กฎแห่งกรรมกับความเป็นธรรม ...พระไพศาล วิสาโล

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 17 ธันวาคม 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [SIZE=+2]
    ทำไมคนดีถึงยากจน แต่คนชั่วกลับร่ำรวย ? เหตุใดคนที่เสียสละเพื่อส่วนรวมถึงมีอายุสั้น แต่คนที่โกงกินบ้านเมืองกลับมีอายุยืน? [/SIZE]

    [SIZE=+2]ข้อความเหล่านี้มักถูกยกขึ้นมาเพื่อตั้งข้อสงสัยกับกฎแห่งกรรมว่า กฎนี้มีจริงหรือ และมีความเป็นธรรมเพียงใด ในทัศนะของคนจำนวนไม่น้อยสองประเด็นนี้สัมพันธ์กัน เพราะหากชี้ได้ว่ากฎแห่งกรรมไม่มีความเป็นธรรมก็แสดงว่ากฎนี้ไม่มีอยู่จริง[/SIZE]
    [SIZE=+2]คำถามก็คือ เราเข้าใจกฎแห่งกรรมว่าอย่างไร กฎแห่งกรรมในความเข้าใจของคนทั่วไป สรุปได้สั้น ๆ ว่า “ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว” นัยยะที่มักพ่วงตามมาก็คือ ทำดีแล้วต้องรวยและอายุยืน ทำชั่วต้องยากจนและอายุสั้น เป็นต้น เพราะคนทั่วไปมองว่า รวยและอายุยืนนั้นคือ “ดี” ส่วนยากจนและอายุสั้นคือ “ไม่ดี”[/SIZE]
    [SIZE=+2]ไม่ผิดหากจะกล่าวว่ากฎแห่งกรรมหมายถึง “ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว” เพราะข้อความนี้มาจากพุทธศาสนสุภาษิตในพระไตรปิฎก แต่ข้อความนี้ไม่ได้มาโดด ๆ ข้อความที่มาก่อนหน้านั้นก็คือ “หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น” ความหมายก็คือหากปลูกมะม่วง ก็ได้มะม่วง ปลูกมะพร้าว ก็ได้มะพร้าว เป็นอื่นไปไม่ได้ นี้คือกฎธรรมชาติที่พุทธศาสนาเรียกว่า “พีชนิยาม” หรือกฎธรรมชาติเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและการสืบพันธุ์[/SIZE]
    [SIZE=+2]ในทัศนะของพุทธศาสนา พีชนิยามกับกฎแห่งกรรม (ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า “กรรมนิยาม”) มีสถานะเท่ากัน คือเป็นกฎธรรมชาติเหมือนกัน และมีความเป็นสากล ไม่ขึ้นอยู่กับการบังคับควบคุมของมนุษย์ ปลูกมะม่วง ย่อมได้มะม่วงฉันใด ทำดีย่อมได้ดีฉันนั้น แต่ “ดี” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่ารวยหรืออายุยืน เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการบอกว่า ปลูกมะม่วงย่อมได้เงินดี [/SIZE]
    [SIZE=+2]ใคร ๆ ก็รู้ว่าปลูกมะม่วงแล้วไม่จำเป็นต้องได้เงินดี เพราะเงินจะดีหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับราคาของมะม่วงในตลาดว่าสูงหรือต่ำ และยังต้องขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของพ่อค้าคนกลาง ตลอดจนความสามารถของลูกค้าในการเข้าถึงสวนมะม่วง เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้อยู่นอกเหนือกฎธรรมชาติหรือพีชนิยาม แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในสังคม ซึ่งแปรเปลี่ยนตลอดเวลาและมีมนุษย์เป็นตัวกำหนดที่สำคัญ[/SIZE]
    [SIZE=+2]ปลูกมะม่วงไม่ได้แปลว่าต้องได้เงินดีฉันใด ทำดีก็ไม่ได้หมายความว่าต้องรวยฉันนั้น แต่ที่แน่ใจก็ได้ก็คือ ปลูกมะม่วงก็ต้องได้มะม่วง (หากปลูกถูกต้อง) ทำดีก็ต้องได้ดี (หากทำดีถูกต้อง) ดีในที่นี้หมายถึงผลดีที่เกิดขึ้นกับจิตใจ บุคลิกนิสัย และส่งผลถึงการกระทำ เช่น ทำให้จิตใจสงบเย็น โปร่งเบา ส่วนผลที่นอกเหนือจากนั้น เช่น รายได้ สุขภาพ ชื่อเสียงเกียรติยศ ยังต้องขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอีกมากมาย เช่น ความสามารถในการประกอบอาชีพและการจับจ่ายใช้สอยของคนผู้นั้น รวมทั้งพฤติกรรมของคนรอบข้าง ค่านิยมของสังคม สภาวะเศรษฐกิจในเวลานั้น ฯลฯ[/SIZE]
    [SIZE=+2]ชอบทำบุญ ทอดกฐินทอดผ้าป่าเป็นประจำ แต่ขณะขับรถกลับจากต่างจังหวัด เกิดหลับในขึ้นมา จึงขับชนเสาไฟฟ้าถึงแก่ชีวิต ในกรณีเช่นนี้ย่อมไม่อาจพูดได้ว่าทำดีแล้วทำไม่ไม่ได้ดี เพราะการขับรถอย่างปลอดภัยนั้นต้องอาศัยสติด้วย ไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นคนใจบุญอย่างเดียว ในทำนองเดียวกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ไม่โกงไม่กิน แต่ชอบกินอาหารที่เต็มไปด้วยไขมัน แถมไม่ออกกำลังกาย อีกทั้งยังเครียดจากที่ทำงาน เส้นเลือดในสมองจึงแตก กลายเป็นอัมพาต นอนซมอยู่ที่บ้านช่วยตัวเองไม่ได้ กรณีอย่างนี้ก็ไม่อาจพูดได้เช่นกันว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี เพราะสุขภาพนั้นจะดีหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตด้วย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์สุจริตอย่างเดียว[/SIZE]
    [SIZE=+2]ชอบ ทำบุญแต่ตายเพราะอุบัติเหตุ หรือซื่อสัตย์แต่กลับเป็นอัมพาต จึงไม่ได้หมายความว่ากฎแห่งกรรมไม่มีจริง ทั้งยังพูดไม่ได้ด้วยว่ากฎแห่งกรรมไร้ความเป็นธรรม เพราะเป็นคนละเรื่องกัน กฎแห่งกรรมนั้นเป็นกฎธรรมชาติ ส่วนความเป็นธรรมนั้นเป็นเรื่องที่มนุษย์นิยามเอาเอง แค่ไหนจึงเรียกว่าความเป็นธรรม เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้มาก ผู้คนมักคิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ต่อเมื่อพบว่าตนเองได้น้อยกว่า คนอื่น (เช่นได้แจกผ้าห่มน้อยกว่า หรือได้เงินเดือนและโบนัสน้อยกว่า) แต่หากตนเองได้มากกว่าคนอื่น มีใครบ้างที่จะโวยวายว่ามีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น ความไม่เป็นธรรมจึงไม่ได้แปลว่าความไม่เท่าเทียม แต่มักแปลว่าฉัน(หรือพวกของฉัน)ได้น้อยกว่าคนอื่น [/SIZE]
    [SIZE=+2] คำว่า “ธรรม”ในพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ประเภทแรกคือสัจธรรม หมายถึงความจริงหรือกฎธรรมชาติ ส่วนจริยธรรม นั้นเป็นการเอาความจริงหรือกฎธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยจัดวางเป็นวิธีการ หรือกำหนดเป็นคุณค่าหรือคุณธรรมที่พึงยึดถือ เพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์อย่างถูกต้องตามกฎธรรมชาติ เช่น มรรคมีองค์ ๘ ไตรสิกขา เมตตากรุณา สันโดษ อหิงสา ความใจกว้าง และ การเคารพสิทธิของผู้อื่น เป็นต้น[/SIZE]
    [SIZE=+2]มอง ในแง่นี้ กฎแห่งกรรม จัดว่าเป็นเรื่องสัจธรรม ส่วน ความเป็นธรรม หรือ ความยุติธรรม จัดเป็นเรื่องจริยธรรม การแยกเช่นนี้จะช่วยให้เห็นว่า ความเป็นธรรม หรือความยุติธรรมนั้น เป็นคุณค่าหรือคุณธรรมที่ควรทำให้เกิดมีขึ้น (ไม่ว่าในระดับบุคคลหรือสังคมก็ตาม) มิใช่กฎธรรมชาติโดยตัวมันเอง แต่ก็อิงอาศัยกฎธรรมชาติ โดยเฉพาะกฎแห่งกรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดจิตที่เป็นกุศลหรือสร้างเงื่อนไขทางสังคมที่ เกื้อกูลต่อความสงบสุขและชีวิตที่ดีงาม เป็นต้น[/SIZE]
    [SIZE=+2]ในฐานะสัจธรรม กฎแห่งกรรม เป็นสิ่งที่เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่วในตัวมันเอง อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ มนุษย์จะรับรู้ว่ามีกฎนี้หรือไม่ก็ตาม มันก็ยังทำงานของมันอยู่นั่นเอง แต่ในฐานะจริยธรรม ความเป็นธรรม เป็นสิ่งซึ่งมนุษย์ต้องทำให้เกิดมีขึ้น รวมทั้งต้องตกลงให้แน่ชัดว่ามีความหมายอย่างไร ในเมื่อความเป็นธรรมเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับการตีความ กฎแห่งกรรม จะ “เป็นธรรม”เพียงใด จึงเป็นเรื่องที่มนุษย์เราตีความเอาเอง ดังนั้นจึงพบว่าในบางครั้งกฎแห่งกรรมก็ดูเหมือนเป็นธรรม แต่ในบางครั้งก็ไม่เป็นธรรม[/SIZE]
    [SIZE=+2] การแสวงหาความเป็นธรรมจากกฎแห่งกรรม มองในแง่หนึ่งก็ไม่ต่างจากการแสวงหาความยุติธรรมจากกฎอื่น ๆ ในธรรมชาติ เช่น กฎแห่งการเกิดโรคระบาด (ซึ่งจัดว่าเป็นพีชนิยามอย่างหนึ่ง) กฎนี้หากกล่าวอย่างสั้น ๆ (ซึ่งอาจดูหยาบสักนิด)ก็คือ โรคระบาดเกิดจากเชื้อโรค มิได้เกิดจากอำนาจลี้ลับ หรือจากสภาพอากาศ ใครที่ติดเชื้อโรค เช่น มาลาเรีย ไม่ว่า รวย หรือ จน เด็กหรือคนแก่ ขาวหรือดำ กษัตริย์หรือยาจก ล้วนต้องล้มป่วยหรือตายทั้งสิ้น มองในแง่นี้กฎนี้ก็นับว่ายุติธรรมอย่างยิ่ง แต่ในความเป็นจริงเราพบว่าคนที่ติดและตายเพราะโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นคนจน และอยู่ในประเทศโลกที่สาม หลายคนเป็นเด็กน่ารัก และจำนวนไม่น้อยก็เป็นคนดี ในขณะที่นักการเมืองที่โกงกินบ้านเมืองแทบไม่มีใครตายเพราะโรคนี้เลย ทั้ง ๆ ที่บางคนหากตรวจเลือดก็พบเชื้อมาลาเรีย (เช่นเดียวกับอีกหลายคนที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกาย แต่กลับไม่เป็นโรคนี้เลย ) เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะพูดได้ไหมว่ากฎนี้ไม่ยุติธรรม ตรงนี้เป็นเรื่องขึ้นอยู่กับการตีความ แต่ไม่ว่าจะตีความอย่างไร หรือถึงแม้จะสรุปว่ากฎนี้ไม่ยุติธรรม ก็ไม่ได้หมายความว่ากฎนี้ไม่มีอยู่จริง จะเป็นธรรมหรือไม่ ก็เป็นการตีความหรือให้ค่าของมนุษย์เอง แต่กฎนี้ไม่รับรู้ด้วย ยังคงทำงานต่อไปตามเหตุปัจจัยอยู่นั่นเอง [/SIZE]
    [SIZE=+2] การที่บางคนรักษาสุขภาพอย่างดี ไม่สูบบุหรี่ แต่กลับเป็นมะเร็งปอด ขณะที่หลายคนสูบบุหรี่มาตลอดแต่ไม่เป็นโรคนี้เลย ไม่ได้หมายความว่าบุหรี่กับมะเร็งปอดไม่เกี่ยวกัน การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชี้ชัดว่า สองอย่างนี้เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน แต่ก็มีเหตุปัจจัยอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งตอนนี้เรายังมีความรู้ที่จำกัด จึงไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าทำไมบางคนไม่เป็นมะเร็งปอดทั้ง ๆ ที่สูบบุหรี่มาก แต่เท่าที่มีอยู่ตอนนี้ก็สามารถยืนยันได้แล้วว่าบุหรี่กับมะเร็งปอดนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างมาก (อย่างน้อยก็มีผลในระดับเซล เช่น ทำให้เกิดเซลมะเร็งขึ้น แต่จะลุกลามเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก) [/SIZE]
    [SIZE=+2]ความ รู้ดังกล่าวทำให้สามารถระบุได้ว่าการไม่สูบบุหรี่เป็นปัจจัยหนึ่งในการส่ง เสริมสุขภาพ ฉันใดก็ฉันนั้น ถึงแม้เรายังไม่รู้เหตุปัจจัยอื่น ๆ อย่างครบถ้วน ว่าเหตุใดบางคนที่ทำความดีมาตลอดจึงถูกฆ่าตายตั้งแต่อายุยังน้อย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า การทำความดีจะไม่ส่งผลดีต่อผู้กระทำ จริงอยู่ การไม่สูบบุหรี่มิได้เป็นหลักประกันเด็ดขาดว่าจะไม่ป่วยเป็นมะเร็งปอด ในทำนองเดียวกัน การทำความดีก็มิได้เป็นหลักประกันเด็ดขาดว่าจะไม่มีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นกับ ตน เพราะเหตุปัจจัยที่จะก่อให้เกิดสิ่งเลวร้ายกับตนนั้นมีอยู่มากมายนอกเหนือ จากการกระทำของตนเองในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการกระทำของตนเองก็เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างน้อยก็เป็นสิ่ง ซึ่งอยู่ในการควบคุมของเราได้ [/SIZE]
    [SIZE=+2]กฎแห่งการเกิดโรคระบาด จะยุติธรรมหรือไม่ก็ตาม ก็ยังมีประโยชน์ หากเราเอาความรู้หรือความจริงจากกฎดังกล่าวมาใช้ในการป้องกันมิให้เกิดแหล่งเพาะเชื้อโรค ร่วมกันพัฒนายารักษาโรคขึ้นมา รวมทั้งรณรงค์ให้ผู้คนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ตลอดจนสามารถเข้าถึงยาได้อย่างสะดวก ฉันใดก็ฉันนั้น ถึงแม้กฎแห่งกรรมจะดูไม่เป็นธรรมในสายตาของเรา และถึงแม้การทำความดีจะไม่ใช่หลักประกันเด็ดขาดว่าจะไม่เกิดเหตุร้ายกับตน แต่ความจริงที่ว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงตามหลักเหตุปัจจัยระหว่างการทำความดีกับการเกิดคุณภาพจิตที่ดีและมีชีวิตที่ดี ความจริงดังกล่าวเราสามารถเอามาใช้ในการส่งเสริมให้ผู้คนทำความดี มีจริยธรรมต่อกัน อย่างน้อยก็ไม่นิ่งดูดายต่อความทุกข์ของผู้อื่นโดยอ้างว่าเป็น “กรรมของสัตว์” หรือ “กรรมใครกรรมมัน” ผู้ที่ทำเช่นนั้นนอกจากจะเข้าใจกฎแห่งกรรมผิดพลาดแล้ว ยังสร้างกรรมใหม่ที่เป็นอกุศล ซึ่งในที่สุดก็จะต้องก่อผลร้ายแก่ตนเองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

    ที่มา
     

แชร์หน้านี้

Loading...