ข้อสงสัย ธรรมะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ศัทธรา, 17 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. ศัทธรา

    ศัทธรา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +4
    สวัสดี มิตรบุญทุกท่าน

    ตั้งแต่เด็กแม่ใหญ่ ( ย่า) นั้นจะชอบเกี่ยวเราไปนอนวัดเพื่อสวดมนต์ในวันสำคัญของศาสนา ( บ้านนอก) พอโตขึ้นก็ไม่ได้มีโอกาสปฎิบัติอีก จนกระทั่งเรียนจบจึงมีโอกาสได้เข้าปฎิบัติอีกครั้ง คือ กรรมฐาน บอกกับการอ่านบทความธรรมและข้อคิดต่างๆๆมากขึ้น เลยมีคำถามที่จะสอบถามความคิดเห็นท่านเพื่อเป็นทานความรู้เล็กน้อยคะ ดังนี้
    1.เพราะสาเหตุใดจึงทำให้เรายังไม่มีความคิดหรือปรารถนาที่จะถึงนิพพาน เพราะรู้สึกว่านิพพานคือ ความว่างเปล่า และความสงบอย่างแท้จริง ไม่มีรูป ไม่มีรส ไม่มีความรู้สึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะยังไม่แน่ชัดในเรื่องชาติภพต่างๆๆ ( แต่เชื่อมั่นว่ามีจริง) หรืออย่างไร
    2.โดยส่วนตัวคิดว่า หากเราปลงสังขาร ( เสียชีวิต-อาจจะใช้คำผิด) คิดว่านั้นคือความว่างเปล่า นั้นคือ เราคืน ร่างกายและทุกอย่างให้กับโลกไป และไม่มีความรู้สึกว่าจะต้องได้เกิดเป็น วัตถุ สิ่งของ หรือสิ่งมีชีวิต อันนี้มันเป็นความรู้สึกที่ขาดศรัทธาหรือขาดสิ่งยึดมั่นหรือมุ่งหวังหรือไม่อย่างไรคะ
    3. โดยส่วนตัวเมื่อสัก 10 ปีที่แล้วรู้สึกว่า การทำบุญคือการอธิษฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้นสิ่งนี้ ( อาจจะทำแบบขาดการเข้าถึง คำว่าการให้ทานและถือศีลอย่างแท้จริง) พอมาช่วง 2-3 ปีนี้เวลาเข้าวัดทำบุญ จะทำให้ร่างกายรู้สึกสงบ จิตว่างเปล่า ไม่สามารถที่จะอธิษฐานสิ่งใดออกมาได้ จนบางครั้ง ต้องนั่งนิ่งและหยิบหนังสือในวัดมาอ่าน ณ ตอนนั้นสมองจะสามารถเข้าใจความหมายและวิเคราะห์แต่ธรรมะแต่ละบทได้อย่างลึกซึ้ง เลยคิดไม่ออกว่า ตรงนี้เขาเรียกสภาวะอะไร


    ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับธรรมทานของเพื่อนนักบุญทั้งหลายคะ
     
  2. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    [​IMG] 1.เพราะสาเหตุใดจึงทำให้เรายังไม่มีความคิดหรือปรารถนาที่จะถึงนิพพาน เพราะรู้สึกว่านิพพานคือ ความว่างเปล่า และความสงบอย่างแท้จริง ไม่มีรูป ไม่มีรส ไม่มีความรู้สึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะยังไม่แน่ชัดในเรื่องชาติภพต่างๆๆ ( แต่เชื่อมั่นว่ามีจริง) หรืออย่างไร
    [​IMG]เพราะนิพพานเข้าถึงด้วยปัญญารู้แจ้งหาใช่ความปรารถนาอย่างหยาบ ๆ หากนิพพานไม่ ปรมังสุขขัง พระอรหันต์ท่านคงเปลี่ยนใจหันหลังให้นิพพานหมด ก็ยังเห็นพระอริยะท่านสอนให้ละขันธ์ 5 ไปนิพพานทั้งนั้น มิมีองค์ใหนบอกไปแล้วเบื่อไม่สนุก อันนี้เรื่องจริง คุณโยมค่อย ๆทำไปอาตมาเมื่อก่อนก็คิดอย่างคุณโยมแต่เวลาผ่านไปและการเรียนรู้มากขึ้นเห็นสัจจะธรรมของชีวิต ก็จะรักนิพพานสุดหัวใจทีเดียว

    [​IMG]2.โดยส่วนตัวคิดว่า หากเราปลงสังขาร ( เสียชีวิต-อาจจะใช้คำผิด) คิดว่านั้นคือความว่างเปล่า นั้นคือ เราคืน ร่างกายและทุกอย่างให้กับโลกไป และไม่มีความรู้สึกว่าจะต้องได้เกิดเป็น วัตถุ สิ่งของ หรือสิ่งมีชีวิต อันนี้มันเป็นความรู้สึกที่ขาดศรัทธาหรือขาดสิ่งยึดมั่นหรือมุ่งหวังหรือไม่อย่างไรคะ

    [​IMG]เป็นความเข้าใจผิดทางความคิดมากกว่า...เพราะคนเรามีแรงกรรมผลักดันลำพังความคิดเบื่อหนายไม่อยากเกิดว่าง ๆ เพราะศรัทธาเราอ่อนนั้นเอง

    [​IMG]3. โดยส่วนตัวเมื่อสัก 10 ปีที่แล้วรู้สึกว่า การทำบุญคือการอธิษฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้นสิ่งนี้ ( อาจจะทำแบบขาดการเข้าถึง คำว่าการให้ทานและถือศีลอย่างแท้จริง) พอมาช่วง 2-3 ปีนี้เวลาเข้าวัดทำบุญ จะทำให้ร่างกายรู้สึกสงบ จิตว่างเปล่า ไม่สามารถที่จะอธิษฐานสิ่งใดออกมาได้ จนบางครั้ง ต้องนั่งนิ่งและหยิบหนังสือในวัดมาอ่าน ณ ตอนนั้นสมองจะสามารถเข้าใจความหมายและวิเคราะห์แต่ธรรมะแต่ละบทได้อย่างลึกซึ้ง เลยคิดไม่ออกว่า ตรงนี้เขาเรียกสภาวะอะไร


    [​IMG]สภาวะจิตสงบจึงรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริง


    ขอเจริญพร
    พระ12
     
  3. ฮุโต๋

    ฮุโต๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +44,568
    เวลานี้เรารักพระนิพพานอย่างสุดชีวิต และทำงานทางธรรมแบบถวายชีวิต เพื่อพระนิพพานเลย เมื่อเรารู้เราจะเป็นเอง อาการมันเกิดขึ้นเองอัตโนมัติ
    โมทนา
     
  4. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    นิพพานว่างจากความคิด ไร้รูป ไร้สี ไร้กลิ่น ไร้สัมผัส ไร้ธรรมารมณ์ เจริญด้วยฌาน คืออนาคามิ รูปในความว่าง คือมองว่าทุกสิ่งว่าง แต่ลืมย้อนมองตนเอง
    ถ้านิพพานไม่ว่าง....ไม่ควรคิด เพราะเกินคาด....ปัญญาคือเครื่องมือบนทางเดิน
    ร่างกายคือองค์ประกอบของธาตุ....ขันธุ์คือพันธะความผูกพันที่ยึดไว้ จึงเป็นทรงอยู่ จึงเป็นรูปกลมสีขาวเปื้อนด้วยภายในสร้าง ภายนอกสร้าง....จิตคือพื้นแท้แห่งตน เมื่อมีด้วยความไม่รู้ มันจึงเกิดด้วยความไม่รู้ เมื่อเชื่อว่ากายดับย่อมไม่เกิด นี้เรียกว่าความไม่รู้
    ไม่ใช่ไม่ศรัทธา แต่เราไม่รู้ว่าวิธีแสดงศรัทธาเป็นแบบใด
    การทำบุญที่หวังผลตอบแทนเรียกว่าอามิส เหมือนดั่งเราจ่ายค่าจอดรถเพื่อหวังให้เขาเฝ้ารถ เป็นการทำบุญที่ไม่ได้ส่งเสริมจิตให้สะอาดเพราะความอยากแห่งตน และอาจนำมาซึ่งความโทสะ โมหะ โลภะ กิเลส เช่น เราหวังทำบุญเยอะ ๆ เพื่อหวังว่าจะส่งผลให้เราสอบผ่าน แต่แล้วเราก็สอบไม่ผ่าน บ่นท้อว่าจะทำไปทำไมไม่เกิดประโยชน์อะไร สู้เอาเงินไปบริจาคทานดีกว่า หรือจ่ายค่าจอดรถแล้วรถยังหายจึงได้ตีโพยตีพายว่ากล่าวจะจ่ายเงินไปทำไม เป็นต้น
    การทำบุญคือการพลี หรือ ทาน หมายความเดียวกัน เป็นการเสียสละจากสิ่งที่เราช่วยได้โดยไม่เดือดร้อนผู้อื่น ด้วยเหตุแห่งความเมตตา คือความสงสาร เห็นใจ เอื้ออาทร เวทนา คือการให้ด้วยใจ
    ความกรุณา คือการให้ ให้อาหาร ทรัพย์สิน สิ่งของ ความรู้ โดยไม่เดือดร้อนผู้อื่น เรียกว่าการให้ด้วยกาย
    มุฑิตา คือการดำรงค์ตน ทรงไว้ซึ่งความเป็นกลาง หมายถึง ไม่ติดใจในสิ่งดีที่ตนสร้างด้วยอามิส สรรเสริญคนดี ผู้ประเสริฐ ชี้แนะแนวทางที่ดีแก่คนหลง ไม่ยกย่องในอวิชชาผิดศาสนา มีสติติดตัวเสมอ และรักสันโดษ
    อุเบกขา คือการนิ่งเฉยต่อสิ่ง ดี ร้าย ชั่ว สนุกสนาน สันโดษ วุ่นวาย สิ่งที่มากระทบ สิ่งที่ออกไป สิ่งเหล่านี้นำสู่ความว่าง เป็นอนาคามี
    การทำสมาธิหรืออ่านหนังสือ ให้ พิงต้นไม้ใหญ่ ปัญญาอุปาทาน เป็น ธรรมญาณ เนื่องด้วยการฝักใฝ่ใคร่รู้ในพระธรรม จนเกิดปัญญา มองเห็นสิ่งใดก็เกิดเป็นคำสอนในใจตน
    เหมือนพระศาสดาทรงอยู่ภายในกายตน คอยสอนและขัดแย้งในความมัวหมอง มหายานเรียกว่าการแบ่งภาคแห่งโพธิสัตว์
    ผลดีก็มี ผลร้ายก็มี เป็นเหมือนหลุมบนทางเดิน ตกแล้วขึ้น สักพักก็ตกอีก อยู่ที่เราจะรู้ตัวหรือเปล่า เมื่อมีปัญญาอย่างนี้ต้องมีกำกับ เช่น จะเชื่อตัวเราเองได้ไง ถูกแล้วหรือ สากลแล้วหรือ เขาถูกไหม เราคิดอะไร คิดทำไม เพื่ออะไร เราเข้าใจผิดแล้วใช่ไหม เป็นต้น
    เพื่อดึงตนไว้ไม่ให้ลอยไปไกลจากใจตัว ยิ่งคิดยิ่งฟุ้ง ยิ่งวุ่นวาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2010
  5. ฮุโต๋

    ฮุโต๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +44,568
    หนทางที่จะกลับคืนสู่พระนิพพาน มีหลายวิธี เช่น กรรมฐาน 40 กอง ก็เลือกเอากองใดกองหนึ่งตามจริตของแต่ละคน อธิษฐานเองว่าชอบกองใดมากที่สุดและเป็นกองที่เราเคยเจริญมา
    การปฏิบัติธรรมขัดเกลาจิตให้ว่างจากกิเลสจะได้แคบเข้าและปฏิบัตฺง่าย
    โมทนา
     
  6. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,994
    สาธุ เพียรปฏิบัติไปเถอะ

    เมื่อใจเข้าถึงธรรมะระดับหนึ่ง ความรู้แจ้งก็จะรู้ด้วยตัวเอง

    ตอนนี้เพราะไม่รู้ มันก็เป็นเช่นนี้เอง อนุโมทนาครับ
     
  7. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    1 และ 2 ขอตอบรวมกันไปนะครัษบ
    ลักษณะที่คุณกล่าวมาเหมือนอยู่ในฌานนั่นแหละ คือรู้สึกสงบ แต่ถามว่าจิตเกิดความเบื่อจนไม่อยากกลับมาเกิดมั้ย ก็ยังไม่ถึงขนาดนั้น ที่คุณสงสัยว่ายังไม่แน่ชัดเรื่องภพชาตินั้น ก็มีส่วนจริงอยู่ตามที่คุณสงสัย ถ้าแน่ชัดเรื่องภพชาติ ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายว่าเราเกิดมาชาตินี้ เราอาจจะรวย อาจจะสวย อาจจะเก่ง ไม่เป็นคนพิการ แต่ใครจะบอกได้ละว่า บนสงสารวัฏอันยาวไกล เราจะไม่กลายเป็นคนขาเป๋ คนยากจน คนไม่มีที่อยู่ นี่แหละ คุณขาดความรู้สึกตรงนี้ไป

    เพราะฉะนั้น ความรู้สึกของคุณโดยทั่วไปสามารถพัฒนาต่อไปได้ เหมือนมีพื้นฐานแห่งความสงบอยู่นั่นเอง ขาดแต่เรื่องความเบื่อหน่ายในวัฏสงสาร

    3 ลักษณะที่คุณกล่าวมาในข้อ 3 นี่ เรียกว่า "อิ่มบุญ" คนที่อิ่มบุญก็จะมีหลายลักษณะ อย่างที่คุณกล่าวมาก็อย่างหนึ่ง หรือบางคนปกติเป็นคนกลัวความสูง แต่เพราะความอิ่มบุญ สามารถปีนขึ้นไปบนยอดพระเศียรพระพุทธรูปเพื่อช่วยคนบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้ หรือเกิดความสบายอกสบายใจเหมือนอิ่มข้าว อะไรทำนองนี้แหละ แล้วแต่คน

    สุดท้ายอยากบอกว่า ใครจะเดินเข้าวัดด้วยความทุกข์หรือไม่ เราไม่รู้ แต่ขอให้เราเดินเข้าวัดด้วยความเบิกบาน เดินอยู่ในวัดเหมือนเดินอยู่ในบ้าน อย่าให้มีความทุกข์ก่อนแล้วถึงค่อยเข้าวัด ....

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
     
  8. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ....มรรค8 เริ่มต้นด้วย สัมมาทิฐิ.....(มีความเห็นชอบ)...

    ...เส้นทาง อันยาวไกล ตั้งทิศทางเคลื่อนเพียงองศาเดียว ห่างไกลมาก....

    ....ความเพียร ชนะทุกอย่าง.....จากห่างไกล..เข้าใกล้ได้.....

    ....หากขึ้นต้นด้วย สัมมาทิฐิ+ปัญญา จะเร็วมาก.....
     
  9. mirco

    mirco สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอถามข้อสงสัยหน่อยนะครับ

    1.อยากทราบว่าจะได้ฌานชั้นต่างๆ หรือนิพพาน นอกจากนั่งสมาธิแล้ว สามารถใช้วิธีอย่างอื่นได้หรือไม่ สาธุ

    2.สมัยพุทธกาล ฆราวาสเพียงได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วก็สามารถสำเร็จพระอรหันต์ เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธ์ไป ก็มีพระไตรปิฎกคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ทำไมฆราวาสที่ได้ศึกษาพระไตรปิฎก ถึงได้สำเร็จพระอรหันต์น้อยลงหรืออาจไม่มีเลยล่ะครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2010
  10. ฮุโต๋

    ฮุโต๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +44,568
    ข้อที่ 1 วิธีอื่นก็เข้าฌาณได้
    ข้อที่ 2 จิตของคนมันเสื่อมลง กิเลสหนาก็เลยไม่บรรลุธรรม อวิชชา มีมาก ๆ
    โมทนา
     
  11. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    ตามคำถามข้อ 1 ของคุณ Micro นั้น อยากจะเรียนว่า จริงๆแล้วสาระสำคัญของการได้ฌานไม่ได้ขึ้นอยู่กับอิริยาบถเดิน นั่ง นอนแต่ขึ้นอยู่กับคำว่า "ลมหายใจ" คำว่า "ลมหายใจ" เป็นสิ่งสำคัญมาก จะตามดูสิ่งใดที่เป็นของเราหากตามดูลมหายใจด้วย ก็จะประสบผลสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อตามดูลมอย่างมีสติระลึกได้ทั้งวันทั้งคืน จะบริกรรมคำภาวนาหรือไม่ก็ตามก็สามารถได้ฌานได้

    <O:p</O:p
    ในทางปฏิบัติการทำอย่างนี้เป็นเรื่องยากมากสำหรับปุถุชน แต่ไม่ยากสำหรับพระอรหันต์ ครูบาอาจารย์บางรูปสามารถใช้การตามดูลมหายใจของตนเองข่มเวทนา ซึ่งก็คือเรื่องความดันโลหิตสูง ซึ่งถ้าหากเป็นมนุษย์ธรรมดาหากเผชิญกับความดันโลหิตสูงในระดับนั้น ก็คงจะเรียบร้อยไปนานแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เรื่องการตามดูลมจนข่มเวทนาได้นี่แหละ ที่อาจจะเรียกได้ว่า ได้ฌาน ซึ่งขณะที่ท่านตามดูลมหายใจจนลืมเวทนาทั้งหลายนั้น ท่านอาจจะไม่อยู่ในอิริยาบถเดิน นั่ง นอนกิน ก็ได้ แต่อาจกำลังถูกทรมานก็ได้.....<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนคำถามที่ว่า นอกจากนั่งสมาธิแล้วสามารถใช้วิธีปฏิบัติอย่างอื่นให้ได้นิพพานหรือไม่นั้น ใคร่ขอเรียนว่า ถ้าในขณะยังมีชีวิตอยู่ จะไม่เรียกว่าได้นิพพาน เพราะคำว่า "พระนิพพาน"โดยทั่วไปจะใช้อธิบายกันอย่างแพร่หลายในลักษณะที่เมื่อท่านผู้นั้นเสียชีวิตแล้วก็ไม่กลับมาเกิดอีก เป็นอันสิ้นภพสิ้นชาติเพียงชาตินี้ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของท่าน เพราะจิตของท่านผู้นั้นเป็นจิตที่ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย เมื่อสังขารดับสูญ ไม่มีภพชาติและกำเนิดเป็นปัจจัย เป็นเรือนที่อาศัย เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งแลพันธนาการ จิตที่ออกจากสังขาร จึงมุ่งตรงเข้าสู่พระนิพพานเป็นอันหลุดพ้นจากวัฏสงสารไป ไม่ท่องเที่ยวและอาศัยที่ภพภูมิอื่นอีก<O:p</O:p

    นอกจากนี้คำว่าพระนิพพาน ไม่มีธรณีรองรับ ไม่มีแผ่นฟ้า ไม่มีแผ่นน้ำเหมือนโลกมนุษย์ ไม่มีทั้งคนดีและคนชั่วอาศัยอยู่ปะปนกัน มีเพียงผู้ปราศจากกิเลสทั้งหลาย มีเพียง"ผู้บริสุทธิ์"เท่านั้น ดังนั้นในเมื่อผู้ปฏิบัติท่านนั้น หากยังอาศัยอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าจะนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมหรือฏิบัติอย่างไรก็ตาม แม้ดวงจิตจะหมดจากกิเลสแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังอาศัยอยู่บนโลกนี้ สังขารยังไม่ดับสูญ ก็จะไม่เรียกว่า ได้พระนิพพาน เพราะไม่เข้าเงื่อนไขของการเข้าถึงพระนิพพานอย่างถาวรนั่นเอง หากแต่เรียกสภาวะนั้นว่า "บรรลุมรรคผล" แทน

    เพราะฉะนั้น คำถามส่วนนี้ที่ถูกควรจะเป็น นอกจากการนั่งสมาธิแล้ว สามารถใช้วิธีปฏิบัติอื่นให้ได้มรรคผลหรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่จะเป็นวิธีไหน ก็แล้วแต่ช่วงจังหวะ คือ ถ้าประจวบเหมาะกับบารมีเต็ม จิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย ก็เป็นอิริยาบถนั้น แต่เราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นช่วงไหน เมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นก็ปฏิบัติตามที่ท่านทั้งหลายเคยปฏิบัติสืบต่อกันมา ก็คือ การนั่งสมาธิ หรือการเดินจงกรม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ตามคำถามข้อ 2 ของคุณ Micro ใคร่ขอ<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>เรียนว่า ไม่ว่าพระสงฆ์องค์เจ้าหรือฆราวาสก็ดี จะสามารถสำเร็จพระอรหันต์ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับคำว่า "บารมีเต็ม" คำนี้คำเดียว หากเป็นในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นด้วยญาณว่าบุคคลใดบารมีใกล้เต็ม เพียงแค่ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ ก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ พระองค์จึงเสด็จไปโปรดท่านผู้นั้น จึงเป็นเหตุให้ท่านผู้นั้นบรรรลุมรรคผล

    <O:p</O:p
    เพราะฉะนั้น คำว่า "บารมีเต็ม" เป็นสาระสำคัญ เป็นปัจจัยหลักทำให้ได้มรรคผล บารมีเต็มมาจากอะไร ก็มาจากการสั่งสมบารมี
    การศึกษาพระไตรปิฎกเป็นปัจจัยหนึ่งในการเสริมสร้างปัญญาบารมีให้ดีขึ้นให้สมบูรณ์ขึ้น เหมือนมีตำราอ้างอิง แต่จงอย่ายึดติดในตำรา อย่าให้คนอื่นดูแคลนเอาว่า "ขรัวใบลานเปล่า" เพราะเหมือนเอนไซโคลปิเดียเคลื่อนที่ แต่ไม่สามารถลดละโลภโกรธหลงในตัวเองได้ แต่จงเร่งสั่งสมบารมี เร่งปฏิบัติธรรม การศึกษาธรรมหรือจะเรียกว่าการศึกษาพระไตรปิฏกเพียงอย่างเดียวโดยไม่ปฏิบัติธรรม ไม่ทำให้บรรลุมรรคผลได้

    และตามที่คุณ micro สงสัยว่าทำไมฆราวาสในสมัยนี้สำเร็จพระอรหันต์น้อยลงหรือไม่สำเร็จเลย ตรงนี้ก็เป็นความคาดคะเนของเราๆท่านๆทั้งหลาย เพราะจริงๆแล้วเราไม่มีภูมิจิตภูมิรู้ที่สามารถหยั่งรู้ได้ว่า มีฆราวาสที่สำเร็จพระอรหันต์เป็นจำนวนเท่าไหร่กันแน่ สวนดุสิตโพลหรือเอแบคโพลก็ไม่สามารถสำรวจได้ ดังนั้น ระงับการคาดคะเนตรงนี้ไว้ ให้สนใจกับการจัดการโลภโกรธหลงของเราดีกว่า

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2010
  12. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    กราบอนุโมทนา พระคุณเจ้าด้วยความเคารพ
     
  13. OddyWriter

    OddyWriter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +977
    ข้อ 1 ตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้

    ข้อ 2 ผู้ที่เกิดทันพุทธกาล ย่อมทำบุญกุศล และ/หรือ อธิษฐานมาแล้วระดับหนึ่ง ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรงย่อมสะสมบุญมาได้อีกระดับ ซึ่งมากกว่ากลุ่มแรก และผู้ที่สามารถสำเร็จพระอรหันต์ได้ ยิ่งต้องสะสมบุญและอธิษฐานยิ่ง 2 พวกแรกด้วยซ้ำ

    การสำเร็จพระอรหันต์ในฆารวาสเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ยาก เพราะเส้นทางสายฆารวาสไม่ใช่เส้นทางตรง ภาระก็เยอะ เหมือนเรือข้ามฟากที่ขนของเต็มลำเรือย่อมไปถึงฝั่งได้ช้า อีกอย่างเมื่อสำเร็จพระอรหันต์ในภาวะฆารวาสก็ต้องบวช เพราะสภาวะฆารวาส ไม่สามารถรับสภาวะพระอรหันต์ได้

    (เขียนจากความจำจากเรื่องมิลินทปัญหา)
     

แชร์หน้านี้

Loading...