พระบูชา

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ommplay, 4 เมษายน 2013.

  1. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    พระทุกองค์ที่ให้เช่าบูชาในกระทู้นี้เป็นพระขนาดบูชาทั้งหมด ไม่มี ของเก๊-ของแท้ นะครับ เราเปิดราคาให้ในราคางานศิลปะ(หมายถึงราคาที่ยังไม่ผ่านการเสก) ที่มาของพระทั้งหมดก็มีทั้ง เช่ามาจากข้างทาง หน้าโรงงาน จากบ้าน หรืออื่นๆ

    กติกาการเช่าบูชา
    - หลังจากจองให้โอนเงินภายใน 7 วัน
    - โอนเงินแล้วแจ้งการโอน ทาง PM หรือ ทางกระทู้
    - แจ้งที่อยู่จัดส่ง ทาง PM หรือ ทางกระทู้
    - หลังจากนั้นผมจะส่งของให้ทางไปรษณี
    ย์


    โอนเงินที่
    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยฟิวเจอร์พาร์ครังสิต2
    ชื่อบัญชี Mallika Song
    เลขที่บัญชี : 3832262795


    ติดต่อ
    - mallika.sy@hotmail.com
    -

    โปรโมชั่นเปิดร้านใหม่
    *****ส่งฟรีทุกรายการ*****
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  2. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    สมเด็จองค์ปฐมเนื้อทองเหลืองรมดำ

    ขนาด หน้าตัก 9 นิ้ว ฐาน 14นิ้ว สูง 28นิ้ว

    มีองค์เดียวครับ

    ราคา 7,899 บาท ลดพิเศษเปิดร้านใหม่ 6999 พร้อมส่ง

    P1010085.JPG

    P1010089.JPG

    P1010090.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2013
  3. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    รูปหล่อเหมือน เนื้อเรซิ่น
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดํา )
    ขนาด หน้าตัก 9 นิ้ว


    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หรือตามสมณะศักดิ์คือ พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน เมื่ออายุ ๖ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช

    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก

    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ

    พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔ วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด

    พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่

    พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร"

    พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

    มรณภาพ ตุลาคม ๒๕๓๕ พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.

    ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

    ทางด้านชาติ ได้สร้างโรงพยาบาล , สร้างโรงเรียน , จัดตั้งธนาคารข้าว , ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร , ยา , อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ

    ทางด้านพระศาสนา ได้สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติกาย , วาจา , ใจ , ในทาน , ในศีลและในกรรมฐาน ๑๐ ทัศ และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า ๑๕ เรื่อง และบันทึกเทปคำสอนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรม เทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุกๆ ปี

    ทางด้านวัตถุ ท่านได้ช่วยสร้างพระพุทธรูปและถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามากกว่า ๓๐ วัด รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูวัดท่าซุงด้วยเงินกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ได้สร้างพระไตรปิฎก , หนังสือมูลกัจจายน์ และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไตร

    ทางด้านพระมหากษัตริย์ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ งานของศูนย์ฯ รวมทั้งการแจกเสื้อผ้า , อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน , การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ , การส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย , การให้ทุน นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน , การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ

    นับได้ว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นปูชนียบุคคลผู้อยู่ด้วยความกรุณา เป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะและสิ่งทีเป็นประโยชน์และสงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตามหาศาลสมกับ เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส แท้องค์หนึ่ง

    ข้อมูล : เว็บศิษย์หลวงพ่อhttp://www.sitluangpor.com/

    บูชาองค์ละ 1,499 บาท พร้อมส่ง


    P1010096.JPG

    P1010095.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2013
  4. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    รูปหล่อเหมือน เนื้อเรซิ่น
    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
    ขนาด หน้าตัก 9 นิ้ว


    ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ
    (หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ)
    ชาติภูมิ ของหลวงพ่อปาน

    ท่านได้ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๑๘ โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ โดยอาชีพทางครองครัว คือ ทำนา

    สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า “ปาน” เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวคือปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้าย ตั้งแต่โคนนิ้วถึงปายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว

    หลวงพ่อปานในวัยเด็ก

    พระมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า

    “…ท่าน (หลวงพ่อปาน) บอกว่า สมัยท่านเป็นเด็กอายุสัก ๓-๔ ขวบ ท่านวิ่งเล่นใต้ถุนบ้าน หลวงพ่อปาน ท่านเป็นคนบางนมโค และเป็นคนตำบลนั้น ไม่ใช่คนที่อื่น เป็นคนที่มีฐานะค่อนข้างจะมั่งคั่งอยู่สักหน่อย สมัยนั้นเขามีทาสกัน ที่บ้านท่านก็มีทาส

    ท่านบอกว่า ท่านวิ่งเล่น อยู่ใต้ถุนบ้านย่าของท่าน ก็ปรากฏว่าย่าของท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตาย เวลานั้นก็เห็นจะเป็นเวลาบ่ายสัก ๒-๓ โมงกว่า ท่านว่าอย่างนั้นโดยประมาณ

    คนทุกคนเขามาเยี่ยมย่า พ่อแม่ของท่านก็ไป เมื่อคนทุกคนขึ้นไปแล้ว ท่านบอก เห็นร้องดังๆ บอก แม่ แม่ อรหันนะ อรหัน ภาวนาไว้ อรหัน พระอรหัน จะช่วยแม่ ก็ร้องกันเสียงดังๆ ท่านอยู่ใต้ถุน ท่านยืนฟัง เขาว่าอรหันกันทำไม

    พอท่านสงสัยก็ย่องขึ้นไปที่หน้าบันไดชานเรือน พอท่านขึ้นไปแล้วก็ปรากฏว่า ผู้อยู่เขาเอาปากกรอกไปที่ข้างหูของคุณย่าท่าน บอกแม่ แม่ อรหันนะ อรหัน แต่ว่าพอผู้ใหญ่เขามองเห็นท่านเข้าไป เขาก็ไล่ท่านไป เขาจะหาว่าไอ้เจ้าเด็กมันรุ่มร่าม ท่านก็เลยไปเล่นใต้ถุนบ้านอื่น

    พอมาถึงตอนเย็น เวลากินข้าว ท่านแม่ก็ป่าวหมู่เทวฤทธิ์คือเรียกลูกกินข้าว เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้วท่านแม่ก็จัดกับข้าวมาวางกลาง สำหรับตัวท่านเองเป็นเด็ก เขาเอาข้าวใส่จานมาให้แล้วเอาแกงเผ็ด ท่านบอกว่า ไอ้แกงฉู่ฉี่แห้ง ท่านชอบ เขาใส่มาให้ เรียกว่า ไม่ต้องหยิบกับข้าว กินแบบประเภทข้าวราดแกง

    เวลาที่ท่านกินเข้าไปแล้วมานั่งนึกว่า กับข้าวมันอร่อยถูกใจ ก็เกิดความชุ่มชื่น พอจิตมันนึกขึ้นได้ว่าเขาบอก อรหัง อรหัง นึกถึงคำว่า อรหัง ขึ้นมาได้ ท่านก็เลยปลื้มใจอย่างไรชอบกล เลยเปล่งวาจาออกมาดังๆว่า อรหัง อรหัง ว่า ๒-๓ คำ

    ท่านแม่ที่มองตาแป๋วลุกพรวด จับชามข้าวที่ท่านถืออยู่วางไว้ จับตัวท่านวางปังออกไปนอกชาน แล้วร้องตะโกน “เอ้า มึงจะตายโหง ตายห่าก็ตายคนเดียว มันจะมาว่า อรหัง ที่นี่ได้รึ? คำว่า อรหัง พุทโธ นี่คนเขาจะตายเท่านั้นแหละเขาว่ากัน นี่ดันมาว่า อรหัง ที่นี่ ทำเป็นลางร้ายให้คนอื่นเขาพลอยตายด้วย”

    ท่านแปลกใจ คิดว่า นี่เราว่าดีๆ นี่แม่ดุเสียงเขียวปัด นี่มันเรื่องอะไรกัน ในเมื่อถูกแม่ดุอย่างนั้น จะขืนว่าอีกก็เกรงไม้เรียว ก็เลยไม่ว่า

    พอท่านพูดถึงตอนนี้แล้ว ท่านก็หัวเราะบอกว่า “คุณแม่ฉันน่ะโง่นะ ไม่ได้ฉลาดหรอก อีตอนใหม่นั้น ตอนฉันมาบวชได้แล้ว อรหังหรือพุทโธนี้ ถ้าใครภาวนาไว้ เป็นวาจาที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด ถ้าใครภาวนาคำนี้ได้ตกนรกไม่ได้…

    แต่ว่าแม่ของฉัน นี่ท่านไม่รู้ ก็เป็นโทษเพราะไม่ได้รับการศึกษา แต่ว่าไม่เป็นหรอก ตอนหลังที่ฉันบวชแล้วนี่นะ ฉันกลับใจแม่ของฉันได้ ฉันแนะนำให้ท่านทราบแล้ว เวลาท่านตายท่านก็ยึดพุทโธ อรหังเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ยึดเวลาตาย ฉันให้ท่านว่าทุกวัน….”

    สมัยก่อน เมื่อลูกชายมีอายุครบบวช ก็จะทำการอุปสมบท ทางบิดามารดาจะต้องส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรม และท่องขานนาคเป็นเวลาประมาณ ๓ เดือน เป็นอย่างน้อย

    ท่านเองมีความสงสัยในใจว่า เหตุไฉนสตรีเพศจึงดึงดูดบุรุษเพศมากมายนัก ทำให้หลงใหลใฝ่ฝัน ตัวท่านเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงมาก่อน จึงคิดว่าจะหาวิธีลองของจริงดูว่าเป็นอย่างไร ถ้าดีจริงบวชครบพรรษาจะสึกออกมา ถ้าไม่เป็นจริงตามวิสัยโลกก็จะไม่สึก

    ที่บ้านของท่านมีคนรับใช้อยู่คนหนึ่งเรียกกันว่าทาส ชื่อว่าพี่เขียว อายุประมาณ ๒๕ ปี ตอนกลางวันอยู่ด้วยกันสองคน ท่านเกิดสงสัยเนื้อผู้หญิงขึ้นมา บอกว่าตั้งแต่เกิดมานอกจากเนื้อแม่กับเนื้อพี่แล้ว ไม่เคยจับเนื้อใคร ท่านคิดว่าเนื้อผู้หญิงมันดียังไงผู้ชายถึงได้อยากกันนัก บางทีถึงกับฆ่ากันเลย ก็สงสัยว่าจะบวชแล้วนี่ ถ้ามันดีจริงแล้วก็จะสึก ถ้าไม่ดีก็จะไม่สึกละ

    เมื่อคนว่างก็เข้าไปหาพี่เขียว พี่เขียวแกอยู่ในครัว เป็นทาส แต่ว่าท่านเรียกพี่ในฐานะที่เขาแก่กว่าตัว ยกมือไหว้ บอกว่า “พี่เขียว ขออภัยเถอะ ฉันขอจับเนื้อพี่เขียวดูหน่อยได้ไหมว่า เนื้อผู้หญิงน่ะมันดียังไง เขาถึงชอบกันนัก”

    พี่เขียวก็แสนดี อนุญาต ท่านก็เลือกจับเนื้อกล้าม เขาเรียกว่า กล้ามเนื้อที่หน้าอก ผู้หญิงนี้มีกล้ามเนื้อพิเศษ อยู่ที่กล้ามเนื้อ ๒ กล้ามที่หน้าอก แต่ไม่ได้จับมากหรอก จับตรงนั้น แต่ก็ไม่ได้ลวนลามไปถึงไหน จับๆ แล้วก็มาจับน่อง เอ๊! มันคล้ายกัน

    บอกพี่เขียวว่านี่มันคล้ายกันนี่ พี่เขียวแกก็บอกว่าเป็นอย่างนั้นมันก็คล้ายกัน แล้วท่านก็ถามพี่เขียวว่า ทำไมผู้ชายเขาถึงชอบเนื้อผู้หญิงนัก ดันไปถามผู้หญิงได้ นี่ว่ากันอย่างเราๆนะ แล้วเขาจะตอบอย่างไร เขาก็บอกไม่รู้เหมือนกัน

    แล้วท่านก็ยกมือไหว้ขอขมาพี่เขียวบอกว่า “ขอโทษ ที่ขอจับเนื้อนี่ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่น อยากจะพิสูจน์เท่านั้นว่ามันดีอย่างไร” เมื่อท่านหมดความสงสัยในใจแล้ว ก็ตกลงใจว่าจะบวช คราวนี้จะไม่ขอสึกหาลาเพศ ก็สมจริงกับที่ท่านตั้งใจทุกประการ

    สู่ร่มกาสาวพัสตร์

    หลังจากที่โยมมารดาบิดาได้นำท่านมาฝากไว้กับหลวงปู่คล้าย ให้ฝึกหัดขานนาคให้คล่องแคล่วแล้ว ท่านก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๘ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะแม

    โดยมี หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์

    มีฉายาว่า “โสนันโท”

    หลวงพ่อปานเรียนวิชา

    หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว หลวงพ่อปานท่านก็ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น ด้วยความสนใจใคร่ศึกษา เพราะว่าในสมัยนั้น หลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระที่แก่กล้าทางคาถาอาคม และรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

    เมื่อตามไปเล่าเรียนเป็นศิษย์แล้ว หลวงพ่อสุ่นเห็นลักษณะของหลวงพ่อปานว่ามีลักษณะดี จะได้เป็นครูบาอาจารย์ต่อไปภายภาคหน้า จึงได้ให้สติหลวงพ่อปานเบื้องต้นในการเบื่อหน่ายกิเลสว่า

    ๑.อย่าอยากรวย อยากมีลาภ ได้ทรัพย์มาแล้วดีใจ ตั้งหน้าสะสมทรัพย์
    ๒.เป็นอย่างต้นแล้ว เมื่อทรัพย์หมดก็เป็นเหตุให้เสียใจ
    ๓.อยากมียศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ยศมาแล้วปลื้มใจ
    ๔.เมื่อหมดยศไปแล้วก็เสียใจ
    ๕.ได้รับคำสรรเสริญแล้วยินดี
    ๖.เมื่อถูกนินทาก็ไม่พอใจ
    ๗.มีความสุขความเพลิดเพลินในกามารมณ์
    ๘.เมื่อมีความทุกข์ก็หวั่นไหวท้อแท้ใจ

    จากเพศฆราวาสมาสู่เพศบรรพชิตแล้วอย่าหวังรวย ถ้ารวยแล้วไม่ใช่พระ พระต้องรวยด้วยบุญญาบารมี เงินที่ได้มาอย่าติด จงทำสาธารณประโยชน์เสียให้สิ้น เหลือกินเหลือใช้แต่พอเลี้ยงอาตมา

    อย่าหวังในยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่รับยศไม่ได้แล้ว ก็อย่าเมายศฐาบรรดาศักดิ์ มันเป็นเครื่องถ่วงกิเลส ยศ ลาภ สรรเสริญ ความสุขในกามารมณ์ มันเป็นตัวกิเลส มันเป็นโลกธรรม ต้องตัดออกให้หมด ถ้าพอใจในสี่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่พระ จะพาให้สู่ห้วงนรก

    จงระลึกอยู่เสมอว่า เราบวชเพื่อนิพพาน อย่างที่กล่าวในตอนขออุปสมบทครั้งแรกว่า “นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คะเหตะวา” อันหมายความว่า เราขอรับผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สั่งให้ท่องสวดมนต์ตลอดจนคาถาธาตุทั้งสี่ คือ นะ มะ พะ ทะ ให้ว่าถอยหลังแล้วเป่า ให้กุญแจหลุด ถ้าเจ้าเป่าหลุดแล้วบอกพ่อ จะให้วิชาต่างๆ ให้หมดไม่ปิดบัง นี่คือการฝึกสมาธิจิตที่หลวงพ่อสุ่นสอนหลวงพ่อปานทางอ้อม คือถ้าจิตไม่มีสมาธิแล้วอย่าหวังเลยว่า ด้วยคาถาเพียงสี่ตัวจะดีกว่าลูกกุญแจได้

    หลวงพ่อปานท่านก็มีความอดทน หมั่นฝึกเป่ากุญแจนานเป็นเดือน เป่าเท่าไหร่ก็ไม่หลุด มาหลุดเอาตอนที่ท่านทำใจสบายเป็นสมาธิ นึกถึงคาถาเป่ากุญแจได้ จึงลุกขึ้นมาเป่ากุญแจ คราวนี้กุญแจหลุดหมด ทดลองกับลูกอื่นๆ ก็หลุด เพิ่มกุญแจขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ๔๐ ดอก แขวนไว้บนราว ก็หลุดหมด แล้วจึงทดลองให้หลวงพ่อสุ่นดูจนพอใจ

    หลังจากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สอนวิปัสสนาให้แก่หลวงพ่อปาน ตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงที่สุด ด้วยความเมตตาหลวงพ่อปาน ในตอนท้ายว่า เมื่อมีฤทธิ์แล้วอย่าแสดงให้คนอื่นเขาเห็นเป็นการอวดดี จะเป็นโทษตามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้

    จบจากวิปัสสนาแล้วหลวงพ่อสุ่นยังได้ถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณให้ ซึ่งหลวงพ่อปานก็ได้อาศัยใช้ช่วยชีวิตผู้ได้รับทุกข์ทรมานให้หายมามากต่อมาก จนท่านได้ชื่อว่าเป็น “พระหมอ” หลวงพ่อสุ่น สอนว่า “การเป็นหมอนั้น บังคับไม่ให้คนไม่ตายไม่ได้ หมอเป็นเพียงช่วยระงับทุกข์เวทนาเท่านั้น” จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็ถ่ายทอดกสิณต่างๆ ให้หลวงพ่อปานจนกระทั่งสิ้นความรู้

    องค์อาจารย์ของหลวงพ่อปาน

    การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานนั้น พอจะรวบรวมได้ดังนี้

    เรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาแพทย์จาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เรียนวิชาปริยัติธรรมที่ วัดเจ้าเจ็ด กับ พระอาจารย์จีน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน

    จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเอง เวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้

    เวลาสอนหนังสือ ลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้อง ทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธา เอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่า จนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิม

    หลวงพ่อปานท่านมีความมานะพยายามเป็นที่ตั้ง ท่านต้องพายเรือมาเรียนหนังสือที่วัดเจ้าเจ็ดทุกวัน เวลาพายเรือไปเรียนท่านก็จะท่องพระปาฏิโมกข์ และบทเรียนที่อาจารย์สอนจนขึ้นใจ พอเวลาเรียน อาจารย์ถามอะไร ก็ตอบได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจแก่อาจารย์ยิ่ง

    ในที่สุดพระอาจารย์จีนก็สิ้นความรู้ที่จะสอนให้ท่าน ท่านจึงหยุดเรียน และเตรียมตัวสำหรับที่จะหาสำนักเรียนใหม่

    หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ ตามคำบอกเล่าของพระภิกษุเลี่ยมว่า หลวงพ่อปานได้เรียนรู้วิชามาหลายอย่าง เคยพิมพ์คาถาออกแจกด้วย

    เมื่อเห็นว่าพระอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะสอนได้อีกต่อไป ท่านจึงคิดเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาต่างๆ ท่านจึงได้ไปเรียนให้โยมมารดาของท่านได้รับทราบว่า จะขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เพราะว่าที่นี่หาอาจารย์สอนไม่ได้อีกแล้ว

    โยมมารดาท่านเป็นห่วงว่าท่านเป็นบุตรคนเล็กที่มีอยู่ นอกนั้นออกเรือนไปหมดแล้ว อีกทั้งไม่มีญาติโยมทางกรุงเทพฯ จึงขอร้องไม่ให้ไป ท่านจึงลากลับวัด ด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านตัดสินใจนำจีวรแพรที่โยมมารดาถวายไว้นำไปขาย ได้เงินแปดสิบบาท แล้วตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่บอกให้โยมมารดารู้ จะให้รู้ก็กลัว

    จะลงเรือไปแล้ว จึงเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่คล้าย (เจ้าอาวาสวัดบางนมโคสมัยนั้น) ว่าจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ หลวงปู่คล้าย จึงแนะนำให้ไปเรียนกับ พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ โดยมอบเงินช่วยเหลือไปอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียน

    ตลอดเวลาท่านจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์เจิ่น ท่านได้พยายามหาความรู้เพิ่มเติม ในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาเมื่อท่านกลับมาวัดบางนมโค ปรากฏว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกที่เทศนาได้เพราะจับใจ และดึงดูดศรัทธายิ่งนัก

    นอกจากวัดสระเกศแล้ว ท่านยังได้มาเรียนเพิ่มเติมที่วัดสังเวช และที่อื่น จนมีความรู้ทางด้านแพทย์แผนโบราณแตกฉานอีกด้วย

    จากข้อความในหนังสือ อนุสรณ์ครบ ๑๐๑ ปีหลวงพ่อปาน เขียนไว้ว่า หลวงพ่อปานเคยเล่าให้ฟังว่า ระหว่างอยู่ที่วัดสระเกศนั้น อัตคัตมาก บิณฑบาตบางครั้งก็พอฉัน บางครั้งก็ไม่พอ ได้แต่ข้าวเปล่าๆ จ้องเด็ดยอดกระถินมาจิ้มน้ำปลา น้ำพริก ฉันแทบทุกวัน แต่ท่านก็อดทน ด้วยรับการอบรมเป็นปฐมมาจากพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ

    ท่านว่าอยู่กรุงเทพฯ ๓ ปี ได้ฉันกระยาสารทเพียงครั้งเดียว โดยนางเฟือง คนกรุงเทพฯ นำมาถวาย ได้รับนิมนต์ไปบังสกุลครั้งหนึ่งได้ปัจจัยมาหนึ่งสลึง เจ้าหน้าที่สังฆการีก็มาเก็บเอาไปเสียเลยไม่ได้ใช้ เงินที่ติดตัวไป ท่านก็ใช้จ่ายไปในการศึกษาจนเกือบหมด ท่านเหลือไว้หนึ่งบาท เอาไว้ใช้เมื่อมีความจำเป็นสุดยอดเท่านั้น

    ด้วยความอดทนของท่าน ในปีสุดท้ายที่ท่านจะกลับวัดบางนมโคนั้นเอง คืนหนึ่งท่านได้ยินเสียงคนเคาะหน้ากุฏิ ท่านเปิดออกไปก็เจอเทวดามาบอกหวย แล้วเขียนให้ดู แล้วย้ำว่าจำได้ไหม ท่านก็ตอบว่าจำได้ ท่านนอนคิดจนนอนไม่หลับ พอรุ่งเช้าแทนที่ท่านจะแทงหวย ท่านกลับเห็นว่านั่นไม่ใช่กิจของสงฆ์ ตามที่หลวงพ่อสุ่นได้อบรมไว้ ท่านก็ไม่แทง ปรากฏว่าวันนั้นหวยออกตรงตามที่เทวดาบอก ถ้าท่านแทงหวย ก็คงจะรวยหลาย

    ท่านอาจารย์แจง ฆราวาสชาวสวรรคโลก จากบันทึกของท่านฤาษีลิงดำว่า ท่านอาจารย์แจง เป็นฆราวาสสวรรคโลก ได้เดินทางล่องลงมาทางใต้ ถึงวัดบางนมโค มาเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อปาน จึงได้สอนให้รู้ถึง วิธีการปลุกเสกพระและวิธีสร้างพระตามตำราซึ่งเป็นของพระร่วงเจ้า ได้รับการสืบทอดมาจากอาจารย์ซึ่งเขียนไว้ว่า

    “ข้าพเจ้าได้รักษาตำราของพระอาจารย์ไว้แล้ว ก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทุกอย่าง วิชาต่างๆ มีผลดีทุกประการ ถ้าบุคคลใดได้พบแล้วจะนำไปใช้ ให้บูชาพระอาจารย์ของท่าน แต่มิได้ระบุว่าเป็นใคร”

    ท่านอาจารย์แจงได้นิมนต์หลวงพ่อปานไปในโบสถ์ตามลำพัง เพื่อถ่ายทอดวิชา ซึ่งนอกจากวิชาการปลุกเสกพระ และทำพระแล้ว ยังได้มหายันต์เกราะเพชร ซึ่งท่านก็ได้ใช้ยันต์เกราะเพชรนี้สงเคราะห์ผู้คนได้มากมาย

    หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน บันทึกโดยท่านฤาษีลิงดำ เขียนไว้ว่า “หลวงพ่อปานนิยมพระกัมมัฏฐาน หมายความว่า สิ่งที่ท่านต้องการที่สุดและปรารถนาที่สุด คือ พระกัมมัฏฐาน

    เรื่องพระกัมมัฏฐานนี้เป็นชีวิตจิตใจของหลวงพ่อปานจริงๆ ท่านเทิดทูนพระกัมมัฏฐานมาก ทั้งๆ ที่ทรงสมาบัติอยู่แล้ว ความอิ่ม ความเบื่อ ความพอใจในพระกัมมัฏฐานของท่านก็ไม่มี ท่านก็มีความปรารถนาจะเรียนพระกัมมัฏฐานให้มันดีกว่านั้น

    สมัยนั้นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นพิเศษ ในสมัยนั้นนะ สายอื่นฉันไม่ทราบ ก็มีหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

    สมัยนั้นเรือยนต์มันก็ไม่มี ถ้าจะไปก็ต้องไปเรือแจว ถ้าไปเรือ แต่ทว่าทางเดินสะดวกกว่า เดินลัดทุ่งลัดนาลัดป่าไป ป่าก็เป็นป่าพงส่วนใหญ่ ท่านก็ใช้วิธีธุดงค์ สมัยนั้นวิธีธุดงค์เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เรียกว่าใกล้ค่ำที่ไหนปักกลดที่นั่น ชาวบ้านเขาเลี้ยงตอนเช้า ฉันอิ่มแล้วก็ไปกัน พระธุดงค์ฉันเวลาเดียว

    ท่านบอกว่า เวลาที่ถึงวัดน้อยเขาร่ำลือกันว่า หลวงพ่อเนียมนี่เก่งมาก ท่านก็เข้าไปหาหลวงพ่อเนียม เข้าไปหานะไม่รู้จักหลวงพ่อเนียมหรอก

    ความจริงท่านก็คิดว่าหลวงพ่อเนียมท่านจะเป็นเหมือนหลวงพ่อองค์อื่นๆ ที่ท่านมีชื่อเสียงมาก นุ่งสบง จีวร เป็นปริมณฑล แล้วก็มักจะนั่งเฉยๆ ดีไม่ดีหลับตาปี๋ ก็หลับขยิบๆ เรียกว่าหลับ ไม่สนิทล่ะ คือ แกล้งหลับตาทำเคร่ง

    ที่นี้เวลาหลวงพ่อปานไปหาหลวงพ่อเนียม ก็ไปโดนดีเข้า เข้าไปแล้วเจอะหลวงพ่อเนียมที่ไหน ความจริง หลวงพ่อเนียมก็เดินคว้างๆ อยู่กลางวัดนั่นแหละ มีผ้าอาบน้ำ ๑ ผืน ที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า ผ้าอาบน้ำฝน สีเหลือง ผ้าอีกผืนแบบเดียวกันคล้องคอเดินไปรอบวัด

    หลวงพ่อปานก็บอกว่า เมื่อท่านเห็นนะ ก็ไม่รู้หลวงพ่อเนียม เห็นพระแก่ๆ ผอมๆ นุ่งผ้าลอยชายผืนหนึ่ง เข้าไปถึงก็กราบๆ หลวงพ่อปานบอกว่า “เกล้ากระผมมาจากเมืองกรุงเก่าขอรับ กระผมจะมานมัสการหลวงพ่อ ขอเรียนพระกัมมัฏฐาน”

    หลวงพ่อเนียมก็ทำท่าเป็นโมโห บอกว่า ไม่มีวิชาอะไรจะสอน พร้อมทั้งกล่าวขับไล่ไสส่งออกจากวัด หลวงพ่อปานก็นั่งทนฟังอยู่ ในที่สุดเห็นท่าจะไม่ได้เรื่อง ก็เลี้ยวหาพระในวัดไปขออาศัยนอน แล้วก็ถามว่า พระองค์นั้นน่ะชื่ออะไร พระท่านก็บอกว่า องค์นี้แหละชื่อ หลวงพ่อเนียม ล่ะ

    พอวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อปานก็เข้าไปหา ก็ถูกด่าว่าอีกอย่างหนัก ท่านยืนยันจะเรียนให้ได้ หลวงพ่อเนียม เลยสั่งว่า ๒ ทุ่ม ให้นุ่งสบงจีวรคาดสังฆาฎิไปหาในกุฏิ

    พอตอนกลางคืน หลวงพ่อปานเข้าไปหาท่าน ปรากฏว่ารูปร่างท่านผิดไปมาก ผิวดำ ผอมเกร็งแบบเก่า ไม่มี ท่านนุ่งสบงจีวรพาดสังฆาฏิเหลืองอร่ามผิวกายสมบูรณ์ ร่างกายก็สมบูรณ์ หน้าตาอิ่มเอิบ รัศมีกายผ่องใส สวยบอกไม่ถูก

    หลวงพ่อปานตรงเข้าไปกราบ ๓ ครั้งแล้วก็นั่งมอง ท่านก็นั่งมองยิ้มๆ แล้วท่านก็ถามว่า “แปลกใจรึคุณ” หลวงพ่อปานก็ยกมือนมัสการ บอกว่า “แปลกใจขอรับหลวงพ่อ รูปร่างไม่เหมือนตอนกลางวัน”

    ท่านก็บอกว่า “รูปร่างน่ะคุณมันเป็นอนัตตา หาความเที่ยงแท้ไม่ได้ มันจะอ้วนเราก็ห้ามไม่ได้ มันไม่มีอะไรห้ามได้เลยนี่คุณ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง เห็นไหม ไปเจอตัวอนิจจังเข้าแล้วซิ”

    หลวงพ่อปานบอกว่า ตอนนี้ล่ะเริ่มสอนกัมมัฏฐาน อธิบายไพเราะจับใจฟังง่ายจริงๆ พูดได้ซึ้งใจทุกอย่าง เวลาท่านพูดคล้ายๆ ว่าจะบรรลุพระอรหันตผลไปพร้อมๆ ท่าน ท่านสอนได้ดีมาก

    พอสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็บอกให้ไปพักที่กุฏิอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับกุฏิของท่าน แล้วเวลาทำกัมมัฏฐานกลางคืน หลวงพ่อปานวางอารมณ์ผิด ท่านจะร้องบอกไปทันที บอก “คุณปานเอ๊ย คุณปาน นั่นคุณวางอารมณ์ผิดแล้วตั้งอารมณ์เสียใหม่มันถึงจะใช้ได้” นี่หลวงพ่อปานบอกว่า ท่านมีเจโตปริยญาณแจ่มใสมาก

    ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานอยู่กับหลวงพ่อเนียม ๓ เดือน แล้วจึงกลับ ก่อนหลวงพ่อปานจะกลับ หลวงพ่อเนียมก็บอกว่า “ถ้าข้าตายนะ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาแทนข้าได้ ถ้ามีอะไรสงสัยก็ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน”

    หลวงพ่อปานได้เรียนคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อช่วงตอนปลายของชีวิต คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ท่านไปเรียนกับ ครูผึ้ง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

    ตอนนั้นครูผึ้ง เป็นฆราวาส อายุ ๙๙ ปี เพราะได้ข่าวว่าครูผึ้งเป็นคนพิเศษ เวลาขอทานมาขอ ให้คนละ ๑ บาท สมัยนั้นเงิน ๑ บาท มีค่ามาก เงิน ๑๐๐ บาท ๒๐๐ บาท สามารถสร้างบ้านได้ ๒ หลัง มีครัวได้ ๑ หลัง เวลาทำบุญแกจะช่วยรายละ ๑๐๐ บาท ไม่ใช่เงินเล็กน้อย

    เมื่อทราบข่าว หลวงพ่อจึงไปขอเรียนกับแก คาถาปัจเจกพุทธเจ้านี้ เรียกว่า คาถาแก้จน ท่านได้เรียนมาและพิมพ์แจกเป็นทานแก่สาธุชนนำไปปฏิบัติ และมีผลดีจบสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้

    กลับมาตุภูมิ

    หลังจากที่หลวงพ่อปานได้เสร็จสิ้นการเรียนจากกรุงเทพฯ แล้วท่านก็หวนคิดถึงโยมมารดาที่ท่านจากมาถึง ๓ ปี จึงเดินทางกลับวัดบางนมโค พร้อมกับความรู้ที่ได้รับมา

    ท่านได้ระลึกถึงว่า การเล่าเรียนของท่านลำบากมาก จึงอยากจะจัดสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรและบุตรธิดาชาวบางนมโค ให้มีความรู้ จึงนิมนต์พระภิกษุเกี้ยว ที่อยู่สำนักเดียวกับท่านมาด้วย เพื่อจัดสอนหนังสือ เมื่อมาถึงแล้วท่านก็นำมากราบนมัสการหลวงปู่คล้าย และได้ไปหาโยมมารดาให้ได้ชมบุญ


    อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

    จากปากคำของผู้ทราบเคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน และเรื่องเล่าสืบต่อกันมา พอจะอนุมานได้ดังนี้ จากบันทึกของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บันทึกไว้ว่า

    “หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรีที่มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วน เสียงดังกังวานไพเราะ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้ศรัทธาปสาทะ เป็นอย่างยิ่ง ดวงตาบ่งบอกถึงความเมตตาปรานีในสัตว์โลกทั้งหลาย ต้อนรับผู้คนที่มาหาไม่เลือก เศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ใครไปก็ไต่ถาม

    ว่ากันว่าถ้าหลวงพ่อพูดจากับผู้ใดแล้วนั้น มักจะจับจิตจับใจ ที่ใจชั่วมัวเมามาก็กลับตัว แม้แต่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ยังหันมานับถือพระพุทธศาสนา”

    ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆ จะมีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือนับเป็นจำนวนร้อยๆ คน ไหนจะให้รดน้ำมนต์ ไหนจะต้องพ่น ไหนจะขอยา ไหนจะมาปรึกษาถึงเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ

    บางคนก็เรียกว่าหลวงพ่อ บางคนเรียกว่าหลวงปู่บ้าง เป็นเราๆท่านๆ น่ากลัวจะนั่งไม่ทน เพราะตั้งแต่เพลจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ ๔ หรือ ๕ ทุ่มนั่นแหละท่านถึงจะพักผ่อน และเป็นอย่างนี้อยู่ประจำทุกวัน จนกระทั่งท่านมรณภาพ

    ท่านไม่ยินดียินร้ายในทางโลกธรรมแต่ประการใด คงปฏิบัติธรรมเหมือนพระแก่ๆ รูปหนึ่งที่ไม่ต้องการยศบรรดาศักดิ์ หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไป ตามกำลังความสามารถเท่านั้น

    ด้วยความไม่ติดอยู่ในยศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านจึงได้ปฏิเสธตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโค กล่าวคือ เมื่อหลวงปู่คล้ายเจ้าอาวาสวัดบางนมโครูปก่อนมรณภาพลง ทายกทายิกาพระภิกษุสงฆ์ได้พร้อมใจกันอาราธนาท่าน ขึ้นครองวัดบางนมโคแทน

    ท่านก็ไม่รับ ท่านให้เหตุผลว่า ท่านหน่ายเสียแล้วจากกิเลสอันจะมาเป็นเครื่องขวางกั้นทางพระนิพพาน กลับแนะนำท่านสมภารเย็น ซึ่งเวลานั้นเป็นพระลูกวัดธรรมดาขึ้นรับตำแหน่งแทน ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดต่อไปอย่างเดิม

    ด้วยความที่ท่านได้เสริมสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นบางนมโค และสถานที่อื่นๆ มากมาย โดยไม่ได้หวังจะได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์ตอบแทน แม้ว่าจะมีเชื่อพระวงศ์ชั้นสูง จะมาเป็นลูกศิษย์ของท่านอยู่มากมายก็ตาม

    ในที่สุดความดีของท่าน ทางฝ่ายบ้านเมืองจึงตอบแทนความเป็นผู้เสียสละของท่าน ด้วยการมอบถวายสมณศักดิ์ให้แก่ท่าน เป็นที่ “พระครูวิหารกิจจานุการ” ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ โดยมี

    ๑.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ
    ๒.พระวรวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ
    ๓.หม่อมเจ้าโฆษิต
    ๔.หม่อมเจ้านภากาศ
    ๕.ท้าววรจันทร์

    ข้าราชการและบรรดาสานุศิษย์ของท่าน ได้นำพัดยศพระราชทานมาให้ท่านถึงที่วัด โดยนำไปมอบให้ท่านในพระอุโบสถ ตามพระบรมราชโองการ ท่ามกลางคณะสงฆ์และชาวบ้านต่างแซ่ซ้องสาธุการกันถ้วนหน้า แต่หลวงพ่อปานเองท่านก็วางเฉยด้วยอุเบกขา

    และแม้จะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นที่พระครูวิหารกิจจานุการแล้ว ท่านเองก็ยังคงเป็นหลวงพ่อปานรูปเดิม ปฏิบัติกิจวัตรอย่างที่แล้วๆ มา แต่ผู้ที่ยินดีที่สุด กลับเป็นบรรดาศิษยานุศิษย์

    หลวงพ่อปานรักษาโรค

    ในเรื่องการรักษาโรคช่วยชีวิตคนของหลวงพ่อปาน เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ผู้คนต่างแห่กันมาที่วัดจนแน่นขนัด จนไม่มีที่รับรองแขกเพียงพอ วิชาการรักษาโรคและวิชาการบางอย่างที่หลวงพ่อปานสำเร็จ และนำมาช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ เท่าที่เกิดปฏิหาริย์และได้รับการบันทึกไว้มีมากมาย

    ตัวอย่างเช่น รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ โรคที่ท่านรักษาด้วยน้ำมนต์ เรียกว่าโรคภายใน เช่น บางคนถูกของ ถูกคุณ ถูกเขากระทำมา โรคที่เกิดจากกรรมเวร ถูกผีสิง เป็นต้น

    บางครั้งก็ต้องแป้งเสกควบคู่ด้วย ในตอนเพล ขณะที่ท่านพักผ่อน ท่านจะทำการเสกน้ำมนต์เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อเวลาอาบจะได้สะดวก และท่านได้ใช้เวลาในการอาบนั้นบริกรรมเสกเป่าเฉพาะรายอีกด้วย

    น้ำมนต์ของท่านนี้ศักดิ์สิทธิ์นัก และกรรมวิธีในการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วงระยะ คือ

    ช่วงแรก ท่านจะเรียกคนไข้มาหาแล้วถามชื่อเสียงเรียงนาม ถามอาการแล้วยื่นหมากให้คำหนึ่ง

    คาถาที่ใช้เสกหมากนี้ ท่านบอกผู้ใกล้ชิดว่าใช้ดังนี้ จะขลังหรือไม่อยู่ที่จิตของผู้ทำ “ตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วว่า โสทาย นะโม พุทธายะ ลัมอิทังโล นันโทเทติ ยาทาโลเทตีติ”

    เมื่อคนไข้ได้รับหมากเสกแล้วให้เคี้ยวให้แหลก บ้วนน้ำหมากทิ้งเสียสามที กลืนลงคอไป ให้คนไข้สังเกตุดูว่าหมากนั้นมีรสอะไร แล้วบอกหลวงพ่อปาน จากนั้นก็จะทำการรักษาตามวิธีของท่าน หลวงพ่อปานท่านบอกว่า รสหมากนั้นบอกโรคได้ดังนี้

    รสเปรี้ยว แสดงว่า ต้องเสนียดที่อยู่อาศัยเข้ามาเกี่ยวข้อง คือมีของต้องห้ามอยู่กับบ้าน เช่น มีไม้ไผ่ผูกส่วนต้นสาวนปลายอยู่ในบ้าน มีตออยู่ใต้ถุนบ้าน ที่เรียกว่า ปลูกเรือนคล่อมตอ หรืออย่างอื่น ต้องจัดการเรื่องนี้เสียก่อนแล้วจึงรักษาหาย ส่วนมากแล้วหลวงพ่อปานจะใช้ญาณดูแล้วบอกว่ามีอย่างไหนบ้าง ให้แก้เสียก่อน

    รสหวาน แสดงว่า ต้องแรงสินบนอย่างใดอย่างหนึ่ง คนไข้หรือคนในบ้านบนไว้ต้องนึกให้ออกว่า ตนเคยบนบานศาลกล่าวอะไรบ้าง ถ้านึกได้ผู้ป่วยไข้จะต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนไปจุดบูชากลางแจ้ง ขอทำการแก้บนให้ถูกต้องในภายหน้าต่อไป

    เมื่อกลับมาหาท่าน ท่านจะรดน้ำมนต์ให้ รดแล้วจะต้องให้กินหมากเสกอีกว่า หมดสิ้นหรือยัง ถ้าไม่มีรสหวานก็หมดแล้ว ถ้ายังหวานอยู่ก็ต้องนึกดูก็ต้องแก้บนอีก แล้วจึงรักษาหาย

    รสขม แสดงว่าต้องคุณคน คือ ถูกของที่มีผู้ใช้เดียรัจฉานวิชานำมาไว้ในตัว เช่น ในท้องมีตะปูบ้าง มีเข็มเย็บผ้าบ้าง ไม้กลัดผูกกากบาทบ้าง ด้ายตราสังข์มัดศพ เปลวหมูบ้าง หนังสัตว์บ้าง ของเหล่านี้จะทำให้คนไข้เจ็บปวดเสียดแทงในร่างกายเป็นที่ทรมานนัก

    คนไข้ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหญิง ที่เป็นชายมีน้อย โดยมากพวกนี้มักจะรับจ้างทำร้ายผู้อื่น หรือไม่ก็ปล่อยไปตามยถากรรม ถูกใครก็เจ็บไป ทำร้ายใครไม่ได้ก็กลับมาเข้าตัวเอง เคยมีแขกผู้หนึ่งถูกของของตัวเอง หลวงพ่อปานท่านแก้ให้แล้วขอสัญญา ให้เลิกอาชีพนี้เสีย

    คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อท่านจะเสกน้ำมนต์พิเศษใส่กระป๋องน้ำ เพื่อให้คนไข้แช่เท้าทั้งสองข้างไว้ เพื่อเวลารดน้ำมนต์ ของที่อยู่ในตัวจะได้หลุดออกมาทางเท้าอยู่ในกระป๋องน้ำมนต์

    มีอาการยันหมาก มึนงงศีรษะเวียนศีรษะ อย่างนี้หลวงพ่อท่านว่าถูกคุณผี คือมีอาการใช้ผีมาเข้าสิง คนไข้นั้นจะสำแดงอาการกิริยาผิดปกติ

    ถ้าผียังสิงอยู่ จะไม่ยอมกินหมากเสกหลวงพ่อ ต้องใช้อำนาจจิตบังคับให้กิน ถ้าผีแกล้งออกไปชั่วระยะ คนไข้จะยอมกินหมากแล้วมีอาการยันหมาก ผีประเภทนี้เป็นผีตายโหง ที่มีผู้มีวิชานำวิญญาณมาใช้ทำอันตรายคน ทำให้เสียสติเพ้อคลั่ง เสียคน เป็นต้น

    คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อปานท่านจะทำน้ำมนต์พิเศษจากพระดินเผาของท่านเอง ซึ่งท่านมักจะใส่ในกระเป๋าอังสะของท่านอยู่เสมอ เพื่อทำน้ำมนต์ให้คนไข้อาบ และใช้มีดหมอของท่านกดกลางศีรษะ และรดน้ำมนต์คนไข้นั้นเรื่อยไปจนกว่าผีจะออก ถ้าดิ้นรนก็ต้องมีคนมาช่วย จับและรดน้ำมนต์ในระหว่างที่ท่านกดมีดหมอและบริกรรมอยู่

    คนไข้ประเภทนี้เมื่อหายแล้วจะจำอะไรไม่ได้เลย และท่านมักจะให้สายสิญจน์มงคลไว้คล้องคอ กันถูกกระทำซ้ำอีก

    รายที่มีอาการร้อนหูร้อนหน้า แสดงว่าร้ายแรงมาก ถึงขนาดที่ถูกน้ำมันผีพราย ประเภทนี้จะอาการป้ำๆ เป๋อๆๆ คุ้มดีคุ้มร้าย ชาวบ้านเรียกว่า ลมเพลมพัด ขาดสติ ปวดศีรษะบ่อยๆ คนไข้ชนิดนี้ท่านจะให้แช่เท้าในกระป๋องด้วยเหมือนกับที่ถูกคุณคน เมื่อเวลารดน้ำมนต์นั้น น้ำมันพรายจะซึมออกมา เป็นฝ้าน้ำมันลอยอยู่ในน้ำให้เห็น

    หลวงพ่อบอกว่า คนไข้ประเภทนี้หายยาก เพราะว่าน้ำมันซึมอยู่ในร่างกาย ต้องมารักษาบ่อยๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ จนกว่าจะหมดน้ำมันพราย และท่านมักจะสั่งห้ามกินน้ำมันสัตว์ เพราะจะไปเพิ่มน้ำมันให้กับน้ำมันพราย

    หมากเสกของท่านนี้ ถ้ากินแล้วร้อนลึกเข้าไปในทรวงอก ท่านว่าเป็นโรคฝีในท้อง วัณโรค ประเภทนี้นอกจากรดน้ำมนต์แล้ว ยังต้องกินยาคุณพระควบไปด้วยอีกทางหนึ่ง เป็นการขับถ่ายพิษร้ายออกจากร่างกาย

    รักษาโรคด้วยยาพระพุทธคุณ

    นอกจากน้ำมนต์แล้ว ท่านยังมียาคุณพระพุทธคุณให้กินอีกด้วย ยานี้มีสรรพคุณแก้โรคได้ทุกชนิด แล้วแต่ชนิดของโรค

    คือ ยานี้เป็นยาอธิษฐานของหลวงพ่อปาน นอกจากจะรักษาโรคแล้ว ยังเป็นยาที่หลวงพ่อปานให้กิน เวลาท่านรดน้ำมนต์แก้ถูกกระทำไปแล้ว

    ยาของท่าน ท่านจะบอกกับผู้ใกล้ชิดว่า ตำรับยานี้เป็นของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ องค์อุปัชฌาย์ของท่าน มอบให้ท่านเป็นทายาทแทนเมื่อหลวงพ่อสุ่นล่วงลับไปแล้ว มี ๒ ขนาน(คัดมาจากหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี หลวงพ่อปาน)

    พระคาถาของหลวงพ่อปาน

    (ว่า “นะโม ฯลฯ” ๓ จบ)

    พระคาถาบทนำ ว่าครั้งเดียว
    “พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ”

    พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์
    ว่า ๓ จบ หรือ ๕ จบ หรือ ๗ จบ หรือ ๙ จบ ก็ได้ แต่ต้องสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล
    “วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม”

    คาถามหาพิทักษ์
    “จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง”
    ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่างฯ

    คาถามหาลาภ
    “นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา ธะนังวา พึซังวา อัตถังวา ปัตถังวา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมึมา นะมามิหัง”
    ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ

    พระคาถา ๓ บทนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดนำไปใช้จะเกิดโชคลาภมั่งมีเงินทองอย่างมหัศจรรย์

    ท่านมรณภาพวันที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๔๘๑ รวมสิริอายุ ๖๓ ปี ๔๓ พรรษา.

    ข้อมูล : เว็บศูนย์พุทธศรัทรา


    บูชาองค์ละ 1,499 บาท พร้อมส่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010102.JPG
      P1010102.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.8 MB
      เปิดดู:
      202
    • P1010103.JPG
      P1010103.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.8 MB
      เปิดดู:
      134
    • P1010104.JPG
      P1010104.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.8 MB
      เปิดดู:
      255
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2013
  5. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    โปรโมชั่นเปิดร้านใหม่

    *****รูปหล่อเหมือน เนื้อเรซิ่น
    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดํา )
    ขนาด 9 นิ้ว
    บูชาป็นคู่ คู่ละ 2,500 บาท ****

    *****ส่งฟรีทุกรายการ*****

    P1010094.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2013
  6. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    รูปหล่อเหมือน เนื้อเรซิ่น
    ขนาด หน้าตัก 5 นิ้ว

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จ.สกลนคร


    ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย


    ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี มาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ

    การแสวงหาธรรม และปฏิปทา


    เมื่อหลวงปู่มั่นอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษา หาความรู้ ทางพระศาสนามีสวดมนต์ และพระสูตรต่าง ๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วย การงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดา เต็มความสามารถ ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้ว ยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัย ในทางบวช มาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก คำสั่งของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ

    ครั้นอายุหลวงปู่มั่นได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้ศึกษาในสำนัก ท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรม เป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง ฯ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ และ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะ ขนานนาม มคธ ให้ว่า ภูริทตโต เสร็จ อุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ณ วัดเลียบ ต่อไป


    เมื่อแรกอุปสมบท หลวงปู่มั่น พำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบล เป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้างเป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัยคือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรียบร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌายาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทาน ธุดงควัตร ต่าง ๆ


    ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หุบเขา ซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขาท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่ วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับเจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถ้ำสิงโต ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอิสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสนา แก่สหธรรมิก และอุบาสก อุบาสิกา ต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอิสาน


    ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ ฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษา วัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษาแล้วออกไปพักตามที่วิเวก ต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบัน คือ อำเภอ โคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษาจำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใจ อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย มีศิษยานิศิษย์มากหลาย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

    ธุดงควัตร ที่ท่านถือปฏิบัติ เป็นอาจิณ ๔ ประการ


    ๑. ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล จนกระทั่งวัยชรา จึงได้ใช้ คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
    ๒. บิณฑบาติกังคธุดงค์ คือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั้งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
    ๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ คือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียว เป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด
    ๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลาแม้อาพาธหนัก ในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ คืออยู่เสนา สนะป่า ห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ตามสมณวิสัย

    เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจาร บิณฑบาต เป็นที่ ๆ ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นคราวที่ไปอยู่ภาคเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวก มูเซอร์ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้

    ธรรมโอวาท คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อย ๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วย กาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ ดังนี้


    ๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเป็นเลิศ
    ๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง


    เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนเป็นคำกลอนว่าแก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่ ดังนี้

    เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ ถือลัทธิฉันเจให้เข้าใจในทางถูก และเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้วได้กล่าวเป็นคติขึ้นว่า เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถึกดงเสือฮ้ายดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาทของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดยยึดหลักธรรมชาติของศิลธรรม ทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลายท่าน แสดงเอาแต่ใจความว่า....

    การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง

    การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง.... นี้แล คือ คำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า การไม่ทำบาป... ถ้าทางการไม่ทำ แต่ทางวาจายังทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำ สั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับ ก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไปจนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้ โดยมิได้สนใจว่า ตัวทำบาป หรือสั่งสมบาปเลย แม้กระนั้น ยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศิลธรรม และคอยแต่เอาความบริสุทธิ์ จากความมีศิลธรรม ที่ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ตนแสวงหาสิ่งนั้น ก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้น จะให้เจออะไรเล่า เพราะเป็นของที่มีอยู่ ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์

    ปัจฉิมบท


    ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบทไปตามสถานที่วิเวก ผาสุกวิหารหลายแห่งคือ ณ เสนาสนะป่า บ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง ฯ (ปัจจุบัย เป็นอำเภอ โคกศรีสุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ ๆ แถวนั้นบ้าง ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายของชีวิต


    ตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระ อบรมสั่งสอน ศิษยานุศิษย์ทางสมถ วิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้ และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ แล้วให้ชื่อว่า มุตโตทัย


    ครั้นมาถึงปี พ.ศ.๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิด ได้เอาธุระรักษาพยาบาล ไปตามกำลังความสามารถ อาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษาศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกล ต่างก็ทยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษา แล้วนำมาที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม เพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และ ศิษยานุศิษย์ ก็มาเยี่ยมพยาบาลอาการอาพาธ มีแต่ทรงกับทรุด โดยลำดับ


    ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาถึงวัดป่าสุทธาวาส ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณ พระธรรมเจดีย์เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา

    การบำเพ็ญประโยชน์ ของท่านหลวงปู่มั่น ประมวลในหลัก ๒ ประการดังนี้


    ๑. ประโยชน์ชาติ ท่านหลวงปู่ ได้เอาธุระเทศนาอบรมสั่งสอนศิลธรรมอันดีงาม แก่ประชาชนพลเมือง ของทุกชาติ ในทุก ๆ ถิ่น ที่ท่านได้สัญจรไป คือ ภาคกลางบางส่วน ภาคเหนือเกือบทั่วทุกจังหวัด ภาคอิสานเกือบทั่วทุกจังหวัด ไม่กล่าวสอนให้เป็นปฏิปักษ์ ต่อการปกครองของประเทศ ทำให้พลเมืองของชาติ ผู้ได้รับคำสั่งสอน เป็นคนมีศิลธรรมดี มีสัมมาอาชีพง่ายแก่การปกครอง ของ ผู้ปกครองชือว่า ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติ ตามควรแก่สมณวิสัย
    ๒. ประโยชน์ศาสนา ท่านหลวงปู่ ได้บรรพชา และอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ ด้วยความเชื่อ และความเลื่อมใสจริง ๆ ครั้นบวชแล้ว ก็ได้ เอาธุระทางพระพุทธศาสนาด้วยความอุตสาหะพากเพียรจริง ๆ ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญ สมณธรรม


    หลวงปู่มั่น ท่านปฏิบัติธุดงควัตรเคร่งครัดถึง ๔ ประการดังกล่าวแล้ว ในเบื้องต้น ได้ดำรงรักษาสมณกิจไว้มิให้เสื่อมสูญได้นำหมู่คณะ ฟื้นฟูปฏิบัติพระธรรมวินัย ได้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ และพระพุทธโอวาท หมั่นอนุศาสน์สั่งสอนศิษยานุศิษย์ ให้ฉลาดอาจหาญในการฝึกฝนอบรมจิตใจตามหลักการสมถวิปัสสนา อันเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสสอนไว้ เป็นผู้มีนำใจเด็ดเดี่ยวอดทนไม่หวั่นไหวต่อ โลกธรรม แม้จะถูกกระทบกระทั่งด้วยโลกธรรมอย่างไร ก็มิได้แปรเปลี่ยนไปตาม ความมั่นอยู่ในธรรมวินัย ตามที่พระบรมศาสดาประกาศแล้วตลอดมาทำตัวให้เป็น ทิฏฐานุคติ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้จาริกไปตามสถานที่วิเวกต่าง ๆ คือ บางส่วนของภาคกลาง เกือบทั่วทุกจังหวัด ในภาคเหนือ เกือบทุกจังหวัด ของภาคอิสานและแถมบางส่วนของต่างประเทศอีกด้วย นอกจากเพื่อวิเวกในส่วนตนแล้ว ท่านมุ่งไปเพื่อสงเคราะห์ผู้มีอุปนิสัยในถิ่นนั้น ๆ ด้วย ผู้ได้รับสงเคราะห์ ด้วยธรรมจากท่านแล้ว ย่อมกล่าวไว้ด้วยความภูมิใจว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็น

    มนุษย์ พบพระพุทธศาสนา

    ส่วนหน้าที่ในวงการคณะสงฆ์ ท่านหลวงปู่ ได้รับพระกรุณาจากพระสังฆราชเจ้าในฐานะเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุตติกา ให้เป็นพระอุปัชฌายะ ในคณะธรรมยุตติกา ตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูวินัยธรฐานานุกรม ของ เจ้าพระคุณพระอุบาลี ฯ (สิริจันทรเถระจันทร์) ท่านก็ได้ทำหน้าที่นั้นโดยเรียบร้อย ตลอดเวลาที่ยังอยู่เชียงใหม่ ครั้นจากเชียงใหม่มาแล้ว ท่านก็งดหน้าที่นั้น โดยอ้างว่าแก่ชราแล้ว ขออยู่ตามสบาย

    งานศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่า ท่านได้ทำเต็มสติกำลัง ยังศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ให้อาจหาญรื่นเริงในสัมมาปฏิบัติ ตลอดมา นับแต่พรรษาที่ ๒๓ จนถึงพรรษาที่๕๙ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน อาจกล่าวได้ ด้วยความภาคภูมิใจว่า ท่านเป็นพระเถระ ที่มีเกียรติคุณ เด่นที่สุดในด้านวิปัสสนาธุระรูปหนึ่ง ในยุคปัจจุบัน

    บูชาองค์ละ 699 บาท พร้อมส่ง

    3 องค์ 600 บาท/องค์ (คละได้) พร้อมส่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010107.JPG
      P1010107.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      177
    • P1010109.JPG
      P1010109.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      123
    • 1258551972.jpg
      1258551972.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.8 KB
      เปิดดู:
      202
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2013
  7. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    รูปหล่อเหมือน เนื้อเรซิ่น
    สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม

    ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรสี)

    ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

    บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

    บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป

    เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง" เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง "สมเด็จโต" ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุ พรรษาได้ 56 พรรษาแล้ว

    มรณภาพ สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลา ใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม

    สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํนที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ

    อัจฉริยะและภูมิปัญญา

    ท่านสมเด็จโตนั้น เป็นคนที่เกิดอายุได้ 5 รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 มีแม่เป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อใดนั้นตามประวัติหลายต่อหลายเล่มมิได้กล่าวอ้าง สมเด็จท่านเป็นคนอัจฉริยะภูมิปัญญาแตกฉาน ตั้งแต่เด็จโตขึ้นบวชเณรก็มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูมาโดตลอด ไม่เคยยุ่งเกี่ยวทางด้านโลกีย์ หญิงใด ๆ มาชอบพอไม่เคยสน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย มักไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ชอบดู เหตุผล ชอบคิดวิเคราะห์สติปัญญาจึงแตกฉาน พอโตขึ้นมาอายุได้ครบบวชเป็นพร ท่านก็บวชสละเณรเปลี่ยนบวชเป็นพระต่อไปเลย การบวชเป็นพระนั้นเป็นที่ฮือฮาชอบพอรักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่จนถึงกษัตริย์ จัดเป็นนาคหลวง เมื่อบวชเป็นพระเสร็จ ท่านได้เที่ยวสัญจรไปมาตามที่ต่าง ๆ ตามนิสัยของท่านที่ของค้นคว้าหาความรู้จึงมุ่งศึกษาหาอาจารย์ต่าง ๆ ที่คงแก่เรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานสมถะ จากอาจารย์ต่าง ๆ ของเดินธุดงค์พงไพรไป ขณะนั้นยศของท่านยังไม่ได้ยศเป็นสมเด็จ เป็นพระธรรมดา อาศัยท่านแตกฉานด้านปัญญา พระไตรปิฎกท่านรู้อย่างดี จิตใจท่านมุ่งแต่บูชาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงริเริ่มสร้างพระขึ้นมา สมัยที่ขณะนั้นยศยังไม่ได้เป็นสมเด็จ ท่านสร้างขึ้นตามใจของท่าน รูปแบบพิมพ์พระสมเด็จที่ท่านสร้างตอนนั้น มิใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรากำลังแสวงหาพระสมเด็จกัน รูปทรงพิมพ์สมเด็จขณะนั้นเป็นรูปคดหอย จับผงมาปั้นเป็นก้อน ๆ ยาว ๆ แล้วก็วนเป็น คดหอย ปลุกเสกแจกชาวบ้าน บางพิมพ์ก็เป็นรูปปูก็มี เป็นรูปต่าง ๆ ก็มีแสดงให้เห็นว่า ท่านสมเด็จเริ่มสร้างพระสมเด็จตั้งแต่ยังไม่ได้ยศสมเด็จจากในหลวงแต่งตั้ง วัดที่ท่านได้ไปอยู่ก็หลายต่อหลายวัด แต่ในที่นี้เราจะเอาเฉพาะวัดที่สำคัญในตระกูลพระสมเด็จที่เล่นกันอยู่ นั่นคือ วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆัง ทั้งสามวัดนี้ ท่านได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาจนทุกวันนี้เราก็ต่างเสาะแสวงหากันอยู่ การสร้างนั้นท่านสมเด็จจะปลุกเสกเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้นพลังจิตในพระสมเด็จทุกรุ่นทุกพิมพ์จึงเป็นพลังจิตของท่าน

    หลังจากที่ท่านได้ร่ำเรียนจนสำเร็จวิปัสสนาญาณกรรมฐานชั้นสูง ท่านก็ได้มีอาจารย์อยู่คนหนึ่ง อาจารย์คนนั้นท่านผู้อ่านอาจจะนึกเดาถูก นั่นคือ สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เหตุที่เรียกว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน เพราะมีไก่ป่า ท่านสังฆราชเอามาเลี้ยงจนเชื่องเล่นกันได้ จึงได้ฉายาว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน พระสังฆราชนั้นเป็นอาจารย์ของสมเด็จโต พร่ำสอนวิชาต่าง ๆ ให้จนสมเด็จโตเก่งแตกฉานทุกอย่าง สม้ยนั้นสมเด็จพระสังฉราชสุกไก่เถื่อนได้สร้างพระสมเด็จวัดพลับขึ้นมาปลุกเสกเอง ซึ่งสมเด็จโตก็รู้ จากนั้นมาไม่นาน ท่านสมเด็จโตก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง จากการที่ได้รับยศเป็นถึงสมเด็จนั้น ท่านจำไจยอมรับ เพราะตอนนั้นในหลวงเป็นเจ้าฟ้า ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฟ้านั้นปกคลุมพื้นดินไปหมด จะหนีฟ้าก็ไม่พ้น แต่ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดินสมเด็จโตท่านมีความรู้ย่อมหนีพ้นจึงไม่รับยศ หนีออกนอกแผ่นดิน โดยเดินธุดงค์ไปหลายเดือนเพื่อหนียศ แต่นี่กษัตริย์เป็นยศถึงเจ้าฟ้าไม่พ้นจึงจำใจรับยศสมเด็จ และเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมา ขณะนั้นเองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่แปลกแหวกแนวพิสดารมากมายตลกขบขันก็มีเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาทิเช่น มีฝรั่งต่างชาติรู้ข่าวว่าท่านสมเด็จโตเก่งอัจฉริยะ จึงลองภูมิปัญญาท่านสมเด็จโตว่า "จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ตรงไหน?" ท่านสมเด็จตอบฝรั่งไปว่า "จุดศูนย์กลางของโลกนั้นอยู่ทุกหนทุกแห่งบนพื้นผิวโลก ไม่ว่าฉันจะไปยืน ณ ที่ใดตรงนั้นคือจุดศูนย์กลางของโลก " ฝรั่งถามว่า ท่านพิสูจน์ให้เห็นได้ไหม ? ท่านสมเด็จตอบว่า "ฉันพิสูจน์ได้แล้วท่านจะว่าอย่างไร "ฝรั่งไม่ตอบ จากนั้นสมเด็จโตก็ถือตาลปัตรมือหยิบสายสิญจน์แทนเชือก เอาสายสิญจน์ผูกที่ตาลปัตรเอาตาลปัตรปักดินแลังดึงเชือกสายสิญจน์ให้ตึงกางออก ใช้ปลายนิ้วแทนดินสอ จากนั้นก็ลากลงบนพื้นดินเป็นวงกลม ท่านสมเด็จบอกว่า วงกลมคือโลก เพราะฉะนั้นฉันยืนอยู่จุดศูนย์กลางของโลกตรงจุดที่ตาลปัตรปักดินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝรั่งยอมแพ้กลับไป ยังมีอีกหลายเรื่องที่ท่านสมเด็จโตย่อมรู้กาลเวลาอนาคตมีครั้งหนึ่ง หญิงจีนมาขอหวยท่านสมเด็จโต แอบมานัดกับเด็กวัดโดยแนะให้ขึ้นไปคุยกับท่านสมเด็จโตบนกุฏิให้เด็กวัดชวนพูดแล้วบีบนวดไป จากนั้นเด็กวัดก็ถามท่านสมเด็จโตว่า "ท่านตา ท่านตา หวยงวดนี้มันจะออกอะไร " เมื่อท่านสมเด็จโตได้ยินดังนั้น ท่านก็ตอบว่า ข้าตอบไม่ได้โว้ย เดี๋ยวหวยของข้าจะรอดร่อง ขณะนั้นก็บังเอิญอาเจ็คคนนี้แกแอบอยู่ใต้ถุนกุฏิแกแอบได้ยินสมเด็จโตพูดอย่างนั้นก็เปิดแน่บไปเลย

    นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีเหตุการณ์อื่น ๆ อีก มีครั้งหนึ่งขณะที่ท่านสมเด็จโตกำลังจะไปธุระ บังเอิญเรือติดหล่มต้องเข็นเรือกัน ท้านสมเด็จโตได้เอาพัดยศวางไว้ในเรือแล้วรีบมาช่วยคนอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์เข็นเรือ บังเอิญชาวบ้านแถบนั้นแลเห็นเข้าหัวเราะชอบใจขบขัน พูดตะโตนออกมาว่า "ดูท่านสมเด็จเข็นเรือ" เสมือนหนึ่งล้อเลียนท่านในเชิงปัญญาขบขันเมื่อเป็นเช่นนั้นสมเด็จโตก็พูดออกมาว่า สมเด็จเขาไม่ได้เข็นเรือหรอกจ้ะ สมเด็จท่านอยู่บนเรือ ว่าแล้วท่านสมเด็จโตก็ชี้มือไปที่พัดยศในเรือ เมื่อชาวบ้านต่างได้ยินได้ฟังแลเห็นเช่นนั้น ก็เงียบกริบไม่ว่าอะไร เรื่องพิสดารอย่างนี้ก็สมีเกิดขี้นเราขอพาท่านไปดูเหตุการณ์ในอีกลักษณะหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องลองภูมิปัญญากัน มีครั้งหนึ่ง ท่านในหลวงได้มีราชโองการโปรดเหล้าให้ท่านสมเด็จโตเข้าเฝ้าถวายพระธรรมเทศนาในวัง เมื่อสมเด็จโตท่านมาถึงนั่งธรรมมาสก์เสร็จก็เอ่ยปากพูดว่า "ตีพระมหาบพิธก็รุ้ ชั่วพระมหาบพิธก็รู้ เพราะฉะนั้นวันนี้อากาศแจ่มใสดี เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้" เมื่อเจ้าเหลวงได้ยินดังนั้น ก็แลเห็นท่านโตลุกจากธรรมมาสก์แล้วมิได้มองเจ้าหลวง เจ้าหลวงเห็นดังนั้นจึงเอ่ยปากเรียกสมเด็จโตว่า ท่านโต ท่านโต ทำไมถึงเทศน์จบเร็วจัง ไงไม่เข้าใจ ท่านโตก็เฉลยว่าที่พูดว่าอากาศแจ่มใสดี ดีก็รู้ ชั่วก็รู้ ก็หมายถึงว่าวันนี้จิตใจของพระมหาบพิธรื่นเริงสดชื่น ปราศจากความหม่นหมองใจ ก็คือความหมายที่ว่าอากาศแจ่มใสดี อาตมาจึงเทศน์เพียงเท่านี้ เพราะไม่รู้จะพูดอะไร เมื่อพระมหาบพิธได้ยินดับนั้นก็รู้สึกเข้าใจในความหมายเทศน์ เป็นยังไงท่านผู้อ่าน เรื่องราวแหลวแหวกแนวพิสดารแสดงกถึงภูมิปํญญาอัจฉริยะของท่านสมเด็จโต ยังมีอีกมากมายที่จะบอกเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รู้กัน

    มีอยู่ตอนหนึ่ง ขณะที่เจ้าหลวงเชิญสมเด็จโตมาเทศน์ วันนั้นท่านโตเทศน์นานแล้วนานเล่าจนกิริยาอาการของเจ้าหลวงเริ่มเหนื่อยหน่ายหงุดหงิด พอท่านโตเทศน์เสร็จ เจ้าหลวงถามท่านโตว่า ท่านโตวันนี้ทำไมถึงเทศน์นานจัง เราเมื่อย เหนื่อย อยากจะถาม ท่านโตได้ยินดังนั้นก็ตรัสตอบไปว่า ก็วันนี้จิตใจของมหาบพิธเต็มไปด้วยความทุกข์เร่าร้อนในอารมณ์ตลอดเวลา จึงเทศน์ให้มันเย็นจึงนานไปหน่อย

    ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่จะกล่าวถึง คือ ในวันนั้น ท่านสมเด็จโตได้ออกจากกุฏิมุ่งหน้าไปธุรกิจ แจงเรือผ่านไปตามคลองชาวบ้านก็แลเห็น ต่างก็พูดขอหวยท่านโตต่าง ๆ นานา รู้กิตติศัพท์ว่า ท่านให้แม่น สงสารคนจน และเวลาเทศนาธรรมที่ใด ท่านสมเด็จได้เงินกัณฑ์เทศน์มา ก็นำมาแจกชาวบ้านและเด็กจน ๆ แม้แต่สตางค์แดงเดียวก็มิเอา ครั้นพอขากลับวัด ท่านสมเด็จโตก็ซื้อหม้นขนมาเต็มลำเอเอ่เจตนารมณ์จะบอกใบ้ให้ชาวบ้านจน ๆ ตึปริศนาไปแทงกัน เพราะรู้ว่าหวยจะต้องออก "ม" มอม้า วันนี้ จึงซื้อหม้อมาเต็มลำเรือ บังเอิญชาวบ้านที่ท่านสมเด็จโตแจงเรือผ่านมาตามริมคลองแลเห็นเข้าต่างก็ตะโกนพูดว่า "ท่านโตเป็นอะไร ทำไมถึงซื้อหม้อมาเยอะแยะนะ" แต่ก็มีชาวบ้านที่ปัญญาฉลาดตีความถูก วันนั้นพอเห็นท่านโตซื้อหม้อมาเยอะแยะรู้ว่าหวยออก ม. มอม้า จึงรีบไปแทง ครั้นพอหวยประกาศออกมาปรากฏว่า ออก "ม" มอม้า นี่ก็แสดงให้ท่านผู้อ่านได้แลเห็นว่า ท่านสมเด็จโตเป็นอัจฉริยะบุคคลที่มีใช่บุคคลธรรมดา เก่งด้วยวิปัสสนากรรมฐาน รู้อดีต รู้ปัจจุบัน และรู้อนาคต ยังมีอีกหลายต่อหลายบทตอน ที่จะหยิบยกเอามาพูดกันให้รู้ทีละตอน ๆ

    มีคราวหนึ่ง ท่านสมเด็จโตได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาพิมพ์หนึ่ง โดยผีมือช่างหลวงช่วยแกะพิมพ์ให้ พอสร้างเสร็จปลุกเสกเสร็จท่านโตก็ได้ให้พระสมเด็จทรงพิมพ์นี้ ให้ ร.5 ติดตังไป ท่าน ร.5 ได้นำพระสมเด็จที่สมเด็จโตสร้างติดตัวไปประเทศเยอรมันพอถึงเยอรมัน กษัตริย์เยอรมันพบ ร.5 เข้าก็แปลกใจ แลเห็นที่หน้าอกของ ร.5 มีแสงสว่างประกายออกมา จึงกราบเรียนถาม ร.5 ว่า ในตัวมีอะไร ร.5 ก็นึกขึ้นมาได้ว่า มีพระสมเด็จองค์หนึ่งที่ท่านโตให้ติดตัวมา จึงถวายให้กับกษัตริย์เยอรมันไป จึงเรียกสมเด็จทรงพิมพ์นี้ว่า ทรงพิมพ์ไกเซอร์

    ท่านผู้อ่านที่เคารพยิ่ง ตามประวัติต่างๆ ที่ผู้เขียนได้หยิบยกขึ้นมาเขียนกล่าว บางครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปบ้าง เขียนถูกบ้างผิดบ้าง ขอได้โปรดอภัยแต่เจตนารมณ์ของผู้เขียนมุ่งที่จะจรรโลงไว้ซึ่งศาสนาให้เจริญสูงส่ง รวมทั้งสถาบันกษัตริย์และประการสุดท่านก็คือส่งเสริมคุณค่าและความดีเกียรติคุณยกเบขิดให้ท่านสมเด็จโตมิได้มุ่งทำลาย อดุมการณ์ของผู้เขียนมีอย่างนี้จึงได้เพียรพยายามทุกวิถึทางที่จะให้หนังสือเล่มนี้ได้สำเร็จขี้นมาด้วยความเพียรและขอบรารมีพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใฟ้ดลบังดาลเดิดผลคุณค่าทางปัญญา ส่งผลออกมาทางลายลักษณ์อักษร ให้ท่านได้ดูอ่านชมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งสมบูรณ์แบบครบด้วนอาจจะขาดเหลือไปก็เพียงเล็กน้อย ผลอันนี้มุ่งหวังให้ท่านผู้อ่านทั้งประเทศหรือต่างประเทศได้รู้ถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนาไทยเรา และรู้คุณค่าของประวัติความดีของสมเด็จโต ตลอดจนพระสมเด็จที่ท่านสมเด็จโตได้สร้างขึ้น

    สุดท้ายนี้ ผลงานความดีทั้งหลายแหล่ที่ได้จากากรจัดทำนั้น ผู้เขียนขอน้อมเกล้าถวายยกให้พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอรหันต์ ตลอดจนสมเด็จโต รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายในสากลโลกทั้งหมด ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด และศาสนาใด ๆ จงได้รับผลอานิสงค์บุญจากการจัดทำหนังสือเล่มนี้ไปด้วยเทอญ ความบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว



    ว่าด้วยอภินิหาร

    เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ศึกษาเชี่ยวชาญทั้งในทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระดังกล่าวมา นับว่าท่านเป็นอัจฉริยะบุรุษผู้หนึ่งที่หาได้ยากในโลก" (ด้วยปรากฎว่ามีแต่ผู้ชำนาญเฉพาะธุระเดียวที่ชำนาญทั้งสองธุระนั้นหายาก) เห็นจะเป็นเราพะท่านเชี่ยวชาญในสองธุระประกอบกันจึงเดิดเสียงเลื่องลือกันว่า ท่านทรงคุณในวิทยาคุณานุภาพศักดิ์สิทธ์ว่านี้มาต์หรือเครือ่งวิทยาคมของท่าน มีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์คือแก้โคกต่าง ๆ ค้อมกันสรรพภัย ค้าขายดี ทางเมตตามหานิยมก็ว่าดีนัก อนึ่งว่ากันว่า ท่านทรางคุณวิเศษถึงสามารถทำสิ่งซึ่งเหลือวิสัยมนุษย์สามัญให้สำเร็จได้ อาทิเช่น ทำให้ คลื่นลมสงบ ห้ามฝน ย่นหนทางฯ ดังจะยกมาสาธกเป็นอุทาหรณ์ต่อไป ในรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง พระที่นั่ง และพระเจดีย์วิหารที่บนเขามหาสมณะ จังหวัดเพชรบุรีพระราชทานนามเรียกรวมกันว่า "พระนครคิรี" (และเขามหาสมณะนี้นพระราชทานนามใหม่ว่าเขามไหศวรรย์) ในจดหมายเกตุของหมอบรัดเล (พิมพ์ไว้ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 120หน้า 52) ว่า โปรดฯ ให้เฉลิมพระราชมณเฑียรที่พระนครคีรี พร้อมกับบรรจุพระบรมธาตุในพระเจดีย์ศิลา เมือเดือนพฤษภาคม ปีจอ พ.ศ.2405 ดังนี้ กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปในงานพระราชพิธินั้เนด้วยขากลับท่านออกเรือจากปากอ่าวบ้านแหลมจะข้ามมาอ่าวแม่แลอง เวลานั้นคลื่นลมจัดมาก ชาวบ้านห้ามท่านก็ไม่ฟัง ว่าท่านได้ออกมายืนที่หน้าเก๋งเรือโบกมือไปมา ไม่ช้าคลื่นลมก็สงบราบคาบ

    คราวหนึ่งมีการก่อพระเจดีย์ทรายที่ในวัดระฆัง ประจวบกับวันนั้นมีเมฆฝนตั้งมืดคลึ้ม คนทั้งหลายเกรงฝนตก จึงไปกราบเรียนปรารภกับเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ท่านได้กล่าวพร้อมกับโบกมือว่า "ตกที่อื่น ๆ" ว่าน่าประหลาดที่ในวันนั้นปรากูฎว่าฝนไปตกที่อื่นหาได้ตกที่ในตำบลศิริราชพยาบาลไม่

    คราวหนึ่งเขานิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปในงานพิธีโกนจุกที่จังหวัดอ่างทอง ท่านได้เริ่มออกเดินทางก่อนถึงกำหนดเวลาเพียง 3 ชั่วโมง มีผู้สงสัยว่าท่านจะไปทันเวลากำหนดได้อย่างไร ถึงกับได้สอบถามไปยังเจ้าภาพในภายหลังต่อมา ก็ไดรับคำตอบว่าท่านไปทันเวลาตามฎีกาทุกประการ (ว่าวิชานี้ท่านได้เรียนต่อพระอาจารย์แสง ที่จังหวัดลพบุรี)

    คราวหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปธุระทางแขวงจังหวัดนนทบุรีด้วยเรือแจง ขอกลับพอมาถึงปากคลองสามเสน เด็กศิษย์คนหนึ่ง ได้เอากะโหลกออกไปตักน้ำ จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ กะโหลกนั้นได้พลัดหลุดจากมือจมลงไปในแม่น้ำ ท่านพูดว่า "งมที่นี้ไม่ได้เพราะน้ำลึก ต้องไปงมที่หน้าวัดระฆังจึงจะได้" เมื่อถึงวัดระฆังท่านจึงให้เด็กศิษย์นั้นลงไปงมทื่หน้าวัด ก็ได้กะโหลกลมจริงดังที่ท่านบอก

    กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่มีเงินติดตัว เพราะท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยมักน้อยไม่เก็บสะสม (ดังเล่ามาแล้วในที่อื่น) แต่น่าประหลาดที่ท่านสามารถสร้าง ปูชนียวัตถุสถานใหญ่ ๆ โต ๆ สำเร็จหลายแห่ง (บางแห่งสร้างค้างไว้ เช่นพระโตวัดอินทรวิหารว่าท่านประสงค์จะให้ผู้อื่นสร้างต่อบ้าง) มีผู้ได้พยายามสังเกตกันนักหนาแล้วแต่ก็ไม่ทราบว่าท่านเอาเงินมาแต่ไหน พระเทพราชแสนยาว่าควาวหนึ่งจึนช่างปูนไปขอเงินค่าจ้างก่อสร้างจากเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ 1 ชั่ง (80 บาท) ท่านบอกให้หลวงวิชิตรณชัยหลายชาย ไปเอาเงินที่ใต้ที่นอนของท่าน หลวงวิชิต ฯ กลับมากราบเรียนว่า ได้ไปค้นหาดูแล้วไม่เห็นมีเงินอยู่เลย ท่านสั่งให้ไปค้นหาใหม่ ก็ได้เงิน 1 ชั่ง เรื่องนี้หลวงวิชิต ฯ ว่าน่าประหลาดนักหนา

    มีสิ่งหนึ่ง ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทำไว้ที่วัดระฆัง คือน้ำมนต์ จะเขียนแทรกลงไว้ตรงนี้ มีคำเล่ากันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ปลุกเสกลงเลขยันต์ศิลา 3 ก้อน ก้อนหนึ่ง เอาไปไว้ที่ในสระหลังวัด (สระนี้ตื้นเขินนานแล้ว) ก้อนหนึ่งเอาไว้ในสระกลางน้ำ (สระนี้ยังมีปราฏอยู่) อีกก้อนหนึ่งเอาไว้ในแม่น้ำตรงหน้าวัด (ห่างเขื่อนราว 2 วา ประมาณว่าอยูตรงกลางโป๊ะท่าเรือ) ว่าน้ำในที่ทั้งสามแห่งนั้น มีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์ต่างกัน คือน้ำที่สระหลังวัด อยูคงกระพันชาตรี น้ำที่สระกลางวัด ทางเมตตามหานิยม น้ำที่หน้าวัดทำให้เสียงไพเราะ (เหมาะกับนักร้อง) และว่าเมื่อจะตักน้ำที่หน้าวัดน้ำให้ตักตามน้ำ (ห้ามตักทวนน้ำ) ถ้าน้ำนิ่งให้ตักตรงไป

    อภินิหารของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ นับถือกันสืบมา จนเมื่อท่านถึงมรณภาพแล้ว ดังปรากฎว่ามีผู้คนไปบนบานปิดทองที่รูปหล่อของท่านเนือง ๆ (อธิบายเรื่องรูปหล่อของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะปรากฎต่อไปในที่อื่นข้างหน้า) ว่ากันว่าเพียงแต่ตั้งจิตระลึกถึงท่าน ก็ยังให้เกิดประสิทธิผลอย่างน่ามหัศจรรย์ จะยกมาอ้างเป็นอุทาหรณ์ ดังเช่นเจ้าคุณธรรมกิติ (ลมูล สุตาคโม ป.6) วัดระฆังกลับไม่ทันรถไฟ ต้องเดินมาลงเรือเมล์โดยสารที่ท่าเรือ พอย่างเข้าชานสถานีเรือ มีชายคนหนี่ง ในเครื่องแต่งกายชุดดำ เดินออกจากที่กำบังตรงเข้ามาขวางทาง (สังเกตไม่ได้ว่าจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะเป็นเวลามืด) ถามว่า "ท่านจะไปไหน" ตอบว่า จะไปหาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขอให้ช่วยคุมภัย ท่านว่า แล้วชายคนนั้นก็ออกเดินหลีกทางไปโดยไม่ได้พูดอะไร และว่าอีกคราวหนึ่ง (ดูเหมือนจะเป็น พ.ศ.2485) ท่านไปเทศน์ที่วัดอินทาราม แขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เรือจ้างส่งที่แพหน้าวัดสุวรรณเจดีย์ (ตำบลหัวเวียง) ด้วยหมายจะขึ้นไปพักวัดนั้นก่อน แต่ขึ้นวัดไม่ได้เพราะน้ำท่วม เวลานั้นดึกมาก ผู้คนนอนหลับกันหมดแล้ว ทั้งฝนก็ตกพรำ ๆ ท่านมิรู้จะทำอย่างหร เลยนั้นพักอยู่บนตุ่มปูนที่ข้างแพนั้น สักครู่หนึ่งมีชาย 2 คน พายเรือทวนนี้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านจึงเอาไฟฉายส่องที่ตังท่านเอให้รู้ว่าเป็นพระ พร้อมกับร้องเรียนให้ช่วยรับส่งขึ้นที่วัด ชาย 2 คนนั้นจะได้ยินหรือไม่ไม่ทราบ แต่หาได้นำพาต่อคำขอร้องของท่านไม่ คงเร่งพายเรือต่อไป ท่านจึงตั้งจิตระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า เวลานี้ลูกลำบาก ขอให้หลวงพ่อช่วยลูกด้วย ท่านว่า น่าประหลาดที่ต่อมาสัก 4-5 นาที ชาย 2 คนนั้นได้พายเรือมารับท่าน ส่งขึ้นวัดสุวรรณเจดีย์ตามประสงค์ พระอาจารย์ขวัญวิสิฎโฐ เล่าเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่ง มีงานฉลองสุพรรณบัฎสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ที่วัดระฆังในงานนั้นมีอาจารย์มาประชุมกันหลายรูป พอตกบ่ายฝนตั้งเค้ามือครึ้ม เสมียน (ตรา) เหมือน บ้านหลังตลาดบ้านขมิ้น จังหวัดธนบุรี ผู้ซึ่งมีความเคารพในเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก ได้กล่าวขึ้นในที่ประชุม ว่าท่านผู้ใดจะสามารถห้ามไม่ให้ฝนตกไดั ที่ประชุมต่างนิ่งไม่มีใครว่าขานอย่างไร เสมือนเหมือนกล่าวต่อไปว่า (สมเด็จโตถึงจะห้ามฝนได้" ดังนี้ แล้วผินหน้าไปทางรูปหลบ่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะธูปเทียนบุชาสักการะตั้งสัตยาธิศฐานขออย่าให้ฝนตกที่วัด ว่าวันนั้นฝนตกเพียงแค่โรงหล่อ หกตกถึงที่วัดระฆังไม่ คนทั้งหลายต่างเห็นอัศจรรย์ยิ่งนัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเล่ากันอึกมากมายหลายเรื่อง ทีนี้จะพรรณาว่าด้วยอภินิหาร พระพุทธรูปที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างต่อไป จะกล่าวงถึงพระโตก่อน อันพระโต (หรือเรียกกันว่า "หลวงพ่อโต") ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้นี้ ดูเหมือนจะมีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น ข้อนี้จะพึงสังเกตุเห็นได้ ด้วยมีประชาชนไปปิดทองบนบานศาลกล่าวและเซียมซีเสี่ยงทายกันเนือง ๆ บางแห่งถึงจัดให้มีงานประจำปี มีพุทธศาสนิกชนจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วประเทศมาชุมนุมกันในคราวหนึ่ง ๆ นักแสน ว่าเฉพาะพระโตวัดไชโยปรากฎในหนังสือ "ลิลิตพายัพ" พระราชนิพนธ์

    ในรัชกาลที่6 ว่าเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จ ฯ พระมงกุฎกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพ ขากลับกรุงเทพฯ เสด็จทางชลมารคถึงวัดไชโจได้เสด็จขึ้นนมัสการ ดังที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงไว้ดังนี้

    ถึงไชโยหยุดยั้ง นาวา
    พระเสด็จขี้นอุรา วาสนั้น
    นมัสการปฏิมา กรเกตุ
    คุณพระฉัตรกั้น เกศข้า ทั้งปวง

    ในที่นี้จะกล่าวถึงอภินิหารพระโตวัดอินทรวิหาร เป็นนิทัศนุทาหรณ์ พระโตองค็นี้เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ว่าสามารถคุ้มกันสรรพภัยพิบัติและให้เกิดสุขสวัสดิ์ ลาภผลอย่างมหัสจรรย์ ดังพรรณนาไว้ในเรื่องประวัติ พิมพ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2490 คัดมาลงไว้ต่อไปนี้

    อภินิหารของหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธ์มาก ดังเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วโดยทั่วกัน สักขีพยานซึ่งได้เห็นกันอยู่ในเร็วๆ นี้ ในระหว่างที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในระหว่างสงคราม (พ.ศ.2484-2487) หลวงพ่อโตหาได้กระทบเทือนอย่างใดไม่ คงอยู่เป็นมิ่งขวัญ เป็นที่สักการะของชาวเราอยู่ตลอดไป ได้มีผู้กล่าวสรรเสริญถึงอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอยู่เสมอมิได้ขาด ในยามสงครามประชาชนในเขตอื่น ๆ อพยพกันเป็นจ้าระหวั่น แต่ในบริเวณเขตหลวงพ่อโต มิใคร่จะมีใครอพยพกัน ซึ่งมีบางท่านกล่าวว่า จะไม่ยอมไปไกลจากองค์หลวงพ่อโตเป็นอันขาด แต่มีบางท่านจะต้องอพยพ ได้ไปลาสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์ มีรับสั่งว่าอย่าไปเลย ในบริเวณวัดอินทรวิหารเหมาะและปลอดภัยแล้ว เพราะหลวงพ่อโตท่านก็คุ้มครองอยู่ คงจะปัดเป่าภยันตรายไปได้และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านเป็นผู้สร้างได้ทำไว้ดีแล้ว ประชาชนส่วนมากในวัดอินทรวิหารจึงไม่ใคร่อพยพจากไป นอกจากนั้นเมื่อมีภัยทางอากาศเกิดขึ้นในคราวใด ประชาชน ในเขตอื่น ๆ ยังพลอยหลบภัยเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมาก ปรากฎว่ามีเครื่องบินมาทิ้งลูกระเบิดที่บริเวณวัดอินทรวิหารเหมือนกัน เป็นลูกระเบิดเพลิงรวมด้วยกัน 11 ลูกแต่ไม่ระเบิด และไม่เกิดเพลิงอย่างใด ในครั้งต่อมาได้มีเครื่องบินมาทึ้งระเบิดที่ตำบลเทเวศร์โอยเฉพาะองค์หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารใกล้กับจุดอันตรายมากแต่หาเป็นอันตรายแม้แต่น้อยไม่ ซึ่งประชาชนส่วนมากที่หลบภัยเข้ามาในบริเวณหน้าหลวงพ่อโตมองเห็นฝูงเครื่องบินมาทิ้งระเบิดบ่ายโฉมหน้ามุ่งตรงมายังหลวงพ่อโต ครั้นมาถึงในระยะใกล้เครื่องบินฝูงนั้นกลับวกมุ่งไปทางทิศอื่นเสีย ซึ่งดูประหนึ่งหลวงพ่อโตท่านโบกหัตถ์ให้ไปทางทิศอื่นเสีย ประชาชนและบ้านเรือนในเขตบริเวณหน้าหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารจึงหาเป็นอันตรายแต่ประการใดไม่

    เรื่องที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์อยู่มิใช้น้อย นี้ก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว้า หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารท่านมีอภินิหารความศักดิ์สิทธ์มากเพียงใด จนกระทั่งในทุกวันนี้ประชาชนก็พากันมานมัสการสักการะบูชามิได้ขาด ชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาชมพระนคร ก็ยังเลยมานมัสการหลวงพ่อโตเสมด

    "ตามปกติประชาชนนิยมน้ำมนต์ของท่านมาก มีผู้มาขอน้ำมนต์ของท่านไม่เว้นแต่ละวัน น้ำมนต์ของทานเมื่ออธิษฐานแล้วใช้ได้ตามความปรารถนา เป็นมหานิยมดีด้วย เวลาที่จะไปหาผู้ใดผู้นั้นก็มีความเมตตากรุณา ก่อนที่จะใช้น้ำมนต์ของท่านให้ได้สมความปรารถนาแล้ว ควรจะทราบวิธีใช้ด้วย คือเมือ่ผู้ใดจะเอาน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปใช้ควรหาเครื่องสักการะบูชาเช่นธูปเทสียนดอกไม้บูชาเสียก่อนแล้วตั้งจิตให้แน่วแน่น้อมระลึกถึงองค์หลวงพ่อโตตลอดจนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้สร้างให้ช่วยตามความปรารถนาแล้วนำน้ำมนต์ไปให้รับประทานและอาบตามความประสงค์ ผู้นั้นจะประสบแต่โชคชัย เคราะห์ร้ายก็อาจจะกลับกลายเป็นดีได้ ด้วยประการฉะนี้"



    พระพิมพ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ หรือเรียกกันตามสะดวกปากว่า "สมเด็จ" นั้น ได้กล่าวมาแล้วว่าเจ้าประคุณสมเด็จได้สร้างขึ้นไว้ด้วยมุ่งหมายจะให้เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนาเป็นข้อสำคัญ แต่น่าประหลาดอยู่ ที่คนทั้งหลายต่างนับถือพรสมเด็จเป็นเครื่องรางที่ทรงคุณานุภาพเป็นอย่างวิเศษ ว่าในบรรดาพระเครื่องราง พระสมเด็จเด่นอยู่ในความนิยมของสังคมในทุกยุคทุกสมัยและว่าจะหาซื้อได้ด้วยเงินตราในราคาแพงมาก อันเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารพระสมเด็จนั้น ได้ฟังเล่ากันมากมายหลายเรื่อง จะเขียนลงไว้แต่เฉพาะบางเรื่อง ดังต่อไปนี้




    กล่าวกันว่า ภายหลังแต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ พระสมเด็จที่ใส่บาตร สัด และกระบุงตั้งไว้ที่หอสวดมนต์นั้น ได้ขนย้ายเอาไปไว้ที่ในพระวิหารวัดระฆัง (ว่าเอาไว้ที่บนเพดานพระวิหารก็มี) โดยมิได้มีการพิทักษ์รักษากันอย่างไร เป็นต้นว่าประตูวิหารก็ไม่ได้ใส่กุญแจ ในปีหนึ่งเป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์ มีทหารเรือหลายคนมาเล่นการพนันที่หน้าวัด เช่นหยอดหลุม ทอยกอง เป็นต้น จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารเรือเหล่านั้นได้เกิดวิวาทถึงชกต่อยตีรันกันเป็นโกลาหล ทหารเรือคนหนึ่งได้เข้าไปเอาพระสมเด็จใสพระวิหารมาอมไว้องค์หนึ่ง แล้วกลับมาชกต่อยตีรันประหัตประหารกันต่อไปที่สุดปรากฎว่าทหารเรือคนนี้นไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างไร แม้รอยฟกช้ำก็ไม่มี ส่วนทหารเรือคนอื่น ๆ ต่างได้รับบาดเจ็บ ที่ร่างกายมีบาดแผลมากบ้างน้อยบ้างทุกคน อีกเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งมีชายคนหนึ่งอยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวาต์ คือวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯมาบอกว่า "ยังไม่ตายให้ไปเอาพระสมเด็จที่บนเพดานพระวิหารวัดระฆังมาทำน้ำมนต์กินเถิด" พวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมาเอาพระสมเด็จไปอธิษฐานทำน้ำมนต์ให้กิน ก็หายจากโรคนั้น ทั้ง2 เรื่องที่เล่ามานี้ ว่าเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นประถม

    พระอาจารย์ขวัญ วิสิฎโฐ เล่าว่า มาหญิงคนหนึ่ง ชื่อจัน ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดอ่างทอง คุ้นเคยสนิทสนมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่ยังเยาว์วัย ต่อมานางจันได้ย้ายมาประกอบอาชิพตั้งร้านค้าอยู่ทางแขวงจังหวัดนนทบุรี ภายหลังยากจนลงเพราะการค้าขาดทุนนางจันได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือถึงคุณวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จฯ วันหนึ่งจึงเข้าไปหาท่าน สนทนากันในตอนหนึ่ง นางจันกล่าวว่า "เวลานี้ดิฉันยากจนมาก" ท่านว่า "มาที่นี่ไม่จนหรอกแม่จัน" แล้วท่านหยิบพระประจำวันให้นางจันองค์หนึ่ง (จะเป็นพระประจำวันอะไรหาทราบไม่) บอกให้อาราธนาทำน้ำมนต์อธิษฐานตามปรารถนา และว่า "ถ้าแม่จันควยแล้วอย่ามาหาฉันอีกนะจ๊ะ" นางจันกราบเรียนถามว่า "เป็นยังไงล่ะเจ้าคะ?" ท่านตอบว่า "ฉันไม่ชอบคนรวย ฉันชอบคนจนจ้ะ" ว่านางจันได้พระมาแล้วทำตามที่ท่านบอก แต่นั้นการค้าก็เจริญขี้นโดยลำดับ ที่สุดนางจันก็ตั้งตัวได้เป็นหลักฐานผู้หนึ่งในถิ่นนั้น นางจันทีอายุอ่อนกว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ เรียกเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า "หลวงพี่" มีคนถามนางจันว่า "รวยแล้วทำไมจึงไม่ไปหาสมเด็จฯ อีกเล่า" นางจันตอบว่า "เพราะหลวงพี่โตสั่งไว้ว่า ถ้ารวยแล้วห้ามไม่ให้ไปหา หลวงพี่โตนี่แหละศักดิ์สิทธิ์นัก พูดคำไหนต้องเป็นคำนั้น"

    ร้อยเอกหลวงวิจารณ์พลฉกรรจ์ (แสวง ผลวัฒนะ) สัสดีจังหวัดกาญจนบุรี ว่า คราวหนึ่งไปราชการทหารที่ตำบลพนมทวนในจังหวัดนั้น กถูกคนร้ายลอบยิงหลายนัด แต่ไม่เป็นอันตราย ว่าเพราะมีพระสมเด็จที่บิดา ( นาย อาญาราช อิ่ม ซึ่งเมื่อบวชเป็นต้นกุฏิเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้ไว้)

    นายเปลื้อง แจ่มใส ว่าเมื่อยังรับราชการในกรมรถไฟ แผนกช่างเวลานั้นอายุราว 25 ปี คราวหนึ่งได้ขึ้นไปตรวจทางรถไฟสายเหนือซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จขณะยืนตรวจการอยู่ท้ายรถถึงที่แห่งหนึ่ง (ตำบลบ้านแม่ปิน จังหวัดแพร่) รถแล่นเข้าโค้ง พอนายเปลื้องประมาทตัวนายเปลื้องได้พลัดตกจากรถลงไปนอนอยู่ข้างทาง (เวลาตกนั้นรู้สึกตัวเบามาก) แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างใด เป็นเพียงเท้าขัดยอกบ้างเล็กน้อยเท่านั้น นายเปลื้องว่าที่ตัวไม่มีอะไรนอกจากพระสมเด็จ จึงเชื่อมั่นว่าที่ไม่เป็นอันตรายนั้นเป็นเพราะอานุภาพพระสมเด็จแน่นอน

    พระอาหรภัตรพิสิฐ (เล็ก อุณหนันท์) เล่าหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งหญิงลูกจ้างคนหนึ่งชื่อรูป เกิดโรคท้องเดินจงตัวซีด (เข้าใจว่าเป็นโรคอหิวาต์) ในเวลานั้นดึกมากราว 1.00 น. ไม่ทราบว่าจะไปหายาที่ไหน นึกขึ้นถึงพระสมเด็จที่มีอยู่ (เป็นพระชนิดปรกโพธิ์ใบ) คุณพระจึงอาราธนาทำน้ำมนต์ให้กินบ้าน เอาตบศีรษะบ้าง สักครู่หนึ่งก็นอนหลับ เมื่อตื่นขึ้นหญิงนั้นบอกว่า ได้ฝันว่า มีพระสงฆ์แก่องค์หนึ่งมาบอกว่า "ยังไม่ตาย" ว่าได้กินน้ำมนต์นั้นเรื่อย ๆ มา จนอาการโรคคลายหายเป้ปกติดี เรื่องหนึ่งว่าเมื่อภรรยาจะคลอดบุตรคนสุดท้อง เจ็บครรภ์อยู่จนถึง 3 วันก็ยังไม่คลอด คุรพระจึงจะธูปเทียนบูชาสักการะ อาราธนาพระสมเด็จลงแช่ในน้ำ ตั้งจิตอธิษฐานตามประสงค์ แล้วเอาน้ำนั้นให้กินบ้าง ตบศีรษะบ้าง ว่าไม่ช้านักก็คลอดอย่างง่ายตาย เรื่องหนึ่งว่า แขกที่พาหุรัดคนหนึ่ง ซึ่งชอบพอคุ้นเคยกับคุณพระบอกว่า ที่เขาได้ภรรยา 3 คนที่อยู่ด้วยกันในเวลานี้นั้น เพราะเขาเอาพระสมเด็จฝนให้กินทุกคน (ว่าพระนั้นเป็นพระสมเด็จกรุวัดใหม่บางขุนพรหม) อีกเรื่องหนึ่งว่า พระสมเด็จงูไม่ข้าม คราวหนึ่งมีงูเลื้อยมา คุณพระได้เอาพระเครื่องเหล่านั้น ทำดังนี้หลายครั้ง ปรากฏว่างูมิได้เลื่อยข้ามพระสมเด็จ แม้แต่เลื้อยเข้ามาใกล้ก็ไม่มี ส่วนพระเครื่องชนิดอื่น ๆ งูได้เลื้อยข้ามบ้าง เลื้อยเฉียดไปบ้าง คุณพระอาทรฯ เล่าต่อไปว่า ตัวคุณพระเองได้เคยฝ่าอันตรายมาหลายครั้ง แต่ก็ปลอดภัยทุกคราว และว่าน่าประหลาดอย่างหนึ่ง ที่คนกำลังทะเลาะวิวาทถึงจะทำร้ายกัน ถ้าเรามีพระสมเด็จอยู่กับตัวเข้าไปห้ามปราม คนเหล่านั้นจะเลิกทะเลาะต่างแยกย้ายกันไปทันที

    ได้ฟังเล่ากันอึกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสมเด็จแก้โรคอหิวาต์ จะเขียนแทรกลงไว้ตรงนี้ เมื่อปีระกา พ.ศ.2416 เกิดโรคอหิวาต์(โรคป่วง) ครั้งใหญ่ ผู้คนล้มตายกันมาก กล่าวในจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (เล่ม3) ดังนี้

    "ระกาความไข้ คนตายนับได้ เกือบใกล้สี่พัน เบาน้อยกว่าเก่า หาเท่าลดกันมะโรงก่อนนั้น แสนหนึ่งบัญชี เขาจดหมายไว้ในสมุดปูนมีมากกว่าดังนี้เป็นไป

    (เดือน 8 ข้างขึ้น)
    เกิดไข้ในวัดม้วย วันละคน
    ตั้งแต่สองค่ำดล หกเว้น
    ศิษย์พระวอดวายชนม์ ถึงสี่ เทียวนา
    บางพวกไกลโรคเร้น ชีพตั้ง ยังเหลือ

    จบเสร็จเผด็จสิ้น ปีระกา
    โรคป่วงเกิดมีมา ทั่วดาน
    น้ำน้อยไม่เข้านา เสียมาก เทียวแฮ
    ในทุ่งรวงข้าวม้าน ไค่กล้า นาเสีย"

    กล่าวกันว่า ในคราวนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชทานแจกสมเด็จ (ชนิดปรกเมล็ดโพธิ์ ที่เรียกกันว่า "สมเด็จเขียว") ว่าคนเป็นอันมากได้รอดตายเพราะพระสมเด็จนั้น จึงเกิดกิตติศัพท์เลื่องลือกันแพร่หลายสืบมา

    ขนาด หน้าตัก 5 นิ้ว บูชาองค์ละ 699 บาท
    3 องค์ 600 บาท/องค์ (คละได้)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • __1_~1.jpg
      __1_~1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.2 KB
      เปิดดู:
      168
    • P1010120.JPG
      P1010120.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      286
  8. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    รูปหล่อเหมือน เนื้อเรซิ่น
    หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี



    ประวัตหลวงพ่อทวด หลวงปู่ทวด

    เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วหัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือกันมาว่า ทุกๆ สมัย เกิดมีพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จ ๔ องค์ด้วยกัน คือ
    ๑. สมเด็จเจ้าเกาะยอ
    ๒. สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
    ๓. สมเด็จเจ้าจอมทอง
    ๔. สมเด็จเจ้าพะโคะ
    แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง ตามตำนานกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะองค์นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระราชมุณีสามีรามคุณูปมาจารย์"จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๕ บิดาชื่อตาหู มารดาชื่อนางจันทร์ มีอายุมากแล้วจึงคลอดบุตรเป็นชายชื่อเจ้าปู่ และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ (อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ในเวลานี้)
    ตาหู นางจันทร์ เป็นคนยากจนได้อาศัยอยู่กับคหบดีผู้หนึ่งซึ่งไม่ปรากฏนาม สองสามีภรรยาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟเนื่องจากการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ได้อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา เพื่อช่วยเก็บข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่พลอยอาศัย ครั้นถึงทุ่งนาได้เอาผ้าผูกกับต้นเหม้าและต้นหว้า ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กันให้ลูกนอน แล้วพากันลงนาเก็บเกี่ยวข้าวต่อไป ขณะที่สองผัวเมียกำลังเก็บเกี่ยวข้าวอยู่นั้น นางจันทร์ได้เป็นห่วงลูกและได้เหลียวมามองที่เปล ปรากฎว่ามีงูบองตัวโตกว่าปกติได้ขดตัวรวบรัดเปลที่เจ้าปู่นอน สองสามีภรรยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้นเพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียงก็รีบพากันวิ่งมาดู แต่ก็ไม่มีใครจะสามารถช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็นคนเข้าใกล้ก็ชูศรีษะสูงขึ้น ส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัวจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้เปลนั้นเลย
    ฝ่ายนายหูนางจันทร์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศลยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่ ปรากฏว่างูใหญ่ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่บุตรน้อยของตนเลยจึงเกิดความสงสัยว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตรบันดาล คิดดังนั้นแล้วก็พากันหาดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชาและกราบไหว้งูใหญ่พร้อมด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐานขอให้ลูกน้อยปลอดภัย ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปลอันตรธานหายไปทันที นายหูนางจันทร์และเพื่อนพากันเข้าไปดูทารกที่เปลปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับเป็นปกติอยู่ แต่มีแก้วดวงหนึ่งวางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ลูกกระเดือกแก้วดวงนั้นมีสีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสีสองสามีภรรยาจึงเก็บรักษาไว้ คหบดีเจ้าของบ้านทราบความจึงขอแก้วดวงนั้นไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตาหูนางจันทร์ก็จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้นเมื่อได้แก้วพยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้วต่อมาไม่นานก็เกิดวิปริตให้ความเจ็บไข้ได้ทุกข์แก่คหบดีจนไม่มีทางแก้ไขได้ จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้คงเป็นเพราะยึดดวงแก้วพยางูนั้นไว้จึงให้โทษและเกรงเหตุร้ายจะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภรรยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้นปรากฏว่าเจ้าของบ้านก็มีความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหาเลี้ยงชีพก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
    เมื่อกาลล่วงมานานจนเจ้าปู่อายุ ๗ ปี บิดามารดาได้นำไปถวายสมภารจวงให้เรียนหนังสือ ณ วัดดีหลวง เด็กชายปู่ศึกษาเล่าเรียนมีความเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าเพื่อนคนใด ๆ เมื่อเด็กชายปู่มีอายุ ๑๕ ปี สมภารจวงผู้เป็นอาจารย์ได้บวชให้เป็นสามเณร ต่อมาท่านอาจารย์ได้นำไปฝากท่ารพระครูสัทธรรมรังสีให้เรียนหนังสือมูลกัจจายน์ ณ วัดสีหยัง (วัดสีคูยัง อ.ระโนด เวลานี้)
    สามเณรปู่เรียนมูลกัจจายน์อยู่กับท่านพระครูสัทธรรมรังสี ซึ่งคณะสงฆ์ส่งท่านมาจากกรุงศรีอยุธยาให้เป็นครูสอนวิชามูล ฯ ทางหัวเมืองฝ่ายใต้ ในสมัยนั้นมีพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนกันมากสามเณรปู่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดส่อนิสัยปราชญ์มาแต่กำเนิด ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชามูล ฯ อยู่ไม่นานก็สำเร็จเป็นที่ชื่นชมของอาจารย์เป็นอย่างมาก เมื่อสามเณรปู่เรียนจบวิชามูล ฯ แล้วได้กราบลาพระอาจารย์ไปเรียนต่อยังสำนักพระครูกาเดิม ณ วัดสีเมือง เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อครบอายุบวชพระครูกาเดิมผู้เป็นอาจารย์จัดการอุปสมบทให้เป็นภิกษุในพุทธศาสนา ทำญัติอุปสมบทให้ฉายาว่า "สามีราโม" ณ สถานที่คลองแห่งหนึ่งโดยเอาเรือ ๔ ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพทำญัติ ต่อมาคลองแห่งนั้นมีชื่อเรียกกันว่าคลองท่าแพจนบัดนี้
    พระภิกษุปู่เรียนธรรมอยู่สำนักพระครูกาเดิม ๓ ปี ก็เรียนจบชั้นธรรมบทบริบูรณ์พระภิกษุปู่ได้กราบลาพระครูกาเดิมจากวัดสีมาเมืองกลับภูมิลำเนาเดิม ต่อมาได้ขอโดยสารเรือสำเภาของนายอินทร์ลงเรือที่ท่าเมืองจะทิ้งพระจะไปกรุงศรีอยุธยาพระนครหลวงเพื่อศึกษาเล่าเรียนธรรมเพิ่มเติมอีกเรือสำเภาใช้ใบแล่นถึงเมืองนครศรีธรรมราช นายอินทร์เจ้าของเรือได้นิมนต์ขึ้นบกไปนมัสการพระบรมธาตุตามประเพณีชาวเรือเดินทางไกลซึ่งได้ปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ๆ เพื่อขอความสวัสดีต่อการเดินทางทางทะเลแล้วพากันลงเรือสำเภาที่คลองท่าแพ เรือสำเภาใช้ใบสู่ทะเลหลวงเรียบร้อยตลอดมาเป็นระยะทาง ๓ วัน ๓ คืน วันหนึ่งท้องทะเลฟ้าวิปริตเกิดพายุ ฝนตกมืดฟ้ามัวดินคลื่นคนองเป็นคลั่งเรือจะแล่นต่อไปไม่ได้จึงลดใบทอดสมอสู้คลื่นลมอยู่ถึง ๓ วัน ๓ คืน จนพายุสงบเงียบลงเป็นปกติ แต่เหตุการณืบนเรือสำเภาเกิดความเดือดร้อนมากเรพาะน้ำจืดที่ลำเลียงมาหมดลง คนเรือไม่มีน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารนายอินทร์เจ้าของเรือเป็นเดือดเป็นแค้นในเหตุการณ์ครั้งนั้นหาว่าเป็นเพราะพระภิกษุปู่พลอยอาศัยมาจึงทำให้เกิดเหตุร้ายซึ่งตนไม่เคยประสบเช่นนี้มาแต่ก่อนเลย ผู้บันดาลโทสะย่อมไม่รู้จักผิดชอบฉันใดนายเรือคนนี้ก็ฉันนั้น เขาจึงได้ไล่ให้พระภิกษุปู่ลงเรือใช้ให้ลูกเรือนำไปขึ้นฝั่งหมายจะปล่อยให้ท่านไปตามยะถากรรม ขณะที่พระภิกษุปู่ลงนั่งอยู่ในเรือเล็กท่านได้ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำทะเลแล้วบอกให้ลูกเรือคนนั้นตักน้ำขึ้นดื่มกินดู ปรากฏว่าน้ำทะเลที่เค็มจัดตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำที่มีรสจืดสนิท ลูกเรือคนนั้นจึงบอกขึ้นไปบนเรือใหญ่ให้เพื่อนทราบพวกกะลาสีบนเรือใหญ่จึงพากันตักน้ำทะเลตรงนั้นขึ้นไปดื่มแก้กระหาย พากันอัศจรรย์ในอภินิหารของพระภิกษุหนุ่มยิ่งนัก ความทราบถึงนายอินทร์เจ้าของเรือจึงได้ดื่มน้ำพิสูจน์ดูปรากฏว่าน้ำทะเลที่จืดนั้นมีบริเวณอยู่จำกัดเป็นวงกลมประมาณเท่าล้อเกวียนนอกนั้นเป็นน้ำเค็มตามธรรมชาติของทะเลจึงสั่งให้ลูกเรือตักน้ำในบริเวณนั้นขึ้นบรรจุภาชนะไว้บนเรือจนเต็ม นายอินทร์และลูกเรือได้ประจักษ์ในอภินิหารของท่านเป็นที่อัศจรรย์เช่นนั้นก็เกิดความหวาดวิตกภัยภิบัติที่ตนได้กระทำไว้ต่อท่านจึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้นบนเรือใหญ่แล้วพากันการบไหว้ขอขมาโทษตามที่ตนได้กล่าวคำหยาบต่อท่านมาแล้วและถอนสมอใช้ใบแล่นเรือต่อไปเป็นเวลาหลายวันหลายคืนโดยเรียบร้อย
    ขณะเรือสำเภาถึงกรุงศรีอยุธยาเข้าจอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้วนายอินทร์ได้นิมนต์ท่านให้เข้าไปในเมืองแต่ท่านไม่ยอมเข้าเมือง ท่านปรารถนาจะอยู่ ณ วัดนอกเมืองเพราะเห็นว่าเป็นที่เงียบสงบดีและได้ไปอาศัยอยู่ ณ วัดราชานุวาส ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองขณะนั้นพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา
    ในสมัยนั้นประเทศลังกาอันมีพระเจ้าวัฏฏะคามินีครองราชเป็นเจ้าแผ่นดินมีพระประสงค์จะได้กรุงศรีอยุธยาไว้ใต้พระบรมเดชานุภาพ แต่พระองค์ไม่มีประสงค์จะก่อสงครามให้เกิดการรบราฆ่าฟันและกันให้ประชาชนข้าแผ่นดินเดือดร้อนจึงมีนโยบายอย่างหนึ่งที่สามารถจะเอาชนะประเทศอื่นโดยการท้าพนัน พระองค์จึงตรัสสั่งให้พนักงานพระคลังเบิกจ่ายทองคำในท้องพระคลังหลวงมอบให้แก่นายช่างทองไปจัดการหลอมหล่อเป็นตัวอักษรเท่าใบมะขามจำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด แล้วมอบให้แก่พราหนณ์ผู้เฒ่า ๗ คน พร้อมด้วยข้าวของอันมีค่าบรรทุกลงเรือสำเภา ๗ ลำ พร้อมด้วยพระราชสาส์นให้แก่พราหมณ์ทั้ง ๗ นำลงเรือสำเภาใช้ใบแล่นไปยังกรุศรีอยุธยา เมื่อเรือสำเภาจอดท่ากรุศรีอยุธยาเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ทั้ง ๗ ได้พากันเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาและถวายสาส์น
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงไทยทรงอ่านพระราชสาส์นความว่า พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าพระเจ้ากรุงไทยให้ทรงแปลพระธรรมในเมล็ดทองคำและเรียบเรียงลำดับให้เสร์จภายใน ๗ วัน ถ้าแปลแและเรียบเรียงได้ทันกำหนดพระเจ้ากรุงลังกาขอภวายข้าวของอันมีค่าทั้ง ๗ ลำเรือสำเภาเป็นบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงไทย แต่ถ้าพระเจ้ากรุงไทยแปลเรียงเมล็ดทองคำไม่ได้ตามกำหนดให้พระเจ้ากรุงไทยจัดการถวายดอกไม้เงินและทองส่งเป็นราชบรรณาการแก่กรุงลังกาทุก ๆ ปีตลอดไป
    เมื่อพระองค์ทรงทราบพระราชสาส์นอันมีข้อความดังนั้น จึงทรงจัดสั่งนายศรีธนญชัยสังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศให้เข้ามาแปลธรรมในพระมหานครทันกำหนด เมื่อประกาศไปแล้ว ๖ วัน ก็ไม่มีใครสามารถแปลเรียบเรียงเมล็ดทองคำนั้นได้ พระองค์ทรงปริวิตกยิ่งนักและในคืนวันนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่ามีพระยาช้างเผือกผู้มาจากทิศตะวันตกขึ้นยืนอยู่บนพระแท่นในพระบรมมหาราชวังได้เปล่งเสียงร้องก้องดังได้ยินไปทั่วทั้งสี่ทิศ ทรงตกพระทัยตื่นบรรทมในยามนั้นและทรงพระปริวิตกในพระสุบินนิมิตเกรงว่าประเทศชาติจะเสียอธิปไตยและเสื่อมเสียพระบรมเดชานุภาพทรงพระวิตกกังวลไม่เป์นอันบรรทมจนรุ่งสาง
    เมื่อได้เสด็จออกยังท้องพระโรงสั่งให้โหรหลวงเข้าเฝ้าโดยด่วนและทรงเล่าสุบินนิมิตให้โหรหลวงทำนายเพื่อจะได้ทรงทราบว่าร้ายดีประการใด เมื่อโหรหลวงทั้งคณะได้พิจารณาดูยามในพระสุบินนิมิตนั้นละเอียดถี่ถ้วนดีแล้ว ก็พร้อมกันกราบถวายบังคมทูลว่าตามพระสุบินนิมิตนี้จะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมาจากทิศตะวันตกอาสาเรียงและแปลพระธรรมได้สำเร็จ พระบรมเดชานุภาพของพระองค์จะยั่งยืนแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสี่ทิศเมื่อพระองค์ทรงทราบแล้วก็คลายพระปริวิตกลงได้บ้าง
    ด้วยเดชะบุญบันดาลในเช้าวันนั้นบังเอิญศรีธนญชัยไปพบพระภิกษุปู่ที่วัดราชานุวาส ได้สนทนาปราศรัยกันแล้วก็ทราบว่าท่านมาจากเมืองตะลุง ( พัทลุงเวลานี้ ) เพื่อศึกษาธรรม ศรีธนญชัยเล่าเรื่องกรุงลังกาท้าพนันให้แปลธรรม แล้วถามว่าท่านยังจะช่วยแปลได้หรือ พระภิกษุปู่ตอบว่าถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ ศรีธนญชัยจึงนิมนต์ท่านเข้าเฝ้า ณ ที่ประชุมสงฆ์ ขณะที่พระภิกษุปู่ถึงประตูหน้าวิหาร ท่านย่างก้าวขึ้นไปยืนเหยียบบนก้อนหินศิลาแลง ทันทีนั้นศิลาแลงได้หักออกเป็นสองท่อนด้วยอำนาจอภินิหารเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก เมื่อเข้าไปในพระวิหารพระทหากษัตริย์ตรัสสั่งพนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันสมควร แต่ก่อนที่ท่านจะเข้านั่งที่แปลพระธรรมนั้นท่านได้แสดงกิริยาอาการเป็นปัญหาธรรมต่อหน้าพราหมณ์ทั้ง ๗ กล่าวคือ ท่าแรกท่านนอนลงในท่าสีหะไสยาสน์ แล้วลุกขึ้นนั่งทรงกายตรงแล้วกะเถิบไปข้างหน้า ๕ ที แล้วลุกขึ้นเดินเข้าไปนั่งในที่อันสมควร พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้ง ๗ เห็นท่านแสดงกิริยาเช่นนั้นเป็นการขบขันก็พากันหัวเราะและพูดว่า นี่หรือพระภิกษุที่จะแปลธรรมของพระบรมศาสดา อะไรจึงแสดงกิริยาอย่างเด็กไร้เดียงสา พราหมณ์พูดดูหมิ่นท่านหลายครั้ง ท่านจึงหัวเราะ แล้วถามพรามณ์ว่า ประเทศชาติบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ท่านไม่เคยพบเห็นกิริยาเช่นนี้บ้างหรือ ? พราหมณ์เฒ่าฉงนใจก็นิ่งอยู่ ต่างนำบาตรใส่เมล็ดทองคำเข้าประเคนท่านทันที
    เมื่อพระภิกษุปู่รับประเคนบาตรจากมือพราหมณ์มาแล้วท่านก็นั่งสงบจิตอธิษฐานแต่ในใจว่า ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาอันรักษาพระนครตลอดถึงเทวาอารักษ์ศักดิ์สิทธ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบัลดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่มาขัดขวางขอให้แปลพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์สำเร็จสมปรารถนาเถิด ครั้นแล้วท่านคว่ำบาตเททองเรี่ยราดลงบนพรมและนั่งคุยกับพราหมณ์ตามปกติ
    ด้วยอำนาจบารมีอภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนาประกอบกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เทพยดาทั้งหลายจึงดลบันดาลเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับตัวอักษรโดยเรียบร้อยใน้วลานั้น ชั่วครู่นั้นท่านก็ได้เหลียวกลับมาลงมือเรียบเรียงและแปลอักษรในเมล็ดทองคำจำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด เป็นลำดับโดยสะดวกและไม่ติดขัดประการใดเลย นับว่าโชคชะตาของประเทศชาติยังคงรุ่งเรืองสืบไป
    ขณะที่พระภิกษุปู่เรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้วปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไป ๗ ตัว คือตัว สํ วิ ทา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์พราหมณ์ทั้ง ๗ คนยอมจำนน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้แก่ท่านโดยดี ปรากฏว่าพระภิกษุปู่แปลพระไตรปิฎกในเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์ เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้นและทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงปี่พาทย์ประโคมพร้อมเสียงประชาชนโห่ร้องต้อนรับชัยชนะเสียงดังสนั่นหวั่นไหวทั่วพระนครศรีอยุธยาเป็นการฉลองชัย
    สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่งจึงตรัสสั่งถวายราชสมบัติให้พระภิกษุปู่ครอง ๗ วัน แต่ท่านไม่ยอมรับโดยไห้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณเพศไม่สมควรที่จะครองราชสมบัติอันผิดกิจของสมณควรประพฤติ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าทรงแต่งตั้งให้พระภิกษุปู่ดำรงสมณศักดิ์ ทรงพระราชทานนามว่า "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น
    พระภิกษุปู่หรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นเวลาหลายปีด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลนานมาปีหนึ่งในพระมหานครศรีอยุธยาเกิดโรคระบาดขึ้นร้ายแรง เช่น อหิวาตกโรค
    ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่งนักสมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มีนิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมาก เพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้และทรงระลึกถึงพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ขึ้นได้จึงตรัสสั่งให้ศรีธนญชัยไปนิมนต์ท่านมาเข้าเฝ้าทรงปรารภในเรื่องทุกข์ร้อนของพลเมืองที่ได้รับทุกข์ยุกเข็ญด้วยโรคระบาดอยู่ในขณะนี้ ท่านจึงทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปพรมให้แก่ประชาชนทั่วพระนคร ปรากฏว่าโรคระบาดได้ทุเลาเหือดหายไปในไม่ช้าประชาชนได้รับความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา ในหลวงทรงพระปรีดาปราโมทย์เป็นอันมาก ทรงเคารพเลื่อมใสในองค์ท่านอย่างยิ่ง วันหนึ่งได้ทรงตรัสปรารภกับท่านว่า ต่อไปนี้หากพระคุณเจ้ามีความปรารถนาสิ่งอันใดขอนิมนต์ให้ทราบความปรารถนานั้น ๆ จะทรงพระราชทานถวาย ขอพระคุณเจ้าอย่าได้เกรงพระทัยเลย
    การล่วงมานานประมาณว่า พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์มีวัยชราแล้ว วันหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงเกรงใจท่านไม่กล้านิมนต์ขอร้องแต่อย่างใด ได้พระราชทานอนุญาตตามความปรารถนาของท่าน เมื่อพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์กลับภูมิลำเนาเดิมแล้วครั้งนั้ยปรากฏมีหลักฐานว่าไว้ว่าท่านเดินกลับทางบกธุดงค์โปรดสัตว์เรื่อยมาเป็นเวลาช้านาน จนถึงวัดพระสิงห์บรรพตพะโคะตามแนวทางเดินที่ท่านเดินและพักแรมที่ใดต่อมาภายหลังสถานที่ที่ท่านพักแรมนั้นเกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพบูชามาถึงบัดนี้ คือปรากฏว่าขณะที่ท่านพักแรมอยู่ที่บ้านโกฏิในอำเภอปากพนัง เมื่อท่านเดินทางจากไปแล้วภายหลังประชาชนยังมีความเคารพเลื่อมใส่ท่านอยู่มากจึงได้ชักชวนกันขุดดินพูนขึ้นเป็นเนินตรงกับที่ท่านพักแรมไว้เป็นที่ระลึก รอบ ๆ เนินดินนั้นจึงเป็นคูน้ำล้อมรอบเนินและสถานที่แห่งนี้ต่อมาก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จนถึงบัดนี้
    เมื่อท่านเดินทางมาถึงหัวลำภูใหญ่ในอำเภอหัวไทรในเวลานี้เป็นสถานที่ที่มีหาดทรายขาวสะอาดต้นลำภูแผ่กิ่งก้านสาขาร่มรื่นเย็นสบาย ท่านจึงอาศัยพักแรมอยู่ใต้ต้นลำภูนั้น ทำสมาธิวิปัสสนา ประชาชนในถิ่นนั้นได้พร้อมใจกันมากราบไหว้บูชาและฟังท่านแสดงธรรมอันเป็นหลักควรปฏิบัติของพระพุทธศาสนา ต่อมาประชาชนเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาแรงกล้าจึงพร้อมใจกันสร้างศาลาถวายขึ้นหนึ่งหลังและท่านได้จากสถานที่นี้ไปนี้ต่อมาภายหลังไม่นานศาลาหลังนี้เกิดเป็นศาลาศักดิ์สิทธิ์ประชาชนชาวบ้านถิ่นนั้นและใกล้เคียงจึงชักชวนกันมาทำพิธีสมโภชศาลาศักดิ์สิทธิ์หลังนั้นเป็นการระลึกถึงท่านถือเอาวันพฤหัสบดีเป็นวันพิธีชักชวนกันทำขนมโคมาบวงสรวงสมโภชทุกๆ วันพฤหัสฯ เป็นประจำจนเป็นประเพณีมาจนกระทั่งบัดนี้
    เมื่อท่านจากหัวลำภูใหญ่เดินทางมาถึงบางค้อนท่านได้หยุดพักแรมพอหายเมื่อยล้าแล้วก็เดินทางต่อไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ หลังจากที่ท่านจากไปแล้วสถานที่บางค้อนก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปรากฏมาจนบัดนี้
    พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือพระภิกษุปู่กลับถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ ครั้งนี้ประชาชนชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ ประชาชนได้พร้อมใจกันขนานนามท่านขึ้นใหม่เรียกกันว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" ตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้ต่อมาวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะอันเป็นชื่อเดิมก็ถูกเรียกย่อ ๆ เสียใหม่ว่า "วัดพะโคะ"จนกระทั่งบัดนี้
    ตามตำนานกล่าวไว้ว่า วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะนี้มีพระอรหันต์ ๓ องค์ เป็นผู้สร้างขึ้น คือ
    ๑. พระนาไรมุ้ย
    ๒. พระมหาอโนมทัสสี
    ๓. พระธรรมกาวา
    ต่อมาพระมหาอโนมทัสสีได้เดินทางไปประเทศอินเดียอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระบรมศาสลับมา พระยาธรรมรังคัลเจ้าเมือง "จะทิ้งพระ" ในสมัยนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธา จัดการก่อสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่สูงถึง ๒๐ วา ขึ้นถวายแล้วทำพิธีสมโภชบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในเจดีย์องค์นั้นและคงมีปรากฏอยู่จนบัดนี้
    ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้หยุดพักผ่อนนานพอสมควร ท่านได้ตรวจดูเห็นปูชนียสถานและกุฏิวิหารเก่าแก่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมากควรจะบูรณะซ่อมแซมเสียใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาอีกวาระหนึ่ง (ในตำนานมิได้กล่าวไว้ว่าท่านไปทางบกหรือไปทางน้ำ) เมื่อได้สนทนาถามสุขทุกข์กันแล้ว ท่านก็ทูลถวายพระพรพระองค์ตามความปรารถนาที่จะบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดให้พระองค์ทรงทราบ ครั้นได้ทราบจุดประสงค์ก็ทรงศรัทธาเลื่อมใสร่วมอนุโมทนาด้วย จึงตรัสสั่งให้พระเอกาทศรถพระเจ้าลูกยาเธอ จัดการเบิกเงินในท้องพระคลังหลวงมอบถวาย และจัดหาศิลาแลงบรรทุกเรือสำเภา ๗ ลำ พร้อมด้วยนายช่างหลวงหลายนาย มอบหมายให้ท่านนำกลับไปดำเนินงานตามความปรารถนาปรากฏว่าท่านได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและปลูกสร้าง (วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ) อยู่หลายปีจึงสำเร็จบริบูรณ์
    สมเด็จพระเจ้าพะโคะ เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชายังกรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่งปรากฏว่าพระองค์ทรงเลื่อมใสเคารพต่อท่านเป็นยิ่งนัก ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระทานที่ดินนาถวายแก่ท่านเป็นกัลปนา ขึ้นแก่วัดพัทสิงห์บรรพตพะโคะ จำนวน ๙๐ ฟ้อน พร้อมด้วยประชาราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตที่ดินนั้น มีอาณาเขตติดต่อ โดยถือเอาวัดพัทธสีห์บรรพตพะโคะเป็นศูนย์กลางดังนี้
    ๑. ทางทิศเหนือ ตั้งแต่แหลมชุมพุกเข้ามา
    ๒. ทางทิศใต้ ตั้งแต่แหลมสนเข้ามา
    ๓. ทางทิศตะวันออก จดทะเลจีนเข้ามา
    ๔. ทางทิศตะวันตก จดทะเลสาบเข้ามา
    ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะกลับจากกรุงศรีอยุธยาได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ
    ครั้งนี้คาดคะเนว่าท่านมีอายุกาลถึง ๘๐ ปีเศษอยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์ประจำตัว ไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น ๓ คด ชาวบ้านเรียกว่าไม้เท้า ๓ คด ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังฝั่งทะเลจีน และขณะที่ท่านเดินเล่นรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลี่ยบชายฝั่งมา พวกโจรสลัดจีนเห็นสมเด็จเดินอยู่ คิดเห็นว่าเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเข้าขึ้นฝัง นำเอาท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือเรือลำนั้นจะแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนได้พยายามแก้ไขจนหมดความสามารถ เรือก็ยังไม่เคลื่อนจึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั่นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ที่สุดน้ำจืดที่ลำเลียงมาบริโภคในเรือก็ได้หมดสิ้นจึงขาดน้ำดื่มและหุงต้มอาหาร พากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยการกระหายน้ำเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จท่านสังเกตเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกเรือถึงขั้นที่สุดแล้วท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล ทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกจีนไปเมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากผิวน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรจีนตักน้ำตรงนั้นขึ้นมาดื่มชิมดู พวกจีนแม้ไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรสลัดจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้นก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก้พวกเขาต่อไปจึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วพาท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
    เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะขึ้นจากเรือเดินกลับวัดถึงที่แห่งหนึ่ง ท่านหยุดพักเหนื่อยได้เอาไม้เท้า ๓ คด พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้นลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนสภาพจากเดิมกลับคด ๆ งอ ๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่า ต้นยางไม้เท้า ยังมีปรากฏอยู่ถึงเวลานี้
    สมเด็จพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ครองสมณเพศจำพรรษาอยู่วัดพะโคะเป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนได้ตลอดมา
    ตอนนี้ได้รับความกรุณาจากพระอุปัชฌาย์ดำ ติสฺสโร สำนักวัดศิลาลอย อำเภอจะทิ้งพระเป็นผู้เล่าตามนิยายต่อกันมา โดยท่านพระครูวิริยานุรักษ์ วัดตานีสโมสรเป็นผู้บันทึกความดังต่อไปนี้
    ในสมัยสมเด็จเจ้าพะโคะพำนักอยู่วัดพะโคะครั้งนั้นยังมีสามเณรน้อยรูปหนึ่งเข้าใจว่าคงอาศัยอยู่วัดใดวัดหนึ่งในท้องที่อำเภอหาดใหญ่เวลานี้ สามเณรรูปนี้ได้บวชมาแต่อายุน้อย ๆ ได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมีความขยันหมั่นเพียรก่อแต่การกุศลในพระพุทธศาสนาและตั้งจิตอธิษฐานจะขอพบพระศรีอริยะอย่างแรงกล้า อยู่มาคืนหนึ่งมีคนแก่ถือดอกไม้เดินเข้ามาหาแล้วประเคนดอกไม้ส่งให้แล้วบอกว่า นี่เป็นดอกไม้ทิพย์ไม่รู้จักร่วงโรยพร้อยกับกล่าวว่า พระศรีอริยะโพธิสัตว์นั้นขณะนี้ได้จุติลงมาเกิดในเมืองมนุษย์เพื่อโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนาสามเณรเจ้าจงถือดอกไม้ทิพย์นี้ออกค้นหาเถิดหากผู้ใดรู้จักกำเนิดของดอกไม้แล้วผู้นั้นแหละเป็นพระศรีอริยะที่จุติมา เจ้าจงพยายามเที่ยวค้นหาคงจะพบเมื่อกล่าวจบแล้วคนแก่นั้นก็อันตรธานหายไปทันที
    สมาเณรน้อยมีความปิติยินดีเป็นยิ่งนักวันรุ่งเช้าจึงกราบลาสมภารเจ้าอาวาสถือดอกไม้ทิพย์เดินออกจากวัดไป สามเณรเดินทางตรากตรำลำบากไปทั่วทุกหนทุกแห่งก็ไม่มีใครทักถามถึงดอกไม้ทิพย์ที่ตนถืออยู่นั้นเลยแต่สามเณรก็พยายามอดทนต่อความเหนื่อยยากต้องตากแดดกรำฝนไปเป็นเวลาช้านาน วันหนึ่งต่อมาสามเณรน้อยเดินทางเข้าเขตวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะในเวลาใกล้จะมืดค่ำเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระจันทร์เต็มดวงส่องรัศมีจ้าไปทั่วท้องฟ้าและเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ลงทำสังฆกรรมในอุโบสถ สามเณรถือดอกไม้ทิพย์เดินเข้าไปยืนถือดอกไม้ทิพย์อยู่ริมอุโบสถรอคอยพระสงฆ์ที่จะลงมาอุโบสถ พอถึงเวลาพระภิกษุทั้งหลายก็เดินทะยอยกันเข้าอุโบสถผ่านหน้าสามเณรไปจนหมดไม่มีพระภิกษุองค์ใดทักสามเณรเลย เมื่อพระสงฆ์เข้านั่งในอุโบสถเรียบร้อยแล้วสามเณรจึงเดินเข้าไปนมัสการถามพระสงฆ์เหล่านั้นว่า วันนี้พระมาลงอุโบสถหมดแล้วหรือ พระภิกษุตอบว่า ยังมีสมเด็จอยู่อีกองค์วันนี้ไม่มาลงอุโบสถ สามเณรทราบดังนั้นก็กราบลาพระสงฆ์เหล่านั้นเดินออกจากอุโบสถมุ่งตรงไปยังกุฏิของสมเด็จเจ้าฯ ทันที
    ครั้นถึงสามเณรก็คลานเข้าไปใกล้ก้มกราบนมัสการท่านอยู่ตรงหน้าสมเด็จเจ้าฯ สมเด็จเจ้าฯ ได้ประสพดอกไม้ในมือสามเณรถืออยู่ จึงถามสามเณรว่า นั่นดอกไม้ทิพย์เป็นดอกไม้เมืองสวรรค์ผู้ใดให้เจ้ามา สามเณรรู้แจ้งใจตามที่นิมิตจึงคลานเข้าไปก้มลงกราบที่ฝ่าเท้าแล้วประเคนดอกไม้ทิพย์นั้นแก่สมเด็จเจ้าฯ ทันที เมื่อสมเด็จเจ้าฯ รับประเคนดอกไม้ทิพย์จาดสามเณรน้อยแล้วท่านได้สงบอารมณ์อยู่ชั่วครู่มิได้พูดจาประการใด แล้วลุกขึ้นเรียกสามเณรเดินตรงเข้าไปในกุฏิปิดประตูลงกลอนและเงียบหายไปในคืนนั้น มิได้มีร่องรอยแต่อย่างใดเหลือไว้ให้พิสูจน์จนเวลาล่วงเลยมาบัดนี้ประมาณสามร้อยปีเศษแล้ว
    การหายตัวไปของสมเด็จเจ้าพะโคะครั้งนั้นประชาชนเล่าลือกันว่าท่านได้สำเร็จสู่สวรรค์ไปเสียแล้วด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารท่านแรงกล้า ตามที่กล่าวลือกันเช่นนี้เพราะมีเหตุอัศจรรย์ปรากฏขึ้นในคืนนั้นว่าบนอากาศบริเวณวัดพะโคะ ได้มีดวงไฟโตขนาดเท่าดวงไต้ส่องรัศมีต่าง ๆ เป็นปริมณฑลดังพระจันทร์ทรงกลดลอยวนเวียนรอบบริเวณวัดพะโคะส่องรัศมีจ้าไปทั่วบริเวณวัดเมื่อดวงไฟดวงนั้นลอยวนเวียนอยู่ครบสามรอบแล้วลอยเคลื่อนไปทางทิศอาคเนย์เงียบหายมาจนกระทั่งบัดนี้
    วันรุ่งเช้าประชาชนมาร่วมประชุมกันที่วัดและต่างคนต่างก็เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าฯ ท่านสำเร็จสู่สวรรค์ไปจึงได้พากันพนมมือขึ้นเหนือศรีษะพร้อมกับเปล่งเสียงว่าสมเด็จเจ้าพะโคะโล่ไปเสียแล้วเจ้าข้าเอย เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฯ ท่านได้ทิ้งของสำคัญไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตลอดมาคือ
    ๑. ดวงแก้วที่พระยางูใหญ่ให้ครั้งเป็นทารกอยู่ในเปล ๑ ดวง และสมภารทุกๆ องค์ของวัดพะโคะได้ เก็บรักษาไว้จนถึงบัดนี้ปรากฏว่า แก้วดวงนี้ไม่มีใครกล้านำออกจากบริเวณวัดพะโคะเพราะเกรงจะเกิดภัย
    ๒. ก่อนที่สมเด็จเจ้าฯ จะโล่หายไปปรากฏว่าท่านได้ขึ้นไปทำสมาธิอยู่บนชะง่อนผาภูเขาบาท ได้เอาเท้าซ้ายเหยียบลงบนลาดผาลึกเป็นรอยเท้าเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนมาจนกระทั่งบัดนี้ (ท่านพระครูวิสัยโสภณวัดช้างให้ได้ไปนมัสการมาแล้ว)
    สมัยที่สมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะ ตำบลชุมพล อำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งปรากฏตัวขึ้นที่เมืองรัฐไทรบุรีเวลานี้พระภิกษุรูปนี้เป็นปราชญ์ทางธรรมและเชี่ยวชาญทางอิทธิอภินิหารเป็นยอดเยี่ยมชาวเมืองไทรบุรีมีความเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่งสมัยนั้นคนมลายูในเมืองไทรบุรีนับถือศาสนาพุทธ ต่อมาท่านก็ได้เป็นสมภารเจ้าวัดแห่งหนึ่งในสมัยนั้น
    มีเรื่องชวนคิดอยู่ว่า พระภิกษุชรารูปนี้ไม่มีประชาชนคนใดจะทราบได้ว่า ท่านชื่ออย่างไร ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ไหน ก็ไม่มีใครซักถาม จึงพากันขนานนาม เรียกกันว่า " ท่าน ลังกาองค์ดำ " ท่านปกครองวัดด้วยอำนาจธรรมและอภินิหารอย่างยอดเยี่ยม เป็นที่พึ่งทางธรรมปฏิบัติและการเจ็บไข้ได้ทุกข์ของประชาชน ด้วยความเมตตาธรรม ประชาชนเพิ่มความเคารพเลื่อมใสท่านตลอดถึงพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรีสมัยนั้น และท่านมีความสุขตลอดมา ( ท่านลังกาองค์นี้จะเป็นเจ้าพะโคะใช่หรือไม่ ขอให้อ่านต่อไป )
    เมื่อข้าพเจ้าผู้เขียนยังหนุ่มๆ หรือประมาณ ๔๕ ปีมาแล้ว ได้อ่านหนังสือตำนานเมืองปัตตานี ซึ่งรวบรวมโดยคุณพระศรีบุรีรัฐ ( สิทธิ์ ณ สงขลา ) นายอำเภอชั้นลายครามของอำเภอยะหริ่ง เรียบเรียง มีข้อความตอนหนึ่งว่าสมัยนั้นพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรีปรารถนาจะหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมืองให้ เจ๊ะสิตีน้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดินป่าหรือเรียกว่าช้างอุปการ เพื่อหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง ( ที่วัดช้างให้เวลานี้ ) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น ๓ ครั้งพระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตที่ดีจะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ พี่ชายก็อธิฐานให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป ได้เดินรอนแรมหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวาร น้องสาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง วิ่งผ่านหน้านางไปนางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ลอมจับกระจงตัวนั้น ได้วิ่งวกไปเวียนมาบนหาดทรายอันขาวสะอาดริมทะเล ( ที่ตำบล กือเซะเวลานี้ ) ทันใดนั้น กระจงก็ได้อันตรธานหายไป นางเจ๊ะสิตีรู้สึกชอบที่ตรงนี้มาก จึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้
    เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว และมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า เมืองปะตานี ( ปัตตานี ) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก ก็รู้สึกเสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า วัดช้างให้มาจนบัดนี้ ต่อมาพระยาแก้มดำ ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้แก่ท่านลังกาครอบครองอีกวัดหนึ่ง
    พระภิกษุชราองค์นี้ท่านอยู่เมืองไทรบุรีเขาเรียกว่าท่านลังกาเมื่อท่านมาอยู่วัดช้างให้ชาวบ้านเรียกว่าท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา ขณะที่ท่านลังกาพำนักอยู่ที่วัดในเมืองไทรบุรีวันหนึ่งอุบาสก อุบาสิกา และลูกศิษย์อยู่พร้อมหน้าท่านได้พูดขึ้นในกลางชุมนุมนั้นว่า ถ้าท่านมรณภาพเมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วยและขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเน่าไหลลงสู่พื้นดินที่ตรงนั้นจงเอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่มาไม่นานท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราคณะศิษย์ผู้เคารพในตัวท่านก็ได้จัดการตามที่ท่านสั่งโดยพร้อมเพรียงกันเมื่อทำการฌาปณกิจศพท่านเรียบร้อยแล้วคณะศิษย์ผู้ไปส่งได้ขอแบ่งเอาอัฐิของท่านแต่ส่วนน้อยนำกลับไปทำสถูปที่วัด ณ เมืองไทรบุรีไว้เป็นที่เคารพบูชาตลอดจนบัดนี้สมเด็จเจ้าพะโคะกับท่านช้างให้หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดนี้สมัยท่านยังมีชีวิตมีชื่อที่ใช้เรียกท่านหลายชื่อเช่น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ท่านลังกา และท่านช้างให้ แต่เมื่อท่านมรณภาพแล้วเรียกเขื่อนหรือสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิของท่านว่า "เขื่อนท่านช้างให้" แต่ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีการสร้างพระเครื่องต่างองค์ท่านให้ชื่อว่า ท่านช้างให้ แต่ท่านไม่เอาท่านบอกให้ชื่อว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ดังมีเรื่องกล่าวต่อไปนี้
    ๑. ก่อนที่เขื่อนหรือสถูปจะปรากฏความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นครั้งแรก เล่าต่อๆ กันมาว่ามีเด็กชายลูกชาวบ้านคนหนึ่งพ่อเขาไล่ตี เด็กคนนั้นวิ่หนีเข้าไปในบริเวณวัดช้างให้แล้หายตัวไปซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง เมื่อพ่อของเด็กไล่ตามเข้าไปในวัดก็มิได้เห็นตัวเด็ก เขาได้ค้นหาจนอ่อนใจก็ไม่พบจึงกลับบ้านชวนเพื่อนบ้านช่วยกันค้นหา ขณะที่พวกชาวบ้านผ่านเข้าเขตวัดก็เห็นเด็กนั้นเดินยิ้มเข้ามาหาและหัวเราะพูดขึ้นว่า พ่อของมันดุร้ายไล่ทุบตีลูกไม่มีความสงสารกูเห็นแล้วอดสงสารไม่ได้จึงเอามันไปซ่อนไว้ พวกชาวบ้านก็ตื่นตกงกงันเพราะเด็กนั้นพูดแปลกหูผู้ฟังเป็นเสียงของคนแก่แต่เด็กพูดต่อไปว่า พวกสูไม่รู้จักกูหรือ กูชื่อท่านเหยียบน้ำทะเลจืดผู้ศักดิ์สิทธิ์เจ้าของเขื่อนนี้ (สถูป) พวกสูจะลองดีก็จงเอาน้ำเกลือใส่อ่างมากูจะทำให้ดู มีชาวบ้านผู้หนึ่งปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เด็กชายนั้นก็ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำเกลือในอ่างทันทีและบอกให้ชาวบ้านชิมน้ำเกลือนั้นดู ได้ประจักษ์ว่าน้ำนั้นมีรสจืดเป็นน้ำบ่อเป็นที่อัศจรรย์นัก เด็กนั้นพูดอีกว่า พวกสูยังไม่เชื่อกูก็ให้ก่อไฟขึ้น ชาวบ้านก็ทำตาม ขณะกองไฟลุกโชนเป็นถ่านแดงดีแล้วเด็กประทับทรงท่านเหยียบน้ำทะเลจืดก็กระโดดเข้าไปยืนอยู่ในกลางกองไฟอันร้อนแรง ยิ้มแล้วถามว่าสูเชื่อหรือยัง พ่อของเด็กตกใจเกรงลูกจะเป็นอันตรายจึงก้มลงกราบไหว้ขอโทษเด็กนั้นจึงเดินออกจากกองไฟเป็นปกติ
    ๒. ครั้นท่านพระครูวิสัยโสภณ (ท่านอาจารย์ทิม ธมฺมธโร) เข้ามาครองวัดช้างให้ใหม่ๆ ท่านข้องใจเรื่องเขตวัดของเดิมเพราะถามชาวบ้านไม่มีใครรู้ คืนวันหนึ่งท่านฝันว่าพบคนแก่ยืนอยู่กลางลานวัดท่านถามถึงเขตวัดตามความข้องใจ คนแก่นั้นบอกว่า ให้ไปถามท่านเหยียบน้ำทะเลจืดในเขื่อน คนแก่จึงนำท่านพระครู ฯ ไปเห็นพระภิกษุเฒ่าเดินออกจากในเขื่อนสามองค์ปรากฏว่า ๑. หลวงพ่อสี ๒. หลวงพ่อทอง ๓. หลวงพ่อจันทร์ องค์หลังสุดถือไม้เท้าใหญ่ ๓ คด เดินยันออกมางกงันเพราะความชรามากกว่าองค์ใดๆ คนแก่จึงบอกว่าองค์นี้แหละ ท่านเหยียบน้ำทะเลจืดท่านจึงเอาแขนกอดคอท่านพระครู ฯ นำเดินชี้เขตวัดเก่าให้ทราบทั้ง ๔ ทิศ ตลอดถึงเนินดินซึ่งเป็นโบสถ์โบราณและบันดาลให้ท่านอาจารย์ฯได้เห็นวัตถุต่างๆในหลุมนิมิตซึ่งเป็นของไม่มีค่า เช่น พระพุทธรูปหล่อด้วยเงิน ๑ องค์ เมื่อจะกลับเข้าไปในเขื่อนท่านได้สั่งว่าต้องการอะไรให้บอกแล้วเข้าในเขื่อนหายไป
    "คำว่าเอาอะไรให้บอก คำนี้สำคัญมาก คราวต่อมาโบสถ์ก็สำเร็จพระเครื่องก็ศักดิ์สิทธิ์"

    ขนาด หน้าตัก 5 นิ้ว บูชาองค์ละ 699 บาท ส่งฟรี
    3 องค์ 600 บาท/องค์ (คละได้) ส่งฟรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010135.JPG
      P1010135.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      153
    • r3_16.jpg
      r3_16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.1 KB
      เปิดดู:
      128
  9. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    รูปหล่อเหมือน เนื้อเรซิ่น
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ


    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (จนฺทสโร หมายถึง ผู้นำแสงสว่างมาสู่โลก ประดุจพระจันทร์ส่องสว่างยามราตรี) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาส ี หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน ท่านนับเป็นองค์ปฐมบรมครูแห่งวิชชาธรรมกายในยุคปัจจุบัน

    ชีวิตในช่วงต้น

    เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง

    เมื่อท่านอายุได้ 14 ปีโยมบิดาได้ถึงแก่กรรมลงท่านจึงรับภาระดูแลการค้าแทน ท่านฉลาดในการปกครอง ลูกเรือต่างก็รักนับถือท่านและเนื่องจากท่านเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงาน อาชีพการค้าจึงเจริญขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง วันหนึ่งเมื่อท่านนำเรือเปล่ากลับบ้านพร้อมเงินรายได้จากการขายข้าวผ่านลัดคลองเล็กซึ่งชาวบ้านเรียกว่า คลองบางอีแท่น มีโจรผู้ร้ายชุกชุมท่านนึกถึงความตายขึ้นมา และได้อธิษฐานจิตในขณะนั้นว่า ขออย่าให้ข้าพเจ้าตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอาย ไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต

    อุปสมบท

    เดือนกรกฎาคม 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่า สด จนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินทสุวณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดทั้งสองรูปอยู่วัดเดียวกัน คือวัดสองพี่น้อง ในการเรียนด้านคันถธุระในพรรรษาแรก ท่านสงสัยอยากรู้คำแปลคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา ซึ่งไม่มีใครทราบ ท่านจึงเกิดความดำริที่จะไปเรียนคันถุระต่อที่กรุงเทพ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเริ่มปฏิบัติสมถวิปัสสนากับองค์อนุสาวนาจารย์นับแต่วันบวช เมื่อบวชแล้วพอรุ่งขึ้นอีกวัน หลวงพ่อก็เริ่มลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานต่อกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษาเมื่อออกพรรษาที่วัดสองพี่น้องแล้ว ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษา ณIวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อศึกษาด้านคันถธุระต่อ ในสมัยนั้นนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน ขณะที่ท่านเรียนทางด้านคันถธุระอยู่นั้น ก็ได้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระควบคู่ไปด้วย โดยการศึกษากับพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสำนักต่าง ๆ ท่านได้ไปศึกษากับ ท่านเจ้าคุณสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ท่านพระครูฌาณวิรัติ วัดพระเชตุพน และสำนักของพระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ จนได้ผลการปฏิบัติเป็นที่พอใจของพระอาจารย์ เมื่อได้ศึกษาภาวนาวีธีจนมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งจากพระอาจารย์ทั้งจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ มีวิสุทธิมรรค เป็นต้น ได้แสวงหาที่หลีกเร้น มีความวิเวก เป็นสัปปายะต่อการปฏิบัติธรรมดังนั้นในพรรษาที่ 11 จึงได้กราบลา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( เข้ม ) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ เพื่อไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนบุรี

    เข้าถึงธรรมกาย

    ในพรรษาที่ 11 ท่านได้ไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ท่านได้มีความคิดที่จะกระทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ตั้งแต่เช้าตรู่ “เราบวชมาจวนจะครบ 12 พรรษาแล้ว วิชชาของพระพุทธเจ้าเรายังไม่ได้บรรลุเลย ทั้งที่การศึกษาของเราก็ไม่เคยขาดเลยสักวันทั้งคันถธุระและวิปัสนาธุระ อย่าเลย ควรจะรีบกระทำความเพียรให้รู้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนาเสียที” เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้วท่านก็รีบจัดการภารกิจต่างๆให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่มีเรื่องกังวลใจ เสร็จแล้วก็ได้เข้าเจริญภาวนาในอุโบสถ โดยตั้งใจว่าหากไม่ได้ยินเสียงกลองเพลจะไม่ยอมลุกจากที่ เมื่อตั้งใจแล้วก็หลับตาภาวนา “สัมมา อะระหัง” เรื่อยไปจนกระทั่งความปวดเมื่อยและอาการกระสับกระส่ายเริ่มติดตามมา จิตก็ซัดส่ายกระวนกระวายจนเกือบจะหมดความอดทน แต่ได้ตั้งสัจจะไว้แล้วจึงทนนั่งต่อไป เมื่อไม่สนใจความปวดเมื่อยของสังขาร ในที่สุดใจก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อยแล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก

    เย็นวันนั้นหลังจากได้ฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนสหธรรมิกแล้ว ท่านได้รีบทำภารกิจส่วนตัวสรงน้ำให้ร่างกายสดชื่นดีแล้ว จึงเข้าไปในอุโบสถแต่เพียงรูปเดียว เมื่อกราบพระประธานแล้วก็ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ขอให้พระองค์ทรงพระเมตตาโปรดประทานธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดก็ยินดี ถ้าหากการบรรลุธรรมของข้าพระองค์ฯจักเกิดโทษแก่พระศาสนาก็ขออย่าได้ทรงประทานเลย แต่ถ้าจะเป็นคุณแก่พระศาสนาแล้ว ขอได้โปรดประทานแก่ข้าพระองค์ฯด้วยเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะขอรับเป็นทนายพระศาสนาต่อไปจนตลอดชีวิต”

    เมื่อได้ตั้งสัตยาธิษฐานแล้วท่านก็เริ่มนั่งหลับตา ขณะนั้นมีมดอยู่ในช่องแผ่นหินที่ท่านนั่ง กำลังไต่ขึ้นมารบกวนท่าน จึงหยิบขวดน้ำมันก๊าดขึ้นมา เพื่อจะทากันมด แต่แล้วก็คิดได้ว่า ชีวิตของเรา เราได้สละแล้วเพื่อการบำเพ็ญเพียร แต่เหตุไฉนจึงยังกลัวมดอยู่อีก จึงวางขวดน้ำมันก๊าดลง เจริญกัมมัฏฐานต่อไป จนถึงยามดึกจึงได้เริ่มเห็นดวงปฐมมรรคหรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่อได้รู้เห็นธรรมะแล้วท่านจึงได้เข้าใจว่า “พระธรรมนี้เป็นของลึกซึ้งยิ่งนัก ยากที่มนุษย์จะเข้าถึง การจะเข้าให้ถึงได้ต้องรู้ตรึก รู้นึก รู้คิด ต้องหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด ถ้าไม่ดับก็ไม่เกิดนี่เป็นของจริง ของจริงต้องอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนนี้เป็นไม่เห็นเด็ดขาด” เมื่อมองเรื่อยไปก็เห็นดวงใหม่ผุดซ้อนขึ้นมาแทนที่ดวงเก่า แต่ใสสว่างมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดก็เห็นกายต่างๆ ตามลำดับจนกระทั่งถึง ธรรมกาย

    ได้เริ่มเห็นผังของจริงของพระพุทธเจ้า ( ธรรมกายโคตรภู ) ในระหว่าง มัชฌิมยามกับปัจฉิมยามติดต่อกัน ท่านได้รำพึงว่า ธรรมเป็นของลึกซึ้งถึงเพียงนี้ ใครจะไปคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัย ของความตรึก นำ คิด ถ้ายังตรึก นึก คิด อยู่ก็ไม่ถึง ที่จะเข้าให้ถึงต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิด นั้นหยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วก็ไม่เกิด ตรองดูเถิดท่านทั้งหลายนี่เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด รำพึงอย่างนี้สักครู่ใหญ่ เกรงว่า ความมีความเป็นนั้นจะเลือนไปเสียจึงเข้าที่ ดำรงสมาธิมั่น ต่อไปตลอดปัจฉิมยาม ในขณะดำรงสมาธิมั่น อยู่อย่างนั้น เห็นวัดบางปลา ปรากฏขึ้นในนิมิต จึงเกิดญาณทัสสนะขึ้นอยู่ว่า ธรรมที่รู้ว่าได้ยากนั้น ในวัดบางปลานี้ จะต้องมีผู้รู้เห็น ได้อย่าง แน่นอน ออกพรรษาแล้วได้ไปสอนที่วัดบางปลา 4 เดือน มีพระทำเป็น ได้พระธรรมกาย 3 รูป คือ พระสังวาลย์ พระแบน และพระอ่วม กับคฤหัสถ์ 4 คน นับแต่นั้นมาหลวงพ่อ ก็เป็นพระวิปัสสนาจารย์ ที่คนเคารพ รู้จักและยกย่องบูชากันทั่วไป คำว่า

    ธรรมกาย นี้ มีพระบาลี รับรองว่า ตถาคตสส วาเสฏฐ เอตํ ธมมกาโยติ วจนํ ดูกรวาเสฏฐะ ธรรมกายนี้เป็นชื่อของพระตถาคต และมีพระบาลีปรากฏในอัคคัญญสูตร ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฎกรับรองว่า ตถาคตสส เหตํ วาเสฏฐา อธิวจนํ ธมมกาโย อิติปิ ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ เพราะคำว่าธรรมกายนี้เป็นชื่อของ ตถาคต

    ได้รับสมณศักดิ์

    ในปี พ.ศ. 2464 ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสมณธรรมสมาทาน
    ในปี พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระภาวนาโกศลเถร ถือพัดยอดพื้นขาวอันเป็นตำแหน่งวิปัสสนาธุระ
    ในปี พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ
    ในปี พ.ศ. 2498 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระมงคลราชมุนี
    ในปี พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระมงคลเทพมุนี
    คติธรรม

    เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำ จะเกิดมาทำไม อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตมันเป็นห่วงเป็นใย
    เลิกอยากลาหยอก รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า "นิพพาน" ก็ได้

    ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
    ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี่แหละเป็นตัวสำเร็จ
    ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย


    ละสังขาร

    เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ตึกมงคลจันทสร วัดปากน้ำภาษีเจริญ เมื่อท่านมีอายุย่าง ๗๕ โดยปี รวมพรรษาได้ ๕๓ พรรษา

    ขนาด หน้าตัก 5 นิ้ว บูชาองค์ละ 699 บาท
    3 องค์ 600 บาท/องค์ (คละได้)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4z8lm.jpg
      4z8lm.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16 KB
      เปิดดู:
      132
    • P1010127.JPG
      P1010127.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      121
  10. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    รูปหล่อเหมือน เนื้อเรซิ่น
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่



    ประวัติ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เดิมชื่อ ญาณ หรือ ยาน รามศิริ เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 วันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ณ บ้านนาโป่งบ้างก็ว่า บ้านหนองบอน ตำบลหนองใน (ปัจจุบันเป็น ตำบลนาโป่ง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย ท่านเกิดในตระกูลช่างตีเหล็ก เป็นบุตรคนที่ 2 (คนสุดท้อง) ของ นายใส หรือ สาย กับ นางแก้ว รามศิริ มีพี่สาวร่วมท้องเดียวกัน 1 คน

    เมื่อหลวงปู่แหวน อายุประมาณ 5 ขวบ พอจำความได้บ้างว่า ก่อนที่มารดาจะเสียชีวิต ได้เรียกไปสั่งเสียว่า "ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏก็ตาม แม่ก็ไม่ยินดี และแม่จะยินดีมาก ถ้าลูกจะบวชให้แม่จนตายในผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีเมียนะลูกนะ" หลังจากนั้นมารดาได้ถึงแก่กรรมลง ท่านจึงอยู่ในความดูแลของตากับยายขุนแก้ว

    อนึ่ง ยายของหลวงปู่แหวน ได้ฝันว่า เห็นหลานชายไปนั่งไปนอนอยู่ในดงขมิ้นจนเนื้อตัวเหลืองอร่ามน่าชม จึงได้มาร้องขอให้บวชเช่นเดียวกัน ท่านจึงรับปาก แล้วบวชพร้อมกับหลานยายอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และมีศักดิ์เป็นน้า ยายได้นำหลานทั้ง 2 คน ไปถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ที่ วัดโพธิ์ชัย (มหานิกาย) ในหมู่บ้านนาโป่ง เพื่อฝึกหัดขานนาค ทำการบรรพชาเป็นสามเณรต่อไป

    ด้วยคำพูดของแม่ในครั้งนั้น เป็นเหมือนพรสวรรค์คอยเตือนสติอยู่ตลอดเวลา มันเป็นคำสั่งที่ก้องอยู่ในความทรงจำมิรู้เลือน จนในที่สุดท่านก็ได้บวชตามความประสงค์ของมารดาและใช้ชีวิตอยู่ในผ้าเหลืองจนตลอดอายุขัย

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    หลวงปู่แหวน ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2439 มีอายุได้ 9 ปี ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์อ้วน เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เป็นพระพี่เลี้ยง

    เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แหวน อยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัยนั่นเอง พอเข้าพรรษาได้ประมาณ 2 เดือน สามเณรผู้มีศักดิ์เป็นน้าที่บวชพร้อมกันเกิดอาพาธหนักถึงแก่มรณภาพไป ทำให้ท่านสะเทือนใจมาก

    เนื่องจาก วัดโพธิ์ชัย ไม่มีการศึกษาเล่าเรียน เพราะขาดครูสอน ท่านจึงอยู่ตามสบาย คือ สวดมนต์ไหว้พระบ้าง เล่นบ้างตามประสาเด็ก ต่อมาได้ถูกส่งไปเรียนมูลกัจจายน์ ที่ วัดสร้างก่อ อำเภอหัวสะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในสมัยนั้น จังหวัดอุบลราชธานีมีสำนักเรียนที่มีชื่อเสียง มีครูอาจารย์สอนกันเป็นหลักเป็นฐานหลายแห่งเช่น สำนักเรียนบ้านไผ่ใหญ่ บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลัก บ้านสร้างก่อทั่วอีสาน 15 จังหวัด (ในสมัยนั้น) ใครต้องการศึกษาหาความรู้ ต้องมุ่งหน้าไปเรียนมูลกัจจายน์ ตามสำนักดังกล่าว ผู้เรียนจบหลักสูตรได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ เพราะเป็นหลักสูตรที่เรียนยาก มีผู้เรียนจบกันน้อยมาก ภายหลัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงมาปรับปรุงเปลียนแปลงหลักสูตรใหม่ดังเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้การเรียนมูลกัจจายน์ถูกลืมเลือน

    ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนที่สำนักนี้หลายปี จนอายุครบบวชพระ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกายที่ วัดสร้างก่อนอก อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอาจารย์แว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2451

    ในระยะที่เรียนหนังสืออยู่นั้น ท่านเกิดความว้าวุ่นใจเพราะ ท่านอาจารย์อ้อน อาจารย์เอี่ยม ครูผู้สอนหนังสือเกิดอาพาธด้วยโรคนอนไม่หลับ ท่านจึงแนะนำให้ลาสิกขาบทเผื่อโรคอาจจะหายได้ หายแล้วหากยังอาลัยในสมณเพศ เมื่อได้โอกาสก็ให้กลับมาบวชใหม่อีก ท่านอาจารย์ทำตาม ปรากฏว่าโรคหายดี แต่ต่อมาพระผู้เป็นอาจารย์สอนหนังสือ คือ อาจารย์ชม อาจาาย์ชาลี และท่านอื่น ๆ ลาสิกขาไปมีครอบครัวกันหมดสำนักเรียนจึงต้องหยุดชงักลง

    ในที่สุด ท่านจึงเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้น สึกออกไปล้วนเพราะอำนาจของกามทั้งสิ้น จึงระลึกนึกถึงคำเตือนของแม่และยาย และเกิดความคิดขึ้นมาว่าการออกปฏิบัติเป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้บวชอยู่ได้ตลอดชีวิตเหมือนกับครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ได้ออกไปปฏิบัติอยู่กันตามป่าเขาไม่อาลัยอาวรณ์อยู่กับหมู่คณะจึงได้ตัดสินใจไปหาอาจารย์ที่เมืองสกลนคร

    ท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐาน ขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์แด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หลังจากตั้งจิตอธิษฐานแล้ว ท่านมีความรู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ อยู่มา 2-3 วัน โยมอุปัฏฐาก ได้มาบอกว่า พระอาจารย์จวง วัดธาตุเทิง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปกราบ ญาคูมั่น พึ่งกลับมา ท่านจึงได้ไปนมัสการพระอาจารย์จวง เพื่อขอทราบที่อยู่ของ หลวงปู่มั่น ด้วยรู้สึกศรัทธาในกิตติศัพท์ความเก่งกล้าสามารถของหลวงปู่มั่นยิ่งนัก

    จากนั้น ท่านก็ได้ออกธุดงค์มุ่งสู่สำนักของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยผ่านม่วงสามสิบ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร เลิงนกทา มุกดาหาร คำชะอี นาแก สกลนคร พรรณานิคม สว่างแดนดิน หนองหาน อุดรธานี บ้านผือ ซึ่งนับเป็นการเดินทางไกลและยาวนานเป็นครั้งแรกจนได้เข้าพบหลวงปู่มั่น ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ

    คำแรกที่หลวงปู่มั่นสั่งสอนก็คือ "ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมา ให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน" ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกยินดีมากเพราะได้บรรลุสิ่งที่ตั้งใจ

    หลังจากอยู่กับหลวงปู่มั่นได้ 4 วัน พี่เขยและน้าเขยก็มาตามให้กลับไปเยี่ยมโยมพ่อที่ไม่ได้พบกันมานาน 10 ปี จึงเข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่น และได้รับคำเตือนว่า "ไปแล้วให้รีบกลับมา อย่าอยู่นาน ประเดี๋ยวจะเสียท่าเขา ถูกเขามัดไว้แล้วจะดิ้นไม่หลุด"

    ท่านได้กลับไปเยี่ยมบ้านในปี พ.ศ.2461เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชนในแถบบ้านเกิดมาก หลั่งไหลกันมากราบอย่างไม่ขาดสาย จนทำให้พักผ่อนไม่พอและล้มป่วยลงต้องพักรักษาตัวอยู่หนึ่งเดือนเต็ม ด้วยจิตที่ระลึกถึงคำสั่งของพระอาจารย์ว่า "อย่าอยู่นานให้รีบกลับมาภาวนา" กับคำสั่งเสียของแม่ว่า "แม่ยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ แล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง" ทำให้ท่านตัดสินใจรีบเดินทางกลับไปอยู่รับการอบรมภาวนาต่อแล้วจึงได้แยกไปหาที่วิเวกบำเพ็ญสมาธิภาวนาตามความเหมาะสมกับจิตของตน เมื่อถึงวันอุโบสถจึงได้ถือโอกาสเข้านมัสการถามปัญหาข้อข้องใจในการปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นจนเป็นที่เข้าใจแล้ว จึงกลับสู่ที่ปฏิบัติของตนดังเดิม โดยยึดมั่นในคำเตือนของหลวงปู่มั่นว่า "ให้ตั้งใจภาวนา อย่าได้ประมาท ให้มีสติอยู่ทุกเมื่อ จงอย่าเห็นแก่การพักผ่อนหลับนอนให้มาก"

    ในระยะแรกออกปฏิบัตินั้น ท่านไม่ได้ร่วมทำสังฆกรรมฟังการสวดปาติโมกข์ เพราะยังไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุต พระมหานิกายที่ได้รับการอบรมจากท่านหลวงปู่มั่นครั้งนั้นมีหลายรูป เมื่ออยู่ไปนาน ๆ ได้เห็นความไม่สะดวกในการประกอบสังฆกรรมดังกล่าว จึงไปกราบขออนุญาตให้ญัตติเป็นธรรมยุต ซึ่งบางรูปก็ได้รับอนุญาต บางรูปก็ไม่ได้รับอนุญาต โดยหลวงปู่มั่นให้เหตุผลว่า "ถ้าพากันมาญัตติเห็นพระธรรมยุตเสียหมดแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครมาแนะนำในการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละ คือ ทางดำเนินไปสู่มรรคผลนีพพาน"

    ประมาณ พ .ศ.2464 ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อพำนักและศึกษาธรรม กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ซึ่งหลวงปู่มั่นยกย่องอยู่เสมอว่าเชี่ยวชาญทั้งทางการเทศน์และการปฏิบัติธรรม

    หลังจากที่ท่านได้รับฟังธรรมและเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย พม่า และเชียงตุง จากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ แล้ว ก็ได้จาริกไปพม่า อินเดีย โดยผ่านทาง แม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก ข้ามแม่น้ำเมย ขึ้นฝั่งพม่าต่อไปยังขลุกขลิกมะละแหม่ง ข้ามฟากไปถึงเมาะตะมะ ขึ้นไปพักที่ดอยศรีกุตระ กลับมามะละแหม่ง แล้วโดยสารเรือไปเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย แล้วต่อรถไฟไปเมืองพาราณสี เที่ยวนมัสการปูชนียสถานต่าง ๆ แล้วจึงกลับโดยเส้นทางเดิม ถึงฝั่งไทยที่อำเภอแม่สอด เดินเที่ยวอำเภอสามเงา

    ปีต่อมา เดือนตุลาคม ท่านได้จาริกธุดงค์ไปเชียงตุง และ เชียงรุ้ง ในเขตพม่า โดยออกเดินทางไปด่านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผ่านหมู่บ้านชาวเขา พักตามป่าเขา จาริกผ่านเชียงตุง แล้วต่อไปทางเหนือ อันเป็นถิ่นชาวเขา เช่น จีนฮ่อ ซึ่งอยู่ตามเมืองแสนทวี ฝีฝ่า หนองแส บางเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พอฝนตกชุกจวนเข้าพรรษาก็กลับเข้าเขตไทย นับได้ว่าท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่งในและนอกประเทศส่วนใหญ่จะพำนักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลฯ อุดรฯ และตั้งใจจะไปให้ถึงสิบสองปันนาสิบสองจุไท แต่ทหารฝรังเศสห้ามเอาไว้ จึงไปถึง วัดใต้หลวงพระบาง แล้วก็กลับพร้อมกับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

    ทางภาคเหนือ ท่านได้มุ่งเดินทางไป ค่ำไหนนอนนั่น จากอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลยออกไป อำเภอด่านซ้าย ผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอนครไทย อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ตัดไปอำเภอนาน้อย แพร่ หมู่บ้านชาวเย้า อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย ลำปาง แล้วต่อไปยังเชียงใหม่ เที่ยวดูภูมิประเทศโดยรอบเขาดอยสุเทพ

    ท่านได้รับความเมตตาจาก ท่านเจ้าคุณพระอุปาลีคุณูปมาจารย์ ด้วยดีตลอดมา ประมาณปี พ.ศ.2470 ท่านเจ้าคุณเห็นว่า หลวงปู่แหวน เป็นผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติมีวิริยะอุตสาหะปรารภความเพียรสม่ำเสมอไม่ท้อถอย มีข้อวัตรปฏิบัติดี มีอัธยาศัยไมตรีไม่ขึ้นลง คุ้นเคยกันมานาน เห็นสมควรจะได้ญัตติเสีย หลวงปู่แหวน จึงตัดสินในเป็นพระธรรมยุต ที่พัทธสีมา วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ มี พระนพีสิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมา หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ซึ่งเคยเป็นสหธรรมิกร่วมธุดงค์กัน ก็ได้ญัตติเป็นธรรายุตเหมือนกัน

    ในระหว่างที่จาริกแสวงหาวิเวกอยู่ทางภาคเหนือนั้น ท่านได้พบกับหลวงปู่ขาว อนาลโย และได้แยกย้ายกันจำพรรษาตามป่าเขา ท่านเคยได้แยกเดินทางทุ่งบวกข้าว จนถึงป่าเมี่ยงขุนปั๋ง พอออกพรรษา หลวงปู่มั่น พระอาจารย์พร สุมโน ได้มาสมทบที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง ขณะนั้น พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิร ิมาร่วมสมทบอีก เมื่อทุกท่านได้รับโอวาทจากหลวงปู่มั่นแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันไป หลวงปู่แหวนพร้อมหลวงปู่ขาว พระอาจารย์พร ไปที่ดอนมะโน หรือ ดอยน้ำมัว ส่วนหลวงปู่มั่นอยู่ที่กุฏิชั่วคราวที่ชาวบ้านสร้างถวายที่ป่าเมี่ยบขุนปั๋งนั่นเอง

    ภายหลังหลวงปู่มั่น เดินทางกลับอีสานแล้ว หลวงปู่แหวนยังคงจาริกแสวงวิเวกบำเพ็ญธรรมอยู่ป่าเมี่ยงแม่สาย หลวงปู่เล่าว่า อากาศทางภาคเหนือถูกแก่ธาตุขันธ์ดี ฉันอาหารได้มาก ไม่มีอาการอึดอัด ง่วงซึม เวลาภาวนาจิตก็รวมลงสู่ฐานสมาธิได้เร็ว นับว่าเป็นสัปปายะ

    ประมาณปี พ.ศ. 2474 ขณะที่หลวงปู่แหวนปฏิบัติธรรมอยู่ที่เชียงใหม่ ได้ทราบข่าวว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ประสบอุบัติเหตุขณะขึ้นธรรมาสน์เพื่อแสดงธรรมถึงขาหักจึงเดินทางจากเชียงใหม่มากรุงเทพฯ และแวะกราบเรียนให้หลวงปู่มั่นทราบที่อุตรดิตถ์ แล้วเดินทางโดยรถไฟถึงโกรกพระ นครสวรรค์ ลงเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงวัดคุ้งสำเภา พักค้างคืนหนึ่ง แล้วลงเรือล่องมาถึงกรุงเทพฯ เฝ้าพยาบาลท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ นานหนึ่งเดือน จึงกราบลาไปจำพรรษาที่เชียงใหม่

    ปี พ.ศ.2498 ท่านจำพรรษาที่ วัดบ้านปง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เกิดอาพาธแผลที่ขาอักเสบทรมานมาก ท่านจำพรรษาอยู่รูปเดียว ชาวบ้านไม่เอาใจใส่ได้ ท่านพระอาจารย์หนู สุจิตฺโต วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พาหมอมาจี้ มาทำการผ่าตัดโดยไม่ต้องฉีดยาชา ใช้มีดผ่าตัดเพียงเล่มเดียว ท่านมีความอดทนให้กระทำจนสำเร็จและหายได้ในที่สุด

    อีกหลายปีต่อมา พระอาจารย์หนูเห็นว่า หลวงปู่แหวน แก่มากแล้ว ไม่มีผู้อุปัฏฐาก จึงได้ชักชวนญาติโยมไปนิมนต์ให้ ท่านมาจำพรรษาที่ วัดดอยแม่ปั๋ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ในฐานะพระผู้เฒ่าทำหน้าที่ปฏิบัติธรรมอย่างเดียวไม่ต้องเกี่ยงข้องกับภาระหน้าที่อื่นใด และท่านก็ได้ตั้งสัจจะว่า จะไม่รับนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ไม่ลงเรือ แม้ที่สุดจะเกิดอาพาธหนักเพียงใด ก็จะไม่ยอมเข้านอนโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ได้

    นับตั้งแต่ท่านขึ้นไปภาคเหนือแล้ว ท่านก็ไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นอีกเลย ท่านเคยอยู่บนดอยสูงกับชาวเขาเกือบทุกเผ่า อยู่ในป่าเขาภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ส่วนภาคเหนือตอนล่าง เช่น แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ท่านเคยจาริกไปครั้งคราว จึงนับได้ว่า วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นสถานที่ซึ่ง หลวงปู่อยู่จำพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 จวบจนมรณภาพ

    หลวงปู่แหวน มีโรคประจำตัวคือ เป็นแผลเรื้อรังที่ก้นกบยาวประมาณ 1 ซม. มีอาการคัน ถ้าอักเสบก็จะเจ็บปวดมาก และอีกโรคหนึ่งคือ เป็นต้อกระจกนัยน์ตาด้านซ้าย เป็นต้อหินนัยน์ตาด้านขวา หมอได้เข้าไปรักษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2518 ซึ่งรักษาแล้วสุขภาพก็ยังแข็งแรงตามวัย แต่ต่อมาปี 2519 ร่างกายเริ่มซูบผอม อ่อนเพลีย ฉันอาหารได้น้อย ขาทั้ง 2 เป็นตะคริวบ่อย ต่อมา 2520 สุขภาพทรุด ค่อนข้างซูบเหนื่อยอ่อน เวียนศีรษะถึงกับเซล้มลง และประสบอุบัติเหตุขณะครองผ้าจีวรในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นวันที่ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมา ส่งผลให้เจ็บบั้นเอวและกระดูดสันหลัง ลุกไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่ รักษาอยู่เดือนหนึ่ง ก็หายเป็นปกติ แต่เนื่องจากหลวงปู่อายุมากแล้ว จึงมีอาการอาพาธมาโดยตลอด คณะแพทย์ก็คอยให้การรักษาด้วยดีเช่นกัน จนกระทั่งใน วันอังคารที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ.2528 เวลา 21.53 น. การหายใจครั้งสุดท้ายก็มาถึง หลวงปู่แหวน ท่านได้ละร่างอันเป็นขันธวิบากไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ 98 ปี

    ธรรมโอวาท

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้แสดงธรรมโอวาทหลายเรื่อง เช่นเรื่อง ของเก่าปกปิดความจริง ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันก็วางเอง

    หลวงปู่มั่น ท่านว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า" ของเก่านี่แหละมันบังของจริงอยู่นี่ มันจึงไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นของเก่า มันก็ไม่ต้องไปคุย มีแต่ของเก่าทั้งนั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ของเก่า เวลามาปฏิบัติภาวนา ก็พิจารณาอันนี้แหละ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริง ให้มันรู้แจ้งออกมาจากภายใน มันจึงไปนิพพานได้ นิพพานมันหมักอยู่ในของสกปรกนี่ มันจึงไม่เห็น พลิกของสกปรกออกดูให้เห็นแจ้ง

    นักปราชญ์ท่านไม่ละความเพียร เอาอยู่อย่างนั้นแหละ เอาจนรู้จริงรู้แจ้ง ทีนี้มันไม่มาเล่นกับก้อนสกปรกนี้อีก พิจารณาไป พิจารณาเอาให้นิพพานใสอยู่ในภายในนี่ ให้มันอ้อ นี่เอง ถ้ามันไม่อ้อหนา เอาให้มันถึงอ้อ จึงใช้ได้

    ครั้นถึงอ้อแล้วสติก็ดี ถ้ามันยังไม่ถึงแล้ว เต็มที่สังขารตัวนี้ พิจารณาให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในของสกปรกเหล่านี้แหละ ครั้นรู้แจ้งเข้า รู้แจ้งเข้า มันก็เป็นผู้รู้พระนิพพานเท่านั้น

    จำหลักให้แม่น ๆ มันไม่ไปที่ไหนหละ พระนิพพาน ครั้นเห็นนิพพานได้แล้ว มันจึงเบื่อโลก เวลาทำก็เอาอยู่นี่แหละ ใครจะว่าไปที่ไหนก็ตามเขา ละอันนี่แหละทำความเบื่อหน่ายกับอันนี้แหละ ทั้งก้อนนี่แหละ นักปฏิบัติต้องพิจารณาอยู่นี่แหละ ชี้เข้าไปที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณากาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย

    การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง หากพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ก็ถอนได้ กามกิเลสนี้แหละ เป็นบ่อเกิดแห่งการฆ่ากันตาย ชิงดีชิงเด่น กิเลสตัวเดียว ทำให้มีการต่อสู้แย่งชิงกัน ทั้งความรักความชัง จะเกิดขึ้นในจิตใจก็เพราะกาม

    นักปฏิบัติต้องเอาให้หนักกว่าธรรมดา ทำใจของตนให้แน่วแน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน ก็ของเก่าปรุงแต่งขึ้นเป็นความพอใจไม่พอใจ มันเกิดมันดับอยู่นี่ ไม่รู้เท่าทันมัน ถ้ารู้เท่า ทันมัน ก็ดับไป ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยลดกำลังไป ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน

    ปัจฉิมบท

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นพระมหาเถระ ซึ่งได้ดำเนินชีวิตของท่านอยู่ในเพศของบรรพชิตมาตั้งแต่อายุเยาว์วัย เป็นพระนักศึกษาและนักปฏิบัติธรรมมาโดยตลอด เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร ทั้งที่เมื่อยังเป็นพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และ เป็นฝ่ายธรรมยุตแล้ว ดังที่ หลวงปู่มั่น เคยแสดงเหตุผลว่า "มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย"

    หลวงปู่แหวน เป็นผู้เปี่ยมด้วยเมตตาบารมีธรรม เป็นปูชนียบุคคล ชาวพุทธให้ความเคารพสักการะอย่างมาก เมตตาบารมีธรรมของท่าน ยังผลให้กุลบุตรกุลธิดาใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรม สืบสร้างความมั่นคงให้แก่พระศาสนา ทำให้เกิดมีการก่อสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาล วัด อาคาร ท่านได้อำนวยคุณประโยชน์ต่าง ๆ แก่สังคมสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชีวิตร่างกายของท่านได้ดับสลายไป แต่คุณงามความดีของท่านยังตรึงแน่นอยู่ในจิตสำนึกของพุทธศาสนิกชนอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย เพราะท่านเป็นพระผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบในฐานะพุทธชิโนรส เป็นเนื้อนาบุญของผู้ต้องการบุญในโลกนี้
    ข้อมูล : จากเว็บ พระเครื่อง:อิทธิปาฏิหาริย์ ให้เช่าพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล พระใหม่ เครื่องรางมหาเสน่ห์

    ขนาด หน้าตัก 5 นิ้ว บูชาองค์ละ 699 บาท
    3 องค์ 600 บาท/องค์ (คละได้)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    รูปหล่อเหมือน เนื้อเรซิ่น
    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
    ขนาด หน้าตัก 5 นิ้ว


    ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ
    (หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ)
    ชาติภูมิ ของหลวงพ่อปาน

    ท่านได้ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๑๘ โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ โดยอาชีพทางครองครัว คือ ทำนา

    สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า “ปาน” เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวคือปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้าย ตั้งแต่โคนนิ้วถึงปายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว

    หลวงพ่อปานในวัยเด็ก

    พระมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า

    “…ท่าน (หลวงพ่อปาน) บอกว่า สมัยท่านเป็นเด็กอายุสัก ๓-๔ ขวบ ท่านวิ่งเล่นใต้ถุนบ้าน หลวงพ่อปาน ท่านเป็นคนบางนมโค และเป็นคนตำบลนั้น ไม่ใช่คนที่อื่น เป็นคนที่มีฐานะค่อนข้างจะมั่งคั่งอยู่สักหน่อย สมัยนั้นเขามีทาสกัน ที่บ้านท่านก็มีทาส

    ท่านบอกว่า ท่านวิ่งเล่น อยู่ใต้ถุนบ้านย่าของท่าน ก็ปรากฏว่าย่าของท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตาย เวลานั้นก็เห็นจะเป็นเวลาบ่ายสัก ๒-๓ โมงกว่า ท่านว่าอย่างนั้นโดยประมาณ

    คนทุกคนเขามาเยี่ยมย่า พ่อแม่ของท่านก็ไป เมื่อคนทุกคนขึ้นไปแล้ว ท่านบอก เห็นร้องดังๆ บอก แม่ แม่ อรหันนะ อรหัน ภาวนาไว้ อรหัน พระอรหัน จะช่วยแม่ ก็ร้องกันเสียงดังๆ ท่านอยู่ใต้ถุน ท่านยืนฟัง เขาว่าอรหันกันทำไม

    พอท่านสงสัยก็ย่องขึ้นไปที่หน้าบันไดชานเรือน พอท่านขึ้นไปแล้วก็ปรากฏว่า ผู้อยู่เขาเอาปากกรอกไปที่ข้างหูของคุณย่าท่าน บอกแม่ แม่ อรหันนะ อรหัน แต่ว่าพอผู้ใหญ่เขามองเห็นท่านเข้าไป เขาก็ไล่ท่านไป เขาจะหาว่าไอ้เจ้าเด็กมันรุ่มร่าม ท่านก็เลยไปเล่นใต้ถุนบ้านอื่น

    พอมาถึงตอนเย็น เวลากินข้าว ท่านแม่ก็ป่าวหมู่เทวฤทธิ์คือเรียกลูกกินข้าว เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้วท่านแม่ก็จัดกับข้าวมาวางกลาง สำหรับตัวท่านเองเป็นเด็ก เขาเอาข้าวใส่จานมาให้แล้วเอาแกงเผ็ด ท่านบอกว่า ไอ้แกงฉู่ฉี่แห้ง ท่านชอบ เขาใส่มาให้ เรียกว่า ไม่ต้องหยิบกับข้าว กินแบบประเภทข้าวราดแกง

    เวลาที่ท่านกินเข้าไปแล้วมานั่งนึกว่า กับข้าวมันอร่อยถูกใจ ก็เกิดความชุ่มชื่น พอจิตมันนึกขึ้นได้ว่าเขาบอก อรหัง อรหัง นึกถึงคำว่า อรหัง ขึ้นมาได้ ท่านก็เลยปลื้มใจอย่างไรชอบกล เลยเปล่งวาจาออกมาดังๆว่า อรหัง อรหัง ว่า ๒-๓ คำ

    ท่านแม่ที่มองตาแป๋วลุกพรวด จับชามข้าวที่ท่านถืออยู่วางไว้ จับตัวท่านวางปังออกไปนอกชาน แล้วร้องตะโกน “เอ้า มึงจะตายโหง ตายห่าก็ตายคนเดียว มันจะมาว่า อรหัง ที่นี่ได้รึ? คำว่า อรหัง พุทโธ นี่คนเขาจะตายเท่านั้นแหละเขาว่ากัน นี่ดันมาว่า อรหัง ที่นี่ ทำเป็นลางร้ายให้คนอื่นเขาพลอยตายด้วย”

    ท่านแปลกใจ คิดว่า นี่เราว่าดีๆ นี่แม่ดุเสียงเขียวปัด นี่มันเรื่องอะไรกัน ในเมื่อถูกแม่ดุอย่างนั้น จะขืนว่าอีกก็เกรงไม้เรียว ก็เลยไม่ว่า

    พอท่านพูดถึงตอนนี้แล้ว ท่านก็หัวเราะบอกว่า “คุณแม่ฉันน่ะโง่นะ ไม่ได้ฉลาดหรอก อีตอนใหม่นั้น ตอนฉันมาบวชได้แล้ว อรหังหรือพุทโธนี้ ถ้าใครภาวนาไว้ เป็นวาจาที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด ถ้าใครภาวนาคำนี้ได้ตกนรกไม่ได้…

    แต่ว่าแม่ของฉัน นี่ท่านไม่รู้ ก็เป็นโทษเพราะไม่ได้รับการศึกษา แต่ว่าไม่เป็นหรอก ตอนหลังที่ฉันบวชแล้วนี่นะ ฉันกลับใจแม่ของฉันได้ ฉันแนะนำให้ท่านทราบแล้ว เวลาท่านตายท่านก็ยึดพุทโธ อรหังเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ยึดเวลาตาย ฉันให้ท่านว่าทุกวัน….”

    สมัยก่อน เมื่อลูกชายมีอายุครบบวช ก็จะทำการอุปสมบท ทางบิดามารดาจะต้องส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรม และท่องขานนาคเป็นเวลาประมาณ ๓ เดือน เป็นอย่างน้อย

    ท่านเองมีความสงสัยในใจว่า เหตุไฉนสตรีเพศจึงดึงดูดบุรุษเพศมากมายนัก ทำให้หลงใหลใฝ่ฝัน ตัวท่านเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงมาก่อน จึงคิดว่าจะหาวิธีลองของจริงดูว่าเป็นอย่างไร ถ้าดีจริงบวชครบพรรษาจะสึกออกมา ถ้าไม่เป็นจริงตามวิสัยโลกก็จะไม่สึก

    ที่บ้านของท่านมีคนรับใช้อยู่คนหนึ่งเรียกกันว่าทาส ชื่อว่าพี่เขียว อายุประมาณ ๒๕ ปี ตอนกลางวันอยู่ด้วยกันสองคน ท่านเกิดสงสัยเนื้อผู้หญิงขึ้นมา บอกว่าตั้งแต่เกิดมานอกจากเนื้อแม่กับเนื้อพี่แล้ว ไม่เคยจับเนื้อใคร ท่านคิดว่าเนื้อผู้หญิงมันดียังไงผู้ชายถึงได้อยากกันนัก บางทีถึงกับฆ่ากันเลย ก็สงสัยว่าจะบวชแล้วนี่ ถ้ามันดีจริงแล้วก็จะสึก ถ้าไม่ดีก็จะไม่สึกละ

    เมื่อคนว่างก็เข้าไปหาพี่เขียว พี่เขียวแกอยู่ในครัว เป็นทาส แต่ว่าท่านเรียกพี่ในฐานะที่เขาแก่กว่าตัว ยกมือไหว้ บอกว่า “พี่เขียว ขออภัยเถอะ ฉันขอจับเนื้อพี่เขียวดูหน่อยได้ไหมว่า เนื้อผู้หญิงน่ะมันดียังไง เขาถึงชอบกันนัก”

    พี่เขียวก็แสนดี อนุญาต ท่านก็เลือกจับเนื้อกล้าม เขาเรียกว่า กล้ามเนื้อที่หน้าอก ผู้หญิงนี้มีกล้ามเนื้อพิเศษ อยู่ที่กล้ามเนื้อ ๒ กล้ามที่หน้าอก แต่ไม่ได้จับมากหรอก จับตรงนั้น แต่ก็ไม่ได้ลวนลามไปถึงไหน จับๆ แล้วก็มาจับน่อง เอ๊! มันคล้ายกัน

    บอกพี่เขียวว่านี่มันคล้ายกันนี่ พี่เขียวแกก็บอกว่าเป็นอย่างนั้นมันก็คล้ายกัน แล้วท่านก็ถามพี่เขียวว่า ทำไมผู้ชายเขาถึงชอบเนื้อผู้หญิงนัก ดันไปถามผู้หญิงได้ นี่ว่ากันอย่างเราๆนะ แล้วเขาจะตอบอย่างไร เขาก็บอกไม่รู้เหมือนกัน

    แล้วท่านก็ยกมือไหว้ขอขมาพี่เขียวบอกว่า “ขอโทษ ที่ขอจับเนื้อนี่ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่น อยากจะพิสูจน์เท่านั้นว่ามันดีอย่างไร” เมื่อท่านหมดความสงสัยในใจแล้ว ก็ตกลงใจว่าจะบวช คราวนี้จะไม่ขอสึกหาลาเพศ ก็สมจริงกับที่ท่านตั้งใจทุกประการ

    สู่ร่มกาสาวพัสตร์

    หลังจากที่โยมมารดาบิดาได้นำท่านมาฝากไว้กับหลวงปู่คล้าย ให้ฝึกหัดขานนาคให้คล่องแคล่วแล้ว ท่านก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๘ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะแม

    โดยมี หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์

    มีฉายาว่า “โสนันโท”

    หลวงพ่อปานเรียนวิชา

    หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว หลวงพ่อปานท่านก็ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น ด้วยความสนใจใคร่ศึกษา เพราะว่าในสมัยนั้น หลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระที่แก่กล้าทางคาถาอาคม และรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

    เมื่อตามไปเล่าเรียนเป็นศิษย์แล้ว หลวงพ่อสุ่นเห็นลักษณะของหลวงพ่อปานว่ามีลักษณะดี จะได้เป็นครูบาอาจารย์ต่อไปภายภาคหน้า จึงได้ให้สติหลวงพ่อปานเบื้องต้นในการเบื่อหน่ายกิเลสว่า

    ๑.อย่าอยากรวย อยากมีลาภ ได้ทรัพย์มาแล้วดีใจ ตั้งหน้าสะสมทรัพย์
    ๒.เป็นอย่างต้นแล้ว เมื่อทรัพย์หมดก็เป็นเหตุให้เสียใจ
    ๓.อยากมียศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ยศมาแล้วปลื้มใจ
    ๔.เมื่อหมดยศไปแล้วก็เสียใจ
    ๕.ได้รับคำสรรเสริญแล้วยินดี
    ๖.เมื่อถูกนินทาก็ไม่พอใจ
    ๗.มีความสุขความเพลิดเพลินในกามารมณ์
    ๘.เมื่อมีความทุกข์ก็หวั่นไหวท้อแท้ใจ

    จากเพศฆราวาสมาสู่เพศบรรพชิตแล้วอย่าหวังรวย ถ้ารวยแล้วไม่ใช่พระ พระต้องรวยด้วยบุญญาบารมี เงินที่ได้มาอย่าติด จงทำสาธารณประโยชน์เสียให้สิ้น เหลือกินเหลือใช้แต่พอเลี้ยงอาตมา

    อย่าหวังในยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่รับยศไม่ได้แล้ว ก็อย่าเมายศฐาบรรดาศักดิ์ มันเป็นเครื่องถ่วงกิเลส ยศ ลาภ สรรเสริญ ความสุขในกามารมณ์ มันเป็นตัวกิเลส มันเป็นโลกธรรม ต้องตัดออกให้หมด ถ้าพอใจในสี่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่พระ จะพาให้สู่ห้วงนรก

    จงระลึกอยู่เสมอว่า เราบวชเพื่อนิพพาน อย่างที่กล่าวในตอนขออุปสมบทครั้งแรกว่า “นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คะเหตะวา” อันหมายความว่า เราขอรับผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สั่งให้ท่องสวดมนต์ตลอดจนคาถาธาตุทั้งสี่ คือ นะ มะ พะ ทะ ให้ว่าถอยหลังแล้วเป่า ให้กุญแจหลุด ถ้าเจ้าเป่าหลุดแล้วบอกพ่อ จะให้วิชาต่างๆ ให้หมดไม่ปิดบัง นี่คือการฝึกสมาธิจิตที่หลวงพ่อสุ่นสอนหลวงพ่อปานทางอ้อม คือถ้าจิตไม่มีสมาธิแล้วอย่าหวังเลยว่า ด้วยคาถาเพียงสี่ตัวจะดีกว่าลูกกุญแจได้

    หลวงพ่อปานท่านก็มีความอดทน หมั่นฝึกเป่ากุญแจนานเป็นเดือน เป่าเท่าไหร่ก็ไม่หลุด มาหลุดเอาตอนที่ท่านทำใจสบายเป็นสมาธิ นึกถึงคาถาเป่ากุญแจได้ จึงลุกขึ้นมาเป่ากุญแจ คราวนี้กุญแจหลุดหมด ทดลองกับลูกอื่นๆ ก็หลุด เพิ่มกุญแจขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ๔๐ ดอก แขวนไว้บนราว ก็หลุดหมด แล้วจึงทดลองให้หลวงพ่อสุ่นดูจนพอใจ

    หลังจากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สอนวิปัสสนาให้แก่หลวงพ่อปาน ตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงที่สุด ด้วยความเมตตาหลวงพ่อปาน ในตอนท้ายว่า เมื่อมีฤทธิ์แล้วอย่าแสดงให้คนอื่นเขาเห็นเป็นการอวดดี จะเป็นโทษตามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้

    จบจากวิปัสสนาแล้วหลวงพ่อสุ่นยังได้ถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณให้ ซึ่งหลวงพ่อปานก็ได้อาศัยใช้ช่วยชีวิตผู้ได้รับทุกข์ทรมานให้หายมามากต่อมาก จนท่านได้ชื่อว่าเป็น “พระหมอ” หลวงพ่อสุ่น สอนว่า “การเป็นหมอนั้น บังคับไม่ให้คนไม่ตายไม่ได้ หมอเป็นเพียงช่วยระงับทุกข์เวทนาเท่านั้น” จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็ถ่ายทอดกสิณต่างๆ ให้หลวงพ่อปานจนกระทั่งสิ้นความรู้

    องค์อาจารย์ของหลวงพ่อปาน

    การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานนั้น พอจะรวบรวมได้ดังนี้

    เรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาแพทย์จาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เรียนวิชาปริยัติธรรมที่ วัดเจ้าเจ็ด กับ พระอาจารย์จีน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน

    จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเอง เวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้

    เวลาสอนหนังสือ ลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้อง ทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธา เอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่า จนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิม

    หลวงพ่อปานท่านมีความมานะพยายามเป็นที่ตั้ง ท่านต้องพายเรือมาเรียนหนังสือที่วัดเจ้าเจ็ดทุกวัน เวลาพายเรือไปเรียนท่านก็จะท่องพระปาฏิโมกข์ และบทเรียนที่อาจารย์สอนจนขึ้นใจ พอเวลาเรียน อาจารย์ถามอะไร ก็ตอบได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจแก่อาจารย์ยิ่ง

    ในที่สุดพระอาจารย์จีนก็สิ้นความรู้ที่จะสอนให้ท่าน ท่านจึงหยุดเรียน และเตรียมตัวสำหรับที่จะหาสำนักเรียนใหม่

    หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ ตามคำบอกเล่าของพระภิกษุเลี่ยมว่า หลวงพ่อปานได้เรียนรู้วิชามาหลายอย่าง เคยพิมพ์คาถาออกแจกด้วย

    เมื่อเห็นว่าพระอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะสอนได้อีกต่อไป ท่านจึงคิดเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาต่างๆ ท่านจึงได้ไปเรียนให้โยมมารดาของท่านได้รับทราบว่า จะขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เพราะว่าที่นี่หาอาจารย์สอนไม่ได้อีกแล้ว

    โยมมารดาท่านเป็นห่วงว่าท่านเป็นบุตรคนเล็กที่มีอยู่ นอกนั้นออกเรือนไปหมดแล้ว อีกทั้งไม่มีญาติโยมทางกรุงเทพฯ จึงขอร้องไม่ให้ไป ท่านจึงลากลับวัด ด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านตัดสินใจนำจีวรแพรที่โยมมารดาถวายไว้นำไปขาย ได้เงินแปดสิบบาท แล้วตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่บอกให้โยมมารดารู้ จะให้รู้ก็กลัว

    จะลงเรือไปแล้ว จึงเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่คล้าย (เจ้าอาวาสวัดบางนมโคสมัยนั้น) ว่าจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ หลวงปู่คล้าย จึงแนะนำให้ไปเรียนกับ พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ โดยมอบเงินช่วยเหลือไปอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียน

    ตลอดเวลาท่านจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์เจิ่น ท่านได้พยายามหาความรู้เพิ่มเติม ในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาเมื่อท่านกลับมาวัดบางนมโค ปรากฏว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกที่เทศนาได้เพราะจับใจ และดึงดูดศรัทธายิ่งนัก

    นอกจากวัดสระเกศแล้ว ท่านยังได้มาเรียนเพิ่มเติมที่วัดสังเวช และที่อื่น จนมีความรู้ทางด้านแพทย์แผนโบราณแตกฉานอีกด้วย

    จากข้อความในหนังสือ อนุสรณ์ครบ ๑๐๑ ปีหลวงพ่อปาน เขียนไว้ว่า หลวงพ่อปานเคยเล่าให้ฟังว่า ระหว่างอยู่ที่วัดสระเกศนั้น อัตคัตมาก บิณฑบาตบางครั้งก็พอฉัน บางครั้งก็ไม่พอ ได้แต่ข้าวเปล่าๆ จ้องเด็ดยอดกระถินมาจิ้มน้ำปลา น้ำพริก ฉันแทบทุกวัน แต่ท่านก็อดทน ด้วยรับการอบรมเป็นปฐมมาจากพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ

    ท่านว่าอยู่กรุงเทพฯ ๓ ปี ได้ฉันกระยาสารทเพียงครั้งเดียว โดยนางเฟือง คนกรุงเทพฯ นำมาถวาย ได้รับนิมนต์ไปบังสกุลครั้งหนึ่งได้ปัจจัยมาหนึ่งสลึง เจ้าหน้าที่สังฆการีก็มาเก็บเอาไปเสียเลยไม่ได้ใช้ เงินที่ติดตัวไป ท่านก็ใช้จ่ายไปในการศึกษาจนเกือบหมด ท่านเหลือไว้หนึ่งบาท เอาไว้ใช้เมื่อมีความจำเป็นสุดยอดเท่านั้น

    ด้วยความอดทนของท่าน ในปีสุดท้ายที่ท่านจะกลับวัดบางนมโคนั้นเอง คืนหนึ่งท่านได้ยินเสียงคนเคาะหน้ากุฏิ ท่านเปิดออกไปก็เจอเทวดามาบอกหวย แล้วเขียนให้ดู แล้วย้ำว่าจำได้ไหม ท่านก็ตอบว่าจำได้ ท่านนอนคิดจนนอนไม่หลับ พอรุ่งเช้าแทนที่ท่านจะแทงหวย ท่านกลับเห็นว่านั่นไม่ใช่กิจของสงฆ์ ตามที่หลวงพ่อสุ่นได้อบรมไว้ ท่านก็ไม่แทง ปรากฏว่าวันนั้นหวยออกตรงตามที่เทวดาบอก ถ้าท่านแทงหวย ก็คงจะรวยหลาย

    ท่านอาจารย์แจง ฆราวาสชาวสวรรคโลก จากบันทึกของท่านฤาษีลิงดำว่า ท่านอาจารย์แจง เป็นฆราวาสสวรรคโลก ได้เดินทางล่องลงมาทางใต้ ถึงวัดบางนมโค มาเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อปาน จึงได้สอนให้รู้ถึง วิธีการปลุกเสกพระและวิธีสร้างพระตามตำราซึ่งเป็นของพระร่วงเจ้า ได้รับการสืบทอดมาจากอาจารย์ซึ่งเขียนไว้ว่า

    “ข้าพเจ้าได้รักษาตำราของพระอาจารย์ไว้แล้ว ก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทุกอย่าง วิชาต่างๆ มีผลดีทุกประการ ถ้าบุคคลใดได้พบแล้วจะนำไปใช้ ให้บูชาพระอาจารย์ของท่าน แต่มิได้ระบุว่าเป็นใคร”

    ท่านอาจารย์แจงได้นิมนต์หลวงพ่อปานไปในโบสถ์ตามลำพัง เพื่อถ่ายทอดวิชา ซึ่งนอกจากวิชาการปลุกเสกพระ และทำพระแล้ว ยังได้มหายันต์เกราะเพชร ซึ่งท่านก็ได้ใช้ยันต์เกราะเพชรนี้สงเคราะห์ผู้คนได้มากมาย

    หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน บันทึกโดยท่านฤาษีลิงดำ เขียนไว้ว่า “หลวงพ่อปานนิยมพระกัมมัฏฐาน หมายความว่า สิ่งที่ท่านต้องการที่สุดและปรารถนาที่สุด คือ พระกัมมัฏฐาน

    เรื่องพระกัมมัฏฐานนี้เป็นชีวิตจิตใจของหลวงพ่อปานจริงๆ ท่านเทิดทูนพระกัมมัฏฐานมาก ทั้งๆ ที่ทรงสมาบัติอยู่แล้ว ความอิ่ม ความเบื่อ ความพอใจในพระกัมมัฏฐานของท่านก็ไม่มี ท่านก็มีความปรารถนาจะเรียนพระกัมมัฏฐานให้มันดีกว่านั้น

    สมัยนั้นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นพิเศษ ในสมัยนั้นนะ สายอื่นฉันไม่ทราบ ก็มีหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

    สมัยนั้นเรือยนต์มันก็ไม่มี ถ้าจะไปก็ต้องไปเรือแจว ถ้าไปเรือ แต่ทว่าทางเดินสะดวกกว่า เดินลัดทุ่งลัดนาลัดป่าไป ป่าก็เป็นป่าพงส่วนใหญ่ ท่านก็ใช้วิธีธุดงค์ สมัยนั้นวิธีธุดงค์เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เรียกว่าใกล้ค่ำที่ไหนปักกลดที่นั่น ชาวบ้านเขาเลี้ยงตอนเช้า ฉันอิ่มแล้วก็ไปกัน พระธุดงค์ฉันเวลาเดียว

    ท่านบอกว่า เวลาที่ถึงวัดน้อยเขาร่ำลือกันว่า หลวงพ่อเนียมนี่เก่งมาก ท่านก็เข้าไปหาหลวงพ่อเนียม เข้าไปหานะไม่รู้จักหลวงพ่อเนียมหรอก

    ความจริงท่านก็คิดว่าหลวงพ่อเนียมท่านจะเป็นเหมือนหลวงพ่อองค์อื่นๆ ที่ท่านมีชื่อเสียงมาก นุ่งสบง จีวร เป็นปริมณฑล แล้วก็มักจะนั่งเฉยๆ ดีไม่ดีหลับตาปี๋ ก็หลับขยิบๆ เรียกว่าหลับ ไม่สนิทล่ะ คือ แกล้งหลับตาทำเคร่ง

    ที่นี้เวลาหลวงพ่อปานไปหาหลวงพ่อเนียม ก็ไปโดนดีเข้า เข้าไปแล้วเจอะหลวงพ่อเนียมที่ไหน ความจริง หลวงพ่อเนียมก็เดินคว้างๆ อยู่กลางวัดนั่นแหละ มีผ้าอาบน้ำ ๑ ผืน ที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า ผ้าอาบน้ำฝน สีเหลือง ผ้าอีกผืนแบบเดียวกันคล้องคอเดินไปรอบวัด

    หลวงพ่อปานก็บอกว่า เมื่อท่านเห็นนะ ก็ไม่รู้หลวงพ่อเนียม เห็นพระแก่ๆ ผอมๆ นุ่งผ้าลอยชายผืนหนึ่ง เข้าไปถึงก็กราบๆ หลวงพ่อปานบอกว่า “เกล้ากระผมมาจากเมืองกรุงเก่าขอรับ กระผมจะมานมัสการหลวงพ่อ ขอเรียนพระกัมมัฏฐาน”

    หลวงพ่อเนียมก็ทำท่าเป็นโมโห บอกว่า ไม่มีวิชาอะไรจะสอน พร้อมทั้งกล่าวขับไล่ไสส่งออกจากวัด หลวงพ่อปานก็นั่งทนฟังอยู่ ในที่สุดเห็นท่าจะไม่ได้เรื่อง ก็เลี้ยวหาพระในวัดไปขออาศัยนอน แล้วก็ถามว่า พระองค์นั้นน่ะชื่ออะไร พระท่านก็บอกว่า องค์นี้แหละชื่อ หลวงพ่อเนียม ล่ะ

    พอวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อปานก็เข้าไปหา ก็ถูกด่าว่าอีกอย่างหนัก ท่านยืนยันจะเรียนให้ได้ หลวงพ่อเนียม เลยสั่งว่า ๒ ทุ่ม ให้นุ่งสบงจีวรคาดสังฆาฎิไปหาในกุฏิ

    พอตอนกลางคืน หลวงพ่อปานเข้าไปหาท่าน ปรากฏว่ารูปร่างท่านผิดไปมาก ผิวดำ ผอมเกร็งแบบเก่า ไม่มี ท่านนุ่งสบงจีวรพาดสังฆาฏิเหลืองอร่ามผิวกายสมบูรณ์ ร่างกายก็สมบูรณ์ หน้าตาอิ่มเอิบ รัศมีกายผ่องใส สวยบอกไม่ถูก

    หลวงพ่อปานตรงเข้าไปกราบ ๓ ครั้งแล้วก็นั่งมอง ท่านก็นั่งมองยิ้มๆ แล้วท่านก็ถามว่า “แปลกใจรึคุณ” หลวงพ่อปานก็ยกมือนมัสการ บอกว่า “แปลกใจขอรับหลวงพ่อ รูปร่างไม่เหมือนตอนกลางวัน”

    ท่านก็บอกว่า “รูปร่างน่ะคุณมันเป็นอนัตตา หาความเที่ยงแท้ไม่ได้ มันจะอ้วนเราก็ห้ามไม่ได้ มันไม่มีอะไรห้ามได้เลยนี่คุณ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง เห็นไหม ไปเจอตัวอนิจจังเข้าแล้วซิ”

    หลวงพ่อปานบอกว่า ตอนนี้ล่ะเริ่มสอนกัมมัฏฐาน อธิบายไพเราะจับใจฟังง่ายจริงๆ พูดได้ซึ้งใจทุกอย่าง เวลาท่านพูดคล้ายๆ ว่าจะบรรลุพระอรหันตผลไปพร้อมๆ ท่าน ท่านสอนได้ดีมาก

    พอสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็บอกให้ไปพักที่กุฏิอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับกุฏิของท่าน แล้วเวลาทำกัมมัฏฐานกลางคืน หลวงพ่อปานวางอารมณ์ผิด ท่านจะร้องบอกไปทันที บอก “คุณปานเอ๊ย คุณปาน นั่นคุณวางอารมณ์ผิดแล้วตั้งอารมณ์เสียใหม่มันถึงจะใช้ได้” นี่หลวงพ่อปานบอกว่า ท่านมีเจโตปริยญาณแจ่มใสมาก

    ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานอยู่กับหลวงพ่อเนียม ๓ เดือน แล้วจึงกลับ ก่อนหลวงพ่อปานจะกลับ หลวงพ่อเนียมก็บอกว่า “ถ้าข้าตายนะ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาแทนข้าได้ ถ้ามีอะไรสงสัยก็ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน”

    หลวงพ่อปานได้เรียนคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อช่วงตอนปลายของชีวิต คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ท่านไปเรียนกับ ครูผึ้ง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

    ตอนนั้นครูผึ้ง เป็นฆราวาส อายุ ๙๙ ปี เพราะได้ข่าวว่าครูผึ้งเป็นคนพิเศษ เวลาขอทานมาขอ ให้คนละ ๑ บาท สมัยนั้นเงิน ๑ บาท มีค่ามาก เงิน ๑๐๐ บาท ๒๐๐ บาท สามารถสร้างบ้านได้ ๒ หลัง มีครัวได้ ๑ หลัง เวลาทำบุญแกจะช่วยรายละ ๑๐๐ บาท ไม่ใช่เงินเล็กน้อย

    เมื่อทราบข่าว หลวงพ่อจึงไปขอเรียนกับแก คาถาปัจเจกพุทธเจ้านี้ เรียกว่า คาถาแก้จน ท่านได้เรียนมาและพิมพ์แจกเป็นทานแก่สาธุชนนำไปปฏิบัติ และมีผลดีจบสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้

    กลับมาตุภูมิ

    หลังจากที่หลวงพ่อปานได้เสร็จสิ้นการเรียนจากกรุงเทพฯ แล้วท่านก็หวนคิดถึงโยมมารดาที่ท่านจากมาถึง ๓ ปี จึงเดินทางกลับวัดบางนมโค พร้อมกับความรู้ที่ได้รับมา

    ท่านได้ระลึกถึงว่า การเล่าเรียนของท่านลำบากมาก จึงอยากจะจัดสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรและบุตรธิดาชาวบางนมโค ให้มีความรู้ จึงนิมนต์พระภิกษุเกี้ยว ที่อยู่สำนักเดียวกับท่านมาด้วย เพื่อจัดสอนหนังสือ เมื่อมาถึงแล้วท่านก็นำมากราบนมัสการหลวงปู่คล้าย และได้ไปหาโยมมารดาให้ได้ชมบุญ


    อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

    จากปากคำของผู้ทราบเคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน และเรื่องเล่าสืบต่อกันมา พอจะอนุมานได้ดังนี้ จากบันทึกของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บันทึกไว้ว่า

    “หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรีที่มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วน เสียงดังกังวานไพเราะ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้ศรัทธาปสาทะ เป็นอย่างยิ่ง ดวงตาบ่งบอกถึงความเมตตาปรานีในสัตว์โลกทั้งหลาย ต้อนรับผู้คนที่มาหาไม่เลือก เศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ใครไปก็ไต่ถาม

    ว่ากันว่าถ้าหลวงพ่อพูดจากับผู้ใดแล้วนั้น มักจะจับจิตจับใจ ที่ใจชั่วมัวเมามาก็กลับตัว แม้แต่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ยังหันมานับถือพระพุทธศาสนา”

    ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆ จะมีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือนับเป็นจำนวนร้อยๆ คน ไหนจะให้รดน้ำมนต์ ไหนจะต้องพ่น ไหนจะขอยา ไหนจะมาปรึกษาถึงเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ

    บางคนก็เรียกว่าหลวงพ่อ บางคนเรียกว่าหลวงปู่บ้าง เป็นเราๆท่านๆ น่ากลัวจะนั่งไม่ทน เพราะตั้งแต่เพลจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ ๔ หรือ ๕ ทุ่มนั่นแหละท่านถึงจะพักผ่อน และเป็นอย่างนี้อยู่ประจำทุกวัน จนกระทั่งท่านมรณภาพ

    ท่านไม่ยินดียินร้ายในทางโลกธรรมแต่ประการใด คงปฏิบัติธรรมเหมือนพระแก่ๆ รูปหนึ่งที่ไม่ต้องการยศบรรดาศักดิ์ หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไป ตามกำลังความสามารถเท่านั้น

    ด้วยความไม่ติดอยู่ในยศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านจึงได้ปฏิเสธตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโค กล่าวคือ เมื่อหลวงปู่คล้ายเจ้าอาวาสวัดบางนมโครูปก่อนมรณภาพลง ทายกทายิกาพระภิกษุสงฆ์ได้พร้อมใจกันอาราธนาท่าน ขึ้นครองวัดบางนมโคแทน

    ท่านก็ไม่รับ ท่านให้เหตุผลว่า ท่านหน่ายเสียแล้วจากกิเลสอันจะมาเป็นเครื่องขวางกั้นทางพระนิพพาน กลับแนะนำท่านสมภารเย็น ซึ่งเวลานั้นเป็นพระลูกวัดธรรมดาขึ้นรับตำแหน่งแทน ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดต่อไปอย่างเดิม

    ด้วยความที่ท่านได้เสริมสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นบางนมโค และสถานที่อื่นๆ มากมาย โดยไม่ได้หวังจะได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์ตอบแทน แม้ว่าจะมีเชื่อพระวงศ์ชั้นสูง จะมาเป็นลูกศิษย์ของท่านอยู่มากมายก็ตาม

    ในที่สุดความดีของท่าน ทางฝ่ายบ้านเมืองจึงตอบแทนความเป็นผู้เสียสละของท่าน ด้วยการมอบถวายสมณศักดิ์ให้แก่ท่าน เป็นที่ “พระครูวิหารกิจจานุการ” ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ โดยมี

    ๑.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ
    ๒.พระวรวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ
    ๓.หม่อมเจ้าโฆษิต
    ๔.หม่อมเจ้านภากาศ
    ๕.ท้าววรจันทร์

    ข้าราชการและบรรดาสานุศิษย์ของท่าน ได้นำพัดยศพระราชทานมาให้ท่านถึงที่วัด โดยนำไปมอบให้ท่านในพระอุโบสถ ตามพระบรมราชโองการ ท่ามกลางคณะสงฆ์และชาวบ้านต่างแซ่ซ้องสาธุการกันถ้วนหน้า แต่หลวงพ่อปานเองท่านก็วางเฉยด้วยอุเบกขา

    และแม้จะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นที่พระครูวิหารกิจจานุการแล้ว ท่านเองก็ยังคงเป็นหลวงพ่อปานรูปเดิม ปฏิบัติกิจวัตรอย่างที่แล้วๆ มา แต่ผู้ที่ยินดีที่สุด กลับเป็นบรรดาศิษยานุศิษย์

    หลวงพ่อปานรักษาโรค

    ในเรื่องการรักษาโรคช่วยชีวิตคนของหลวงพ่อปาน เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ผู้คนต่างแห่กันมาที่วัดจนแน่นขนัด จนไม่มีที่รับรองแขกเพียงพอ วิชาการรักษาโรคและวิชาการบางอย่างที่หลวงพ่อปานสำเร็จ และนำมาช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ เท่าที่เกิดปฏิหาริย์และได้รับการบันทึกไว้มีมากมาย

    ตัวอย่างเช่น รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ โรคที่ท่านรักษาด้วยน้ำมนต์ เรียกว่าโรคภายใน เช่น บางคนถูกของ ถูกคุณ ถูกเขากระทำมา โรคที่เกิดจากกรรมเวร ถูกผีสิง เป็นต้น

    บางครั้งก็ต้องแป้งเสกควบคู่ด้วย ในตอนเพล ขณะที่ท่านพักผ่อน ท่านจะทำการเสกน้ำมนต์เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อเวลาอาบจะได้สะดวก และท่านได้ใช้เวลาในการอาบนั้นบริกรรมเสกเป่าเฉพาะรายอีกด้วย

    น้ำมนต์ของท่านนี้ศักดิ์สิทธิ์นัก และกรรมวิธีในการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วงระยะ คือ

    ช่วงแรก ท่านจะเรียกคนไข้มาหาแล้วถามชื่อเสียงเรียงนาม ถามอาการแล้วยื่นหมากให้คำหนึ่ง

    คาถาที่ใช้เสกหมากนี้ ท่านบอกผู้ใกล้ชิดว่าใช้ดังนี้ จะขลังหรือไม่อยู่ที่จิตของผู้ทำ “ตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วว่า โสทาย นะโม พุทธายะ ลัมอิทังโล นันโทเทติ ยาทาโลเทตีติ”

    เมื่อคนไข้ได้รับหมากเสกแล้วให้เคี้ยวให้แหลก บ้วนน้ำหมากทิ้งเสียสามที กลืนลงคอไป ให้คนไข้สังเกตุดูว่าหมากนั้นมีรสอะไร แล้วบอกหลวงพ่อปาน จากนั้นก็จะทำการรักษาตามวิธีของท่าน หลวงพ่อปานท่านบอกว่า รสหมากนั้นบอกโรคได้ดังนี้

    รสเปรี้ยว แสดงว่า ต้องเสนียดที่อยู่อาศัยเข้ามาเกี่ยวข้อง คือมีของต้องห้ามอยู่กับบ้าน เช่น มีไม้ไผ่ผูกส่วนต้นสาวนปลายอยู่ในบ้าน มีตออยู่ใต้ถุนบ้าน ที่เรียกว่า ปลูกเรือนคล่อมตอ หรืออย่างอื่น ต้องจัดการเรื่องนี้เสียก่อนแล้วจึงรักษาหาย ส่วนมากแล้วหลวงพ่อปานจะใช้ญาณดูแล้วบอกว่ามีอย่างไหนบ้าง ให้แก้เสียก่อน

    รสหวาน แสดงว่า ต้องแรงสินบนอย่างใดอย่างหนึ่ง คนไข้หรือคนในบ้านบนไว้ต้องนึกให้ออกว่า ตนเคยบนบานศาลกล่าวอะไรบ้าง ถ้านึกได้ผู้ป่วยไข้จะต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนไปจุดบูชากลางแจ้ง ขอทำการแก้บนให้ถูกต้องในภายหน้าต่อไป

    เมื่อกลับมาหาท่าน ท่านจะรดน้ำมนต์ให้ รดแล้วจะต้องให้กินหมากเสกอีกว่า หมดสิ้นหรือยัง ถ้าไม่มีรสหวานก็หมดแล้ว ถ้ายังหวานอยู่ก็ต้องนึกดูก็ต้องแก้บนอีก แล้วจึงรักษาหาย

    รสขม แสดงว่าต้องคุณคน คือ ถูกของที่มีผู้ใช้เดียรัจฉานวิชานำมาไว้ในตัว เช่น ในท้องมีตะปูบ้าง มีเข็มเย็บผ้าบ้าง ไม้กลัดผูกกากบาทบ้าง ด้ายตราสังข์มัดศพ เปลวหมูบ้าง หนังสัตว์บ้าง ของเหล่านี้จะทำให้คนไข้เจ็บปวดเสียดแทงในร่างกายเป็นที่ทรมานนัก

    คนไข้ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหญิง ที่เป็นชายมีน้อย โดยมากพวกนี้มักจะรับจ้างทำร้ายผู้อื่น หรือไม่ก็ปล่อยไปตามยถากรรม ถูกใครก็เจ็บไป ทำร้ายใครไม่ได้ก็กลับมาเข้าตัวเอง เคยมีแขกผู้หนึ่งถูกของของตัวเอง หลวงพ่อปานท่านแก้ให้แล้วขอสัญญา ให้เลิกอาชีพนี้เสีย

    คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อท่านจะเสกน้ำมนต์พิเศษใส่กระป๋องน้ำ เพื่อให้คนไข้แช่เท้าทั้งสองข้างไว้ เพื่อเวลารดน้ำมนต์ ของที่อยู่ในตัวจะได้หลุดออกมาทางเท้าอยู่ในกระป๋องน้ำมนต์

    มีอาการยันหมาก มึนงงศีรษะเวียนศีรษะ อย่างนี้หลวงพ่อท่านว่าถูกคุณผี คือมีอาการใช้ผีมาเข้าสิง คนไข้นั้นจะสำแดงอาการกิริยาผิดปกติ

    ถ้าผียังสิงอยู่ จะไม่ยอมกินหมากเสกหลวงพ่อ ต้องใช้อำนาจจิตบังคับให้กิน ถ้าผีแกล้งออกไปชั่วระยะ คนไข้จะยอมกินหมากแล้วมีอาการยันหมาก ผีประเภทนี้เป็นผีตายโหง ที่มีผู้มีวิชานำวิญญาณมาใช้ทำอันตรายคน ทำให้เสียสติเพ้อคลั่ง เสียคน เป็นต้น

    คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อปานท่านจะทำน้ำมนต์พิเศษจากพระดินเผาของท่านเอง ซึ่งท่านมักจะใส่ในกระเป๋าอังสะของท่านอยู่เสมอ เพื่อทำน้ำมนต์ให้คนไข้อาบ และใช้มีดหมอของท่านกดกลางศีรษะ และรดน้ำมนต์คนไข้นั้นเรื่อยไปจนกว่าผีจะออก ถ้าดิ้นรนก็ต้องมีคนมาช่วย จับและรดน้ำมนต์ในระหว่างที่ท่านกดมีดหมอและบริกรรมอยู่

    คนไข้ประเภทนี้เมื่อหายแล้วจะจำอะไรไม่ได้เลย และท่านมักจะให้สายสิญจน์มงคลไว้คล้องคอ กันถูกกระทำซ้ำอีก

    รายที่มีอาการร้อนหูร้อนหน้า แสดงว่าร้ายแรงมาก ถึงขนาดที่ถูกน้ำมันผีพราย ประเภทนี้จะอาการป้ำๆ เป๋อๆๆ คุ้มดีคุ้มร้าย ชาวบ้านเรียกว่า ลมเพลมพัด ขาดสติ ปวดศีรษะบ่อยๆ คนไข้ชนิดนี้ท่านจะให้แช่เท้าในกระป๋องด้วยเหมือนกับที่ถูกคุณคน เมื่อเวลารดน้ำมนต์นั้น น้ำมันพรายจะซึมออกมา เป็นฝ้าน้ำมันลอยอยู่ในน้ำให้เห็น

    หลวงพ่อบอกว่า คนไข้ประเภทนี้หายยาก เพราะว่าน้ำมันซึมอยู่ในร่างกาย ต้องมารักษาบ่อยๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ จนกว่าจะหมดน้ำมันพราย และท่านมักจะสั่งห้ามกินน้ำมันสัตว์ เพราะจะไปเพิ่มน้ำมันให้กับน้ำมันพราย

    หมากเสกของท่านนี้ ถ้ากินแล้วร้อนลึกเข้าไปในทรวงอก ท่านว่าเป็นโรคฝีในท้อง วัณโรค ประเภทนี้นอกจากรดน้ำมนต์แล้ว ยังต้องกินยาคุณพระควบไปด้วยอีกทางหนึ่ง เป็นการขับถ่ายพิษร้ายออกจากร่างกาย

    รักษาโรคด้วยยาพระพุทธคุณ

    นอกจากน้ำมนต์แล้ว ท่านยังมียาคุณพระพุทธคุณให้กินอีกด้วย ยานี้มีสรรพคุณแก้โรคได้ทุกชนิด แล้วแต่ชนิดของโรค

    คือ ยานี้เป็นยาอธิษฐานของหลวงพ่อปาน นอกจากจะรักษาโรคแล้ว ยังเป็นยาที่หลวงพ่อปานให้กิน เวลาท่านรดน้ำมนต์แก้ถูกกระทำไปแล้ว

    ยาของท่าน ท่านจะบอกกับผู้ใกล้ชิดว่า ตำรับยานี้เป็นของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ องค์อุปัชฌาย์ของท่าน มอบให้ท่านเป็นทายาทแทนเมื่อหลวงพ่อสุ่นล่วงลับไปแล้ว มี ๒ ขนาน(คัดมาจากหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี หลวงพ่อปาน)

    พระคาถาของหลวงพ่อปาน

    (ว่า “นะโม ฯลฯ” ๓ จบ)

    พระคาถาบทนำ ว่าครั้งเดียว
    “พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ”

    พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์
    ว่า ๓ จบ หรือ ๕ จบ หรือ ๗ จบ หรือ ๙ จบ ก็ได้ แต่ต้องสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล
    “วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม”

    คาถามหาพิทักษ์
    “จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง”
    ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่างฯ

    คาถามหาลาภ
    “นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา ธะนังวา พึซังวา อัตถังวา ปัตถังวา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมึมา นะมามิหัง”
    ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ

    พระคาถา ๓ บทนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดนำไปใช้จะเกิดโชคลาภมั่งมีเงินทองอย่างมหัศจรรย์

    ท่านมรณภาพวันที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๔๘๑ รวมสิริอายุ ๖๓ ปี ๔๓ พรรษา.

    ข้อมูล : เว็บศูนย์พุทธศรัทรา

    ขนาด หน้าตัก 5 นิ้ว บูชาองค์ละ 699 บาท
    3 องค์ 600 บาท/องค์ (คละได้)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010113.JPG
      P1010113.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      182
    • P1010115.JPG
      P1010115.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      150
  12. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    พระรูปหล่อเรซิ่นขนาด 5 นิ้ว 9 นิ้ว หากสั่งจำนวนมากมี ราคาพิเศษ

    มีหลากหลายคณาจารย์สอบถามก่อนได้ครับ
     
  13. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    up.....................
     
  14. iamchatchai

    iamchatchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +106
    แวะมาชม.... สมเด็จองค์ปฐมเนื้อทองเหลืองรมดำ สวยมากครับ :cool:
     
  15. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    ตู้กระจก รูปหล่อเหมือนคณาจารย์ เนื้อเรซิ่น 6 เหลี่ยม

    ขนาดสำหรับหน้าตัก 9 นิ้ว ราคา 450
    สำหรับขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว ราคา 250

    (รับประกันของแตกขณะขนส่ง)

    P1010340.JPG

    P1010343.JPG

    P1010342.JPG

    P1010341.JPG
     
  16. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169
    :cool::cool::cool:
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • viewimg.jpg
      viewimg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.8 KB
      เปิดดู:
      738
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2013
  17. ommplay

    ommplay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +169

แชร์หน้านี้

Loading...