ธรรมะ อุทาน!!!

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยอดคะน้า, 19 มกราคม 2016.

  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    เกร็ดธรรม
    หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    ...................

    จิต ของท่านผู้ใด ภาวนาแล้ว เกิดมีธรรมะอุทานขึ้นมา
    เช่นอย่างบางที พอจิตสงบลงไป

    จิตยังไม่ขาดจาก วิตก วิจาร
    ซึ่งประกอบด้วย ปิติ สุข แหล่ะ เอกกัคตาอยู่

    บางทีเกิดจิตว่างลง

    เกิดมีอุทานธรรม ขึ้นมาว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ
    ซึ่งผู้ภาวนาไม่ได้ตั้งใจจะคิดอย่างนี้

    แต่ อัตตาหิ อัตโนนาโถ มันผุดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ

    ในช่วงลักษณะอย่างนี้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปเอง

    เมื่อ อัตตาหิ อัตโนนาโถ ผุดขึ้นมาแล้ว
    จิต สามารถ อธิบายคำว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ ออกมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
    เรียกว่า ความรู้ ความคิด มันเกิดผุดขึ้น ผุดขึ้น ผุดขึ้น
    บางที ผุดขึ้นมาอย่างรวดเร็วหมือนกับน้ำพุ
    บางทีพอจิตถอดนออกมานิดหน่อย

    กำลังของฌานเสื่อมไป จิตกลับมาสู่ สภาวะเดิม
    คือ สภาวะสามัญธรรมดา อึ๊มๆ

    ทำให้ผู้ภาวนาเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า
    นี่จิตของเราฟุ้งซ่าน และบางที แถมไปถามคนอื่น
    ซึ่งไม่รู้เรื่องรู้ราว พวกนักภาวนาไม่เป็น แต่อยากเป็นอาจารย์สอน



    พอไปถูกถามปั๊บ

    ท่านจะบอกว่า จิตฟุ้งซ่าน ระวังจะเป็นโรคประสาท

    นี่ ปัญหาอย่างนี้ เกิดมีขึ้นบ่อยๆ

    เพราะฉะนั้น

    การที่ทำจิต ให้สงบลงเป็นสมาธิ
    ตั้งแต่ฌาน ที่ 1 ถึง ฌาน 4
    ผู้ภาวนาหมดความตั้งใจแล้ว ตั้งแต่ฌาน ที่1

    ถ้าเราตั้งใจนึก เช่น อย่างบริกรรมภาวนาอยู่
    ถ้าเรายังมีเจตนาตั้งใจ ว่า จะนึกบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ
    อันนี้จิตมันยังไม่ได้ วิตก

    แต่ถ้าเกิด จิตมันนึก พุทโธ พุทโธเองโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
    มันนึกเอง ตลอดเวลา แม้เราจะไปรั้งให้มันหยุด
    มันก็ไม่ยอมหยุด มันจะพุทโธของมันอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา
    แล้วก็มี สติรู้พร้อมอยู่อย่างนั้น

    อันนี้จึงจะได้เรียกว่า

    ผู้ภาวนามีจิต มีสมาธิ ได้ วิตก วิจาร
    เป็น องค์ฌานที่ 1 องค์ฌานที่ 2

    ซึ่งต่อจากนั้นไป ปิติ แหล่ะ ความสุข ก็ย่อมจะบังเกิดขึ้นเอง

    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/วิธีฝึก-สมถะภาวนา-โดย-หลวงปู่-พุธ-ฐานิโย.287864/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...