บริจาคเลือด.....ภูมิใจในบุญแบบหมาๆ แมวๆ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Likely, 7 ธันวาคม 2008.

  1. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,151
    ค่าพลัง:
    +3,821
    ภูมิใจในบุญแบบหมาๆ แมวๆ

    [​IMG]
    <!--detail-->
    เคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่า ถ้าสุนัขหรือแมวของคุณป่วยอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องการเลือดอย่างเร่งด่วน เช่นจากภาวะโลหิตจาง พยาธิเม็ดเลือด เสียเลือดจากการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุ หรือลูกสุนัขที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อรุนแรง คุณจะหาเลือดให้สัตว์เลี้ยงได้ทันท่วงทีจากที่ไหนเมื่อเลือดกลายเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นในมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยง หากร่างกายขาดเลือดจะทำให้มีผลกระทบอย่างรุนแรงแน่นอนต่อการหล่อเลี้ยงชีวิต


    [​IMG]การบริจาคเลือดของสุนัข และแมวทุกวันนี้มีกระบวนการไม่ต่างจากไปคนมากนัก คือต้องมีการตรวจสุภาพ ตรวจเลือด และแบ่งกรุ๊ปเลือด ขั้นตอนเหล่านี้ ต้องผ่านการตรวจสอบ และวิเคราะห์อย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งนั่นหมายถึงว่า กระบวนการทั้งหมดทั้งมวลจะต้องไม่สร้างผลกระทบต่อสุนัข หรือแมวที่รอรับการบริจาคเลือด และตัวผู้บริจาคเองด้วย ดังนั้นหน่วยงานธนาคารเลือดของสัตว์เลี้ยงจึงเกิดขึ้น เพื่อจัดเก็บและสำรองเลือดในรูปแบบผลิตภัณฑ์เลือดชนิดต่างๆ เช่น เลือดสดและเลือดแช่เย็น (Whole blood) เม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Packed Red Cells) นำไปใช้ในกรณีโลหิตจางอย่างรุนแรง น้ำเลือด (Plasma) นำไปใช้ในกรณีสัตว์ที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด โรคเลือดบางชนิด ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ หรือกรณีพิเศษอื่นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะหรือความต้องการใช้เลือดแต่ละประเภททั้งยังเป็นแหล่งศึกษาและพัฒนาความก้าวหน้าต่อไป
    ธนาคารเลือด
    เป็นอีก 1 ส่วนที่อยู่ในโครงการของพระองค์ท่าน ที่ประสงค์ให้เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้รับการดูแล และ รักษาเป็นอย่างดี
    นอกจากการที่พระองค์ท่านพระราชทานรายได้ จากการขายหนังสือ เสื้อ และ สิ่งของอื่นๆ เกี่ยวกับครอบครัวคุณทองแดง เพื่อประโยชน์ในการนี้แล้ว

    พระองค์ทรงเห็นว่า สิ่งจำที่จำเป็นและขาดแคลนอยุ่มากอีกอย่างนึง ในการรักษาสรรพสัตว์ เหล่านี้ก็ คือ "เลือด"
    อย่างที่เรารู้ๆ และ ได้ยินกันบ่อยๆ ว่าสภากาชาดไทย จัดรณรงค์ให้ประชาชนที่มีความพร้อม และ สมบูรณ์ มาบริจาคเลือด
    เพื่อเก็บไว้ช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน ขนาดประกาศก็แล้ว จัดกิจกรรมรณรงค์ ก็แล้ว เลือดก็ยังไม่เพียงพอกับผู้ป่วยที่ต้องการ นับประสาอะไรกับ เลือดของสรรพสัตว์ล่ะ จะมีพอได้ไง ตอนนี้ "ธนาคารเลือดสัตว์" ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อยู่ในฐานะขาดทุนครับ
    นั่นหมายความว่า มีแต่เบิกเลือดออกไปใช้ ส่วนการบริจาคเข้ามานั้นน้อยมากจนแทบจะไม่มีทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม่มีใครทราบมาก่อนก็ได้ครับ

    แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลยนะครับ และ 1 ใน ส่วนน้อยที่มาบริจาคนั่น ก็คือครอบครัวคุณทองแดงค่ะ
    พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นในสิ่งนี้ ดังนั้นจึงทรงพระราชทานอนุญาติ ให้นำคุณทองแดง และ สมาชิกในครอบครัวมาร่วมบริจาคด้วย

    ฟังแล้ว ก็ยิ่งซาบซื้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์นะครับที่ทรงห่วงใยในทุกๆ สรรพชีวิตที่อยู่ภายใต้ร่มโพธิสมภารของพระองค์ท่านจริงๆ

    [​IMG]สิ่งที่สำคัญที่ต้องรักษา สามารถยืดชีวิตเพื่อนรักไว้ให้ยาวนานที่สุดก็คือ " สุขภาพ" แต่บางครั้งโรคภัยไข้เจ็บก็อยู่เหนือการควบคุม เช่น ในกรณีที่สุนัขแสนรักป่วยหนักต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่ความต้องการถ่ายเลือดในการรักษาสุนัขป่วยในแต่ละครั้งมีปริมาณมาก อีกทั้งการขาดแคลนเลือดสำรองในกรณีฉุกเฉินหรือการผ่าตัดต่างๆ
    เหล่านี้คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด "ธนาคารเลือดสุนัข" อีกหนึ่งบริการของโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
    สำหรับเลือดที่ได้มาแล้ว จำเป็นต้องมีกระบวนการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเลือดทุกหยดมีคุณค่า ทางโรงพยาบาลจึงต้องจัดเก็บอย่างดี ต้องแยกและจัดเก็บเลือดไว้ให้นาน เพื่อที่จะสามารถสร้างประโยชน์ได้มากกว่าการถ่ายเลือดเพียงหนึ่งครั้ง ในทุกปีที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลจึงต้องขอบริจาคเลือดอยู่ตลอด เพราะว่าการผ่าตัดในบางครั้งสุนัขที่ผ่าตัดเสียเลือดมาก หรือกรณีอุบัติเหตุ โรคพยาธิในเม็ดเลือดอย่างรุนแรงก็จำเป็นที่จะต้องมีเลือดที่จะรองรับในจุดนี้ด้วย
    การให้เลือดปลอดภัยไร้ปัญหา
    เลือดของสุนัขก็คล้ายกับเลือดของมนุษย์คือ ประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดและน้ำเลือด และเลือดที่ได้รับบริจาคจากสุนัขก็สามารถแยกออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ เพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ความต้องการของสุนัขป่วยที่ต้องการที่จำเพาะ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของเลือดที่ได้รับบริจาคสุนัข แต่โดยทั่วไปสุนัขที่ต้องการเลือดมักจะต้องการเม็ดเลือดแดง หรือน้ำเลือดมากที่สุด

    การให้เลือด หรือเม็ดเลือดแดง มักจะใช้กรณีเพื่อการรักษาโรคโลหิตจาง (anemia) นอกจากนี้แล้ว สุนัขอาจจะต้องการเลือดในกรณีที่ได้รับอุบัติเหตุ หรือกรณีผ่าตัดศัลยกรรม หรือกรณีที่สัตว์ป่วยไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้ หรือกรณีที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลายอย่างรุนแรง (จากโรค เช่น พยาธิในเม็ดเลือดแดง เป็นต้น)
    สำหรับน้ำเลือด (plasma) ประกอบด้วย โปรตีน หรือเอนไซม์ต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับการทำให้เลือดมีการแข็งตัว (clot) มักมีความจำเป็นสำหรับการรักษาภาวะเลือดออก (bleeding) อันเนื่องมาจากโรคตับ หรือกรณีที่เกิดเลือดออกจากการได้รับสารหนู (rodent poison) นอกจากนี้ น้ำเลือดยังมีความจำเป็นสำหรับสุนัขป่วยที่มีระดับโปรตีน หรืออัลบูมินในเลือดต่ำ ส่วนประกอบอื่นๆ ของน้ำเลือด เช่น cryoprecipitate จะใช้สำหรับการรักษาโรคเลือดไหลไม่หยุด (hemophillia) หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาภาวะเลือดออกไม่หยุดอันเนื่องมาจากพันธุกรรม
    ทางโรงพยาบาลได้จัดมาตรการต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของสุนัข ผู้มาบริจาคเลือด เช่น ตรวจสุขภาพก่อนเก็บเลือดทุกครั้ง และการให้ยาซึมก็ไม่มีผลใดๆ ต่อสัตว์ การบริจาคเลือดกลับเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่สัตว์ที่มาอีกทางหนึ่ง เพราะเท่ากับเป็นการถ่ายเลือดเก่าออกไปและทำให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นมา
    ที่มาของเลือด
    [​IMG]เลือดในธนาคารเลือด ณ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้รับมาจากสุนัขที่มาบริจาคเลือด มีสุนัขหลายพันธุ์ที่มาให้เลือดเป็นประจำ ซึ่งมีปรากฏในรายชื่อสุนัขใจบุญ โดยผู้นำสุนัขมาบริจาคเลือดให้มาติดต่อหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลสัตว์ จากนั้นจะมีการตรวจร่างกาย ถ้าไม่มีปัญหาใดๆ การเก็บเลือดก็จะเกิดขึ้น โดยสุนัขที่บริจาคเลือดจะไม่ได้รับความเจ็บปวดใดๆ การเก็บเลือดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5-15 นาที ขั้นตอนต่างๆ จะมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการในธนาคารเลือดของคน
    สุนัขที่มาบริจาคเลือดจะได้รับการตรวจกรอง (screened) โรคที่สามารถติดต่อกันได้ทางเลือด เพื่อเป็นหลักประกันว่าสุนัขที่เข้าสู่กระบวนการบริจาคเลือดมีสุขภาพดี โดยปกติแล้วเราจะรับสุนัขที่มีหมู่เลือดในกลุ่ม "universal blood type" หรือสุนัขที่มีหมู่เลือดที่สามารถเข้ากับหมู่เลือดอื่นๆ ได้ทั้งหมด ถ้าเปรียบเทียบกันในคนก็คือคนหมู่เลือด โอ เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงปฏิกิริยาทางเคมีของการเข้ากันไม่ได้ของหมู่เลือดจากการให้เลือด แต่เนื่องจากเราไม่สามารถเลือกสุนัขที่มาบริจาคได้ การรับบริจาคจึงไม่จำกัด เพียงแต่ก่อนการให้เลือดจะต้องมีตรวจการเข้ากันได้ของหมู่เลือดเท่านั้นเอง เลือดที่เก็บจากสุนัขใจบุญจะถูกเก็บไว้ในถุงพลาสติกที่ปราศจากเชื้อโรค
    ขั้นตอนการเก็บและรักษาจะทำให้เลือดปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโรคและเก็บไว้ในตู้เก็บเลือดเช่นเดียวกับธนาคารเลือดของคน โดยปกติเลือดที่ได้รับบริจาคมีการกำหนดวันหมดอายุปรากฏอยู่ และทำลายเมื่อหมดอายุ แต่เนื่องจากความต้องการเลือดยังมีอยู่มาก เลือดจึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
    ทั้งนี้ก่อนการให้เลือด หรือองค์ประกอบของเลือดอื่นๆ กับสุนัข สัตวแพทย์จะตรวจการเข้ากันได้ของหมู่เลือด (crossmatch) เสียก่อน เพื่อความมั่นใจว่า เลือดที่จะให้กับสุนัขไม่มีปฏิกิริยาต่อสุนัขที่ได้รับเลือด เลือดจะถูกถ่ายให้กับสุนัขที่ต้องการเลือดด้วยการให้ทางสายยางผ่านเข้าหลอดโลหิตดำ (ในลักษณะเดียวกับการให้สารน้ำผ่านทางหลอดเลือดดำ) อย่างช้าๆ อัตราเร็วของการให้และปริมาณเลือดที่จะให้กับสุนัขจะขึ้นอยู่กับความจำเป็น ความต้องการและขนาดของสุนัข
    กรุ๊ปเลือดของสุนัขต่างจากคนอย่างไร?
    กรุ๊ปเลือดของสุนัขมีทั้งหมด 8 กรุ๊ป คือ DEA1.1, DEA 1.2, DEA 3 , DEA 4 , DEA 5, DEA 6, DEA 7, DEA 8. ต่างจากมนุษย์คือ สุนัขจะไม่มี Antibody ในน้ำเลือด (Plasma) แต่จะมีสารเคลือบผิวเม็ดเลือด Antigen สำหรับหมู่เลือด DEA 1.1 , 1.2. ไม่สามารถเป็นผู้บริจาคเลือดได้แต่สามารถรับเลือดได้คล้ายกลุ่ม AB ในมนุษย์ส่วนกรุ๊ปเลือดอื่นๆ สามารถเป็นผู้บริจาคเลือดหรือรับเลือดกันได้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นกรุ๊ปเลือดเดียวกัน แต่จะต้องมีการตรวจเลือดว่าเข้ากันได้หรือไม่ ส่วนกลุ่มที่สามารถบริจาคโลหิตให้กับทุกกลุ่มเลือด "(Universal dohor) คือกลุ่ม DEA 4"

    [​IMG] ประโยชน์ของเลือด
    1.ใช้ในการผ่าตัด ที่มีภาวะเสียเลือดมากๆ เช่น ตัดม้าม, ตัดตับ, ตัดไต, การตัดก้อนเนื้อในช่องท้อง
    ในกรณีสัตว์จำเป็นต้องผ่าตัด แต่สภาพสัตว์ป่วยหนัก หรือไม่พร้อมสำหรับการผ่าตัด เช่น โลหิตจาง ,หรือมีปัญหาการแข่งตัวของเลือด
    2.ใช้ช่วยชีวิตสัตว์ที่ได้รับยาเบื่อหนูกลุ่ม Wafarin เนื่องจากเลือดจะไหลไม่หยุด (ยาเบื่อจะไปยับยั้งสารที่ช่วยการแข่งตัวของเลือด) ถ้าจะมียาแก้พิษ แต่ก็จำเป็นต้องใช้พลาสมาแช่แข็งเพื่อช่วยชีวิต
    ภาวะสัตว์ที่กำลังช็อก เนื่องจากขาดเลือด, ขาดโปรตีนอย่างรุนแรง
    ในกรณีที่เป็นพยาธิเม็ดเลือดอย่างรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาวางยา จำเป็นที่ต้องใช้เลือดเพื่อพยุงร่างกายสัตว์ให้สามารถทำการรักษาต่อ
    3.ใช้รักษาโรคทางกรรมพันธุ์ บางอย่างซึ่งทำให้เกิดเลือดไหลไม่หยุดเช่น Hemophillia a, Hemophillia b, von eilihamd dio
    4.ใช้รักษาสภาวะที่สัตว์มีภาวะขาดอาหารอย่างรุนแรงโดยเฉพาะในลูกสัตว์
    ใช้รักษาสัตว์ในสภาวะฉุกเฉินที่มีภาวะเลือดออกในอวัยวะภายใน เช่นในช่องท้อง หรือในช่วงอก
    อาจพัฒนาทำเป็น Hyper immune seum ในกรณีลูกสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคทางไวรัสเช่น สำไส้อักเสบ , ไข้หัด


    ทั้งนี้ หากสุนัขมีคุณสมบัติครบถ้วน ก่อนถึงวันนัดบริจาคโลหิตควรงดน้ำและอาหาร เพื่อความปลอดภัยในการให้ยาซึม และเมื่อท่านนำสุนัขมาบริจาคโลหิตให้กับทางโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนได้ จากนั้นสุนัขก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการให้เลือดเพื่อช่วยเหลือชีวิตสุนัขตัวอื่นๆ ต่อไป
    เรื่องจริง
    "เจ้ามอมเป็นมดลูกอักเสบ มีหนองไหลจากช่องคลอด มันไม่สบายมา 2 อาทิตย์แล้วเห็นจะได้ ดิฉันก็เลยพาไปหาหมอที่คลีนิกให้รักษา แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จึงตัดสินใจพาไปรักษาที่ โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน คุณหมอเจาะเลือดตรวจแล้วพบว่า เจ้ามอมมีภาวะโลหิตจางและมีเกร็ดเลือดต่ำ อีกทั้งเริ่มมีภาวะไตวายอ่อน ๆ ด้วย หมอบอกกรณีนี้มีทางเดียวคือ ต้องผ่าตัดเพื่อเอามดลูกที่อักเสบออก หากปล่อยทิ้งไว้ อาจอันตรายถึงชีวิต"
    ดังนั้น เจ้ามอมจึงต้องการเลือดจากการบริจาคเพื่อมาช่วยในการผ่าตัดเพราะการผ่าตัดครั้งนี้มีการเสียเลือดมากและอาจไม่ปลอดภัย หลังจากผ่านการถ่ายเลือดมาร่วมชั่วโมงก็ทำการผ่าตัด
    "ตอนนี้เจ้ามอมยังมีชีวิตอยู่ค่ะ ร่างกายแข็งแรง ร่าเริงดี ต้องขอบคุณมากสำหรับถุงเลือดถุงนั้น ที่ช่วย ชีวิตเจ้ามอมมาได้ และดิฉันไม่เคยลืมที่จะพาลูก ๆ ของเจ้ามอมมาบริจาคเลือดบ้างเผื่อว่า สักวันหนึ่ง ถุงเลือดที่ได้นี้ อาจจะช่วยชีวิตสุนัขที่น่ารักตัวอื่น ๆ ต่อไปได้"
    "เจ้าโชคดีมาด้วยอาการเลือดจากช่องปากและจมูกไหลไม่หยุด ก่อนหน้านี้ 2-3 วัน เจ้าโชคดียังมีอาการปกติดี วิ่งเล่นได้ ร่าเริงแจ่มใส แต่อยู่ ๆ ก็เกิดอาการขึ้นมา หมอได้เจาะเลือดให้น้ำเกลือ ออกซิเจนและให้ยาห้ามเลือดแต่ก็ไม่เป็นผล เนื่องจากเลือดยังออกตลอดเวลา เจ้าโชคดีหอบเหนื่อยมาก เพราะมีเลือดพลัดเข้าไปในปอดด้วย"
    "หมอว่าที่เป็นแบบนี้แสดงว่ามีปัญหาการแข็งตัวของเลือด ต้องทำการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เลือดหยุดไหล ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการช็อกเนื่องจากเสียเลือด, เลือดออกในปอดหรือ หายใจเอาเลือดกำเดาเข้าไปในปอด ทำให้เกิดปอดบวมรุนแรงและถึงขั้นเสียชีวิต" หมอตัดสินใจช่วยชีวิตโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของเลือด นั่นคือ พลาสมาแช่แข็ง (Fresh Frozen Plasma) เพื่อช่วยให้เลือดหยุด และแล้วเจ้าโชคดี ก็โชคดีสมชื่อ หลังจากให้พลาสมาแช่แข็งแล้ว เลือดก็หยุดไหลภายใน 3 ชั่วโมง ผลจากการตรวจเลือดพบว่าเจ้าโชคดีเป็นโรคพยาธิในเม็ดเลือดชนิดหนึ่งนั่นเอง

    [​IMG]วิธีการในการบริจาคเลือด
    นำสุนัขมาตรวจเช็คสุขภาพและตรวจเลือดกับสัตวแพทย์ ในกรณีที่ผลตรวจเลือดผิดปกติทางโรงพยาบาลจะแจ้งให้ทราบทันที
    เมื่อตรวจเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะเจาะเก็บเลือดสัตวแพทย์จะทำการให้ยาซึม เพื่อป้องกันสุนัขดิ้นระหว่างการทำการเจาะเลือด เนื่องจากบริเวณที่ใช้ในการเจาะเลือดคือบริเวณลำคอ ถ้าสุนัขดิ้นอาจเกิดอันตรายได้การวางยาซึมนี้จะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ หากแต่สุนัขจะมีอาการง่วงซึมเท่านั้น
    ในการบริจาค 1 ครั้ง จะเก็บเลือดปริมาณ 1 Unit หรือ 350 ซีซี ซึ่งโดยปกติความสามารถในการให้เลือดจะอยู่ระหว่าง 10 -20 ซีซี ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม และความถี่ในการบริจาคเลือดทุกๆ 4 - 6 เดือน
    เมื่อสามารถเก็บผลเลือดได้ตามความต้องการแล้ว สัตวแพทย์จะให้ยาบำรุงเลือดพร้อมบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือด โดยการบริจาคจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น จากวิธีการนี้ ท่านกับเจ้าตูบแสนรักก็ถือว่าได้ ทำบุญช่วยเหลือสัตว์อื่นๆ ได้แล้วค่ะ

    (สำหรับสุนัขที่สามารถบริจาคเลือดได้ ควรมีคุณสมบัติดังนี้)
    1.เป็นสุนัขอายุระหว่าง 1-6 ปี ไม่จำกัดเพศ พันธุ์ (ถ้าเป็นเพศเมียต้องรอให้หมดประจำเดือนก่อน)
    2.มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 20 กิโลกรัม
    3.มีประวัติการทำวัคซีน ได้แก่ ป้องกันวัคซีนรวม เช่น ลำไส้อักเสบ ไข้หัด ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซีส 4.วัคซีนพิษสุนัขบ้า โรคพยาธิหนอนหัวใจ
    5.ไม่มีประวัติของโรคพยาธิในเม็ดเลือด
    6.ไม่เคยรับการผ่าตัดใหญ่ในระยะ 1-2 เดือน ก่อนบริจาคโลหิต
    7.สุนัขมีสุขภาพแข็งแรง

    เลือดของสุนัขที่ได้รับจากการบริจาคเก็บไว้ที่ไหน
    เลือดที่ได้รับบริจาคจากสุนัขจะถูกเก็บไว้ที่ธนาคารเลือดสัตว์ ณ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ชั้น 3 และใช้ในการรักษาสัตว์ป่วย
    บริจาคเลือดแล้ว...ได้อะไร?
    1. ร่างกายของสุนัขและแมวจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมา ทำให้สุขภาพแข็งแรง
    2. ได้รับการตรวจเลือดและเช็คสุขภาพประจำทุกๆ 4 - 5 เดือน ในกรณีที่ผลเลือดผิดปกติทางโรงพยาบาลจะแจ้งให้เจ้าของทราบทันที
    3. ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการบริจาค และจะได้รับยาบำรุงเลือดพร้อมของที่ระลึก
    4. ได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือด
    5. ได้ช่วยเหลือเพื่อนสัตว์เลี้ยง หรือบางกรณีสัตว์เลี้ยงของท่านอาจมีเหตุจำเป็นต้องการใช้เลือดเอง
    6. ได้รับวัคซีนประจำปีฟรี ตลอดระยะเวลาที่เป็นผู้บริจาคโลหิต

    "นอกจากนั้นแล้วทางโรงพยาบาลยังมีการตอบแทนเหล่าสุนัขผู้ให้เลือดด้วยการสร้างเหรียญที่ระลึกเป็นการสร้างความภา คภูมิใจ โดยการมอบให้กับเจ้าของสุนัขที่นำสุนัขมาบริจาคเลือด ซึ่งทั้งนี้จะประกอบไปด้วย เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ได้เข้ามาบริจาคเลือด"
    "คุณตุลเทพ แสนสวย" อายุ 30 ปี เจ้าของสุนัขพันธุ์โกเด้นรีทริฟเวอร์จำนวน 3 ตัว ได้แก่ เจ้ากระบวย, เจ้าโมจิ และเจ้าป๊อกกี้ ซึ่งบริจาคโลหิตเป็นประจำทุก 3 เดือน ตลอดระยะเวลาประมาณ 1 ปี เล่าให้ฟังว่า
    "เริ่มต้นจากการทราบข่าวจากเพื่อนๆ ว่ามีหมาบางตัวที่ป่วยและกำลังรอเลือดเพื่อใช้ในการผ่าตัดช่วยชีวิตอย่างเร่งด่วนอยู่ จึงตัดสินใจพาหมาของเราไปช่วยเหลือหลังจากนั้นก็ปฏิบัติเรื่อยมาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
    "การไปนำสัตว์ไปบริจาคหลายๆ คนอาจจะคิดเรื่องเสียดายความสวยงามของสัตว์เลี้ยงที่อุตส่าห์ทะนุถนอมมาเป็นอย่างดี แต่ส่วนตัวผมไม่เคยคิดเรื่องความเสียดายเลย ถึงแม้ว่าการบริจาคเลือดแต่ละครั้งจะต้องมีการตัดขนที่ลำคอออกไปบ้าง แต่สำหรับมหาพันธุ์ขนยาวอย่างโกเด้นรีทริฟเวอร์ใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ขนก็ขึ้นเต็มที่เป็นปกติแล้ว จึงไม่ต้องกังวลเรื่องนี้เลย
    "การที่สัตว์ของเราจะเป็นผู้ให้เลือดได้หรือไม่นั้นยังขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูด้วย ซึ่งการเลี้ยงดูที่ผมปฏิบัติอยู่ก็ไม่มีอะไรมากมาย หากเป็นคนที่รักสัตว์อยู่แล้วยิ่งไม่ใช่เรื่องยากเข้าไปใหญ่ เพียงแค่มีอาหารที่ถูกสุขลักษณะให้เขา ฉีดยาป้องกันเห็บ หมัด เป็นประจำ ออกกำลังกายบ้าง และสุดท้ายคือเรื่องของสุขภาพจิตต้องเต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ บวกกับการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีด้วย
    "สังคมไทยตอนนี้ยังไม่ค่อยมีคนสนใจเรื่องนี้มากเท่าไหร่นัก อาจจะเป็นเพราะว่าไม่รู้ หรือกลัวน้องหมาจะเจ็บ เพราะต้องบอกว่าเวลายืนดูก็หวาดเสียวเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามการมาบริจาคเลือดมันก็มีผลดีต่อตัวสัตว์เลี้ยงเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเม็ดเลือดใหม่ การได้โอกาสตรวจสุขภาพเป็นประจำ และที่สำคัญคือ อย่างน้อยสิ่งที่ได้กลับคืนมาเวลาไปบริจาคเลือดคือ ความสบายใจที่ได้พาสัตว์เลี้ยงไปทำบุญ ตัวเราเองซึ่งเป็นผู้ครอบครองสัตว์ก็สบายใจ รู้สึกอิ่มเอม" คุณตุลเทพ กล่าวด้วยความปีติ
    คุณตุลเทพ ทิ้งท้ายไว้ด้วยการอยากเชิญชวนและขอความกรุณาคนใจบุญ และคนรักหมา ช่วยกรุณาพาสุนัขที่รักของท่านมาช่วยเพื่อนสุนัขด้วยกัน บริจาคเลือด เพราะยังไม่มีคนรู้เรื่องนี้อย่างกว้างขวาง จึงอยากให้ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงที่มีสุขภาพแข็งแรง นำสัตว์มาบริจาคเลือดจะถือเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับสัตว์เลี้ยงที่ได้รับบาดเจ็บ
    ถึงแม้ในวันนี้จะยังไม่มีอะไรสามารถซื้อปาฏิหาริย์ได้ แต่การหันมาร่วมกันบริจาคเลือดสำรองไว้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยกันต่อชีวิตให้สัตว์เลี้ยงสามารถอาศัยอยู่มองดูโลกได้ นานกว่าเดิม เชื่อเถอะว่าทุกคนที่มีโอกาสได้พาสัตว์เลี้ยงไปบริจาคเลือดคงจะได้เสพกลิ่นอายของความภาคภูมิใจกันอย่างท่วมปอด!!!
    ว่ากันว่าอานิสงส์ของการบริจาคเลือดนั้นนอกจากจะช่วยเสริมชีวิตให้เป็นแก่นสาร บังเกิดผลบุญมหาศาล แถมยังได้สร้างทานบารมีอันยิ่งใหญ่ เนื่องมาจากได้ช่วยต่ออายุ และมอบชีวิตให้กับสิ่งมีชีวิตร่วมโลกอีด้วยคับ
    ทุกวันนี้เริ่มมีคนหันมาจับตามอง และพูดเรื่องนี้กันมากขึ้นแล้ว แต่ปัญหาที่แท้จริงของการบริจาคเลือดในสัตว์อยู่ที่ ยังไม่มีใครสนใจพาสัตว์มาบริจาคเลือดมากเท่าที่ควรจะเป็น อาจเป็นเพราะยังไม่เคยประสบปัญหากับตัวเองจึงยังไม่เห็นความสำคัญก็เป็นได้ หรือเหตุผลต่อมาอาจจะเป็นด้วยเรื่องเวลาและเรื่องการเดินทางไปมาลำบากต้องมีรถยนต์ส่วนตัว ถึงจะพาสุนัข และแมวมาได้
    ก็ขอเชิญชวนให้เพื่อนๆนำสุนัขแสนรักมาร่วมทำบุญกันเยอะๆนะครับ
    สนใจที่จะบริจาคเลือดติดต่อ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
    โทรศัพท์ 0 - 2942 - 8756 - 9 ต่อ 2118


    ที่มา www.leocenter.makewebez.com/
    <!--detail-->
     

แชร์หน้านี้

Loading...