ธรรมะ คืออะไร ในศาสนาพุทธ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 21 กันยายน 2008.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ธรรมะ คือ อะไร ในศาสนาพุทธ
    สวัสดีทุกท่าน ผู้เจริญในธรรม
    กระทู้นี้ เป็นกระทู้ที่ข้าพเจ้าตั้งใจที่จะอธิบาย และแนะนำให้ท่านทั้งหลาย ผู้เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะครองเรือนอยู่ในฐานะ ฐานันดร หรือตำแหน่งหน้าที่ ใดใดก็ตาม ให้เกิดความเข้าใจ เกิดความรู้ เกี่ยวกับธรรมะในทางศาสนาพุทธที่ถูกต้อง และเป็นบรรทัดฐาน เป็นแนวทางอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ดังนั้น หากท่านทั้งหลายได้อ่าน ได้ศึกษา ก็จงใช้หลักธรรมะในข้อ ระลึก และ ดำริ อย่างยิ่งยวด อย่าได้มีความคิดความเห็นว่า ข้าพเจ้าขัดแย้ง หรือคัดค้านสิ่งที่มีอยู่เดิม เป็นอันขาด ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีมานานแล้วนั้น ล้วนต้องได้รับการพัฒนา เพื่อให้ทันสมัย ทันยุค ทันเหตุการณ์ สามารถเข้ากันได้ กับยุคสมัย หรือสังคมสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง ระบบนิเวศน์วิทยา ในแต่ละยุคแต่ละสมัย ได้อย่างกลมกลืนและลงตัว ...
    ธรรมะ ในทางศาสนา ในที่นี้จะหมายเอาศาสนาพุทธ เพราะเป็นศาสนาประจำชาติไทย อีกทั้งข้าพเจ้าเอง ก็นับถือศาสนาพุทธ จึงไม่ขอกล่าวถึงธรรมะในศาสนาอื่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ธรรมะในศาสนาอื่นๆจะไม่มีนะขอรับ ศาสนาทุกศาสนา ก็ย่อมล้วนมีธรรมะ หรือจะเรียกว่าหลักการก็คงไม่ผิด
    ธรรมะ ในพุทธศาสนานั้น ทุกท่านล้วนมีความเข้าใจผิดๆ ในธรรมะที่มีอยู่ เหตุเพราะไม่ได้รับการพัฒนา และไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง จึงเกิดความเข้าใจผิดมาโดยตลอด เพราะแท้ที่จริงแล้ว ธรรมะ ในพุทธศาสนานั้น คือ หลักความจริงในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ พืช และอื่นๆ ธรรมะในศาสนาพุทธ เป็นหลักการที่แสดงให้มนุษย์ทั้งหลายได้รู้ว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ อะไรเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ อะไรเป็นสิ่งที่ให้ถึงความดับทุกข์ และอะไร คือหนทางแห่งความดับทุกข์ หรือจะเรียกตามตำราว่า "อริยะสัจสี่" ก็ดูจะเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
    ธรรมะในศาสนาพุทธ ทุกข้อ ล้วนเป็นอริยสัจสี่ เหมือนกันทุกข้อ เพราะธรรมชาติของมนุษย์นั้น สิ่งที่เป็นทุกข์ ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อีกทั้งย่อมทำให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ และย่อมเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์
    มาถึงตอนนี้ ท่านทั้งหลาย ควรได้ใช้หลักธรรมะ ในข้อ ระลึก และ ดำริ พิจารณาตามให้ดีว่า ธรรมะ ล้วน เป็นอริยสัจสี่จริงหรือไม่
    ยกตัวอย่าง ข้อธรรมะ ที่เรียกว่า ระลึก และ ดำริ หากท่านทั้งหลายรู้ความหมาย และเข้าใจความหมายของคำว่า ระลึก และ ดำริ แล้ว ก็ลองทำความเข้าใจ ลองพิจารณาดูซิว่า ระลึก และ ดำริ อันเป็นข้อธรรมะทางศาสนาพุทธนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ จริงหรือไม่ (1)
    แล้วก็พิจารณาต่อไปอีกว่า ระลึกและดำรินี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิด ทุกข์ ได้อย่างไร (2)
    แล้วก็พิจารณาต่อไปอีกว่า ระลึกและดำรินี้ เป็นเหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ ใช่หรือไม่(3) ในข้อที่สามที่ ต้องพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ เพราะมันเป็นเรื่องของการเขียนภาษา หากไม่เข้าใจ ความหมายในข้อธรรมะก็จะผิดเพี้ยนไป ตามแต่ความเข้าใจของแต่ละบุคคล ดังนั้นเพื่อบรรทัดฐาน และเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือแบบเดียวกัน ทางด้านความเข้าใจ จึงต้องให้ท่านทั้งหลายทำความเข้าใจให้ดี เพราะข้อ 3 ก็จะคล้ายกับข้อ 1 เมื่อเกิดความเข้าใจแล้ว
    ก็พิจารณาต่อไปว่า ระลึกและดำริ นี้ เป็นหนทางแห่งความดับทุกข์ ได้อย่างไร (4)
    ที่ได้กล่าวไปทั้งข้างต้น เป็นเพียงการยกตัวอย่าง หลักธรรมะ และวิธีทำความเข้าใจในหลักธรรมะในทางศาสนาพุทธ ชั้นพื้นฐาน อันเริ่มจาก ธรรมชาติ ของมนุษย์ ฯ ที่ทุกท่านสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก
    เพื่อท่านทั้งหลายได้พิจารณา จนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และลึกซึ้งแล้ว ก็จะรู้เองว่า ธรรมะในข้ออื่น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลเป็นอย่างไร ทุกข์ หรือ ดับทุกข์ได้อย่างไร เป็นขั้น เป็นตอนไป
    ในที่นี้ ข้าพเจ้า ได้อธิบาย และทำความเข้าใจ หรือ ได้สร้างบรรทัดฐาน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือแบบเดียวกัน ในหลักธรรมะแห่งศาสนาพุทธ เพื่อให้ทุกท่าน ทุกฐานันดร ทุกตำแหน่งหน้าที่ ได้พิจารณาตามหลักความจริงแล้ว
    จบตอน
     
  2. เห็นเป็นจริง

    เห็นเป็นจริง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +23
    ถ้าเรายึดตามหลัก พุทธวัจนะ ความคิดเห็นต่างๆก็ตรงกันครับ
     
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ธรรมะ คืออะไร ในพุทธศาสนา ตอนที่ 2

    ธรรมะคืออะไร ในศาสนาพุทธ ตอนที่ 2
    ในตอนที่ 1 นั้น ข้าพเจ้าได้สร้างบรรทัดฐาน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือแบบเดียวกัน ให้กับการพิจารณา ข้อธรรม และทำความเข้าใจในธรรมะ แห่งศาสนาพุทธ ไปพอสังเขปแล้ว
    มาถึงตอนนี้ ท่านท้้งหลาย ก็ต้องมาพิจารณาทำความเข้าใจต่อไปอีกว่า
    หลักการ หรือธรรมะ แห่งพุทธศาสนานั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับ คนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง หรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง แต่หลักการหรือธรรมะ เป็นธรรมชาติ แห่ง สิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่มองเห็น และมองไม่เห็น
    แต่หากจะเคี่ยวเข็ญ ให้ท่านทั้งหลายมานั่งคิดนั่งพิจารณาในทุกรูปแบบ ก็คงเป็นการอยาก อาจจะเป็นภาระหนักในการใช้สมอง ท่านทั้งหลายอาจรับไม่ไหว ดังนั้น ท่านทั้งหลายควรได้คิดพิจารณาในตัวท่านเอง ออกไปหาผู้อยู่รอบข้าง และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเป็นอยู่ เกี่ยวข้องกับสภาพนิเวศวิทยา ของมนุษย์ ที่อย่าง ทีละขั้นตอน อย่างช้า ก็ย่อมทำให้ท่านทั้งหลายได้ปรับสภาพสมอง และร่างกายจนสามารถคิดพิจารณาได้ไม่มีที่สิ้นสุดอย่างสบาย สบาย

    เมื่อข้าพเจ้ากล่าวไปในตอนแรก ดังที่ท่านทั้งหลายได้อ่าน ไปแล้วนั้น ท่านทั้งหลายก็ควรได้รู้จัก คำว่า "ทุกข์" ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนว่า
    คำว่า "ทุกข์" นั้น มันคืออะไรกันแน่ มันหมายถึงอะไรกันแน่สำหรับ มนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพราะท่านทั้งหลายสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านเอง)
    ทุกข์ แท้ที่จริงแล้ว ก็คือ สภาพสภาวะจิตใจ ที่ท่านทั้งหลาย รู้จักกันในนามของ กิเลส อันได้แก่ "ความโลภ" "ความโกรธ" "ความหลง" นั่นเอง
    หลายๆท่าน เมื่อได้อ่านมาถึงตรงนี้ คงมีข้อคัดค้าน หรือรู้สึกขัดกับความเข้าใจในตัวของท่านที่มีอยู่เดิม แต่ท่านทั้งหลายต้องพิจารณาต่อไปว่า อัน ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น จะก่อให้เกิดความคิด จะก่อให้เกิดการ ระลึกนึกถึงสิ่งต่างๆ เอามาปรุงแต่ง บ้างก็กลายเป็นพฤติกรรมหรือการกระทำ ต่อตนเอง และผู้อื่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น แท้จริงก็ย่อมเกิดจากการได้สัมผัส ทางอายตนะทั้งหลาย แล้วก่อให้เกิด "ระลึก และ ดำริ" ต่อจากนั้น ก็จะเกิดพฤติกรรม หรือการกระทำ หรือเกิดสภาพสภาวะจิตใจ ในรูปแบบต่างๆกัน สภาพสภาวะจิตใจที่เกิดขึ้นนั้น บ้าง ก็เรียกว่า ธรรมะ บ้างก็เรียกว่า ความอาฆาต แค้น ,ความอิจฉา ริษยา ฯลฯ ซึ่งต้นต่อแห่งสภาพสภาวะจิตใจทั้งหลายเหล่านั้น ก็ล้วนเกิดตัวเรา และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ที่เราได้ปฏิสัมพันธ์ นั่นย่อมหมายถึง การครองเรือน ของท่านทั้งหลาย และสิ่งทั้งหลายนั่่นเอง
    ความทุกข์ นั้น จะแบ่งเป็น ความทุกข์ทางกาย และ ความทุกข์ทางใจ
    ความทุกข์ ทางกายนั้น ย่อมเกิดจากการได้สัมผัสทางอายตนะทั้งหลาย อันเกิดจากการกระทำของตนเอง หรือการกระทำของผู้อื่น หรือเกิดจากการกระทำของสรรพสิ่งทั้งหลาย อันเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของเรา เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพภูมิประเทศ และอื่นๆ
    ความทุกข์ ทางกาย และความทุกข์ทางใจนั้น จะสัมพันธ์กัน เช่นถ้าเกิดความทุกข์ทางกาย ความทุกข์ทางใจ ก็จะเกิดขึ้นตามมา
    ความทุกข์ทางใจนั้น ย่อมเกิดจากการ ระลึก และดำริ เป็นหลัก ถ้าระลึก และดำริไม่มีที่สิ้นสุดหาที่ลง หรือไม่มีที่จบ ความทุกข์ทางใจก็ย่อมหนักหนาสาหัส สากรรจ์ อันนี้ไม่ยกตัวอย่าง เพราะเพียงท่านทั้งหลายได้พิจารณาตาม ก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ ด้วยตัวของท่านเองอยู่แล้ว
    เมื่อท่านทั้งหลายได้รู้ ได้เข้าใจแล้วว่า ความทุกข์ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร พอสังเขป ไปแล้ว
    ท่านทั้งหลาย ก็จะเกิดความเข้าใจ ในบรรทัดฐาน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือแบบเดียวกัน ของ "ธรรมะ" ในศาสนาพุทธ เพิ่มขึ้น
    (หมายเหตุ)
    อ่านและพิจารณาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างช้าๆ ที่ละอย่าง ความเข้าใจก็เกิดขึ้น ขอรับ
    (จบตอน2)
     
  4. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ธรรมะ คือ อะไร ในศาสนาพุทธ ตอนที่ 3(จบบทเรียนบทที่ 1)

    ธรรมะคือ อะไร ในศาสนาพุทธ ตอนที่ 3
    ในตอนนี้ จะเป็นบทจบ ของบทเรียน บทที่ 1 ในเรื่อง"ธรรมะ คือ อะไรในศาสนาพุทธ"
    หรือ "หลักธรรมะ ตามหลักศาสนาพุทธ" ก็ได้เช่นกัน
    ในตอนที่ 2 ข้าพเจ้า ได้อรรถาธิบายไปแล้วว่า
    ความทุกข์ นั้นหมาย ถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่ง ก็คือสิ่งที่ทางศาสนาพุทธเรียกว่า "กิเลส"นั่นเอง
    ความโลภ,ความโกรธ,ความหลง นั้น สามารถแยกแยะรายละเอียด คือสามารถอธิบาย ลักษณะอาการแห่ง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้นับ เป็น แปดหมื่นสี่พันชนิด แบ่งเป็น ชั้นหยาบสุด ,ชั้นหยาบ, และชั้นละเอียด คือแบ่งเป็น 3 ชั้น
    ทำไมในทางศาสนา จึงเรียกว่า ความโลภ,ความโกรธ,ความหลง ว่า"กิเลส" หรือ"ทุกข์ " ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะธรรมดาแห่งสรรพสิ่งที่มีชีวิต ล้วนย่อมต้องมีธรรมชาติ อันทำให้เกิดความรู้สึก,ระลึก,ดำริ หรือจะเรียกว่า "ความรู้สึก,นึก,คิด" ซึ่ง ธรรมชาติแห่งความรู้สึก,นึก,คิดเหล่านั้น เรียกว่า "ความโลภ,ความโกรธ,ความหลง" นั่นเอง
    กิเลส ชั้นหยาบสุด หรือ ความโลภ,ความโกรธ,ความหลง ชั้นหยาบสุด ส่วนใหญ่มักเกิดมีอยู่ในบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เดินเอาลำตัวขวางกับพื้นดิน หรือเรียกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สัตว์เดรัจฉาน"
    กิเลส ชั้นหยาบสุดนั้น มักมีความคิด มีการระลึกนึกถึง เพียงความต้องการของตัวเอง เป็นส่วนใหญ่ และมีความคิด มีการระลึกนึกถึง เพียงแค่ครอบครัวของมัน เป็นบางช่วงขณะ พฤติกรรม หรือการกระทำของสิ่งที่มีกิเลสชั้นหยาบสุดนั้น มีเพียงเพื่อดิ้นรนให้ตัวเองอยู่รอด โดยมิได้คำนึงถึง สิ่งอื่นๆ ดังท่านทั้งหลาย คงได้เห็น สภาพสภาวะจิตใจของสัตว์ป่า บางชนิด หรือหลายๆชนิด หรือทั้งหมดก็ว่าได้ ที่กล่าวไปนี้เป็นเพียงอธิบายถึงลักษณะสภาพสภาวะจิตใจของสิ่งที่มี กิเลส ชั้นหยาบสุด หรือ มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ในชั้นที่ 1
    กิเลส ชั้นหยาบ หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ชั้นที่ 2 หรือชั้นกลาง ท่านทั้งหลายล้วนได้พบเห็นอยู่เป็นประจำวัน นับตั้งแต่ตัวของเราเป็นต้นไป กิเลสชั้นที่ 2 นี้จะมีสภาพสภาวะจิตใจบางส่วน ได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ รวมไปถึงศาสนามาบ้างแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือธรรมชาติของ มนุษย์ทั้งหลายนั่นเอง
    กิเลสแห่งบุคคลทั้งหลายนั้น ล้วนเป็น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ถูกบังคับ ควบคุม และหรือ ได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม ทำให้บุคคล มีพฤติกรรม หรือการกระทำ เป็นไปตามกระแสสังคม หรือจะเรียกว่าเป็นไปตาม ความนิยมของสังคม ชุมชน หรือ เมือง หรือ ประเทศ นั้น อันเกิดจากปัจจัยตามธรรมชาติต่างๆ เป็นเครื่องประกอบ
    ความโลภ,ความโกรธ,ความหลง,แห่งบุคคลหรือมนุษย์ ล้วนย่อมดิ้นรนเพื่อให้ตัวเองมีงานทำ มีทรัพย์สินเงินทอง มีปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร,เครื่องนุ่งห่ม,ที่อยู่อาศัย,และยารักษาโรค ซึ่งเป็นไปตามครองเรือน คือเป็นไปตามสภาพสภาวะแห่งร่างกาย อันเหนือและดีกว่า สัตว์เดรัจฉาน
    ความทุกข์ ที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น จะเกิดขึ้น หากไม่ได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักธรรมะ ทางศาสนา
    เพราะหากไม่รู้จักควบคุมความคิด หรือการระลึกนึกถึง หรือคิด ด้วยความไม่คำนึงถึงหลักความจริงตามธรรมชาติแห่งสังคมนั้นๆ ความทุกข์ คือ ความไม่สบายใจ ก็จะเกิดขึ้น ความโลภ ,ความโกรธ , ความหลง ก็จะเกิดตามมา กลับกลายหรือแปรเปลี่ยน เป็นพฤติกรรมหรือการกระทำ อันไม่ผิดจาก"สัตว์เดรัจฉาน" คือมีพฤติกรรมหรือการกระทำที่ ไม่ได้คำนึง ถึงความทุกข์ ของตนเองและผู้อื่น แต่จะกระทำ หรือมีพฤติกรรม เพียงเพื่อสนองความต้องการของตนเอง โดยขาดการควบคุมจิตใจและความคิด
    เมื่อได้กล่าวถึงสภาพสภาวะจิตใจ ของความมีกิเลส หรือความโลภ ความโกรธ ความหลง ในชั้นที่ 2 ไปพอสังเขป เพื่อเป็นพื้นฐานให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความเข้าใจว่า ธรรมชาติ หรือธรรมดาของบุคคลโดยทั่วไปนั้น ย่อมต้องมีความโลภ ความโกรธ ความหลง,หรือกิเลส หรือ,จะเรียกว่า "ทุกข์" ก็เหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งๆเดียวกัน ต่างกันตรงที่ภาษาที่ใช้เรียก และติดต่อสื่อสาร ก็ย่อมมาถึง กิเลส หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างละเอียด
    กิเลส หรือ ทุกข์ หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างละเอียด หรือ กิเลสชั้นที่ 3 นี้ เป็นกิเลส หรือ ทุกข์ หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่เกิดจากความรู้ ความเข้าใจ โดยการระลึก และ ดำริ ตามหลักธรรมะ แห่งพุทธศาสนา แล้วว่า กิเลส หรือทุกข์นั้น ทำสภาพจิตใจ และร่างกาย เสื่อมโทรม และเป็นไป ตาม วัฎจักรแห่ง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย แม้เพียงได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วเกิดความคิดชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือระลึกนึกถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ก็ล้วนเป็นกิเลส หรือทุกข์ หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ชั้นละเอียด ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    แต่ธรรมชาติของมนุษย์ฯ ล้วนต้อง ระลึก และดำริ ตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นกิเลสหรือ ทุกข์ อย่างละเอียดนี้ จะไม่หมดจากตัวเรา หากไม่รู้จักวิธีการขจัด ให้ออกจากร่างกายเรา
    หลายๆท่าน อาจมีข้อคัดค้าน เพราะไม่เข้าใจว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความทุกข์ได้อย่างไร ในเมื่อมนุษย์ทุกคนที่ใช้ชีวิตประจำกันอยู่นั้น ล้วนบ้างสรวลเสเฮฮา ล้วนมีกิน มีใช้ มีเที่ยว มีเครื่องอุปโภค บริโภค มีฐานะ มีตำแหน่งหน้าที่
    หากท่านทั้งหลายคิดแบบนั้น ก็จะคิดพิจารณาต่อไปอีกว่า ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ได้สรวลเสเฮฮา ไม่มีกิน ไม่มีใช้ ไม่มีเที่ยว ไม่มีเครื่องอุปโภค บริโภค ไม่มีฐานะ ไม่มีตำแหน่งหน้าที่ ความคิดของท่าน หรือความรู้สึกของท่านจะเป็นอย่างไร
    ความคิดหรือความรู้สึกของท่านที่บังเกิดขึ้นในขณะนั้น นั่นแหละคือ ทุกข์ หรือ ความหลง และอื่นๆก็จะตามมาเป็นเงาตามตัว
    แต่หากท่านทั้งหลาย ได้มีความรู้ มีความเข้าใจ ในหลักธรรมะแห่งศาสนาพุทธ อันเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน แบบเดียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ว่า
    ทุกข์ นั้นเกิด จาก "ความคิด"(ดำริ) ทุกข์นั้นเกิดจาก "การนึกถึง"(ระลึก)
    เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น คือ "คิด อยากมี อยากได้ อยากทำ ตามที่ตัวเองต้องการ หรือตามกระแสสังคม ฯลฯ หรือ "ระลึก นึกถึง แต่ ความอยากได้ อยากมี อยากทำ อันได้ประสบพบเห็นมาในอดีต(คำว่า อดีต หมายถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เพียง1 วินาที ก็เป็นอดีตเช่นกัน อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี) จนเกิดเป็นพฤติกรรมหรือ การกระทำ อันเบี่ยงเบนจากค่านิยมของสังคม หรือ คิด หรือระลึกนึกถึง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีที่จบ หาคำตอบไม่ได้ ฯลฯ
    เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ ได้นั้น ก็คือ "ความคิด" (ดำริ) เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ ได้นั้น ก็คือ "การนึกถึง" (ระลึก)
    หนทางแห่งความดับทุกข์ ได้นั้น ก็คือ ความรู้ความเข้าใจใน "ความคิด"(ดำริ) แห่งตนเองและผู้อื่น มีความรู้ความเข้าใจ ในการคิด ต่อเนื่อง จากการ"นึกถึง" (ระลึก) คือ ระลึกนึกถึง ประสบการณ์ ความรู้ หลักวิชาการ และอื่นๆ ฯลฯ หรือนึกถึง เพื่อให้เกิดความคิด อันเป็นไปตามหลักธรรมชาติของสรรพสิ่งทำหลาย เป็นไปตามหลักการทำงาน หลักการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน

    (จบบทเรียนบทที่ 1)
     
  5. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คำคม...สำหรับทุกท่าน และสืบเนื่องจาก หลักธรรมะ ในพุทธศาสนา

    " จงคิด เพื่อให้เกิดความคิด" และ

    " จงคิด เพื่อไม่ให้เกิดความคิด"
     
  6. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ไม่มีมนุษย์ คนใด เชื้อชาติใด ศาสนาใด ประเทศใด ไม่คิด

    แต่เขาเหล่านั้นจะคิดในรูปแบบใด กล่าวคือ จะคิดเพื่อให้เกิดความไม่สบายใจ หรือคิดเพื่อให้เกิดความสบายใจ
    จะคิดแบบ ทำให้กลายเป็นพฤติกรรม หรือการกระทำที่ดี ตามค่านิยมของสังคม
    หรือจะคิด แบบ ทำให้กลายเป็น พฤติกรรม หรือการกระทำที่ไม่ดี ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
    ก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรมะ หรือได้รับการขัดเกลาทางสังคม อันมีศาสนา เป็นเครื่องค้ำจุนอยู่ ฉะนี้
     
  7. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    อันธรรมดา ธรรมชาติของมนุษย์ ล้วนมีความหลง หรือมีกิเลส อันเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความทุกข์ หรือ จะเรียกว่า เป็นความทุกข์ ก็ย่อมได้

    มนุษย์ได้รับการขัดเกลา และเรียนรู้ จากสังคมสิ่งแวดล้อม และกรรมพันธุ์ ที่แตกต่างจากกัน
    อ่านภาษาประโยค เดียวกัน หรือได้ฟังภาษาจากที่เดียวกัน ประโยคเดียวกัน ก็อาจมีความเข้าใจที่แตกต่างจากกัน
    ดังนั้น บรรทัดฐาน ในการทำความเข้าใจในเรื่อง ของธรรมะ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
    หากบุคคลากร ทางศาสนา ไม่ว่าจะอยู่ในฐานันดรใดใด ตำแหน่งใดใด หรือหน้าที่ใดใด ก็ย่อมหรือควรที่จะมีความรู้ ความเข้า เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน แบบเดียวกัน และเหมือนกัน
    หากบรรทัดฐานเหมือนกัน แบบเดียวกันแล้ว
    ก็ย่อมไม่มีผู้ใด ที่จะมาบิดเบือนหรือแปรเปลี่ยน หลักธรรมะให้เป็นไปตามความคิด อันไม่ใช่หลักความจริง ไม่ใช่หลักธรรมชาติ
    แต่หากท่านทั้งหลาย มีความรู้ มีความเข้าใจ ในหลักธรรมะ ตามพุทธศาสนา อันมีบรรทัดฐาน เดียวกัน แบบเดียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเหมือนๆกันแล้ว ความรู้ความเข้าใจ ในธรรมะ ก็ย่อมถูกถ่ายทอด สู่รุ่นลูก หลาน เหลน โหลน ฯลฯ โดยถูกต้อง ไม่มีวันเสื่อมถอย ฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2008
  8. kiyomaro

    kiyomaro Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +25
    ธรรมอัน รู้ด้วยทศพลญานของพระสัพภัณญูหาประมาณมิได้ แม้เป็นเช่นนั้
    เหล่าผู้รู้ได้สังคายนาแต่ภายหลังมีประมวลได้ 84000 พระธรรมขันต์

    แต่กระนั้นก้อยังยาวเกินวิสัยอันยังทราบปฏิบัติอย่ากระนั้นเลย จะย่อให้เหลือ 18 คือ อัฏฐขันธ์ เพื่อเข้าวิสัยอันยังทราบ
    แต่กระนั้นก้อยังยาวเกินวิสัยอันยังทราบปฏิบัติอย่ากระนั้นเลย
    จะย่ออีกให้ เหลือ 8 คือมรรคมีองค์ 8 เพื่อเข้าวิสัยอันยังทราบ
    แต่กระนั้นก้อยังยาวเกินวิสัยอันยังทราบปฏิบัติอย่ากระนั้นเลย
    จะ ย่ออีกให้ เหลือ เพียง 3 คือ ไตรลักษณ์อันประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเข้าวิสัยอันยังทราบ
    แต่กระนั้นก้อยังยาวเกินวิสัยอันยังทราบปฏิบัติอย่ากระนั้นเลย
    จะย่อ อีก ให้เหลือเพียง 2 คือ สติ สัมประชันยะ เพื่อเข้าวิสัยอันยังทราบ
    แต่กระนั้นก้อยังยาวเกินวิสัยอันยังทราบปฏิบัติอย่ากระนั้นเลย
    หากยังยาวไปก้อจะย่อ เหลือ เพียง 1 คือความ ไม่ประมาท เพื่อเข้าวิสัยอันยังทราบ
    ---------------------------------------------------------------------------------
    ซึ่งคำสอนทั้งหลาย เปรียบเสมือนดังใบใม้กำมือ เดียวที่ พระศาสดาทรง กล่าวอันเป็นทางที่จะเปลื่องทุกข์ได้แต่ถ่ายเดียว
    คำสอนนั้นมีมากมายก้อจะเพื่อให้เข้าถึงจริตที่เหมาะสมอันจะเข้าถึงธรรมได้เท่านั้น อันจะยังถึงยอดถึงแก่นแห่งพระศาสนาคือความดับไม่มีเชื้อฉนั้น คือวิมุติหลุดพ้นนั้นเอง
    อันต้นไม้ใหญ่เกิดจากเมล็ด ฉันใด พระพุทธผู้ตัดเหตุทรงปลูกเมล็ดแห่งโพธิณานลงในสันดานของกุลบุตร เพื่อโพธิญานอันยิ่งฉันนั้น
     
  9. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817

    ตอบ....
    ท่านเอ๋ย.... คำว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา " เป็นเพียงผลพวงที่ได้จากความคิด เท่านั้น ท่านเอ๋ย ท่านหนีไม่พ้น ความคิด หรือหลักธรรมะ ใน ข้อ "ระลึก ดำริ"ดอกนะ
    ข้าพเจ้าได้สร้างบรรทัดฐาน ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ธรรมะ แห่งพุทธศาสนาให้แล้ว
    อย่าขัดขืน ดื้อดึง โดยไม่ได้คิดพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน เลยนะท่าน
    แล้วก็ควรได้อ่าน กระทู้ "ธรรมะ คือ อะไร ในพุทธศาสนา) ทั้ง 3 ตอนให้ละเอียด เถิด
     
  10. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ท่านทั้งหลายที่สนใจ โปรดได้พิจารณาในหลักบรรทัดฐาน แห่งธรรมะในพุทธศาสนานี้ให้ดี ให้ถี่ถ้วน
    จะพิจารณาเปรียบเทียบ หรือควบคู่ไปกับสิ่งที่มีอยู่เดิมก็ไม่ผิด เพราะบรรทัดฐานธรรมะนี้ ไม่ใช่เป็นข้อคัดค้านกับสิ่งที่มีอยู่เดิม
    แต่หากว่าท่านทั้งหลายได้พิจารณาและเกิดความเข้าใจแล้ว ก็อาจบรรลุ มรรคผลได้ ทุกทั่วตัวคน
     
  11. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    หลักธรรมะ อันได้สร้างขึ้นมาเป็นบรรทัดฐาน สำหรับศาสนาพุทธนี้ แรกเมื่อนำออกเผยแพร่ เมื่อ หลายปีก่อน มักถูกมองว่า ข้าพเจัาคัดค้านสิ่งที่มีอยู่เดิม
    จากกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่รู้เท่าไม่ถึงกาล
    ขอให้ท่านผู้ใฝ่ในธรรม หรือผู้ที่สนใจ ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วน อย่างช้า จนเกิดความเข้าใจในทีละข้อ ทีละอย่าง แล้วก็จะรู้ว่า หลักบรรทัดฐานที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป ไม่ได้คัดค้านสิ่งที่อยู่เดิมเลย แม้แต่น้อย คิดดีคิดได้ ก็บรรลุธรรมได้ขอรับ
     
  12. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ในเรื่องของธรรมะ ในพุทธศาสนา ที่ข้าพเจ้าได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นบรรทัดฐาน สำหรับการเรียนรู้ และทำความเข้าใจนี้ ในบทเรียนนี้ เป็นบทเรียนที่ 1 มี 3 ตอน ซึ่ง จริงแล้ว
    บทเรียน ทั้ิงหมด จะมีอยู่ หัวข้อละ 10,500 บทเรียน (หนึ่งหมื่นห้าร้อยบทเรียน) ต่อหนึ่งหลักธรรมะ หรือ 21,000 บทเรียน (สองหมื่นหนึ่งพันบทเรียน) ต่อ ธรรมะหนึ่งคู่
    กล่าวคือ ในเรื่องของหลักธรรม
    "ระลึก,ดำริ" ก็จะสามารถแบ่งแยกรายละเอียด หรืออรรถาธิบายในรายละเอียด ได้ อย่างละ 10,500 บทเรียน (หนึ่งหมื่นห้าร้อย) รวมเป็น 21,000 บทเรียน (สองหมื่นหนึ่งพันบทเรียน)
    แต่ยังไม่รู้เหมือนกันว่า จะสามารถเขียนในรายละเอียดได้มากน้อยแค่ไหนขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...