ตามรอย "พระมหาชนก"

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 15 กรกฎาคม 2010.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]

    ใน บทพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก ปรากฏภาพพยากรณ์การเดินเรือถึงสี่ภาพ แสดงข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับทิศทางลม กำหนดวันเดินทะเล ตลอดจนจุดและวันอับปางของเรือ ตามที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง “ พระองค์ท่านทรงคำนวณไว้หมดนะครับว่า เกิดเหตุการณ์วันที่เท่าไหร่ อะไรยังไง ” อาจารย์ปัญญาเพิ่มเติม “ รับสั่งให้ฟังเลยว่า เห็นมั้ย ฉันพยากรณ์อากาศไว้ว่า จะต้องวันนี้วันนั้นเกิดพายุ พายุก็เกิดในเวลานั้น ตรงตามที่พระองค์ท่านทรงคำนวณมาจริง ”
    [​IMG]

    สิ่งที่หลายคน มองข้ามถึงคุณค่าแห่งศาสตร์โบราณ กลับกลายเป็นข้อมูลสำคัญของการศึกษาค้นคว้าด้วยวิจารณญาณของผู้มีปัญญา ในการผสมผสานเข้ากับศาสตร์ใหม่ของคนยุคปัจจุบัน
    [​IMG]

    “ ภาพที่เป็นคำนวณวันเวลาเกิดเหตุพายุในพระมหาชนก ” อาจารย์ปัญญาขยายความ “ พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ และทรงภาพฝีพระหัตถ์ด้วยคอมพิวเตอร์ของพระองค์ท่านเองทั้งสี่ภาพในหนังสือ นั้น ซึ่งน่าสนใจมากเพราะท่านใช้ศาสตร์หลายแขนงๆ ทั้งปัจจุบันและอดีตมาคำนวณร่วมกัน

    “ เป็นแผนที่พยากรณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพยากรณ์เกี่ยวกับวันที่พระมหาชนกออกเดินทางจากเมืองจัมปากะไปค้าขาย ที่สุวรรณภูมิ และก็พยากรณ์วันที่เกิดเหตุ ” นายเนติกร ชินโย หนึ่งใน
    ศิลปินผู้วาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์เพิ่มเติม


    [​IMG]


    ตอนต้นของพระราชนิพนธ์ปรากฏภาพแผนที่ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่ง ที่กล่าวถึงในพระราชนิพนธ์ ซึ่งนายเนติกร ชินโย เล่าถึงการถวายงานเมื่อครั้งวาดภาพแผนที่ประกอบพระราชนิพนธ์ไว้ว่า


    [​IMG]
    “ แผนที่อันนี้เป็นแผนที่ภูมิศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงร่างมา และทรงกำหนดว่าเมืองต่างๆจะอยู่ตรงไหน ดินแดนสุวรรณภูมิจะอยู่ตรงไหน คือทุก เมืองนี่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้วิธีคำนวณของพระองค์ท่าน แล้วก็ทรงใส่ลงไป ทรงคำนวณตำแหน่ง ระยะเวลา พระองค์ท่านทรงคำนวณเป็นกิโล เป็นโยชน์ชัดเจนเพื่อที่เราจะได้จินตนาการ หรือ คิดได้เห็นความเป็นจริงได้
    ชัดเจนยิ่งขึ้น



    [​IMG]
    ในเรื่องนี้อาจารย์ปัญญาได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ ในแผนที่ ก็เป็นลักษณะที่ใช้ความเป็นจริงในปัจจุบัน กับ แผนที่ที่มีเรื่องราวในอดีตมาผสมผสานหาตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อให้คนเกิดจินตนาการมองเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ชัดเจน ซึ่งเมืองต่างๆในพระมหาชนก ก็ยังเป็นเมืองที่ปรากฏอยู่ในความเป็นจริงในปัจจุบัน ให้คนเห็นถึงความเป็นจริงในพระมหาชนกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ”

    นายเนติกรเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการถวายงานอีกว่า “ พระองค์ ทรงร่างเป็นภาพแผนที่มาให้ก่อน เป็นลักษณะลายเส้น แล้วผมก็ทำตาม โดยนำภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาทำเป็นภาพสี แต่ทำให้ลักษณะเป็นเหมือนแผนที่โบราณ

    [​IMG][​IMG]

    แต่เขาเองก็คาดไม่ถึงว่า งานวาดแผนที่ซึ่งดูเหมือนจะง่ายกว่าภาพวาดอื่นกลับไม่เป็นดังที่คิด “ แก้ไขก็มี คือตอนที่ผมทำภาพร่างแผนที่ไปนะฮะ ผมก็ดูจากต้นแบบ แต่ว่าผมร่างด้วยตัวผมเองแล้วก็ทำเป็นสีถวายให้ทอดพระเนตรก่อน ครั้งนั้นเสร็จแล้วพอกลับมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง เอาภาพร่างที่เป็นกระดาษไขของพระองค์ ในขนาดที่เท่ากับของผม ทรงแปะลงมาบนแผนที่ภาพของผม คือ เพื่อจะทรงบอกให้รู้ว่า out line (โครงร่าง )ที่ผมร่างไป สัดส่วนยังไม่ถูกต้องก็ให้แก้ไขในเรื่องของสัดส่วนของแผนที่



    [​IMG]

    งานแก้ไขภาพแผนที่ของศิลปินท่านนี้ ไม่ใช่เพียงสัดส่วนของแผนที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ “ ทรงดูละเอียดครับ อย่างในแผนที่ก็จะมีหมู่เกาะเล็กๆน้อยๆที่เราไม่ได้ใส่ลงไป พระองค์ท่านก็ทรงให้กลับมาเติมให้เรียบร้อย บางทีเราดูยังไม่ละเอียด บางทีเรามองข้ามรายละเอียดไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงละเอียดมาก "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2010
  2. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ครรลองของเรื่องราว พฤติกรรมของผู้คนที่ปรากฏในพระมหาชนก เมื่อพิจารณาโดยลึกซึ้งแล้วยังคงพบเห็นได้ในยุคสมัยปัจจุบัน และหากไม่มีการแก้ไข แม้ในอนาคต ก็จะยังคงเป็นอยู่ต่อไป

    [​IMG]

    อาจารย์ปัญญาสรุปความเห็นว่า “ เพราะฉะนั้น ส่วนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ที่น่าสนใจก็คือ พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์พระมหาชนกให้เป็นเรื่องจริง ที่คนปัจจุบันสัมผัสกับความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้ได้ ถ้าคนสัมผัสความเป็นจริงในพระมหาชนกได้ ก็สามารถเห็นคุณค่าในคติ หรือ นำคุณค่าความหมายในพระมหาชนกนี้ มาใช้ในวิถีชีวิตประจำวันได้ เพราะถ้าคนยังมองเห็นเป็นเรื่องความฝัน หรือ เป็นเรื่องอดีต คนจะไม่สนใจที่จะเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน ”



    ธรรมแห่งความเพียร ก่อให้เกิดพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ด้วยพระสติและพระปัญญา จึงทรงหาหนทางแก้ไขปัญหาโดยอาศัยเค้าโครงจากพระชาดก ดั่งนี้ ด้วยอานุภาพแห่งความเพียร ด้วยพลังแห่งสติ และด้วยหนทางแห่งปัญญาเท่านั้น ประวัติศาสตร์จึงจะไม่ย้อนรอยเดิม.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2010
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ศูนย์กลางของพระราชนิพนธ์ [​IMG]













    การแสดงออกมาซึ่งความคิดหลักของชาดกนี้ คือให้เห็นว่า ความเพียรต้องมี และสำคัญที่สุดว่า คนเราทำอะไรต้องมีความเพียร แม้จะไม่เห็น อย่างในเรื่องนี้คือแม้จะไม่เห็นฝั่งก็ต้องว่ายน้ำต่อไป..



    และมีคำตอบอยู่ที่ว่าทำไมต้องว่ายน้ำ ไม่เห็นฝั่งมีประโยชน์อะไร มีประโยชน์ เพราะหากไม่เพียรที่จะว่ายน้ำเป็นเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืน ก็จะไม่ได้พบเทวดา คนอื่นไม่มีความเพียรที่จะว่ายน้ำก็จะจมเป็นอาหารของปลาของเต่าไปหมดแล้ว..



    ฉะนั้น ความเพียร แม้จะไม่ทราบว่าจะถึงเมื่อไหร่ ไม่เห็นฝั่งก็ต้องเพียรว่ายน้ำ สำหรับอื่นๆก็เป็นเช่นเดียวกัน.. ฉะนั้น ศูนย์กลางของหนังสือ คือความเพียร โดยไม่คำนึงถึงว่าจะได้ประโยชน์อะไร คือได้ผลอะไร




    พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง พระมหาชนก

    วันที่ ๒๘ เดือน มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๙
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    บทที่สุดของพระชาดกเดิมนั้น พระมหาชนกทรงเห็นทุกข์แห่งไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา โดยอาศัยต้นมะม่วงเป็นสิ่งปลงสังเวช จึงสละราชสมบัติเสด็จออกผนวช ทว่า พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้มีที่สุดที่การบรรพชา
    [​IMG]

    อาจารย์พิษณุ ศภนิมิตร ผู้ออกแบบพระราชนิพนธ์ขยายความให้ฟังว่า “ บทพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าอยู่หัวนี่ไม่ได้จบแบบชาดกเดิม เพราะว่าทรงต้องการให้เห็นว่า ผู้ที่บรรลุธรรมแล้วนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องออกบวช แต่หมายความว่า จะต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างที่ยังคั่งค้างอยู่ให้เสร็จ เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมคิดว่า บทพระราชนิพนธ์นี้สะท้อนให้เห็นภาพของพระองค์ท่านอย่างชัดเจน ว่าทรงเป็นพรหม ทรงมีเมตตากับประชาชนทั้งหลาย. ”

    [​IMG]

    “ แล้วก็มีอยู่ครั้งหนึ่งวันที่ตอนแถลงข่าว ” นายธีระวัฒน์กล่าวเสริม “ ได้ทอดพระเนตรมุมที่ผมแสดงนิทรรศการอยู่พอดี รับสั่งว่า จริงๆแล้วหนังสือเล่มนี้ตอนสุดท้ายนี่จะต่างไปจากเล่มเก่าคือว่า พอครองราชย์สำเร็จก็ให้พระมเหสีอยู่ในเมือง แต่ว่าตัวเองเสด็จออกไปผนวชและก็บรรลุโมกขธรรม แต่ที่พระองค์ทรงเขียนเล่มนี้ใหม่ ไม่ใช่อย่างนั้น ยังไม่ได้บวช จบนี้ไม่ได้ออกบวชต้องสร้างเมืองก่อน เมืองยังวุ่นวายอยู่ออกบวชไม่ได้ .”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2010
  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ทำไมจึงเป็นหนังสือที่ทรงรัก

    [​IMG]


    [​IMG]

    “...ที่ต้องขอบใจ เพราะว่า หนังสือเรื่องนี้เป็นที่รักของข้าพเจ้าเอง เป็น สิ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญ และโดยที่เป็นผู้ที่ทำขึ้นมา ถ้าไม่มีตัวเราเอง มีแต่ชาดก แล้วก็มีแต่ชาดกภาษาไทย ที่แปลมาจากภาษาบาลี มีแต่ชาดกอาจจะเป็นภาษาอังกฤษที่เขาแปลมาจากภาษาบาลี ใครไปอ่านก็ไม่รู้เรื่อง และไม่มีความหมายอะไรมากนัก”
    พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เรื่อง พระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก”
     
  6. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    “ ภาษาเดิมคือภาษาบาลีที่เขาแปลออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว ในพระไตรปิฎกนี่จะรุ่มร่าม ขอใช้คำนั้น เพราะว่าประโยคภาษาบาลีจะซ้ำไปซ้ำมา อ่านแล้วงง แต่ทรงตัดในส่วนภาษาที่ซ้ำซ้อนออกไป ทำให้กะทัดรัดขึ้น และนอกจากนั้นรูปประโยคที่ซ้ำไปซ้ำมา ก็ทรงเลือกถ้อยคำให้เหมาะกับสถานการณ์

    [​IMG] เช่น ยกตัวอย่างมีประโยคว่า “ก่อเวร” พระโปลชนกซึ่งเป็นพระอนุชาของพระมหาชนก ตอนพระเชษฐาทรงจับขังคุก แล้วทรงหนีออกไปได้ด้วยการตั้งจิตอธิษฐานว่า พระองค์ไม่ได้ทรงก่อเวรกับพระเชษฐาเลย ถ้าหากว่าไม่ได้ก่อเวร ก็ขอให้โซ่ตรวนนี่หลุดจากมือ แต่ถ้าก่อเวรจริง ก็ให้โซ่ตรวนผูกมัดอยู่อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นคำพูดจะซ้ำๆ ก่อเวรๆๆ



    แต่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยน ไม่ใช้เลย คำว่า “ก่อเวร” อาจจะใช้ครั้งเดียว ต่อไปก็เป็นอริ ถ้าไม่ได้เป็นอริกับพระองค์จริง หรือว่าคิดไม่ซื่อกับพระองค์จริง ..ทรงเปลี่ยนคำเพื่อให้เหมาะสมโดยไม่ซ้ำซาก ต้นฉบับเป็นภาษาบาลีจริง จากพระไตรปิฎกจริง แต่ว่าทรงเอามาดัดแปลงและตัดส่วนที่รุ่มร่าม ที่ซ้ำซ้อนออก แล้วทรงเลือกภาษาที่เหมาะ อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที...
     
  7. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เพราะฉะนั้น การสร้างงานศิลปะก็ดี การสร้างวรรณกรรมที่ดีก็ดี ผมคิดว่าต้องใช้เวลา และ ก็ต้องใช้ความประณีตจนถึงที่สุด ทรงพอพระราชหฤทัยแล้ว ถึงได้พระราชทานให้ประชาชน อย่าลืมว่าบทพระราชนิพนธ์นี้ทรงเริ่มต้นตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ จนกระทั่งปี ๒๕๓๑ ก็เสร็จเรียบร้อย ใช้เวลา ๑๑ ปีในเฉพาะบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงแก้ไข ทรงเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ทรงคิดขึ้นมาเพื่อจะฉลองกาญจนาภิเษกไม่ใช่อย่างนั้น ทรงเขียนมานานแล้ว บังเอิญว่ามาตรงกับปีกาญจนาภิเษก เมื่อปี๒๕๓๙ ก็เลยพระราชทานให้ประชาชนได้อ่าน
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ความเพียรต้องมี สติ และ ปัญญา

    [​IMG]

    แสง สีส้มจัดจับขอบฟ้า ท้องธาราเรียบสงบ แต่ฝูงปลาสัตว์สมุทรกลับพากันแตกตื่น เป็นสัญญาณถึงภัยแห่งพายุร้ายที่กำลังจะมา บรรดากลาสีคนเรือต่างตระหนก พากันวิงวอนต่อเทพแห่งท้องนที มีแต่พระมหาชนกที่ครองสติ พิจารณาหาหนทางจะพ้นภัย

    [​IMG]

    “ พระมหาชนกเห็นว่านี่ไม่ถูกต้อง สวดอยู่นั่นไม่มีทาง ไม่เห็นมีเทวดาที่ไหนมาช่วย ” รองศาสตราจารย์เสฐียรพงษ์ขยายความ “ เพราะฉะนั้นพระมหาชนกก็บอกว่าป่วยการที่จะไปสวดอ้อนวอน ทางเดียวคือมาดูว่าในสถานการณ์คับขันเช่นนี้ เราควรทำอะไร เราจะช่วยตัวเองได้อย่างไรจึงจะรอดได้ ก็มอง.. ปัญญาแสดงบทบาทออกมาทันที
    [​IMG]

    อ๋อ เพราะเรือกำลังจะล่ม รีบกินเลย กินข้าวให้เต็มท้อง ทำไมต้องกิน ก็เพราะว่ารู้แน่ๆว่าต้องลอยอยู่ในมหาสมุทร ก็กินเท่าที่จะกินได้ อย่างน้อยก็มีกำลังพอที่จะแหวกว่ายต่อไป เสร็จแล้วก็เอาน้ำมันทาตัว ทำไมต้องทาตัว เหตุผลก็คือว่าทาตัวแล้วนี่จะทำให้ตัวเบาเวลาว่ายในน้ำอะไรต่างๆ ก็เป็นความเข้าใจของพระมหาชนก จริงหรือเปล่าไม่ทราบ

    [​IMG]

    เสร็จ แล้วพอเรือกำลังจะล่มก็ปีนขึ้นบนเสากระโดง ทำไมต้องปีน ก็เพราะว่าต้องการกระโดดไปให้ไกลที่สุด ทำไมต้องกระโดดไปให้ไกลที่สุด ก็เพราะว่าถ้าตกลงตรงที่กาบเรือนี่ ไอ้คนที่กำลังจะจมนี่อาจจะฉุดแขนฉุดขา ผลที่สุดอาจจะไปไหนไม่ได้ ตายด้วยกันทั้งสองคน เพราะฉะนั้นต้องกระโดดไปให้ไกลที่สุด เรือกำลังจะล่มเสากระโดงมันเอน ก็ทรงโดดลงไป ผลที่สุดเจ็ดวันเจ็ดคืนอยู่ได้ เพราะกินข้าวมาเต็มที่แล้ว”


    [​IMG]


    อันว่าความเพียรต้องประกอบด้วยสติและปัญญา จึงจะถึงซึ่งวิถีแห่งความสำเร็จ ดุจ ดั่งพระมหาชนก แม้ยามแหวกว่ายในห้วงนทีอันแลมิเห็นที่สุด แต่ยังคงดำรงสติในท่ามกลางความเพียรนั้น แลแม้ในยามชีวิตคับขันก็มิได้ทรงละทิ้งธรรมปฏิบัติ

    ดังปรากฏความตอนหนึ่งแห่งพระราชนิพนธ์ซึ่งแสดงการดำรงสติไว้ได้ตลอดเวลาของพระชนกว่า
    “พระองค์ทรงสังเกตเวลานั้นว่า วันนี้ เป็นวันอุโบสถ จึงบ้วนพระโอษฐ์ด้วยน้ำเค็ม ทรงสมาทานอุโบสถศีล”

    --------------------------------------------------------------------
    [​IMG]
    เพิ่มเติม (เอง)
    แสงสีส้มจัดจับขอบฟ้า ท้องธาราเรียบสงบ แต่ฝูงปลาสัตว์สมุทรกลับพากันแตกตื่น เป็นสัญญาณถึงภัยแห่งพายุร้ายที่กำลังจะมา บรรดากลาสีคนเรือต่างตระหนก พากันวิงวอนต่อเทพแห่งท้องนที มีแต่พระมหาชนกที่ครองสติ พิจารณาหาหนทางจะพ้นภัย
    [​IMG]
    “ พระมหาชนกเห็นว่านี่ไม่ถูกต้อง สวดอยู่นั่นไม่มีทาง ไม่เห็นมีเทวดาที่ไหนมาช่วย ”
    รองศาสตราจารย์เสฐียรพงษ์ขยายความ “ เพราะฉะนั้นพระมหาชนกก็บอกว่าป่วยการที่จะไปสวดอ้อนวอน ทางเดียวคือมาดูว่าในสถานการณ์คับขันเช่นนี้ เราควรทำอะไร เราจะช่วยตัวเองได้อย่างไรจึงจะรอดได้ ก็มอง.. ปัญญาแสดงบทบาทออกมาทันที


    เพิ่มเติม (เอง)
    - เวลาพายุจะมา ขอบฟ้าจะเป็นสีส้มจัด ท้องทะเลจะเงียบสงบ แต่พวกสัตว์ทะเลจะแตกตื่น (ให้เอาไว้สังเกต เวลาพายุร้ายจะมา)
    - ถึงเวลานั้นทุกคนจะขาดสติ แล้วต่างวิงวอนขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย แต่นั่นไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ต้องมีสติ และหาทางว่าจะพ้นภัยได้อย่างไร




    อ๋อ เพราะเรือกำลังจะล่ม รีบกินเลย กินข้าวให้เต็มท้อง ทำไมต้องกิน ก็เพราะว่ารู้แน่ๆว่าต้องลอยอยู่ในมหาสมุทร ก็กินเท่าที่จะกินได้ อย่างน้อยก็มีกำลังพอที่จะแหวกว่ายต่อไป เสร็จแล้วก็เอาน้ำมันทาตัว ทำไมต้องทาตัว เหตุผลก็คือว่าทาตัวแล้วนี่จะทำให้ตัวเบาเวลาว่ายในน้ำอะไรต่างๆ ก็เป็นความเข้าใจของพระ
    มหาชนก จริงหรือเปล่าไม่ทราบ


    เพิ่มเติม
    (เอง)
    - ก่อนที่เรือจะล่ม รีบกินข้าวให้เต็มท้อง คือ ควรจะเตรียมเสบียงไว้ ขณะที่มีพายุร้าย (ในที่นี้คือ ๗ วัน) เพื่อระหว่างนี้จะได้มีกำลังที่จะคิดอ่านทำอะไรต่อไปด้วย"สติ" น้ำมันทาตัวเพื่อป้องกันร่างกายจากแสงแดด น้ำทะเล และ สัตว์ทะเลที่จะมาทำร้าย คือ ระหว่างเกิดภัยต้องมีสิ่งที่ป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากสิ่งต่างๆ รอบตัว ที่จะมาทำร้ายตัวเราได้



    เสร็จแล้วพอเรือกำลังจะล่มก็ปีนขึ้นบนเสากระโดง ทำไมต้องปีน ก็เพราะว่าต้องการกระโดดไปให้ไกลที่สุด ทำไมต้องกระโดดไปให้ไกลที่สุด ก็เพราะว่าถ้าตกลงตรงที่กาบเรือนี่ ไอ้คนที่กำลังจะจมนี่อาจจะฉุดแขนฉุดขา ผลที่สุดอาจจะไปไหนไม่ได้ ตายด้วยกันทั้งสองคน เพราะฉะนั้นต้องกระโดดไปให้ไกลที่สุด เรือกำลังจะล่มเสากระโดงมันเอน ก็ทรงโดดลงไป ผลที่สุดเจ็ดวันเจ็ดคืนอยู่ได้ เพราะกินข้าวมาเต็มที่แล้ว”

    เพิ่มเติม (เอง)
    - ปีนไปบนเสากระโดง เพื่อมองเห็นวิสัยทัศน์ไกลหน่อย (จริงๆ มองไปท้องทะเลอาจไม่เห็นอะไร แต่อาจใช้หัวเรือว่ากำลังแล่นไปทิศไหน เพื่อกำหนดทิศทางคร่าวๆ) แล้วต้องกระโดดให้ไกล มิฉะนั้นเวลาเรือจมเรืออาจดูดเอาตัวเองลงไปกับเรือ




    อันว่าความเพียรต้องประกอบด้วยสติและปัญญา จึงจะถึงซึ่งวิถีแห่งความสำเร็จ ดุจ ดั่งพระมหาชนก แม้ยามแหวกว่ายในห้วงนทีอันแลมิเห็นที่สุด แต่ยังคงดำรงสติในท่ามกลางความเพียรนั้น แลแม้ในยามชีวิตคับขันก็มิได้ทรงละทิ้งธรรมปฏิบัติ


    เพิ่มเติม (เอง)
    - การที่เราจะอยู่ในท้องทะเล แล้วว่ายน้ำไป (ชีวิตเราก็เหมือนกับว่ายน้ำอยู่ในทะเลวัฎสงสาร ซึ่งมองหาฝั่งไม่เจอ) การที่จะไปถึงฝั่งได้ ก่อนอื่นต้องรู้ว่าทางไหนคือ ฝั่ง (มรรคมีองค์ ๘ เปรียบเสมือนปู ๘ ขา ที่คอยหนุน และนำทางพระมหาชนก เพื่อไปให้ถึงฝั่ง) เมื่อรู้ว่าฝั่งอยู่ไหน ก็ต้องมีความเพียรเพื่อไปยังฝั่งให้ได้ (คือ ถ้าว่ายไปปราศจากทิศทาง "ไร้สติ" ก็จะยิ่งว่ายไปไกลจากฝั่งยิ่งขึ้น) ในหนังสือยังบอกด้วยว่าพระมหาชนก คือ บุคคลประเภทที่ ๖ (โผล่ขึ้นแล้ว ไปถึงที่ตื้น หยั่งท้องทะเลได้ ได้แก่ พระอนาคามี ผู้มาสู่กามภพเพียงครั้งเดียว)

    [​IMG]


    สุดท้าย
    ดังปรากฏความตอนหนึ่งแห่งพระราชนิพนธ์ซึ่งแสดงการดำรงสติไว้ได้ตลอดเวลาของพระชนกว่า “พระองค์ทรงสังเกตเวลานั้นว่า วันนี้ เป็นวันอุโบสถ จึงบ้วนพระโอษฐ์ด้วยน้ำเค็ม ทรงสมาทานอุโบสถศีล”
    เพิ่มเติม (เอง)
    1) พระมหาชนก ทรงเห็นความสำคัญ ของวันพระ (วันอุโบสถ) มาก ขนาดท่านกำลังว่ายน้ำอยู่กลางทะเลกว้าง โดยไม่รู้ชะตาตัวเอง แต่พอรู้ว่าเป็นวันพระ ก็ยังจะสมาทาน ศีลอุโบสถ
    2) พวกเราควรทำแบบอย่าง ตรงนี้อาจเป็น hint บางอย่างสำหรับความรอดพ้นจากภัยพิบัติที่จะมาข้างหน้า คนที่จะรอด ต้องมีศีล
    3) อีกในหนึ่ง คือ ให้สังเกตว่า วันที่พายุร้ายเข้า เป็นวันที่ตรงกับวันอุโบสถ (หรือว่าเกิดขึ้น ๗ วันก่อนวันพระ ในที่นี้คือ พระมหาชนกว่ายน้ำมาเจ็ดวันแล้ว)
    แต่ในแผนที่ในหนังสือ จะบอกว่า 9 May วันอุโบสถ (เน้นเลย) แล้วมีรูปพายุเข้าเต็ม พระมหาชนก ลอยคออยู่กลางทะเล 9 พฤษภา ที่เป็นวันพระ คือ ปี ๒๕๕๖ !!!

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2010
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ขอขอบคุณคุณสนั่น (zz) และเวบไซท์ www.moomkafae.com
    สำหรับการส่ง hint มาให้จ้า
    :cool:
     
  10. Good_speed

    Good_speed Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +47
    ข้อสนับสนุนการไขปริศนาของคุณ Falkman

    ตามที่คุณ Falkman ได้ไขปริศนาภาพนี้ออกมา ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 9 may 2556 นั้น ผมว่าข้อมูลนี้น่าจะพอยืนยันได้นะครับ


    Besselian Elements for Annular Solar Eclipse of 2013 May 10

    Will Earth Blackout in 2013 due to Solar Storm | NASA’s report | FunnynCrazy


    Earth Blackout In 2013: NASA Declared Earth Blackout in 2013 Due to Solar Storm | Breaking News Portal, Your Online News Channel for All Latest News
     
  11. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ทำไมต้องมีงานจิตรกรรม
    [​IMG]

    กว่าจะเป็นพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกนั้น ลำดับของการสร้างงาน ต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดประณีต แม้แต่การพิสูจน์อักษรก็เป็นงานที่ผ่านสายพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    “ พระองค์ท่านทรงให้ความสำคัญกับรูปเขียน ” นายธีระวัฒน์ คะนะมะ หนึ่งในศิลปินผู้วาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก อธิบาย “ เพราะรับสั่งว่ารูปเขียนเป็นตัวนำ เวลาเปิดหนังสือปั๊บอยากดูรูป พออยากดูรูปแล้วอยากอ่านเรื่อง ”


    [​IMG]

    อาจารย์พิชัย นิรันดร์ ศิลปินผู้วาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์อีกท่านหนึ่งได้ให้ทัศนะในเรื่องนี้ไว้ ว่า “ เฉพาะหนังสือ ถ้าหากว่าบุคคลที่เขาเทิดทูนในเรื่องความรู้ คนที่เขาจะใฝ่หาสติปัญญานะ พวกนี้เขาอ่านเป็นห้องๆเลย แต่บางทีคนยุคนี้ภารกิจเยอะ ถึงจะยังไงความคิด ปัญหาชีวิตมันก็จะโดดเข้ามาเกาะตลอดเวลา เพราะฉะนั้นรูปนี่..เรียกอะไรนะ กุศโลบาย เอ๊ะ รูปอะไรหมายความว่ายังไง พอดูปั๊บก็หวนกลับไปอ่านใหม่ซิ ทำให้คนอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็เลยเกิดความเข้าใจ พระองค์ท่านทรงให้มีภาพเข้าไปแทรกนี่ คงจะทรงต้องการไม่ให้น่าเบื่อ ก็มีส่วนเล็กน้อยนะผมว่า เพราะว่า พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2010
  12. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791

    [​IMG]

    ภาพเขียนทุกภาพที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ล้วนผ่านสายพระเนตร ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ และทรงวิจารณ์ ซึ่งหลายครั้งเป็นเรื่องที่ศิลปินเองนึกไม่ถึง ดังตัวอย่างคำบอกเล่าต่างๆของศิลปินผู้ถวายงานวาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์

    [​IMG]

    อาจารย์ ปัญญา วิจินธนสาร “ ในแต่แรก เดิมผมเสก็ตช์ถึงพระโปลชนกเสด็จหนีออกจากพระราชวัง หลังจากโซ่ตรวนหลุด ถวายให้ทอดพระเนตร รับสั่งว่าน่าจะเน้นถึงตอนที่พระโปลชนกกำลังหลุดจากโซ่ตรวนที่ตรึงไว้ คือเน้นตรงนี้เพื่อให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจ คนที่มีความบริสุทธิ์ใจ คนนั้นจะอยู่รอดปลอดภัย ไม่ถูกทำร้าย พระราชดำริ ตรงนี้ทำให้ผมคิดว่าน่าสนใจกว่าที่เราคิดตอนแรก คือ คิดเรื่องราวตอนที่จะหนีฟันฝ่าอุปสรรคเฉยๆ ความคิดตอนนี้กลับลึกซึ้งกว่าที่ทำให้เรานำเอามาใช้เป็นจินตนาการเป็นรูป ใหม่ เพราะฉะนั้นรูปที่ผมเสก็ตช์ตอนแรกกับรูปที่อยู่ในหนังสือจะแตกต่างกัน ครับ.”

    เพิ่มเติม (เอง)
    คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

    [​IMG]
    [​IMG]

    คุณจินตนา เปี่ยมศิริ “ ตอนที่ทำเสก็ตช์ถวายให้ทอดพระเนตร รวมภาพตอนที่พระมหาชนกเรียนสำเร็จและไปลาพระมารดา เพื่อที่จะออกเดินทาง อันนั้นรวมเป็นภาพเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้คำแนะนำว่า ในขั้นตอนนี้มีความสำคัญสองอย่างอยู่ในตอนเดียวกัน ฉะนั้นก็สมควรที่จะแยกภาพออกเป็นสองภาพเพื่อให้ความสำคัญทั้งสองตอนนี้ ความหมายจะไม่ตีกัน ทั้งสองตอนมีความโดดเด่น คือว่า เป็นช่วงชีวิตที่สำคัญของพระมหาชนก คือตอนหนึ่งเรียนสำเร็จศิลปวิทยาการ อีกตอนหนึ่งคือเป็นจุดหักเห เพราะพระมหาชนกเดินทางออกไป เดินทางโดยเรือ ซึ่งก็จะไม่เกี่ยวเนื่องกับตอนที่เรือแตก แล้วก็เป็นจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นจึงให้แยกออกมาเป็นหนึ่งภาพ.”

    เพิ่มเติม (เอง)
    พระมหาชนกจะมีการออกเดินทางโดยเรือ ซึ่งเป็นจุดหักเห


    [​IMG]

    [​IMG]

    คุณเนติ
    กร ชินโย “ คือเราเขียนผู้หญิงแล้วก็เขียนหน้าหวานๆ แต่พอเราเขียนหน้าพราหมณ์ เราเขียนหวานไปด้วย หน้าออกสวยๆนิ่มๆ พระองค์ท่านทรงวิจารณ์ว่า พราหมณ์ที่เป็นพระอินทร์แปลงมานี่ จะต้องเขียนให้มีความรู้สึกว่ามีพลัง เป็นชายแก่ที่มีความเข้มแข็งอะไรทำนองนี้ เราก็กลับมาแก้ไข.”

    เพิ่มเติม (เอง)
    พระอินทร์จะแปลงเร่างเป็นชายแ่ก่ มาช่วย



    [​IMG]

    [​IMG]

    คุณเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ “ ที่จริงผมจะเขียนสามรูปคือ ออกเรือ แล้วก็เรือล่ม แล้วก็ว่ายน้ำ ๗ วัน ๗ คืน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทอดพระเนตรรูปเสก็ตช์ของผมทั้งหมด ทรงจินตนาการว่า น่าจะมีรูปสักรูปมาเสริมตรงนี้ คือก่อนเรือล่ม ควรจะเขียนบรรยากาศของเรือ ที่พระมหาชนกยืนอยู่ตรงหัวเรือ แล้วชี้ไปเห็นปูกับปลาต่อสู้กัน ในความหมายของพระองค์ท่านทรงบอกไว้ว่า ฝ่ายปูนี่เป็นฝ่ายที่หนุนเท้าพระมหาชนก เป็นฝ่ายดีฝ่ายธรรมะ ฝ่ายปลานี่เป็นฝ่ายกิเลส ดังนั้น อยากให้เขียนรูปแบบนั้น ทรงอธิบายถึงสีสันของทะเลตอนก่อนที่พายุจะมาเป็นอย่างไร ออกสีส้มออกสีเหลือง
    อันนี้เป็นรูปที่มาจากจินตนาการของพระองค์ท่านทั้งหมด ผมไม่ได้คิดเลย ดังนั้น รูปจะออกมาเป็นสามลักษณะด้วยกันคือ รูปของความสงบนิ่ง กับรูปของการกำลังจะเกิดความวุ่นวาย แล้วก็รูปความวุ่นวาย.”

    [​IMG]

    เพิ่มเติม (เอง)
    พระมหาชนกท่่านยืนอยู่บนหัวเรือ (คือมองจากที่สูง จะเห็นวิสัยทัศน์กว้างไกล) จะเห็นปูกับปลาทะเลาะกัน (ฝ่ายธรรมะ และ อธรรม ทะเลาะกันต่อสู้กัน) หลังจากนั้นก็จะเกิดความวุ่นวาย พอเกิดความวุ่นวายเสร็จมีพายุรุนแรงมาโหมกระหน่ำ เรือแตก (ที่อยู่แตก) ทุกคนตกน้ำหมดเลย จะรอดเฉพาะคนมีสติ มีความเพียร และมีศีล(ธรรม) เท่านั้น (เปรียบอย่าง วันพระ ยังถือศีลอุโบสถ หมายถึงว่า จะอย่างไรก็ยังมีศีลอยู่)


    [​IMG]

    คุณธีระวัฒน์ คะนะมะ “ ตอนเก็บผลมะม่วงนะครับ ตอนนั้นจะเป็นตอนเด็ดเลยก็คือว่า ตอนที่ผมทำเสก็ตช์เข้าไปนี่ ผมก็ไม่ แน่ใจว่าเหมาะสมงดงามแค่ไหน เพียงแต่ว่าตอนนั้น รู้สึกว่าดูขัดๆเขินๆยังไงไม่ทราบ ท่าในการเก็บมะม่วงก็คือเอามือยกเก็บอย่างนี้(พูดพร้อมกับทำท่าประกอบ)
    [​IMG]
    แต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า การเก็บผลมะม่วงแบบนี้มันไม่ใช่ลักษณะของคนอินเดีย แล้วก็ดูแล้วรูปแบบอาจจะไม่งดงามเท่าไหร่ ทรงทำท่าประกอบด้วย ทรงขยับขากางเกง ทรงเงยนิดหนึ่ง แล้วทรงทำท่าบีบผลมะม่วง เพราะว่าคนอินเดียจะกินผลมะม่วงแบบนี้ คือเขาจะบีบเพื่อให้น้ำมะม่วงนี่ไหลลงมา ผ่านปลายนิ้วแล้วก็มาแตะที่ลิ้น แค่นั้นก็รู้รส และอยู่ในท่าทางที่งดงามด้วย เป็น drama นิดๆ ในหลวงบอกเป็น drama นิดๆ ผมก็ได้ตรงนั้นเลย และแต่ละครั้งที่ทรงวิจารณ์ก็คือให้ข้อคิด ให้แนวคิด ให้รูปแบบที่งดงาม ซึ่งพวกเราไปทำแล้วก็ดูไม่ผิดเพี้ยน ”




    [​IMG]
    [​IMG]


    ศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ดำ “ แรกสุด ผมเสก็ตช์ว่าริมฝั่งเห็นอยู่ไกลลิบๆนะครับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสรับสั่งชี้แนะว่า จริงๆแล้วเมืองนี้อยู่ห่างจากทะเลไม่รู้ว่ากี่ร้อยกี่พันโยชน์ ก็เลยทรงให้เขียนว่าเป็นความฝัน เป็นเมืองที่อยู่ในความฝัน และผมก็เอาไงดี มหาวิทยาลัยศิลปากรผมเขียนอยู่ตอนนั้นอยู่ใกล้วัง ติดวังตอนนั้น ก็เลยเอารูปวังหลวงนี่มาเป็นเมืองมิถิลานคร ก็ต้องพระประสงค์ของพระองค์ท่าน

    ซึ่งจากเราทำรูปนี้แล้วได้ทั้งความคิด ได้ทั้งความรู้ที่พระองค์ท่านประทานให้หลายๆเรื่องที่เราลึกๆแล้วเราไม่รู้ เท่าพระองค์ท่าน อันนี้ไม่ใช่ว่าเราจะไปจงใจสรรเสริญเยินยอ ไม่.. จริงๆแล้วพระองค์ท่านปรีชาสามารถมาก ทรงคิดลึกกว่าเราเยอะมากมาย.”


    ความหมายในการตีความบทพระราชนิพนธ์ มีหลายระดับความลึกซึ้ง แต่ไม่ว่าในระดับใดล้วนก่อประโยชน์แก่สติ ปัญญา และการดำเนินชีวิตสำหรับผู้อ่านทั้งสิ้น

    เพิ่มเติม (เอง)
    ดูเรื่องไมล์บกไมล์ทะเลเพิ่มเอา


    [​IMG]
    [​IMG]

    “ รูปปูหมายถึงความเพียร ”
    อาจารย์ปรีชา เถาทองศิลปินผู้วาดภาพประกอบ

    พระราชนิพนธ์ช่วงปลายอธิบาย “ เป็นเหมือนปูที่มารองพระบาทพระมหาชนกซึ่งกำลังว่ายน้ำอยู่โดยไม่จม

    การที่ไม่จมนี่เราตีความหมายได้สองอย่าง คือ ไม่จมเพราะความเพียรที่พระองค์ทรงมุมานะที่จะว่ายต่อไป ทรงมีความรู้สึกคล้ายๆมีกระดองปูมาหนุนพระบาท กระดองปูถ้า มองเป็นรูปธรรมหมายถึงปูทะเลมาหนุน แต่ถ้าตีความหมายในทางบุคลาธิษฐานหรือนามธรรม อาจหมายถึงฮึดสู้หรือความเพียรทำให้พระองค์ท่านมีพลังที่จะว่ายต่อไป เพราะฉะนั้นตีความได้สองนัย ”



    [​IMG]

    “ เมื่อตอนทำมีเรื่องสนุกสนาน ” ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ

    [​IMG]

    หนึ่งในศิลปินที่เคยถวายงานวาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์ เล่า “ ทีแรกเสก็ตช์ก้ามปูบุบ เรากลัวว่าอ้าก้ามไปเหมือนจะหนีบขาพระมหาชนกใช่มั้ย เราก็เลยทำเป็นบุบขา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า ไม่ได้ ต้องแข็งแรง ต้องชูก้ามทำอย่างนี้ ทรงทำท่าประกอบด้วย รับสั่งว่าอันนี้เรียกว่าปูอบวุ้นเส้น (หัวเราะ) ”


    เพิ่มเติม (เอง)
    ปูต้องเป็นฐานที่ดี แข็งแรง ปูมีแปดขา เพราะฉะนั้นเปรียบได้กับ มรรคมีองค์ ๘ (ดังได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2010
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    พระองค์ทรงจะให้พสกนิกรของ พระองค์อ่านและศึกษา แล้วนำเอาแก่นของพระมหาชนกมาปฏิบัติ ให้เกิดขึ้นในแก่นของชีวิตจริง เพื่อเป็นเครื่องมือในชีวิตจริง
    แล้วก็อยากให้ตระหนักด้วยว่า ที่พระองค์ทรงจบพระมหาชนกด้วยการตั้งปูทะเลย์มหาวิชชาลัยขึ้น ก็เท่ากับบอกว่า จะแก้ปัญหาได้ คน เราต้องได้รับการศึกษา และการศึกษาที่ถูกต้อง ต้องขจัดโมหภูมิ เป็นความรู้ที่ต้องขจัดโมหภูมิ อวิชชา ความโง่เง่าออกจากใจให้ได้ ไม่ใช่การศึกษาที่เพิ่มกิเลส



    เช่น ยิ่งเรียนมากยิ่งทะนงตนมากว่า ตนนั้นรู้มากคนอื่นโง่เง่า ยิ่งเรียนมากยิ่งโลภมากอยากจะได้มาเพื่อตัวเอง ยิ่งเรียนมากยิ่งมีวิธีการที่จะแกล้งคนอื่น ทำให้คนอื่นวอดวาย อย่างนั้นไม่ใช่ ไม่ใช่การศึกษาที่พึงประสงค์ ไม่ใช่การศึกษาที่พระองค์ทรงประสงค์ ผมเข้าใจว่าอย่างนั้น และอยากให้ทุกคนเอาไปคิดพินิจพิจารณาด้วย.”
     
  14. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    อนุรักษ์ พัฒนา

    [​IMG]

    สังเกตตรงนาฬิกา ทีแรกเป็น ๑.๒๐ น. แต่โดนลบแล้วเปลี่ยนเป็น ๙.๐๐ น
    ๙ -->หมายถึง รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงเป็นทั้งนักอนุรักษ์ และ พัฒนา ???


    หรืออาจมีความหมายอย่างอื่น???
     
  15. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย

    หากคนยังคิดในกรอบเดิม ก็จะไม่มีทางสร้างได้สำเร็จ

    ขั้นเริ่มแรก
    จะต้องมีผู้เข้าเรียนรู้วิชชาและคุณธรรม
    เชิงคุณภาพ : ไม่ต่ำกว่า 1แสนค
    เชิงปริมาณ : ไม่ต่ำกว่า 1ล้านคน

    ขั้นปักหลักปักฐาน
    จะต้องมีผู้เข้าเรียนรู้วิชชาและคุณธรรม

    เชิงคุณภาพ : ไม่ตำ่กว่า 3 ล้านคน
    เชิงปริมาณ : ไม่ต่ำกว่า1ใน3 ของคนทั้งประเทศ หรือประมาณ 20ล้านคน


    ทำได้เมื่อใด ก็จะเกิดปูทะเลย์มหาวิชชาลัยขึ้น
    หากน้อยกว่านี้ เสบียงจะไม่เพียงพอที่จะนำพาประเทศชาติฝ่าวิกฤติ

    แล้ว..ปูทะเลย์มหาวิชชาลัยคืออะไร?
    คำใบ้มีอยู่แล้วใน "พระมหาชนก"
     
  16. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    ขั้นเริ่มแรก สร้างมาแล้วเป็นปีที่5

    แต่ละปี สามารถนำนักเรียนเข้าเรียนรู้วิชชาและคุณธรรม ได้ตามเป้าหมายทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ แม้จะมีโรคแทรกซ้อนและไร้การสนับสนุนอย่างจริงจังไปบ้างก็ตาม

    แต่ก็เชื่อว่า ในจำนวนเชิงคุณภาพกว่าแสนคนต่อปีนี้ จะเป็นพลังเงียบที่รอเวลาแห่งการฟื้นฟูประเทศสยามต่อไป
     
  17. deep listening

    deep listening เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +536
    เลข ๙ คือ ก้าวเดิน ก้าวหน้า ก้าวไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคง
    ใน ๑ วัน นาฬิกาจะบอกเวลา ๙ นี้ ๒ ครั้ง

    บุคคลจะต้องมีชีวิตดำเนินไป เพื่อความก้าวหน้าในทางอนุรักษ์ ๑ และความก้าวหน้าในทางพัฒนา ๑
    อย่างสมดุล ไม่เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว

    แม้รอบตัวจะมีสิ่งหลากหลายมากมาย วุ่นวายและล่อใจเพียงไร
    ก็ยังมีชีวิตในโลกด้วยหลักแห่งอนุรักษ์และพัฒนา
    โดยเทิดทูน พระธรรม ไว้เหนือเศียรเกล้า
    ก้าวหน้าต่อไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
     
  18. Good_speed

    Good_speed Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +47
    [​IMG]

    เดาเล่นๆครับ ตรงที่วงไว้
    28 โยชน์ = 135.18 km ( ระยะทางที่น่าจะปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์วัดจากเมืองเทวามหานคร หรือ บริเวณที่มีความสูงประมาณ 135.18 km จากระดับนำทะเล )
     
  19. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    moralporject มีความเ็ป็น "ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย" อย่างไร

    เชิงปริมาณ:

    แต่ละปี มี moralproject เกิดขึ้นกว่า 12,000 project
    หากแต่ละproject มีกิจกรรมที่นำเยาวชนและคนที่เกี่ยวข้องได้เข้าเรียนรู้คุณธรรม หรือกิจกรรมจิตอาสา 100 คน

    เชิงปริมาณ = 12,000 project * 100 คน
    = 1,200,000 คน

    เชิงคุณภาพ

    1 project ประกอบด้วย

    นักเรียนแกนนำ 8-10 คน
    ครูที่ปรึกษา 1 คน
    ผู้บริหารที่ปรึกษา 1 คน
    พระอาจารย์ที่ปรึกษา 1 รูป

    เชิงคุณภาพ = 12,000 project * 10 คน
    = 120,000 คน

    YouTube - Broadcast Yourself.

    [BIGVDO]<object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/p/2BE543A934422951?hl=en_US&fs=1"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/p/2BE543A934422951?hl=en_US&fs=1" type="application/x-shockwave-flash" width="480" height="385" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>[/BIGVDO]



    hint: คิดนอกกรอบ + ยิ่งกว้างต้องยิ่งลึก

    จึงไม่จำเป็นต้องใช้งบเป็นร้อยล้านพันล้านเพื่อสร้างอาคารเรียน และจ้างคนสอน

    แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในสังคม(ทั้งทะเลย์) มาบริหารจัดการ จัดระบบการศึกษาใหม่ ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้คุณธรรมให้เกิดกับผู้ที่เข้าสู่ระบบการเรียนรู้
     
  20. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    อินโดฯผลักดันให้กรุงจาการ์กำหนดหยุดกินเนื้อทุกวันจันทร์
    <table width="626" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td width="14" bgcolor="#414141">[​IMG]</td> <td valign="top"> <table width="599" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td valign="top" width="599"> <table width="599" border="0" cellpadding="5" cellspacing="5"> <tbody><tr><td class="text4">8 ตค. 2553 15:25 น.

    <dd> อินโดนีเซียจัดเทศกาลมังสวิรัติ โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการผลักดันให้กรุงจาการ์ต้ากำหนดให้ทุกวันจันทร์เป็น วันที่ชาวเมืองไม่บริโภคเนื้อสัตว์
    </dd><dd> ผู้จัดงานเทศกาลบอกว่า อินโดนีเซียมีจำนวนผู้บริโภคแบบมังสวิรัติขยายตัวรวดเร็วที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจที่สภามังสวิรัติโลก มาจัดเทศกาลมัสวิรัติขึ้นที่กรุงจาการ์ต้า โดยจากคนที่เป็นมังสวิรัติแค่ 5 พันคนเมื่อปี 2541 ตอนนี้เพิ่มเป็นมากกว่า 6 หมื่นแล้ว ประธานกลุ่มชาวมังสวิรัติอินโดนีเซียบอกว่า ความสนใจในเรื่องมังสวิรัติเพิ่มมากขึ้นเพระผู้คนอยากมีสุขภาพดีและหลีก เลี่ยงการเป็นโรคเรื้อรัง
    </dd><dd> เรื่องสุขภาพของเด็ก เป็นประเด็นหลักของเทศกาลปีนี้ ทางกลุ่มผู้นิยมมังสวิรัติในอินโดนีเซียออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนพวก เขาในเรื่องที่ต้องการให้ทุกวันจันทร์ เป็นวันปลอดเนื้อสัตว์ จากความวิตกเรื่องปัญหาโรคอ้วนในหมู่เด็กนักเรียนชาวกรุง ซึ่งทางกลุ่มเชื่อว่า ปัญหาเกิดจากระดับของสารคลอเรสเตอรอลและไขมันในอาหารที่เด็กกิน ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นก็สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว โดยบอกว่าโครงการหยุดกินเนื้อวันจันทร์ จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพส่วนบุคล สังคม สิ่งแวดล้อม และประชาชนในท้องถิ่นด้วย
    </dd><dd> และที่ทางกลุ่มในอินโดนีเซียเลือกวันจันทร์ ก็เพราะวันนั้น ผู้คนดูเหมือนจะลดการกินอาหาร หลังจากที่กินกันมาอย่างหนักช่วงสุดสัปดาห์</dd></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody> </table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...