ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ความจริงหลังกึ่งพุทธกาล
    2 ชั่วโมงที่แล้ว
    วงกลมพืชที่ Etchilhampton ฮิลล์ใกล้ Devizes วิลต์เชียร์สหราชอาณาจักร รายงานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2013
    [​IMG]
    ข่าวจาก Crop Circles
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.6 KB
      เปิดดู:
      1,607
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ความจริงหลังกึ่งพุทธกาล
    3 ชั่วโมงที่แล้ว
    ศิลปินเปิดเผยมาร (ซาตาน NWO) และแผนหลอกลวงระดับโลกสำหรับ 2013!

    รวบรวมวิดีโอที่โดดเด่น ได้รับการปล่อยตัวบน YouTube โดยช่างภาพ เจสัน exposes นรกของวาระระเบียบโลกใหม่ และแผนการของพวกเขาสำหรับการหลอกลวงทั่วโลก โดยศิลปินดนตรีในวงการเพลงและเกี่ยวกับฮอลลีวู้ด
    Jason A - YouTube

    <iframe width="640" height="360" src="http://www.youtube.com/embed/JwsDyqZzCrs?feature=player_profilepage" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
    Music Artists Expose Satan's NWO & Global Deception Plans For 2013! (SHARE)
    5,890 ครั้ง 1 วันที่ผ่านมา
    The illuminati is real. New World Order Plans 2013. Subscribe

    A look at the hidden force controlling Hollywood and the Music Industry. ILLUMINATI MARTIAL LAW



    FAIR USE NOTICE: This video may contain copyrighted material. Such material is made available for educational purposes only. This constitutes a 'fair use' of any such copyrighted material as provided for in Title 17 U.S.C. section 106A-117 of the U.S. Copyright Law.
     
  3. naproxen

    naproxen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +742
    Fukushima nuclear radiation crisis แก้ได้ง่ายๆด้วยการเทคอนกรีตจำนวนมหาศาลใส่ทับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมา ตั้งแต่แรก แต่น่าแปลกใจที่ไม่ทำ เพราะหวงหรืองกอะไรไม่ทราบ
    อย่างไรก็ดีทางแก้ตอนนี้ก็พอจะหยุดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีได้โดย เทคอนกรีตจำนวนมหาศาลอีกเช่นกัน แต่คงต้องทำสัก 3 รอบ คือเมื่อคอนกรีตแข็งตัวรอบที่1แล้ว ค่อยเทรอบที่2 และเมื่อคอนกรีตรอบที่2แข็งตัวแล้วค่อยเทคอนกรีตจำนวนมากปิดก็จะหยุดการรั่วไหลไม่ให้มากไปกว่านี้

    การแก้ปัญหาด้วยการฉีดน้ำใส่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปล่อยลงทะเลเป็นการแก้ปัญหาที่ผิดพลาดร้ายแรง

    ทำบ้านพญานาคสกปรกเต็มไปด้วยสารที่ไม่เสถียร ช่างน่ากลัวจริงๆ
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เว็บภัยพิบัติ หลังจากจ่ามีกลับตัวสำเร็จ โดยเลี้ยวซ้ายซึ่งปรกติพายุในเขตนี้จะเลี้ยวขวา ตอนนี้ทวีความแรงขึ้นเป็นเรียบร้อยครับ
    [​IMG]

    16:00 อุตุนิยมไต้หวันหรือ CWB ประเมิณเส้นทางพายุโซนร้อนจ่ามี จะเริ่มส่งผลต่อไต้หวันช่วง ใกล้ 16:00 ของวันที่ 21 ส.ค หรือวันพรุ่งนี้ โดยจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.9 KB
      เปิดดู:
      1,219
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [​IMG]
    เส้นใยขนาดใหญ่. (Filament) ที่ตั้งอยู่ในซีกใต้ของดวงอาทิตย์ได้ยกตัวออกจากดวงอาทิตย์ ในช่วงต้นเช้านี้ และสร้างปล่อยมวลโคโลน่าที่สว่างจ้าออกมา ออกมาสดใสมวลจากโคโรนา จนถึงขณะนี้ปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่ของพลาสมา แต่เมฆพลาสมาได้เคลื่อนไปทางใต้ แต่ไม่ได้บอกน่ะครับว่าตรงมายังโลกไหม แต่ผมว่ามา กรณีประหลาดมาก ยกตัวออกเองได้ไง

    SolarHam.com
    A large filament channel located in the southern hemisphere lifted off the sun very early this morning and generated a bright coronal mass ejection. So far it appears that a majority of the plasma cloud will be directed towards the south, however I will provide further updates. Stay tuned to www.solarham.com for the latest information. Images by the Learmonth Observatory and Lasco C2.

    45 คนที่ถูกใจ·2 ความคิดเห็น
    ถูกใจ
    แสดงความคิดเห็น
    แชร์

    SolarHam.com
    6 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    Attached is a fantastic video by the Solar Dynamics Observatory (SDO) capturing a large filament channel eruption in the southern hemisphere this morning. The big swath of plasma was magnetically anchored in place before lifting off the Sun and generating a bright CME now visible in the latest coronagraph imagery.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.2 KB
      เปิดดู:
      1,106
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การทำนายรูปแบบใหม่ CME ที่ถูกพัฒนาโดยดศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ได้คาดการว่าจะมีผลกระทบจากการระเบิดอย่างแฉลบ (กรณีที่ filament ยกตัวออกจากพื้นผิวดวงอาทิตย์) ต่อสนามแม่เหล็กโลก ตในวันที่ 23 สิงหาคม 2556. รัสปูตินแม่นจริงๆ ว่าจะมีลูกไฟลงมาจากฟ้า ก็มีจริงๆ กรณีนี้เกิดอย่างมหัศจรรย์มาก filament. ยกตัวออกเองและอผ่กระจายออกไปรอบทิศ
    [​IMG]
    SolarHam.com
    The new CME prediction model released by the Goddard Space Flight Center is calling for a glancing blow impact to our geomagnetic field early on August 23rd. This is the result of this mornings filament eruption in the southern hemisphere. A majority of the plasma cloud is heading south of the ecliptic plane. The northern flank is what is expected to deliver the glancing blow. When viewing the plasma cloud in the latest STEREO Ahead COR2 video, the possible Earth directed component is not too impressive. Widespread geomagnetic storming is not expected at this time.

    To watch the latest prediction model, click on the following link.
    http://www.solarham.net/archive/aug20_2013_stream.gif
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108.3 KB
      เปิดดู:
      1,124
  7. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398

    ทำแบบนั้นก็ฉิบหายกันพอดี แล้วก็ทำไม่ได้ด้วย เอาคอนกรีตที่ผลิดได้ทั้งโลกมาเททับยังกลบโรงไฟฟ้าไม่มิดเลย การฝังกลบเป็นวิธีแก้ปัญหาแบบเชอร์โนบิล ซึ่งก็ไม่ได้ฝังกลบจริงๆ แต่สร้างผนังเหล็กและผนังคอนกรีตปิดล้อมพื้นที่ไว้ ซึ่งเชอร์โนบิลแกนเชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์ระเบิดไปแล้ว จนละอองฟุ้งกระจายไปทั่วยุโรป
    เชอร์โนบิลเป็นการระเบิดของนิวเคลียร์โดยตรง แต่ของฟูกุจิมายังไม่ถึงขั้นนั้น ที่ระเบิดส่วนใหญ่เพราะแรงดันไอน้ำ แกนเชื้อเพลิงที่ฟูกุจิมามีบางส่วนหลอมละลายแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพดี วิธีแก้เฉพาะหน้าจึงต้องหล่อเย็นไม่ให้แกนหลอมละลายจนระเบิด แต่ว่าหลังแผ่นดินไหว อะไรมันก็พังหมดจึงไม่สามารถรีไซเคิลน้ำในระบบหล่อเย็นได้ มันจึงรั่วไหลลงทะเล
    ถ้าจู่ๆไปฝังกลบเลย ความร้อนจะสะสมมากขึ้นจนระเิบิดขึ้นมาแบบเชอร์โนบิลในที่สุด แล้วจะัแรงกว่านี้เป็นร้อยเท่า
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ก้องภพ อยู่เย็น
    4 ชั่วโมงที่แล้ว ใกล้กับ Arlington, VA, United States
    วันที่ 20 สิงหาคม เวลา 12:24 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์เป็นมุมกว้างขนาดใหญ่สุดในรอบ 3-4 สัปดาห์ ส่งพลังงานออกมารอบทิศทางโดยมีทิศทางหลักที่ -ตรงกับโลกเยื้องออกไปทางทิศตะวันตก- จากการคำนวณพบว่าพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 22 สิงหาคม เวลา 23 UT +/- 6 ชั่วโมง ในช่วงเดียวกันยังพบดัชนีจุดดับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงที่สุดในรอบ 6 สัปดาห์ (ESA Daily Sun Spot Number) และเป็นช่วงเวลาที่มีดาวหางโคจรพุ่งเข้ามาดวงอาทิตย์ (http://www.spaceweather.com/images2...nim3.gif?PHPSESSID=cn11q6gutehsdaihdo1511p9q4)
    ผู้ที่สนใจโปรดติดตามสถานการณ์สถานการณ์ภัยธรรมชาติบนโลกที่จะสัมพันธ์กันเป็นพิเศษได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 24 สิงหาคม ครับ

    รายละเอียดเพิ่มเติมของเหตุการณ์มีดังนี้
    - วิดิโอการปะทุที่ดวงอาทิตย์มุมมองจากโลก Farsided Full-Halo Coronal Mass Ejection (8/20/2013) - YouTube
    - วิดิโอภาพถ่ายดวงอาทิตย์มุมกว้าง โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/08/20/ahead_20130820_cor2_512.mpg
    - วิดิโอภาพถ่ายดวงอาทิตย์มุมกว้าง โดยโลกอยู่ทางด้านขวามือ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/08/20/behind_20130820_cor2_512.mpg
    - การคาดการณ์ช่วงเวลาที่พลังงานจะเดินทางมาถึงโลกโดยนาซ่า iNtegrated Space Weather Analysis System ( iSWA ) : iswa3 : Version 1.13.4.2 [STEREO JACK2]
    - โมเดลการแพร่กระจายของคลื่นพลังงานจากดวงอาทิตย์ในครั้งนี้โดยนาซ่า http://iswa.gsfc.nasa.gov/IswaSyste...mp=2038-01-23+00:44:00&window=-1&cygnetId=261
    - โมเดลการแพร่กระจายของคลื่นพลังงานจากดวงอาทิตย์ในครั้งนี้โดย NOAA SOLARHAM.com - CME Tracker
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วิกฤติไอยคุปต์นับ 1 ถอยหลัง ข่าวไทยรัฐ

    สถานการณ์ สงครามกลางเมือง ในกรุงไคโร และอีกหลายเมืองใหญ่ในอียิปต์ระหว่าง ทหารตำรวจกับผู้ชุมนุม ที่รัฐบาลรักษาการเรียกว่า “ผู้ก่อการร้าย” รบกันด้วยกระสุนจริง ประชาชนล้มตายไปกว่า 700 คนแล้ว บาดเจ็บอีกหลายพันคน ผลพวงจากศึกชิงอำนาจทางการเมืองของสองขั้วอำนาจ ล่าสุด กระทรวงต่างประเทศไทย ปรับระดับเตือนภัยขึ้นไปอยู่ระดับ 4 ให้มีการอพยพคนไทยจากกรุงไคโรกลับทันที

    คนไทยกลุ่มแรก 354 คน บินมาถึงดอนเมืองบ่าย 2 วันจันทร์อีก 260 คน ถึงดอนเมืองตอนสี่ทุ่ม และอีก 300 กว่าคน ยังไม่ตัดสินใจ จากคนไทยในอียิปต์ทั้งหมด 2 พันกว่าคน

    คุณณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ บอกว่า ที่ต้องสอบถามความสมัครใจ เพราะสถานการณ์ในกรุงไคโรยังไม่ถึงขั้นวิกฤติจนต้องอพยพ แต่สถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งดีขึ้น และแย่ลง เมื่อดูจากภาพข่าวเป็นระยะ ยังไม่เห็นวี่แววว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ซ้ำร้ายเศรษฐกิจไอยคุปต์กลับแย่ลงอย่างรุนแรง

    การเมืองอียิปต์เริ่มวิกฤติตั้งแต่ปลายปี 2553 เมื่อประชาชนลุกฮือขับไล่ ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ผู้นำอียิปต์ที่ครองอำนาจมายาวนานถึง 30 ปี ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ และการทุจริตคอรัปชันบานฉ่ำ จนในที่สุด มูบารัก ก็ยอมลงจากตำแหน่ง และมอบอำนาจให้กับ สภากลาโหม เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ เพื่อเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่
    ก่อนที่ มูบารัก จะก้าวลงจากตำแหน่ง เขาทิ้งคำพูดไว้ประโยคหนึ่งว่า เมื่อเขาลงจากตำแหน่ง อียิปต์จะอยู่ไม่ได้ พรรคฝ่ายค้านที่เคร่งศาสนา Muslim Brotherhood หรือมุสลิมภราดรภาพ จะขึ้นมามีอำนาจ ปัญหาจะหนักหน่วงยิ่งขึ้นกว่าเดิม

    ทุกอย่างก็เป็นจริงอย่างที่ มูบารัก พูดไว้ เมื่อเขาลงจากตำแหน่ง ผลการเลือกตั้งใหม่ กลุ่มมุสลิมภราดรภาพ ที่เคร่งศาสนาอิสลาม ซึ่งได้ร่วมโค่นล้ม ประธานาธิบดีมูบารัก ก็หันไปสนับสนุน นายโมฮัมเหม็ด มูร์ซี มุสลิมผู้เคร่งในศาสนา ขึ้นเป็นผู้นำอียิปต์คนใหม่ โดยชนะการเลือกตั้งเฉียดฉิว

    มูร์ซี ได้แต่งตั้งกลุ่มผู้เคร่งศาสนาขึ้นรับตำแหน่งสำคัญในรัฐบาล ซึ่งเกจิการเมืองวิจารณ์กันว่า เขาจะเปลี่ยนอียิปต์ให้เป็นรัฐอิสลาม

    มีการยกย่องว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็น “การเกิดใหม่ของอียิปต์” แต่ในที่สุด มูร์ซี ก็ไปไม่รอด แม้จะเป็นผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เขากลับปกครองประเทศด้วยวิธีเผด็จการ มูร์ซี ได้ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ให้อำนาจตนเองอย่างเต็มที่ มูร์ซีสั่งปลดอัยการสูงสุด และตั้งคนของตัวเองขึ้นแทน ทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับศาลและผู้พิพากษา มูร์ซีให้โฆษกประจำตัวออกมาประกาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ว่า เขาสามารถที่จะตัดสินใจหรือออกมาตรการใดๆก็ได้ เพื่อปกป้องการปฏิวัติ

    ในที่สุด รัฐบาลมูร์ซีก็ถูกกองทัพปฏิวัติ กองทัพปลด มูร์ซี ออกจากตำแหน่ง ประธานาธิบดี และ ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับมูร์ซีทิ้ง แล้วจัดตั้ง รัฐบาลรักษาการ มีทั้ง ประธานาธิบดีรักษาการ นายกรัฐมนตรีรักษาการ เพื่อเตรียม นับหนึ่งใหม่กันอีกครั้ง ท่ามกลางประชาชนที่สนับสนุนมูร์ซี ลุกฮือขึ้นชุมนุมต่อต้านกองทัพและรัฐบาลรักษาการอย่างหนัก จนเกิดการปราบปรามล้มตายไปกว่า 700 คน บาดเจ็บอีกหลายพันคน

    สถานการณ์ในอียิปต์ ดูเผินๆก็เป็นการต่อสู้ของสองขั้วการเมืองใหญ่ แต่ลึกๆลงไปแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็มีกำลังเสบียงกรังสนับสนุน

    กองทัพเดินด้วยท้องฉันใด การชุมนุมประท้วงของคนเป็นแสนเป็นล้านคน ก็ต้องมีเงินและเสบียงสนับสนุนฉันนั้น

    แวดวงการทูตว่ากันว่า กองทัพที่ปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลมุสลิมของมูร์ซี มีทั้ง ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐฯ และอีกหลายชาติในโลกอาหรับที่ปกครองด้วย “ระบบกษัตริย์” หนุนหลัง เพราะ ไม่อยากเห็นอียิปต์เป็นรัฐอิสลามแบบอิหร่าน เช่นเดียวกับ มูร์ซี และ กลุ่มมุสลิมภราดรภาพ ก็มีกำลังจากรัฐที่เคร่งศาสนาสนับสนุนเช่นกัน

    วิกฤติไอยคุปต์ ต้นธารแห่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลก จะจบลงอย่างไร คงยากจะคาดเดา แต่เป็นบทเรียนที่ “คนไทย” และ “นักการเมืองไทย” และ “กองทัพไทย” ต้องศึกษาเอาไว้ จากวันนี้ไป อียิปต์ จะกลายเป็น “ชาติที่ล้มเหลว” อย่างแท้จริง ทั้ง การเมือง สังคม และ เศรษฐกิจ การ “นับหนึ่งใหม่” อีกครั้งของ อียิปต์ อาจจะต้องถอยหลังไปอีกหลายสิบปีเพื่อตั้งต้นใหม่ ถ้าสามารถนับหนึ่งใหม่ได้.

    “ลม เปลี่ยนทิศ”
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Timeseasons Coffee Innovation Capital
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=KruBS1Aez6Q&feature=youtube_gdata_player]Sun to reverse poles on ISON close approach! - YouTube[/ame]
    ตอนท้ายของวีดีโอ จำลองวงโคจรของดาวหางISON น่าจะชนกับดาวพุธ
    Sun to reverse poles on ISON close approach!
    youtube.com
    ถูกใจ · เพิ่มเติม · 1 ชั่วโมงที่แล้ว
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สนง.นุกญี่ปุ่นชี้ “รังสีรั่ว” ที่โรงไฟฟ้าเข้าขั้นรุนแรง-“เอเชียนา” จ่อระงับเที่ยวบินไป “ฟูกูชิมะ” ต.ค.นี้
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2556 12:10 น.

    เท็ปโก (TEPCO) เผยแพร่ภาพถ่ายน้ำปนเปื้อนรังสีที่รั่วออกมาจากถังเก็บกักภายในโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ เมืองโอคุมะ จังหวัดฟูกูชิมะ

    http://palungjit.org/attachments/a.2820383/

    เอเอฟพี - สำนักงานกำกับนิวเคลียร์ญี่ปุ่น (เอ็นอาร์เอ) เตือนสถานการณ์รังสีรั่วไหลที่โรงไฟฟ้า ฟูกูชิมะ ไดอิจิ หนักหนาสาหัสถึงขั้น 3 ซึ่งหมายถึง “ขั้นรุนแรง” แล้ววันนี้(21) ขณะที่สายการบินอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ เอเชียนาแอร์ไลน์ เตรียมยกเลิกเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังจังหวัดฟูกูชิมะตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป

    เอ็นอาร์เอ แถลงผลประเมินล่าสุด หลังจากที่บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ โค (เท็ปโก) ออกมายอมรับวานนี้(20)ว่า มีน้ำปนเปื้อนรังสีรั่วไหลออกจากถังเก็บกักมากถึง300 ตัน ซึ่งนับเป็นการรั่วไหลครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ถูกสึนามิซัดถล่ม เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2011

    เอ็นอาร์เอ ได้ยกระดับความรุนแรงของสถานการณ์จาก 1 ซึ่งหมายถึง “ไม่ปกติ” (anomaly) มาเป็นระดับ 3 คือ “รุนแรง” (serious) โดยยึดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์นิวเคลียร์ (INES) ที่ไล่ระดับความรุนแรงตั้งแต่ 0 ถึง 7

    ระดับ 3 หมายถึง “มีปริมาณรังสีเกินกว่า 10 เท่าของระดับที่กฎหมายอนุญาตให้คนงานได้รับสูงสุดใน 1 ปี”

    แผ่นดินไหวขนาด 9.0 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปี 2011 ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิซัดถล่มชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นจนมีผู้เสียชีวิตไปกว่า 19,000 คน และอานุภาพของคลื่นยักษ์ยังทำให้ระบบหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะล้มเหลว นำมาสู่การหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิง และเป็นต้นตอของวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ครั้งใหญ่ของโลกในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดในยูเครนเมื่อปี 1986

    สายการบิน เอเชียนาแอร์ไลน์ส ซึ่งมีเที่ยวบินเหมาลำไปกลับจังหวัดฟูกูชิมะเดือนละ 2 เที่ยว ประกาศจะยกเลิกเที่ยวบินตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ พร้อมกับสัญญาเช่าซึ่งกำลังจะหมดอายุลง

    “เที่ยวบินเหมาลำจะถูกระงับในเดือนตุลาคม จากนั้นจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้งว่า ควรขยายเวลายกเลิกเที่ยวบินต่อไปอีกหรือไม่” โฆษกหญิงของเอเชียนาให้สัมภาษณ์ วันนี้(21)

    “ผู้โดยสารส่วนใหญ่รู้สึกกังวล ทางเราเองก็ได้ติดตามสถานการณ์รังสีที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะอย่างใกล้ชิด”

    ผู้เชี่ยวชาญนิวเคลียร์และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจังหวัดฟูกูชิมะ เข้าตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างภายในโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะไดอิจิ เพื่อหาวิธีป้องกันมิให้น้ำปนเปื้อนรังสีรั่วไหลออกสู่ทะเล เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา

    เอเชียนาแอร์ไลน์ส สายการบินใหญ่อันดับ 2 ของเกาหลีใต้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136 KB
      เปิดดู:
      304
  12. naproxen

    naproxen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +742
    คอนกรีตไม่ต้องใช้ทั่วโลกหรอกครับ แค่หยุดส่วนที่มีสารกัมมันตรังสีเกินภาวะที่อันตราย
    แท่งเชื้อเพลิงที่ฟูกุชิมะนั้นมีความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีประมาณ5% และเตาปฏิกรณ์ก็ไม่ได้เิดินเครื่อง ต่างกับที่ chernobyl ซึ่งระเบิดขณะเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์และแท่งเชื้อเพลิงหลอมเหลว
    นับตั้งแต่สึนามิระยะเวลา2ปีกว่า หากแท่งเชื้อเพลิงจะหลอมเหลวและระเบิดแบบ chernobylคงระเบิดไปตั้งนานแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2013
  13. naproxen

    naproxen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +742
    -ข้อมูลวิศวกรญี่ปุ่นยอมรับอาจใช้ทราย-คอนกรีตปิดโรงงานนิวเคลียร์ | MCOT.net | MCOT.net
    วิศวกรญี่ปุ่นยอมรับอาจใช้ทราย-คอนกรีตปิดโรงงานนิวเคลียร์
    Share on facebook Share on twitter Share on email Share on print More Sharing Services
    0
    By TNA | 19 มี.ค. 2554 02:52 | 15 views | View Comment
    ญี่ปุ่น 19 มี.ค.-วิศวกรญี่ปุ่นยอมรับว่าการใช้ทรายและคอนกรีตปิดโรงงานนิวเคลียร์ฟูกุชิหมะ ไดอิชิ อาจเป็นหนทางเดียวที่จะป้องกันการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี

    เจ้าหน้าที่วิศวกรของบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ หรือเทปโก ยอมรับเป็นครั้งแรกว่าการฝังเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิชิ ด้วยทรายและคอนกรีต อาจเป็นหนทางเดียวที่จะป้องกันการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีที่ร้ายแรง โดยเป็นวิธีเดียวกับที่เคยใช้เมื่อครั้งเกิดหายนะภัยที่เชอร์โนบิลในประเทศยูเครน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องทำขณะนี้ คือ การพยายามทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เย็นลงให้ได้ก่อน โดยล่าสุด รถดับเพลิงของทหารและหน่วยงานดับเพลิงญี่ปุ่นได้เสร็จสิ้นภารกิจการระดมฉีดน้ำ เพื่อลดความร้อนของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ในโรงงานนิวเคลียร์แล้วเมื่อช่วงค่ำ ตามเวลาท้องถิ่น โดยใช้น้ำทั้งสิ้น 50 ตัน ซึ่งเจ้าหน้าที่เชื่อว่าปริมาณน้ำส่วนใหญ่ได้เข้าไปภายในเตาปฏิกรณ์ เนื่องจากพบว่าระดับกัมมันตรังสีบริเวณเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ลดลง

    อย่างไรก็ดี มีรายงานว่ามีผู้สูญหายอย่างน้อย 20 คน ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไดอิชิ และมีอย่างน้อย 20 คน ที่ล้มป่วยจากการได้รับกัมมันตภาพรังสีด้วย.-สำนักข่าวไทย
     
  14. naproxen

    naproxen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +742
    กากกัมมันตรังสี - วิกิพีเดีย
    กากกัมมันตรังสี
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    กากกัมมันตรังสี (อังกฤษ: Radioactive waste) เชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนทั่วไป จะใช้ความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และถ่านหินซึ่งทำให้เกิดของเสีย เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งเถ้าโลหะหนักจากการเผาไหม้ถ่านหินเป็นปริมาณมหาศาล โดยไม่มีการสลายตัวตามธรรมชาติก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นำความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยาฟิชชัน หรือปฏิกิริยาหารแตกตัวของเชื้อเพลิงยูเรเนียม กล่าวคือ
    เมื่ออนุภาคนิวตรอนไปกระตุ้นนิวเคลียสของยูเรเนียมในสภาวะที่เหมาะสมทำให้นิวเคลียสของยูเรเนียมแตกออกเป็นธาตุใหม่สองชนิดที่เป็นธาตุกัมมันตรังสีพร้อมทั้งให้พลังงานและนิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย ธาตุใหม่สองชนิดที่เกิดจากการแตกตัวของยูเรเนียมนี้เองเรียกว่า กากกัมมันตรังสี ซึ่งจะติดอยู่ในเม็ดเชื้อเพลิง
    ยูเรเนียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะถูกอัดเป็นเม็ดเซรามิก บรรจุเรียงตัวกันภายในแท่งเชื้อเพลิง จากนั้นจึงนำไปใช้งานในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสีจากปฏิกิริยาการแตกตัวของยูเรเนียมที่เกิดอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ภายในเครื่องปฏิกรณ์จะถูกกักเก็บอย่างมิดชิดภายในเม็ดเชื้อเพลิงที่มีปลอกแท่งเชื้อเพลิงห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ภายหลังการใช้งานแท่งเชื้อเพลิงระยะหนึ่งจะมีกากกัมมันตรังสีเกิดสะสมในเม็ดเชื้อเพลิง ทำให้ประสิทธิภาพของปฏิกิริยาลูกโซ่ลดลงจึงจำเป็นต้องมีการสับเปลี่ยนนำแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วออกมาและเติมแท่งเชื้อเพลิงใหม่เข้าไปเพื่อให้ปฏิกิริยาดำเนินต่อไปได้
    นอกจากนี้ระหว่างการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังมีกากกัมมันตรังสีบางประเภทปะปนในน้ำระบายความร้อนและอุปกรณ์ภายในเครื่องปฏิกรณ์ จากการดูดจับอนุภาคนิวตรอน ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้ามีภาระรับผิดชอบในการจัดการกากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันมิให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกสู่ภายนอกโรงไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
    เนื้อหา [ซ่อน]
    1 ชนิดและปริมาณของกากกัมมันตรังสี
    2 การจัดการกากกัมมันตรังสี
    3 การพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต
    4 อ้างอิง
    ชนิดและปริมาณของกากกัมมันตรังสี[แก้]

    กากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นในการดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้ สามารถแบ่งประเภทเพื่อการจัดการได้เป็น 2 ประเภท คือ
    1.กากกัมมันตรังสีทั่วไป
    กากกัมมันตรังสีทั่วไปจากการดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่มาจาก กระดาษและวัสดุที่ใช้กรองอากาศ การทำความสะอาดระบบระบายความร้อน บ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว การขจัดความเปรอะเปื้อนทางรังสีของอุปกรณ์และเสื้อผ้าขณะปฏิบัติงานซ่อมบำรุง เป็นต้น กากกัมมันตรังสีเหล่านี้มีปริมาณมาก ประมาณปีละ 200 – 600 ลูกบาศก์เมตร แต่เป็นกากกัมมันตรังสีระดับรังสีปานกลางและระดับรังสีต่ำ ซึ่งสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว
    2.กากเชื้อเพลิงใช้แล้ว
    ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบความดันสูง (Pressurized Water Reactor, PWR) ขนาด 1000 เมกะวัตต์ จะใช้ยูเรเนียมเข้มข้นร้อยละ 3 (3% enriched U – 235) ประมาณ 89 ตัน ประกอบเป็นแกนปฏิกรณ์ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการสับเปลี่ยนแท่งเชื้อเพลิงระหว่างการซ่อมบำรุงประจำปี โดยนำเชื้อเพลิงใช้แล้วออกมา แล้วเติมเชื้อเพลิงใหม่เข้าไปปริมาณหนึ่งในสามของเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมด หรือประมาณ 27 – 30 ตัน
    นั่นคือ จะมีกากกัมมันตรังสีจากแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วประมาณ 27 – 30 ตันต่อปี เป็นปริมาตรประมาณ 50 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจัดเป็นกากกัมมันตรังสีสูงซึ่งมีธาตุยูเรเนียม – 235 ที่ยังใช้ไม่หมด และธาตุพลูโทเนียม – 239 ซึ่งเป็นธาตุมีค่าและสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ได้อีก
    จากประมาณการผลิตไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ต่อคน ในเวลาหนึ่งปีนั้นจะทำให้เกิดกากกัมมันตรังสีระดับรังสีสูง ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการสกัด เอายูเรเนียมและพลูโทเนียมมาใช้ใหม่ จะเหลือเป็นกากที่ต้องการจัดการเพียง 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น หากคิดปริมาณกากกัมมันตรังสีสูงที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เพื่อใช้ตลอดชั่วอายุคนหนึ่งคนจะมีขนาดเท่าก้อนลูกแก้วในมือเท่านั้นเอง
    ดังนั้นเชื้อเพลิงใช้แล้วในแต่ละปีประมาณ 27 – 30 ตัน เมื่อผ่านขบวนการแยก และลดปริมาตรแล้วจะเหลือกากกัมมันตรังสีระดับรังสีสูงเพียงถังขนาด 200 ลิตร ประมาณ 10 – 20 ถัง
    การจัดการกากกัมมันตรังสี[แก้]

    1.กากกัมมันตรังสีทั่วไป
    ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า กากกัมมันตรังสีประเภทนี้ เป็นกากกัมมันตรังสีระดับรังสีปานกลางและระดับรังสีต่ำ ซึ่งสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว จึงสามารถเก็บไว้ภายในบริเวณโรงไฟฟ้าโดยปล่อยให้สลายตัวไปเองตามธรรมชาติ หรือ อาจผสมกับปูนซีเมนต์ หรือยางมะตอยให้อยู่ในรูปของแข็งไม่ละลายน้ำแล้วนำไปบรรจุในภาชนะปิดผนึกแน่นที่ทนการกัดกร่อนก่อนนำไปฝังใต้ผิวดินเพื่อป้องกันการรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมอีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะปล่อยให้สลายตัวไป โดยจะสลายตัวหมดในระยะเวลาประมาณ 100 ปี
    2.การจัดการเชื้อเพลิงใช้แล้ว
    2.1 การจัดเก็บชั่วคราว
    เนื่องจากภายในแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วมีกากกัมมันตรังสีระดับรังสีสูง และยังแผ่ความร้อนอยู่เมื่อนำออกจากเครื่องปฏิกรณ์แล้วจะถูกนำไปเก็บไว้ชั่วคราวในบ่อน้ำภายในอาคารเครื่องปฏิกรณ์ก่อนนำไปเก็บไว้ภายนอกอาคารที่จัดสร้างไว้โดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อให้ระดับรังสีของแท่งเชื้อเพลิงลดลงโดยใช้น้ำเป็นตัวกำบังรังสีและระบายความร้อนด้วย อย่างไรก็ตามบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงภายในอาคารเครื่องปฏิกรณ์ได้ออกแบบให้มีขนาดใหญ่พอที่จะเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วได้ตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คือมากกว่า 30 ปี โดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วออกนอกโรงไฟฟ้าเลย
    2.2 การจักเก็บขั้นสุดท้าย
    เมื่อมีปริมาณแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วมากพอหรือเลิกใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว อาจจัดส่งแท่งเชื้อเพลิงไปยังโรงงานในต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพื่อสกัดแยกกากกัมมันตรังสีที่แท้จริง ออกจากธาตุยูเรเนียม – 235 และธาตุพลูโทเนียม - 239 ซึ่งจะนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใหม่
    สำหรับกากกัมมันตรังสีที่แท้จริงดังกล่าวสารเคมีและของเสียจากกระบวนการสกัด เป็นกากกัมมันตรังสีของเหลวระดับรังสีสูง ซึ่งจะถูกลดปริมาตรลง แล้วนำไปหลอมรวมกับแก้วให้อยู่ในรูปของผลึกแก้วบรรจุในภาชนะเหล็กไร้สนิมหรือทองแดง ซึ่งมีความคงทนสามารถกักเก็บสารกัมมันตรังสีไม่ให้รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมได้นานนับพันปี ซึ่งเป็นเวลาที่กากกัมมันตรังสีจากการแตกตัวของยูเรเนียมสลายตัวเกือบหมด ส่วนธาตุที่ครึ่งชีวิตยาวเช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม และอะเมริเซียมจะมีอันตรายทางรังสีเท่ากับแร่ยูเรเนียมในธรรมชาติ
    ในการจัดเก็บกากกัมมันตรังสีอย่างถาวรนั้น ในหลายประเทศได้มีการศึกษาที่จะจัดเก็บไว้ใต้ดินลึกประมาณ 0.5 – 1 กิโลเมตร ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้รับการพิสูจน์จากปฏิกิริยาการแตกตัวของยูเรเนียมตามธรรมชาติ เมื่อ 1,700 ล้านปี ที่เหมือง OKLO ประเทศ Gabon กากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นยังคงอยู่ภายในเหมือง โดยไม่แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมเนื่องจากสภาพการจัดการตามธรรมชาติ
    การพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต[แก้]

    นอกจากการทำกากกัมมันตรังสีให้เป็นผลึกแก้วแล้ว ในประเทศออสเตรเลียได้มีการพัฒนาการทำกากกัมมันตรังสีให้อยู่ในรูปของเซรามิก หรือที่เรียกว่าหินเทียมซึ่งเป็นอีกรูปหนึ่งที่จะต้องติดตามข้อดีและข้อเสียต่อไป ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้มีการศึกษาการเก็บกากกัมมันตรังสีระดับสูง โดยเลียนแบบตามธรรมชาติของซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกทับถมในตะกอนดิน ซึ่งมีความเสถียรภาพ ทนทานต่อแรงแผ่นดินไหว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในระยะยาว ส่วนในยุโรปและในสหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาขบวนการจัดการกากกัมมันตรังสีด้วยการกระตุ้นให้กากกัมมันตรังสีมีอายุสั้นลงโดยการนำกลับเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ หรือเครื่องเร่งอนุภาคอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเร่งให้มีคุณสมบัติการสลายตัวได้รวดเร็วขึ้น แต่ในปัจจุบันสามารถทำได้เพียงการก้อสร้างโรงงานต้นแบบ จำเป็นต้องการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่งจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้จริง

    อ้างอิง[แก้]

    Hore – Lacy, I. and Hubery, R., Nuclear Electricity – An Australian Perspective 3rd Ed., Australian Mining Industry Council, Victorian Printing Pty Ltd., 1989.
    Handbook for Citizens, The Nuclear Waste Primer, The League of Women Voters Education Fund, Nick Lyons Books, 1985.
    An IAEA Source Book, Radioactive Waste Management, International Atomic Energy Agency, Vienna, 1992.
    Opalinus Clay : a solution for Switzerland’s Waste, Nuclear Engineering International Vol. 48 No. 538, February 2003.
     
  15. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,085
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ผมได้กดอนุโมทนาให้กับข้อความของทุกท่าน
    และขออโหสิกรรมจากทุกท่านด้วยครับ
     
  16. naproxen

    naproxen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +742
    ข้อมูล

    การจัดการกากกัมมันตรังสี (Radioactive Waste Management)………………………ปฐม แหยมเกตุ กองขจัดกากกัมมันตรังสี พปส.
    กากกัมมันตรังสี หมายถึง ของเสียทั้งของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ที่ประกอบหรือปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีที่ไม่ใช้แล้ว ในระดับกัมมันตภาพรังสีสูงกว่า เกณฑ์ปกติในธรรมชาติ
    นับตั้งแต่ Henri Becquerel ได้พบ กัมมันตภาพรังสี ในปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา ได้มีการศึกษาพัฒนาความรู้และการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ต่างๆมากมาย เช่น การใช้ในรูปของพลังงาน และการใช้สารกัมมันตรังสีในการศึกษาวิจัยและในการปฏิบัติงานอื่น การใช้งานของสารกัมมันตรังสีเพื่อประโยชน์ต่างๆดังกล่าว ยังผลให้เกิดกากกัมมันตรังสีขึ้น ผู้ใช้สารกัมมันตรังสีควรต้องทราบถึงกรรมวิธีจัดการกากที่ถูกต้องเพื่อมิให้เกิดปัญหามลภาวะทางรังสีต่อไป

    1. ต้นกำเนิดและลักษณะชนิดของกากกัมมันตรังสี
    2. กากกัมมันตรังสีจากแหล่งกำเนิดกาก
    · กากกัมมันตรังสีจากการทำเหมืองแร่ ยูเรเนียม
    · กากกัมมันตรังสีจากการแต่งแร่ ยูเรเนียม
    · กากกัมมันตรังสีจากขบวนการยูเรเนียมบริสุทธิ์
    · กากกัมมันตรังสีจากการประดิษฐ์แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
    · กากกัมมันตรังสีจากการเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู
    · กากกัมมันตรังสีจากขบวนการฟอกกากนิวเคลียร์
    · กากกัมมันตรังสีจากศูนย์วิจัยฯและสถาบันการศึกษา
    · กากกัมมันตรังสีที่มาจากการใช้งานทางการแพทย์
    · กากกัมมันตรังสีจากโรงงานอุตสาหกรรม
    · กากกัมมันตรังสีจากการใช้งานทางการเกษตร

    3. หลักการจัดการกากกัมมันตรังสี
    4. การขจัดกากของเหลวกัมมันตรังสี
    5. การขจัดกากของแข็งกัมมันตรังสี
    6. การขจัดกากกัมมันตรังสีชนิดที่เป็นไอหรือก๊าซ
    7. การแปรสภาพของแข็ง ให้เหมาะต่อการเก็บทิ้งโดยถาวร(Conditioning)
    8. การเก็บรักษาและทิ้งกากโดยถาวร

    ต้นกำเนิดและลักษณะชนิดของกากกัมมันตรังสี
    สารกัมมันตรังสีในกากนั้นอาจจะเป็นสารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติ(Natural radioactivity) หรือสารกัมมันตรังสีที่เกิดจากการประดิษฐ์ของมนุษย์ (Artificial radioactivity)
    การจัดจำพวกของกากกัมมันตรังสีนั้น อาจแยกได้หลายวิธี เช่น
    - คุณสมบัติทางเคมี(อินทรีย์สาร อนินทรีย์สาร ฯลฯ
    - ชนิดของสารกัมมันตรังสีที่ปล่อยออกมา(แอลฟา เบตา และ แกมม่า)
    - ระดับของการเปรอะเปื้อนสารรังสี(รังสีระดับสูง รังสีระดับต่ำและปานกลาง)
    - แหล่งกำเนิดกากฯ หมายถึงสถานที่ปฏิบัติการทางรังสี
    กากกัมมันตรังสีจากแหล่งกำเนิดกาก
    กากกัมมันตรังสีจากขบวนการวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
    - กากกัมมันตรังสีจากการทำเหมืองแร่ ยูเรเนียม
    ปริมาณและคุณภาพของกากกัมมันตรังสีจากเหมืองแร่ยูเรเนียม ขึ้นอยู่กับแหล่งแร่และกรรมวิธีการผลิต โดยปกติกากกัมมันตรังสีทีเกิดขึ้นคือหางแร่ที่มีระดับรังสีต่ำและสะสมตัวในบ่อน้ำในบริเวณกว้าง ซึ่งไม่เป็นปัญหาสำคัญนัก เพราะแหล่งแร่ยูเรเนียม มักจะอยู่ห่างไกลแหล่งชุมชน สำหรับชนิดของสารกัมมันตรังสีที่พบคือ ยูเรเนียม เรเดียมหรือทอเรียม ที่เจือปนอยู่ในปริมาณเล็กน้อย
    - กากกัมมันตรังสีจากการแต่งแร่ ยูเรเนียม
    สินแร่ยูเรเนียม จะมี ยูเรเนียมอ๊อกไซด์ U3O8 ประมาณ 0.25% เมื่อส่งออกจากเหมืองแร่ สินแร่ดังกล่าวจะถูกส่งเข้าโรงงานแต่งแร่ ซึ่งจะแยกสารประกอบยูเรเนียม ออกมาจากสิ่งเจือปนทั้งหมดโดยการนำสินแร่มาบดให้แตกละเอียด แล้วสกัดสารประกอบยูเรเนียมออกมาโดยขบวนการทางเคมีซึ่งมี 2 วิธี คือการสกัดโดยกรดและการสกัดด้วยด่าง สารประกอบยูเรเนียมจะละลายในสารละลายและจะถูกนำไปแยกออกจากสารละลาย โดยวิธี Ion Exchange หรือโดยวิธีสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction) ต่อไป
    กากกัมมันตรังสีจากการแต่งแร่ ส่วนใหญ่คือหางแร่ ซึ่งจะเปื้อนปนด้วยสารรังสีที่มาจากการสลายตัวของอนุกรมยูเรเนียม เช่นเดียวกับกากฯ จากเหมืองแร่ กากฯเหล่านี้จะถูกระบายออกสู่บ่อพักและจะตกตะกอนลงสู่ก้นบ่อ โดยจะมีโลหะธาตุอื่นๆปะปนอยู่ด้วย เช่น Mn, Cu, Pb, As ฯลฯ กากกัมมันตรังสีชนิดเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นในการแต่งแร่ โมนาไซต์ ซึ่งเป็นแร่ที่มี ธาตุทอเรียมผสมอยู่ด้วย โดยสรุปแล้วกากกัมมันตรังสีในกลุ่มนี้ไม่ก่อปัญหาสำคัญแต่อย่างใด
    - กากกัมมันตรังสีจากขบวนการยูเรเนียมบริสุทธิ์
    ผลิตผลจากการแต่งแร่ยูเรเนียม จะได้เป็นสารประกอบยูเรเนียมที่มีเนื้อยูเรเนียมประมาณ 70%ซึ่งจะต้องนำไปทำให้บริสุทธิ์มากยิ่งขึ้นเพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปทำเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ต่อไป ทั้งนี้โดยการทำละลายสารประกอบนั้นด้วยกรดดินประสิว แล้วทำการสกัดด้วยสารประกอบ (Tributyl phosphate) ซึ่งจะทำให้สามารถแยกยูเรเนียมเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ได้
    สำหรับกากกัมมันตรังสีในกรณีนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสารละลาย ในปริมาณ 5000 ลิตรต่อยูเรเนียม 1 ตัน กัมมันตภาพรังสีในกากนั้นจะมาจาก เรเดียม ยูเรเนียม และผลิตผลจากการสลายตัวของอนุกรมยูเรเนียม เช่น ทอเรียมและโปรเทคติเนียม เป็นต้น
    หลังจากการสกัดด้วย TBP แล้วจะได้สารประกอบบริสุทธิ์ของ Uranyl Nitrate ซึ่งต่อมาจะถูก Oxidized กลายเป็นก๊าซ Uranium Tetrafluoride ซึ่งจะถูก Reduced ด้วย Mg กลายเป็นโลหะยูเรเนียมบริสุทธิ์ในที่สุด
    - กากกัมมันตรังสีจากการประดิษฐ์แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
    การสร้าง หรือ ประกอบแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์นั้น จะเกี่ยวกับการนำโลหะยูเรเนียม ไปทำเป็นโลหะผสมที่ความคงทนต่อสภาพต่างๆ อาทิ เช่น ความร้อน ความดัน ความเครียด ในแท่งเชื้อเพลิง เป็นต้น การสร้างแท่งเชื้อเพลิงจะต้องอาศัยขบวนการเชิงกล เช่นการหลอมโลหะ การกลึงให้เข้ารูป การเจาะ และการขัดทำความสะอาด เป็นต้น
    กากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น จะประกอบด้วยเศษโลหะ สารละลายที่ใช้ทำความสะอาด กระดาษ ฝุ่นละออง ต่างๆ ซึ่งเศษโลหะจากขบวนการนี้จะถูกเรียกเก็บกลับไปใช้งานใหม่ และกากส่วนอื่นๆนั้นมีระดับรังสีต่ำมาก
    - กากกัมมันตรังสีจากการเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู
    การเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู จะทำให้เกิดสารกัมมันตรังสีสองจำพวก คือ ผลิตผลของการฟิชชั่น (fission product) และผลิตผลจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ระหว่างนิวตรอนกับวัสดอื่นๆในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (ผลิตผลแอคติเวชั่น activation products) ปกติในส่วนของผลิตผลฟิชชั่น นั้นจะติดค้างอยู่ในแท่งเชื้อเพลิงปรมาณู ไม่เล็ดลอดออกมา แต่สำหรับผลิตผลแอคติเวชันนั้น จะปะปนอยู่ในตัวทำความเย็น และวัสดุโครงสร้างอื่นๆของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูซึ่งอาจจะถูกชะล้างออกมาในตัวทำความเย็นได้
    สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ไอโซโทปต่างๆมากมาย แต่อาจสรุปที่สำคัญได้ดังต่อไปนี้ H3, C14, Fe55, Co60, Ni63, Kr85, Sr89, Sr90, Y91, Zr93, Zr95, Nb95, Tc99, Ru106, I129, I131, Xe133, Cs134, Cs137, Ce141, Ce144, Pm147, SM151, Eu154, PB210, Rn222, Ra226, Th229, Th230, U234, U235, U238, Np237, Pu239, Pu240, PU241, Pu242, Am241, Am243 และ Cm242 เป็นต้น
    - กากกัมมันตรังสีจากขบวนการฟอกกากนิวเคลียร์
    แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่นำไปใช้งานจนเสื่อมสมรรถนะภาพแล้ว อาจจะนำไปปรุงแต่งให้คืนสภาพใช้งานได้อีกครั้งหนึ่ง โดยขบวนการแยกทางเคมี โดยมีวิธีการประกอบด้วย การทำลายแท่งเชื้อเพลิงฯ ด้วยกรดดินปะสิว ซึ่งจะทำให้ได้กากกัมมันตรังสีในรูปของสารละลายที่มีสารกัมมันตรังสีชนิดผลิตผลฟิชชันที่มีความแรงรังสีสูงมากโดยปกติผลิตผลฟิชชันนั้นประกอบด้วยธาตุประมาณ 35 ธาตุและเป็นไอโซโทปรังสีประมาณ 120 ชนิด แต่ส่วนใหญ่เป็นไอโซโทปรังสีที่มีอายุสั้นๆ สำหรับผลิตผลฟิชชันที่มีครึ่งชีวิตยาวมีไม่มากนัก ที่สำคัญคือ Cs137 มีครึ่งชีวิต 30 ปี Sr90มีครึ่งชีวิต 29 ปีและ Ru106 มีครึ่งชีวิต 1 ปี เป็นต้น
    นอกจากผลิตผลฟิชชันแล้ว กากกัมมันตรังสีชุดนี้ ยังประกอบด้วยสารรังสีชนิดทรานสยูเรนิค (Transurenic) ซึ่งเป็นไอโซโทปรังสีของธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า ยูเรเนียมและเป็นไอโซโทปที่ให้แอลฟาเป็นส่วนใหญ่ และมีครึ่งอายุค่อนข้างยาวนานด้วย
    - กากกัมมันตรังสีจากศูนย์วิจัยฯและสถาบันการศึกษา
    กัมมันตภาพรังสีของกากฯ ในกลุ่มนี้ มีระดับรังสีต่ำมาก แต่ปรากฏว่าปริมาณของกากรังสี เพิ่มมากขึ้นทุกทีเนื่องจาก ปัจจุบันมีการใช้สารรังสีในการศึกษาวิจัยในโครงการต่างๆเพิ่มมากขึ้น กากกัมมันตรังสีในกลุ่มนี้มีสภาพทางกายภาพคล้ายคลึงกันแต่องค์ประกอบของกากแตกต่างกัน ขึ้นกับโครงงานที่ปฏิบัติ อาทิเช่น กากของเหลวอาจเป็นพวกสารอนินทรีย์ที่มีการเจือปนด้วยสารเคมีต่างชนิดกัน หรืออาจเป็นสารละลายอินทรีย์ชนิดต่างๆ เป็นต้น สำหรับกากของแข็งนั้น ส่วนมากประกอบด้วย วัสดุ อุปกรณ์ที่ชำรุด หรือ เศษกระดาษ ผ้า เฟอร์นิเจอร์ ขวดแก้ว พลาสติค และอื่นๆ
    - กากกัมมันตรังสีที่มาจากการใช้งานทางการแพทย์
    การใช้ประโยชน์ทางรังสีในกิจการแพทย์ประกอบด้วย การใช้ในการตรวจวินิจฉัย และการบำบัดรักษา อาการโรค เช่น การใช้สารรังสีฉีดเข้าไปในร่างกาย และตรวจสอบการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ โดยการติดตามวัดปริมาณรังสี การใช้รังสีจากต้นกำเนิดรังสีฉายไปยังบริเวณอวัยวะที่เป็นเนื้องอก เพื่อระงับการแพร่ขยายของเนื้อร้าย ณ อวัยวะส่วนนั้น และการใช้รังสี X ฉายผ่านอวัยวะของร่างกาย เพื่อตรวจหาความผิดปกติ เป็นต้น ทั้งนี้สารรังสีที่ใช้มีทั้งในลักษณะของต้นกำเนิดรังสีผนึกสนิท(sealed source) และสารเคมีรังสีชนิดไม่ผนึก(unsealed sources)
    กากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น อาจจะอยู่ในรูปของเสียที่ขับถ่ายจากผู้ป่วยที่ได้รับสารรังสีเข้าสู่ร่างกาย น้ำเสียจากการทำความสะอาดภาชนะหรือเครื่องแต่งกายของผู้ป่วยและภาชนะบรรจุสารกัมมันตรังสี เข็มฉีดยาและอื่นๆ สารรังสีที่ใช้ในกิจการนี้มักเป็นพวกที่มีครึ่งอายุสั้นๆเช่น Au198, I125, Cr51 และ Tc99m เป็นต้น
    - กากกัมมันตรังสีจากโรงงานอุตสาหกรรม
    ปกติสารกัมมันตรังสีที่ใช้ในกิจการอุตสาหกรรมต่างๆนั้น มักอยู่ในสภาพของสารรังสีชนิดผนึกสนิทในภาชนะ(seal source) โดยส่วนมากจะมีการใช้งานในการถ่ายภาพทางรังสี(radiography) ของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ หรือ เครื่องยนต์กลไก การใช้เป็นเครื่องตรวจสอบ ความหนาของวัสดุ ตรวจสอบความหนาแน่น ตรวจสอบระดับของเหลวในถังทึบเป็นต้น ต้นกำเนิดรังสีเหล่านั้นจะถูกเรียกว่ากากกัมมันตรังสีก้ต่อเมื่อเลิกใช้งานแล้ว ซึ่งในเวลานั้นสารรังสีจะมีความเข้มของรังสีลดลงอย่างมากแล้ว และเป็นกากที่แยกจากองค์ประกอบอื่นๆได้ง่าย ตัวอย่างไอโซโทปรังสี ในกรณีนี้มี เช่น โคบอลต์-60 เออริเดียม-192 ซีเซียม-137 เป็นต้น
    - กากกัมมันตรังสีจากการใช้งานทางการเกษตร
    การศึกษาวิจัยทางการเกษตรหลายอย่างเป็นต้นกำเนิดกากกัมมันตรังสี ประเภทนี้ อาทิ เช่น การตรวจสอบสภาพดิน หรือการศึกษาความสามารถในการดูดซึมปุ๋ยของพืชชนิดต่างๆ การตรวจหาความชื้นใต้ดิน ฯลฯ กากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นมักจะมีลักษณะเช่นเดียวกับ กากที่เกิดจากศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ทั่วไป
    หลักการจัดการกากกัมมันตรังสี
    การขจัดกากกัมมันตรังสี มิได้หมายถึงการทำลายสารกัมมันตรังสี ให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้เพราะวิธีการทางเคมี-ฟิสิกส์สามัญ ไม่สามารถทำลายสภาพกัมมันตรังสีได้ จะมีเพียงวิธีทางนิวเคลียร์ ซึ่งยุ่งยากและสิ้นเปลือง และขบวนการสลายตัวตามธรรมชาติของสารกัมมันตรังสีนั้นเท่านั้น ที่จะแปรสภาพความเป็นกัมมันตภาพรังสีของสารได้ การจัดการกากกัมมันตรังสีจึงเป็นการดำเนินการใดๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของกากกัมมันตรังสีในสภาวะแวดล้อมเกิดการเปรอะเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสี ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป
    วิธีการที่ใช้ปฏิบัติต่อกากฯ เหล่านั้นมีมากมายหลายวิธีตามลักษณะคุณภาพและปริมาณของกากฯเหล่านั้น แต่โดยส่วนรวมแล้ว การขจัดกากฯ ทุกๆวิธีจะมีหลักการร่วมกัน 3 ประการ
    1. การทำให้เข้มข้น แล้วเก็บรวบรวม ( concentrate and contain )
    2. การทำให้เจือจาง แล้วระบายทิ้ง ( dilute and disperse )
    3. การเก็บทอดระยะเวลา และปล่อยให้สารกัมมันตรังสีสลายตัวไปเอง ( Delay and Decay )
    การขจัดกากของเหลวกัมมันตรังสี
    กากของเหลวระดับรังสีสูง(104 – 106 Ci/m3)
    กากกัมมันตรังสีชุดนี้ส่วนใหญ่เป็นสารละลายของ fission – product จากโรงงานคืนสภาพเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และมีระดับรังสีสูง การบำบัดกากนี้มักใช้วิธีการต้มระเหย(evaporation) แล้วเก็บไว้ในภาชนะที่คงทน รอจนสารรังสีบางส่วนสลายตัวลงบ้าง แล้วจึงนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ของแข็ง เช่นโดยวิธีผนึกให้เป็นแก้ว ( Vitrification ) ต่อไป
    กากของเหลวระดับรังสีต่ำและปานกลาง(10-6 – 1 Ci/m3)
    ตามปกติกากของเหลวกัมมันตรังสีมักจะอยู่ในรูปสารละลายของน้ำ เพราะน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในการปฏิบัติงานทุกประเภท เช่นใช้น้ำทำความสะอาดอุปกรณ์ ใช้ทำละลายสารเคมีต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ การดำเนินการขจัดกากของเหลวกัมมันตรังสีนั้น จะเริ่มด้วยการรวบรวมกากของเหลวไว้จนกระทั่งมีปริมาณมากพอ ซึ่งจะได้ประโยชน์สองประการคือ เป็นการทอดระยะเวลาให้สารกัมมันตรังสีที่มีอายุสั้นๆ สลายตัวหมดไป(ตามหลักการข้อที่3) และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถดำเนินการต่อกากฯ จำนวนพอเหมาะ ในการเดินเครื่องครั้งหนึ่งๆ วิธีการดำเนินการขจัดกากของเหลวมีหลายวิธี เช่น
    การตกตะกอนเคมี เป็นวิธีที่ใช้สารเคมีผสมลงในของเหลวฯ ทำให้สารกัมมันตรังสีเกิดการตกตะกอนร่วมกับสารเคมีนั้น (หลักการข้อที่1) และสารละลายในส่วนที่เหลือหลังจากเกิดการตกตะกอน จะถูกระบายทิ้งต่อไป (หลักการข้อที่2)
    ผลจากวิธีทางเคมี คือการเกิดสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำซึ่งมักเป็นเกลือ hydroxide carbonate หรือ phosphate ขึ้นกับ วิธีการ และสารเคมีที่ใช้งาน
    การต้มระเหย (Evaporation) เป็นวิธีที่ใช้ความร้อนในการต้มระเหยน้ำทิ้งกัมมันตรังสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่มีระดับรังสีปานกลาง กรรมวิธีนี้จะทำให้ค่า DF สูงมาก การต้มระเหยนี้ จะได้ผลเป็นกากกัมมันตรังสีที่เข้มข้นในรูปตะกอน หรือของเหลวข้นๆ (concentrated residue) ตามหลักการข้อที่ 1 และส่วนที่เป็นไอน้ำ (Distillate) จะถูกระบายออกไป ตามหลักการข้อที่ 2
    การดูดจับด้วยสารแลกเปลี่ยนไอออน (Ion Exchange) เนื่องจากสารกัมมันตรังสีในกากของเหลวฯ จะอยู่ในรูปอนุมูลของธาตุด้วย ดังนั้นจึงสามารถใช้วิธีแลกเปลี่ยนไอออนในการขจัดกากของเหลวฯ ได้โดยให้กากของเหลวไหลผ่านคอลัมน์ของสารแลกเปลี่ยนไอออนซึ่งอาจเป็นสารสังเคราะห์ เช่น Ion Exchange resin หรือสารที่มีกำเนิดแต่ธรรมชาติ เช่น ถ่าน เกลือ ซีโอไลต์ เบนโตไนท์ และ ดินเคลย์ ต่างๆ สารกัมมันตรังสีจะถูกดุดจับไว้ในสารแลกเปลี่ยนไอออน (หลักข้อที่ 1) และสารละลายที่ผ่านออกไปสามารถละลายทิ้งได้ (หลักข้อที่ 2)
    สำหรับการปฏิบัติงานขจัดกากของเหลวกัมมันตรังสีของสำนักงาน พปส. นั้นกระทำโดยใช้วิธีตกตะกอนเคมี
    การขจัดกากของแข็งกัมมันตรังสี
    กากกัมมันตรังสีระดับรังสีสูง กากของแข็งชุดนี้ได้จาก โรงงานคืนสภาพเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ (nuclear fuel reprocessing plant) ลักษณะของกากคือ อ๊อกไซด์ของธาตุต่างๆ การบำบัดกากฯ จะกระทำโดยแปรสภาพของกากให้เป็นวัสดุที่คงทนต่อปฏิกิริยาเคมี อาทิเช่น แก้ว หรือ เซรามิค กากของแข็งที่แปรสภาพแล้ว เรียกว่า ผลิตภัณฑ์กากฯ (Waste product) จะถูกบรรจุลงในภาชนะที่เหมาะสม และเก็บไว้รอการทิ้งกากโดยถาวรต่อไป

    กากกัมมันตรังสีระดับรังสีต่ำและปานกลาง กากของแข็งในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย
    กากตะกอนเข้มข้น( Residue) จากการต้มระเหยกากของเหลว จากขบวนการตกตะกอนเคมีของกากของเหลว และ หรือ จากสารแลกเปลี่ยนไอออน ที่ใช้แล้ว เป็นต้น กากตะกอนเหล่านี้มักจะมีความชื้นปะปนอยู่ด้วยและยังไม่คงทนต่อสภาวะแวดล้อมดังนั้นจะต้องมีการแปรสภาพ เป็นผลิตภัณฑ์กากที่เหมาะสมเช่นกัน การแปรสภาพกากดังกล่าวนี้ อาจกระทำได้โดยวิธี Cementation หรือวิธี Bituminization
    กากของแข็งจากการใช้งานทั่วไป กากของแข็งกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ มาจากอุปกรณ์ที่ใช้ปฏิบัติงานทางรังสี เช่น ภาชนะต่างๆ เศษกระดาษ และ ซากสัตว์ทดลอง เป็นต้น วิธีการปฏิบัติต่อกากกลุ่มนี้ก็คือ ลดปริมาตรของกากฯ และเก็บรวบรวมไว้ การลดปริมาตรของกากฯ สามารถกระทำได้เช่น
    การเผาทำลายกากฯที่เผาไหม้ได้ (Incineration)
    การกด / อัดกากฯ ด้วยเครื่องมืออัดกำลัง (Compaction)
    การบด / ตัดกากฯ ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ( Fragmentation)
    การหลอมละลายโลหะเปื้อนรังสี (Melting)
    การทำละลายด้วยกรด (Acid reduction)

    กากของแข็งที่ทำการลดปริมาตรลงแล้ว จะเก็บรวบรวมไว้และนำไปแปรสภาพให้เหมาะสม เพื่อนำไปเก็บหรือทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางรังสีต่อสภาวะแวดล้อม
    การขจัดกากกัมมันตรังสีชนิดที่เป็นไอหรือก๊าซ
    กากกัมมันตรังสีที่อยู่ในสถานะของก๊าซนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะได้แก่ ก๊าซกัมมันตภาพรังสี (radioactive gas) เช่น I2, Kr, Ar, Rn และ Xe เป็นต้น หรือ ไอสาร หรือ ฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสี ( Aerosols) การบำบัดกากฯ ชนิด Aerosols นั้นกระทำได้โดยวิธีกรองกากฯ ในอากาศด้วยระบบกรองพิเศษ ซึ่งมักจะประกอบด้วย Activated Charcoal เป็นตัวดูดจับสารกัมมันตรังสี และมีอุปกรณ์กรองมลสาร แขวนลอย ที่มีขนาด เล็กๆได้ดี HEPA filter จากการขจัดกากฯ โดยการกรองแล้ว เครื่องกรองจะถูกทิ้งเป็นกากของแข็งต่อไป

    การบำบัดกากชนิดที่เป็นก๊าซกัมมันตรังสีนั้นจำเป็นต้องอาศัยกรรมวิธีเฉพาะ เช่น
    เทคนิคการดูดจับ (Adsorption technique) ได้แก่การดูดจับก๊าซกัมมันตรังสีด้วยสารตัวกลางที่เหมาะสม เช่น Activated Carbon หรือ Porous matter ที่เคลือบหรือจุ่มให้โชกด้วยเกลือของเงิน (Silver Nitrate Impregnated) ในกรณีของ I2

    การสกัดแยก (Extraction) เช่นการสกัดแยกด้วยวิธีกลั่นเย็น (Cryogenic distillation) ซึ่งกระทำได้โดยการลดอุณหภูมิของก๊าซให้เย็นจัดจนกลายเป็นของเหลว แล้วปล่อยให้อุณหภูมิสูงขึ้นทีละน้อย ก๊าซแต่ละชนิดที่มีจุดเดือดแตกต่างกันก็จะระเหยออกมา ณ ที่อุณหภูมิต่างกัน ตัวอย่างเช่น Ne มีจุดเดือด = -111.9oC เป็นต้น

    การแพร่ (Diffusion) เป็นการสกัดแยกก๊าซอีกแบบหนึ่งโดยอาศัยหลักการที่ว่าก๊าซแต่ละชนิดมี อัตราการแพร่ (rate of diffusion) ในตัวกลางต่างๆไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงสามารถแยกจากกันได้
    หลังจากการกรองหรือสกัดแยกก๊าซ ด้วยวิธีต่างๆดังกล่าวแล้ว ชุดเครื่องกรอง ก็จะเป็นที่สะสมของสารกัมมันตรังสี และจะต้องนำไปบำบัดเป็นกากของแข็งต่อไป ส่วนก๊าซที่สกัดแยกเอาไว้ ก็บรรจุใส่ท่อ หรือถังก๊าซเพื่อนำไปทิ้งโดยถาวรต่อไป
    การแปรสภาพของแข็ง ให้เหมาะต่อการเก็บทิ้งโดยถาวร(Conditioning)
    เพื่อทำให้สภาพของกากฯ คงทนต่อสภาพแวดล้อม ในเมื่อจะมีการเก็บทิ้งโดยถาวรจะต้องมีการแปรสภาพกากฯ เช่น การผนึกกากฯ ในเนื้อซีเมนต์ (cementation) โดยใช้ซีเมนต์เป็นตัวยึด/เชื่อมกากกัมมันตรังสี และป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีในกากฯ กระจายออกสู่สภาวะสิ่งแวดล้อม หรืออาจจะผนึกกากฯ ในสารบิทูเมน หรือ ยางมะตอย (bituminization) หรืออาจจะแปรสภาพของกากฯ ให้อยู่ในรูปของสารที่เสถียรมากๆ เช่น แก้วและเซรามิค (Vitrification) เป็นต้น การเลือกวิธีแปรสภาพนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและองค์ประกอบของกากฯ นั้นๆ และเหตุผลทางเศรษฐกิจของการจักการกากนั้นๆ
    การเก็บรักษาและทิ้งกากโดยถาวร
    กากฯที่แปรสภาพแล้ว สามารถนำไปทิ้งโดยถาวรได้ ซึ่งมีวิธีทิ้งหลายวิธี เช่น การเก็บฝังลงใต้ดินตื้นๆ การเก็บฝังในเหมืองแร่ร้างใต้ดินและการเก็บทิ้งลงในมหาสมุทร เป็นต้น
    การทิ้งกากแบบฝังดิน สามารถกระทำได้ 2 วิธี
    การทิ้งกากแบบฝังดิน(Shallow land burial) เป็นวิธีการที่ใช้กับ กากกัมมันตรังสีของแข็ง ที่มีความแรงรังสีต่ำ และมีครึ่งชีวิตของ สารกัมมันตรังสีสั้น (ไม่เกิน 30 ปี) ที่ฝังกากแบบนี้อาจเป็นหลุมดินหรือเป็นบ่อที่มีโครงสร้างแข็งแรง (engineered structure)
    การทิ้งกากแบบฝังดินลึก (Deep underground disposal) เป็นการทิ้งกากที่เหมาะสมสำหรับกากกัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตยาว และมีระดับความแรงรังสีสูง และต้องการแยกกากจากมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับประชาชนให้มากที่สุด
    การทิ้งกากแบบทิ้งทะเล
    การทิ้งกากแบบนี้อาจกระทำได้โดยการทิ้งผลิตภัณฑ์กากที่ผนึกสนิทแล้วลงสู่ท้องทะเลโดยตรง หรือโดยวิธีฝังกากใต้ดินใต้ท้องทะเลลึกแต่จะต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ข้อตกลงนานาชาติว่าด้วย การทิ้งกากสารอันตรายลงสู่ท้องทะเล(The London Dumping Convention) ปัจจุบันนี้ประเทศต่างๆทั่วโลกพยายามละเว้นการทิ้งกากวิธีนี้
    การทิ้ง/ทำลายกากโดยถาวรวิธีอื่นๆ
    ยังมีวิธีทำลายกากอีกหลายวิธีที่มีการพิจารณาว่าอาจจะนำมาใช้ปฏิบัติได้ ตัวอย่างเช่นการฝังกากลงในน้ำแข็ง (disposal into ice sheet) การทำลายกากโดยวิธีนิวเคลียร์(Nuclear transmutation) และการทิ้งกากออกไปสู่อวกาศ(disposal into space) เป็นต้น อย่างไรก็ตามเทคนิคการทิ้งกากด้วยวีดังกล่าวยังมิได้นำมาใช้ปฏิบัติในปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013
  17. naproxen

    naproxen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +742
    เกล้ากระผมขอกราบนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ผู้ประเสริฐสูงสุดทุกพระองค์

    และขอขอบพระคุณทุกท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [​IMG]

    Op-Ed: Fukushima nuclear plant leaks pollute Pacific Ocean
    Aug 10, 2013 by Eliot Elwar
    World - 4 comments
    Listen to this article (by ReadSpeaker)

    Fukushima nuclear plant water leaks continue to contaminate most of the Pacific Ocean. The long-term impact of the radiation leak on Japan and its neighboring countries will continue for many years. Are Japanese leaders covering up this disaster?

    A few years after the Fukushima tragedy Japan fails to admit to the seriousness of the disaster, but it is clear the drastic environmental implications will follow. The Japanese authorities have been covering up the disaster because they do not want to embarrass themselves and the global nuclear industry and they are trying to open up another nuclear plant in Japan. This disaster could contaminate the entire Pacific Ocean. It is extremely serious because an estimated 300 tons of contaminated water continues to spill daily into the ocean. It will probably take 40 years to clean-up the contaminated area, according to the extinction protocol.
    While tons of polluted water flow daily into the Pacific, from the damaged Fukushima nuclear plant, Japan’s government workers attempt to seal the leak, according to RT news. However, their efforts appear to be too little and too late because this toxic Fukushima fallout threatens many people’s livelihoods, according to the Guardian.

    Analysis
    This disaster is more dangerous than previously thought. Both the US and Japanese governments knew from day one the magnitude of the disaster and did not tell the American public living in the west-coast regions of the US. There appears to be no way to stop this catastrophe when 300 tons of radioactive water is being pumped into the Pacific Ocean daily. Today sections of Japan are now radioactive and uninhabitable. In the future portions of the west coast region of America will be radioactive and uninhabitable for generations.

    Read more: Op-Ed: Fukushima nuclear plant leaks pollute Pacific Ocean
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.2 KB
      เปิดดู:
      627
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันที่ 21 สิงหาคม 2556 เว็บภัยพิบัติ

    [​IMG]
    19.38 แผ่นดินไหวขนาด 6.1 บริเวณ Guerrero ประเทศเม็กซิโก ที่ความลึก 34.80 กม.แรงไหว 17.5%g
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.9 KB
      เปิดดู:
      588
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เกาะภูเขาไฟ “ไวท์ไอแลนด์” ในนิวซีแลนด์ปะทุ พ่นควันไอน้ำสูงกว่า 2 กม.
    เอเอฟพี – ภูเขาไฟนอกชายฝั่งเกาะเหนือของนิวซีแลนด์เกิดการปะทุ และพ่นไอน้ำสูงขึ้นไปบนท้องฟ้ากว่า 2 กิโลเมตร วันนี้(20) ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟระบุว่าเป็นแค่การปะทุเล็กน้อย และสิ้นสุดลงในเวลาเพียงไม่กี่นาที

    http://youtu.be/rpuBrkmU9hs

    สำนักงานเฝ้าระวังแผ่นดินไหวจีโอเน็ต (GeoNet) รายงานว่า ไวท์ไอแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะภูเขาไฟในอ่าวเพลนตี (Bay of Plenty) บนเกาะเหนือ เริ่มปะทุขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 10.23 น. ตามเวลาท้องถิ่น (5.23 น. ตามเวลาในไทย)
    “การปะทุกินเวลาประมาณ 10 นาที และส่วนใหญ่มีเพียงไอน้ำออกมาเท่านั้น” ถ้อยแถลงจากจีโอเน็ตเผย พร้อมกับมีการแจ้งเตือนไปยังเครื่องบินที่ใช้เส้นทางผ่านเกาะไวท์ไอแลนด์ แต่ล่าสุดยังไม่มีรายงานความเสียหายใดๆเกิดขึ้น
    ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การปะทุของเกาะภูเขาไฟแห่งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่เขย่ากรุงเวลลิงตันเมื่อวันพุธที่แล้ว(14)
    นิวซีแลนด์เป็นดินแดนที่มีภูเขาไฟอยู่หลายลูก เช่น ภูเขาตองการิโรทางตอนกลางของเกาะเหนือ ซึ่งปะทุขึ้น 2 ครั้งในปีที่แล้ว หลังจากที่นอนสงบนิ่งมานานกว่า 100 ปี
    การระเบิดของภูเขาไฟรูอาเปฮู เมื่อปี 1953 นำมาสู่อุบัติเหตุทางรถไฟครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เมืองกีวี โดยโคลนจากภูเขาไฟได้ไหลลงมาท่วมทับสะพานข้ามแม่น้ำพัง ส่งผลให้รถไฟโดยสารขบวนหนึ่งร่วงลงไปในแม่น้ำวังกาเอฮู มีผู้เสียชีวิตไป 151 คน

    ผู้จัดการ
    เขียนโดย Schau-Thai ที่ 08:51
    ส่งอีเมลข้อมูลนี้
    BlogThis!
    แบ่งปันไปที่ Twitter
    แบ่งปันไปที่ Facebook

    ป้ายกำกับ: Germany and Around the World
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...