ธรรมะ on M. เรื่อง การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย cartoony, 7 ธันวาคม 2008.

  1. cartoony

    cartoony Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +34
    ธรรมะOn M. เรื่อง การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์

    (วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑)

    ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร

    ------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ห้องสนทนาธรรม on M.
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------
    เป้ says:
    นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ

    พระเอกชัยEmptiness does not mean Nothingness says:
    นมัสการพระอาจารย์ครับ

    พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
    นมัสการท่านเอกชัยเช่นกันครับ

    เชิญน้องเก๋ค่ะ
    Kae (Kitty) says:
    กราบนมัสการพระอาจารย์ และสวัสดีค่ะทุกคน
    กราบนมัสการพระเอกชัยด้วยค่ะ
    เชิญคุณอภิชาตค่ะ
    API- เรียนรู้ใจตนเอง says:
    สวัสดีครับ

    เชิญน้องก้อยค่ะ
    น่ากลัวที่สุด----คือตัวเราเอง--- says:
    สวัสดีค่ะ ทุกคน
    นมัสการหลวงพี่ทุกรูปค่ะ

    เชิญน้องปิ๊กค่ะ
    ๑๐ ตุลาคม Vie Trio Live In Concert says:
    นมัสการพระอาจารย์ค่ะ

    เจริญพร ญาติโยมทุกคน ค่ำคืนนี้ใครมีคำถามหรือข้อสงสัยที่อยากจะยกขึ้นมาสนทนากันบ้างหรือเปล่า
    เชิญน้องอ้อค่ะ
    นฤพนธ์ : ขอให้ท่านไปสู่สวรรค์ says:
    นมัสการพระคุณเจ้าครับ

    เชิญคุณนัฐค่ะ
    น.น้ำใจดี (FM๘๙.๒๕Mhz) says:
    นมัสการพระอาจารย์ปิฯ นมัสการพระเอกชัย
    และสวัสดีญาติธรรมทุกท่านครับ

    โห คุณนัฐ
    เชิญคุณเทิดเกียรติค่ะ

    dutycompleted says:
    นมัสการท่านพระอาจารย์ทุกท่าน และสวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนครับ

    สวัสดีค่ะทุกๆ คน วันนี้มีใครมีคำถามมาถามบ้างเอ่ย
    ใน ฐานะที่ปิ๊กเป็นนักเรียนขอถามว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรคะ ถ้าช่วงนี้ใกล้สอบแล้ว อยากให้ได้คะแนนดีๆ แต่เวลาอ่านหนังสือมีน้อยเหลือเกิน
    ก็ต้องตั้งใจอ่านหนังสือสิ ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
    กราบนมัสการพระอาจารย์ กราบนมัสการพระเอกชัย และสวัสดีค่ะทุกคน
    วันนี้เราจะสนทนาธรรมเรื่องอะไรครับ
    อยากรู้เรื่อง ทศบารมีธรรม น่ะคะ
    เรื่องความสามัคคี
    ดีครับ ที่ผมอยู่ก็กำลังแตกความสามัคคีอยู่พอดี
    อยากรู้เรื่องใกล้ตัว ที่เราเห็นตัวอย่างได้ในขณะนี้
    โดยเฉพาะตัวผมเอง คงเป็นเพราะยึดมั่นถือมั่นเกินไป
    โยมเก๋ อยากทราบเรื่องทศบารมีในแง่ไหนล่ะ
    ค่ะ อยากทราบรายละเอียดคร่าวๆ ค่ะ เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น
    อยากทราบรายละเอียดคร่าวๆ มันเป็นยังไงอ่ะคะ
    Pinto says:
    เห็นแล้วครับ

    เชิญพี่ปุ๊กค่ะ
    pooklook says:
    มีใครบ้างอ่ะคะ
    นมัสการพระอาจารย์ปิฯ ค่ะ

    เชิญน้องส้มค่ะ
    ส้ม says:
    สวัสดีทุกท่านค่ะ

    การสร้างบารมีธรรม ถ้าเราต้องการบรรลุนิพพาน ต้องบำเพ็ญทศบารมีไหมค่ะ
    “ทศบารมี” คืออะไรค่ะ

    ทศ มาจากภาษาบาลีว่า “ทส” แปลว่า สิบ, คำว่า ทศบารมี จึงแปลว่า บารมี ๑๐ ประการ
    บารมี ๑๐ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา

    ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับ "จิต" เพียงอย่างเดียว says:
    เหอๆ คำว่า "บารมี" รากศัพท์ที่แท้ แปลว่าอะไรคับ

    คำว่า บารมี มาจากศัพท์ว่า “ปรมะ” ซึ่งแปลว่า คุณสมบัติหรือปฏิปทาอันยอดยิ่ง ซึ่งท่านวิเคราะห์ศัพท์ว่า “ปรมํ ปาเปตีติ ปารมี” ซึ่งแปลว่า ปฏิปทาใดยังผู้ปฏิบัติให้ถึงความเป็นผู้ยอด (ผู้เลิศ ผู้ยิ่งใหญ่) ปฏิปทานั้น ชื่อว่า “บารมี”
    และในคัมภีร์ฏีกา
    ท่านวิเคราะห์ศัพท์ว่า คุณชาติทั้งหลายเหล่าใดย่อมไปถึงซึ่งฝั่ง(อื่น) คือ พระนิพพาน คุณชาติทั้งหลายเหล่านั้นย่อมชื่อว่า “ปารมิโย”
    หรือโดยศัพท์ “บารมี” แปลว่า ความเต็มเปี่ยม ความเป็นเลิศ ความรู้จบ ภาวะหรือการกระทำของผู้เป็นเลิศ ชื่อว่า บารมี

    อ๋อครับ ขอบพระคุณครับ
    งั้น ถ้าแม้จะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ต้องมีทศบารมีมาจนเต็มเหมือนกันเหรอเจ้าคะ
    ถูก แล้ว คำว่า บารมี นี้เป็นสิ่งซึ่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์ เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (ไม่ว่าพระพุทธเจ้าประเภทใด)
    บารมี นี่ต้องอาศัยการตั้งใจไว้ก่อนหรือป่าวค่ะ
    ต้องสิ อาศัยการตั้งอธิษฐานจิต เรียกว่า การตั้งปณิธาน
    มันเป็นเหมือนกับพอถึงเวลาแล้ว เราก็จะมาตั้งใจที่จะทำสิ่งต่างๆ พวกนี้ใช่ไม๊เจ้าคะ
    ต้องเรียงตามนี้หรือเปล่าเจ้าคะ ที่เห็นเรียงทานเป็นอันแรกเลย แต่ชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้ากลับเป็นทานบารมี

    การ เรียงลำดับ โดยเริ่มจาก ทานบารมีก่อนนั้น เรียงลำดับตามการใคร่ครวญของพระโพธิสัตว์ ซึ่งระลึกไปตามลำดับแห่ง "พุทธการกธรรม ๑๐ ประการ" แต่การบำเพ็ญบารมีในละชาตินั้น สลับกันไปมา ไม่ได้เรียงลำดับก่อนหลัง
    แล้วจำเป็นต้องบำเพ็ญบารมีด้วยเหรอ หรือว่ามีเฉพาะบุคคลที่ตั้งใจเป็นพระพุทธเจ้า
    ผู้ ใดก็ตามที่ปรารถนาพระนิพพาน แม้จะมิได้ปรารถนาความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า แม้พระอรหันตสาวกทั่วไป ก็ต้องบำเพ็ญบารมี เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์ คือต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ เช่นเดียวกัน มิได้แตกต่างกัน เพื่อการบรรลุถึงพระโพธิญาณ
    พระสัมโพธิ(การตรัสรู้พร้อม)นั้น มีด้วยกัน ๓ ประเภท คือ

    ๑ สัมมาสัมโพธิ คือ การตรัสรู้ธรรมโดยชอบด้วยพระองค์เอง ของพระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์
    ๒ ปัจเจกสัมโพธิ คือ การตรัสรู้ธรรมโดยชอบด้วยพระองค์เองเป็นส่วนพระองค์ ของพระปัจเจกโพธิสัตว์
    ๓ สาวกสัมโพธิ คือ การตรัสรู้ธรรมด้วยเหตุแห่งการฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ของพระสาวกโพธิสัตว์
    ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า พระโพธิสัตว์ นั้นแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ
    ๑ พระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดั่งเช่น พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง แล้วประดิษฐานพระศาสนา
    ๒ พระปัจเจกโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ผู้จะมาตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง แต่มิได้ประดิษฐานพระศาสนา
    ๓ พระสาวกโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ผู้จะมาตรัสรู้เป็นพระอรหันตสาวกทั่วๆ ไป ดั่งเช่น พระสารีบุตร พระอานนท์ เป็นต้น

    เชิญคุณท๊อปค่ะ
    You4lucky ทำดีเข้าไว้หัวใจติดปีก says:
    สวัสดีค่ะ นมัสการพระอาจารย์ค่ะ

    เชิญน้องอุ้ยค่ะ
    ไร้ความคิด ไร้ตัวตน ไร้หัวใจ says:
    นมัสการพระอาจารย์นะครับ

    เชิญคุณก้อยค่ะ
    Koi-ก้อย says:
    นมัสการพระอาจารย์ค่ะ สวัสดีค่ะ

    โดยมีคำขยายความต่อไปว่า
    อนึ่ง สัตว์ผู้ปรารถนาซึ่งโพธิ กล่าวคือ ญาณในมรรค ๔ ปฏิบัติอยู่ เหตุนั้น ผู้ที่ยังติดอยู่ในโพธิ จึงชื่อว่า “โพธิสัตว์”

    .. ชื่อว่า “โพธิสัตตะ” เพราะอรรถว่า เป็นผู้บำเพ็ญ (ปรมะ) และเป็นผู้รักษาคุณทั้งหลายมีทานเป็นต้น คุณดังกล่าวนี้ เป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ ภาวะก็ดี, กรรมก็ดีเป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ. กรรมมีการบำเพ็ญทานเป็นต้น ก็เป็นบารมีของพระโพธิสัตว์
    บารมี คือ คุณธรรมทั้งหลาย มีทานเป็นต้น, พระมหาสัตว์พระโพธิสัตว์เป็นผู้ยอดยิ่งเพราะสูงกว่าสัตว์ด้วยการประกอบ คุณวิเศษมีทานและศีลเป็นต้น ความเป็นหรือการกระทำของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเป็นบารมี กรรมมีการบำเพ็ญเป็นต้น ก็เป็นบารมี.
    สัตว์เหล่าใดประกอบด้วย “ปรมะ” ดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่า “มหาสัตว์”, บุรุษใดบำเพ็ญบารมีดังกล่าวมานี้ บุรุษนั้นชื่อว่า “มหาบุรุษ” ความเป็นหรือการกระทำของมหาบุรุษนั้น ชื่อว่าความเป็นผู้มีบารมี.

    เอาล่ะ ว่ามาเสียยืดยาว ฉะนั้น พอสรุปได้ว่า ผู้ที่ปรารถนาบรรลุถึงซึ่งพระนิพพานไม่ว่าจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์ หรือพระสาวกโพธิสัตว์ ต่างก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ เช่นเดียวกัน จะแตกต่างกันก็แต่ความยิ่งหย่อนแห่งระยะเวลาของการสั่งสมบุญ

    ขอถามได้ไหมคะ
    คนธรรมดาต้องบำเพ็ญด้วยหรือเปล่าคะ จึงจะเข้านิพพานได้ค่ะ

    ไม่ว่าใครก็ตาม หากปรารถนาพระนิพพาน ก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ด้วยกันทั้งนั้น
    แล้วทศบารมีธรรม ทั้ง ๑๐ เราต้องปฏิบัติกันอย่างไรบ้างค่ะ อย่างนี้หนึ่งชาติคงไม่พอที่จะปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์หรือป่าวค่ะ
    ระยะเวลาของการสั่งสมบุญ(บำเพ็ญบารมี) มีดังนี้คือ
    ๑ ผู้ปรารถนาความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมีอย่างน้อย ๔ อสงไขย ๑ แสนมหากัป
    ๒ ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมีอย่างน้อย ๒ อสงไขย ๑ แสนมหากัป
    ๓ ผู้ปรารถนาความเป็นพระอนุพุทธเจ้า (พระอรหันตสาวก) ต้องบำเพ็ญบารมี อย่างน้อย ๑ แสนมหากัป

    อ๋อ งั้นก็ไวขึ้น
    โอ้ยากๆ ทั้งนั้นเลยนะนี่ เเสนมหากัปนี่ไม่น้อยเลยนา
    นั่นซิเจ้าค่ะ รู้สึกว่าแต่ละชาติแต่ละภพของพระพุทธเจ้า ท่านบำเพ็ญแต่ละบารมีมาอย่างยากลำบากมากมาย
    แค่โลกกัปป์นึงนี่ ก็ยาวซะไม่มีแล้วนะน้องอุ้ย คงมีความตั้งใจที่เปลี่ยนไปบ้างไม๊น้อ
    ไม่หรอกครับ ผมน่ะถือว่าน้ำหยดลงหินซักวันมันก็กร่อน ถ้าไม่นอกลู่นอกทางซะก่อนก็ได้เป็นเเน่ๆ ครับ ^^
    คำว่า กัปป์ นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงระยะเวลาไว้ว่า
    “ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้น ว่าเท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี”
    ภิกษุกล่าวว่า “ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า”
    “อาจอุปมาได้ เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ ยาว*กว้าง*สูง โยชน์หนึ่ง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินใหญ่นั้นพึงถึงการหมดสิ้นไปเพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดสิ้นไป”

    “(หรือ) เหมือนอย่างว่า นครที่ทำด้วยเหล็ก ยาว*กว้าง*สูง โยชน์หนึ่ง เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้น โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อหนึ่งเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้น เมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นพึงถึงความหมดสิ้นไปเพราะความพยายามนั้น ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล”

    “(หรือ) เหมือนอย่างว่า กองเมล็ดผักกาดโดยความยาว*กว้าง*สูง โยชน์หนึ่ง เมื่อล่วงไปร้อยปี พันปี ผู้วิเศษเก็บเมล็ดผักกาดไปเมล็ดหนึ่งๆ เมล็ดผักกาดหมด ก็ยังไม่สิ้นกัป”
    ๑๐
    ส่วนกาลเวลาในคำว่า อสงไขย นั้น มีอุปมาดังนี้ว่า
    “ฝน ตกใหญ่มโหฬารทั้งกลางวันกลางคืนเป็นเวลานานถึง ๓ ปีติดต่อกันมิได้หยุดมิได้ขาดสายเม็ดฝน จนน้ำเจิ่งนองท่วมท้นเต็มขอบเขาจักรวาล อันมีระดับความสูงได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ที่นี้ ถ้าสามารถนับเม็ดฝนและหยาดฝนที่กระจายเป็นฟองใหญ่น้อยในขณะที่ฝนตกใหญ่ ๓ ปีติดต่อกันนั้น นับได้จำนวน (เม็ดฝน) เท่าใด อสงไขยหนึ่งก็เป็นจำนวนปีเท่ากับเม็ดฝนและหยาดฝนที่นับได้นั้น”
    ๑๑
    และในส่วนแห่งการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ต้องการบรรลุซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ยังมีข้อแตกต่างในด้านระยะเวลาในอีกด้านหนึ่งคือ
    ๑ พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญากล้าศรัทธาอ่อน ย่อมมีแก่ผู้เป็น “ปัญญาธิกะ” ทั้งหลาย โดยกำหนดระยะเวลาบำเพ็ญ ๔ อสงไขย กับแสนมหากัป
    ๒ พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาปานกลาง ย่อมมีแก่ผู้เป็น “สัทธาธิกะ” ทั้งหลาย โดยกำหนดระยะเวลาบำเพ็ญ ๘ อสงไขย กับแสนมหากัป
    ๓ พระโพธิสัตว์มีผู้ปัญญาอ่อน ย่อมมีแก่ผู้เป็น “วีริยาธิกะ” ทั้งหลาย โดยกำหนดระยะเวลาบำเพ็ญ ๑๖ อสงไขย กับแสนมหากัป
    ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระยะเวลาแห่งการบำเพ็ญบารมียิ่งจักยาวนานออกไปอีก หากแม้นไม่ใช่พระพุทธเจ้าผู้เด่นด้านปัญญา (ปัญญาธิกพุทธเจ้า) ต้องบำเพ็ญบารมีถึง ๘ อสงไขย หรือ ๑๖ อสงไขยเลยทีเดียว ซึ่งต้องอาศัยความพากเพียรอย่างมากมาย ผ่านระยะเวลาอันยาวนานออกไปอีก ซึ่งต้องอาศัยความอดทนและพากเพียรอย่างสูงสุด กว่าที่จะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ผมอยากเป็นวิริยะจัง อิอิ ยาวนานที่สุดเเต่ว่าก็ได้โปรดสัตว์โลกนานเช่นกันครับ
    Ann... says:
    พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่มีเมตตามากๆ หรือถ้ามองโดยสายตาของปุถุชนทั่วๆ ไป คือคนที่ยอมคนอื่นตลอด ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ

    ไม่ ใช่อย่างนั้น ที่แท้ท่านกระทำทุกอย่างที่เป็นความดีและละเว้นจากความชั่วทั้งปวง มิได้หมายถึงท่านจะต้องยอมใคร แต่หมายถึง ท่านไม่ยอมเสียสละความดี หรือกระทำความชั่ว ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามต่างหากล่ะ
    เชิญพี่ชุค่ะ
    หนูนิด says:
    กราบนมัสการท่านปิยะลักษณ์ และพระคุณเจ้าทุกรูปค่ะ สวัสดีทุกท่านค่ะ

    ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าพระโพธิสัตว์ทั้ง ๓ ประเภทนั้น มีระยะเวลาการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกัน หากเป็นพระปัญญาธิกะ (ยิ่งด้วยปัญญา) ก็เร็วที่สุด หากเป็นพระสัทธาธิกะ (ยิ่งด้วยศรัทธา) ก็รองลงมา และหากเป็นพระวีริยาธิกะ (ยิ่งด้วยความเพียร) ก็จะต้องบำเพ็ญบารมียาวนานที่สุด
    ยิ่งด้วยความเพียรนี่เเหละผมว่าดีที่สุดละ ^^
    ซึ่ง ในกรณีนี้ สำหรับเราท่านทั้งหลายหากได้พิจารณา ก็จะพึงเห็นแนวการปฏิบัติของตน ว่าเราเด่นชัดในด้านใด เราเด่นด้านปัญญา ด้านศรัทธา หรือความเพียร
    มันจะต้องเด่นด้านนั้นตลอดไปเหรอ
    อยู่ที่จริตของเเต่ละคนมากกว่านะครับ ว่าเราถนัดเเบบไหน เหมือนการนั่งสมาธิครับ มีหลายเเบบหลายกอง เเท้ที่สุดก็ลงที่เดียวกัน
    ทำไมปัญญาถึงเร็วที่สุด ทำไมวิริยะถึงนานที่สุดคะ ปัญญาน่าจะนานกว่าเนาะ
    ธรรมดา พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญากล้า ย่อมตรัสรู้เร็วที่สุด เพราะกำลังแห่งปัญญาเจตสิกที่มีบริบูรณ์ยิ่งนี่เอง
    สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้มีศรัทธากล้า มีปัญญาปานกลาง เพราะเหตุที่มีสัทธาจริต อันยังจิตให้ผ่องใสในกุศลทุกเมื่อ ย่อมโน้มน้อมไปตามกระแสธรรม จึงได้ตรัสรู้เร็วรองลงมา
    แต่สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้มีวิริยะกล้า ปัญญาอ่อนนั้น เพราะเหตุที่ปัญญามีน้อยกว่า และไม่อาศัยศรัทธาอันยังจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ และมิได้โน้มน้อมจิตไปในกระแสธรรมเช่นผู้มีศรัทธา จึงทำให้ต้องอาศัยความพากเพียรพยายามมากเพื่อยังปัญญาให้บริบูรณ์ จึงต้องใช้เวลานานที่สุด

    อ๋อ เข้าใจแล้วค่ะท่าน
    คนที่เป็นโพธิสัตว์นี่ เป็นแล้วจะเป็นตลอดไป หรือว่ามีการเปลี่ยนความคิดได้บ้างไม๊เจ้าคะ
    ตรงนี้เคยได้ยินท่านๆ หนึ่งว่า อยู่ที่กำลังด้วยนะครับ หากเบื่อหน่ายซะก่อนก็อาจจะเข้านิพพานก่อนก็ได้
    ความตั้งใจใช่ไม๊คะน้องอุ้ย
    การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น แบ่งออกเป็น ๓ ช่วงระยะเวลา ๑๒ คือ
    ๑ พระบารมีตอนต้น นับแต่ตั้งความปรารถนาว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า (มโนปณิธาน) ยังไม่เปล่งวาจาปรารถนา (ยังไม่มีการบำเพ็ญบารมี ๑๐)
    ๒ พระบารมีตอนกลาง นับแต่พระโพธิสัตว์นั้นเปล่งวาจาปรารถนาว่า “จักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลให้จงได้” แล้วก็บำเพ็ญบารมี ๑๐ พร้อมกับเปล่งวาจา (วจีปณิธาน) ปรารถนาพุทธภูมิในทุกๆ ชาติที่เกิด (ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์)
    ๓ พระบารมีตอนปลาย นับแต่พระโพธิสัตว์นั้นได้รับพระพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่า “จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน” จึงชื่อว่า “นิยตโพธิสัตว์”
    ดังที่โยมถามว่า “พระโพธิสัตว์มีโอกาสเปลี่ยนใจหรือไม่” นั้น ตอบว่า ถ้าพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ในระหว่างการบำเพ็ญบารมีตอนต้นหรือตอนกลาง ก็ยังสามารถเปลี่ยนใจ กลับใจไม่ปรารถนาพุทธภูมิได้ ซึ่งรวม ๒ ประการแรกเรียกว่า “อนิยตโพธิสัตว์” ซึ่งแปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้ยังไม่แน่ว่าจะได้ตรัสรู้
    แต่หากเข้าสู่พระบารมีตอนปลาย ภายหลังได้รับพระพุทธพยากรณ์แล้ว จะไม่เปลี่ยนความตั้งใจอีก ย่อมมุ่งหน้าสู่พุทธภูมิถ่ายเดียว เรียกว่า “นิยตโพธิสัตว์” ซึ่งแปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้มุ่งหน้าต่อการตรัสรู้อย่างแน่นอน
    ซึ่งที่เรากล่าวว่าพระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยบ้าง ๘ อสงไขยบ้าง หรือ ๑๖ อสงไขยบ้างนั้น เราหมายถึงเฉพาะส่วนแห่งการบำเพ็ญพระบารมีตอนปลาย ภายหลังได้รับพุทธพยากรณ์เท่านั้น
    ซึ่งในที่นี้จะได้ขยายความเพื่อความเข้าใจต่อไปดังนี้
    ๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะ ย่อมตั้งความปรารถนาด้วยใจ (มโนปณิธาน) ๗ อสงไขย เปล่งวาจาปรารถนา ๙ อสงไขย และบำเพ็ญบารมีภายหลังได้รับพุทธพยากรณ์แล้วอีก ๔ อสงไขย รวม ๒๐ อสงไขย
    ๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะ ย่อมตั้งความปรารถนาด้วยใจ ๑๔ อสงไขย เปล่งวาจาปรารถนา ๑๘ อสงไขย และบำเพ็ญบารมีภายหลังได้รับพุทธพยากรณ์แล้วอีก ๘ อสงไขย รวม ๔๐ อสงไขย
    ๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทวีริยาธิกะ ย่อมตั้งความปรารถนาด้วยใจ ๒๘ อสงไขย เปล่งวาจาปรารถนา ๓๖ อสงไขย และบำเพ็ญบารมีภายหลังได้รับพุทธพยากรณ์แล้วอีก ๑๖ อสงไขย รวม ๘๐ อสงไขย

    แล้วการเป็นโพธิสัตว์นี่ อย่างไรว่าเป็นโพธิสัตว์ได้ล่ะเจ้าคะ
    เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในที่นี้จะได้ยกเอาพระพุทธพจน์ในเรื่องว่าด้วยทักษิณาประกอบด้วยองค์ ๖ มาอธิบาย ๑๓ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ทักษิณา ประกอบด้วยองค์ ๖ ประกอบ โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงบุญห้วงกุศลที่ จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่ทีเดียว เปรียบเหมือนการถือเอา ประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า เท่านี้อาฬหกะ เท่านี้ร้อยอาฬหกะ เท่านี้พัน อาฬหกะ หรือเท่านี้แสนอาฬหกะไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ น้ำในมหาสมุทรย่อม ถึงการนับว่า เป็นห้วงน้ำที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นห้วงน้ำใหญ่ที เดียวฉะนั้น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก
    องค์ ๓ ของทายกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกก่อนให้ทานเป็นผู้ดีใจ ๑ กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑ ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ ๑ นี้องค์ ๓ ของทายก
    องค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกในศาสนานี้เป็นผู้ปราศจากราคะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโทสะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโมหะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ๑ นี้องค์ ๓ ของปฏิคาหก

    ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้ขยายความว่า
    บท ว่า วีตราคา ได้แก่ พระขีณาสพผู้ปราศจากราคะ. บทว่า ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา ความว่า ดำเนินปฏิปทาที่เป็นเหตุนำราคะออกไป. และเทศนานี้ เป็นเทศนาอย่างอุกฤษฏ์ แต่มิใช่สำหรับพระขีณาสพอย่างเดียวเท่า นั้น แม้พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน โดยที่สุดแม้สามเณรผู้ถือภัณ ฑะบวชแล้วในวันนั้น ทักษิณาที่ถวายแล้วย่อมชื่อว่าประกอบไปด้วยองค์ ๖ ทั้ง นั้น. เพราะว่า แม้สามเณรก็บวชเพื่อโสดาปัตติมรรคเหมือนกัน.
    จากคำอรรถกถาจารย์ซึ่งขยายความพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใดก็ตามแม้ตั้งจิตเพื่อการบรรลุอริยคุณ มีโสดาปัตติผล เป็นต้น ก็ย่อมเป็นเหตุให้ทักษิณามีผลบริบูรณ์ได้ ในที่นี้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ปรารถนากระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ย่อมกระทำให้ทานของทายกบริบูรณ์ด้วยว่าตั้งอยู่ในฐานแห่งพระโพธิสัตว์ (ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่) นั่นเอง
    พูดง่ายๆ ว่า พระภิกษุ สามเณร อุบาสก หรืออุบาสิกาใดตั้งปณิธานอย่างมุ่งมั่นอยู่ ว่าจักกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานอยู่ตราบใด ตราบนั้นภิกษุฯ รูปนั้น ก็ชื่อว่าตั้งอยู่ในฐานะแห่งพระโพธิสัตว์ผู้สมควรแก่ทักษิณาทาน

    พระศรีอริยะเมตไตรย บำเพ็ญแบบไหนเจ้าคะ?
    พระศรีอาริยะเมตตรัยบำเพ็ญเเบบวิริยะครับ
    เคยอ่านว่า พระศรีฯ ทรงตัดเศียรบูชาพระพุทธองค์ น่าจะเป็นแบบศรัทธานะคะ ว่าไหมคะ?
    อาตมาไม่แน่ใจว่าเป็น “วีริยาธิกะ” หรือ “สัทธาธิกะ” นะ
    เจ้าค่ะ
    จำได้ว่าศรัทธาค่ะ
    ไว้ผมจะลองไปค้นๆ มาให้อีกรอบละกาน (นานมากเเล้วความรู้นี้)
    แต่พระองค์ก็บำเพ็ญนานมาก ๑๖ อสงไขย
    แบบนานมากกกก กว่าจะได้
    ผมจำได้ว่าวิริยะอ่าครับ ^^
    เจอแล้วค่ะ "พระอนาคตวงศ์ กัณฑ์ที่ ๑
    - พระศรีอาริยเมตไตร(พระอชิตเถระ)
    http://www.๘๔๐๐๐.org/anakot/kan๑.html#๑

    ถ้าเป็น ๑๖ อสงไขย ก็ทรงเป็น “วีริยาธิกะ” นะ ๑๔
    เชิญน้องเจมส์ ครับ
    ...N@n_n@N... says:
    สวัสดีท่านอาจารย์ และพี่พี่ทุกท่านครับ

    สวัสดีจ้า
    เชิญคุณซุงค่ะ

    ฑิตซุง says:
    นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคนครับ

    หมายถึงว่า ถ้าเป็นพระปัญญาธิกะ(ยิ่งด้วยปัญญา) ถึงนิพพานเร็วที่สุด ก็จริตมีปัญญาอยู่แล้ว
    เอ...แล้ว ปัญญา ในที่นี่ หมายความว่าอย่างไรค่ะ เหมือนกับทางโลกไหมค่ะ
    คำว่า ปัญญา ในที่นี้ ก็หมายถึง ความเข้าใจต่อชีวิต (ขันธ์ ๕ หรือนามรูป) นี่เอง มิได้หมายถึง ความรอบรู้ หรือความเฉลียวฉลาดแต่อย่างใด
    ขอบพระคุณค่ะ
    อย่างเนกขัมมะบารมี ถ้าเราไม่ได้ออกบวช เราก็อดบำเพ็ญบารมีนี้หรือค่ะ
    ทำไมโพธิสัตว์จึงมีจิตที่คิดชอบการออกบวชล่ะเจ้าคะ
    ไม่ใช่หรอก การบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การที่เราปลีกตนออกมาจากกาม จากอำนาจครอบงำของกามคุณอารมณ์
    เช่น ไม่ไหลไปตามกระแสบริโภคนิยม ความหรูหราฟุ่มเฟือย ไม่ติดในลาภสักการะ จะดู ฟัง บริโภคสิ่งใด ก็พิจารณาเห็นคุณ-โทษด้วยปัญญา ไม่หลงติดเพลิดเพลินไปกับสิ่งนั้น นี่ก็เรียกว่า เป็นเนกขัมมะ การหลีกออกจากกามแล้ว

    ดังนั้น เนกขัมมะ=ประพฤติพรหมจรรย์รึเปล่าครับ
    คำว่า เนกขัมมะ แปลว่า การปลีก หรือการหลีกออกจากกาม
    ขอบพระคุณ พระคุณเจ้า ขอรับ
    ค่ะ
    กาม=?
    คำว่ากาม มี ๒ ความหมาย คือ ๑ วัตถุกาม และ ๒ กิเลสกาม
    คำว่า วัตถุกาม หมายถึง สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ความปรารถนาทั้งปวง อันได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันใด อันเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ความปรารถนา เหล่านี้ล้วนเรียกว่า วัตถุกาม ทั้งสิ้น
    ส่วนกิเลสกาม หมายถึง กิเลสในใจเราที่มีความยึดมั่นต่อกามคุณอารมณ์นั้นนั่นเอง

    ขอบพระคุณพระอาจารย์ค่ะ
    ฉะนั้น การปลีกออกจากกาม ก็หมายถึง การออกไปจากสิ่งที่เรามีความหลงใหล ติดใจรักใคร่ เมื่อเราหลงใหลต่อสิ่งใด สิ่งนั้นนั่นล่ะ ก็เป็นวัตถุกามสำหรับเรา ที่เราต้องหลีกห่าง จนกว่าจิตใจของเราจะมีความเข้มแข็งเพียงพอต่อสิ่งนั้น สามารถคลายความติดหลงต่อสิ่งนั้นเสียได้นั่นล่ะ เราก็ไม่จำต้องหลีกออกจากสิ่งนั้นอีก เพราะมันไม่ใช่วัตถุกามสำหรับเราอีกต่อไป เพราะเราไม่มีกิเลสกามต่อมันอีกนั่นเอง
    ค่ะ
    กิเลสทำให้เกิดโมหะ ความหลง นั้นเอง
    ห้องสนทนา นี่เขาจำกัดจำนวนสมาชิกกี่คนคะเนี่ย ใครพอทราบบ้าง
    ข้างบนเขียน ๑๙ ค่ะ
    ตอนนี้มี ๑๙ คนค่ะ
    มีจำกัดด้วยเหรอ
    ตอนนี้ ดึงสมาชิกไม่เข้าอ่ะ สงสัยได้ ๑๙ คน เท่านั้นเหรอ
    ห้องสนทนาจำกัดจำนวนสมาชิกด้วยล่ะคะ ได้ ๒๐ คน

    แล้วการช่วยเหลือคนอื่น ไม่ได้เป็นการก่อเวรก่อกรรมกันขึ้นอีกหรอค่ะ
    การช่วยผู้อื่น ก็เป็นบารมีอย่างหนึ่งที่ต้องบำเพ็ญ เพื่อละกิเลส และความเห็นแก่ตัวทั้งปวงที่ตนมีอยู่
    คือ กำลังงงๆ ว่า พอเราช่วยเขา เขาก็อยากจะช่วยเราในภายหน้าเช่นกัน ก็เหมือนเราไปผูกพันธ์อะไรกับเขาไว้แล้ว อย่างนี้น่ะคะ
    คือ ต้องไม่ทำกรรมดำกรรมขาว ถึงจะหลุดพ้นได้เท่านั้น เช่นนั้นเหรอคะ
    เราช่วยเขา เขาก็อาจมีจิตคิดที่จะช่วยเรา แต่เมื่อเราเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว ใครจะตามไปผูกพันธ์เราหรือช่วยเราอยู่ได้ล่ะ
    อีกนิดหนึ่งนะ
    และการบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ นั้นจะต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ขั้นคือ บารมีขั้นสามัญ ขั้นอุปบารมี และขั้นปรมัตถบารมี เป็นเหตุให้บารมีที่ต้องบำเพ็ญทั้งสิ้น รวมแล้วมี ๓๐ ถ้วน
    ๑๕
    คนไทยนิยมเรียกว่า บารมี ๓๐ ทัศ แต่ที่จริงแล้ว ใช้คำไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะคำว่า ทัศ มาจากภาษาบาลีว่า "ทสะ" ซึ่งแปลว่า ๑๐ ควรกล่าวว่าบารมี ๓๐ ถ้วนมากกว่า

    เชิญน้องเก่งค่ะ
    อุเบกขา เถอะพี่น้อง ทั้งสอง พบกันครึ่งทางดีกว่า says:
    สวัสดีคับ ผมชื่อเก่งนะครับ

    เรื่องเมื่อกี้จบกันหรือยังเอ่ย ใครมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโพธิสัตว์ และทศบารมีอีกบ้าง
    นมัสการลาพระคุณเจ้า ผมไปก่อนนะครับ พอดีที่นี่ดึกมากแล้ว ลาท่านอื่นๆ ด้วยนะครับ ขอบคุณคับพี่เป้
    หวัดดีจ้า
    แถวบ้านยังเช้าอยู่เลย ดึกไงอ่ะ
    เอ่อ ที่ผมอยู่จะตีหนึ่งแล้วครับ
    อ้อ เมลเบิร์นแน่ะ
    ใครทำเมล์ไหม้ (เมล์เบิร์น)
    ๕๕๕๕ เป้?????
    ในการแบ่งระดับของบารมีว่าจะเป็นบารมีชั้นสามัญ อุปบารมี(บารมีอย่างยิ่ง) หรือปรมัตถบารมี(บารมีชั้นสูงสุด)นั้น ในอรรถกถาท่านอธิบายไว้หลายนัย ๑๖ แต่นัยหนึ่งที่นิยมกันก็คือ
    หากเป็นการบำเพ็ญบารมีโดยเป็นเหตุแห่งการเสียสละ เช่น การบริจาคบุตรภรรยาหรือทรัพย์เป็นต้น ก็เป็นทานบารมีชั้นสามัญ
    ถ้าเป็นอุปบารมี ก็คือการบำเพ็ญบารมีโดยเป็นเหตุแห่งการเสียสละ หรือบริจาคอวัยวะของตน ก็เป็นทานอุปบารมี
    ถ้าเป็นปรมัตถบารมี ก็เป็นการบำเพ็ญบารมีโดยเป็นเหตุแห่งการเสียสละซึ่งชีวิตของตนได้ อย่างนี้ก็เป็นทานปรมัตถบารมี เป็นต้น นั่นเอง

    คือ ยอมตายแทนใครก็ได้ ใช่ไหมค่ะ
    หมายถึง อวัยวะนั้นต้องใช้งานอยู่ใช่ไม๊เจ้าคะ แล้วอย่างบริจาคเลือดล่ะ
    ต้องสม่ำเสมอด้วย ไม่ใช่บริจาคชั่วครั้งชั่วคราวนะคะ
    สุขใดไม่เท่าสุขที่ใจสงบ says:
    ถ้าบริจาคเลือดไม่ได้ล่ะคะ น้ำหนักและอายุไม่ถึงควรทำอะไรแทน

    การบริจาคโลหิต ถือเป็นบุญมหาศาล ในชั้นทานอุปบารมีเลยทีเดียว เพราะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา
    โห ทำไปได้แค่ ๔ ครั้งเอง แล้วเลือดไม่ถึง เสียดายจัง
    แล้วถ้าช่วยงานบริจาคโลหิต เช่น ช่วยเสริฟน้ำให้ผู้มาบริจาคโลหิตได้บุญไหมคะ
    ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจในการจำแนกระดับแห่งบารมีทั้ง ๓ นี้อีกครั้ง เช่นว่า ในด้านศีลบารมี ถ้ายอมสละทรัพย์เพื่อรักษาศีลของตนไว้ ก็เป็นบารมีชั้นสามัญ ถ้ายอมสละอวัยวะน้อยใหญ่เพื่อรักษาศีลไว้ ก็เป็นอุปบารมี ถ้ายอมสละชีวิตของตนได้เพื่อรักษาศีลไว้ให้บริสุทธิ์ ก็เป็นปรมัตถบารมี
    เช่น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่าย ให้ชีวิตเป็นทานเป็นอาหารแก่พราหมณ์ผู้มาขอได้ อย่างนี้เป็นทานปรมัตถบารมี เป็นต้น
    ๑๗
    ค่ะ
    เอ แล้วสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อกินเนื้อล่ะ เราจะรู้ได้ไงว่าเขากำลังบำเพ็ญอยู่
    แล้วการที่คนอิสลามระเบิดพลีชีพ โดยการคิดว่าทำเพื่อพระเจ้าล่ะคะ ในนี้ ถือว่าเป็นทาน หรือเป็นบาป
    นั้นเขาทำเพื่อฆ่าคน บาปมหันต์
    แต่ว่าในความเข้าใจของเขา คือการคิดว่าสิ่งนั้นเป็นการทำดี แบบนี้เขาบาปไหมอ่ะคะ
    อิสลามเป็นบาปหรือบุญ ขึ้นอยู่กับแนวคิดของศาสนา
    อ้าว
    เอ แล้วที่เขาคิดว่าเป็นบุญ ก็เป็นบุญงั้นเหรอ เอาอะไรมาวัด
    ใช่ ถ้าคิดแบบเราก็บาป แต่เขาก็นับถือศาสนาของเขา เขาว่าเขาทำถูก
    หรอคะ
    ฆ่าคน ก็บาปทั้งสิ้นนะคะ ไม่ว่าจะศาสนาไหนๆ เป็นการตัดรอนชีวิต เบียดเบียนคน นั้นเพราะความเชื่อของศาสนาของเขา
    ค่ะ แต่ถ้านั่นเป็นการเข้าใจผิด ก้อถือว่ามีอวิชชาครอบงำอยู่ เราจะเรียกเช่นนี้ได้ไหมค่ะ
    การจะเป็นบารมีได้นั้น ต้องมีเป้าหมายเพื่อการเกื้อกูล ไม่เบียดเบียนบุคคลใด และมีเจตนาเพื่อการชำะล้างจิตใจของตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสเท่านั้น
    เป็นไปเพื่อรักษาศีล และให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังสิ่งใดใดตอบแทน ให้ด้วยความละแล้วซึ่งตัวตนของเรา และแลเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
    เชิญน้องปรุงค์ค่ะ
    [c=#๐๐๘๐FF] Pagorn says:
    ครับ

    กราบนมัสการพระอาจารย์ทั้งหลายครับ วันนี้สนทนากันเรื่องใดหนอ
    วันนี้เรากำลังสนทนากันเรื่อง ทศบารมีธรรม มี ๑๐ ประการ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา และเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ ใครสงสัยอะไรก็สอบถามพระอาจารย์ได้นะคะ
    ครับผม
    ครับผม
    เช่นนั้น says:
    สวัสดีครับ สหายธรรมทุกท่าน

    มีใครอยากถามอะไรเพิ่มเติมในเรื่องเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์และบารมีบ้างหรือเปล่าคะ
    ค่ะ คือถ้าเราช่วยคนหนึ่ง แล้วมีผลต่ออีกคนหนึ่งในทางไม่น่าพอใจสำหรับเขา อย่างนี้ควรอุเบกขาไม่ช่วยดีไหมค่ะ
    ต้องดูว่า การกระทำนั้นเป็นกุศลหรือไม่ เช่นว่า ไม่มีโทษ และเป็นสิ่งมีประโยชน์ใช่หรือไม่
    การอุเบกขานี่ คืออย่างไรหรือเจ้าค่ะ ไม่ใช่นิ่งดูดาย แต่ให้ปล่อยวาง
    การวางอุเบกขา หมายถึง การวางเฉยเนื่องด้วยปัญญาพิจารณาแล้วว่า เราควรวางเฉยเพื่อให้สิ่งทั้งหลายดำเนินไปตามกรอบหรือแนวทางแห่งธรรม คือ ความถูกต้องดีงาม
    เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจจับ เราก็ไม่เข้าไปติดสินบน เพื่อให้เขาพ้นจากโทษ เป็นต้น แม้จะเป็นญาติของเรา อย่างนี้เรียกว่า อุเบกขา หรือการวางเฉยด้วยปัญญา

    อ๋อครับ
    ค่ะ
    เราควรวางเฉยใช่ไหมคะ พระอาจารย์
    เราควรอนุเคราะห์ต่อทุกคน เท่าที่จะเกิดประโยชน์และเป็นไปได้ ซึ่งไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ใครๆ แม้แก่ตัวเราเอง และไม่ละเมิดต่อธรรม
    ครับ
    อันนี้ผมขอนอกเรื่องอีกเรื่องนะครับ *หากตำรวจไปฆ่าคนร้ายที่ไปฆ่าคนมาอีกทีหนึ่ง ถามว่าตำรวจจะได้กุศลหรือไม่ครับ หรือจะได้บาปรึป่าวครับ

    ตำรวจไม่บาป แต่เป็นกรรมต่อเนื่องกัน
    การฆ่าไม่ว่าจะฆ่าใครหรือสัตว์ใดก็บาปทั้งสิ้น แต่ในส่วนแห่งเจตนาที่หวังดี เช่น ต่อประชาชน อันนั้นก็เป็นส่วนแห่งบุญประการหนึ่ง ซึ่งแยกกันออกไป ไม่ปะปนกัน
    งั้นบุญก็ส่วนบุญ บาปก็ส่วนบาปสิเจ้าคะ
    แล้วตำรวจจะมีบาปติดตัวหรือไม่ครับ
    คุณปรุง การฆ่าไม่ว่าจะฆ่าใครหรือสัตว์ใดก็บาปทั้งนั้น
    อ๋อครับ เข้าใจแล้วครับ
    ขอนอกเรื่องนิดนึงนะคะ การที่มีอคติกับครูบาอาจารย์ที่ไม่ดี(คนชั่ว) บาปไหมคะ
    การมีอคติก็เป็นอกุศลอยู่แล้ว บาปอยู่แล้ว
    คำว่า อคติ หมายถึง การกระทำทุจริต ไม่ตรงไปตรงมา เพราะความลำเอียงที่มีในใจ ๑๘ แต่ถ้าในคำที่โยมใช้เป็นคำถาม น่าจะหมายถึง การมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อครูอาจารย์บางคนมากกว่า ซึ่งการมีความรู้สึกที่ไม่ดี ไม่ว่าต่อใคร ก็ถือเป็นโทสะด้วยกันทั้งสิ้น
    อ๋อโทสะจริตนี่เอง
    การมีอคติ ไม่ดีกับตัวเราอยู่แล้ว ให้เรารู้ตัวค่ะ และไม่ควรตัดสินว่าใครดี ไม่ดี ด้วยบรรทัดฐานของเรา
    อาจารย์คนนั้นที่ว่าไม่ดี เขาอาจดีในสายตาคนอื่นก็เป็นได้ ตัวเรานี่แหละสำคัญ ต้องระงับโทสะไม่ให้เกิดขึ้นจากผัสสะที่มากระทบให้ดี จะดีที่สุดค่ะ ตามที่พระอาจารย์บอกว่าเป็นโทสะน่ะคะ
    หมดเวลาชีวิตฉันให้เธอ.... + ก้อนหิน กับ ตะวัน says:
    ครับ กิเลส ถ้าเราตัดได้คือสิ่งที่ดีที่สุดปะครับ

    ใช่สิ
    การตั้งจิตอธิษฐาน เช่นว่า อยากให้ชาติหน้ามีปัญญา จะได้ตามที่ตั้งไว้ แน่นอนหรือเปล่าเจ้าคะ หรือว่าเราต้องสั่งสมอุปนิสัย ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญาด้วย
    ขึ้นอยู่กับผลแห่งกรรมนั้นว่า จะให้ผลทันทีในชาติหน้าหรือไม่ ซึ่งไม่แน่เสมอไป
    อย่างนี้ ถ้าดูในแต่ละข้อ อย่างอยากให้มีปัญญา เราควรสะสมอะไรไว้ให้เป็นเหตุปัจจัยบ้างเจ้าคะ
    อยากมีปัญญา ก็ต้องหมั่นพิจารณาธรรม ศึกษาธรรมจากนักปราชญ์ท่านผู้รู้
    สะสมนิสัยเพื่อเป็นเหตุของนิสัยที่จะเป็นในชาติหน้า ใช่ไม๊เจ้าคะ
    ไม่ต้องชาติหน้าหรอก เริ่มตั้งแต่บัดนี้เลย
    งั้นคือ ทำเมื่อใดก็ได้เมื่อนั้นเลย
    ใช่แล้ว
    เอาล่ะนะสำหรับค่ำคืนนี้ คงจะพอได้ประโยชน์พอสมควร
    ในที่สุดนี้ อาตมาขอฝากพระพุทธศาสนสุภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
    สพฺเพสํสหิโตโหติ
    คนดี (ย่อม) บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน

    ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
    สาธุค่ะ
    และพระพุทธภาษิตว่า
    จเชธนํองฺควรสฺสเหตุองฺคํจเชชีวิตํรกฺขมาโน ๑๙
    องฺคํธนํชีวิตญฺจาปิสพฺพํจเชนโรธมฺมมนุสฺสรนฺโต
    พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
    และเมื่อระลึกถึงความถูกต้อง ก็พึงสละทั้งทรัพย์อวัยวะชีวิตหมดสิ้นเพื่อรักษาธรรมไว้

    [SIZE=-1] ค่ะ
    ลาญาติโยมทุกคนล่ะนะ
    กราบลาพระอาจารย์ค่ะ
    กราบลาพระอาจารย์และทุกๆ ท่านค่ะ
    นมัสการท่านเอกชัย และขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคนที่ได้เข้าร่วมสนทนาธรรมกันในคืนนี้
    กราบลาพระอาจารย์ครับ
    พึงสละทั้งทรัพย์อวัยวะชีวิตหมดสิ้น เพื่อรักษาธรรมไว้ ก็คือรักษาจิตที่ดีงามไว้ใช่ไม๊เจ้าคะ
    รักษาจิตได้ ก็ชื่อว่ารักษาได้แล้วทุกอย่างทุกประการ
    กราบลาพระอาจารย์ค่ะ
    กราบขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
    กราบนมัสการพระคุณเจ้าทุกรูป
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
    สวัสดีทุกท่านค่ะ
    นมัสการลาพระอาจารย์ครับ
    สวัสดีทุกท่านเช่นกันครับ กราบนมัสการพระอาจารย์ด้วยครับ
    กราบนมัสการครับ
    เจอกันอาทิตย์หน้านะคะ
    ......................................
    [/SIZE][SIZE=-1]อ้างอิง[/SIZE]
    [SIZE=-1]๑ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ๒ ฎีกาของพระคัมภีร์ชินาลังการ
    ๓ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ [ปณิธาน แปลว่า การตั้งความปรารถนา]
    ๔ ขุ.ชา.อ.๕๕ หน้า ๓๓-๔๒, อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๙๖-๑๐๓ (ทูเรนิทาน) พุทธการกธรรม ๑๐
    ๕ ขุ.เถร.อ.๕๐ หน้า ๑๔-๑๘
    ๖ สํ.นิ.อ.๒๖ หน้า ๔๒-๔๓
    ๗ ขุ.จริยา.อ.๓๔ หน้า ๕๗๐-๕๗๑
    ๘ สํ.นิ.๑๖/๔๓๐/๑๘๐ ปัพพตสูตร
    ๙ สํ.นิ.๑๖/๔๓๒/๑๘๑
    ๑๐ ขุ.จริยา.อ.๓๔ หน้า ๒๑
    ๑๑ มุนีนาถทีปนี
    ๑๒ ชินกาลมาลีปกรณ์
    ๑๓ องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๐๘/๓๐๖-องฺ.ฉกฺก.อ.๓๖ หน้า ๖๓๐
    ๑๔ เค้าเรื่องจาก ม.อุ.๑๔/๗๐๗/๓๔๒, ม.อุ.อ.๒๓ หน้า ๓๙๘ (อรรถกถาทักษิณาวิภังคสูตร) ปรากฏเรื่องใน ปฐมสมโพธิกถา
    ๑๕ ขุ.จริยา.๓๓/๓๖/๔๐๖-ขุ.จริยา.อ.๗๔ หน้า ๕๕๙-๕๖๙, ขุ.ธ.อ.๔๐ หน้า ๑๑๗, ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๑๓
    ๑๖ ขุ.จริยา.อ.๗๔ หน้า ๖๔๖-๖๔๘, ขุ.ชา.อ.๕๕ หน้า ๗๖-๗๙, อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๑๓๘-๑๔๒
    ๑๗ ขุ.อป.๓๓/๑๐๑/๔๐๖-ขุ.อป.อ.๓๔ หน้า ๒๑๙ สสบัณฑิตจริยา (ว่าด้วยประวัติครั้งเกิดเป็นกระต่าย)
    ๑๘ ที.ปา.๑๑/๑๗๖/๑๓๙ , มาติกาโชติกะ ธัมมสังคณีรูปัตถนิสสยะ(ทสฺสนติก)
    [อคติ ๔ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติเหล่านี้ พึงประหาณโดยโสดาปัตติมรรคนั่นเอง (พึงสังเกตว่าอคติเหล่านี้ไม่ได้มุ่งหมายเอาองค์ธรรมที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ โดยตรง คงมุ่งหมายแต่เพียงได้ปฏิบัติกายวาจาผิดจากศีลธรรมโดยอาศัย โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูลเท่านั้น แต่การปฏิบัติผิดเหล่านี้นำไปสู่อบายได้ ฉะนั้นพึงประหาณโดยโสดาปัตติมรรค)]
    ๑๙ ขุ.ชา.๒๘/๓๘๒/๙๙[/SIZE]
    [SIZE=-1]-------------------------------------------------------------------------
    [/SIZE]
    ข้อมูลจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=dhammatree&group=10


     
  2. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    อนุโมทนาครับ เรื่องการบำเพ็ญบารมีนั้น ในอดีตเหล่าผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ แต่ละท่าน
    ได้ช่วยกันหนุน บารมีซึ่งกันแหละกันมาช้านานแล้ว โดยที่ไม่มีใครรู้ แต่จะรู้กันในหมู่ผู้สร้างบารมี
    และไม่ค่อยมีการบันทึกไว้ให้คนทั่วไปทราบ
     
  3. napapatch_datch

    napapatch_datch Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +57
    เพิ่งเป็นสมาชิกใหม่ ได้ไม่นาน ค่ะ อยากได้ CD สอนสมาธิเบื้องต้น ไปจนถึง มโนมยิทธิ และกสิณ ตามแนวทางหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บ้างจังค่ะ ไม่ทราบว่าต้องทำไง
     

แชร์หน้านี้

Loading...