ธรรมะ ณ “สวนโมกข์ กรุงเทพฯ”

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย aprin, 26 มกราคม 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left></TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>อาคารหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    “เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาสิ่งที่ดีเขามีอยู่

    เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู เรื่องที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
    จะหาคนที่มีดีเพียงส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย
    เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง ”


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สวนโมกข์ กรุงเทพฯ มุมมองจากสวนรถไฟ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>เคยได้ยินกันบ้างไหมกับสุภาษิตคำสอนนี้โดย “พระธรรมโกษาจารย์” (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือที่รู้จักคุ้นเคยกันในนาม “ท่านพุทธทาส ภิกขุ” เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>นิทรรศการในส่วนสงบเย็นและเป็นประโยชน์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในรูปงานเขียน โดยท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็น พุทธะ ศาสนา อย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิด ซึ่งเป็นความจริงอันสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้นเอง


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>นิทรรศการภาพบริเวณทางเดิน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุยังรวมไปถึงเรื่องพื้นฐาน เช่น เรื่องการทำงาน และเรื่องการศึกษา ซึ่งคนทั่วไปสามารถนำธรรมะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที โดยท่านได้ตั้งปณิธานในชีวิตไว้ 3 ข้อ คือให้พุทธศาสนิกชนหรือศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตามเข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน, ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา และดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม และได้ตั้งมั่นทำตามปณิธานจนมรณภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536

    และในปีพ.ศ. 2548 องค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>นิทรรศการภาพวาดจากศิลปินต่างๆ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>วันนี้ใครที่คิดถึงท่านหรือคำสั่งสอนของท่านก็ไม่ต้องไปไกลถึงสวนโมกข์ สุราษฎร์ธานี เพราะทางสวนโมกขพลาราม และคณะธรรมทาน มีดำริก่อตั้ง “หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ” หรือ “สวนโมกข์ กรุงเทพฯ” เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี พุทธทาส ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของสวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ เขตจตุจักร ในกรุงเทพฯของเรานี่เอง

    สวนโมกข์ กรุงเทพฯแห่งนี้ จัดสร้างถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสครบรอบพระบรมราชาภิเษกครบ 60 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานอนุญาตให้จัดสร้าง โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อมิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นอาคารปูน 3 ชั้น อยู่ริมสระน้ำและสวนกิจกรรมลานธรรมะ ที่เรียกว่า ลานริมสระนาฬิเก สำหรับรองรับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจธรรม


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ห้องหนังสือและสื่อธรรมะ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>บริเวณชั้นล่างของอาคารประกอบด้วย “ห้องหนังสือและสื่อธรรมะ” ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมผลงาน เอกสาร เทปบันทึกเสียงศึกษาธรรมะ อันเป็นการสืบสานงานพระพุทธศาสนาผ่านงานของท่านของพุทธทาส และผลงานต่างๆในห้องนี้ยังจัดจำหน่ายให้พุทธศาสนิกชนได้นำไปศึกษาต่อด้วย จากห้องหนังสือสือธรรมเดินเข้าไปจะเจอกับลานโล่งรับลมเย็นสบายซึ่งไว้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาต่างๆ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ลานหินโค้งจำลองมาจากสวนโมกข์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>และ “ลานหินโค้ง” ที่ปฏิบัติธรรมหน้าพระโพธิ์สัตว์ ซึ่งเต็มไปด้วยภาพพุทธประวัติที่จำลองมาจากภาพพุทธประวัติชุดแรกจากอินเดีย ถือว่ามีความครบถ้วนสมบูรณ์ กึ่งกลางลานหินโค้งประดิษฐานพระอวโลกิเตศวร ซึ่งจำลองแนวคิดจากลานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล เลยลานหินโค้งเข้าไปคือ “โรงมหรสพทางวิญญาณ” ด้านนอกมีภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ ด้านในมีภาพปริศนาธรรม แต่ละภาพมีความหมายอย่างไร


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สวนปฏิจจสมุปบาท</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>จากนั้นฉันเดินขึ้นบันไดไปยังชั้นที่ 2 ทางด้านริมสุดถูกจัดเป็น “สวนปฏิจจสมุปบาท” สวนสวยที่เปิดโล่งไร้ซึ่งผนังและเพดาน ด้านข้างมีห้องนิทรรศการ “นิพพานชิมลอง” ที่เราจะได้รู้ว่านิพพานอยู่ใกล้แค่ปลายจมูก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสประสบการณ์ทางธรรมชาติอันจะก่อให้เกิดความปราโมทย์ ความปีติ และฉันทะในการทำให้ความสงบเย็นหรือนิพานชั่วคราวนี้เกิดขึ้นบ่อยและนานขึ้น เพื่อความสุขที่ประณีตและเผื่อแผ่สุขที่แท้นี้สู่ผู้อื่น สังคม จนถึงมวลมนุษยชาติ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพแจกดวงตาธรรมในนิทรรศการนิพพานชิมลอง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ภายในห้องนิทรรศการนี้แบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือบริเวณทางเข้าได้แก่ เสียงสงบใจ ที่จะให้ผู้เข้าชมได้พินิจภาพแจกดวงตาธรรม ที่จำลองมาจากกำแพงภาพโมเสกบนอาคารมหรสพทางวิญญาณ ส่วนที่สองคือ นิพพานที่ข้าพเจ้ารู้จัก โดยในส่วนนี้จะเป็นห้องวงกลมให้ผู้เข้าชมได้นั่งสมาธิสงบจิตใจ พร้อมทั้งเป็นเวทีสื่อผสมทั้งภาพยนตร์ ประติมากรรมก้อนหินพูดได้ ถ้อยคำชวนคิดสะกิดใจ เพื่อสื่อความหมายในข้อธรรม


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ส่วนนิพพานที่ข้าพเจ้ารู้จัก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ส่วนที่สามคือ ไตร่ตรองลองชิม ซึ่งจะอยู่ด้านนอกที่สามารถรับลมโชยและยังมีที่นั่งให้ได้นั่งสงบใจสัมผัสนิพานชั่วขณะ ส่วนที่สี่คือ สงบ เย็น และเป็นประโยชน์ ที่ให้ผู้เข้าชมได้ร่วมค้นหาพุทธทาสคือใคร สวนโมกข์อยู่ที่ไหน คำตอบจะอยู่ในปฏิทินชีวิต และยังมีสิ่งของเครื่องใช้ที่แสดงถึงการใช้ชีวิตกินอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง พร้อมทั้งพินัยกรรมปฏิธาน 3 ประการ และส่วนสุดท้ายคือมุมสื่อสารเพื่อสืบสานปณิธานพุทธทาส


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ส่วนบริเวณด้านนอกของนิทรรศการนิพพานชิมลอง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ออกจากห้องนิทรรศการนิพพานชิมลองเดินต่อไปทางระเบียงจะพบห้องปฏิบัติสัทธรรมและประชุมสัมมนา และพื้นที่แสดงนิทรรศการภาพวาดจากศิลปินต่างๆ และในส่วนชั้นบนสุดจะใช้เป็นสำนักงาน ห้องประชุม ห้องจดหมายเหตุ และห้องค้นคว้า


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>นั่งสงบจิตใจในส่วนไตร่ตรองลองชิมนิพพาน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ใครที่อยากศึกษาธรรมะไว้ใช้ในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆละก็ฉันขอแนะนำให้มาที่หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯแห่งนี้ โดยท่าน ว.วชิรเมธีได้นิยามสวนโมกข์กรุงเทพฯไว้ว่าเป็น “พารากอนธรรมะ หรือเป็นตะกร้าสำหรับทุกกิจกรรมดีๆที่ปราศจากอบายมุข” เป็นสถานที่ช้อปปิ้งความสุขโดยไม่ต้องเสียเงิน


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บรรยากาศธรรมชาติอันสงบ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    “หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ” หรือ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในบริเวณสวนวชิรเบญทัศ (สวนรถไฟ) ถนนนิคมรถไฟสาย 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0-2936-2800, 0-2936-2900 หรือเว็บไซต์ : www.bia.or.th

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000010040
     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    [​IMG]


    [​IMG]
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้สร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม
    และเผยแพร่พระธรรมในกาลนี้ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2011
  3. toyhonda

    toyhonda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    542
    ค่าพลัง:
    +1,782
    อยากเชิญชวนเลยค่ะ ไปแล้วทำให้จิตใจสงบมาก เหมือนกับหยุดความวุ่นวายจากสังคมได้ดีทีเดียวค่ะ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...