ทอดกฐินแดน"พุทธภูมิ" ดูสงฆ์ไทยฟื้น"พุทธศาสนา"

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 16 พฤศจิกายน 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    โดย เสาวรส รณเกียรติ


    [​IMG]ในฐานะพุทธศาสนิกชน ถือว่าเป็นความโชคดี 2 เด้งทีเดียว ที่ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย โดยความอนุเคราะห์ของ กระทรวงการต่างประเทศ

    เพราะนอกจากจะได้เข้าร่วมงาน "พระกฐินพระราชทาน" แล้ว

    งานพระกฐินครั้งนี้ยังจัดขึ้นที่ "พุทธคยา" ดินแดนอันเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

    ปีนี้ นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในการเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานถวายที่ "วัดไทยพุทธคยา" เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา

    ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2547 กระทรวงการต่างประเทศก็เคยขอพระราชทานผ้าพระกฐินเพื่อมาทอดที่วัดไทยพุทธคยาแห่งนี้ครั้งหนึ่งแล้ว

    "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริผ่านกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่ปี 2538 ว่าทรงอยากเห็นพุทธศาสนาเถรวาท มีความปึกแผ่นเช่นเดียวกับศาสนาบางศาสนา"

    "กระทรวงการต่างประเทศจึงสนองพระราชดำริ ด้วยการอัญเชิญผ้าพระกฐินไปถวายวัดในประเทศที่นับถือพุทธสายเถรวาทเท่านั้น เช่น ลาว ลังกา กัมพูชา เป็นต้น ซึ่งรวมถึงวัดไทยในประเทศอินเดียด้วย

    สำหรับปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้จัดถวายผ้าพระกฐินพระราชทานรวม 11 วัด ใน 10 ประเทศ รวมถึงมาเลเซียมี 2 วัด ซึ่งเป็นวัดที่มีชุมชนคนไทยพุทธอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขกับชาวมุสลิมในมาเลย์มานาน" นายเตชเล่าถึงโครงการพระกฐินพระราชทานของกระทรวงการต่างประเทศ

    ที่วัดไทยพุทธคยา คณะจากประเทศไทย ได้เข้ากราบนมัสการ พระเทพโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล) เจ้าอาวาส วัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย


    [​IMG]ด้วยวัย 80 ปี พรรษาที่ 60 พระเทพโพธิวิเทศ ดูแข็งแรง นั่งหลังตรงสนทนากับนายเตช บุนนาค และคณะ ด้วยความเมตตา สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมเล่าให้ฟังว่า พระพุทธศาสนาที่แทบจะสูญหายไปจากดินแดนพุทธภูมิแห่งนี้ เริ่มเจริญขึ้นรวดเร็วมาก แต่ละปีมีชาวพุทธจากทั่วโลกเดินทางมาพุทธคยาจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

    โดยเฉพาะคนไทย ที่พบเห็นแทบทุกวันและทุกฤดู (ปกติชาวพุทธมักจะเดินทางไปพุทธคยาช่วงหน้าหนาว เนื่องจากหน้าร้อนอากาศร้อนมาก)

    พระเทพโพธิวิเทศ ถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญอีกองค์หนึ่งในการสืบทอดการฟื้นฟู และเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนพุทธภูมิแห่งนี้

    เพราะหากย้อนกลับไปเมื่อ 51 ปีที่แล้ว หรือปี พ.ศ.2500 ระหว่างที่เริ่มมีการก่อสร้างวัดไทยพุทธคยานั้น

    "พุทธคยา" คือชนบทห่างไกลจากความเจริญมาก ผู้คนมีจำนวนไม่มาก และฐานะยากจน ถนนหนทางเป็นถนนดินเต็มไปด้วยฝุ่น

    พระธรรมทูตจากไทยชุดแรกต้องอยู่กันด้วยความยากลำบาก และอดทนต่อสภาพอากาศในหน้าร้อน ที่ร้อนมาก อุณหภูมิสูงถึง 47-48 องศาเซลเซียส

    แต่คณะสงฆ์ไทยก็สามารถฝ่าฟันความยากลำบากนั้นมาได้ พร้อมๆ กับการสร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้านที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ใกล้เคียงกับวัดไทยพุทธคยา ทั้งการแจกขนมหวานกับเด็กๆ ไปจนถึงการแจกยา

    จนปัจจุบัน วัดไทยพุทธคยามีโครงการที่จะก่อสร้างสถานพยาบาลไว้สำหรับดูแลรักษาชาวบ้านแถบนั้น ที่ยังมีปัญหาขาดแคลนยาและสถานพยาบาล ไม่แตกต่างจากเมื่อ 50 ปีที่แล้ว

    ทำให้วัดไทยพุทธคยาเป็นที่รู้จักอย่างดีของคนท้องถิ่นที่นั่น

    [​IMG]อย่างไรก็ตาม ในการฟื้นฟูและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนพุทธภูมิแห่งนี้ พระสงฆ์ไทยก็ยังต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่นในดินแดนแห่งนี้

    จากข้อมูลที่ทราบ คนอินเดียเริ่มหันมาสนใจและศรัทธาที่จะนับถือศาสนาพุทธมากขึ้น ยิ่งได้มาเห็นชาวพุทธที่หลั่งไหลจากทั่วโลกไปยัง "พุทธคยา" รวมทั้งสังเวชนียสถานอื่นๆ

    มีทั้งคนไทย ญี่ปุ่น เกาหลี ศรีลังกา โดยเฉพาะที่ "พุทธคยา" ที่พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลไปกราบไหวต้นโพธิ์ และแท่นวัชรอาสน์ สถานที่องค์สมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า "ตรัสรู้" ก็ยิ่งทำให้คนท้องถิ่นในคยาหรือคนอินเดียในแถบอื่นๆ เริ่มได้คิดว่า พุทธศาสนาจะต้องมีดีบ้าง ไม่เช่นนั้นใครจะลงทุนลงแรงเดินทางมายังดินแดนอันทุรกันดารแห่งนี้

    แต่แม้จะสนใจหรือศรัทธาแต่ส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถแสดงตัว หรือเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธได้อย่างเต็มตัว เนื่องจากการเปลี่ยนศาสนาจะทำให้ไม่ได้สิทธิพิเศษต่างๆ เช่น ภาษี หรือการศึกษา เหมือนเดิม

    แต่ก็ดูเหมือนว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้พระสงฆ์ไทยหรือพระสงฆ์จากประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น ทิเบต ภูฏาน ลาว พม่า ที่มาสร้างวัดไว้รอบพุทธคยา และเมืองอื่นๆ ย่อท้อ หรือถอดใจ

    หลายเรื่อง หลายประสบการณ์ ที่ได้ฟังแล้ว อดที่จะร่วมอนุโมทนากับความเพียรของพระสงฆ์ไทยไม่ได้ อย่างเช่น พระมหาพัน สุภาจาโร เจ้าอาวาสวัดไทยนาลันทา ที่กรุงราชคฤห์ ที่เพิ่งรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไทยนาลันทา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 ก่อนเข้าพรรษาปีนี้ไม่นาน

    แต่สามารถปรับปรุงวัดไทยนาลันทา ที่ถูกปล่อยร้างมาระยะหนึ่ง ให้กลายเป็นวัดที่ร่มรื่น เหมาะแก่การศึกษาธรรม

    ที่สำคัญคือ พระมหาพันได้นำพระ 11 รูปในวัดออกบิณฑบาตทุกวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ง่ายนักในดินแดนแห่งนี้ จึงเป็นเรื่องปกติที่แต่ละวัดจะมีญาติโยมคอยทำอาหารถวายพระ

    พระมหาพันเล่าว่า วันแรกของการบิณฑบาตได้เพียง "จาปาตี" เพียง 2 แผ่น แม้จะมีบางบ้านนิมนต์เข้าไปในบ้าน แต่ก็เพียงถวายน้ำชา

    แต่ไม่กี่วันหลังจากนั้น พระแต่ละรูปก็บิณฑบาตได้อาหารเต็มบาตร บางคนมี "จาปาตี" เพียงแผ่นเดียว แต่ก็บิใส่บาตรให้ครบทุกรูป

    ยิ่งวันออกพรรษา ที่มีการจัดตักบาตรเทโว ปรากฏว่ามีคนอินเดียมารอใส่บาตรเป็นจำนวนมาก

    พระมหาพันบอกว่า ถึงเวลานี้แต่ละวัน พระแต่ละรูปจะออกบิณฑบาตเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร อาหารที่บิณฑบาตได้นั้นเพียงพอที่จะเลี้ยงคนงานในวัดได้อีกด้วย

    และในพรรษาหน้า ท่านมีโครงการที่จะให้คนอินเดียมาทำบุญที่วัด ทุกวันพระอีกด้วย เห็นความเปลี่ยนแปลงของพุทธศาสนาที่เคยเกือบจะสูญสิ้นในดินแดนพุทธภูมิแห่งนี้แล้ว ทำให้หวนรำลึกถึงพระเทพโพธิวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ที่ปรารภขึ้นว่า

    "พุทธศาสนาในดินแดนนี้เจริญขึ้นมาก จนทำให้คิดว่า พุทธศาสนามีแนวโน้มที่จะกลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง"


    สุวิมล เชื้อชาญวงศ์: รายงาน

    ขอขอบคุณ
    ที่มา :
    มติชนรายวัน 4 พฤศจิกายน 2551 หน้า 23
     

แชร์หน้านี้

Loading...