พุทธศาสนิกชน 6 ประเภท กว้างๆดังนี้คือ โดยพระอาจารย์เปลี่ยนฯ วัดอรัญญวิเวก

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย กลอง, 12 ธันวาคม 2014.

  1. กลอง

    กลอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,468
    ค่าพลัง:
    +2,991
    [​IMG]


    ในปัจจุบันนี้ พุทธศาสนิกชนได้หันมาให้ควา<wbr>มนิยมทำบุญกับ " พระป่า " สายพระกรรมฐานหลวงปู่มั่น มากขึ้น และในบรรดาผู้ที่ปาวารณาตนเ<wbr>ป็นลูกศิษย์พระป่าองค์ใดองค<wbr>์หนึ่ง หรือหลายๆองค์ พร้อมกันนี้ยัง พอจำแนกได้เป็น 6 ประเภท กว้างๆดังนี้คือ

    "รุ่มรวยอามิสบูชา ศรัทธาความดัง หวังผลกำไร ใฝ่หาแก่นธรรมจริงแท้ ดูแลไม่ลืมหูลืมตา อาจารย์ข้าใครอย่าแตะ "

    1. ประเภท "รุ่มรวยอามิสบูชา" พวกนี้คือศิษย์ที่นิยมการทำบุญ เพื่อแสดงถึงฐานะ ความมั่งมีทรัพย์สินของตนเป<wbr>็นหลัก เวลามาพบพระก็แต่งกายหรูหรา<wbr>ด้วยอาภรณ์ภัณฑ์ชั้นดี ประดับแก้วแหวน เพชรนิลจินดา บริจาคเงินแต่ละทีแต่ละครั้<wbr>ง เป็นแสนเป็นล้าน น้อยกว่านั้นไม่ได้ เดี๋ยวอานิสงค์จะขาดไป พร่องไป ไม่สมบูรณ์

    2. ประเภท "ศรัทธาความดัง" พวกนี้คือศิษย์ที่ยึดความดั<wbr>งของพระอาจารย์เป็นสรณะ ไม่ได้ซาบซื้งเท่าใดนักกับห<wbr>ลักธรรมคำสั่งสอนของครูบาอา<wbr>จารย์ท่านนั้นๆดอก ขอเพียงให้รู้ว่ามีพระอาจาร<wbr>ย์องค์ไหนบ้างที่สื่อมวลชนต<wbr>ีพิมพ์ประวัติเรื่องราว พระอาจารย์องค์ไหนบ้างมีผู้<wbr>คนบอกเล่ากล่าวขวัญถึง ฉันต้องไปทำบุญ ไปกราบไหว้ ให้ได้สักครั้งหนึ่งก็ยังดี<wbr> เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้แก่การ<wbr>สนทนาโอ้อวดว่าองค์โน้นไปกร<wbr>าบมาแล้ว องค์นั้นเคยนิมนต์มาฉันที่น<wbr>ี่ องค์นี้...สนิทใกล้ชิดกันมา<wbr>กเป็นต้น

    3. ประเภท "หวังผลกำไร" พวกนี้ถ้ามิใช่พวกหากินกับพ<wbr>ระพุทธศาสนา ค้าเครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล ก็มักจะเป็นพวกทำงานธนาคาร ซึ่งอาศัยยอดเงินบริจาคของผ<wbr>ู้มีจิตศรัทธา ไปฝากในธนาคารที่ตนเองทำงาน<wbr>อยู่ เพื่อให้ตัวเลขพุ่งขึ้นในบั<wbr>ญชีเงินฝาก ช่วยหนุนทำให้หน้าที่การงาน<wbr>ของตนก้าวหน้าตามไปด้วยนั่น<wbr>เอง

    4. ประเภท "ใฝ่หาแก่นธรรมจริงแท้" พวกนี้เป็นศิษย์ที่กระทำการ<wbr>บูชาครูบาอาจารย์ด้วยการปฏิ<wbr>บัติตามคำแนะนำสั่งสอน โดยเคร่งครัด มีอันใดติดขัด ก็จะขอคำชี้แนะแก้ไข มีความพากเพียรในการค้นคว้า<wbr> ปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์แท้จริง มีกิเลสไว้สำหรับละเลิก มีความตื่น ความรู้ เบิกบานไว้เป็นเครื่องภาวนา<wbr>น้อมรำลึก

    5. ประเภท "ดูแลไม่ลืมหูลืมตา" ที่ซ้ำร้ายศิษย์พระป่าประเภ<wbr>ทนี้ มักเป็น "สตรีเพศ " เรียกว่า แทบจะร้อยทั้งร้อยก็ว่าได้ ไม่ทราบว่าทำไมจึงเป็นเช่นน<wbr>ั้น และศิษย์ประเภทนี้มักจะไม่ค<wbr>่อย รู้ตัวว่า " การอันใดพึงงดเว้นเสียด้วย ขอเพียงให้ฉันได้ปรนนิบัติ ดูแล อาจารย์ที่ศรัทธา อย่างที่ฉันปรารถนาได้ เท่านั้น ก็พอแล้ว "

    6. ประเภท "อาจารย์ข้าใครอย่าแตะ" ลูกศิษย์ประเภทนี้นับวัน ยิ่งมีมากขึ้นทุกที คือพวกที่ชอบกระทำตนเป็นเสม<wbr>ือนหนึ่งเจ้าของ หรือผู้จัดการครูบาอาจารย์ท<wbr>่านแต่ผู้เดียว ผู้ใดก็ไม่รักและศรัทธาเสมอ<wbr>ฉันได้ เพราะฉนั้นใครจะให้อาจารย์ท<wbr>ำอะไรต้องมาผ่านทางฉัน ผู้เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวเ<wbr>ท่านัั้น

    ดังนั้น...สถานการณ์ "พระป่า" ในทุกวันนี้ จึงนับว่าล่อแหลมต่อ "พรหมจรรย์" เป็นอย่างยิ่ง...ซึ่งพ่อแม่<wbr>ครู อาจารย์แต่ละองค์ท่าน อุตส่าห์พยายามพากเพียร ฝึกฝน อบรมตน อดทน ต่อสู้กิเลส อยู่ในป่า เขา ถ้ำ เงื้อมผา อบรมภาวนาจิตใจ มาอย่างวิเวก เงียบสงัด สงบ จนได้รู้ธรรม เห็นธรรม บริสุทธิ์หมดจด หมดสิ้นซึ่งอาสวะกิเลส ทั้งปวง จึงได้ออกมาสั่งสอน และสงเคราะห์ เราปุถุชน ด้วยความเมตตา เป็นอย่างยิ่ง

    บางองค ์ท่านจึงจำเป็นต้องปิดซ่อนเ<wbr>ร้น "คุณธรรม...คุณวิเศษ" โดยไม่เปิดเผยให้ล่วงรู้มาก<wbr>จนเกินไป รู้เฉพาะแต่หมู่ลูกศิษย์ใกล<wbr>้ชิดที่ " ใฝ่หาแก่นธรรมจริงแท้" จากองค์ท่านเท่านั้น แต่ท่านก็ยังมีจิตเมตตา คิดสงเคราะห์โลกและสงเคราะห<wbr>์พวกเราๆที่ยังมีกิเลส มืดบอด อวิชชาครอบงำจิตใจ ให้ได้รู้จักการปฏิบัติธรรม<wbr> อันได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา ตามแต่วาสนา บารมีธรรม ของแต่ละคนที่ได้เคยสั่งสมอ<wbr>บรมจนเป็นอุปนิสัยปัจจัยกัน<wbr>มามากน้อย...ดังนั้นพวกเราจ<wbr>ึงควรปฎิบัติตัวต่อ พ่อแม่ครูอาจารย์ กันอย่างไรบ้าง? ...

    นอบน้อมก้มกราบแทบเท้า พ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงพ่อเปลี่ยน เหนือเศียรเกล้า...สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ครับผม (MU Zuzaa)

    ที่มา...หนังสือ " พระป่าของชาวพุทธ " พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงพ่อเปล<wbr>ี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก (บ้านปง) ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่... (16 พฤศจิกายน 2537 )
     
  2. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    สาธุ...พระอาจารย์ ท่านกล่าวได้ถูกต้อง จริงๆ, พระบางรูปท่านก็ปฏิบัติ ของท่านอยู่ดีๆ แต่ มีญาติ โยม เหล่านี้ ไปรบกวนท่านจน ให้ความเพียรของท่านย่อหย่อนก็มี
     
  3. Tewadhama

    Tewadhama เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +188
    สาธุ...ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...