ธรรมะ เชิงอุปมาอุปมัย ของหลวงพ่อชา สุภัทโท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย pump - อภิเตโช, 17 ธันวาคม 2010.

  1. pump - อภิเตโช

    pump - อภิเตโช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,202
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,803


    ธรรมะ เชิงอุปมาอุปมัย ของหลวงพ่อชา สุภัทโท
    <O:p
    ใบไม้ <O:p></O:p>
    ขณะนี้เรานั่งอยู่ในป่าที่สงบ ที่นี่ไม่มีลม ใบไม้จึงนิ่ง เมื่อใดที่มีลมพัด ใบไม้จึงไหวปลิว<O:p
    จิตก็ทำนองเดียวกับใบไม้ เมื่อสัมผัสกับอารมณ์มันก็สะเทือนไปตามธรรมชาติของจิต เรายิ่งรู้ธรรมะน้อยเพียงไร ใจก็จะรับความสะเทือนได้มากเพียงนั้น รู้สึกเป็นสุข ก็ตายด้วยความสุข รู้สึกเป็นทุกข์ ก็ตายด้วยความทุกข์อีก มันจะไหลไปเรื่อย ๆ<O:p

    น้ำเจือสี <O:p></O:p>
    ใจของเราขณะที่เป็นปกติอยู่ เปรียบเหมือนน้ำฝนเป็นน้ำที่สะอาด มีความใสสะอาดบริสุทธิ์เป็นปกติ ถ้าเราเอาสีเขียวใส่ลงไป เอาสีเหลืองใส่เข้าไป น้ำก็จะกลายเป็นสีเขียว สีเหลืองไป<O:p</O:p
    จิตของเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อไปถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจก็ดี ใจก็สบาย เมื่อถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจแล้ว ใจนั้นก็ขุ่นมัว ไม่สบาย เหมือนกันกับน้ำที่ถูกสีเขียวก็เขียวไป ถูกสีเหลืองก็เหลืองไป เปลี่ยนสีไปเรื่อย<O:p

    อยู่กับงูเห่า <O:p></O:p>
    ขอให้โยมจำไว้ในใจ อารมณ์ทั้งหลายนั้น ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่พอใจก็ตาม หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจก็ตาม อารมณ์ทั้งสองอย่างนี้มันเหมือนงูเห่าซึ่งมีพิษมาก ถ้ามันฉกคนแล้ว ก็ทำให้ถึงแก่ความตายได้ อารมณ์นี้ก็เหมือนงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมาก อารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก มันทำให้จิตใจของเราไม่เสรี ทำให้จิตใจไขว้เขว จากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า<O:p

    ปล่อยพิษงูไป <O:p></O:p>
    อารมณ์ทั้งหลายเหมือนกันกับงูเห่าที่มีพิษร้าย ถ้าไม่มีอะไรขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน แม้พิษมันจะมีอยู่ มันก็ไม่แสดงออกมา ไม่ได้ทำอันตรายเรา เพราะเราไม่ได้เข้าไปใกล้มัน งูเห่าก็เป็นไปตามเรื่องของงูเห่า มันก็อยู่อย่างนั้น<O:p</O:p
    ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้วก็จะปล่อยหมด สิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่าตัวที่มีพิษร้ายนั้น ปล่อยให้มันเลื้อยของมันไป มันก็เลื้อยไปทั้งที่มีพิษอยู่ในตัวมันนั่นเอง<O:p</O:p

    สอนเด็ก <O:p></O:p>
    ฉะนั้น การปฏิบัตินี้จึงว่านั่ง นั่นแหละปฏิบัตินั่ง ดูไปมันมีอารมณ์ดี อารมณ์ชั่ว สลับซับซ้อนกันไปเป็นธรรมดาของมัน อย่าไปสรรเสริญจิตของเราอย่างเดียว อย่าไปให้โทษมันอย่างเดียว ให้รู้จักกาล รู้จักเวลามัน เมื่อถึงคราวสรรเสริญ ก็สรรเสริญมันหน่อย สรรเสริญให้พอดีอย่าให้หลง<O:p</O:p
    เหมือนกับสอนเด็กนั่นแหละ บางทีก็เฆี่ยนมันบ้าง เอาไม้เรียวเล็ก ๆ เฆี่ยนมัน ไม่เฆี่ยนไม่ได้ อันนี้บางทีก็ให้โทษมันบ้าง อย่าให้โทษมันเรื่อยไป ให้โทษมันเรื่อยไปมันก็ออกจากทางเท่านั้นแหละ ถ้าให้สุขมัน ให้คุณมันเรื่อย ๆ มันไปไม่ได้<O:p</O:p

    เด็กซุกซน <O:p></O:p>
    เปรียบกับเด็กที่ซุกซน เล่นสนุก ทำให้รำคาญจนเราต้องดุเอา ตีเอา แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนี้เอง พอรู้อย่างนี้ เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขา ความเดือดร้อน รำคาญของเราก็หมดไป เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็ก ความรู้สึกของเราจึงเปลี่ยนไป<O:p</O:p
    เรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย เราปล่อยวางได้ จิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็น นี่เรามีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว เป็นสัมมาทิฐฐิ ทีนี้ก็หมดปัญหาที่จะต้องแก้


    รับแขก <O:p></O:p>
    เรามาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ตื่นอยู่ คอยรักษาจิตของเราอยู่ ถ้าแขกมาเมื่อไรโบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหน มีที่นั่งเดียวเท่านั้น เราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน นี่คือพุทโธ ตัวตั้งมั่นอยู่ที่นี่ ทำความรู้นี้ไว้ จะได้รักษาจิต เรานั่งอยู่ตรงนี้ แขกที่เคยมาเยี่ยมเราตั้งแต่เราเกิดตัวเล็ก ๆ โน้น มาทีไรก็มาที่นี่หมด เราจึงรู้จักมันหมดเลย พุทโธอยู่คนเดียว<O:p</O:p
    พูดถึงอาคันตุกะ แขกที่จรมาปรุงแต่งต่าง ๆ นานา เราให้เป็นไปตามเรื่องของมัน อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมันนี่แหละเรียกว่า เจตสิก มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก ที่รับแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านี้เอง<O:p</O:p
    เราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้ว มันก็ไม่มีที่นั่ง มันมาที่นี่ มันก็จะมาพูดกับเรา ครั้งนี้ไม่ได้นั่ง ครั้งต่อไปก็จะมาอีก มาเมื่อไรก็พบผู้ที่นั่งอยู่ ไม่หนีสักที มันจะทนมากี่ครั้ง เพียงพูดกันอยู่ที่นั่น เราก็จะรู้จักหมดทุกคน พวกที่ตั้งแต่เรารู้เดียงสาโน้น มันจะมาเยี่ยมเราหมดนั่นแหละ<O:p</O:p

    บุรุษจับตัวเหี้ย<O:p></O:p>
    วิธีกำหนดอารมณ์ จับอารมณ์ ให้รู้จักจิตของตน ให้รู้จักอารมณ์ของตน เปรียบโดยวิธีที่บุรุษทั้งหลายจับตัวเหี้ย ตัวเหี้ยตัวหนึ่งเข้าไปในโพรงจอมปลวกที่มีรูอยู่หกรู ก็ปิดรูนั้น ๆ เสียห้ารู เหลือรูเดียวให้ตัวเหี้ย ออกแล้วนั่งจ้องมองที่รูเดียวนั้น ตัวเหี้ยออกมาก็จับได้ ฉันใด<O:p</O:p
    การกำหนดจิตก็ฉันนั้น ปิดตา ปิดหู ปิดจมูก ปิดลิ้น ปิดกาย เหลือแต่จิตอันเดียวเปิดไว้ คือ การสำรวมสังวร กำหนดจิตอย่างเดียว<O:p</O:p
    การภาวนาก็เหมือนกับบุรุษจับตัวเหี้ย คือ กำหนดจิตให้อยู่ที่ลมหายใจ มีสติ ระมัดระวังรู้อยู่แล้ว กำลังทำอะไร มีสัมปชัญญะ คือ รู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งนั้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตขณะนั้น คือรู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งนั้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตขณะนั้น ทำให้รู้จัก<O:p</O:p

    แมงมุม <O:p></O:p>
    ได้ไปเห็นแมงมุมเป็นตัวอย่าง แมงมุมทำรังของมันเหมือนข่าย มันสาวข่ายไปขึงไว้ตามช่องต่าง ๆ เราไปนั่งพิจารณาดูมัน ทำข่ายขึงไว้เหมือนจอหนัง เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวเองเงียบอยู่ตรงกลางข่าย ไม่วิ่งไปไหน<O:p</O:p
    พอมีแมลงวันหรือแมลงอื่นบินผ่านข่ายของมัน พอถูกข่ายเท่านั้น ข่ายก็สะเทือน พอข่ายสะเทือนปุ๊บ มันก็วิ่งออกจากรังทันที ไปจับตัวแมลงไว้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวของมันไว้ที่กลางข่ายเหมือนเดิม ไม่ว่าจะมีผึ้งหรือแมลงอื่นใดมาถูกข่ายของมัน พอข่ายสะเทือน มันก็วิ่งออกมาจับแมลงนั้น แล้วก็กลับไปเกาะนิ่งอยู่ที่กลางข่ายไม่ให้ใครเห็นทุกทีไป<O:p</O:p
    เห็นแมงมุมทำอย่างนี้ เราก็มีปัญญาแล้ว อายตนะทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ใจนี้อยู่ตรงกลาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แผ่พังพานออกไป อารมณ์นั้นเหมือนแมลงต่าง ๆ พอรูปมาก็ถึงตา เสียงมาก็ถึงหู กลิ่นมาก็ถึงจมูก รสมาก็ถึงลิ้น โผฏฐัพพะมาก็ถึงกาย ใจเป็นผู้รู้จัก มันก็สะเทือนถึงใจ แค่นี้ก็เกิดปัญญาแล้ว<O:p</O:p
    เราจะอยู่ด้วยการเก็บตัวไว้ เหมือนแมงมุมที่เก็บตัวไว้ในข่ายของมันไม่ต้องไปไหน พอแมลงต่าง ๆ มันผ่านข่าย ก็ทำให้สะเทือนถึงตัว รู้สึกได้ก็ออกไปจับแมลงไว้ แล้วก็กลับอยู่ที่เดิม<O:p</O:p
    ดูแมงมุมแล้วก็น้อมเข้ามาหาจิตของเรา มันก็เหมือนกันเท่านั้น ถ้าจิตเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันกว้าง ไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์อีกแล้ว ก็เห็นชัดได้อย่างนี้ มันก็ได้ความเท่านั้นแหละ จะทำอะไรอยู่ก็สบาย ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว มีแต่การภาวนาจะเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น
    <O:p</O:p

    คลื่นกระทบฝั่ง <O:p></O:p>
    เรื่องทุกข์เรื่องไม่สบายใจนี่มันก็ไม่แน่หรอกนะ มันเป็นของไม่เที่ยง เราจับจุดนี้ไว้ เมื่ออาการเหล่านี้มันเกิดขึ้นมา เรารู้มันเดี๋ยวนี้ เราวาง กำลังอันนี้จะค่อย ๆ เห็นทีละน้อย ๆ เมื่อมันกล้าขึ้น มันข่มกิเลสได้เร็วที่สุด ต่อไปมันเกิดตรงนี้ มันดับตรงนี้ เหมือนกับน้ำทะเลที่กระทบฝั่ง เมื่อขึ้นมาถึงฝั่งมันก็ละลายเท่านั้น คลื่นใหม่มาอีก มันก็ละลายต่อไปอีก มันจะเลยฝั่งไปไม่ได้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ฝั่งทะเลอารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านเข้ามา มันก็เท่านั้นแหละ<O:p</O:p

    เลื่อย <O:p></O:p>
    แต่เมื่อมันรู้เห็นหมดแล้วธรรมะก็ไม่ได้แบกเอาไปด้วยอย่างเลื่อยคันนี้ เขาจะเอาไปตัดไม้ เมื่อเขาตัดไม้หมดแล้ว อะไรก็หมดแล้ว เลื่อยก็เอาวางไว้เลย ไม่ต้องไปใช้อีก เลื่อยก็คือธรรมะ ธรรมะต้องเอาไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุมรรคผล<O:p</O:p
    ถ้าหากว่ามันเสร็จแล้ว ธรรมะที่อยู่ก็วางไว้ เหมือนเลื่อยที่เขาตัดไม้ ท่อนนี้ก็ตัด ท่อนนี้ก็ตัด ตัดเสร็จแล้วก็วางไว้ที่นี่ อย่างนั้น เลื่อยก็ต้องเป็นเลื่อย ไม้ก็ต้องเป็นไม้ นี่เรียกว่าถึงหยุดแล้ว ถึงจุดของมันที่สำคัญแล้ว สิ้นการตัดไม้ ไม่ต้องตัดไม้ ตัดพอแล้ว เอาเลื่อยวางไว้<O:p</O:p

    กบกินเบ็ด <O:p></O:p>
    สัตว์ทั้งหลายเมื่อไปติดบ่วงเข้าแล้วลำบาก มันผูกไว้ดึงไว้ รอจนเจ้าของแร้วมา เหมือนกับนกไปติดแร้วเข้า แร้วมันรัดถูกคอดิ้นไปไหนก็ไม่หลุด ดิ้นปัดไปปัดมาอย่างนั้นแหละ มันผูกไว้คอยนายพรานเจ้าของแร้ว ครั้นเจ้าของมาเห็นก็จบเรื่อง นั่นแหละพญามาร นกกลัวมาก สัตว์ทั้งหลายกลัวมาก เพราะหนีไปไหนไม่พ้น<O:p></O:p>
    บ่วงก็เช่นกัน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นบ่วงผูกเอาไว้ เมื่อเราติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็เหมือนกับปลากินเบ็ด รอให้เจ้าของเบ็ดมา ดิ้นไปไหนก็ไม่หลุด อันที่จริงแล้ว มันยิ่งกว่าปลากินเบ็ด ต้องเปรียบได้กับกบกินเบ็ดเพราะกบกินเบ็ดนั้น มันกินลงไปถึงไส้ถึงพุง แต่ปลากินเบ็ด ก็กินอยู่แค่ปาก<O:p</O:p

    โฮ่ง ๆ ๆ <O:p></O:p>
    อาตมาเคยเห็นหมาตัวหนึ่ง เอาข้าวให้มันกิน มันกินแล้วกินไม่หมด มันก็นอนเฝ้าอยู่ตรงนั้น อิ่มจนกินไม่ได้แล้ว ก็ยังนอนเฝ้าอยู่ตรงนั้นแหละ นอนซึม ประเดี๋ยวก็ชำเลืองตาดูอาหารที่เหลือ ถ้าหมาตัวอื่นจะมากินไม่ว่าตัวเล็กตัวใหญ่ก็ขู่ โอ้!...ไก่จะมากินก็โฮ่ง ๆ ๆ ท้องจะแตกอยู่แล้ว จะให้เขากินก็ไม่ได้ หวงไว้<O:p</O:p
    มาดูคนเหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักธัมมะธัมโม ก็ไม่รู้จักผู้น้อยผู้ใหญ่ ถูกกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำจิตใจ แม้จะมีสมบัติมากมายก็หวงไว้ ไม่รู้จักเฉลี่ยเจือจาน แม้แต่จะให้ทานแก่เด็กยากจนหรือคนชราที่ไม่มีจะกินก็ยาก อาตมามาคิดดูว่า มันเหมือนสัตว์จริงหนอ คนพวกนี้ไม่มีคุณสมบัติของมนุษย์เลย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า มนุษย์เดรัจฉาโน มนุษย์เหมือนสัตว์เดรัจฉาน เป็นอย่างนั้น เพราะขาดความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา


    สุนัขบนกองข้าวเปลือก <O:p></O:p>
    เปรียบกับสุนัขนอนอยู่บนกองข้าวเปลือก ท้องร้องจ๊อก จ๊อก มันก็นอนอยู่ จิตวิตก จะไปกินที่ไหนหนอ ท้องมันหิว ก็โจนออกไปจากกองข้าวเปลือก วิ่งไปหาเศษอาหาร<O:p></O:p>
    อาหารมีอยู่ แต่มันไม่รู้จัก เพราะไม่เห็นข้าว มันกินข้าวเปลือกไม่ได้ความรู้มีอยู่ ไม่ปฏิบัติก็ไม่รู้เรื่อง โง่ขนาดสุนัขมันนอนบนกองข้าวเปลือก น่าสงสาร<O:p</O:p
    ข้าวสารมีอยู่แต่เปลือกมันปิด เหมือนกับวิมุตติมีอยู่แต่สมมติมันปิด<O:p</O:p

    มัจจุราช-เจ้าของไก่ <O:p></O:p>
    อยู่อย่างไก่ไม่รู้เรื่อง ตอนเช้าไก่ก็พาลูกคุ้ยเขี่ยหากินไป เย็นมาก็เข้าเล้านอน พรุ่งนี้ก็คุ้ยหากินไปอีก เจ้าของเขาโปรยข้าวให้กินทุกวัน มันก็ไม่รู้ว่าเขาเลี้ยงมันไว้ทำไม ไก่กับเจ้าของไก่มันคิดกันคนละอย่างกัน<O:p</O:p
    เจ้าของก็คิดแต่ว่าไก่มันหนักกี่กิโลแล้ว ไก่ก็เพลินกับอาหาร เจ้าของอุ้มน้ำหนักก็คิดว่าเขารัก<O:p</O:p
    เราเองก็ไม่รู้เรื่อง ไม่ว่ามาจากไหน จะอยู่ไปอีกกี่ปี จะไปทางไหน ใครเป็นผู้พาไป ไม่รู้เรื่อง<O:p</O:p
    มัจจุราช คือความตายน่ะ เหมือนเจ้าของไก่ มัจจุราชจะตามมาถึงเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ เพราะมัวแต่เพลิน เพลินกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่รู้จักแก่ ไม่รู้จักพอ<O:p</O:p

    หัวงู หางงู <O:p></O:p>
    มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข ความจริงสุขนั้นก็คือทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง ส่วนทุกข์ก็คือทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่าย ๆ สุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเหมือนงูตัวหนึ่ง ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา ไปจับหางมันก็ดูเหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน

    <O:p</O:pความดีใจ ความเสียใจ มันก็เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน คือ ตัณหาความลุ่มหลงนั่นเอง ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว เช่น ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ ได้มาแล้วก็ดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริง ๆ เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจว่ามันจะสูญเสียไป กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละ เป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ<O:p</O:p
    บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริง ๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก นี่หมายความว่าถึงจะสุขก็จริง แต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย แต่เราไม่รู้จัก เหมือนกันกับว่าเราจับงู ถึงว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วางมันก็หันกลับมากัดได้
    <O:p</O:p
    ฉะนั้น หัวงูก็ดี หางงูก็ดี บาปก็ดี บุญก็ดี อันนี้อยู่ในวงวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่หนทาง



    หมาขี้เรื้อน <O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ท่านเห็นไหมว่าเมื่อตอนเย็นวันนี้ หมาป่าตัวหนึ่งมันเดินอยู่ที่นี่ เห็นไหม? มันจะยืนอยู่มันก็เป็นทุกข์ มันจะวิ่งไปมันก็เป็นทุกข์ มันจะนั่งอยู่ก็เป็นทุกข์ มันจะนอนอยู่ก็เป็นทุกข์ เข้าไปในโพรงไม้มันก็เป็นทุกข์ จะเข้าไปอยู่ในถ้ำก็ไม่สบาย มันก็เป็นทุกข์ เพราะมันเห็นว่าการยืนอยู่นี้ไม่ดี การนั่งไม่ดี การนอนไม่ดี พุ่มไม้นี้ไม่ดี โพรงไม้นี้ไม่ดี ถ้ำนี้ไม่ดี มันก็วิ่งอยู่ตลอดเวลานั้น<O:p</O:p
    ความเป็นจริงหมาป่าตัวนั้นมันเป็นขี้เรื้อน มันไม่ใช่เป็นเพราะพุ่มไม้ หรือโพรงไม้หรือถ้ำ หรือการยืน การเดิน การนั่ง การนอน มันไม่สบายเพราะมันเป็นขี้เรื้อน"<O:p</O:p
    พระภิกษุทั้งหลายนี้ก็เหมือนกัน ความไม่สบายนั้นคือ ความเห็นผิดที่มีอยู่ ไปยึดธรรมที่มีพิษไว้มันก็เดือดร้อน ไม่สำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย แล้วก็ไปโทษแต่สิ่งอื่น ไม่รู้เรื่องของเจ้าของเอง ไปอยู่วัดหนองป่าพงก็ไม่สบาย ไปอยู่อเมริกาก็ไม่สบาย ไปอยู่กรุงลอนดอนก็ไม่สบาย ไปอยู่วัดป่าบุ่งหวายก็ไม่สบาย ไปอยู่ทุก ๆ สาขาก็ไม่สบาย ที่ไหนก็ไม่สบาย<O:p</O:p

    นี่ก็คือความเห็นผิดนั้นยังมีอยู่ในตัวเรานั่นเอง มีความเห็นผิด ยังไปยึดมั่นถือมั่นในธรรมอันมีพิษไว้ในใจของเราอยู่ อยู่ที่ไหนก็ไม่สบายทั้งนั้น นั่นคือเหมือนกันกับสุนัขนั้น ถ้าหากโรคเรื้อนมันหายแล้ว มันจะอยู่ที่ไหนมันก็สบาย อยู่กลางแจ้งมันก็สบาย อยู่ในป่ามันก็สบายอย่างนี้ ผมนึกอยู่บ่อย ๆ แล้วผมก็นำมาสอนพวกท่านทั้งหลายอยู่เรื่อย เพราะธรรมตรงนี้มันเป็นประโยชน์มาก<O:p></O:p>

    หนอน <O:p></O:p
    ถ้ามีความเห็นถูกขึ้นในใจของเราแล้วอยู่ที่ไหนก็สบาย แต่เพราะเรายังมีความเห็นผิดอยู่ ยึดธรรมอันมีพิษอยู่ แล้วมันก็ไม่สบาย ที่เรายึดอยู่อย่างนี้ก็เหมือนกับตัวหนอนนั่นแหละ ที่อยู่ของมันก็สกปรก อาหารของมันก็สกปรก ที่อยู่และอาหารของมันไม่ดีทั้งนั้น ไม่สมควร แต่ว่ามันสมควรกับหนอน ลองเอาไม้ไปเขี่ยมันออกจากมูตร ออกจากคูถดูสิ ตัวหนอนนั้นมันจะดิ้นกระเสือกกระสนไปทีเดียว มันจะดิ้นมาหากองคูถอย่างเก่า มันจึงจะสบาย อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น<O:p</O:p
    พระภิกษุสามเณรเราทั้งหลายนั้น ยังมีความเห็นผิดอยู่ครูบาอาจารย์มาแนะนำให้เห็นถูก มันก็ไม่สบายใจ มันวิ่งไปหากองคูถอยู่เรื่อย ๆ มันไม่สบายเพราะตรงนั้นเป็นที่อยู่ของมัน เมื่อหนอนนั้นมันยังมองไม่เห็นความสกปรกอยู่ในที่นั้น เมื่อนั้นมันก็ออกไม่ได้ พวกเราทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าไม่เห็นโทษทั้งหลายในสิ่งเหล่านั้น มันก็ออกไม่ได้ ปฏิบัติมันก็ยากลำบาก<O:p</O:p

    แม่น้ำ <O:p></O:p>
    เหมือนน้ำในแม่น้ำ ที่มันไหลลงไปในทางที่ลุ่ม มันก็ไหลไปตามสภาพอย่างนั้น อย่างแม่น้ำอยุธยา แม่น้ำมูล แม่น้ำอะไร ๆ ก็ตามเถอะ มันก็ต้องมีการไหลลงไปทางใต้ทั้งนั้นแหละ มันไม่ไหลขึ้นไปทางเหนือหรอก ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น<O:p</O:p
    สมมติว่าบุรุษคนหนึ่งไปยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ แล้วก็มองดูกระแสของแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวไปทางใต้ แต่บุรุษนั้นมีความคิดผิด อยากจะให้น้ำมันไหลขึ้นไปทางเหนือ อย่างนี้เป็นต้น เขาก็เป็นทุกข์ เขาคนนั้นจะไม่มีความสงบเลย ถึงแม้จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน เขาก็ไม่มีความสงบ เพราะอะไรล่ะ เพราะบุรุษนั้นคิดผิด<O:p</O:p

    ยา <O:p</O:p
    เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ ข้างนอกขวด เขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่าแก้โรคชนิดนั้น ๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวด อ่านไปตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่าโดยไม่ได้รับประโยชน์จากตัวยานั้นเลย แล้วเขาจะมาตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุดขวดกินยานั้นเลย


    เป็ดกับไก่ <O:p></O:p>
    คนสองคนเห็นเป็ดตัวหนึ่ง ไก่ตัวหนึ่ง คนหนึ่งคิดอยากจะให้ไก่เป็นเป็ด เป็ดเป็นไก่ มันก็เป็นไปไม่ได้ ในชั่วชีวิตหนึ่งมันก็ไม่เป็นให้ ถ้าคนนี้คิดอย่างนี้ไม่หยุดก็ต้องทุกข์ คนที่สองเห็นเป็ดก็เป็นเป็ด ไก่ก็เป็นไก่ นั่นแหละ ปัญหาไม่มีเห็นถูกแล้วไม่ทุกข์ อย่างนี้ก็เหมือนกัน<O:p</O:p
    อนิจจังเป็นของไม่เที่ยง อยากให้มันเที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงเมื่อไร ก็เสียใจเมื่อนั้น ถ้าใครเห็นว่าอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงอย่างนั้น คนนั้นก็สบาย ไม่มีปัญหา
    <O:p</O:p
    ตั้งแต่วันที่เราเกิดมา เราเดินหนีจากความจริง ไม่อยากจะให้เป็นอย่างนี้ ห้ามมันก็ไม่ได้ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ จะให้เป็นอย่างอื่นมันก็เป็นไม่ได้ เหมือนกับเป็ดจะให้มันเหมือนไก่ มันก็ไม่เหมือน เพราะมันเป็นเป็ด ไก่จะให้เหมือนเป็ด ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นไก่ ถ้าใครคิดก็ทุกข์ ถ้าคิดว่า "เออ! มันก็เป็นของมันอย่างนั้น" คิดเช่นนี้เราจะมีกำลัง เพราะสกนธ์ร่างกายนี้จะให้มันยืนนานถาวรไปเท่าไร ๆ ก็ไม่ได้<O:p></O:p>

    ถ้วยน้ำสกปรก <O:p></O:p>
    ทิฏฐิ คือ ความเห็นและความนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวง เกี่ยวกับตัวเขาเอง เกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า หลาย ๆ ท่านที่มาที่นี่ มีตำแหน่งการงานสูงในสังคม บางคนเป็นพ่อค้าที่มั่งคั่ง หรือได้ปริญญาต่าง ๆ ครูและข้าราชการ สมองของเขาเต็มไปด้วยความคิดเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ เขาฉลาดเกินกว่าที่จะฟังผู้อื่น<O:p</O:p
    เปรียบเหมือนน้ำในถ้วย ถ้าถ้วยมีน้ำสกปรกอยู่เต็ม ถ้วยนั้นก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ เมื่อได้เทน้ำเก่านั้นทิ้งไปแล้วเท่านั้น ถ้วยนั้นก็จะใช้ประโยชน์ได้ ท่านต้องทำจิตให้ว่าง<O:p</O:p
    จากทิฐฐิ แล้วท่านจึงจะได้เรียนรู้ การปฏิบัติของเรานั้นก้าวเลยความฉลาดหรือความโง่<O:p></O:p>
    ถ้าท่านคิดว่า 'ฉันเก่ง ฉันรวย ฉันเป็นคนใหญ่คนโต ฉันเข้าใจพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้งทั้งหมด' เช่นนี้แล้ว ท่านจะไม่เห็นความจริงในเรื่องของอนัตตาหรือความไม่ใช่ตัวตน ท่านจะมีแต่ตัวตน ตัวฉัน ของฉัน แต่พระพุทธศาสนาคือการละตัวตน เป็นความว่าง เป็นความไม่มีทุกข์ เป็นความดับสนิท คือ นิพพาน<O:p</O:p

    สอยมะม่วง <O:p></O:p>
    มะม่วงมันอยู่สูงห้าเมตร เราอยากได้ เอาไม้สิบเมตรมาสอยไม่ได้ มันยาวเกินไป เอาไม้สองเมตรมาสอยมันก็ไม่ได้ ไม่พอดี มันสั้นเกินไป เราอย่าเข้าใจว่าคนจบดอกเตอร์มาปฏิบัติสบายเหลือเกิน เพราะเรียนรู้มาพอแล้ว อย่าเข้าใจอย่างนั้น ดอกเตอร์มันยาวเกินไปก็ได้<O:p</O:p

    เกลือไม่เค็ม <O:p></O:p>
    พระรูปหนึ่งบอกว่าเป็นนักปฏิบัติ เมื่อมาขออยู่กับอาตมา ถามถึงระเบียบปฏิบัติ อาตมาจึงอธิบายให้ฟังว่า "เมื่อมาอยู่กับผม จะสะสมเงินทองและสิ่งของไม่ได้ ผมถือตามวินัย"<O:p</O:p
    ท่านพูดว่า "ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย"<O:p</O:p
    อาตมาบอกว่า "ผมไม่ทราบกับท่าน"<O:p</O:p
    ท่านเลยถามว่า "ถ้าผมจะใช้เงินทอง แต่ไม่ยึดไม่หมายจะได้ไหม"<O:p</O:p
    อาตมาตอบว่า "ได้ ถ้าท่านเอาเกลือมากินดูแล้วไม่เค็มก็ใช้ได้ ท่านจะพูดเอาเฉย ๆ เพราะท่านขี้เกียจรักษาของจุก ๆ จิก ๆ นี่มันยาก เมื่อเอาเกลือมากินท่านไม่เค็มแล้ว ผมจึงเชื่อ ถ้ามันไม่เค็มจะเอามาให้กินสักกะทอ (เข่งเล็ก) ลองดู มันจะไม่เค็มจริง ๆ หรือ เรื่องไม่ยึดไม่หมายนี้ ไม่ใช่เรื่องพูดเอง คาดคะเนเอา ไม่ใช่ ถ้าท่านพูดอย่างนี้อยู่กับผมไม่ได้"<O:p</O:p
    ท่านจึงลาไป

    <O:p</O:p
    ทางเปลี่ยว <O:p></O:p>
    อะไรทุกอย่าง ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอในใจของเราเอง ก็ยังไม่ปล่อยวาง คือว่า มีสองข้าง นี่ข้างหนึ่ง นี่ก็ข้างหนึ่ง คนเรานั้นจะแอบเดินมาข้างนี้หรือแอบเดินไปข้างนั้น ที่เดินไปกลาง ๆ ไม่ค่อยเดินหรอก มันเป็นทางเปลี่ยว เดี๋ยวรักก็ไปทางรัก พอชังก็ไปทางชัง จะปล่อยการรักการชังนี้ไป มันเป็นทางเปลี่ยว มันไม่ยอมไป<O:p</O:p

    หนาม <O:p></O:p>
    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันมิได้ให้ทุกข์แก่เรา เช่นเดียวกับหนาม หนามที่แหลม ๆ มันให้ทุกข์แก่เราไหม? เปล่า มันเป็นหนามอยู่อย่างนั้น มิได้ให้ทุกข์แก่ผู้ใด ถ้าเราไปเหยียบมันเข้าก็ทุกข์ทันทีทำไมจึงเป็นทุกข์ เพราะไปเหยียบมัน จึงว่าเป็นเพราะเรา<O:p</O:p

    แบกก้อนหิน <O:p></O:p>
    "การปล่อยวาง" ความจริงมันหมายความอย่างนี้ อุปมาเหมือนเราแบกก้อนหินหนักอยู่ก้อนหนึ่ง แบกไปก็รู้สึกหนัก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมัน ก็ได้แต่แบกอยู่นั่นแหละ พอมีใครบอกว่าให้โยนมันทิ้งเสียซิ ก็มาคิดอีกแหละว่า เอ๊ะ! ถ้าเราโยนมันทิ้งเสียแล้ว เราก็ไม่มีอะไรเหลือน่ะซิ ก็เลยแบกอยู่นั่นแหละ ไม่ยอมทิ้ง ถึงจะมีใครบอกว่า โยนทิ้งไปเถอะ แล้วจะดีอย่างนั้น เป็นประโยชน์อย่างนี้ เราก็ยังไม่ยอมโยนทิ้งอยู่นั่นแหละเพราะกลัวแต่ว่าจะไม่มีอะไรเหลือ ก็เลยแบกก้อนหินหนักไว้ จนเหนื่อยอ่อนเพลียเต็มทีจนแบกไม่ไหวแล้ว ก็เลยปล่อยมันตกลง<O:p</O:p
    ตอนที่ปล่อยมันตกลงนี่แหละ ก็จะเกิดความรู้เรื่อง การปล่อยวาง ขึ้นมาเลย เราจะรู้สึกสบาย แล้วก็รู้สึกได้ด้วยตนเองว่า การแบกก้อนหินนั้นมันหนักเพียงใด แต่ตอนที่เราแบกอยู่นั้น เราไม่รู้หรอกว่า การปล่อยวาง มันมีประโยชน์เพียงใด<O:p</O:p

    เสี้ยน <O:p></O:p>
    พระพุทธองค์ทรงให้หนีด้วยปัญญา เปรียบประหนึ่งว่า เรามีเสี้ยนหรือหนามน้อย ๆ ตำเท้าเราอยู่ เดินไปปวดบ้าง หายปวดบ้าง บางทีก็เดินไปสะดุดหัวตอเข้า ปวดขึ้นมาก็คลำดู คลำไปคลำมาไม่เห็นเลยขี้เกียจดูมันก็ปล่อยมันไป ต่อไป เดินไปถูกปุ่มอะไรขึ้นมาก็ปวดอีก มันเป็นอย่างนี้เรื่อยไป เพราะอะไรนะ<O:p</O:p
    เพราะเสี้ยนหรือหนามนั้นมันยังอยู่ในเท้าเรา ยังไม่ออก ความเจ็บความปวดมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น เมื่อมันปวดมา ก็คลำหามัน ไม่เห็นก็ปล่อยไป นาน ๆ เจ็บอีกก็คลำอีก อยู่อย่างนั้นเรื่อย ๆ ทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้นนะ เราต้องกำหนดรู้มัน ไม่ต้องปล่อยมันไป เมื่อมันเจ็บปวดขึ้นมา "เออ ไอ้หนามนี่มันยังอยู่นี่นะ"
    <O:p</O:p
    เมื่อความเจ็บปวดเกิดขึ้น ความคิดที่ว่าจะเอาหนามออกจากเท้าเราก็มีพร้อมกันมา ถ้าเราไม่เอามันออก ความเจ็บปวดมันก็เกิดขึ้น เดี๋ยวก็เจ็บ เดี๋ยวก็เจ็บ อยู่อย่างนี้ ความสนใจที่จะเอาหนามออกจากเท้าเรามันมีอยู่ตลอดเวลา ผลที่สุดวันหนึ่งต้องตั้งใจเอาหนามออกให้ได้ เพราะมันไม่สบาย อันนี้เรียกว่าการปรารภความเพียรของเราต้องเป็นอย่างนั้น มันขัดตรงไหน มันไม่สบายตรงไหน ก็ต้องพิจารณาที่ตรงนั้น แก้ไขที่ตรงนั้น แก้ไขหนามที่มันยอกเท้าเรานั่นแหละ งัดมันออกเสีย


    สุ่มปลา <O:p></O:p>
    ยังไม่เห็นโทษพอที่จะละมัน ไม่เห็นอานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นมาได้ การงานอันนั้นจึงไม่สำเร็จประโยชน์ เอาเล็บเขี่ยเล่นอยู่เฉย ๆ ถ้าเราเห็นโทษของมันอย่างชัดเจน เออ! เช่นคุณffice:smarttags" <?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ไปสุ่มปลา สุ่มไปเถอะ</st1:personName> รู้สึกว่ามีอะไรอยู่ในสุ่มของเรา มันดังคึ่กคั่ก ๆ เรานึกว่าปลา เอามือล้วงลงไป ไปเจอสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มันอยู่ในน้ำ ตาไม่เห็น แต่มีความรู้สึกในใจของเรานึกว่าเป็นปลาไหลบ้าง นึกว่าเป็นงูบ้างนะ จะทิ้งมันก็เสียดายมัน หากว่ามันเป็นปลาไหลแล้วก็เสียดาย จะจับไว้ถ้าหากว่ามันเป็นงูมันก็จะกัดเอา
    <O:p</O:p
    นี่เข้าใจไหม สงสัยอยู่ไม่ชัดเจน ไอ้ความอยากนี่มันมากอุตสาห์จับไว้ เผื่อมันจะเป็นปลาไหลนะ พอโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำ เห็นแสกคอมันลาย วางเลยไม่มีใครมาบอกว่า "อันนั้นงูวาง ๆ"<O:p</O:p
    ไม่มีใครบอกหรอก มันบอกมันเอง ยิ่งชัดกว่าเราบอกเสียด้วย เพราะอะไร เพราะเห็นโทษว่างูมันกัดเป็น ใครจะไปบอกมัน จิตนี้ ถ้าเราฝึกมันแล้ว รู้เช่นนั้นแล้ว มันไม่เอาหรอก<O:p</O:p

    กระโถน <O:p></O:p>
    เรื่องที่เป็นอนัตตาอันนั้น อนัตตานี้พูดศัพท์ง่าย ๆ ก็เรียกว่า ของไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แต่ว่ามันอาศัยอาการตัวตนอยู่ อาศัยอาการของอัตตาอยู่ อนัตตานั้นจึงมี เป็นอนัตตาที่ถูกต้องด้วย ถ้าอัตตานี้ไม่มีแล้ว อนัตตาก็ไม่ปรากฏขึ้นมา เช่นว่า คุณหมอไม่มีกระโถนใบนี้อยู่ในบ้าน เรื่องของกระโถนใบนี้ก็ไม่กวนกับคุณหมอเลย มันจะแตกมันจะร้าวหรือขโมยมันจะขโมยไปอย่างนี้ก็ไม่มีมากวนจิตใจของคุณหมอเลย เพราะมันไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย คืออะไร? ก็คือว่ากระโถนไม่มีในบ้านเรา
    <O:p</O:p
    ถ้าหากมีกระโถนขึ้นมาในบ้านเรา มันก็เป็นตัวอัตตาขึ้นมาแล้ว เมื่อกระโถนมันแตกมันก็กระทบ เมื่อกระโถนมันหาย มันก็กระทบ เพราะกระโถนนี้มีเจ้าของแล้ว อันนี้เรียกว่า อัตตา มันมีสภาวะอยู่อย่างนี้ ส่วนสภาวะที่ว่า อนัตตา นั้น คือ สภาวะที่ว่ากระโถนในบ้านเราไม่มี จะกลัวขโมยมันจะขโมยไปมันก็ไม่มีอันนั้นมันหมดสภาวะแล้ว เรียกว่า สภาวะธรรม มันมีสภาวะ มีเหตุ มีปัจจัย แต่เพียงมันยังเหลืออยู่เท่านั้น<O:p</O:p


    คณิตศาสตร์ <O:p></O:p>
    ดังนั้นก็สร้างบุญไปด้วย ก็พิจารณาไปด้วย คือกุศล คือปัญญานะ เพื่อจะทำลาย คล้าย ๆ กับวิธีเลขนะ มันมีคูณ มันมีบวก มันมีลบ มันมีหาร มันจึงจะได้จำนวนตามที่เราชอบใจ อันนี้เราไม่เอายังงั้นซิ เอาแต่วิธีคูณอย่างเดียวไม่มีที่ใส่วิธีคูณกับวิธีบวกกันเข้าไปเรื่อย ๆ วิธีลบไม่มี วิธีแบ่งก็ไม่ค่อยจะมีซะด้วยนะ ถ้ามีวิธีแบ่ง มันก็เบา มีวิธีลบมันก็เบาซิ มันมีวิธีบวกกับวิธีคูณมันก็ยิ่งไปกันใหญ่เท่านั้นแหละ<O:p</O:p

    เกลือ <O:p></O:p>
    ถ้าทำบุญเพื่อบรรเทาทุกข์ มันต้องทำบุญด้วย ทำกุศลธรรมด้วย ถ้าไม่เอากุศลธรรมก็ไม่มีปัญญา บุญอย่างเดียวเหมือนเนื้อกับปลาสด ๆ เอาทิ้งไว้เฉย ๆ มันก็เท่านั้นแหละ อาศัยเกลือเป็นอยู่เนื้อหรือปลาจึงมีอายุได้นาน หรือเอาเข้าตู้เย็นเสียอย่างนี้


    กะละมังคว่ำ <O:p></O:p>
    เมื่อเราละบาปแล้ว บำเพ็ญบุญเพิ่มเข้ามาทีละน้อย ก็มีหวังที่บารมีจะเต็มได้เหมือนกะละมังที่ตั้งหงายอยู่กลางแจ้ง แม้ฝนจะตกมาใส่ทีละหยด ๆ มันก็มีโอกาสที่จะเต็มได้<O:p</O:p
    เมื่อเราทำบุญ แต่ยังไม่ละบาป ก็เหมือนกับเราเอากะละมังไปคว่ำไว้กลางแจ้ง ฝนตกลงมาถูกก้นกะละมังเหมือนกัน แต่มันถูกข้างนอก ไม่ถูกข้างใน น้ำก็ไม่มีโอกาสที่จะเต็มกะละมังนั้นได้<O:p</O:p

    กะละมังรั่ว <O:p></O:p>
    การทำบาป แล้วบำเพ็ญบุญปิดช่องมันเสีย ก็เหมือนกับหม้อมันรั่ว ปิดช่องมันรั่ว แล้วเทน้ำใส่กะละมังรั่วก็อุดรูรั่วมัน แล้วเทน้ำใส่ เรียกว่าก้นกระทะไม่ดี ก้นหม้อไม่ดี การละบาปของเรายังไม่ดี ทำบุญลงไป มันก็ยังรั่ว เทน้ำใส่ลงไปมันก็ยังรั่วออกไปหมด จะเทใส่ลงไปทั้งวัน มันก็ซึมรั่วออกไปทีละน้อย น้ำก็เหือดแห้งไปหมด ไม่สำเร็จประโยชน์สมความต้องการของเราได้<O:p</O:p

    แม่พิมพ์ <O:p></O:p>
    ครูเป็นแบบพิมพ์ แม่พิมพ์ของคน ควรจะหันมาหาธรรมะ มาปฏิบัติธรรม ประพฤติปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างของคนทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่พิมพ์สำหรับพิมพ์พระ<O:p</O:p
    ใครเคยเห็นไหม พิมพ์เดียวเท่านั้นแหละ เขาทำอย่างดีเลย เขาแกะหน้าตาคิ้วคางให้ดี ไม่ให้บิดเบี้ยว ไม่ให้เว้าแหว่ง เพื่อจะอัดพระพิมพ์ให้เป็นรูปงาม เมื่ออัดมาก็งามจริง ๆ เพราะพิมพ์ดีเพียงพิมพ์เดียว นี้ฉันใด
    <O:p</O:p
    ครูซึ่งเป็นแม่พิมพ์ของศิษย์และผู้คนทั้งหลายนั้นก็เหมือนกันฉันนั้น จำเป็นจะต้องทำตนให้งามอยู่ด้วยคุณธรรมของความเป็นครูเป็นอาจารย์ ควรประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัย และร่องรอยของผู้นำทางอยู่เสมอ สิ่งชั่วช้ามัวเมาควรละออกไปให้หมด จรรโลงศีลธรรมให้สูงกลับคืนมา ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก ๆ<O:p</O:p

    เถาวัลย์ <O:p></O:p>
    เด็กนั้นก็เหมือนกับเถาวัลย์นั่นแหละ เมื่อเถาวัลย์เกิดขึ้น ณ ที่ใด มันจะต้องหาต้นไม้ที่จะเลื้อยขึ้นเสมอ ในเมื่อต้นไม้ต้นหนึ่งอยู่ใกล้ ๑๕ เซนติเมตร ถ้าอีกต้นหนึ่งอยู่ห่าง ๑๐ เมตร คุณว่ามันจะเลื้อยขึ้นต้นไหน มันก็จะเลื้อยขึ้นต้นที่อยู่ใกล้ที่สุดนั่นแหละ ต้นที่อยู่ห่าง ๑๐ เมตรโน่น มันคงไม่เลื้อยไปหรอก เพราะมันไกลเกินไป<O:p</O:p
    ฉะนั้นครูเป็นผู้ที่ใกล้ชิดของเด็ก ๆ ทั้งหลายนั่นเองแหละเป็นผู้ที่เด็ก ๆ ทั้งหลายจะถือเอาเป็นแบบอย่าง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการประพฤติจรรยามารยาท เครื่องละเว้นเครื่องบำเพ็ญในเด็กดู อย่าสอนเขาแต่ปาก การยืน การเดิน การนั่ง การเคลื่อนไหว การพูดจาอะไรทุกอย่าง เราต้องทำให้เป็นการสอนเขาทั้งนั้น เด็ก ๆ เขาจะทำตาม เพราะเด็กนั้นไว เขาไวกว่าผู้ใหญ่<O:p</O:p

    พันธุ์ผลไม้ <O:p></O:p>
    อาตมายินดีเมื่อเห็นชาวกรุงลอนดอนเหมือนเห็นพี่น้อง จะเปรียบให้ฟังว่าดินก็ดี พันธุ์ผลไม้ก็ดี แต่ไม่มีใครมาปลูก มาทำสวน อย่างนั้นแหละ ปฏิรูปเทสพอสมควร จิตใจคนก็ดี สถานที่ก็ดี ดินฟ้าอากาศก็ดี สมบูรณ์บริบูรณ์ทั้งหมด แต่ว่าไม่มีใครมาสั่งสอน ประกาศพุทธศาสนาให้เข้าใจ มีความสุขยิ่งไปกว่านี้ เหมือนพันธุ์ผลไม้ก็ดี ดินก็ดี แต่ไม่มีใครมาปลูก อาตมารู้สึกอย่างนั้น...ดีไหม โยมจะเอาพระมาประกาศพระพุทธศาสนาที่นี่ ดีไหม?


    แก้วแตก <O:p></O:p>
    โยมว่า "อย่ามาทำแก้วฉันแตกนะ" ของมันแตกได้ โยมจะไปห้ามมันไม่ได้ ไม่แตกเวลานี้ ต่อไปมันจะแตกเราไม่ทำแตก คนอื่นจะทำแตก คนอื่นไม่ทำแตก ไก่มันจะทำแตก <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าท่านให้ยอมรับ ท่านมองทะลุไปว่า แก้วใบนี้แตกแล้ว แก้วที่ไม่แตกนี้ ท่านให้รู้ว่ามันแตกแล้ว จับทุกทีใส่น้ำดื่มเข้าไปแล้ววางไว้ ท่านก็ให้เห็นว่าแก้วมันแตกแล้ว เข้าใจไหม นี่คือความเข้าใจของท่านเป็นอย่างนั้น เห็นแก้วที่แตกอยู่ในแก้วใบที่ไม่แตก เพราะเมื่อมันหมดสภาพแล้ว ไม่ดีเมื่อไรมันก็จะแตกเมื่อนั้น ทำความรู้สึกอย่างนี้แล้ว ก็ใช้แก้วใบนี้ไป รักษาไป<O:p</O:p
    อีกวันหนึ่ง พอมันหลุดมือแตก "ผัวะ" สบายไปเลย ทำไมสบาย เพราะเห็นว่ามันแตกก่อนแตกแล้ว เห็นไหม แต่ถ้าเป็นโยม "แหม ฉันถนอมมันเหลือเกิน อย่าทำให้มันแตกนะ" อีกวันหนึ่งสุนัขทำแก้วแตก เกลียดสุนัข ถ้าลูกทำแตกก็เกลียดลูก เกลียดทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้แก้วแตก เพราะเราไปกั้นฝายไว้ไม่ให้น้ำไหลออกไป กั้นไว้อย่างเดียว ไม่มีทางระบายน้ำ ฝายมันก็แตกเท่านั้นแหละใช่ไหม ต้องทำฝายแล้วทำทางระบายน้ำด้วย พอน้ำได้ระดับแค่นี้ ก็ระบายน้ำข้าง ๆ นี่ เมื่อมันเต็มที่ก็ให้มันออกข้างนี้ ท่านเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้น นั่นแหละเป็นทางระบายของท่าน อย่างนี้โยมจะสงบ นี่คือการปฏิบัติธรรมะ<O:p</O:p

    อัดเทปภายใน <O:p></O:p>
    คำสอนที่ผมขอมอบให้ในวันนี้ ถ้าการฟังธรรมทำให้ใจว่างสงบ ก็ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องจดจำอะไร บางท่านอาจจะไม่เชื่อ ถ้าเราทำใจให้สงบ ฟังแล้วก็ให้ผ่านไป แต่นำมาพิจารณาอยู่เรื่อย ๆ อย่างนี้ เราก็เหมือนเครื่องบันทึกเสียง เมื่อเราเปิดมัน มันก็อยู่ตรงนั้น อย่ากลัวว่าจะไม่มีอะไร เมื่อใดที่ท่านเปิดเครื่องบันทึกเสียงของท่าน ทุกอย่างก็อยู่ในนั้น<O:p</O:p
    เทปภายนอกนี่มันเสื่อมได้ ซื้อมาแล้วมันก็เสื่อมได้ เทปภายในของเรานั่นน่ะ เมื่อมันถึงใจแล้ว มันดีเหลือเกินนะโยม มันมีอยู่ตลอดเวลา ไม่เปลืองถ่าน<O:p</O:p

    ลูกโป่ง <O:p></O:p>
    ในครั้งพุทธกาล นั่งฟังธรรม บรรลุธรรมถึงขั้นที่สุด ในขณะที่นั่งฟังอยู่ก็มี มันเร็ว คล้ายกับลูกโป่ง ลมที่อยู่ในลูกโป่ง มันมีพลังที่จะดันออกมา พอเอาเข็มหมุดไปแทงนิดเดียวเท่านั้น ลมก็ฟื้ออกไปเลย<O:p</O:p
    อันนี้ก็ฉันนั้น พอได้ฟังธรรมถูกจริต มันพลิกความเห็นอย่างนั้นมาเป็นอย่างนี้ ก็บรรลุธรรมอย่างแท้จริงได้<O:p</O:p

    อย่าให้อายวัว <O:p></O:p
    วัวที่มันลากเกวียนบรรทุกของมาจากทางไกลน่ะ ยิ่งตะวันบ่ายคล้อยต่ำค่ำลงวัวมันก็เร่งฝีเท้ากระชั้นเข้าทุกครั้ง เพราะมันอยากจะให้ถึงที่เร็วๆ มันคิดถึงบ้าน<O:p</O:p
    คนเรายิ่งแก่ ยิ่งเจ็บไข้ ใกล้ความตาย ก็เป็นตอนที่จะต้องปฏิบัติภาวนาละ จะเอาความแก่ ความเจ็บ มาเป็นข้ออ้าง มันก็จะแย่กว่าวัวเท่านั้นแหละ


    น้ำมันกับน้ำ <O:p></O:p>
    น้ำมันกับน้ำท่ามันต่างกัน เหมือนกับคนฉลาดก็ต่างกับคนโง่ พระพุทธเจ้าก็ทรงอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แต่พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ พระองค์จึงทรงเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่ง สักว่า เท่านั้น<O:p</O:p
    พระองค์ทรงปล่อยวางมันไปเรื่อย ตั้งแต่ทรงเข้าพระทัยแล้วว่า ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิดพระองค์ไม่ทรงเอามันมาปนกัน<O:p</O:p
    ถ้าคิดได้ รู้สึกได้อย่างนี้ เราก็จะแยกมันได้ ความคิด ความรู้สึก อยู่ทางหนึ่ง ใจก็อยู่อีกทางหนึ่ง เหมือนกับน้ำมัน กับน้ำท่าอยู่ในขวดเดียวกัน แต่มันแยกกันอยู่<O:p</O:p

    พระสมมติ - พระแท้ <O:p></O:p>
    เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว สมมติว่าเป็นพระ ยังไม่ได้เป็นพระแท้นะ คือ เป็นพระเฉพาะกายโกนผมห่มเหลือง เท่านี้แหละ จึงเป็นพระโดยสมมติ<O:p></O:p>
    เหมือนกับการที่เขาเอาไม้มาแกะสลัก หรือเอาปูนมาปั้น หรือเอาทองมาหล่อมาหลอมขึ้น เป็นพระพุทธเจ้าโดยสมมติ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแท้<O:p</O:p
    ผู้ที่ยังเป็นพระสมมติ คือยังอาศัยความโลภ ความโกรธ ความหลงนั่นแหละเป็นอยู่ในใจ มันกั้นกลางเราไว้ในภพชาติทั้งหลาย ให้ถึงความสงบไม่ได้ ก็เพราะความโลภ <O:p</O:p
    ความโกรธ ความหลง ถ้าเอาโลภ โกรธ หลง ออกจากใจแล้ว มันจะถึงความบริสุทธิ์ ถึงความเป็นพระแท้ ซึ่งจะเป็นพระขึ้นในใจได้เท่านั้น<O:p</O:p

    ปลูกต้นไม้ <O:p></O:p>
    พระศาสดาทรงตรัสว่า เรื่องของมันเอง ถ้าเราไม่หยุดความเพียร จะช้าหรือเร็วเราบังคับไม่ได้ เหมือนปลูกต้นไม้ มันรู้จักของมัน มันอยากเร็วก็รู้ว่ามันหลง มันอยากช้าก็รู้ว่ามันหลง เมื่อทำแล้วจึงเกิดผลขึ้นมา<O:p</O:p
    เหมือนเราปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกพริกต้นนี้ หน้าที่ของเราคือขุดหลุมปลูก ให้น้ำ ให้ปุ๋ย รักษาแมลงให้มันเท่านั้น นี่คือเรื่องของเรา เรื่องศรัทธาของเรา ส่วนตัวพริกจะเกิดหรือไม่เกิด ก็เป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา จะไปดึงให้มันขึ้นมาก็ไม่ได้


    ขอของดีไปสู้กระสุน<O:p></O:p>
    ทหารคนหนึ่งไปกราบขอพระเครื่องกันกระสุนจากหลวงพ่อ
    ท่านบอกหน้าตาเฉยว่า "เอาองค์นั้นดีกว่า เวลายิงกันก็อุ้มไปด้วย"
    ท่านชี้ไปที่พระประธาน <O:p</O:p
    เอ๊า<O:p></O:p>
    มีเด็กหิ้วกรงขังนกมาชวนหลวงพ่อซื้อ
    เพื่อปล่อยนกในการทำบุญในสถานที่แห่งหนึ่ง
    "นกอะไร เอามาจากไหน"
    "ผมจับมาเอง"
    "เอ๊า...จับเองก็ปล่อยเองซิล่ะ"ท่านว่า
    <O:p</O:p
    ปวดเหมือนกัน<O:p></O:p>
    โยมผู้หญิงคนหนึ่งปวดขามาขอร้องหลวงพ่อเป่าให้
    "ดิฉันปวดขา หลวงพ่อเป่าให้หน่อยค่ะ"
    "โยมเป่าให้อาตมาบ้างซิ อาตมาก็ปวดเหมือนกัน"ท่านตอบ <O:p</O:p

    เรื่องของการเหาะเหินเดินอากาศ<O:p></O:p>
    มีผู้สงสัยถามไถ่หลวงพ่อว่า
    "เขาลือว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ เป็นแล้วเหาะได้ไหมครับ"
    "แมงกุดจี่มันก็เหาะได้"ท่านตอบ
    (แมงกุดจี่ - แมลงชนิดหนึ่งอยู่กับขี้ควาย) <O:p</O:p
    อีกครับหนึ่งมีผู้ถามคล้ายๆกันว่า
    "เคยอ่านพบเรื่องพระอรหันต์สมัยก่อนๆ เขาว่าเหาะได้จริงไหมครับ"
    "ถามไกลเกินตัวไป มาพูดถึงตอไม้ ที่จะตำเท้าเราดีกว่า" ท่านกล่าว
    <O:p</O:p

    อาย<O:p></O:p>
    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อรับนิมนต์เข้าวัง ขณะลงจากรถ
    มีท่านเจ้าคุณรูปหนึ่งเข้ามาทักว่า
    "คุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="ชา สะพายบาตรเข้าวัง">ชา สะพายบาตรเข้าวัง</st1:personName> ยังงี้ไม่นึกอายในหลวงหรือ"
    "ท่านเจ้าคุณไม่อายพระพุทธองค์หรือ ถึงไม่สะพายบาตรเข้าวัง"
    ท่านย้อน
    <O:p</O:p
    อาจารย์ที่แท้จริง<O:p</O:p
    ท่านชาคโรถูกหลวงพ่อส่งไปอยู่ประจำวัดสาขาแห่งหนึ่ง
    เมื่อมีโอกาสหลวงพ่อได้เดินทางไปเยี่อม
    "เป็นไงบ้างชาคโร ดูผอมไปนะ"หลวงพ่อทัก
    "เป็นทุกข์ครับหลวงพ่อ"ท่านชาคโรตอบ
    "เป็นทุกข์เรื่องอะไรล่ะ"
    "เป็นทุกข์เพราะอยู่ไกลครูบาอาจารย์เกินไป"
    "มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="ทั้งหก ฟังให้ดี">ทั้งหก
    ฟังให้ดี</st1:personName> ดูให้ดี เขาจะสอนให้เราเกิดปัญญา"
    <O:p</O:p
    อาจารย์นกแก้วนกขุนทอง<O:p></O:p>
    สมัยนี้มีครูบาอาจารย์สอนธรรมะมาก บางอาจารย์อาจสอนคนอื่นเก่ง
    แต่สอนตนเองไม่ได้เพราะว่าสอนด้วยสัญญา(ความจำได้หมายรู้)
    จำขี้ปากคนอื่นเขามาสอนอีกที หลวงพ่อเคยแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า<O:p</O:p
    "เรื่องธรรมะนี่จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องบอกกัน ไม่ใช่เอาความรู้ของคนอื่นมา
    ถ้าเอาความรู้ของคนอื่นมาก็เรียกว่าจะต้องเอามาภาวนาให้มันเกิดชัดกับเจ้าของ
    อีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่ว่าคนอื่นพูดให้ฟังเข้าใจแล้วมันจะหมดกิเลส ไม่ใช่อย่างนั้
    ได้ความเข้าใจแล้วก็ต้องเอามาขบเคี้ยวมันอีกให้มันแน่นอนเป็นปัจจัตตังจริงๆ
    (ปัจจัตตัง - รู้เห็นได้ด้วยตนเอง,รู้อยู่เฉพาะตน)


    นั่งมาก<O:p></O:p>
    วันหนึ่งหลวงพ่อนำคณะสงฆ์ทำงานวัด
    มีวัยรุ่นมาเดินชมวัดถามท่านเชิงตำหนิ
    "ทำไมท่านไม่นำพระเณรนั่งสมาธิ ชอบพาพระเณรทำงานไม่หยุด"
    "นั่งมากขี้ไม่ออกว่ะ"หลวงพ่อสวนกลับ ยกไม้เท้าชี้หน้าคนถาม
    "ที่ถูกนั้นนั่งอย่างเดียวก็ไม่ใช่ เดินอย่างเดียวก็ไม่ใช่ ต้องนั่งบ้าง
    ทำประโยชน์บ้าง ทำความรู้ความเห็นให้ถูกต้องไปทุกเวลานาที
    อย่างนี้จึงถูก กลับไปเรียนใหม่ ยังงี้ยังอ่อนอยู่มาก
    เรื่องการปฏิบัตินี้ถ้าไม่รู้จริงอย่าพูด มันขายขี้หน้าตนเอง"<O:p</O:p
    ยศถาบรรดาศักดิ์<O:p></O:p>
    ท่านกล่าวถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานมาไว้ครั้งหนึ่งว่า
    "สะพานข้ามแม่น้ำมูล เวลาน้ำขึ้นก็ไม่โก่ง เวลาน้ำลดก็ไม่แอ่น"<O:p</O:p

    โรควูบ<O:p></O:p>
    นักภาวนาคนหนึ่งถามปัญหาภาวนาของตนกับหลวงพ่อ
    "นั้งสมาธิบางทีจิตรวมค่ะ แต่มันวูบ ชอบวูบเหมือนสัปหงกแต่มันรู้ค่ะ
    มันมีสติด้วย เรียกว่าอะไรคะ"
    "เรียกว่าตกหลุมอากาศ"หลวงพ่อตอบ"ขึ้นเครื่องบินมักเจออย่างนั้น"


    ศักดิ์ศรี <O:p></O:p>
    หลวงพ่อเคยปรารภเรื่องภิกษุสะสมเงินทองปัจจัยส่วนตัวว่า
    "ถ้าผมสิ้นไป พวกท่านทั้งหลายค้นพบหรือเห็นปัจจัยเงินทองอยู่ในกุฏิผม
    โอ๊ย...เสียหายหมดเสียศักดิ์ศรีพระปฏิบัติ"<O:p</O:p

    วัดกับทางมาวัด <O:p></O:p>
    ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ทั้งสามประการนี้ท่านเรียกว่า มรรค มรรคนี้ยังมิใช่ศาสนา อีกทั้งยังไม่ใช่สิ่งที่พระศาสดาทรงต้องการอย่างแท้จริงเลย แต่ก็เป็นหนทางที่จะดำเนินเข้าไป<O:p</O:p
    เหมือนกับท่านมหามาจากกรุงเทพฯ จะมาวัดหนองป่าพง ท่านมหาคงไม่ต้องการหนทาง ต้องการจะถึงวัดต่างหาก แต่หนทางก็จำเป็นสำหรับท่านมหาที่จะต้องมา ฉะนั้น ถนนที่ท่านมหามาก็ไม่ใช่วัด มันเป็นเพียงถนนมาวัดเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมาตามถนนจึงจะถึงวัดได้<O:p></O:p>
    ศีล สมาธิ ปัญญา คือ ถนนที่จะเข้าไปถึงความสงบ ซึ่งเป็นจุดที่ต้องการ<O:p</O:p

    กุญแจภาวนา <O:p></O:p>
    การปฏิบัติเปรียบเหมือนกุญแจ กุญแจภาวนา แม่กุญแจจะเป็นอะไรก็ช่าง เราถือลูกกุญแจไว้ในมือ มันจะปิดแน่นเท่าไรก็ช่าง ถ้าเราเอาลูกกุญแจไปไขเปิดเมื่อไร ก็สำเร็จประโยชน์เมื่อนั้น ถ้ากุญแจไม่มีลูกกุญแจ ก็ไม่มีประโยชน์ของอยู่ในลัง เราก็เอาออกมาไม่ได้<O:p</O:p

    ร้อนกับเย็น <O:p></O:p>
    เหมือนไฟมันลุกตรงไหน มันร้อนตรงไหน มันก็ดับที่ตรงนั้น มันร้อนที่ไหนก็ให้มันเย็นตรงนั้น ก็เหมือนกับนิพพานก็อยู่กับวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารก็อยู่กับนิพพาน<O:p</O:p
    เหมือนกับความร้อนและความเย็น มันก็อยู่ที่เดียวกันนั่นเอง ความเย็นก็อยู่ที่มันร้อน เมื่อมันร้อนขึ้น มันก็หมดเย็น เมื่อมันหมดเย็น มันก็ร้อน<O:p</O:p

    ทำโต๊ะ ทำเตียง <O:p></O:p>
    การทำใจให้บริสุทธิ์ สงบระงับนั้นก็ดี แต่มันเป็นของยาก มันจะต้องผ่านจากข้างนอก คือ กาย วาจาให้เข้ามาได้ก่อน หนทางที่จะนำไปสู่ความบริสุทธิ์ นำไปสู่ความเป็นสมณะ เป็นหนทางที่ชำระโลภ โกรธ หลง ออกได้ ต้องสังวรสำรวม จึงเป็นของยาก แต่ถึงจะยากลำบากก็ช่างมัน<O:p</O:p
    เหมือนกับไม้ กว่าจะเอามาทำโต๊ะทำเตียงได้มันยากลำบากก็ช่างมัน มันต้องผ่านตรงนั้น จะเป็นโต๊ะเป็นเตียงได้ ก็ต้องผ่านของหยาบ ๆ มาก่อน
    <O:p</O:p
    เราทั้งหลายก็เช่นกัน เอาแต่ของที่ยังไม่เป็นมาทำให้เป็น ที่ยังไม่งามมาทำให้งาม ที่ยังใช้ไม่ได้มาทำให้ใช้ได้


    คอยเฝ้ามะม่วงตก <O:p></O:p>
    เอาความสงบมาพิจารณารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่มากระทบอารมณ์ แม้จะดี จะชั่ว จะสุข ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง เหมือนกับคนขึ้นต้นมะม่วงแล้วเขย่าให้ลูกหล่นลงมา เราอยู่ใต้ต้นมะม่วงก็คอยเก็บเอา ลูกไหนเน่าเราไม่เอา เอาแต่ลูกที่ดี ๆ ไม่เปลืองแรง เพราะไม่ได้ขึ้นต้นมะม่วงคอยเก็บอยู่ข้างล่างเท่านั้น<O:p</O:p

    น้ำในตุ่ม <O:p></O:p>
    เมื่อความชั่วทั้งหลายไม่มีในใจเรา โทษทั้งหลายจึงหมดไป ความเย็นมันก็เกิดขึ้นมา เพราะเรารักษาตัวเอง มันก็เป็นศีลขึ้นมา มันสงบก็เป็นสมาธิ จิตสงบระงับแล้ว ก็เบิกบานเกิดปัญญา รู้จักทำจิตของตนให้ผ่องใส อะไรชั่วเราก็ปล่อยไป อะไรผิด เราก็วางไป พิจารณาวางไป ปล่อยไป คล้าย ๆ กับน้ำในตุ่มนั่นแหละ
    <O:p</O:p
    เราเอาขันไปตักออกขันหนึ่งแล้วเททิ้ง ตักมาขันที่สองแล้วก็เททิ้ง ตักแล้วก็เททิ้งอยู่อย่างนั้น น้ำที่อยู่ในตุ่มมันก็ต้องมีเวลามีโอกาสที่จะแห้งหมดไปได้ จิตที่เข้าไปปฏิบัติ ก็อย่างนั้นเหมือนกัน<O:p</O:p
    ถ้าเราไม่เห็นอย่างนั้น ก็เหมือนตักน้ำใส่แล้วตักออก ตักใส่แล้วตักออกกัน ก็บุญ ๆ บาป ๆ ผิด ๆ ถูก ๆ ดี ๆ ชั่ว ๆ เดี๋ยวมันก็สบาย ก็ทุกข์อยู่อย่างนี้<O:p</O:p

    ทวนกระแสน้ำ <O:p></O:p>
    การปฏิบัตินั้นคือทวนกระแส ทวนกระแสน้ำใจของเราเอง ทวนกระแสของกิเลส อะไรที่เป็นของทวนกระแสแล้ว มันลำบาก พายเรือทวนกระแสก็ลำบาก สร้างคุณงามความดีนั้นก็ลำบากเสียหน่อยหนึ่งเพราะว่าคนเรามีกิเลส ไม่อยากจะทำ ไม่อยากจะยุ่งยาก ไม่อยากจะอดทน อยากจะปล่อยไปตามอารมณ์เสียเป็นส่วนใหญ่<O:p</O:p
    เหมือนน้ำน่ะแหละ มันก็ไหลไปตามเรื่องของมัน ถ้าปล่อยให้ไหลไปตามน้ำก็สบาย แต่ว่านั่นไม่ใช่ลักษณะการปฏิบัติ ลักษณะการปฏิบัติต้องฝืน ต้องฝืนกิเลส ฝืนใจของตัวเอง ข่มจิตเจ้าของ ทำความอดทนให้มากขึ้น มันจึงเป็นการปฏิบัติทวนกระแสน้ำ<O:p

    ต้นไม้โอนเอง <O:p></O:p>
    ตัณหา คือ ความอยาก นำเราไปสู่ทุกข์ อย่างนี้ ถ้าเราพิจารณาแล้วนะ มันจะโอนออกไปจากตัณหา มันพิจารณาตัณหา มันจะเขย่าตัณหานั้นให้หมด ให้เบาบางไปเอง<O:p</O:p
    เหมือนกับธรรมชาติต้นไม้นั่นแหละ มีใครไปบอก ไปสะกิดมันไหม มันก็พูดไม่ได้ ทำไม่ได้ แต่ว่ามันโอนออกไปข้างนอก ดูอย่างนี้ก็เป็นธรรมะแล้ว


    งานก่อนเงิน <O:p></O:p>
    บางคนต้องการจะมาปฏิบัติเพื่อเอาความสุขเฉย ๆ สุขมันจะเกิดมาจากไหนก่อน ? อะไรเป็นเหตุมัน ? ความสุขทั้งหลายนะมันต้องมีทุกข์ก่อน มันจึงจะมีสุข เราทำทุกสิ่ง ทำงานก่อนจึงได้เงินมาซื้อกินไม่ใช่หรือ ทำนาก่อนจึงจะได้กินข้าว มันต้องผ่านความทุกข์มาก่อนทุกอย่างนั่นแหละ<O:p</O:p

    กิ้งกือ <O:p></O:p>
    คนมาอยู่กันมาก ๆ มันก็ปฏิบัติกันได้ง่าย ถ้ามีความเห็นถูกต้องตรงกัน เมื่อมาน้อมลงเพื่อละทิฏฐิอันเดียวกัน มันก็ลงสู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เหมือนกัน จะว่ามีหลายองค์ มันจะเกะกะก็ไม่ได้ คล้าย ๆ ตัวกิ้งกือ ตัวกิ้งกือมีหลายขา มองดูน่ารำคาญ เหมือนกับว่ามันจะยุ่งกับขาของมัน แต่มันเดิน เดินไปเดินมา ความจริงมันไม่ยุ่ง มันมีจังหวะ มีระเบียบ<O:p</O:p
    ในทางพุทธศาสนาก็เหมือนกัน ถ้าปฏิบ้ติแบบสาวกของพระพุทธเจ้ามันก็ง่าย คือ การเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์และเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ถึงเราจะมีเป็นร้อยเป็นพัน เราจะมีมากแค่ไหนก็ช่างเถอะ มันก็ลงสายเดียวกันหมด<O:p</O:p

    สามในหนึ่ง <O:p></O:p>
    ปัญญา กับสมาธิ เมื่อเราพูดแยกกันออก ก็คล้าย ๆ คนละตัว แต่ความเป็นจริงเป็นตัวเดียวกันนั่นเองแหละ ปัญญาเป็นเครื่องเคลื่อนไหวของสมาธิเท่านั้น มันออกจากจิตอันนี้เอง แต่แยกกันออกไปเป็นคนละลักษณะ<O:p</O:p
    เหมือนมะม่วงใบหนึ่ง เมื่อมันเล็กก็ใบนี้ เดี๋ยวมันก็โตขึ้น เดี๋ยวมันก็สุก คือมะม่วงใบเดียวกัน ไม่ใช่คนละใบ<O:p</O:p
    ศีล สมาธิ ปัญญา ก็คือของอันเดียวกัน เหมือนมะม่วง นั่นแหละ เพียงแต่มันเป็นคนละอาการ<O:p</O:p

    เตา <O:p></O:p>
    ให้เห็นชัดในตัวของเราเป็น ปัจจัตตัง จะมีอารมณ์ภายนอกกระทบกระทั่งเข้ามา มันก็เป็นปัจจัตตังสม่ำเสมอ มันไม่ทิ้ง พูดง่าย ๆ เหมือนเขาเผาถ่านเผาอิฐ เตาถ่านเตาอิฐ เคยเห็นไหม ก่อไฟขึ้นหน้าเตาสักสองศอก หรือเมตรหนึ่ง มันจะดูดควันไฟเข้าไปในเตาหมดเลย ดูอันนั้นก็ได้ มันเห็นชัดอย่างนั้น<O:p</O:p
    อันนี้มันเป็นรูปเปรียบเทียบ ถ้าทำเตาเผาถ่าน เผาอิฐให้ถูกเรื่อง ถูกลักษณะของมัน ก่อไฟอยู่หน้าเตาสักสองสามศอก เมื่อมีควันขึ้นมา มันจะดูดเข้าไปในเตาหมดไม่มีเหลือเลย ความร้อนก็จะเข้าไปบรรจุในเตาหมดไม่หนีไปไหน ความร้อนจะเข้าไป ทำลายเร็วที่สุด นี่มันเป็นอย่างนั้น<O:p</O:p
    ความรู้สึกของผู้ประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน จะมีความรู้สึกดูดเข้าไปให้เป็นสัมมาทิฏฐิทั้งนั้น ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรสทั้งหลาย มันจะดูดเข้าไปให้เป็นสัมมาทิฐิทั้งนั้น จะเป็นสัมผัสที่เกิดปัญญาอย่างนั้นสม่ำเสมอตลอดเวลา


    กล้วย มะพร้าว <O:p></O:p>
    เปรียบง่าย ๆ ให้ฟัง เราไปซื้อกล้วยหรือซื้อมะพร้าวใบหนึ่ง จากตลาดแล้วก็เดินหิ้วมา อีกคนหนึ่งก็ถาม "ท่านซื้อกล้วยมาทำไม"<O:p</O:p
    "ซื้อไปรับประทาน"
    "เปลือกมันต้องรับประทานด้วยหรือ"
    "เปล่า"
    "ไม่เชื่อหรอก ไม่รับประทานแล้วเอาไปทำไมเปลือกมัน"<O:p</O:p
    หรือเอามะพร้าวใบหนึ่งมาก็เหมือนกัน
    "เอามะพร้าวไปทำไม"
    "จะเอาไปแกง"
    "เปลือกมันแกงด้วยหรือ"
    "เปล่า"
    "จะเอาไปทำไมล่ะ"
    <O:p</O:p
    เอ้า จะว่าอย่างไรล่ะ จะตอบปัญหาเขาอย่างไร<O:p</O:p
    ด้วยความอยาก ถ้าไม่อยากเราก็ไม่ได้ทำให้มันมีปัญญานะ การทำความเพียรก็เป็นเช่นนั้น คือทำด้วยการปล่อยวาง อย่างกล้วยอย่างมะพร้าว เอาไปทำไมเปลือกมัน ก็เพราะว่ายังไม่ถึงเวลาเอามันทิ้ง มันก็ห่อเนื้อในมันไปอยู่นั้น ยังไม่ถึงเวลาจะทิ้งก็ถือมันไว้ก่อน การประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน สมมติ วิมุตติ ก็ต้องปนกันอยู่อย่างนั้น เหมือนมะพร้าวมันจะปนอยู่ทั้งเปลือกทั้งกะลาทั้งเนื้อเราก็เอามาทั้งหมดแหละ เขาจะหาว่าเรากินเปลือกมะพร้าวอย่างไรก็ช่างเขา เรารู้จักของเราอยู่่<O:p</O:p

    กวาด <O:p></O:p>
    ข้อวัตรทั้งหลายมีกำลังมาก ที่ไหนในวัดที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นในกุฏิของเรา ในกุฏิคนอื่นก็ดี ที่มันสกปรกรกรุงรังทำเลย ไม่ต้องทำให้ใคร ไม่ต้องทำเอาหน้าเอาตาจากใคร ทำเพื่อข้อปฏิบัติของเรา กวาดกุฏิ กวาดเสนาสนะให้มันสะอาด ถ้าเราทำเช่นนี้ก็เหมือนเรากวาดของสกปรกออกจากใจของเรา เพราะเราเป็นผู้ปฏิบัติ อันนี้ให้มันมีอยู่ในใจของพวกเราทุกคน ความสามัคคีนั้นไม่ต้องเรียกร้องหรอก เป็นเลย
    <O:p</O:p
    อ้อยตาลหวานลิ้น <O:p></O:p>
    เคยกินอ้อยไหมล่ะ กินจากปลายไปโคนมันเป็นยังไง นั่นแหละยิ่งใกล้โคนเข้าไป ความหวานมันก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ๆ ขนาดว่าเหลือแค่นิ้วมือเท่านั้นยังไม่อยากทิ้งเลย มันเสียดายมดง่ามอยากจะกินด้วยยังไม่ได้กิน ให้มันเป็นอย่างนั้น ปฏิบัติธรรมให้เหมือนคนกินอ้อย<O:p</O:p

    วางแก้ว <O:p></O:p>
    ให้ทำด้วยการปล่อยวาง อย่าไปยึด ยึดอย่าให้มันมั่น เข้าใจไหมอย่าไปยึด แก้วใบนี้น่ะเรายึดมาดูเสียก่อน รู้แล้วก็วางมัน นี่เรียกว่าอย่าไปยึดมั่น คือยึดอย่าให้มันมั่น ยึดมาดูรู้เรื่องมันแล้วก็วางมัน สบาย อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น<O:p</O:p

    ไฟไหม้ น้ำท่วม <O:p></O:p>
    พระพุทธองค์ท่านก็ทรงสอนว่า ร่างกายจิตใจมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะไม่เป็นไปอย่างอื่น คือ เริ่มเกิดขึ้นมาแล้วก็แก่ แก่มาแล้วก็เจ็บ เจ็บมาแล้วก็ตาย อันนี้เป็นความจริงเหลือเกิน ซึ่งคุณยายก็พบอยู่ในปัจจุบันนี้ มันก็เป็นสัจธรรมอยู่แล้ว ก็มองดูมันด้วยปัญญาให้เห็นมันเสียเท่านั้น<O:p</O:p
    ถึงแม้ว่าไฟมันจะมาไหม้บ้านของเราก็ตาม ถึงแม้ว่าน้ำมันจะท่วมบ้านของเราก็ตาม ก็ให้มันเป็นเฉพาะบ้าน เฉพาะเรือน ถ้าไฟมันไหม้ ก็อย่าให้มันไหม้หัวใจเรา ถ้าน้ำมันท่วมก็อย่าให้มันท่วมหัวใจเรา ให้มันท่วมแต่บ้าน ให้มันไหม้แต่บ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกกายของเรา ส่วนจิตใจของเรานั้น ให้มันมีการปล่อยวางเพราะในเวลานี้มันสมควรแล้ว มันสมควรที่จะปล่อยแล้ว


    เรียนตามแบบ รบนอกแบบ<O:p></O:p>
    มีพระนักปริยัติบางรูป ท่านค้นคว้าตามตำรา เพราะได้เรียนมามาก อาตมาว่าทดลองดูเถอะ การกางแบบกางตำรานี่ ถึงเวลาเรียน ๆ ตามแบบ แต่เวลารบ ๆ นอกแบบ ไปรบตามแบบมันสู้ข้าศึกไม่ไหว ถ้าเอากันจริงจังแล้วต้องรบนอกแบบ<O:p</O:p

    มือ<O:p></O:p>
    ผู้ที่เรียนปริยัติ และผู้ปฏิบัติธรรมมักจะเข้าใจกันผิด ผู้เรียนปริยัติมักจะพูดว่า "พระที่เอาแต่ปฏิบัตินั้นท่านว่าตามความเห็นของท่าน" เขาพูดเช่นนั้น โดยไม่มีหลักฐานอะไร<O:p</O:p
    ที่จริงแล้วในความหมายหนึ่ง ทั้งสองอย่างก็เป็นอันเดียวกัน เราจะเข้าใจดีขึ้น ถ้าเปรียบเทียบกับฝ่ามือและหลังมือ เมื่อเรายื่นมือออกมารู้สึกคล้ายกับว่าฝ่ามือหายไป ที่จริงมันไม่ได้หายไปไหน มันแค่ซ่อนอยู่ข้างใต้เท่านั้น ทำนองเดียวกันเมื่อหงายมือขึ้น หลังมือก็หายไป ความจริงมันไม่ได้หายไปไหน แต่อยู่ข้างใต้นั้นเอง
    <O:p</O:p
    ควรจำเรื่องนี้ไว้ใช้ในการพิจารณาการปฏิบัติ ถ้าคิดว่ามันหายไปแล้ว เราก็หยุดการศึกษาและหวังให้ได้ผล แต่ไม่ว่าเราจะศึกษาธรรมะมากเพียงไรก็ตาม เราจะไม่เข้าใจเพราะเรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติที่แท้ของธรรมะแล้ว เราก็จะเริ่มปล่อยวาง อันนี้เป็นการยอมรื้อถอนความยึดมั่นออก ไม่ยึดติดอะไรอีกแล้ว หรือหากจะยึด มันก็จะน้อยลง ๆ<O:p</O:p
    นี่คือ ความแตกต่างของปริยัติและปฏิบัติ<O:p</O:p

    กล้วย<O:p></O:p>
    ผมก็บวชมา เข้าวัดตั้งแต่อายุ ๙ ขวบเลยพยายามมันอยู่อย่างนี้ แต่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องหรอกสมัยก่อน มารู้เมื่อเป็นพระนั่นแหละ พอบวชมาแล้ว โอ้โฮ้! มันกลัวทั้งนั้นแหละ มันคล้าย ๆ ว่าเห็นกามที่เขาอยู่นะ ไม่เห็นความสนุกกับเขา แต่เห็นความทุกข์มากกว่า มันคล้าย ๆ กับกล้วยน้ำว้าใบหนึ่ง เราไปทานมัน มันก็หวานดีอยู่ มันมีรสหวานก็รู้อยู่
    <O:p</O:p
    แต่เวลานี้ รู้อยู่ว่าเขาเอายาพิษไปฝังไว้ในกล้วยใบนั้น แม้จะรู้อยู่ว่ามันหวานเท่าไรก็ช่าง ถ้ากินไปแล้วมันจะตายใช่ใหม? ความเห็นมันเป็นเช่นนั้นทุกที ว่าจะกินก็เห็นยาพิษฝังอยู่ในนั้นทุกทีนั่นแหละ มันก็เลยถอยออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีอายุพรรษามากขนาดนี้แล้ว ถ้าเรามองเห็นแล้ว มันก็ไม่น่ากินเลยนะ


    ตกต้นไม้<O:p></O:p>
    ปฏิจจสมุปบาทธรรมก็เหมือนกัน อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ฯลฯ เราเคยเล่าเรียนมาศึกษามา ก็เป็นจริงคือท่านแยกเป็นส่วน ๆ ไป เพื่อให้นักศึกษารู้ แต่เมื่อมันเกิดมาจริง ๆ แล้วนับไม่ทันหรอก<O:p</O:p
    อุปมาเหมือนเราตกจากยอดไม้ก็ตุ๊บถึงดินโน่น ไม่รู้ว่ามันผ่านกิ่งไหนบ้าง จิตเมื่อถูกอารมณ์ปุ๊บขึ้นมา ถ้าชอบใจก็ถึงดีโน่น อันที่ติดต่อกันเราไม่รู้ มันไปตามที่ปริยัติรู้นั่นเอง แต่มันก็ไปนอกปริยัติด้วย มันไม่บอกว่าตรงนี้เป็นอวิชชา ตรงนี้เป็นสังขาร ตรงนี้เป็นวิญญาณ ตรงนี้เป็นนามรูป มันไม่ได้ให้ท่านมหาอ่านอย่างนั้นหรอก
    <O:p</O:p
    เหมือนกับการตกต้นไม้ ท่านพูดถึงขณะจิตอย่างเต็มที่ของมันจริง ๆ อาตมาจึงมีหลักเทียบว่า เหมือนกับการตกจากต้นไม้ เมื่อมันพลาดจากต้นไม้ไปปุ๊บ มิได้คณนาว่ามันกี่นิ้วกี่ฟุต เห็นแต่มันตูมถึงดินเจ็บแล้ว<O:p</O:p

    มีด<O:p></O:p>
    การฝึกจิตให้มีกำลังกับการฝึกกายให้มีกำลัง มีลักษณะอันเดียวกัน แต่มีวิธีต่างกัน การฝึกกายให้มีกำลังเราต้องเคลื่อนไหวอวัยวะ แต่การฝึกจิตให้มีกำลัง คือทำจิตให้หยุด ให้พักผ่อน เช่นทำสมาธิ พยายามปล่อยวางสิ่งทั้งหลาย ไม่ปล่อยจิตให้คิดอย่างนั้นอย่างนี้สารพัด ให้มีอยู่อารมณ์เดียว จิตก็จะมีกำลัง ปัญญาก็จะเกิด เช่นเดียวกับมีมีดเล่มหนึ่ง เราลับไว้ดีแล้ว มัวแต่ฟันหิน ฟันอิฐ ฟันหญ้าทั่วไป ฟันไม่เลือก มีดก็จะหมดความคม<O:p</O:p

    หัดเขียน<O:p></O:p>
    ในวันหนึ่ง ๆ ให้ได้ปฏิบัติเถอะ ขี้เกียจก็ทำ ขยันก็ทำ เราปฏิบัติธรรมะไม่ว่ากลางวันกลางคืน สงบก็ทำ ไม่สงบก็ทำ เหมือนกับเราเป็นเด็กไปเรียนหนังสือ จะเขียนไม่สวยในครั้งแรก มันตัวยาว ๆ ขายาว ๆ เขียนไปตามเรื่องของเด็ก นานไปก็สวยขึ้นงามขึ้นเพราะฝึกมัน<O:p</O:p

    เด็กกับผู้ใหญ่<O:p></O:p>
    สมาธิและปัญญา นี้ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะเข้าถึงความสงบระงับ โดยอาศัยวิธีทำสมาธิภาวนา จิตจะสงบอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะ และอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานช่วยให้เกิดปัญญาหรือวิปัสสนาได้ในที่สุด แล้วจิตก็จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่หรือเดินอยู่ในเมืองที่วุ่นวาย<O:p</O:p
    เปรียบเหมือนกับว่า ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่แล้ว เด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนาก็อาจจะพูดได้ว่าแยกออกจากกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน และถ้ามองอีกแง่หนึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน


    ไม้ท่อนเดียว<O:p></O:p>
    ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียว วิปัสสนาอยู่ปลายท่อนทางนี้ สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายท่อนไม้จะขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ถ้ายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายทั้งสองก็จะขึ้นด้วย อะไรจะเป็นตัววิปัสสนา อะไรจะเป็นตัวสมถะ ก็ตัวจิตนี่เอง<O:p</O:p

    การวาดเขียน<O:p></O:p>
    ไอ้ความสำเร็จในการปฏิบัตินี้มันมีเรื่องติดไปด้วยปัญญา วิปัสสนาภาวนา ปัญญากับจิตมันอยู่ร่วมกัน บางคนนะไม่ต้องไปทำอะไรมันมาก มันรวมเข้าไปของมัน อย่างคนที่มีปัญญาไม่ต้องไปทำอะไรมันมาก เรื่องสมาธิคล้าย ๆ ที่ว่าสมมติเราเป็นช่างวาดเขียน เราไปมองเห็นแล้ว และก็เข้าใจ ๆ จนมันติดอยู่ในใจของเรา เราไปเขียนออกมาจากใจของเราได้ ไม่ต้องไปนั่งวาดอยู่ตรงนั้น คนที่ไม่เข้าใจคนนั้นต้องไปนั่ง เขียนเสียก่อนให้มันซาบซึ้งเข้าไป อันนี้เรื่องปัญญาไม่ต้อง ไปนั่งเขียน เรามามองดูก็เข้าใจ เขียนมันไปเลยก็ได้ มันเป็นอย่างนี้<O:p</O:p

    อาหารที่เราชอบ<O:p></O:p>
    อารมณ์ของสมถกรรมฐานนี้ ถ้าไม่ถูกจริตของเรา มันก็ไม่สลดไม่สังเวช อันใดที่ถูกกับจริต อันนั้นก็จะประสบบ่อย ๆ มีความรู้สึกนึกคิดในอาการนั้นบ่อย ๆ แต่เราไม่ค่อยจะได้สังเกต จึงควรสังเกตเพื่อให้ได้ประโยชน์ เปรียบเหมือนกับอาหารที่เขาจัดมาให้สำรับหนึ่ง มันก็มีหลายอย่าง เราก็ชิมไปทุกถ้วย ทุกอย่างนั่นแหละ แล้วก็จะรู้เองว่า อาหารอย่างไหนที่เราชอบ อย่างไหนที่เราไม่ชอบ อย่างไหนชอบก็ว่ามีรสชาติอร่อยกว่าอย่างอื่น นี่พูดถึงอาหาร<O:p</O:p
    นี่ก็เทียบให้เห็นกับจริตของคนเรา กรรมฐานที่ถูกจริตมันก็สบาย<O:p</O:p

    ขายของ<O:p></O:p>
    ทีนี้ถ้าหากว่า เราเผลอไปนาทีหนึ่ง ก็เป็นบ้านาทีหนึ่ง เราไม่มีสติสองนาที เราก็เป็นบ้าสองนาที ถ้าไม่มีสติครึ่งวัน เราก็เป็นบ้าอยู่ครึ่งวัน เป็นอย่างนี้<O:p</O:p
    สตินี้คือความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไรทำอะไร ต้องรู้ตัว เราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้ คล้าย ๆ กับเราขายของอยู่ในบ้านเรา เราก็ดูของของเราอยู่ คนจะเข้ามาซื้อของหรือขโมยของของเรา ถ้าเราสะกดรอยมันอยู่เสมอ เราก็รู้เรื่องว่า คนๆ นี้มันมาทำไมเราจับอาวุธของเราไว้อยู่อย่างนี้ คือเรามองเห็น พอขโมยมันเห็นเรา มันก็ไม่กล้าจะทำเรา<O:p</O:p
    อารมณ์ก็เหมือนกัน ถ้ามีสติรู้อยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้ อารมณ์มันจะทำให้เราดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป จะไปยึดมั่นถือมั่นทำไม อันนี้ฉันไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวของเราอยู่ เรามีสติอย่างนี้ เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อย ๆ ไป ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอนไหน ๆ ก็ตาม

    <O:p
    หยดน้ำ สายน้ำ<O:p></O:p>
    จากจิตใจของเรานี้ ให้พยายามสม่ำเสมอ ระวังรักษาศีลห้าไว้ มันผิดพลาดไป หยุด...กลับมา...รักษาไปอีก บางทีมันหลงพลาดไปอีก รู้แล้ว กลับมา อย่างนี้ทุกครั้งทุกคราวสติมันถี่เข้า<O:p</O:p
    เหมือนน้ำในกาน้ำ เราปล่อยให้มันไหลเป็นหยดต๋อม...ต๋อม...ต๋อม นี่สายน้ำขาด เร่งปล่อยน้ำในกาขึ้นให้มาก น้ำก็ไหล ต๋อม ๆ ๆ ๆ ถี่เข้า เร่งเข้าอีก หายต๋อมเลยทีนี้ ไหลเป็นสายติดกันเลย เป็นสายน้ำ หยดน้ำไม่มี มันไม่หายไปไหน มันกลายเป็นสายน้ำ มันถี่จนติดกันอย่างนี้<O:p</O:p

    การเลี้ยงควาย<O:p></O:p>
    เรื่องปฏิบัติก็เช่นกัน เมื่อเราดูจิตของเราอยู่ ผู้รู้ดูจิตเจ้าของ ผู้ใดตามดูจิตผู้นั้นจักพ้นบ่วงของมาร<O:p></O:p>
    เปรียบเหมือนกับเราเลี้ยงควาย หนึ่งต้นข้าว สองควาย สามเจ้าของควาย ควายจะกินต้นข้าว ต้นข้าวเป็นของที่ควายจะกิน จิตของเราก็เหมือนควาย อารมณ์คือต้นข้าว ผู้รู้คือ เจ้าของควาย เวลาเลี้ยงควายก็คอยตามดูไม่ให้กินต้นข้าว ปล่อยควายไป แต่ก็พยายามดูมัน ถ้ามันเดินไปใกล้ต้นข้าว เราก็ตวาดมัน ควายได้ยินก็จะถอยออก แต่เราอย่าเผลอนะ อย่าไปนอนหลับกลางวันก็แล้วกัน ถ้าขืนนอนหลับ ต้นข้าวหมดแน่ ๆ<O:p</O:p

    ฟาดควาย<O:p></O:p>
    จิตของเราก็เหมือนควาย อารมณ์คือต้นข้าว ผู้รู้เหมือนเจ้าของ เวลาเราไปเลี้ยงควายทำอย่างไร ปล่อยมันไป แต่เราพยายามดูมันอยู่ ถ้ามันเดินไปใกล้ต้นข้าว เราก็ตวาดมัน ควายได้ยินก็จะถอยออก แต่เราอย่าเผลอนะ ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียงก็เอาไม้ฆ้อนฟาดมันจริง ๆ มันจะไปไหนเสีย<O:p</O:p

    คัดตัวบรรจง<O:p></O:p>
    การนั่งสมาธิแบบเดิมก็นั่งขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายตรง บางคนก็ว่าเดินก็ได้ นั่งก็ได้ คุกเข่าจะได้ไหม? ได้ แต่ว่าเราเป็นนักเรียนใหม่ เรียนหนังสือต้องคัดตัวบรรจงเสียก่อน ให้มันมีหัว มีหางเสียก่อน ถ้าเราเข้าใจดี แล้วเราเขียนอ่านเอง เราเขียนหวัดไปก็ได้ อย่างนี้ไม่ผิด แต่แบบเดิมมันต้องทำอย่างนั้นเสียก่อน<O:p</O:p

    หว่านข้าว<O:p></O:p>
    นั่งดูลมเข้าลมออกให้สบายอยู่อย่างนั้น อย่าให้มันหลง ถ้าหลงก็ให้หยุด ดูว่ามันไปไหน มันจึงไม่ตามลม ให้หามันกลับมา ให้มันมาแล่นตามลมอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วก็จะพบของดีสักวันหนึ่งหรอก ให้ทำอยู่อย่างนั้น ทำเหมือนกับว่าจะไม่ได้อะไร ไม่เกิดอะไร ไม่รู้ว่าใครมาทำ แต่ก็ทำอยู่เช่นนั้น เหมือนข้าวอยู่ในฉาง แล้วเอาไปหว่านลงดิน ทำเหมือนจะทิ้งหว่านลงในดินทั่วไปโดยไม่สนใจ มันกลับเกิดหน่อ เกิดกล้า เอาไปดำกลับได้กินข้าวเม่าขึ้นมา นั่นแหละเรื่องของมัน


    ส่งญาติ<O:p></O:p>
    ดูลม ให้กำหนดลม เอาจิตนั่นแหละไปรวมอยู่ที่ลม คือ ให้รู้ที่ลมในเวลานั้น ไม่ต้องไปรู้อะไรมากมาย กำหนดให้จิตมันน้อมไป ๆ ละเอียด ๆ เรื่อย ๆ ไป จนกว่าจะมีความรู้สึกน้อย ๆ มันจะมีความตื่นอยู่ในใจมากที่สุด
    <O:p</O:p
    อันนี้เวทนาที่เกิดขึ้นมาจะค่อย ๆ ระงับไป ๆ ผลที่สุดเราก็ดูลมเหมือนกับญาติมาเยี่ยมเรา เราก็จะตามไปส่งญาติขึ้นรถลงเรือ เราก็ตามไปถึงท่าเรือ ไปถึงรถ เราก็ส่งญาติขึ้นรถ เราก็ส่งญาติลงเรือ เขาก็ติดเครื่องเรือเครื่องรถไปลิ่วเท่านั้นแหละ เราก็มองไปเถอะ เมื่อญาติเราไปแล้ว เราก็กลับบ้านเรา เราดูลมก็เหมือนกันฉันนั้น เมื่อลมมันหยาบเราก็รู้จัก เมื่อลมมันละเอียดเราก็รู้จัก เมื่อลมมันละเอียดไปเรื่อย ๆ เราก็มองไป ๆ ตามไป น้อมไป ๆ ทำจิตให้มันตื่นขึ้น ทำลมให้มันละเอียดเข้าไปเรื่อย ๆ ผลที่สุดแล้วลมหายใจมันน้อยลง ๆ จนกว่าลมหายใจไม่มี มันก็จะมีแต่ความรู้สึกเท่านั้นที่ตื่นอยู่<O:p</O:p

    ไก่ในกรง<O:p></O:p>
    เรื่องสติกับจิตควบคุม พอถึงกันแล้ว ก็จะมีความรู้สึกอย่างหนึ่ง ถ้าจิตมันพอที่จะสงบแล้ว จิตที่มันถูกคุมขังอยู่ในที่สงบ เหมือนกับเรามีไก่ตัวหนึ่งที่ใส่ไว้ในกรงนั้น ไก่ที่อยู่ในกรงนั้นมันไม่ออกไปจากกรง แต่ว่ามันเดินไปเดินมาได้ในกรงนั้น อาการที่มันเดินไปเดินมานี้ไม่เป็นอะไร เพราะมันเดินไปเดินมาอยู่ในกรง ความรู้สึกของจิตที่เรามีสติสงบอยู่นั้น มีความรู้สึกในที่สงบนั้น ไม่ใช่เรื่องที่มันให้เราวุ่นวาย คือเมื่อมันคิด มันรู้สึก ให้มันรู้สึกอยู่ด้วยสงบ ไม่เป็นอะไร<O:p</O:p

    ลิง<O:p></O:p>
    ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าที่บ้านโยมมีลิงหนึ่งตัว โยมเลี้ยงลิงตัวหนึ่ง ลิงมันไม่อยู่นิ่งหรอก เดี๋ยวมันจับโน่นเดี๋ยวมันจับนี่สารพัดอย่าง ลิงมันเป็นอย่างนั้น ถ้าโยมมาถึงวัดอาตมา วัดอาตมาก็มีลิงตัวหนึ่งเหมือนกัน ลิงอาตมาก็อยู่ไม่นิ่งเหมือนกัน เดี๋ยวจับโน่นจับนี่ โยมไม่รำคาญใช่ไหม ทำไม ไม่รำคาญล่ะ เพราะโยมเคยมีลิงมาแล้ว เคยรู้จักลิงมาแล้ว
    <O:p</O:p
    "อยู่บ้านฉันก็เหมือนกันกับเจ้าตัวนี้อยู่วัดหลวงพ่อ ลิงหลวงพ่อก็เหมือนลิงของฉันนั่นแหละ มันลิงอย่างเดียวกัน" โยมรู้จักลิงตัวเดียวเท่านั้น โยมจะไปกี่จังหวัด จะเห็นลิงกี่ตัว โยมก็ไม่รำคาญใช่ไหม? นี่คือคนรู้จักลิง
    <O:p</O:p
    ถ้ารู้จักลิงก็ไม่เป็นลิงซิเรา ฮือ ถ้าเราไม่รู้จักลิง เห็นลิงเราก็เป็นลิง ใช่ไหม? เห็นมันไปคว้าโน่นจับนี่ก็ ฮือ...ไม่พอใจ รำคาญไอ้ลิงตัวนี้ นี่คือคนไม่รู้จักลิง<O:p</O:p
    คนรู้จักลิงเห็นอยู่บ้านก็ตัวเดียวกัน อยู่วัดถ้ำแสงเพชร ก็เหมือนกันอย่างนี้ มันรำคาญอะไร เพราะเห็นว่าลิงมันเป็นอย่างนั้น นี่ก็พอ สงบแล้ว ถ้ามันดิ้นมันก็ดิ้นแต่ลิง เราไม่เป็นลิง สงบแล้ว มันโดดหน้าโดดหลัง โยมก็สบายใจไม่รำคาญกับลิง เพราะอะไร เพราะโยมรู้จักลิง โยมจึงไม่เป็นลิง ถ้าโยมไม่รู้จักลิง โยมก็รำคาญ โยมรำคาญ โยมก็เป็นลิง เข้าใจไหม นี่เรื่องมันสงบอย่างนี้<O:p</O:p
    อารมณ์ เรารู้อารมณ์ เห็นอารมณ์ บางทีมันชอบ บางทีมันไม่ชอบอย่างนี้ ก็ช่างมันเป็นไร มันเป็นเรื่องของมัน มันก็เป็นอย่างนี้แหละ ก็เหมือนลิงน่ะแหละ ตัวไหน ๆ ก็ลิงอันเดียวกัน เรารู้อารมณ์ บางทีชอบบางทีไม่ชอบ เรื่องอารมณ์เป็นอย่างนี้ ให้เรารู้จักอารมณ์ รู้จักอารมณ์แล้วเราปล่อยเสียอารมณ์มันไม่แน่นอนหรอก มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้นแหละ
    <O:p</O:p
    เราดูมันไปก็อย่างนั้นแหละ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้รับอารมณ์เข้ามาปั๊บ ฮึ...ก็เหมือนกับเรามาเห็นลิง ลิงตัวนี้กับลิงตัวที่อยู่บ้านเราก็เหมือนกันอย่างนี้มันก็สงบเท่านั้นแหละ


    น้ำไหลนิ่ง <O:p></O:p>
    โยมรู้จักน้ำที่มันไหลไหม เคยเห็นไหม น้ำนิ่งโยมเคยเห็นไหม ถ้าใจเราสงบแล้ว มันจะเป็นคล้าย ๆ กับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม<O:p</O:p
    ตรงนั้นแหละ ตรงที่โยมคิดไม่ถึงหรอกว่า มันเฉยมันก็เกิดปัญญาได้ เรียกว่าดูใจของโยม มันจะคล้ายน้ำไหล แต่ว่านิ่ง ดูเหมือนนิ่ง แต่ว่าดูเหมือนไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง มันจะเป็นอย่างนั้น ปัญญาเกิดได้<O:p</O:p

    ทำเลข <O:p></O:p>
    ธรรมะก็เหมือนกับการทำเลข มันมีวิธีคูณ มีวิธีแบ่ง มีวิธีบวก มีวิธีลบ ถ้าเราคิดได้อย่างนี้ก็จะเป็นคนฉลาด รู้จักกาล รู้จักเวลา ควรลบก็ลบ ควรคูณก็คูณ ควรแบ่งก็แบ่งควรรวมก็รวมกันเข้า ถ้าคูณทุกที ใจคนมันจะตายอยู่แล้ว คือ เรื่องไม่รู้จักพอนั่นเอง ไม่รู้จักพอก็ไม่รู้จักแก่<O:p</O:p
    คนรู้จักแก่ คือ คนรู้จักพอ ถ้ามันพอแล้ว คำที่ว่า เอาละ มันก็พ้นขึ้นมา แต่ถ้าไม่พอ คำว่า เอาละ ก็ไม่พ้นขึ้นมา ก็เอาตะพึดไม่เคยเหวี่ยง ไม่เคยปลงไม่เคยวางทั้งสิ้น เอาตลอด ถ้า เอาละ มันก็สบาย มันพอแล้ว<O:p</O:p

    ท่อนไม้ในคลอง <O:p</O:p
    เปรียบเสมือนหนึ่งว่า เราตัดไม้สักท่อนหนึ่ง เอาทิ้งลงในคลอง แล้วมันก็ไหลไปตามน้ำในคลองนั้น ถ้าท่อนไม้ท่อนนั้นมันไม่ผุ ไม่เน่า ไม่พัง มันไม่ติดอยู่ฝั่งโน้น ฝั่งนี้ มันก็ไหลไปตามคลองอยู่เรื่อยไป ผมเชื่อแน่ว่าจะถึงทะเลใหญ่เป็นที่สุด<O:p</O:p
    อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น พวกท่านทั้งหลายประพฤติปฏิบัติตามแนวทางของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา แล้ว เดินไปตามมรรคที่พระองค์ทรงสอน เดินไปตามกระแสให้มันถูกต้อง ให้มันพ้นจากสิ่งทั้งสอง สิ่งทั้งสองอย่างนั้นคือ อะไร คือสองข้างที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ อันไม่ใช่ทางของสมณะที่จะคิดไปที่จะเอาจริงเอาจังกับสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น<O:p</O:p
    คือ กามสุขัลลิกายุโยโคประการหนึ่ง กับอัตตกิลมถานุโยโคอีกประการหนึ่ง อันนี้แหละเรียกว่าฝั่ง ฝั่งทั้งสองข้าง ฝั่งของคลอง ของแม่น้ำ ท่อนไม้ที่ปล่อยไปตามคลอง ตามกระแสน้ำ ก็คือจิตของเรา<O:p></O:p>

    บ้านที่แท้จริง <O:p></O:p>
    บ้านข้างนอก ไม่ใช่บ้านที่แท้จริง เป็นบ้านสมมติ บ้านอยู่ในโลกส่วนบ้านที่แท้จริงของเรา คือ ความสงบ พระพุทธเจ้าทรงให้สร้างบ้านเรือนตัวเองโดยวิธีปล่อยวางให้มันถึงความสงบ
    <O:p</O:p

    สู่ทะเล <O:p></O:p>
    ห้วยหนองคลองบึงต่าง ๆ ที่มันไหลลงสู่ทะเล เมื่อมันไปตกถึงทะเลแล้ว มันก็มีสีคราม รสเค็มด้วยกัน<O:p</O:p
    มนุษย์เราทั้งหลายก็เช่นกัน จะอยู่คนละทิศคนละทางก็ช่าง จะอยู่ที่ไหนก็ตาม เมื่อลงสู่กระแสของธรรมะแล้ว มันก็ลงสู่ธรรมะอันเดียวกัน<O:p</O:p

    น้ำใต้ดิน <O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าคือพระธรรม แลพระธรรมก็คือพระพุทธเจ้า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น เป็นธรรมะที่มีอยู่ประจำโลก ไม่สูญหาย เหมือนกับน้ำที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดิน ผู้ขุดบ่อลงไปให้ถึงน้ำ ก็จะเห็นน้ำ ไม่ใช่ว่าผู้นั้นไปแต่งขึ้น ทำให้มีน้ำขึ้น บุรุษนั้นลงกำลังขุดบ่อเท่านั้น ให้ลึกไปให้ถึงน้ำ น้ำก็มีอยู่แล้ว<O:p</O:p
    ฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญาก็จะเห็นได้ว่าเราไม่ได้อยู่ห่างพระพุทธเจ้าเลย เดี๋ยวนี้เราก็ยังนั่งอยู่ตรงหน้าพระพุทธเจ้า เราเข้าใจธรรมะเมื่อใด เราก็เห็นพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น ผู้ใดที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน อยู่ ณ ที่ใด ผู้นั้นย่อมได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าตลอดเวลา<O:p</O:p

    วิชาไม่หาย <O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าคือธรรมะ ธรรมะก็คือพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ ตรัสรู้นี่ท่านไม่เอาไปหรอก ท่านก็ทิ้งไว้ในนี้แหละ ถ้าพูดง่าย ๆ อย่างพวกครูเราน่ะ ครูในโรงเรียนไม่ได้เป็นครูมาแต่กำเนิดหรอก มาเรียนวิชาครูถึงได้เป็นครูกัน ได้สอนในโรงเรียนได้เงินเดือนกับเขา อยู่ไปนาน ๆ ก็เลยตายซะ ตายจากครูไปซะ ถ้าหากพูดอย่างหนึ่งก็ว่า ครูนั้นยังไม่ตาย คือคุณธรรมที่ทำครูให้เป็นครูนั้นยังอยู่ อย่างพระพุทธเจ้าของเราน่ะ สัจธรรมที่ทำให้คน ๆ นั้นเป็นพระพุทธเจ้านี่ยังอยู่ไม่หนีไปไหน<O:p</O:p

    ช้าง วัว ควาย <O:p></O:p>
    การฝึกจิตให้ดีย่อมสำเร็จประโยชน์ เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอามาใช้งานต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมัน ทำประโยชน์นานาประการ ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้ว จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวกได้เปลี่ยนภาวะจากปุถุชนมาเป็นพระอริยบุคคลจนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไป และท่านได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เรา ๆ จะกำหนดเพราะพระพุทธองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้น
    <O:p</O:p
    จิตที่เราฝึกดีแล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่าง ยังเป็นหนทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบ ไม่เป็นผู้หุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผล และได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ


    ต้นไม้กับกายเรา <O:p></O:p>
    เหมือนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง มันมีราก โคน ลำต้น ใบ ใบทุกใบ กิ่งทุกกิ่งทั้งลำต้น อาศัยรากดูดกินอาหารส่งขึ้นไปหล่อเลี้ยง<O:p</O:p
    ร่างกายของเรา ทั้งกายทั้งวาจานี้ หรืออายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้เปรียบเหมือนกิ่ง ก้าน ลำต้น ใจเปรียบเป็นรากดูดกินอาหาร แล้วแบ่งขึ้นสู่ลำต้น แบ่งไปหากิ่ง หาใบ ให้เป็นดอกเป็นผล<O:p</O:p

    สตังหาย <O:p></O:p>
    เหมือนกับญาติโยมทั้งหลาย ออกไปจากบ้านเป็นต้น แล้วกระเป๋าสตางค์หาย มันหล่นอยู่กลางทางโน่น ยังไม่ทันรู้จักพากันสบายอยู่ สบายเพราะยังไม่รู้จักว่าสบายนี้เพื่ออะไร สบายเพื่อจะไม่สบายอีกต่อไป เมื่อต่อไปเราได้เห็นว่าเงินเสียไปแล้วจริง ๆ ก็เกิดความไม่สบายขึ้น คือมันเกิดขึ้นมาเมื่อเรารู้จักต่อหน้า บาปบุญคุณโทษนี้ก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้รู้จัก ถ้ามันไม่รู้จัก มันก็ไม่รู้จักผิด ไม่รู้จักถูก ไม่รู้จักดี ไม่รู้จักชั่ว<O:p</O:p

    ล้อเกวียน - รอยเกวียน <O:p></O:p>
    วัฏฏะก็เหมือนกับล้อเกวียน โคลากเกวียนไป ล้อเกวียนมันไม่ยาว ถ้าโคตัวนั้นมันลากไปไม่หยุด รอยเกวียนมันก็ทับรอยโคไปไม่หยุด มันกลมแต่ว่ามันยาวก็ได้ จะว่ามันยาวก็ได้ แต่ว่ามันกลม เราเห็นความกลมเช่นนี้ ก็ไม่เห็นความยาว ในวงเกวียนอันนั้นเมื่อโคลากไปไม่หยุด ล้อเกวียนก็หมุนไปไม่หยุด<O:p</O:p
    อีกวันหนึ่ง โคมันหยุด มันเหนื่อย สลัดแอกออกไปเสีย โคไปโค เกวียนไปเกวียน ล้อเกวียนก็หยุดเอง ทิ้งอยู่นาน พอนานไปมันก็เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ถมทับเป็นดินหญ้าอย่างเดิม<O:p</O:p
    คนทำกรรมก็เหมือนกัน มันไม่จบเรื่อง คนพูดความจริงก็ไม่จบ คนมิจฉาทิฏฐิก็ไม่จบ<O:p</O:p

    ก้อนน้ำแข็ง <O:p></O:p>
    ก้อนน้ำแข็งใหญ่เอาไปวางไว้กลางแจ้ง จะดูความเสื่อมของก้อนน้ำแข็ง ก็เหมือนสังขารนี้มันจะเสื่อมทีละน้อย ไม่กี่นาที ไม่กี่ชั่วโมง ก้อนน้ำแข็งนี้ก็จะละลายหมดเป็นน้ำไปที่เรียกว่าเป็น ขัยยะวัยยัง<O:p</O:p
    ความสิ้นไป ความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลายเป็นมานานแล้วตั้งแต่มีโลกขึ้นมา เราเกิดมาเราเก็บเอาสิ่งเหล่านี้มาด้วย ไม่ใช่ว่าเราทิ้งไปไหน พอเกิดมาเราก็เก็บเอาความเจ็บ ความแก่ ความตายมาพร้อมกันดูอาการที่มันเสื่อมซิ ร่างกายของเรานี้ ทุกส่วนมันเสื่อม ผมมันก็เสื่อมไป ขนมันก็เสื่อมไป เล็บมันก็เสื่อมไป หนังมันก็เสื่อมไป อะไรทุกอย่างมันเสื่อมไปทั้งนั้น เสื่อมไปตามธรรมชาติของมัน


    ลูกคน - ลูกกระสุน <O:p></O:p>
    ลูกกระสุนยิงโป้งออกไปข้างนอก ลูกคนยิงโป้งมาโดนที่ใจเรานี้ ดีก็มาถูกตัวนี้ ชั่วก็มาถูกตัวนี้<O:p</O:p
    อย่างนี้เรียกว่ามันเป็นกรรม ลูกเรานั่นแหละ มีคนดี มีคนชั่ว ทั้งดีทั้งชั่ว ก็เป็นลูกเราทั้งนั้น เขาเกิดมาแล้ว ดูซิคนที่ไม่ดีขนาดไหนก็ยิ่งรัก เกิดมาเป็นโรคโปลิโอ ขาเป๋ ดูซิรักคนนี้กว่าเขาแล้ว จะออกไปจากบ้าน เพราะรักคนนี้จึงต้องสั่งว่า ดูน้อง ดูคนนี้ด้วยเถิด เมื่อจะตายจากไป ก็สั่งไว้ให้ดู ให้ดูคนนี้ ดูลูกฉันคนนี้ มันไม่แข็งแรง ยิ่งรักมันมาก<O:p</O:p

    ไก่ป่า <O:p></O:p>
    ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างไก่ป่า เราก็รู้จักทุกคนว่าไก่ป่านั้นเป็นอย่างไร สัตว์ในโลกนี้ที่จะกลัวมนุษย์ยิ่งไปกว่าไก่ป่านั้นไม่มีแล้ว เมื่ออาตมาอยู่ในป่านี้ครั้งแรก ก็เคยสอนใครไก่ป่าเคยเฝ้าดูมันแล้วก็ได้ความรู้จากไก่ป่าหลายอย่าง<O:p</O:p
    ครั้งแรกมันมาเพียงตัวเดียว เดินผ่านมา เราก็เดินจงกรมอยู่ในป่า มันจะเข้ามาใกล้ ไม่มองมันมันจะทำอะไร ก็ไม่มองมัน มันจะเข้ามาใกล้ ไม่มองมัน มันจะทำอะไรก็ไม่มองมัน ไม่ทำกิริยาอันใดกระทบกระทั่งมันเลย ต่อไปก็ลองหยุดมองดูมัน พอสายตาเราไปถูกมันเข้า มันวิ่งหนีเลย แต่พอเราไม่มอง มันก็คุ้ยเขี่ยอาหารกินตามเรื่องของมัน แต่มองทีไร ก็วิ่งหนีเมื่อนั้น<O:p</O:p
    นานเข้าสักหน่อย มันคงเคยเห็นความสงบของเรา จิตใจของมันก็เลยว่าง แต่พอหว่านข้าวให้เท่านั้น ไก่มันก็เลยหนีเลย...ช่างมันก็หว่านทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ เดี๋ยวมันก็กลับมาที่ตรงนั้นอีกแต่ยังไม่กล้ากินข้าวที่หว่านไว้ให้มันไม่รู้จัก นึกว่าเราจะไปฆ่าไปแกงมัน เราก็ไม่ว่ากระไร กินก็ช่าง ไม่กินก็ช่าง ไม่สนใจกับมัน
    <O:p</O:p
    ไม่ช้ามันก็คุ้ยเขี่ยหากินตรงนั้น มันคงเริ่มมีความรู้สึกของมัน แล้ววันต่อมามันก็มาตรงนั้นอีก มันก็ได้กินข้าวอีก พอข้าวหมด ก็หว่านไว้ให้อีก มันก็วิ่งหนีอีก แต่เมื่อทำซ้ำอยู่อย่างนี้เรื่อย ๆ ตอนหลังมันก็เพียงแต่เดินหนีไปไม่ไกลแล้วก็กลับมากินข้าวที่ให้นั้น นี่ก็ได้เรื่องแล้ว<O:p</O:p
    ตอนแรกไก่มันเห็นข้าวสารเป็นข้าศึก เพราะมันไม่รู้จักเพราะมันดูไม่ชัด มันจึงวิ่งหนีเรื่อยไป ต่อมามันเชื่องเข้า จึงกลับมาดูตามความเป็นจริง ก็เห็นว่า นี่ข้าวสาร นี่ไม่ใช่ข้าศึก ไม่มีอันตราย มันก็มากินจนตลอดทุกวันนี้ นี่เรียกว่า เราก็ได้ความรู้จักมัน เราก็เหมือนกันฉันนั้น รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นี้ เป็นเครื่องให้เรารู้ธรรมะ เป็นที่ให้ข้อคิดแก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ถ้าเราเห็นชัดตามความเป็นจริง แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ ถ้าเห็นไม่ชัดก็จะเป็นข้าศึกต่อเราตลอดไป แล้วเราก็จะหนีไปอยู่เรื่อย ๆ<O:p</O:p

    ต้นคือปลาย <O:p></O:p>
    เมื่อเราเกิดมาแล้วโยม ก็คือเราตายแล้วนั่นเอง ความแก่กับความตายมันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ เหมือนกับต้นไม้ อันหนึ่งต้น อันหนึ่งปลาย เมื่อมีโคนมันก็มีปลาย เมื่อมีปลายมันก็มีโคน ไม่มีโคน ปลายก็ไม่มี มีปลายก็ต้องมีโคน มีแต่ปลาย โคนไม่มีก็ไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้น<O:p</O:p
    เพราะฉะนั้น ก็นึกขำเหมือนกันนะ มนุษย์เราทั้งหลายเมื่อจะตายแล้วก็โศกเศร้า วุ่นวาย นั่งร้องไห้เสียใจสารพัดอย่าง หลงไปสิโยม โยมมันหลงนะ พอคนตายก็ร้องไห้พิไรรำพัน แต่ไหนแต่ไรมาไม่ค่อยได้พิจารณาให้ชัดแจ้งนะ ความเป็นจริงแล้ว อาตมาขอโทษด้วยนะ อาตมาเห็นว่า ถ้าจะร้องไห้กับคนตายน่ะ ร้องไห้กับคนที่เกิดมาดีกว่า แต่มันกลับกันเสีย ถ้าคนเกิดมาแล้วโยมทั้งหลายก็หัวเราะดีอกดีใจกันชื่นบาน ความเป็นจริงเกิดนั่นล่ะคือตาย ตายนั่นล่ะก็คือเกิด ต้นก็คือปลาย ปลายก็คือต้น


    อนาถา <O:p></O:p>
    จิตของเรานี้เมื่อไม่มีใครตามรักษามันก็เหมือนคนที่ปราศจากพ่อแม่ที่จะดูแล เป็นคนอนาถา เป็นคนที่ขาดที่พึ่ง คนที่ขาดที่พึ่งก็เป็นทุกข์ จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าหากขาดการอบรมบ่มนิสัยทำความเห็นให้ถูกต้องแล้ว จิตนี้ก็ลำบากมาก<O:p</O:p

    ยกแล้วหนัก <O:p></O:p>
    เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาก็รู้จักว่ามันทุกข์ ทุกข์นี่มันเกิดขึ้นมาเพราะอะไร มันจะเห็นอะไรไหม ถ้าเราเห็นตามธรรมดา มันก็ไม่ทุกข์ เช่นว่าเราอยู่อย่างนี้ เราก็สบาย อีกวาระหนึ่งเราอยากได้กระโถนใบนี้ เรายกมันขึ้นมา ต่างแล้ว ต่างกว่าแต่ก่อนที่ยังไม่ได้ยกกระโถน ถ้าไปยกกระโถนขึ้นมา มีความรู้สึกว่ามันหนักเพิ่มขึ้นมา มันมีเหตุ หนักมันจะเกิดเพราะอะไร ถ้าไม่ใช่เพราะเราไปยกมัน ถ้าเราไม่ยกมัน มันก็ไม่มีอะไร ถ้าไม่ยกมันก็เบา อะไรเป็นเหตุผล ดูเท่านี้ก็รู้แล้ว ไม่ต้องไปเรียนที่ไหน ถ้าเราไป ยึด อะไร อันนั้นแหละเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ถ้าเรา ปล่อย มันก็ไม่ทุกข์<O:p</O:p

    ฉีดยา <O:p></O:p>
    นี้คือทุกข์ ทุกข์ธรรมดาก็อย่างหนึ่ง ทุกข์ที่เหนือธรรมดาก็อีกอย่างหนึ่ง ทุกข์ประจำสังขารนี้ ยืนก็เป็นทุกข์ นั่งก็เป็นทุกข์ นอนก็เป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นทุกข์ธรรมดา ทุกข์ประจำสังขาร พระพุทธเจ้าท่านก็มีเวทนาอย่างนี้ มีสุขอย่างนี้ มีทุกข์อย่างนี้ แต่ท่านก็รู้จักว่าอันนี้เป็นธรรมดา สุข ทุกข์ ธรรมดาทั้งหลายเหล่านี้ ท่านระงับมันได้ เพราะท่านรู้จัก เรื่องของมัน รู้จักทุกข์ธรรมดา มันเป็นของมันอย่างนั้น ไม่รุนแรง ท่านให้ระวังทุกข์ที่มันจรมา ทุกข์ที่เหนือธรรมดา เปรียบประหนึ่งว่าเราเป็นไข้เอายาไปฉีด ฉีดเข้าไปในร่างกาย เข็มฉีดยานั้นมันทะลุเข้าไปในเนื้อหนัง เรารู้สึกเจ็บนิดหน่อย เป็นธรรมดา ไม่เป็นอะไร ทุกคนจะต้องเป็นอย่างนี้ ทุกข์ที่ไม่ธรรมดานั้น คือทุกข์ที่เรียกว่า อุปาทาน เข้าไปยึดมั่นถือมั่นไว้ เปรียบประหนึ่งว่าเอาเข็มฉีดยาไปอาบยาพิษ แล้วก็ฉีดเข้าไป นี่ไม่ใช่เจ็บธรรมดาแล้ว ไม่ใช่ทุกข์ธรรมดาแล้ว เจ็บจนตาย<O:p</O:p

    เศษเนื้อติดฟัน <O:p></O:p>
    เรื่องกามทั้งหลายนี้นะ มันออกไปยาก ไม่แปลกอะไรกับเราฉันเนื้อ เนื้อมันยัดเข้าไปในฟันของเรา แหม! มันปวด มันเจ็บ(รำคาญ) ฉันข้าวยังไม่เสร็จก็ต้องเอาไม้จิ้มมันออก เนื้อมันหลุดไปจากฟัน เราก็สบายไปพักหนึ่ง แล้วไม่อยากฉันเนื้ออีก แต่พอเห็นเนื้อมาก็ฉันอีก ก็อุดอีก ก็เอาไม้จิ้มออกอีก ก็สบายนิดหนึ่งอีก เท่านั้นแหละเรื่องของกามไม่ใช่อื่น ไม่มากกว่าเนื้อมันอุดซี่ฟัน ทุรนทุรายอึดอัด อึดอัด เอามันออกสักนิดหนึ่งโดยเท่านั้นแหละ ไม่รู้ว่ามันเรื่องอะไร บ้า ๆ บอ ๆ<O:p</O:p

    แหย่รังมดแดง <O:p></O:p>
    เรื่องกามนี้ คล้าย ๆ กับรังมดแดงใหญ่ เอาไม้ไปแหย่ ยิ่งแหย่ ยิ่งหล่นใส่ มดมันหล่นใส่หน้าใส่ตา แสบหูแสบตา ยังไม่เห็นโทษมัน เราไม่เห็นโทษมัน มันก็ดีทั้งนั้น ให้เข้าใจ ว่าถ้ายังไม่เห็นโทษในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ก็ออกจากสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้ <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...