กรมสุขภาพจิต แนะ “ธรรมะบำบัด”อีกหนึ่งวิธีในการดูแลสุขภาพใจ

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย dhamaskidjai, 1 มีนาคม 2010.

  1. dhamaskidjai

    dhamaskidjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,855
    ค่าพลัง:
    +5,727
    [​IMG]

    จิตที่มีสุขภาพดีย่อมส่งผลให้กายมีสุขภาพดีตามไปด้วย ผู้ที่ฉุนเฉียว โกรธง่าย มีโอกาสเสียชีวิตเพราะโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 29 ยิ่งคนที่มีความวิตกกังวลด้วยแล้ว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า ความวิตกกังวล ความเครียด ความซึมเศร้า และความฉุนเฉียวนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพตามมาไม่ว่าจะเป็น ปัญหาสุขภาพกายหรือปัญหาสุขภาพจิต...

    ปัญหาสุขภาพจิตที่กำลังคุกคามคนไทยในปัจจุบันพบว่าอันดับแรก คือ ความเครียด รองลงมา คือ ซึมเศร้า ซึ่งสาเหตุของปัญหามักจะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก สูญเสียทรัพย์สิน หรือแม้แต่เสียหน้า ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความรู้สึกว่าสูญเสียเช่นกัน และถ้าเกิดอาการเศร้านานๆ เกินหนึ่งอาทิตย์แล้วไม่หายก็จะกลายเป็นภาวะซึมเศร้า แต่ถ้าเป็นนานๆ ขึ้นจนสูญเสียหน้าที่ในการทำงานหรือแม้แต่คนในครอบครัวก็ไม่อยากพูดคุยด้วย ตื่นนอนลืมตามองเพดานก็ไม่อยากลุกขึ้น ไม่อยากล้างหน้าแปรงฟัน ไม่อยากไปทำงาน อาการเช่นนี้ถือว่าเป็น “โรคซึมเศร้า”

    มีผู้ป่วยหลายรายที่เลือกการหันหน้าเข้าหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดันและทำให้เกิดความเครียดด้วยการยึดหลักคำ สอนทางศาสนา เพื่อช่วยทำให้จิตใจเกิดความเข้มแข็งสามารถยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นใน ชีวิตได้ เป็นการปรับเปลี่ยนความคิดจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายใน โดยอาศัยความเชื่อ หรือศรัทธา ต่อสิ่งที่ตนนับถือ โดยที่ความเชื่อส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคำสอน และการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาช่น ความเชื่อในเรื่องกรรม บาป บุญ การไหว้พระ สวดมนต์ การฟังธรรมหรือการเจริญสมาธิ หรือแม้กระทั่งการยึดถือพระเจ้า เป็นที่พึ่งทางใจ เพราะในขณะที่บุคคลผู้นั้นรู้สึกว่าอ่อนแอ และหาทางออกให้กับตนเองไม่ได้ การมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจจะช่วยทำให้บุคคลผู้นั้น รู้สึกสบายใจขึ้น มีความหวังว่าตนเองจะสามารถเผชิญปัญหาและมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุข

    ทุกวันนี้ในแวดวงจิตแพทย์ ได้มีการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการบำบัดจิตใจให้กับผู้ที่กำลังเผชิญปัญหา สุขภาพจิต หรือที่เรียกว่า “ธรรมะบำบัด”

    น.พ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การนำธรรมะมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต ทั่วโลกจะเน้นเรื่องการปรับอารมณ์ ความคิดเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความสุขมากขึ้น ในปัจจุบันจิตแพทย์หลายๆ ท่านก็ได้ประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบำบัดผู้ป่วยทางจิตควบคู่ไป กับแนวทางการรักษาตามหลักจิตเวชศาสตร์ โดยมองว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักจิตวิทยาที่ยิ่งใหญ่ของโลก เนื่องจากแนวทางจิตบำบัดจะเน้นในเรื่องการปรับความคิด ซึ่งสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาที่เน้นในเรื่องการปรับความคิด เรื่องสติปัญญา และเรื่องฝึกจิตสมาธิเช่นกัน แต่จะมีข้อจำกัดอยู่ที่การเลือกผู้ป่วยซึ่งจะต้องอยู่ในกลุ่มของคนที่มีความ พร้อม เช่น เป็นผู้ที่ได้รับการบำบัดรักษาแล้วอาการดีขึ้นในระดับหนึ่ง ไม่มีอาการหลงผิดมีการรับรู้เรื่องราวของตัวเอง เป็นคนที่มีความคิดวิเคราะห์ที่จะประมวลเรื่องราวต่างๆ เพื่อนำมาสู่การพัฒนาตัวเอง ควรเป็นผู้ป่วยที่มีความสนใจในเรื่องธรรมะ มีความเต็มใจหรือสมัครใจที่จะรับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว หากไม่เต็มใจหรือเป็นคนที่จิตใจฟุ้งซ่านไม่ยอมรับรู้เรื่องราวต่างๆ ก็ยากที่จะใช้ธรรมะบำบัดได้

    “ธรรมะบำบัด” ในพระพุทธศาสนา มีหลักอยู่ 3 ประการคือ ทำความดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งและสงบ ซึ่งเป็นวิธีคิดง่ายๆ ที่เป็นเหตุเป็นผลกันเมื่อเราทำความดีคุณค่าในตัวเราก็สูงขึ้น เราจะมีความรู้สึกภาคภูมิใจ ความยอมรับนับถือในตัวเองก็จะเพิ่มมากขึ้น การละความชั่วจะทำให้คนอื่นรักและนับถือเรามากขึ้นด้วย คนที่มีคุณค่าในตัวเองนับถือตัวเองจะเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี เมื่อเรารักตัวเองเป็นแล้วก็ต้องรู้จักรักคนอื่นด้วย ซึ่งหลักธรรมในทุกๆ ศาสนาสามารถนำมาใช้ในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้โดยเฉพาะหลักธรรมทางพระ พุทธศาสนา ถ้าเราได้ฝึกปฏิบัติธรรมให้รู้จักปล่อยวาง จะช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นเราก็จะพ้นจากความทุกข์มีความสุขมากขึ้น และถ้าเป็นศาสนาคริสต์ธรรมะบำบัดก็จะเป็นเรื่องของการไถ่บาป การให้อภัย หรือแม้แต่ศาสนาอิสลามเมื่อเราเกิดความทุกข์ทางใจหรือเกิดความยุ่งยากใน ชีวิต ธรรมะบำบัดก็จะเป็นในเรื่องความเชื่อในพระเจ้า ซึ่งมีความเชื่อว่าจะต้องก้าวผ่านด่านทดสอบให้ได้ ความเชื่อและความศรัทธาตามหลักศาสนาทุกๆ ศาสนา สามารถใช้เป็นหลักคิดให้เราเชื่อและนำไปปฏิบัติตาม ซึ่งก็จะช่วยให้สามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้

    “การที่จะนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้กับปัญหาสุขภาพจิตนั้นสามารถทำได้ 2 ทาง ทางแรกนำมาเป็นแนวทางฝึกคิดฝึกปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ให้เรายึดติด เช่น อาการซึมเศร้า ที่เกิดจากเราสูญเสียอะไรบางอย่างในชีวิตแสดงว่าเรายึดติดถ้าเราฝึกคิดอย่าง เป็นระบบมีเหตุผลเราก็จะสามารถปล่อยวางและเป็นสุขขึ้นได้ แต่ถ้าเราทุกข์ใจมากๆ ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือการไปพบทีมสุขภาพจิต จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะช่วยเป็นกระจกสะท้อนปัญหาให้เราได้ เพราะปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ จากการที่เราสูญเสียอะไรบางอย่าง เช่น การเสียหน้าซึ่งเราคิดว่ามันสำคัญมากสำหรับเรา เพราะเป็นเรื่องของเกียรติและศักดิ์ศรี เมื่อเราไปพบทีมสุขภาพจิตที่หน่วยบริการก็จะมีการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ให้เราได้เห็นได้เข้าใจตัวเอง เราจะได้รับคำปรึกษาและได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง” น.พ.วชิระ กล่าว

    การรักษาด้วยธรรมะบำบัดจึงไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภท
    รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ยังกล่าวด้วยว่ากรณีบุคคลที่ป่วยถึงขั้นเป็นโรคทางจิตเวช ก่อนที่จะใช้ธรรมะบำบัดควรได้รับการตรวจรักษาก่อนโดยเฉพาะบางโรคที่มีความ รุนแรง เช่น โรคจิตเภท เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะหลุดจากความเป็นจริง ไม่รับรู้ว่าตัวเองเจ็บป่วยและอาจมีอาการแปลกๆ เช่น มีอาการหูแว่วได้ยินเสียงคนอื่นมาติฉินนินทาทั้งที่ไม่มีหรือมีอาการประสาท หลอน หลงผิดและมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากบุคลิกดั้งเดิมโดยสิ้นเชิง ผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาเมื่อควบคุมอาการต่างๆ ให้ดีขึ้นแล้วจะสามารถรับรู้และยอมรับว่าตัวเองเจ็บป่วยและเริ่มกลับมาสู่ โลกแห่งความเป็นจริง จิตใจลดจากความฟุ้งซ่านมาเป็นความสงบ ตรงจุดนี้ธรรมะจะช่วยได้ดี

    นอกจากนี้จิตบำบัดด้วยธรรมะยังสามารถใช้ได้ดีกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน มะเร็ง หรือแม้กระทั่งเอดส์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความทุกข์ใจเกี่ยวกับปัญหาของการเจ็บป่วยของตัวเองอยู่ แล้ว กรณีเช่นนี้ธรรรมะบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ความจริงของชีวิต เรียนรู้ที่จะอยู่กับความทุกข์จากการเจ็บป่วยได้อย่างมีความสุข เรียนรู้ที่จะทำสมาธิหรือสติบำบัด ผู้ป่วยโรคทางกายต้องทำให้ใจไม่ป่วยไปตามกาย เมื่อมีจิตใจที่เข้มแข็งร่างกายก็จะไม่ทรุด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขก็มีโครงการที่จะทำเรื่องสมาธิหรือจิตบำบัดรักษาผู้ ป่วยโรคทางกายด้วย

    “หลักธรรมะที่สำคัญซึ่งนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพจิตคือ ทำความดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งและสงบ การที่เราทำความดีให้เยอะๆ ละความชั่วลงให้มากๆ จะทำให้รู้สึกว่า ชีวิตของตนเองมีคุณค่ามากขึ้น การทำความดีถือว่าเป็นการเสริมสร้างสุขภาพใจอย่างหนึ่ง เพราะคนเราจะทำความดีได้ต้องมีธรรมะ หรือจิตที่เป็นกุศล และเมื่อทำความดีแล้วย่อมส่งผลถึงจิตใจเกิดปีติหรือความอิ่มเอิบใจ นำมาซึ่งความยอมรับนับถือในตัวเองซึ่งจะช่วยลดความอยากได้และความเห็นแก่ตัว ลง ทำให้ความเคร่งเครียดและความกังวลในเรื่องต่างๆ ลดลง ร่างกายและจิตใจก็จะมีความสมบูรณ์แข็งแรง คุณลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นสิ่งเสริมสร้างสุขภาพใจทั้งสิ้น

    บ้านเมืองออนไลน์ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2010
  2. godman

    godman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,254
    จิตดี กายก็ดีนะ
     
  3. กิตติ_เจน

    กิตติ_เจน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,657
    ค่าพลัง:
    +1,281
    ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว
     
  4. aezaamak

    aezaamak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +313
    สวัสดีญาติธรรมทุกท่านครับ ขอแนะนำตัว ต้วเองครับพึ่งเป็นสมาชิกใหม่ ขออนุโมทนาบทความที่มีประโยชน์ทุกข้อความครับผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...