ทฤษฏีไร้ระเบียบของจิต

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย slamb, 7 สิงหาคม 2008.

  1. slamb

    slamb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,021
    ค่าพลัง:
    +538

    กฏทางเทอร์โมไดนามิกและทฤษฏีไร้ระเบียบของจิต

    ทฤษฏีทางเทอร์โมไดนามิกเป็นทฤษฏีจากหลักกลศาสตร์ของความ ร้อน หลักข้อหนึ่งคือเอนโทรปีของระบบ จะคงที่หรือเพิ่มขึ้นเสมอ หรือเอนโทรปีของจักรวาลมีแนวโน้มจะเพิ่มค่าขึ้นไปสู่ค่าสูงสุด เป็นตัวแปรที่กำหนดความยุ่งเหยิงของระบบ ซึ่งเอนโทรปีจะต้องเพิ่มขึ้นเสมอ จึงเป็นตัวบอกได้ว่าเหตุการณ์ใดสามารถเกิดขึ้นได้ เหตุการณ์ใดไม่มีทางเกิดขึ้น ตามทฤษฏีนี้อธิบายว่าทำไมเราจึงย้อนกลับอดีตไม่ได้
    ซึ่ง กล่าวได้ว่าทุกสิ่งในจักรวาลตั้งแต่กำเนิดจักรวาลขึ้นมา หลังการระเบิดใหญ่หรือบิ๊กแบงจะมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะยุ่งเหยิงไร้ระเบียบมาก ขึ้นเสมอ กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่ามีระเบียบน้อยลงเสมอ
    เมื่อพิจารณาตามหลักเทอร์โมไดนามิก ยิ่งเกิดภาวะไร้ระเบียบมากขึ้นและเร็วเท่าใดเวลาก็จะผ่านไปเร็วเท่านั้น เวลามีทิศทางเดียวไปข้างหน้าย้อนกลับไม่ได้ จิตของคนเราก็อยู่ภายใต้กฏของเทอร์โมไดนามิก จิตมีความโน้มเอียงที่จะเข้าสู่ความไร้ระเบียบเสมอ ยิ่งจิตไม่มีระเบียบมากขึ้นเท่าใด เวลาของจิตจะเร็วมากขึ้นเท่านั้น เปรียบเหมือนคนจิตไม่นิ่ง วู่วาม สับสน ใจร้อนเวลาจิตของเขาจะเดินเร็วกว่าเวลาภายนอก ตรงข้ามกับคนจิตนิ่งเวลาภายในจิตจะเดินช้า


    ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้น ทุกคนจะคิดเชิงบวกหมด จึงทำให้เกิดการทำลายล้าง เหมือนกับเหตุการณ์ฟองสบู่แตกที่ไม่มีใครหรือจุดใดคานงัดจึงส่งผลให้เกิดการ เสียสมดุลย์ ถ้าคิดแบบกระบวนระบบ คือทุกสิ่งทุกอย่างมีความสัมพันธ์ และความสมดุลย์กันเมื่อสิ่งหนึ่งหายไป สิ่งอื่นก็มาทดแทน แต่ในขณะนี้มันไม่เป็นอย่างนั้นแล้วเพราะความไม่สมดุลย์ของการพัฒนา ดังนั้นเราจึงควรเร่งหา ความสัมพันธ์เชิงลบ (Negative Feedback) หรือสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ เพื่อที่จะทำให้ระบบกลับมาสมดุลย์

    หัวใจของทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory หรือ Dynamic Complex System )
    ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ย้อนกลับ (Feedback) 3 ประการ ดังนี้


    1. จับกระแสความสัมพันธ์ย้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback) ให้ได้ เรื่องเล็ก ๆ สามารถทำให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ ทฤษฎีนี้เกิดมาจาก วิธีคิดของมนุษย์ที่ยังไม่แยกออกจากเทคโนโลยี เพราะมนุษย์คิดว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของมนุษย์ เช่น ระบบนาฬิกา Completed System วิธีคิดของคนสมัยก่อนคิดแบบกลไก มองจักรวาลเป็นเหมือนฟันเฟืองนาฬิกาที่ไม่มีทางพลาด แต่วิธีคิดแบบใหม่บอกเราว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องอาศัยเวลา ดังเรื่อง
    ผีเสื้อกระพือปีก ซึ่งแต่ก่อนเราไม่เคยรู้ว่าเมื่อผีเสื้อกระพือปีกบ่อย ๆ หมายถึงอะไร ตอนนี้เรารู้แล้วว่าผีเสื้อกระพือปีก แต่ละครั้งสามารถทำให้ ดิน ฟ้า อากาศ เปลี่ยนแปลงได้ ข้อคิดนี้ต้องการจะสื่อว่า ความสัมพันธ์ย้อนกลังเชิงบวกในแต่ละครั้งเมื่อเกิดการสะสม สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใหญ่ ๆ ขึ้น

    2. ภายใต้ระบบเปิดที่มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
    โดยเฉพาะความเกี่ยวพันกับสิ่งมีชีวิตซึ่งขาดความสมดุลย์ เนื่องจากเงื่อนไข บางอย่างเปลี่ยนไป ภายใต้สถานการณ์ที่สั่นไหว และปั่นป่วน ก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ย้อนกลับและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สิ่งนั้น ๆ ได้


    3. ทุกอย่างในโลกล้วนมีความเหมือนหรือความคล้ายตัวเอง
    (Self Similarity) เช่น ลักษณะของใบไม้ จะไม่เหมือนกันในขณะที่อยู่ต้นเดียวกัน แต่ก็มีลักษณะเฉพาะบางอย่างที่สามารถบอกได้ว่าใบไม้ใบนั้นมาจากต้นไหน ก็เหมือนกับทฤษฎีทางเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นมาเพราะรูปทรงในธรรมชาติ ไม่สามารถวาดได้ หรือทฤษฎีบางทฤษฎีที่ไม่สามารถบอกที่มาที่ไปได้ว่ามันมาอย่างไร ซึ่งจริง ๆ แล้วในสมัยก่อนทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์จะเน้นที่เรื่อง ปริมาณที่สามารถจับต้องได้ แต่โลกปัจจุบันพัฒนาในระดับคุณภาพที่แต่ก่อนคิดกันว่าจับต้องไม่ได้ ดังเช่น ความรู้ ความคิดที่ไล่ไม่ทัน ในยุคนี้สิ่ง เหล่านี้เองที่เป็นหัวใจของการต่อสู้ การใช้จิตวิญญาณ ใช้หลักการสร้างสรรค์ ในการสร้างสังคมใหม่ ในอนาคตจะมีเรื่องจิตวิญญาณมากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดระบบเชื่อมความสัมพันธ์ของแต่ละสรรพสิ่งจึงมีความสำคัญมาก


    การปฏิสัมพันธ์ของสรรพสิ่งต่าง ๆ

    การจัดระเบียบตัวตน (Self Organizing) เป็นระบบที่ก่อตัวเองขึ้นมาจนดูเหมือนเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เกิดจากปฏิกิริยา บางอย่างที่ไปเร่งให้เกิดระบบใหม่ขึ้น ระบบการจัดระเบียบตัวตนนี้ เมื่ออยู่อย่างโดยเดี่ยวจะไม่มีความหมาย แต่เมื่อมารวมกันก็ทำให้เกิดคุณภาพใหม่ (Emergence) และจะเกิดขึ้นเฉพาะในระบบที่ซับซ้อนเท่านั้น เนื่องจากระบบที่ไม่ซับซ้อน เช่น ระบบเชิงเส้น เป็นระบบธรรมดา ไม่อยู่เหนือความคาดหมายของมนุษย์

    <table width="90%" align="center" border="0"> <tbody> <tr> <td bgcolor="#dedede">
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td>
    </td></tr> <tr> <td>ข้อคิด : ความมืดปกคลุมไม่นาน พอรุ่งสางแสงทองของอรุณรุ่งก็จะคืนสู่ฟากฟ้า </td></tr></tbody></table>

    คำ โบราณ หยิน หยาง กล่าวว่า ณ จุดสูงสุดของสิ่งเก่าจะเกิดสิ่งใหม่วนเวียนอยู่อย่างนี้เป็นไปตามวัฎจักร สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หลุดไปจากอดีต เพียงแต่มีการพัฒนาให้เพิ่มมากขึ้น

    ทฤษฎี ไร้ระเบียบ หรือทฤษฎีซับซ้อนต่างก็มีความน่าสนใจเหมือนกัน ตรงที่ว่า สิ่งเล็ก ๆ สามารถสร้างผลสะเทือนใหญ่โตได้ เพราะฉะนั้น ถ้าคนมารวมกันได้จะเกิดพลังมหาศาล สามารถก่อเกิดสิ่งใหม่ ๆ ได้ และพลังอำนาจที่เกิดขึ้นมิใช่เพียงแค่ 1 + 1 เป็น 2 แต่อาจจะเป็น 5,6,7 หรือเป็น 10 ก็ได้ ดังนั้น ปฎิกริยาของคนเล็ก ๆ ถ้ามารวมกันก็จะเกิดคุณภาพใหม่ เพราะแต่ละคนมีพลังไม่เท่ากัน ถ้าคนมารวมกันก็ทำให้มีกำลังใจ เหมือนที่นักวิชาการบอกว่าจิตใจมนุษย์เมื่อมารวมกันจะเกิดเป็นพลังที่ยิ่ง ใหญ่มหาศาล

    แต่เดิมเมื่อรู้สาเหตุจะสามารถทำนายผล ที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีปัจจัยภายนอกมากระทบอยู่ตลอดเวลา จึงเกินความคาดหมายของมนุษย์ที่จะคาดเดาได้ ปัจจัยภายนอกที่ว่าอาจเป็นปัจจัยทางการเมือง ที่เข้ามากระทบแกนกลาง ดังการพัฒนากระแส หลักทางด้านเศรษฐกิจที่เข้ามากระทบเศรษฐกิจชุมชนในท้องถิ่น จนเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นต้องพัฒนาให้เป็นเหมือนเศรษฐกิจแระแสหลัก แต่ก็มีบางส่วนที่ยังสามารถดำรง เศรษฐกิจในชุมชนตนเองไว้ได้ การเปรียบเทียบเช่นนี้ เพื่อต้องการให้เห็นว่า เศรษฐกิจท้องถิ่นก็คือคนที่อยู่ตามชายขอบ หรือ "นวัตกรสังคม" ซึ่งคนเหล่านี้จะก่อเกิดสิ่งใหม่ ๆ ได้ เพราะเมื่อมีคนอยู่ตามชายขอบจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กระแสหลักได้ และคนจากชายขอบเหล่านี้ก็สามารถเข้ามาอยู่ในกระแสหลักได้ แต่ต้องไม่ติดอยู่ในระบบ เพราะถ้าติดอยู่ในระบบก็จะถูกกลืนหมด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะติดต่อกับคนในระบบไม่ได้ เราต้องติดต่อกับตัวบุคคลไม่ใช่กับระบบ เพราะการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ตัวบุคคล



    ได้มีผู้รู้วิเคราะห์กันว่า เพราะเหตุแห่ง"ทฤษฏีไร้ระเบียบ"ที่ครอบงำโลกและจักรวาลทั้งสิ้นนี้เอง จึงเป็นตัวอธิบายถึงเรื่อง"กฏแห่งกรรม"ที่หลายๆท่านสงสัยกันอย่างยิ่งกันมานานแล้วว่า
    ทำไมบางคน.......

    ทำดีแล้วไม่ได้ดี ก็มี
    ทำไม่ดีแล้วได้ดี ก็มาก
    ก็ขนาดเรื่องของวัตถุทางกายภาพแบบหยาบๆที่ตกอยู่ภายใต้กฏใต้ทฤษฏีไร้ระเบียบ ยังยากจะคาดเดาเห็นปานนี้
    จึง ไม่จำต้องพูดถึงเรื่องของ"จิต"และ"กฏแห่งกรรม" อันเป็นธรรมชาติฝ่ายละเอียด เมื่อเจอกับทฤษฏีไร้ระเบียบเข้ามาเป็นตัวแปรเข้าให้แล้ว จึงยากจะคาดเดาให้ถูกถ้วนไปสักเพียงไหน???

    พระพุทธองค์ทรงเคยตรัสไว้ว่า
    ทำดี ก็ต้องดี และต้องได้รับผลดีแน่ๆ
    ทำชั่ว ก็ต้องชั่ว และต้องได้รับผลชั่วแน่ๆ
    แต่เพราะคนเราทำกรรมทั้งดีและชั่วตลอดภพชาติที่ผ่านมานับกันไม่ถ้วน เมื่อบวกกับ"ทฤษฏีไร้ระเบียบ"ของวัฏฏสงสารเข้ามาผสมโรงอีกต่างหาก ผลก็คือ
    ทำดี ก็ต้องดี และต้องได้รับผลดีแน่ๆ
    แต่...ผลดีนั้นจะปรากฏและได้รับผลเมื่อไรไม่รู้
    อาจปรากฏผลทันที หรือในกาลต่อมา และหรือในภพหน้าชาติหน้าก็ได้
    ส่วนการทำชั่ว ก็ต้องชั่ว และต้องได้รับผลชั่วแน่ๆ
    แต่...ผลชั่วนั้นจะปรากฏและได้รับผลเมื่อไรไม่รู้อีกเช่นกัน
    อาจปรากฏผลทันที หรือในกาลต่อมา และหรือในภพหน้าชาติหน้าก็ได้อีกเช่นกัน

    นี้จึงเป็นคำตอบที่ว่า ทำไม " หมอดู" หรือ "ผู้ทรงญาณ"ทั้งหลาย ที่แม้จะเคยดูเคยเล็งญาณสมาธิถึง"วาระกรรม"ได้อย่างแม่นยำนักหนา เมื่อเอาเข้าจริงๆ ก็หาได้ถูกถ้วนไปทั้งหมดทุกอย่างทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ไม่
    หลายๆกรณี จึงมีการดูผิดหรือพยากรณ์พลาดไปคนละเรื่องเดียวกัน ชวนให้กังขาสงสัยไปต่างๆนานาได้
    เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะท่านเหล่านั้น ยังมี"กำลังแห่งรู้"ไม่ถึงขั้นเพียงพอที่จะเล็งจิตเล็งญาณฝ่าม่านบาเรียร์แห่ง"ความไร้ระเบียบ" ของธรรมชาตินี้ อันเป็นตัวแปรที่ทำให้กฏแห่งกรรมมีความไม่มีระเบียบในการให้ผลและลำดับแห่งการให้ผลอย่างที่สุดไปจนตลอดรอดฝั่งได้จริงๆนั่นเอง.....
    แต่เมื่อถามว่า ก็ในไตรโลกนี้ จักมีท่านผู้ใด มีกำลังแห่งรู้สูงพอที่จะมองทะลุ"ทฤษฏีไร้ระเบียบ"แห่ง"กฏแห่งกรรม" จนสามารถมองทะลุปรุโปร่งถึงที่มาที่ไปแห่งผลกรรมที่เจือปนด้วยความไร้ ระเบียบอย่างยิ่งและพยากรณ์ได้ถูกต้องที่สุด ไม่มีผิดพลาดเลยแม้เพียงน้อยเดียว
    คำตอบก็คือ
    "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"ผู้ทรงอนาวรณญาณอันประเสริฐสุดแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้นแล้ว <table width="100" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]

    พระอรหันตสาวกผู้บำเพ็ญบารมี 100,000 มหากัปใดก็รู้แจ้งเช่นนี้ไม่ได้
    พระอัครสาวกผู้บำเพ็ญบารมี 1 อสงไขย กำไร 100,000 มหากัป ก็รู้ทั่วเช่นนี้ไม่ได้
    พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขย กำไร 100,000 มหากัป ก็ยังไม่อาจรู้แจ้งในกฏแห่งกรรมทั้งสิ้นได้
    พระ โพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญบารมี 4,8,16 อสงไขย กำไร 100,000 มหากัปหรือยิ่งกว่านี้ แต่ยังไม่ได้ตรัสรู้พระโพธิญาณ ก็แทงตลอดในเรื่องเช่นนี้อีกไม่ได้เช่นกัน
    เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ เรื่อง"กฏแห่งกรรม"นั้น เป็นหนึ่งใน "อจินไตย" ที่มีแต่"พุทธวิสัย" แห่ง"องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ที่จะทรงรู้แจ้งและแทงตลอดอย่างไม่มีผิดพลาดสิ้นเชิงทีเดียว....

    [​IMG]



    ขอบคุณ
    http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-080511223726307


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...