เมืองหลวง3แห่งของคันธาระ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย aprin, 30 เมษายน 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    คันธาระ แคว้นที่กำเนิดศิลปะคันธาระนั้นมีเมืองหลวงถึง 3 เมือง เริ่มจากตักสิลา แล้วมาเป็นสิรกัป และสิรสุข ในช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล 100 ปี ถึงหลังพุทธกาล

    คันธาระ แคว้นที่กำเนิดศิลปะคันธาระนั้นมีเมืองหลวงถึง 3 เมือง เริ่มจากตักสิลา แล้วมาเป็นสิรกัป และสิรสุข ในช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล 100 ปี ถึงหลังพุทธกาล หรือประมาณปี พ.ศ. 600

    พุทธสถานที่ตักสิลา ในปากีสถาน ที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ไปเยี่ยมเยือนด้วยเวลาจำกัด แต่ก็ได้เห็นภาพต่างๆ ของความเจริญของพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพาน หรือช่วงพระเจ้าอโศกมหาราชได้ดีพอสมควร ถึงแม้ว่าจะไม่มีโอกาสไปเยือนพุทธสถานอื่นๆ ที่สำคัญในบริเวณใกล้เคียงวัดเจาเลียน และธัมมราชิกสถูปที่ได้เจ้าภาพพาไปเยือนก็ตาม

    [​IMG]
    พุทธสถานที่คณะ พ.ส.ล. ไม่ได้ไปเยือนได้แก่ Mohra Moradu Stupa ซึ่งอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์ตักสิลาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 6 กิโลเมตร สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 2-5

    Jinna Wali Dheri ห่างจากพิพิธภัณฑ์ตักสิลาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 10 กิโลเมตร ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำฮาโร ที่มีอายุในคริสต์ศตวรรษที่ 2-5 เช่นกัน ที่นี่นอกจากวัดและสถูปแล้ว ของที่พบซึ่งโดดเด่นมากคือภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ที่กำแพงทางด้านเข้าวัด นอกจากสิ่งนี้ก็ได้พบโบราณวัตถุชิ้นเล็กชิ้นน้อยอีกมาก

    แม้จะไม่ได้ไปที่สำคัญดังกล่าว แต่ก็ได้ชดเชย เมื่อ Pro. Dr.Muhammad A. Khan Director of Taxila Institute of Asian Civilizations Quaid-i-Azam University ได้เชิญคณะไปเยือนสถาบันในเช้าวันที่ 24 มี.ค. 2553 ซึ่งโปรเฟสเซอร์และคณะได้บรรยายให้เห็นภาพรวมๆ พุทธสถาน และเมืองโบราณที่ตักสิลาอีกหลายแห่งที่คณะไม่ได้ไปเยือน โดยเล่าความเป็นมาแห่งอารยธรรมแห่งมนุษยชาติ และศิลปะคันธาระให้คณะฟัง พร้อมทั้งฉาย Power Point ให้เห็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาให้ชมด้วย
    เรื่องที่ศาสตราจารย์ คาน เล่าให้ฟังนั้นเริ่มจากปูพื้นฐานประวัติศาสตร์ให้ฟังตั้งแต่ต้นเพื่อให้รู้จักความเป็นมาของคันธาระ โดยแบ่งเป็น 7 ช่วง ช่วงที่ 1 เริ่มตั้งแต่ก่อนพุทธกาล คือช่วงสมัยจักรวรรดิอะเคมีนีด แห่งเปอร์เซีย เข้ามาปกครอง ประมาณศตวรรษที่ 600-400 ก่อนคริสตกาล ช่วงที่ 2 ช่วงที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช มาบุกรุกและยึดครอง (ศตวรรษที่ 326 ก่อนคริสตกาล) ช่วงที่ 3 ช่วงที่ราชวงศ์เมารยะ มาปกครอง และมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (ศตวรรษที่ 310-200 ก่อนคริสตกาล)

    ช่วงที่ 4 ช่วงที่ชาวซิเทียน มาปกครอง ในศตวรรษที่ 100-10 ก่อนคริสตกาล ช่วงที่ 5 ชาวปาเทียนมาพิชิตและปกครอง ในปีที่ 10 ก่อนคริสตกาล-ปีที่ 90 หลังคริสตกาล ช่วงที่ 6 เป็นยุคของราชวงศ์กุษาณะ เป็นยุคที่ศิลปะคันธาระแห่งพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด ยุคที่ 7 ฮั่นขาว (White Huns) บุกรุกเข้ามา เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาล่มสลาย ประมาณปี 465 หลังคริสตกาล หรือประมาณปี พ.ศ. 900-1000

    [​IMG]
    ส่วนเรื่องเมืองหลวงแห่งคันธาระนั้น ท่านก็บอกว่ามีถึง 3 เมือง แต่ต่างสมัยกัน เริ่มต้นด้วยตักสิลา ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งแรก ตั้งอยู่ที่เนินภีร์ สร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่ 6-2 ก่อนคริสตกาล

    เมืองนี้คนที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์เคยมาปกครองได้แก่ อเล็กซานเดอร์มหาราช และพระเจ้าอโศกมหาราช (ทรงมาปกครองในฐานะอุปราช)
    เมืองหลวงแห่งที่ 2 ชื่อสิรกัป (Sirkap) มีอายุในระหว่างศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล-ศตวรรษที่ 2 หลังคริสตกาล ผู้ที่สร้างได้แก่ Bactrian Greeks ที่เมืองนี้มีเทวาลัยประดับด้วยนกอินทรี 2 หัว วัดศาสนาเชน เมืองนี้เป็นเมืองหลวงอยู่ประมาณ 300 ปี นับจากผู้ปกครองที่เป็นราชวงศ์กรีก ตามมาด้วยราชวงศ์ซิเทียน ราชวงศ์ปาเทียน และราชวงศ์กุษาณะ จนกระทั่งถึงยุคของวิมา กัดพิเศส จึงได้ย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่เรียกว่าสิรสุข (Sirsukh) จึงเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 3

    เมืองหลวงแห่งนี้ เริ่มแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2-5 หลังคริสตกาล พร้อมกันนั้นท่านได้เล่าถึงยุครุ่งเรืองพระพุทธศาสนา เริ่มขึ้นในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งอยู่ในราชวงศ์เมารยะ

    การที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในช่วงพระเจ้าอโศก สืบเนื่องมาจากพระเจ้าอโศกหันมานับถือพระพุทธศาสนา หนังสือกาลานุกรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (หน้า 25) กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญช่วงนั้นว่า พระเจ้าอโศกมหาราชประกาศเลิกสังคามวิชัย หันมาดำเนินนโยบายธรรมวิชัย เน้นการสร้างสิ่งสาธารณูปโภค บำรุงความสุขและศีลธรรมของประชาชน อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ สร้างวิหาร 8.4 หมื่นแห่ง เป็นศูนย์กลางการศึกษา และทำศิลาจารึกสื่อสารเสริมธรรมแก่ประชาชน ประกาศหลักการแห่งเสรีภาพแบบสมัครสมานทางศาสนา ตลอดจนอุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่ 3 และส่งศาสนทูต 9 สายไปประกาศพระศาสนาในแดนไกล

    ในการนี้ท่านมัชฌันติกะเถระเป็นหัวหน้าศาสนทูตเดินทางไปประกาศศาสนาในแคว้นแคชเมียร์และคันธาระ

    ส่วนการสร้างศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า ศิลปะคันธาระ ซึ่งเป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะกรีกกับอินเดีย เกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. 400

    [​IMG]
    ส่วนยุครุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ได้แก่ยุคราชวงศ์กุษาณะ ที่มีการพัฒนาศิลปกรรม-สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนามากมาย โดยเฉพาะอิทธิพลของพระเจ้ากนิษกะ ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่ขยายไปกว้างขวางมาก

    แต่พระพุทธศาสนาถึงคราวตกต่ำสุดขีดเมื่อพวกฮั่นขาวจากเอเชียกลางบุกรุกเข้ามา ได้ชัยชนะและปกครองคันธาระตั้งแต่ปี พ.ศ. 900

    พร้อมกันนั้นท่านก็นำเข้าสู่ดินแดนพุทธศาสนาในเมืองอื่นๆ ที่อยู่ในแคว้นคันธาระ เช่น ที่สำนักตัก-อิ-ไบ และบุตคารา ที่อยู่สวาต วัลเลย์ หรือเมืองอุทยานเก่า ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ N.W.F.P.

    ผมได้สังเกตในห้องประชุมสถาบันตักสิลาแห่งนี้เห็นว่าประดับด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เช่นพระพุทธรูปยืนสวยงามมาก ถามได้ความเป็นพระพุทธรูปที่ทำจำลองจากของจริงที่ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Jamal Garhi Mardan N.W.F.P. และเศียรพระพุทธรูปอีกจำนวนมาก

    ที่สนามกลางอาคารสถาบัน แวดล้อมด้วยตึกเรียนทั้ง 4 ด้าน เขาสร้างสถูปจำลองไว้ตรงกลาง ดูแลรักษาอย่างดี แม้ว่าจะเป็นผู้นับถืออิสลามก็ตาม
    ในห้องสมุดสำหรับให้นักศึกษาค้นคว้า ทำปริญญา M Sc. M Phil. และ Ph.D. นั้นมีตำราทั้งภาษาอังกฤษ และท้องถิ่นให้ศึกษาค้นคว้าพอสมควร แต่ไม่มีตำรา หรือพระไตรปิฎกจากเมืองไทยให้อ้างอิง (ทั้งๆ ที่ต้องการ) ทั้งนี้สถาบันนี้สอนโปรแกรมวิชา

    1. วิชาอารยธรรมเปรียบเทียบ 2. ศาสนาเปรียบเทียบ 3. ภาษาและจารึกโบราณ 4. โบราณคดี และ 5. ประวัติศาสตร์โบราณ

    จากการสังเกตพุทธสถานและสถาบันการศึกษาที่อิสลามาบัด พอประมาณได้ว่าประชาชนชาวปากีสถานให้ความสำคัญประวัติพุทธศาสนาพอสมควร เช่นยังช่วยดูแลรักษาไม่ให้สูญสลายเพราะดินฟ้าอากาศและมือมนุษย์ นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญในการศึกษาขนาดตั้งเป็นสถาบันตักสิลาขึ้นมาทีเดียว แม้ว่าประชาชนนับถืออิสลามเกือบ 100% ก็ตาม

    เมืองหลวง3แห่งของคันธาระ
     
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ขอบคุณจ่ะ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...