จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๙

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 17 กันยายน 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    จิต,เจตสิก,รูป, นิพพาน ตอนที่ ๙
    เมื่อท่านทั้งหลายได้ศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ ในเรื่อง ของ รูป(ขันธ์) ,สัญญา(ขันธ์) ตามสมควรแห่งสมองสติปัญญาของท่านทั้งหลายแล้ว ในตอนที่ ๙ นี้ ข้าพเจ้าก็จะอรรถาธิบายในเรื่องที่ต่อเนื่องจากรูป(ขันธ์)และสัญญา(ขันธ์) นั่นก็คือ "เวทนา(ขันธ์)"
    รูป(ขันธ์) ไม่ว่าจะเป็น มหาภูตรูป(ไฟ,ลม,ดิน,น้ำ) และ รูปที่ต้องอาศัยมหาภูตรูป หรือ รูปที่มีการเกิดสืบเนื่องจาก ไฟ,ลม,ดิน,น้ำ ซึ่งในพระอภิธรรมปิฎกเรียกว่า อุปาทายรูป แบ่งแยกย่อยออกไปเป็นอย่างๆดังนี้ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน
    ล้วนเป็นต้นตอทั้ง อายตนะภายใน และ อายตนะภายนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความจำได้ หมายรู้ หรือสัญญา ดังที่ข้าพเจ้าได้อรรถาธิบายไปแล้วในตอนที่ ๘
    การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ หรือจำได้ หรือ สัญญา ย่อมเป็นสิ่งที่นำไปสู่ เวทนา คือ ความรู้สึก เช่นรู้สึกเป็นทุกข์ รู้สึกเป็นสุข รู้สึกสบาย หรือ ไม่สุขสบาย หรือไม่รู้สึกว่าทุกข์ ไม่รู้สึกว่าสุข คือ เฉยๆ ก็ย่อมเป็นไปตามเจตสิก คือธรรม หรือความรู้ ที่ประกอบอยู่ในจิต ซึ่งย่อมหมายถึง ความรู้หรือ ธรรมะ ที่จำได้หมายรู้นั่นเอง
    ความรู้สึกเป็นทุกข์ เป็นสุข นั้นย่อมเกิดจากการได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอก โดยอายตนะภายในเป็นสิ่งรับรู้ กล่าวคือ อายตนะภายใน อันได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้รับรู้และสัมผัส หรือกระทบกับ อายตนะภายนอก นั่นก็คือ รูป รส กลิ่น เสียงแสงสี โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จึงทำให้เกิดความรู้สึก เป็นทุกข์ เป็นสุข หรือเฉยๆ การเกิดความรู้สึก หรือเวทนานั้น ย่อมเกิดจากความจำได้หมายรู้ (สัญญา) ย่อมเกิดจาก การจำได้หมายรู้ ในความรู้ และธรรมะต่างๆ ที่ประกอบอยู่หรือจำอยู่ในจิต ถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ สมองจะเป็นแห่งเก็บข้อมูลความรู้ หรือธรรมะต่างๆเอาไว้ ใจจะเป็นตัวสร้างอารมณ์ ความรู้สึก เมื่อบุคคลได้กระทบหรือสัมผัสกับสิ่งใดใดด้วย อายตนะภายใน ก็จะถูกส่งไปที่สมองและหัวใจเกือบพร้อมกัน หรือการกระทบหรือสัมผัสบางชนิด ก็จะถูกส่งไปที่สมองก่อนแล้วจึงส่งต่อไปยังหัวใจ และหัวใจก็จะส่งกับไปที่สมองอีก อย่างรวดเร็ว อาจจะมีความเร็วกว่าการเดินของแสงด้วยซ้ำไป
    การกระทบบางอย่างก็ทำให้เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมานในทันที การกระทบหรือสัมผัสบางอย่างจะค่อยๆเกิดความทุกข์ หรือเกิดความสุข หรือเฉยๆ จากการคิดของสมอง และอื่นๆ อย่างนี้เป็นต้น
    ดังนั้น เวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ย่อมเป็นผลจาก จิต ,เจตสิก,รูป รวมไปถึง รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่งว่า เวทนาขันธ์เป็นผลจากการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย อันผสมผสานด้วย ความจำได้หมายรู้ ในธรรม ในความรู้
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๑๗ ก.ย. ๒๕๕๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2009
  2. neung48

    neung48 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +457
    สรุปให้ฟน่อย เอาแบบง่ายๆ ศัพย์แสงไม่ต้อง ขี้เกียจแปล
     
  3. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040

    อารมณ์ขันดี !
     
  4. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ดังนั้น เวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ย่อมเป็นผลจาก จิต ,เจตสิก,รูป รวมไปถึง รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่งว่า เวทนาขันธ์เป็นผลจากการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย อันผสมผสานด้วย ความจำได้หมายรู้ ในธรรม ในความรู้

    ไม่ต้องแปลขอรับ ทำความเข้าใจ โดยการอ่านตั้งแต่ตอนที่ ๑ เป็นต้นมา ก็ย่อมเกิดความเข้าใจได้
    การอธิบาย ไม่ใช่สรุปสั้นๆ แล้วจะเกิดความเข้าใจ ต้องอ่านกันยาว ถึงจะรู้ ถึงจะเข้าใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...