซ์[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    3. กาวพลาสติก ต่างๆ ที่ทนน้ำหลังแห้งแล้ว เช่น ยูเรียฟอร์มาลดีไฮต์ ฟีลนอลฟอร์มาดีไฮต์ [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    4. เรซิ่นพลาสติ หล่อหรือเรซิ่นอีพ๊อกซี่หรือกาวลาเท๊กซ์[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    การทดสอบสูตรปูนขาวเผา[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    1. ผสมปูนขาวกับ น้ำ ปั้นขึ้นรูป ปล่อยให้แข็งตัว 7 วัน แล้วนำไปแช่น้ำ พบว่ายุ่ย [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    2. ปูนขาวผสมกับ กล้วย สัดส่วนโดยปริมาตร 3 : 1 ตำด้วยครก ปั้นขึ้นรูป ปล่อยให้แข็งตัว 7 วัน แล้วนำไปแช่น้ำ จะทนน้ำได้[FONT=&quot]<o></o> [/FONT]
    3. ทดลองใช้ปูน ขาวหอยเผาแทนปูนขาว ก็ให้ผลเหมือนกันกับข้อ 2 [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    4. ทดลองใช้สูตร ปูนขาวกับน้ำผึ้ง ปูนขาวกับน้ำมะขามเปียก ปูนขาวกับน้ำอ้อย ปูนขาวกับน้ำตาลทราย ก็ให้ผลเช่นเดียวกับข้อ 2[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    5. สังเกตการใช้ สูตรปูนขาวกับวัสดุประเภทน้ำตาล จะต้องใช้วิธีการตำในครก หากผสมคลุกกันเฉยๆ จะไม่แข็งตัว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    6. หากต้องการผสม ดินหรือดินสอพองก็ผสมเข้าไปได้ ในสัดส่วนที่น้อยกว่าปูนขาว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    5.14 การผสมเนื้อพระ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    โดยใช้วัสดุเนื้อพระผสมกับมวลสารวัตถุมงคล ตามสัดส่วน มวลสารวัตถุมงคลควรมีอย่างน้อย 5% ผสมหรือนวดให้คลุกเคล้ากัน บางครั้งอาจใช้น้ำพุทธมนต์ประพรมเพื่อเพิ่มความชื้นให้ของผสมเข้ากันดี[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    สำหรับวัสดุประสานควรผสมก่อนใช้งานเล็กน้อย แล้วใช้ให้หมดก่อนที่วัสดุประสานแข็งตัว[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] 5.15 การพิมพ์พระเครื่อง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ต้องพิจารณาว่าจะพิมพ์เองหรือจ้างพิมพ์ หากต้องการประหยัดควรทำเอง เหมือนเมื่อสมัยโบราณ โดยเกณฑ์กำลังพลชาวบ้าน พระ เณร มาช่วยกันพิมพ์ อาจใช้น้ำมันหรือน้ำมันมนต์ทาแม่พิมพ์ ให้พระถอดออกจากพิมพ์ได้ง่าย น้ำมันที่ใช้ควรเป็นน้ำมันพืช หรือน้ำมันปิโตรเลียมหรือวาสลิน ไม่ควรใช้น้ำมันที่สกัดจากสัตว์ที่ไม่เป็นมงคล ข้อควรระวังมดจะมากินน้ำมันพืชที่พระพิมพ์ หลังจากพิมพ์เสร็จใหม่ๆ การคัดเลือกคนพิมพ์พระ ควรเป็นคนที่ได้รับการยกย่องจากสังคมท้องถิ่นว่าเป็นคนดีมีศีลธรรม
    การพิมพ์พระที่ต้องการลักษณะแตกต่าง อาจใช้วัตถุมงคลที่เป็นเม็ด เม็ดผงแร่ธาตุโปรยหลังพระก่อนกดพิมพ์หลังพระ หรือฝังตะกรุด ลูกกลิ้ง เม็ดพระธาตุที่หลังพระ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ขณะพิมพ์เสร็จใหม่ๆ อาจมีการเขียนโค๊ตหรือหมายเลขลงบนหลังพระหรือขอบข้างพระ โดยใช้ไม้จิ้มหรือปากกาปลายแหลม ซึ่งต้องใช้สมาธิมากขณะเขียน เพราะมีพื้นที่จำกัด และมือต้องไม่สั่น[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ปล่อยให้พระพิมพ์แห้งตัวในร่มประมาณ 3 – 5 วัน ขึ้นอยู่กับแสงแดด โดยสังเกตว่าสีองค์พระจะเปลี่ยนจากสีเปียกเป็นสีแห้ง การผึ่งพระนี้ต้องจัดให้เป็นระเบียบ มิเช่นนั้นพระจะชนกัน พระจะสึกจากการเสียดสี และการขนย้าย[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    5.16 การทำให้พระเครื่องแข็งตัว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    หากเป็นพระเครื่องเนื้อว่าน เนื้อผง เนื้อดินดิบ จะใช้วัสดุประสานแล้ว เพียงแต่รอให้เนื้อประสานแข็งตัว สำหรับเนื้อดินเผานั้น จำเป็นจะต้องนำพระที่ผึ่งแห้งในร่มแล้วไปเผา[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    การเผาพระ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    1. เผาเองในเตา คอก โดยเอาพระพิมพ์ใส่ในกระถางดิน ใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง อุ่นกระถาง 1 ชม.เร่งไฟใส่ถ่านจนกระถางแดงเรืองแสง 2 ชม.และปล่อยให้เย็นตัวลงโดยเลิกเติมถ่านอีก 8 [FONT=&quot]– 12 ชั่วโมง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT][/FONT]
    2. เอาพระพิมพ์ ใส่กระถางดิน หรือถังเหล็กไปใส่ในเตาเผาอิฐ หรือเตาเผาถ่าน หรือเตาเผาจอก ซึ่งวิธีการต่างๆ อาจให้สีแตกต่างกันตามอุณหภูมิ ชนิดเตา และบรรยากาศการเผาเป็นแบบออกซิเคชั่นหรือรีดักชั่น[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] 5.17 การตรวจสอบคุณภาพพระพิมพ์[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    คุณภาพพระพิมพ์หลังเสร็จแล้ว ควรสุ่มตัวอย่างมาตรวจสอบคุณภาพ เช่น <o></o>
    1) สีหลังเผา สีหลังพระพิมพ์ แข็งตัวแล้ว หรือแห้งแล้ว[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    2) ความคมชัดของ พิมพ์พระ<o></o>
    3) การหดตัวด้าน กว้าง ด้านยาว และด้านหนา[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    4) การทนต่อแรง ขีดข่วน โดยการขีดบนแผ่นกระจก[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    5) การตกลงมาจาก ที่สูง 1 เมตร[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    6) การทดสอบการ แช่น้ำ อย่างน้อย 3 วัน (72 ชั่วโมง)[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    7) เปอร์เซ็นต์ การดูดซึมน้ำ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    8) การทดสอบการ ขึ้นรา โดยเฉพาะพระเครื่องที่ทำจากกล้วย ข้าวสาร ว่าน โดยการใส่ถุงพลาสติกปิดปากแน่น[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    9) การทดสอบการ ติดแม่เหล็ก (หากต้องการคุณสมบัติพิเศษ)[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    หากคุณภาพองค์พระมีคุณสมบัติไม่ผ่าน ก็ต้องกลับไปทบทวนวัตถุดิบทำเนื้อพระ วัสดุประสาน วิธีการทำให้พระพิมพ์แข็งตัวใหม่[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    อีกประการหนึ่งคือ พระพิมพ์ทุกองค์ในรุ่นเดียวกัน ควรมีคุณสมบัติ คุณภาพใกล้เคียงกัน เช่น สีสัน ขนาด ตำหนิ เป็นต้น[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] 5.18 การจัดเตรียมภาชนะหีบห่อ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    การรักษาความคมชัดของพระพิมพ์ ควรที่จะมีภาชนะหีบห่อ เช่น ถุงซิบพลาสติก กล่องพลาสติก กล่องโฟม ลังกระดาษ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ก่อนบรรจุพระเครื่องลงหีบห่อ อาจทำน้ำมนต์ น้ำว่าน น้ำอบไทย น้ำยาหอม ประพรมพระก่อนบรรจุหีบห่อก็ได้ จะทำให้พระมีกลิ่นหอมสดชื่น แต่ให้ระวัง เพราะอาจทำให้พระเครื่องขึ้นราได้ง่าย จึงไม่เหมาะสมกับท้องถิ่นที่มีฝนตกชุก อากาศมีความชื้นสูง[FONT=&quot]<o>

    </o>
    [/FONT] 5.19 การนำพระเครื่องเข้าพิธีพุทธาภิเษก<o></o>
    การนำพระเครื่องเข้าพิธีพุทธาภิเษก มี 2 วิธี คือ ฝากเข้าพิธี และจัดพิธีเอง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ฝากเข้าพิธี คือ เอาพระเครื่องไปฝากกับพิธีที่มีการพุทธาภิเษกอยู่แล้ว โดยติดต่อวัดที่จัดพิธี พร้อมออกเงินช่วยทำบุญในการจัดการพิธีด้วย <o></o>
    การจัดพิธีเอง จะเริ่มจากการเลือกเกจิอาจารย์ที่มีวัตรปฎิบัติดีหรือดูจากรายชื่อเกจิ อาจารย์ที่เคยผ่านพิธีมาแล้ว โดยดูจากหน้าโฆษณาหนังสือพระเครื่อง จากนั้นกำหนดวันพุทธาภิเษก จัดพิธี ประกาศเชิญชวนบุคคลสำคัญมาเข้าร่วมพิธีด้วย[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ในวันจัดทำพิธีพุทธาภิเษก ควรจัดแบ่งกลุ่มพระเครื่องเป็นกลุ่มๆ เพื่อความสะดวกในการแจกจ่ายต่อไป บางแห่งจะจัดพระแจกฟรีเป็นของขวัญในการเข้าร่วมพิธีด้วย อาจจะมีพิธีทำลายแม่พิมพ์หรือแกะแม่พิมพ์ให้เป็นลายอื่น หรือผ่าเลื่อยแม่พิมพ์ เพื่อแสดงเจตนาว่าจะไม่มีการพิมพ์พระเพิ่มเติม นอกจากนี้ควรทำลายสูตรผสมดิน หรือมวลสารให้เป็นอย่างอื่น โดยการผสมธาตุดินหรือเติมสารอื่นๆ เข้าไป เพื่อป้องกันการนำเนื้อดินไปสร้างเสริมภายหลัง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    5.20 การจัดพิมพ์คู่มือพระเครื่อง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ปกติแล้วมักจะพิมพ์วัตถุประสงค์การจัดสร้าง มวลสารเนื้อพระ เกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ชื่อรุ่น ผู้สร้าง ปี พ.ศ.ที่สร้าง พุทธลักษณะหรือพุทธศิลป์ ความหมายของยันต์หลังพระ หรือธรรมะที่สลักบนหลังพระ คำอาราธนาพระ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    5.21 การแจกจ่ายพระเครื่อง[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    หากนำไปบรรจุเข้ากรุควรเป็นความลับ บริเวณที่ควรจะเป็นกรุ มีฐานเจดีย์ หลังคาโบสถ์หรืออาคาร ใต้ฐานพระบูชา ใต้โบสถ์ ในซอกโพรงถ้ำ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    หากแจกจ่ายพระเครื่องพร้อมกับคู่มือพระเครื่องก็จะเป็นการดี นอกจากนี้ควรแจกจ่ายพระเครื่องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการจัดสร้างพระ เครื่องเช่น[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    1. พระของขวัญ แบบตั้งราคาหรือไม่ตั้งราคา แก่ผู้มาทำบุญที่วัด[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    2. พระแจกฟรี สร้างไมตรีต่อกัน โดยแจกให้กับลูกค้า แจกในงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    3. พระที่ระลึก งานทำบุญ เช่น ในงานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    4. พระจำหน่าย หรือให้เช่า กระจายไปตามศูนย์พระเครื่องต่างๆ หรือร้านค้า หรือวัด ค่อนข้างเป็นพุทธพาณิชย์เต็มตัว คือมีการตั้งราคาพระแล้วจำหน่าย แม้นว่าบางครั้งจะเอาเงินไปสร้างสาธารณะสถาน เช่น โรงเรียน วัด โรงพยาบาล ก็ตาม<o></o>
    5. พระออกศึก เพื่อไปจับโจร ออกสงคราม โดยแจกให้กับทหารกล้า ตำรวจ อาสาสมัครป้องกันชาติ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    6. บทส่งท้าย[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    การจัดสร้างพระเครื่องเป็นการทำบุญ อย่างหนึ่ง คือ สร้างวัตถุที่เตือนจิต ในเรื่อง พุทธานุสติ ธัมมานุสติ และ สังฆานุสติ ให้ยึดมั่นกับพระพุทธศาสนา ผู้ที่ได้รับพระย่อมมีปิติ อุ่นใจ ในสมัยโบราณ การจัดสร้างพระเครื่องมักสร้างใส่กรุและไว้ป้องกันภัยยามศึกสมครามปกป้อง ประเทศชาติ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    ผู้ที่บูชาพระเครื่องนี้ นอกจากไว้เป็นอนุสติแล้ว บางคนนั้นยังเชื่อมั่นในอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ ด้านเมตตา คลาดแคล้ว คงกระพัน มหาลาภ มหาเสน่ห์[FONT=&quot]<o>:p> </o>:p> [/FONT]
    ในสมัยปัจจุบันนี้ การจัดสร้างพระเครื่องมักจะเป็นเครื่องมือในการระดมทุนเพื่อสร้างวัตถุอาคาร สิ่งก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ และออกไปทางพุทธพาณิชย์ มีการตั้งราคาซื้อขายพระกันอย่างมากมายตามแผงพระ และศูนย์พระเครื่องต่างๆ เมื่อพิจารณาตามหลักพุทธแล้ว จะไม่ค่อยจะถูกต้องนัก เพราะไปเน้นวัตถุ ควรจะเน้นการพัฒนาคนทางจิตใจ จะถูกต้องมากกว่า[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    การสร้างวัดให้สวยงาม ควรเป็นหน้าที่ของชาวบ้าน ไม่ควรเป็นกิจของสงฆ์ ให้เทียบเคียงกับในพุทธประวัติ ที่พระพุทธองค์ทรงสละวังกษัตริย์ ทรัพย์สินในท้องพระคลัง ครอบครัว มาเพื่อหา สัจธรรมแห่งชีวิต วัดที่สร้างในสมัยพระพุทธองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ก็เป็นเรื่องของอุบาสกอุบาสิกาสร้างถวาย การที่พระสร้างวัดเองจะทำให้พระมีจิตไม่สงบ ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นได้ยากลำบาก เพราะต้องไปพัวพันกับเรื่องเงินทอง บางวัดไปกู้เงินมาสร้างพระเครื่อง หวังรายได้จากการให้เช่าพระเครื่อง แล้วจะเอากำไรไปสร้างวัดให้สวยงาม อย่างนี้จะเป็นทุกข์จากการเป็นหนี้ และเป็นการพอกพูนกิเลสให้กับพระด้วย ในเรื่องของความหลงในสิ่งสวยงามของรูปวัตถุ[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    หวังว่าความรู้เรื่องบริหารการจัดสร้าง พระเครื่องเนื้อว่านดินผงคงเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ และขอให้จัดสร้างพระเครื่องแบบเชิงพุทธ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

    ---------------------------------------------------------------------------------
    นำมาจาก
    budimage

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...