ทำอย่างไรไม่ให้คิด ขณะปฏิบัติสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 30 พฤษภาคม 2012.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ทำอย่างไรไม่ให้คิด ขณะปฏิบัติสมาธิ

    ความจริงแล้ว ข้าพเจ้า คิดว่าจะตั้งเป็นกระทู้หรือบทความใหม่ เพื่อให้ได้อ่านกันทุกท่าน แต่ได้แนวคิดใหม่ ก็เลยต้องขออนุญาตเจ้าของกระทู้ไว้ว่า ข้าพเจ้าขออนุญาต นำเอาคำถามของคุณไปโพสเป็น กระทู้เพื่อพุทธศาสนิกชน จะได้เห็นตัวอย่าง และสามารถทำความเข้าใจ ในเหตุการณ์ที่คุณเจ้าของกระทู้ได้เล่ามา

    สิ่งที่คุณได้เล่ามาทั้งหมดนั้น แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องธรรมดาของคนหรือมนุษย์ที่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง มาก หรืออาจจะกล่าวได้อีกรูปแบบหนึ่งว่า เป็นผู้มีอารมณ์รุนแรง ขออภัยนะขอรับ ที่กล่าวไปแล้วนั้นไม่ใช่เป็นการว่ากล่าวให้คุณนะขอรับ แต่อธิบายไปตามหลักความจริงขอรับ
    ตามที่ได้กล่าวไป ถ้าจะว่ากันตามหลักพุทธศาสนาในเรื่องของฌาน(ชาน) ทุกท่านจะเห็นและเข้าใจได้ว่า เจ้าของกระทู้ วนเวียนอยู่ใน ปฐมฌาน(ประถมชาน) คือ ฌาน(ชาน)ที่๑ อันเกิดมี วิตก,วิจารณ์,ปิติ,สุข,เอกัคคตา ผสมผสานกันไป จะสั้นหรือยาว ก็แล้วแต่ กล่าวคือ คิดเรื่องหนึ่งจบ ก็คิดอีกเรื่องหนึ่ง ต่อๆกันไป อย่างนี้เป็นต้น
    การที่เจ้าของกระทู้วนเวียนอยู่ใน ปฐมฌาน ไม่ไปไหน ก็เพราะ ไม่สามารถควบคุมหัวใจและสมองได้ ถ้าคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงาน สมองก็จะคิดไปโดยที่เจ้าตัวจะไม่สามารถบังคับให้หยุดคิดได้ เนื่องจากในสมองมีเรื่องต่างๆมากมายที่ล้วนเป็นเครื่องก่อให้เกิด กิเลส
    คำว่า กิเลส นั้น หลายๆคน ย่อมคิดว่า กิเลส ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือ ตัณหาคือความอยาก โดยไม่ทันได้คิดว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือ ตัณหาคือความอยาก จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ เราคิด เราระลึกนึกถึง จากการที่ได้สัมผัสทางอายตนะทั้งหลาย เมื่อเจ้าของกระทู้มีเรื่องที่ก่อให้เกิดกิเลส จึงทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานโดยอัตโนมัต ส่งคลื่นไปที่สมอง ทำให้สมองคิดถึงเรื่องราวต่างๆ แม้ขณะปฏิบัติสมาธิ ด้วยเหตุนี้เอง ในทางพุทธศาสนา จึงได้มีหลักของ ฌาน(ชาน) อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน จะมากหรือน้อย เป็นแล้วคิดแล้วสามารถควบคุมได้ หรือควบคุมไม่ได้ ก็ตามแต่
    แต่ในทางพุทธศาสนา ได้จัดลำดับขั้นของ ฌาน(ชาน) เอาไว้เป็นขั้นๆ ซึ่งในทางทีเป็นจริง บุคคลทั้งหลายที่ปฏิบัติสมาธิ อาจสามารถข้ามขั้น ไปได้ หรืออาจขึ้นหรือลดได้ ตามแต่สภาพสภาวะจิตใจ และหรือ สภาพกิเลสในตัวของบุคคลนั้นๆ
    ด้วยเหตุที่กล่าวไป การคิด หรือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข ที่เกิดขึ้นในขณะ ปฏิบัติสมาธิ หรือฝึกสมาธินั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาของบุคคลที่มีอารมณ์รุนแรง มีกิเลสตัณหามากกว่า บุคคลอื่นๆ จำต้องฝึกฝนโดยตัดความสนใจอื่นๆออกไปบ้าง เอาเป็นเพียงนั่่งหรือนอนให้สบาย เป็นใช้ได้
    อนึ่ง เรื่องของการคิด ขณะฝึกปฏิบัติสมาธินั้น อาจทำให้ร่างกายหลั่งสารชนิดหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้) ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ แม้จะไม่คิดเรื่องใดก็ตาม อันนี้ต้องรู้เอาไว้ จะได้ไม่เกิดความวิตกกังวลว่า ทำไมถึงนอนไม่หลับ
    ถ้าหากเจ้าของกระทู้ ไม่ต้องการที่จะคิดในขณะปฏิบัติสมาธิ จำต้องมีสติระลึกได้อยู่เสมอ เมื่อรู้สึกตัวว่าได้คิด ก็ให้ควบคุมจิตใจหรือหัวใจเอาไว้ การควบคุมหัวใจหรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เขียนเป็นตัวหนังสือไม่ได้ขอรับ ไม่รู้จะเขียนอย่างไร เอาเป็นว่า เมื่อรู้ตัวว่าคิด ก็ต้องควบคุมไว้ไม่ให้คิด คือ ความคุม ความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหาคือความอยาก นั่นแหละขอรับ
    ที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไปทั้งหมด คือการฝึกสมาธิ ตามหลักธรรมชาติ และเป็นไปตามหลักพุทธศาสนา ในเรื่องของฌาน ซึ่ง ในเรื่องของ ฌาน นี้ ยังแตกย่อยออกไปได้อีก เป็น สมาธิชั่วขณะ, สมาธิขั้นจวนเจียน,สมาธิแน่วแน่ ฯ อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ไม่ต้องสนใจก็ได้ขอรับ เอาเป็นเพียงไม่ให้คิด ถ้าคิดก็สามารถควบคุมและหยุดคิดได้ ก็ถือว่าสำเร็จขอรับ
    จะทำได้หรือไม้่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับความ ตั้งใจ ความเข้าใจ ความขยันของตัวคุณเองนะขอรับ
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้สอน)
    ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2012
  2. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    มีความคิดไม่ไช่เรื่องแปลกอะไร จะห้ามไม่ให้คิดก็ห้ามได้ยาก ควรใช้ความคิดให้เป็นประโยชน์โดยการใช้ฝึกสติ เมื่อใดมีความคิดให้รู้สึกตัวว่ากำลังคิด แค่นี้ก็นับว่าไม่เสียเวลา
     
  3. Celtic

    Celtic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +198
    นี่้้เป็นผลของการนั่งสมาธิแบบไม่มีครู ถ้ามีความตั้งใจ มีความอยากที่จะก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม ควรไปฝึกอย่างถูกต้อง ถ้าฝึกสติปัฏฐานสี่ ก็วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ไม่ใช่นั่งยุบหนอ พองหนอ แค่ปากว่าลอยๆ แต่เป็นการกำหนดทุกอิริยาบทการเคลื่อนไหวของกาย และความคิด ถ้าฝึกอย่างมีความเพียร จะสังเกตุได้เองว่า ความคิดกำลังจะเกิดขึ้น และสติที่เราเฝ้าเพียรฝึกอย่างเข้มแข็งจะรู้เท่าทันความคิด และจะสามารถดับความคิดนั้นลงได้ด้วยปัญญา ธรรมะของพระพุทธเจ้า เข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติเท่านั้น และด้วยครูบาอาจารย์
    ที่เป็นพระสุปฏิปัณโณ ก็ต้องพยายามค้นหาให้เจอว่าตัวท่านเองมีจริตเหมาะกับการฝึก
    แบบใด อย่าเสียเวลานานในการค้นหาล่ะ เพราะเวลาของเราไม่รู้จะมีอยู่นานเท่าไหร่
    อีกวิธีน่าสนใจ คือการฝึกมโนมยิทธิ หาข้อมูลได้ในเว็บนี้ ก็ต้องไปฝึกแบบมีครู อย่านั่งเอง
    ไปปฏิบัติให้เป็นกิจลักษณะ สงสัยอะไรก็มีครูบาอาจารย์เป็นที่ปรึกษา
     
  4. ทัพขวัญชัย

    ทัพขวัญชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +218
    ลองฟัง หลวงพ่อพุธ ท่านสอนนะครับ ฟังหลายๆรอบก็ดีครับ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=g8qFO3a65p0]ฟังเทศน์ หลวงพ่อพุธ สอนการภาวนา - YouTube[/ame]
     
  5. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ถ้าชม. บินในการปฏิบัติไม่สุงพอ จิตก้คิดอย่วันยังค่ำ ก้เพราะจิตมีหน้าที่คิดและแปรปรวนไปตามที่มีกระทบนอก กระทบใน จิตไม่ได้มีหน้าที่สั่งสมองให้หยุดคิด จะสั่งได้ก้ต้องฝึกควบคุมจิต เหมือนม้าป่า มาฝึกเปนม้าอาชาไนยเสียก่อน

    ก้คล้ายสวดอิติปิโสถอยหลัง ถ้าทำได้ จิตจะเกิดสมาธิทันที เหมือนท่องพุท โธ+ เหนลมเข้า ออก นับ1 แล้วไล่ไปถึง 9 จาก 9 ก้ไล่ถอยกลับมาหา 1 ใหม่ เกิดสมาธิได้ดี เปนอานาปานสติ แบบ คณนานัย เน้นการนับกับกำหนดลมหายใจเปนหลัก
     

แชร์หน้านี้

Loading...